โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปกาเกอะญอ

ดัชนี ปกาเกอะญอ

ปกาเกอะญอ (ပှၤကညီ) หรือ กะเหรี่ยงสะกอ (စှီၤ) หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำวาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม.

6 ความสัมพันธ์: ชาวกะเหรี่ยงการแต่งงานการเกิดอำเภอแม่วางจังหวัดเชียงใหม่เทือกเขาตะนาวศรี

ชาวกะเหรี่ยง

กะเหรี่ยง, กาเรน, กายิน, หรือคนยาง (ကရင်လူမျိုး,; กะเหรี่ยง) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต อาศัยอยู่มากในรัฐกะเหรี่ยง ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า กะเหรี่ยงมีประชากรประมาณร้อยละ 7 ของประชากรชาวพม่าทั้งหมด หรือประมาณ 5 ล้านคน ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพไปอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายแดนไทยพม่า กลุ่มกะเหรี่ยงมักจะสับสนกับ กะยันชนเผ่าที่รู้จักกันดีสำหรับแหวนคอสวมใส่โดยผู้หญิงของพวกเขา แต่พวกเขาเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงแดง (คะเรนนี) ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าคะยาในรัฐกะยาของพม่า บางส่วนของชาวกะเหรี่ยงนำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านรัฐบาลพม่าตั้งแต่ต้นปี 1949 จุดมุ่งหมายของเคเอ็นยูครั้งแรกเพื่อแยกเป็นอิสระ ตั้งแต่ปี 1976 กลุ่มติดอาวุธได้เรียกร้องรัฐบาลกลางในการปกครองตนเองมากกว่าการที่จะแยกเป็นอิสร.

ใหม่!!: ปกาเกอะญอและชาวกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

การแต่งงาน

การแต่งงานแบบตะวันตก การแต่งงาน เป็นพิธีการซึ่งบุคคลสองคนรวมเข้ากันในการสมรสหรือสถาบันที่คล้ายกัน ประเพณีและจารีตประเพณีแตกต่างกันมากตามวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ประเทศ และชนชั้นทางสังคม พิธีการแต่งงานส่วนมากเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนคำสาบานแต่งงานโดยคู่สมรส การมอบของขวัญ (ของถวาย แหวน สิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ ดอกไม้ เงิน) และการประกาศการแต่งงานสาธารณะโดยผู้มีอำนาจหรือผู้นำ คู่สมรสมักสวมชุดแต่งงานพิเศษ และมักตามด้วยงานเลี้ยงแต่งงาน (wedding reception).

ใหม่!!: ปกาเกอะญอและการแต่งงาน · ดูเพิ่มเติม »

การเกิด

การเกิด หรือการคลอด (parturition) เป็นการหรือกระบวนการมีหรือออกลูก ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระบวนการนี้เริ่มโดยฮอร์โมนซึ่งทำให้ผนังกล้ามเนื้อมดลูกหดและขับลูกในท้อง (fetus) ที่ระยะการเจริญเมื่อพร้อมที่จะกินอาหารและหายใจ ในบางสปีชีส์ลูกเจริญก่อนวัยและสามารถเคลื่อนไหวแทบทันทีหลังเกิดแต่ในบางสปีชีส์ลูกช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และต้องพึ่งพาพ่อแม่ทั้งหมด ในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (marsupial) ลูกในท้องเกิดที่ระยะที่ยังไม่เจริญมากหลังมีอายุครรภ์สั้น ๆ และเจริญต่อในกระเป๋าของแม่ ไม่เฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้นที่เกิดลูก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังก็มีตัวอ่อนที่กำลังเจริญอยู่ในตัวเช่นกัน บางชนิดฟักไข่ในตัว (ovoviviparous) บางชนิดตกลูกเป็นตัว (viviparous) โดยมีตัวอ่อน (embryo) เจริญอยู่ในร่างกายแม่ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: ปกาเกอะญอและการเกิด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่วาง

แม่วาง (40px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: ปกาเกอะญอและอำเภอแม่วาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ปกาเกอะญอและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาตะนาวศรี

ทือกเขาตะนาวศรีในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา เทือกเขาตะนาวศรี (တနင်္သာရီ တောင်တန်း; Tenasserim Hills, Range) เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย และลากยาวผ่านคอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรี ชาวพม่าเรียกว่า "บีล็อกตอง" (Bilauktaung).

ใหม่!!: ปกาเกอะญอและเทือกเขาตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กะเหรี่ยงสกอร์ปกากะญอปกฺากะญอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »