สารบัญ
17 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวกลุ่มดาวกิ้งก่ากลุ่มดาวยีราฟกลุ่มดาวหมีใหญ่กลุ่มดาวซีฟิอัสกลุ่มดาวแอนดรอมิดากลุ่มดาวเพอร์ซิอัสราชินีสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลทรงกลมฟ้าทอเลมีดาวฤกษ์ดาวเหนือแอนดรอมิดาแคสซิโอเปียเพอร์ซิอัสเทพปกรณัมกรีก
- กลุ่มดาวของทอเลมี
- กลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ
กลุ่มดาว
กลุ่มดาวนายพราน เป็นกลุ่มดาวที่โดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากทั่วโลก (แต่ไม่ตลอดทั้งปี) กลุ่มดาว คือ กลุ่มของดาวฤกษ์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการในอวกาศสามมิต.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาว
กลุ่มดาวกิ้งก่า
กลุ่มดาวกิ้งก่า อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ระหว่างกลุ่มดาวหงส์ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และกลุ่มดาวแอนดรอเมดา เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ตั้งชื่อโดยโจแฮนเนส เฮเวลีอุส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวกิ้งก่า.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาวกิ้งก่า
กลุ่มดาวยีราฟ
กลุ่มดาวยีราฟ เป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ในซีกฟ้าเหนือ แต่ไม่เด่นชัดเพราะดาวฤกษ์สมาชิกมีความสว่างน้อย ปรากฏครั้งแรกในบันทึกของจาคอบ บาร์ตช์ เมื่อ ค.ศ.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาวยีราฟ
กลุ่มดาวหมีใหญ่
กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับคัลลิสโตในเทพนิยายกรีก ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด 7 ดวง ทำให้เกิดดาวเรียงเด่นซึ่งคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ คนลาว เรียกว่า ดาวหัวช้าง ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า คันไถ ในจีนและอเมริกาเหนือ เรียกว่า กระบวยใหญ่ กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือได้ โดยไล่จากขาหน้าขวา (βUMa) ไปทางขาหน้าซ้าย (αUMa) เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง นอกจากกลุ่มดาวหมีใหญ่ ยังมีอีกกลุ่มที่ใช้หาดาวเหนือได้คือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย หรือดาวค้างคาว สำหรับคนในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มาก ๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา สิ่งที่น่ารู้อีกอย่างเกี่ยวกับกลุ่มดาวหมีใหญ่คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่มีโลกที่สดใสและเป็นสีชมพูตลอดเวลาเนื่องจากกลุ่มดาวหมีใหญ่มีดาวบีตา(β)ชื่อว่า"มีรัก(Merak)".
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาวหมีใหญ่
กลุ่มดาวซีฟิอัส
กลุ่มดาวซีฟิอัส เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แทนราชาซีฟิอัสในเทพปกรณัมกรีก กลุ่มดาวซีฟิอัส มองเห็นได้ดีที่สุดในเวลา 21.00 น.ของเดือนพฤศจิกายน.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาวซีฟิอัส
กลุ่มดาวแอนดรอมิดา
กลุ่มดาวแอนดรอมิดา เป็นกลุ่มดาวทางท้องฟ้าทิศเหนือ ใกล้กับกลุ่มดาวม้าบิน เมื่อลากเส้นระหว่างดาวสำคัญ จะเห็นคล้ายรูปตัวเอใหญ่ (A) แต่ผอมยาวกว่า กลุ่มดาวนี้ได้ชื่อตามเจ้าหญิงแอนดรอมิดาในเทพปกรณัมกรีก ดาราจักรแอนดรอมิดาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวแอนดรอมิดา จะอยู่สูงที่สุดบนฟ้า เวลาประมาณ สามทุ่มในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดวงดาวในกลุ่มดาวแอนดรอมิดาเรียงกันเป็นรูปคล้ายผู้หญิง ดาวดวงสว่างที่เห็นได้ชัดเป็นส่วนศีรษะและเข็มขัด ส่วนแขนข้างหนึ่งคล้ายมีอะไรล่ามอยู่ (ทำให้ดูยาวกว่าแขนอีกข้าง) ดูโดยรวมแล้วจึงคล้ายกับสตรีนางหนึ่ง ถูกโซ่ล่ามไว้ ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเลซีตัส (Sea Monster, Cetus) และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (Perseus) (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย สิ่งที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดนักดูดาวให้ตั้งกล้องส่องมาทางกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ได้แก่ ดาราจักรแอนดรอมิดา หรือที่เรียกสั้น ๆ เป็นรหัสว่า M31 ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรรูปเกลียว (Spiral galaxy) คือมีลักษณะกลมแบนเหมือนจานสองใบประกบกัน มีแขนเกลียวยื่นออกมา คล้าย ๆ กันกับดาราจักรทางช้างเผือกของเรา และยังเป็นดาราจักรขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด (คืออยู่ห่างไปเพียง 2.2 ล้านปีแสง) คนแรกที่สามารถวัดระยะทางจากโลกไปถึงดาราจักรแอนดรอมิดาได้ คือเอ็ดวิน ฮับเบิล (ซึ่งต่อมากล้องโทรทรรศน์ลอยฟ้าฮับเบิล ก็ตั้งชื่อตามชายผู้นี้) เขาแสดงให้เห็นว่า ระยะทางจากโลกไปยังดาราจักรแอนดรอมิดานั้นมากกว่าขนาดของดาราจักรทางช้างเผือก ดังนั้น ดาราจักรแอนดรอมิดาจึงอยู่นอกทางช้างเผือกของเรา (เป็นอีกดาราจักรหนึ่งต่างหาก) และมีขนาดใหญ่มาก ๆ ถ้าถ่ายภาพดาราจักรแอนดรอมิดาด้วยกล้องดูดาวกำลังขยายสูงมาก ๆ จะพบว่า มันมีดาราจักรเพื่อนบ้านเล็ก ๆ เป็นฝ้าจาง ๆ อีก 2 ดาราจักร คือ M32 (NGC 221) และ M110 (NGC 205).
