โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระบวนการดาแกโรไทป์

ดัชนี กระบวนการดาแกโรไทป์

หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (ค.ศ. 1787 - 1851) ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ถูกคิดค้นโดย หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (พ.ศ. 2330 - 2394) โดยดาแกร์ได้ทดลองเกี่ยวกับวัสดุไวแสง เพื่อใช้บันทึกภาพจากกล้องออบสคูร่าโดยตั้งชื่อว่ากระบวนการ ไดออรามา (Diorama) และในขณะเดียวกัน โจเซฟ นีเซฟอร์ เนียฟ ก็ได้คิดค้นกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี (Heliograghy) อยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองเก็บเป็นความลับเรื่อยมาจนกระทั่งได้รู้จักกันโดยการชักนำของสองพี่น้องช่างทำแว่นตาและต่อมาทั้งสองได้ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อทำสัญญาได้เพียง 4 ปี เนียฟกลับถึงแก่กรรมไปเสียก่อน และดาแกร์ ได้นำกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี่ (Heliograghy) ของ เนียฟ และกระบวนการไดออรามาของ ดาแกร์ เองมารวมกันแล้วทดลองถ่ายภาพปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จเขาจึงตั้งชื่อกระบวนการใหม่นี้ว่า ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ภาพแรกที่ดาแกร์ทำสำเร็จจนทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการถ่ายภาพสมัยใหม่ มีชื่อว่าห้องภาพจิตรกร (The Artist’s studio) โดยเป็นการถ่ายภาพหุ่นนิ่งหรือภาพ(still Life) วัตถุที่ใช้เป็นแบบได้แก่ภาพวาด รูปแกะสลักที่เป็นฝีมือของเขาเอง เมื่อข่าวความสำเร็จแพร่ขยายออกไปทำให้ผู้คนสนใจเป็นอันมากโดยเฉพาะ ฟรังซัว อารากอล (Francois Aragol) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปารีส ได้มาขอศึกษาความรู้จาก ดาแกร์และนำไปเผยแพร่สาธิตต่อ และเขายังได้เสนอรัฐบาลฝรั่งเศสซื้อลิขสิทธิ์จากดาแกร์ เมื่อรัฐบาลเห็นชอบได้ซื้อลิขสิทธิ์และได้โอนให้สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปรารีสพัฒนา และต่อมารัฐบาลฝรั่งเศส ก็ได้ประกาศให้กระบวนการ ดาแกร์โรไทพ์ (Daguerreotype) เป็นของสาธารณะ ผู้ใดจะนำไปใช้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เมื่อดาแกร์เห็นว่ามีคนสนใจกระบวนการของเขาเป็นอันมากเขาจึงได้เขียนหนังสือเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า (The History and Description of the Process Named the Daguerreotype) มีจำนวน 79 หน้าและได้พิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสถึง 29 ครั้งและเป็นภาษาอื่นแพร่หลายไปทั่วซีกโลกตะวันตก แต่มีคนติว่าดาแกร์ใช้คำยากเกินไปและมีศัพท์วิทยาศาสตร์อยู่มาก ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ รัฐบาลจึงสั่งให้ดาแกร์สาธิตกระบวนการให้สาธารณชนได้ดู เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจแจ่มแจ้ง และทุกครั้งที่มีการสาธิตเมื่อจบการสาธิตผู้คนต่างพากันแย่งซื้ออุปกรณ์ในการทำกระบวนการนี้เป็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นของฝากจากกรุงปารีส จนทำให้เกิดร้านขายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมากทั่วกรุงปรารีส เพียง 1 ปีหลังจากคิดค้นได้สำเร็จกระบวนการนี้ได้กระจายอยู่ทั่วไปในซีกโลกตะวันตก และเพียง 6 ปีจากนั้นดาแกร์โรไทพ์ก็ได้มาถึงประเทศไทยพร้อมเรือสินค้าของพวกฝรั่งในปี พ.ศ. 2388 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีก็ทรงได้ฉายพระรูปส่งไปพระราชทานให้ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เพียร์ซ ของสหรัฐอเมริกาจากกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ด้วยและเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงขนาดมีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชทานกล้องและความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้แก่เจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วยกันทั้งยังเคยออกร้านถ่ายรูปและทรงเป็นช่างภาพเองในงานประจำปี วัดเบญจมบพิตรเพื่อนำเงินรายได้ไปบำเพ็ญพระราชกุศลในวัดเบญจมบพิตรด้วย ภาพที่มีชื่อเสียงของเอ็ดการ์ อัลลัน โพ ถ่ายโดยกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ในปี พ.ศ. 2391 ไม่นานก่อนเขาเสียชีวิต.

19 ความสัมพันธ์: ชิมะซุ นะริอะกิระพ.ศ. 2330พ.ศ. 2388พ.ศ. 2394พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการถ่ายภาพราชอาณาจักรปรัสเซียวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสหรัฐสถาบันสมิธโซเนียนอับราฮัม ลินคอล์นฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัวซามูเอล เอฟ. บี. มอร์สซานฟรานซิสโกปารีสแคว้นซัตสึมะไอโอดีน

ชิมะซุ นะริอะกิระ

มะซุ นะริอะกิระ (28 สิงหาคม ค.ศ. 1809 - 24 สิงหาคม ค.ศ. 1858) เป็นไดเมียวยุคเอโดะตระกูลชิมะซุ ผู้ปกครองแคว้นซะสึมะระหว่าง..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และชิมะซุ นะริอะกิระ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2330

ทธศักราช 2330 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และพ.ศ. 2330 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2388

ทธศักราช 2388 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และพ.ศ. 2388 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2394

ทธศักราช 2394 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1851 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และพ.ศ. 2394 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์หลักในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟทอก' กระฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และการถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

มเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนามเดิม:หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 — 9 กันยายน พ.ศ. 2404) เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัย และหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และสถาบันสมิธโซเนียน · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม ลินคอล์น

อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ลินคอล์นเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนมีนาคม..1861 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และอับราฮัม ลินคอล์น · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397 ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Jean-Baptiste Pallegoix.) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว · ดูเพิ่มเติม »

ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส

ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส ซามูเอล ฟินเลย์ บรีส มอร์ส (Samuel Finley Breese Morse – 27 เมษายน พ.ศ. 2334 – 2 เมษายน พ.ศ. 2415) เป็นนักประดิษฐ์รหัสมอร์ส (Morse Code) และจิตรกรเขียนภาพคนและภาพทิวทัศน์ฉากประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ซานฟรานซิสโก

ซานฟรานซิสโก หรือ แซนแฟรนซิสโก (San Francisco) คือเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีประชากร ประมาณ 808,976 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองซานฟรานซิสโกตั้งอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากในซานฟรานซิสโกคือชาวสเปน โดยในปี ค.ศ. 1776 เมืองมีชื่อว่า เซนต์ฟรานซิส (St. Francis) ในภายหลังจากช่วงยุคตื่นทองในปี ค.ศ. 1848 ทำให้ประชากรในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมืองเติบโตอย่างมาก ถึงแม้ว่าซานฟรานซิสโกจะประสบปัญหา แผ่นดินไหวและไฟไหม้ขนาดใหญ่ในช่วงปี..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นซัตสึมะ

งสีของแคว้นซัตสึมะในสงครามโบะชิน แคว้นซัตสึมะ เคยเป็นหนึ่งในแคว้นไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในสมัยรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ หรือสมัยเอะโดะของญี่ปุ่นในอดีต มีบทบาทสำคัญในสมัยการปฏิรูปเมจิ ทั้งยังครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเมจิหลังการปฏิรูปด้วยเช่นกัน ตลอดอายุของแคว้นซัตสึมะ แคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยไดเมียวระดับโทะซะมะ จากตระกูลชิมะซุ หลายต่อหลายรุ่น อาณาเขตของแคว้นกินพื้นที่ด้านใต้ของเกาะคีวชู ในบริเวณอดีตจังหวัดซัตสึมะ อดีตจังหวัดโอซุมิ และด้านตะวันตกของอดีตจังหวัดฮีวงะ มีอาณาจักรรีวกีว เป็นประเทศราช ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นจังหวัดคาโงชิมะ ส่วนที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิยะซะกิ แคว้นซัตสึมะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แคว้นคาโงชิมะ มีศุนย์กลางการปกครองที่ปราสาทคาโงชิมะ ในเมืองคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะมีผลผลิตมวลรวมของแคว้นคิดเป็นหน่วยโคกุดะกะ (หน่วยวัดผลผลิตข้าวทั้งหมดแต่ละแคว้นในระบบศักดินาสมัยเอะโดะ สะท้อนถึงอำนาจและความมั่งคั่งของแคว้น ดังเช่น GDP ในปัจจุบัน) อยู่ที่ 770,000 โคกุ สูงเป็นอันดับสองรองจากแคว้นคะกะ ตระกูลชิมะซุ ปกครองแคว้นซัตสึมะเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ นับแต่ก่อตั้งแคว้นในต้นยุคเอะโดะ จนถึงศตวรรษที่ 16 กินอาณาเขตเกือบทั้งเกาะคีวชู แม้ว่าจะถูกโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ปราบปรามในยุทธการคีวชู ค.ศ. 1587 เพื่อปราบปรามและควบคุมไดเมียวตามหัวเมืองต่างๆ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลสูงสุดเหนือเกาะต่างๆรอบข้างเหมือนเดิม ในระหว่างศึกเซกิงะฮะระ ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ ปิดฉากยุคเซงโงะกุ อันเป็นยุคแห่งไฟสงครามในค.ศ. 1600 ตระกูลชิมะซุก็ยังคงตั้งมั่นที่แคว้นซัตสึมะเพื่อรวบรวมและป้องกันกำลังของตัวเอง ในขณะที่ตระกูลอื่นๆถูกกำจัดไปในสงครามครั้งนี้ ตระกูลชิมะซุเป็นหนึ่งในไม่กี่ตระกูลที่สามารถรักษากองกำลังของตนเองเพื่อต่อต้านกองทัพของโชกุน ที่พยายามครอบครองดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมดได้ ต่างกับอีกหลายตระกูลที่ยอมแพ้สละแว่นแคว้นที่ตนเองปกครองให้กับโชกุนในยุคเอะโดะ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงดำรงสถานะความเป็นแคว้นของซัตสึมะ และอำนาจในการปกครองไว้ได้ตราบจนสิ้นยุคโชกุน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และแคว้นซัตสึมะ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอดีน

อโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า ไอโอดีนสามารถระเหิดได้ โครงสร้างอะตอมของไอโอดีน (2-8-18-18-7).

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และไอโอดีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Daguerreotypeกระบวนการดาแกโรไทป์ (Daguerreotype Process)ดาแกโรไทพ์ดาแกโรไทป์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »