โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลาซา

ดัชนี ลาซา

ลาซา เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองทิเบตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในที่ราบสูงทิเบต รองจากเมืองซีหนิง และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,490 เมตร (11,450 ฟุต) ซึ่งนั่นเองทำให้ลาซากลายเป็นหนึ่งในเมืองที่อยู่สูงที่สุดของโลก ในเมืองประกอบไปด้วยหลายวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะศาสนสถานของศาสนาพุทธ-ทิเบต เช่นพระราชวังโปตาลา หรือ วัดโจคัง หรือ พระราชวังโนร์บูกลิงกา เป็นต้น.

23 ความสัมพันธ์: ชาวฮั่นชาวทิเบตพระราชวังโปตาลาพระราชวังโนร์บูกลิงกาพระเจ้าซรอนซันกัมโปพินอินกลุ่มภาษาจีนภาษาจีนกลางภาษาทิเบตวัดโจคังศาสนาพุทธแบบทิเบตหุยออกซิเจนอักษรจีนอักษรทิเบตที่ราบสูงทิเบตประเทศจีนประเทศเนปาลแม่น้ำพรหมบุตรไฮน์ริค ฮาร์เรอร์เวลามาตรฐานจีนเทือกเขาหิมาลัยเขตปกครองตนเองทิเบต

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: ลาซาและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ชาวทิเบต

วทิเบต เป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตปกครองตนเองทิเบต ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และถือชนชาติกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่เป็นของตนเอง แต่ความเป็นชุมชนเมืองและเศรษฐกิจของชาวจีนซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่กำลังทำลายความเป็นทิเบตดั้งเดิม ดั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศต่างๆทั่วโลก ชาวทิเบตสืบเชื้อสายจากชนเผ่าตูรัน และตังกุตในเอเชียกลาง ต่อมาได้อพยพมาจากทางตอนบนในเขตหุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำยาร์ลุงซางโป และแต่งงานกับชนพื้นเมืองแถบนี้ แล้วออกลูกออกหลานเป็นชาวทิเบตในปัจจุบัน ชาวทิเบตเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ในอดีตเคยเป็นพวกชาวเขาที่ไม่แตกต่างกับชาวเขาทั่วไป แต่พอได้รับพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานจากพระปัทมสัมภวะ (คุรุรินโปเช่) ทำให้ทิเบตมีวัฒนธรรมที่โดดเด่น ชาวทิเบตส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธวัชรยาน นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลามราว 2,000 คน และคริสตังทิเบตราว 600 คน.

ใหม่!!: ลาซาและชาวทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังโปตาลา

right พระราชวังโปตาลา (ภาษาทิเบต: པོ་ཏ་ལ།, การแปลโดยระบบไวลี: Po ta la; อักษรจีนตัวย่อ: 布达拉宫; อักษรจีนตัวเต็ม: 布達拉宮) ตั้งอยู่ที่กรุงลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน พระราชวังแห่งนี้อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 3,600 เมตร บนที่ราบสูงทิเบต พระราชวังซึ่งเป็นทั้งป้อมปราการ และ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าซรอนซันกัมโป ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิทิเบต ตัวพระราชวังถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้งหลายคราว จนถึงรัชสมัย ทะไลลามะ องค์ที่ 5 ใน..

ใหม่!!: ลาซาและพระราชวังโปตาลา · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังโนร์บูกลิงกา

ระราชวังโนร์บูกลิงกา พระราชวังโนร์บูกลิงกา (ནོར་བུ་གླིང་ཀ་; ไวลีย์: Nor-bu-gling-ka;; หมายถึง "สวนแห่งสมบัติ") หรือ พระราชวังฤดูร้อนโนร์บูลิงกา เป็นพระราชวังล้อมรอบไปด้วยอุทยานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต เป็นสิ่งก่อสร้างหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลา ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี..

ใหม่!!: ลาซาและพระราชวังโนร์บูกลิงกา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซรอนซันกัมโป

ระเจ้าซรอนซัน กัมโป (กลาง), เจ้าหญิงเหวินเฉิง (ขวา) และเจ้าหญิงภริคุติ(ซ้าย) พระเจ้าซรอนซันกัมโป (ทิเบต: སྲོང་བཙན་སྒམ་པོ་, Songtsän Gampo) เป็นกษัตริย์ทิเบตระหว่าง พ.ศ. 1163 - 1193 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของทิเบตที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ทรงครองราชย์ในสมัยที่ทิเบตเรืองอำนาจทางทหาร ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งจีนและเนปาล โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงภริคุติ ราชธิดาของพระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล และเจ้าหญิงเวนเชิง ราชธิดาของพระเจ้าถังไท้ซุง กษัตริย์จีน พระชายาทั้งสององค์นี้นับถือพุทธศาสนา และได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ในทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป ได้ส่งเสนาบดีของพระองค์คือ ทอนมีสัมโภทาไปศึกษาศาสนาพุทธในอินเดีย เมื่อกลับมา สัมโภทาได้ประดิษฐ์อักษรทิเบตและเขียนไวยากรณ์ภาษาทิเบต ส่งผลให้มีการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต นอกจากนี้ พระองค์ได้วางระเบียบปฏิบัติ 16 ข้อ ที่ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของทิเบต และย้ายเมืองหลวงจากยาลุงไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่นครลาซ.

ใหม่!!: ลาซาและพระเจ้าซรอนซันกัมโป · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ลาซาและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ลาซาและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ลาซาและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทิเบต

ษาทิเบตเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเศรป.

ใหม่!!: ลาซาและภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

วัดโจคัง

งภาวนาและโบสถ์วัดโจคัง วัดโจคัง (Jokhang Monastery)ในปี..647 พระเจ้าซงเซน กัมโป โปรดให้สร้าง วัดโจคัง หรือ ต้าเจาซื่อ (Dazhao Si) ขึ้น เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูปพระอักโษภยพุทธะ (Akshobhya) ที่ เจ้าหญิงภกุฎเทวี ทรงอัญเชิญมาจากประเทศเนปาล ตามตำนานกล่าวว่า เป็นรูปเหมือนพระพุทธเจ้า เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา แต่ต่อมา ในคริสต์ศวรรษที่ 8 เจ้าหญิงจากจีนอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงจินเฉิง (Jincheng Gongzu) ซึ่งได้เดินทางมาอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าซื่อเต่อจู่จั้น-กษัตริย์ของทิเบตได้สลับเอา พระพุทธรูปโจโว ริมโปเช (Jovo Rimpoche) หรือ รูปเหมือนพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 ชันษา ที่ เจ้าหญิงเหวินเฉิง อัญเชิญจากนครฉางอาน ราชธานีแห่งราชวงศ์ถังมาสู่ดินแดนทิเบต ในครั้งที่ทรงเดินทางมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซงเซน กัมโป ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดราโมช (Ramoche Monastery) หรือ เสี่ยวเจาซื่อ (Xiaozhao Si) มาใว้ที่มหาวิหารวัดโจคัง แล้วย้ายพระพุทธรูปอักโษภยะไปใว้ที่วัดราโมชแทน โจโว รินโปเช เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวทิเบตทั้งผอง ที่ต่างหมายมุ่งเดินทางขอได้มากราบอัษฎางคประดิษฐ์ รอบพระวิหารวัดโจคัง และสักการะโจโว ริมโปเช ที่มีอายุมานานกว่า 1,400 ปีแห่งนี้ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต วัดโจคัง ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังโปตาลาราว 1 กิโลเมตร ภายในอารามโจคัง (Rimpoche Monastery) ประดิษฐาน โจโว ริมโปเช สีทองอร่าม ทรงเครื่องกษัตริย์ ประดับด้วยเพชรพลอยอัญมณีล้ำค่า สูง 1.5 เมตร เป็นองค์สำคัญที่สุด นอกจากนั้น ภายในวิหารอันขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ยังประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรย (หรือพระซัมบา) พระรูปของ ท่านปัทมสัมภาวะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสหัสหัตถ์ (พระเซ็นเรซี หรือพระกวนอิมโพธิสัตว์) เป็นต้น ภายนอกด้านหน้าวิหารมี แผ่นศิลาจารึก การเจรจาสันติภาพระหว่าง ทิเบต กับ จีน ในปี..821-822 สมัยพระเจ้าตรีซุกเตเซ็น จารึกเป็นภาษาทิเบตและภาษาจีน รวมถึงยังมี ก๊อกน้ำ ที่ชาวทิเบตเชื่อถือว่า เป็นสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลขึ้นมาจากหนองน้ำในอดีตทำให้ชาวทิเบตและผู้มาเยือนต่างเข้าแถวยืนรองน้ำจากก๊อกดังกล่าว เพื่อใช้ชำระร่างกายก่อนเข้าไปสวดมนต์สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ขึ้นไปบนยอดหลังคาปีกหน้าวิหาร มี กงล้อพระธรรมจักร และ กวางหมอบคู่หนึ่ง เป็นสัญลักษณ์การปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน รวมทั้งกระบอกมนตราขนาดใหญ่สีทอง แลไปเบื้องหน้าจะเห็นพระราชวังโปตาลาตั้งตระหง่าน เป็นฉากงามตระการยิ่งใหญ่มองลงไปเบื้องล่างรายรอบวัดโจคัง มีลานกว้างและตลาดใหญ่ ผู้คนเดินพลุกพล่านมากที่สุดในนครแห่งนี้ หมวดหมู่:ศาสนาพุทธแบบทิเบต หมวดหมู่:วัดในประเทศจีน.

