เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม

กลุ่มในและกลุ่มนอก vs. วัฒนธรรม

ในสาขาสังคมศาสตร์และจิตวิทยาสังคม กลุ่มใน (ingroup) เป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลนับว่าตนเป็นสมาชิก โดยเปรียบเทียบกัน กลุ่มนอก (outgroup) ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลไม่นับว่าตนเป็นสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ที่จำแนกโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศ อายุ หรือศาสนา และมีการพบว่า ความรู้สึกทางจิตใจว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม มีบทบาทในปรากฏการณ์ทางสังคมต่าง ๆ มากมาย คำภาษาอังกฤษว่า ingroup และ outgroup เกิดความนิยมเพราะงานของเฮ็นรี่ ทัชเฟ็ล และเพื่อนร่วมงาน เมื่อกำลังสร้างทฤษฎีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity theory) และได้ศึกษาความแตกต่างของกลุ่มในกลุ่มนอก โดยวิธีที่เรียกว่า minimal group paradigm พวกเขาพบว่า เราสามารถสร้างกลุ่มในตามความชอบใจของตน ภายในไม่กี่นาที และกลุ่มเช่นนี้อาจจะมีเอกลักษณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความชอบใจในภาพศิลป์บางอย่าง. วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม

กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วัฒนธรรมย่อยศาสนาสังคมศาสตร์

วัฒนธรรมย่อย

ในการเข้าใจทางสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมย่อย (subculture) ใช้เรียกลักษณะของกลุ่มสังคม ที่มีการยึดถือ บรรทัดฐาน และการกำหนดคุณค่าของสิ่งรูปธรรม และสิ่งนามธรรม แตกต่างกัน การพูดคุยในวัฒนธรรมย่อยเดียวกัน จะพูดคุยเรื่องเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมย่อยแบ่งออกมาจาก วัฒนธรรม โดยแต่ละสังคมจะแตกต่างกันอยู่กับ อายุ ชนชาติ ศาสนา เพศ ความรู้ พื้นฐานทางสังคม และมุมมองต่างๆ อย่างไรก็ตามคำว่า วัฒนธรรมย่อยมีการกำหนดแตกต่างกันไปตามนักทฤษฎีต่างๆ ลักษณะหลักที่เห็นได้ชัดของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย จะเห็นได้ว่า ความเชื่อ แนวคิด จะแตกต่างกันตามกลุ่ม อย่างจะเห็นได้ว่า กลุ่มวัยรุ่นมีการแต่งตัว รสนิยมการเลือกฟังเพลง แตกต่างจากกลุ่มผู้ใหญ่ เนื่องจากความเชื่อและการยึดถือแตกต่างกัน เปรียบเทียบ ในมุมมองของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง การยิ้มให้เพศตรงข้ามที่ไม่สนิท ในวัฒนธรรมเอเชีย ถือว่าเป็นการไม่สุภาพ ในขณะที่การไม่ยิ้มให้เพศตรงข้ามถือว่าเป็นเป็นการไม่สุภาพในบางวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริก.

กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรมย่อย · วัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

กลุ่มในและกลุ่มนอกและศาสนา · วัฒนธรรมและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

กลุ่มในและกลุ่มนอกและสังคมศาสตร์ · วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม

กลุ่มในและกลุ่มนอก มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ วัฒนธรรม มี 177 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 1.60% = 3 / (11 + 177)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: