เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุ

ดัชนี กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุ

กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุ (Near Infrared Camera and Multi-Object Spectrometer; NICMOS) เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาดาราศาสตร์อินฟราเรด ติดตั้งใช้งานอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตั้งแต่ปี..

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสเปกโทรมิเตอร์สเปกโตรกราฟกล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรดดาราศาสตร์อินฟราเรด

  2. การทดลองวิทยาศาสตร์อวกาศ
  3. สเปกโทรมิเตอร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ดู กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

สเปกโทรมิเตอร์

สเปกโทรมิเตอร์ สเปกโทรมิเตอร์ (spectrometer) คือเครื่องมือวัดเชิงแสงชนิดหนึ่งที่ใช้ในการตรวจวัดคุณสมบัติเฉพาะของแสงได้แก่ สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมากนำไปใช้ในการวิเคราะห์สเปกตรัมเพื่อระบุชนิดของสสาร ผลการวัดที่แตกต่างกันโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากความเข้มของแสงที่แตกต่างกัน แต่บางทีก็อาจเกิดจากปรากฏการณ์โพลาไรซ์ก็ได้ ตัวแปรอิสระได้แก่ความยาวคลื่นของแสง มักระบุเป็นหน่วยย่อยของเมตร หรือบางครั้งก็ระบุเป็นสัดส่วนของพลังงานโฟตอน เช่น หมายเลขคลื่น หรืออิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งมักจะมีความสัมพันธ์กับความยาวคลื่นอยู่แล้ว เราใช้สเปกโทรมิเตอร์ในกระบวนการวิเคราะห์สเปกโทรสโกปี โดยสร้างเส้นสเปกตรัมขึ้น และตรวจวัดความยาวคลื่นกับความเข้ม สามารถวัดได้ตั้งแต่รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไปจนถึงรังสีอินฟราเรดไกล ถ้าย่านความถี่ของคลื่นที่สนใจตกอยู่ในย่านของสเปกตรัมที่ตามองเห็น มักเรียกการศึกษาเช่นนั้นว่า spectrophotometry หมวดหมู่:เครื่องมือวัด หมวดหมู่:การประมวลผลสัญญาณ.

ดู กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุและสเปกโทรมิเตอร์

สเปกโตรกราฟกล้องโทรทรรศน์อวกาศ

ปกโตรกราฟกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Imaging Spectrograph) คือ สเปกโตรกราฟที่ติดตั้งอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ทำงานตั้งแต่ปี 1997 จนถึงปี 2004 ทำหน้าที่สังเกตการณ์สำคัญๆ หลายอย่าง เช่น แยกสเปกตรัมของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะชื่อโอซิริส สเปกโตรกราฟกล้องโทรทรรศน์อวกาศถูกติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลระหว่างการซ่อมบำรุงครั้งที่สองในปี 1997 โดย มาร์ก ลี และ สตีเวน สมิธ แทนที่สเปกโตรกราฟความละเอียดสูง (High Resolution Spectrograph) และสเปกโตรกราฟวัตถุมัว (Faint Object Spectrograph) ที่เสีย มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ 5 ปี วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.

ดู กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุและสเปกโตรกราฟกล้องโทรทรรศน์อวกาศ

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ดู กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุและอินฟราเรด

ดาราศาสตร์อินฟราเรด

ราศาสตร์อินฟราเรด (Infrared astronomy) คือสาขาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันสามารถมองเห็นได้ในคลื่นอินฟราเรด การแผ่รังสีในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 400 นาโนเมตร (สีน้ำเงิน) ไปจนถึง 700 นาโนเมตร (สีแดง) คลื่นที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 700 นาโนเมตรแต่ต่ำกว่าคลื่นไมโครเวฟนี้ เป็นช่วงคลื่นที่เรียกว่า "อินฟราเรด" นักวิทยาศาสตร์จัดประเภทการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์อินฟราเรดว่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงแสง เพราะการตรวจวัดและสังเกตการณ์อาศัยเครื่องมือกลุ่มเดียวกัน (คือกระจก เลนส์ และ solid state digital detectors).

ดู กล้องใกล้อินฟราเรดและสเปกโตรมิเตอร์หลายวัตถุและดาราศาสตร์อินฟราเรด

ดูเพิ่มเติม

การทดลองวิทยาศาสตร์อวกาศ

สเปกโทรมิเตอร์