ใหม่!!: ลาซาและวัดโจคัง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: ลาซาและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

หุย

วหุย (จีน:回族;พินอิน:Huízú, อาหรับ:هوي) เป็นมุสลิมกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน มีประชากร 9.82 ล้านคน มีประชากรเพียงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดในเขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย ชาวหุยก็คือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวหุยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุรกันดารทางตอนใต้ของเขตปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าชาวหุยจะเป็นมุสลิม นับถืออิสลาม แต่ในปัจจุบันการแยกความแตกต่างของชาวหุยกับชาวจีนฮั่นโดยใช้ศาสนาค่อนข้างจะยากอยู่ ชาวหุยที่เป็นผู้ชายจะสวมหมวกสีขาว ส่วนผู้หญิงชาวหุยบางคนในปัจจุบันยังคงใส่ม่านบังหน้า ชาวหุยหลายคนที่ไม่คิดว่าคำว่า "เมกกะ" มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ในประเทศไทยชาวจีนที่นับถืออิสลาม จะเรียกว่า "จีนฮ่อ" ในพม่าจะเรียกว่า "ปันทาย" (Panthay) และชาวจีนมุสลิมที่อยู่ในเอเชียกลางจะถูกเรียกว่า "ดันกัน" (Dungans;дунгане).

ใหม่!!: ลาซาและหุย · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ลาซาและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: ลาซาและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทิเบต

ระอักษรทิเบต ในช่วง..

ใหม่!!: ลาซาและอักษรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบสูงทิเบต

ริเวณที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และมีพื้นที่บางส่วนในลาดักแคว้นแคชเมียร์ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร มีความสูงโดยเฉลี่ย 4,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงได้ชื่อว่าเป็นหลังคาโลก เขตที่ราบสูงทิเบตเป็นเขตที่ราบสูงที่มีภูเขาล้อมถึง 3 ด้าน คือทางทิศเหนือมีเทือกเขาคุนหลุนทิศใต้มีเทือกเขาหิมาลัย และทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาคาราโครัม ที่ราบสูงทิเบตเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสายได้แก่ แม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง แม่น้ำพรหมบุตร หมวดหมู่:ที่ราบสูง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: ลาซาและที่ราบสูงทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ลาซาและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ลาซาและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: ลาซาและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริค ฮาร์เรอร์

น์ริค ฮาร์เรอร์ (เยอรมัน: Heinrich Harrer) ชาวออสเตรียที่ถูกจับเป็นเชลยในสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วหนีออกจากค่ายในประเทศอินเดียเข้าไปทิเบตเป็นเวลา 7 ปี และได้ช่วยเป็นครูสอนองค์ทะไลลามะเกี่ยวกับเรื่องราวของโลกภายนอก เมื่อประเทศจีนเข้ายึดทิเบตเขาจึงกลับบ้านเกิด เรื่องราวของเขาถูกเขียนเป็นหนังสือ Seven Years in Tibet และถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ด้วยเช่นกันในชื่อ 7 ปี โลกไม่มีวันลืม ซึ่งได้นักแสดงชายอย่าง แบรด พิตต์มารับบทของตัวเขาในเรื่อง.

ใหม่!!: ลาซาและไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานจีน

วลามาตรฐานจีน หรือ เวลาปักกิ่ง เป็นเขตเวลาซึ่งใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัดอยู่ 8 ชั่วโมง (UTC+8) ในขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออก รวมไปถึงมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ได้ใช้เขตเวลาเดียวกันนี้ เพียงแต่ใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันเท่านั้น ประเทศจีนเคยใช้เวลาออมแสงระหว่างปี..

ใหม่!!: ลาซาและเวลามาตรฐานจีน · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: ลาซาและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: ลาซาและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กรุงลาซา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »