เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กรีมัวร์

ดัชนี กรีมัวร์

กรีมัวร์ (grimoire) เป็นตำราไสยเวท เกี่ยวกับสูตรยาวิเศษ (potion) วิธีสร้างเครื่องราง ของขลังอื่น ๆ รวมไปถึงวิธีการร่ายเวทมนต์ การทำสเน่ห์ การทำนายทายทัก และการเรียกหรือเชิญสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทพ ภูต สัมภเวสี หรือ ปีศาจ มาเข้าทรง คำว่า "กรีมัวร์" (grimoire) เชื่อกันว่ามีที่มาจากคำภาษาฝรั่งเศส grammaire ซึ่งในสมัยโบราณใช้เรียกหนังสือทุกเล่มที่แต่งเป็นภาษาลาติน แต่ในฝรั่งเศสราวศตวรรษที่ 18 คำว่า กรีมัวร์ เริ่มใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับหนังสือเวทมนต์ และได้ใช้ในความหมายนี้เรื่อยมา โดยเฉพาะตำราเขียนด้วยมือที่เป็นภาษาลาติน.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: ภาษาละติน

  2. คุยหลัทธิตะวันตก
  3. ศาสนวัตถุ
  4. ไสยศาสตร์

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ดู กรีมัวร์และภาษาละติน

ดูเพิ่มเติม

คุยหลัทธิตะวันตก

ศาสนวัตถุ

ไสยศาสตร์