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาวแอนดรอมิดา
กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส
กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อตามวีรบุรุษกรีกผู้สยบเมดูซา กลุ่มดาวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวเพอร์ซิอัสมีดาวแปรแสงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อ ดาวอัลกอล (β Per) และเป็นตำแหน่งจุดกระจายดาวตกของฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ที่เกิดขึ้นกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส
ราชินี
ราชินี อาจหมายถึง; กษัตร.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและราชินี
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล
หพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) (IAU - International Astronomical Union) เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาคมดาราศาสตร์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเข้าด้วยกัน และเป็นสมาชิกของสภาวิทยาศาสตร์นานาชาติ (ไอซีเอสยู) มีอำนาจในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย รวมถึงวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์อื่น ๆ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลประกอบด้วยคณะทำงานตั้งชื่อระบบดาวเคราะห์ (Working Group for Planetary System Nomenclature - WGPSN) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการในการประชุมตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ และรับผิดชอบระบบโทรเลขดาราศาสตร์ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองโดยตรง สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล
ทรงกลมฟ้า
ในทางดาราศาสตร์และการเดินเรือ ทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) คือ ทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก คนยุคโบราณเชื่อกันว่าดาวฤกษ์ทุกดวงในท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกด้วยระยะทางเท่าๆ กัน และเป็นแบบจำลองที่ถูกต้องของเอกภพ แต่ในความเป็นจริง วัตถุท้องฟ้าต่างๆ อยู่ห่างจากโลกมากจนไม่สามารถคะเนระยะห่างที่แท้จริงได้ด้วยตาเปล่า บอกได้เพียงทิศทางที่ปรากฏเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทรงกลมฟ้าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับวิชาวัดตำแหน่งดาว เราสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางการปรากฏของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ได้ด้วยระบบพิกัดฟ้า ทรงกลมฟ้าสามารถแบ่งออกเป็นซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้โดยมีเส้นศูนย์สูตรคั่นกลาง ขณะที่โลกหมุนรอบแกนหมุน วัตถุในทรงกลมฟ้าจะปรากฏเคลื่อนที่หมุนไปรอบขั้วฟ้าด้วยคาบ 24 ชั่วโมง เรียกว่าการเคลื่อนที่ประจำวัน ขณะที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทรงกลมฟ้าจะหมุนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างก็ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก หมวดหมู่:ดาราศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและทรงกลมฟ้า
ทอเลมี
ลาดิออส โตเลเมออส (Κλαύδιος Πτολεμαῖος) รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ทอเลมี (Ptolemy) เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ทอเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอารบิกว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเจสต์ (Almagest) อัลมาเจสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอี.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและทอเลมี
ดาวฤกษ์
นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและดาวฤกษ์
ดาวเหนือ
ที่ถ่ายโดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นว่าดาวดวงอื่นดูคล้ายเคลื่อนที่วนรอบดาวเหนือ ดาวเหนือ หรือ ดาวโพลาริส (Polaris หรือ Cynosura) (α UMi / α หมีเล็ก / แอลฟาหมีเล็ก) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก และอยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ จึงปรากฏเหมือนอยู่นิ่งกับที่บนท้องฟ้า (แท้จริงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะแกนหมุนของโลกมีการส่าย) การที่ดาวเหนืออยู่ในทิศทางที่เกือบจะเป็นทิศทางเดียวกับแกนหมุนของโลก ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จึงดูเหมือนเคลื่อนที่วนเป็นวงกลมรอบดาวเหนือ นักสำรวจอาศัยดาวเหนือในการเดินเรือ ปัจจุบันดาวเหนือไม่ได้อยู่ตรงกับขั้วฟ้าเหนือแต่ห่างจากขั้วฟ้าเหนือเล็กน้อย (ไม่เกิน 1°) จึงเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็ก ๆ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2° มีเพียงสองเวลาในวันหนึ่ง ๆ ที่ดาวเหนืออยู่ตรงกับทิศเหนือพอดี ส่วนในเวลาอื่นต้องอาศัยตารางคำนวณเพื่อหาทิศเหนือที่แม่นยำ แท้จริงแล้วดาวเหนือไม่ได้บอกทิศเหนือตลอดไป การที่แกนหมุนของโลกส่ายคล้ายลูกข่างด้วยคาบ 26,000 ปี ทำให้ดาวฤกษ์ดวงอื่นเคยเป็นดาวเหนือมาก่อน เช่น ดาวทูแบนในกลุ่มดาวมังกร ส่วนในอนาคต จะเป็นดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ในอนาคตอันใกล้นี้ เรายังสามารถใช้ดาวเหนือบอกทิศเหนือได้ต่อไป โดยที่ดาวเหนือจะอยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือมากที่สุดในปี ค.ศ.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและดาวเหนือ
แอนดรอมิดา
ภาพเขียนแสดงเจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ริมทะเลเพื่อรอเป็นอาหารของซีตัส แอนดรอมิดา (Andromeda) เป็นนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกผู้ซึ่งถูกตรึงโซ่ไว้กับหินเพื่อเป็นเครื่องสังเวยแก่สัตว์ประหลาดแห่งท้องทะเลและได้รับการช่วยเหลือโดยวีรบุรุษเพอร์ซิอัส (Perseus) ผู้ซึ่งนางได้สมรสด้วยในภายหลัง ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เพราะมีพระราชชนนีเป็นคนคุยโวมาก เทพเจ้าแห่งท้องทะเลจึงส่งสัตว์มหายักษ์ ซีตัส (Sea Monster, Cetus) อสุรกายผู้มีร่างน่าเกลียดมาบันดาลคลื่นลม พายุกระหน่ำน้ำท่วมกรุงเอธิโอเปียอย่างหนักหน่วง วิธีเดียวที่จะแก้วิกฤตการณ์นี้ได้ คือ กษัตริย์ซีฟีอัสต้องเสียดวงใจอันเป็นที่รักยิ่งคือราชธิดา ส่งไปสังเวยสัตว์มหายักษ์ซีตัส เพื่อความผาสุกของประชากร กษัตริย์ซีฟีอัสจึงตัดใจเอาราชธิดาไปผูกติดไว้ที่ก้อนหินชายทะเลให้ซีตัสจัดการตามต้องการ เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเล และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย หมวดหมู่:ตำนาน หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและแอนดรอมิดา
แคสซิโอเปีย
กษัตริย์เซฟิอัสแห่งเอธิโอเปีย และราชินีแคสซิโอเปีย ขอบพระทัย เพอร์ซิอุส ที่มาช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมีดา บุตรสาวของตน, ''La Délivrance d'Andromède'' (1679) Pierre Mignard, พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ แคสซิโอเปีย (Cassiopeia) เป็นชื่อของบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีกหลายคน เช่น.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและแคสซิโอเปีย
เพอร์ซิอัส
อร์ซิอัสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน เพอร์ซิอัส (Perseus; Περσεύς) เป็นบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของเทพซูสกับหญิงชาวมนุษย์ชื่อ นางแดนาอี ตามตำนานกรีกเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นไมซีนี และเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เพอร์เซอิด เขาเป็นวีรบุรุษคนแรกในปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย ในยุครุ่งเรืองเทพโอลิมปัสทั้ง 12 องค์ ชาวกรีกเชื่อกันว่าเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งเมืองไมซีนีขึ้น ณ จุดที่ได้สังหารอะคริซิอัส พระเจ้าตาของตนโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้เพอร์ซิอัสยังเป็นผู้สังหารเมดูซาและเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมิดาจากเคตัส (Cetus) ปีศาจทะเลซึ่งถูกส่งมาโดยเทพโปเซดอน เพื่อทำลายเอธิโอเปีย ชื่อของเพอร์ซิอัสยังขาดข้อสรุปทางนิรุกติศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อโบราณก่อนภาษากรีกจะเข้ามา แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีรากมาจากคำกริยากรีกว่า "πέρθειν" (perthein) แปลว่า ปล้นสะดม หรือ เข้าตีเมือง.
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและเพอร์ซิอัส
เทพปกรณัมกรีก
รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..
ดู กลุ่มดาวแคสซิโอเปียและเทพปกรณัมกรีก
ดูเพิ่มเติม
กลุ่มดาวของทอเลมี
- กลุ่มดาวกระต่ายป่า
- กลุ่มดาวคนครึ่งม้า
- กลุ่มดาวคนคู่
- กลุ่มดาวคนยิงธนู
- กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มดาวคนแบกงู
- กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
- กลุ่มดาวคันชั่ง
- กลุ่มดาวงู
- กลุ่มดาวงูไฮดรา
- กลุ่มดาวซีตัส
- กลุ่มดาวซีฟิอัส
- กลุ่มดาวถ้วย
- กลุ่มดาวนกกา
- กลุ่มดาวนกอินทรี
- กลุ่มดาวนายพราน
- กลุ่มดาวปลา
- กลุ่มดาวปลาใต้
- กลุ่มดาวปู
- กลุ่มดาวพิณ
- กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ
- กลุ่มดาวมงกุฎใต้
- กลุ่มดาวมังกร
- กลุ่มดาวม้าบิน
- กลุ่มดาวม้าแกลบ
- กลุ่มดาวลูกธนู
- กลุ่มดาววัว
- กลุ่มดาวสามเหลี่ยม
- กลุ่มดาวสารถี
- กลุ่มดาวสิงโต
- กลุ่มดาวหงส์
- กลุ่มดาวหญิงสาว
- กลุ่มดาวหมาป่า
- กลุ่มดาวหมาเล็ก
- กลุ่มดาวหมาใหญ่
- กลุ่มดาวหมีเล็ก
- กลุ่มดาวหมีใหญ่
- กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส
- กลุ่มดาวเรืออาร์โก
- กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
- กลุ่มดาวแกะ
- กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
- กลุ่มดาวแท่นบูชา
- กลุ่มดาวแพะทะเล
- กลุ่มดาวแมงป่อง
- กลุ่มดาวแม่น้ำ
- กลุ่มดาวแอนดรอมิดา
- กลุ่มดาวโลมา
กลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ
- กลุ่มดาวกิ้งก่า
- กลุ่มดาวคนคู่
- กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มดาวซีฟิอัส
- กลุ่มดาวปู
- กลุ่มดาวผมเบเรนิซ
- กลุ่มดาวพิณ
- กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ
- กลุ่มดาวมังกร
- กลุ่มดาวม้าบิน
- กลุ่มดาวม้าแกลบ
- กลุ่มดาวยีราฟ
- กลุ่มดาวลูกธนู
- กลุ่มดาวสามเหลี่ยม
- กลุ่มดาวสารถี
- กลุ่มดาวสิงโตเล็ก
- กลุ่มดาวหงส์
- กลุ่มดาวหมาจิ้งจอก
- กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ
- กลุ่มดาวหมีเล็ก
- กลุ่มดาวหมีใหญ่
- กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส
- กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
- กลุ่มดาวแกะ
- กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
- กลุ่มดาวแมวป่า
- กลุ่มดาวแอนดรอมิดา
- กลุ่มดาวโลมา
หรือที่รู้จักกันในชื่อ กลุ่มดาวคาสิโอเปียกลุ่มดาวค้างคาว