โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรีซยุคอาร์เคอิก

ดัชนี กรีซยุคอาร์เคอิก

กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก.

14 ความสัมพันธ์: บาซิเลวส์กรีซยุคคลาสสิกกรีซโบราณอักษรกรีกอารยธรรมอีเลียดฮอปไลต์ทรราชทิวซิดิดีสครีตประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียนโบราณคดีโอดิสซีย์เฮอรอโดทัส

บาซิเลวส์

งินเหรียญของ  แอติโอคุสที่ 1 กษัตริย์แห่งเซเลวซิส ด้านกลับกันแสดง อพอลโล นั่งอยู่บน ออมฟาลอส มีคำกรีกจารึกอ่านว่า ΒΑΣΙΛΕΩΣ ΑΝΤΙΟΧΟΥ(ของพระราชาอันติโอคุส) บาซิเลวส์ หรือ Basileus เป็นคำกรีกที่ใช้เรียกตำแหน่งผู้ปกครองแบบกษัตริย์ในสมัยกรีกโบราณ (ซึ่งมีความหมายเดียวกับภาษาโรมันว่า REX) ในช่วงการปกครองของอาณาจักรโรมันตะวันออก คำว่า บาซิเลวส์ เป็นชื่อเรียกตำแหน่งพระจักรพรรดิ์ไบแซนไทน.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและบาซิเลวส์ · ดูเพิ่มเติม »

กรีซยุคคลาสสิก

เพลโตเดินถกปรัชญาอยู่กับอริสโตเติล (จากภาพ school of Athens โดยราฟาเอล) กรีซยุคคลาสสิก หรือ กรีซสมัยคลาสสิก เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของกรีซโบราณที่อยู่ระหว่าง กรีซสมัยอาร์เคอิก และสมัยเฮลเลนิสติก โดยมีระยะเวลายาวนานประมาณ 200 ปี (ศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนค.ศ.) ตั้งแต่ชัยชนะของเอเธนส์ที่ซาลามิส ต่ออาณาจักรเปอร์เซีย ในปีที่ 480 ก่อน..

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและกรีซยุคคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรม

มือง เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมมนุษย์ อารยธรรม โดยทั่วไปอาจหมายถึงความเจริญทางวัฒนธรรม แต่สำหรับทางด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม อาจหมายถึงการศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆในระบบสังคมนั้นๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและการล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่น.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและอารยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

ฮอปไลต์

อปไลต์ (hoplite) เป็นพลเมือง-ทหารของนครรัฐกรีกโบราณ ซึ่งติดอาวุธด้วยหอกและโล่เป็นหลัก ยุทธวิธีหลัก คือ รูปขบวนแฟแลงซ์ ทหารเหล่านี้เป็นพลเมืองอิสระเป็นหลัก มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรและช่างศิลป์ซึ่งสามารถหาซื้อชุดเกราะและอาวุธสำริดได้ ซึ่งประเมินว่ามีหนึ่งในสามถึงกึ่งหนึ่งของประชากรชายผู้ใหญ่ฉกรรจ์ โดยทั่วไปฮอปไลต์ได้รับการฝึกทหารพื้นฐาน ใน 690 ปีก่อน..

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและฮอปไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรราช

ทรราช () ความหมายดั้งเดิมในสมัยกรีกโบราณ หมายถึง บุคคลที่ได้ล้มล้างรัฐบาลที่ถูกต้องโดยชอบธรรมของรัฐ แล้วสถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองแบบเผด็จการแทนที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชนชั้นชาวนาและพ่อค้า สำหรับเพลโต และ อาริสโตเติลนั้นได้ให้ความหมาย ทรราชย์ ไว้ว่า "การปกครองของคนๆ เดียวในรูปแบบของราชาธิปไตยที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือฉ้อฉลในอำนาจ มีเป้าหมายมุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ละเลยการให้ความใส่ใจต่อความทุกข์ยาก เดือดร้อน และประโยชน์สุขของสังคมโดยรวมของผู้ใต้การปกครอง".

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและทรราช · ดูเพิ่มเติม »

ทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและทิวซิดิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและครีต · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน

ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of The Peloponnesian War; Ιστορία του Πελοποννησιακού Πολέμου) เป็นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์การสู้รบ และการเมืองระหว่างประเทศในระหว่างสงครามเพโลพอนนีเซียน (431 - 404 ปีก่อนคริสตศักราช) ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่าง ฝ่ายสันนิบาตเพโลพอนนีสภายใต้การนำของ สปาร์ตา และฝ่ายสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำของเอเธนส์ ที่กินเวลายาวนานถึง 30 ปี และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของนครเอเธนส์ ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาตดีเลียน และเป็นจุดสิ้นสุดยุครุ่งเรืองของเอเธนส์ งานนิพนธ์นี้ถูกประพันธ์ขึ้นโดย ทิวซิดิดีส นักประวัติศาสตร์ และนักการทหารชาวเอเธนส์ ผู้มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้โดยตรงในฐานะแม่ทัพ บันทึกเหตุการณ์ความขัดแย้งของทิวซิดิดีส ถือเป็นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญระดับคลาสสิคมาแต่โบราณ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะงานวิชาการทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงชิ้นแรกของอารยธรรมตะวันตก ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียนถูกแบ่งออกเป็น 8 เล่มย่อย หมวดหมู่:สงครามเพโลพอนนีเซียน.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสซีย์

โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์ โอดีสซีย์ (Odyssey; Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีกD.C.H. Rieu's introduction to The Odyssey (Penguin, 2003), p. xi.

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและโอดิสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: กรีซยุคอาร์เคอิกและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Archaic GreeceArchaic GreekArchaic period in Greeceกรีซยุคอาร์เคอิคสมัยอาร์เคอิคในกรีซอาร์เคอิคกรีก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »