โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวทิเบต

ดัชนี ชาวทิเบต

วทิเบต เป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตปกครองตนเองทิเบต ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และถือชนชาติกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่เป็นของตนเอง แต่ความเป็นชุมชนเมืองและเศรษฐกิจของชาวจีนซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่กำลังทำลายความเป็นทิเบตดั้งเดิม ดั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศต่างๆทั่วโลก ชาวทิเบตสืบเชื้อสายจากชนเผ่าตูรัน และตังกุตในเอเชียกลาง ต่อมาได้อพยพมาจากทางตอนบนในเขตหุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำยาร์ลุงซางโป และแต่งงานกับชนพื้นเมืองแถบนี้ แล้วออกลูกออกหลานเป็นชาวทิเบตในปัจจุบัน ชาวทิเบตเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ในอดีตเคยเป็นพวกชาวเขาที่ไม่แตกต่างกับชาวเขาทั่วไป แต่พอได้รับพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานจากพระปัทมสัมภวะ (คุรุรินโปเช่) ทำให้ทิเบตมีวัฒนธรรมที่โดดเด่น ชาวทิเบตส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธวัชรยาน นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลามราว 2,000 คน และคริสตังทิเบตราว 600 คน.

32 ความสัมพันธ์: ชาวจีนพระเจ้าซรอนซันกัมโปภาษาภาษาลาดักภาษาทิเบตมณฑลชิงไห่มณฑลกานซู่มณฑลยูนนานมณฑลเสฉวนรัฐชัมมูและกัศมีร์รัฐสิกขิมรัฐอรุณาจัลประเทศลอบซัง ซังเกย์วัชรยานศาสนาศาสนาพุทธศาสนาพุทธแบบทิเบตศาสนาอิสลามสหรัฐทะไลลามะทะไลลามะที่ 14ทิเบตภายใต้การปกครองของจีนประวัติศาสตร์ทิเบตประเทศภูฏานประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศแคนาดาประเทศเนปาลน่าซีโรมันคาทอลิกเอเชียกลางเขตปกครองตนเองทิเบต

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซรอนซันกัมโป

ระเจ้าซรอนซัน กัมโป (กลาง), เจ้าหญิงเหวินเฉิง (ขวา) และเจ้าหญิงภริคุติ(ซ้าย) พระเจ้าซรอนซันกัมโป (ทิเบต: སྲོང་བཙན་སྒམ་པོ་, Songtsän Gampo) เป็นกษัตริย์ทิเบตระหว่าง พ.ศ. 1163 - 1193 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของทิเบตที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ทรงครองราชย์ในสมัยที่ทิเบตเรืองอำนาจทางทหาร ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งจีนและเนปาล โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงภริคุติ ราชธิดาของพระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล และเจ้าหญิงเวนเชิง ราชธิดาของพระเจ้าถังไท้ซุง กษัตริย์จีน พระชายาทั้งสององค์นี้นับถือพุทธศาสนา และได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ในทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป ได้ส่งเสนาบดีของพระองค์คือ ทอนมีสัมโภทาไปศึกษาศาสนาพุทธในอินเดีย เมื่อกลับมา สัมโภทาได้ประดิษฐ์อักษรทิเบตและเขียนไวยากรณ์ภาษาทิเบต ส่งผลให้มีการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต นอกจากนี้ พระองค์ได้วางระเบียบปฏิบัติ 16 ข้อ ที่ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของทิเบต และย้ายเมืองหลวงจากยาลุงไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่นครลาซ.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและพระเจ้าซรอนซันกัมโป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: ชาวทิเบตและภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาดัก

ษาลาดัก (ภาษาทิเบต: ལ་དྭགས་སྐད་; La-dwags skad) หรือภาษาโภติหรือที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่าภาษาทิเบตโบราณตะวันตก เป็นภาษาหลักของชาวลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีระ และใช้พูดในบัลติสถาน ภาษาลาดักใกล้เคียงกับภาษาทิเบต ชาวลาดักเองก็มีวัฒนธรรมหลายอย่างใกล้ชิดกับชาวทิเบต รวมทั้งนับถือศาสนาพุทธแบบทิเบตด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาลาดักกับภาษาทิเบตกลางไม่สามารถเข้าใจกันได้ แม้ว่าจะมีการเขียนที่ถ่ายทอดมาจากภาษาทิเบตโบราณ มีผู้พูดภาษาลาดักในอินเดีย 200,000 คน และอาจจะมีอีกราว 12,000 คนในทิเบตที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน สำเนียงย่อยหลายสำเนียง ส่วนใหญ่ไม่มีวรรณยุกต์ ยกเว้นสำเนียงสโตตสกัตและสำเนียงลาดักบนที่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาทิเบตกลาง.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและภาษาลาดัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทิเบต

ษาทิเบตเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเศรป.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชิงไห่

มณฑลชิงไห่ ชื่อย่อ ชิง(青)‘ชิงไห่’ แปลว่าทะเลสีเขียวชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุด ของจีนที่อยู่ในมณฑล มีเมืองหลวงชี่อ ซีหนิง (西宁)มีเนื้อที่ทั้ง 721,000 ก.ม.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและมณฑลชิงไห่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและมณฑลกานซู่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชัมมูและกัศมีร์

ตในรัฐชัมมูและกัศมีร์ แสดงถึงเขตการปกครองและบริเวณดินแดนพิพาท รัฐชัมมูและกัศมีร์ หรือ รัฐจัมมูและแคชเมียร์ คือรัฐเหนือสุดของประเทศอินเดีย ดินแดนส่วนมากตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากนั้นยังเป็นบริเวณพิพาทระหว่างอินเดีย ปากีสถาน และจีนด้ว.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและรัฐชัมมูและกัศมีร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสิกขิม

รัฐสิกขิม (เทวนาครี: सिक्किम; ภาษาทิเบต: འབྲས་ལྗོངས་; Sikkim) คือรัฐหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน ทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน และทิศใต้ติดต่อกับรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐหนึ่งของอินเดีย แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเกล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและรัฐสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอรุณาจัลประเทศ

ประเทศ รัฐอรุณาจัลประเทศ คือ ดินแดนใต้การปกครองของประเทศอินเดีย แต่ถูกเรียกร้องจากทางการจีนว่าเป็นดินแดนของตนในชื่อว่า ทิเบตใต้ (藏南 ซั่นหนาน) รัฐอรุณาจัลประเทศมีเขตติดต่อกับ รัฐอัสสัมและรัฐนาคาแลนด์ทางใต้ รัฐกะฉิ่น ประเทศพม่าทางตะวันออก ประเทศภูฏานทางตะวันตก และเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีนทางทิศเหนือ อรุณาจัลประเทศมีความหมายว่า ดินแดนอาทิตย์อุทัย เนื่องจากตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศอินเดีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าที่พูดตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นเชื้อสายชาวทิเบต ชาวไท และชาวพม่า โดยมีประชากรร้อยละ 16 เป็นผู้อพยพ เป็นรัฐที่มีชื่อเสียงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีงานศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและรัฐอรุณาจัลประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ลอบซัง ซังเกย์

ลอบซัง ซังเกย์ (བློ་བཟང་སེང་གེ; blo-bzang seng-ge) นักกฎหมายชาวทิเบต เป็นหนึ่งในนักเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชให้กับทิเบต ปัจจุบันได้รับเลือกตั้งให้เป็น Kalon Tripa หรือ นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบต เมื่อวันที่ 11 เมษายน..

ใหม่!!: ชาวทิเบตและลอบซัง ซังเกย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ชาวทิเบตและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: ชาวทิเบตและทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะที่ 14

ทนซิน เกียตโซ ทะไลลามะที่ 14 (ภาษาทิเบต: བསྟན་འཛིན་རྒྱ་མཚོ་; Bstan-'dzin Rgya-mtsho; ภาษาจีน: 第十四世达赖喇嘛; His Holiness the 14th Dalai Lama, 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน) คือองค์ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบต ถึงแม้ว่าทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ยินยอมก็ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและทะไลลามะที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบตภายใต้การปกครองของจีน

แผนที่ทิเบต ธิเบตเคยเป็นประเทศเอกราชไม่ขึ้นกับใครเป็นเวลากว่า 2000 ปี และมีกฎหมายเป็นของตนเอง ก่อนที่จะมีการบุกรุกของจีนในปี..

ใหม่!!: ชาวทิเบตและทิเบตภายใต้การปกครองของจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทิเบต

ทิเบต ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาต.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและประวัติศาสตร์ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: ชาวทิเบตและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ชาวทิเบตและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

น่าซี

วน่าซี หรือ หน่าซี เป็นชนกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองลี่เจียง เมืองที่มีมนต์เสน่ห์แห่งหนึ่งของมณฑลยูนนาน.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและน่าซี · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ชาวทิเบตและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: ชาวทิเบตและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: ชาวทิเบตและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »