โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแต่งงาน

ดัชนี การแต่งงาน

การแต่งงานแบบตะวันตก การแต่งงาน เป็นพิธีการซึ่งบุคคลสองคนรวมเข้ากันในการสมรสหรือสถาบันที่คล้ายกัน ประเพณีและจารีตประเพณีแตกต่างกันมากตามวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ประเทศ และชนชั้นทางสังคม พิธีการแต่งงานส่วนมากเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนคำสาบานแต่งงานโดยคู่สมรส การมอบของขวัญ (ของถวาย แหวน สิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ ดอกไม้ เงิน) และการประกาศการแต่งงานสาธารณะโดยผู้มีอำนาจหรือผู้นำ คู่สมรสมักสวมชุดแต่งงานพิเศษ และมักตามด้วยงานเลี้ยงแต่งงาน (wedding reception).

5 ความสัมพันธ์: พระลักษมีการสมรสการแต่งงานต่างฐานันดรการแต่งงานโดยฉันทะวิษณุ

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

ใหม่!!: การแต่งงานและพระลักษมี · ดูเพิ่มเติม »

การสมรส

การสมรส เป็นการรวมกันทางสังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่งคู่สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรมสากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำให้เป็นทางการผ่านพิธีแต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มีเพศภาวะตรงข้ามกันในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการสมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสก่อนมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ บุคคลสมรสด้วยหลายเหตุผล มีทั้งทางกฎหมาย สังคม ลิบิโด อารมณ์ การเงิน จิตวิญญาณและศาสนา การสมรสสามารถกระทำในพิธีทางกฎหมายฝ่ายฆราวาส หรือทางฝ่ายศาสนาก็ได้ โดยปกติการสมรสสร้างข้อผูกพันที่เป็นนามธรรมหรือทางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางวัฒนธรรมอนุญาตให้เลิกการสมรสได้ผ่านการหย่าร้างหรือการเพิกถอนการสมรส การสมรสที่มีคู่ครองหลายคนอาจยังเกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายประจำชาติก็ตาม รัฐ องค์การ ฝ่ายศาสนา กลุ่มชนเผ่า ชุมชนท้องถิ่นหรือผู้เท่าเทียมกันสามารถรับรองการสมรสได้ มักถูกมองว่าเป็นสัญญา การสมรสตามกฎหมายเป็นมโนทัศน์ทางกฎหมายที่มองการสมรสว่าเป็นสถาบันของรัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตามกฎหมายการสมรสของเขตอำนาจ การบังคับสมรส (forced marriage) มิชอบด้วยกฎหมายในบางเขตอำน.

ใหม่!!: การแต่งงานและการสมรส · ดูเพิ่มเติม »

การแต่งงานต่างฐานันดร

อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์และโซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์กสมรสกันแบบมอร์แกนเนติคซึ่งทำให้พระโอรสของทั้งสองพระองค์ไม่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์และจะไม่มีสิทธิ์อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ออสเตรีย การแต่งงานต่างฐานันดร (ภาษาอังกฤษ: Morganatic marriage) เป็นการแต่งงานลักษณะหนึ่งที่ใช้เป็นสัญญาการแต่งงานได้ในบางประเทศ มักจะเป็นการแต่งงานระหว่างบุคคลสองคนที่มีฐานะทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งจำกัดมิให้ตำแหน่งของสามีหรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นของสามีผ่านไปสู่ภรรยาหรือบุตรธิดาที่เกิดจากการสมรสลักษณะนี้ บางครั้งก็เรียกว่า “การแต่งงานมือซ้าย” (left-handed marriage) เพราะเจ้าบ่าวจะกุมมือขวาเจ้าสาวไว้ด้วยมือซ้ายแทนที่จะกุมด้วยมือขวา การแต่งงานลักษณะนี้มักจะเป็นการแต่งงานของชายที่มียศศักดิ์โดยเฉพาะในรัฐต่างๆ ของเยอรมนีกับสตรีที่มิได้เป็นเจ้านายหรือมีแคว้นหรือดินแดนปกครองที่เป็นของตนเอง หรือสตรีที่ถือกันว่ามีฐานะต่ำต้อยกว่าในสังคม ทั้งภรรยาและบุตรธิดาที่เกิดจากการแต่งงานไม่มีสิทธิในตำแหน่ง สิทธิ หรืออสังหาริมทรัพย์ของสามี แต่บุตรธิดาถือว่าเป็นบุตรธิดาในสมรส และการแต่งงานเช่นนี้อยู่ภายใต้กฎห้ามการแต่งงานซ้ำซ้อน (Polygamy) การแต่งงานลักษณะนี้ก็เช่นเดียวกันกับสตรีที่มียศศักดิ์สูงกว่าชาย แต่จะเกิดน้อยครั้งและโดยเฉพาะเมื่อสตรีส่วนใหญ่มักจะไม่มีตำแหน่งให้สืบทอดและมักจะมิได้เลือกสามีด้วยตนเอง ยกเว้นแต่ในกรณีของมารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งพาร์มา (เมื่อแรกเกิดเป็นอาร์ชดัชเชสแห่งราชวงศ์แฮบสเบิร์ก) และเมื่อแต่งงานครั้งแรกกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ก็ได้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส หลังจากนโปเลียนเสด็จสวรรคต ก็แต่งงานครั้งที่สองแบบมอร์แกนเนติคกับเคานท์ อีกกรณีหนึ่งคือมาเรีย คริสตีนาแห่งบูร์บง-ทูซิชิลีส์ พระราชินีแห่งสเปน (Maria Christina of Bourbon-Two Sicilies) ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระราชธิดาพระราชินีนาถอิสซาเบลลาที่ 2 แห่งสเปนหลังจากที่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 แห่งสเปนเสด็จสวรรคต ก็ทรงแต่งงานกับทหารรักษาพระองค์คนหนึ่งแบบมอร์แกนเนติคอย่างลั.

ใหม่!!: การแต่งงานและการแต่งงานต่างฐานันดร · ดูเพิ่มเติม »

การแต่งงานโดยฉันทะ

้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสทรงเสกสมรสโดยฉันทะเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1625 และด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ในปีเดียวกัน (ภาพเขียนของทั้งสองพระองค์โดยแอนโทนี แวน ไดค์ (เมษายน ค.ศ. 1634)) การแต่งงานโดยฉันทะ (ภาษาอังกฤษ: Proxy marriage หรือ Proxy wedding) เป็นการแต่งงานโดยที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวมิได้ปรากฏตัวในพิธีการแต่งงาน แต่ในพิธีจะให้ผู้มีอำนาจแทนทางกฎหมาย, ผู้แทน, ผู้รับฉันทะแสดงตัวเป็นตัวแทนผู้ที่ไม่สามารถปรากฏตัวได้ ถ้าทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวไม่สามารถปรากฏตัวได้ก็จะเรียกการแต่งงานว่าเป็นแบบ “การแต่งงานโดยฉันทะซ้อน” (Double-proxy Marriage).

ใหม่!!: การแต่งงานและการแต่งงานโดยฉันทะ · ดูเพิ่มเติม »

วิษณุ

วิษณุ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: การแต่งงานและวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วันแต่งงานวิวาห์พิธีแต่งงานงานวิวาห์งานแต่งงานแต่งงาน💒

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »