โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระบวนการดาแกโรไทป์

ดัชนี กระบวนการดาแกโรไทป์

หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (ค.ศ. 1787 - 1851) ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ถูกคิดค้นโดย หลุยส์ ฌาคส์ มังเด ดาแกร์ (พ.ศ. 2330 - 2394) โดยดาแกร์ได้ทดลองเกี่ยวกับวัสดุไวแสง เพื่อใช้บันทึกภาพจากกล้องออบสคูร่าโดยตั้งชื่อว่ากระบวนการ ไดออรามา (Diorama) และในขณะเดียวกัน โจเซฟ นีเซฟอร์ เนียฟ ก็ได้คิดค้นกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี (Heliograghy) อยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองเก็บเป็นความลับเรื่อยมาจนกระทั่งได้รู้จักกันโดยการชักนำของสองพี่น้องช่างทำแว่นตาและต่อมาทั้งสองได้ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อทำสัญญาได้เพียง 4 ปี เนียฟกลับถึงแก่กรรมไปเสียก่อน และดาแกร์ ได้นำกระบวนการเฮลิโอกราฟฟี่ (Heliograghy) ของ เนียฟ และกระบวนการไดออรามาของ ดาแกร์ เองมารวมกันแล้วทดลองถ่ายภาพปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จเขาจึงตั้งชื่อกระบวนการใหม่นี้ว่า ดาแกโรไทพ์ (Daguerreotype) ภาพแรกที่ดาแกร์ทำสำเร็จจนทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการถ่ายภาพสมัยใหม่ มีชื่อว่าห้องภาพจิตรกร (The Artist’s studio) โดยเป็นการถ่ายภาพหุ่นนิ่งหรือภาพ(still Life) วัตถุที่ใช้เป็นแบบได้แก่ภาพวาด รูปแกะสลักที่เป็นฝีมือของเขาเอง เมื่อข่าวความสำเร็จแพร่ขยายออกไปทำให้ผู้คนสนใจเป็นอันมากโดยเฉพาะ ฟรังซัว อารากอล (Francois Aragol) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปารีส ได้มาขอศึกษาความรู้จาก ดาแกร์และนำไปเผยแพร่สาธิตต่อ และเขายังได้เสนอรัฐบาลฝรั่งเศสซื้อลิขสิทธิ์จากดาแกร์ เมื่อรัฐบาลเห็นชอบได้ซื้อลิขสิทธิ์และได้โอนให้สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกรุงปรารีสพัฒนา และต่อมารัฐบาลฝรั่งเศส ก็ได้ประกาศให้กระบวนการ ดาแกร์โรไทพ์ (Daguerreotype) เป็นของสาธารณะ ผู้ใดจะนำไปใช้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เมื่อดาแกร์เห็นว่ามีคนสนใจกระบวนการของเขาเป็นอันมากเขาจึงได้เขียนหนังสือเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า (The History and Description of the Process Named the Daguerreotype) มีจำนวน 79 หน้าและได้พิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสถึง 29 ครั้งและเป็นภาษาอื่นแพร่หลายไปทั่วซีกโลกตะวันตก แต่มีคนติว่าดาแกร์ใช้คำยากเกินไปและมีศัพท์วิทยาศาสตร์อยู่มาก ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ รัฐบาลจึงสั่งให้ดาแกร์สาธิตกระบวนการให้สาธารณชนได้ดู เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจแจ่มแจ้ง และทุกครั้งที่มีการสาธิตเมื่อจบการสาธิตผู้คนต่างพากันแย่งซื้ออุปกรณ์ในการทำกระบวนการนี้เป็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นของฝากจากกรุงปารีส จนทำให้เกิดร้านขายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมากทั่วกรุงปรารีส เพียง 1 ปีหลังจากคิดค้นได้สำเร็จกระบวนการนี้ได้กระจายอยู่ทั่วไปในซีกโลกตะวันตก และเพียง 6 ปีจากนั้นดาแกร์โรไทพ์ก็ได้มาถึงประเทศไทยพร้อมเรือสินค้าของพวกฝรั่งในปี พ.ศ. 2388 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีก็ทรงได้ฉายพระรูปส่งไปพระราชทานให้ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เพียร์ซ ของสหรัฐอเมริกาจากกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ด้วยและเจริญเติบโตในประเทศไทยอย่างสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงขนาดมีการสร้างห้องมืด สั่งกล้องออบสคูร่า เพลท เคมีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักมากมาย พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระราชทานกล้องและความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้แก่เจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วยกันทั้งยังเคยออกร้านถ่ายรูปและทรงเป็นช่างภาพเองในงานประจำปี วัดเบญจมบพิตรเพื่อนำเงินรายได้ไปบำเพ็ญพระราชกุศลในวัดเบญจมบพิตรด้วย ภาพที่มีชื่อเสียงของเอ็ดการ์ อัลลัน โพ ถ่ายโดยกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ในปี พ.ศ. 2391 ไม่นานก่อนเขาเสียชีวิต.

11 ความสัมพันธ์: ฟิเนียส์ พี. เกจพระนางอเลนันดอการถ่ายภาพรอเบิร์ต คอร์เนเลียสออนอเร เดอ บาลซักจุลจิตรกรรมภาพเหมือนซามูเอล เอฟ. บี. มอร์สนาดาร์นีเซฟอร์ เนียปส์เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์เซลฟี

ฟิเนียส์ พี. เกจ

นาย ฟิเนียส์ พี.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และฟิเนียส์ พี. เกจ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางอเลนันดอ

ระนางอเลนันดอ มีพระนามจริงว่า ซีนบยูมะชีน (ဆင်ဖြူမရှင်, Hsinbyumashin ซึ่งมีความหมายว่า นางพญาช้างเผือก; มีพระนามแรกประสูติว่า ศุภยากะเล) พระราชธิดาในพระเจ้าจักกายแมงแห่งพม่า ที่ประสูติแต่พระนางนันมาดอ แมนู พระมเหสีเอก ต่อพระนางเป็นพระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดง ตำแหน่งพระมเหสีตำหนักกลางมีคำเรียกเป็นภาษาพม่าว่า อะแลน่านดอ ด้วยพระนามนี้เองจึงกลายเป็นพระนามที่ชาวไทยรู้จักกันทั่วไป พระองค์เป็นมเหสีที่พระเจ้ามินดงโปรดที่สุดพระองค์หนึ่ง และเป็นที่เกรงอกเกรงใจของพระองค์ พระนางอเลนันดอมีพระราชธิดากับพระเจ้ามินดง 3 พระองค์ ได้แก่ พระนางศุภยาคยี, พระนางศุภยาลัต และพระนางศุภยากเล โดยพระธิดาองค์ที่สองของพระองค์คือ พระนางศุภยาลัตซึ่งมีนิสัยทะเยอทะยานเช่นเดียวกับพระองค์ ด้วยความที่พระเจ้ามินดงเกรงในพระนางอเลนันดอ พระเจ้ามินดงจึงมิได้ตั้งองค์รัชทายาทไว้ พระนางศุภยาลัตพระธิดาของพระองค์จึงเลือกเจ้าชายสีป่อซึ่งเป็นคนหัวอ่อน โดยพระนางอเลนันดอได้ให้การสนับสนุน เมื่อพระนางศุภยาลัตพระธิดาได้เสกสมรสกับพระเจ้าธีบอ แม้พระนางอเลนันดอได้ให้การช่วยเหลือแก่พระนางศุภยาลัตในเบื้องต้น แต่ภายหลังพระนางอเลนันดอถูกให้ไปประทับที่วังอื่นรวมทั้งพระธิดาคือพระนางศุภยาคยีซึ่งเป็นพระกนิษฐา ต่อมาเมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ พระเจ้าธีบอ พระนางนางศุภยาลัต รวมถึงพระองค์ ได้ถูกเชิญออกนอกประเทศโดยให้ประทับในเมืองรัตนคีรี ทางใต้ของเมืองบอมเบย์ในบริติชราช ภายหลังพระนางอเลนันดอได้มีเรื่องวิวาทกับพระนางศุภยาลัตซึ่งเป็นพระธิดา ทางอังกฤษสงสาร จึงได้ส่งพระนางอเลนันดอมายังพม่า และใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองมะละแหม่งจนสิ้นพระชนม.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และพระนางอเลนันดอ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์หลักในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟทอก' กระฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และการถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต คอร์เนเลียส

รอเบิร์ต คอร์เนเลียส (Robert Cornelius; 1 มีนาคม ค.ศ. 1809 – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1893) เป็นช่างภาพและผู้ผลิตโคมไฟชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย เป็นบุตรของคริสเตียนและซาราห์ (นามสกุลเดิม โซเดอร์) คอร์เนเลียส บิดาของคอร์เนเลียสย้ายมาจากอัมสเตอร์ดัมในปี..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และรอเบิร์ต คอร์เนเลียส · ดูเพิ่มเติม »

ออนอเร เดอ บาลซัก

ออนอเร เดอ บาลซัก (Honoré de Balzac; 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1799 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1850) เป็นนักเขียนนิยายและนักเขียนบทละครชาวฝรั่งเศส ผลงานชิ้นเอกของเขาคือนิยายชุดต่อเนื่องประกอบด้วยเรื่องสั้นและนิยายหลายเรื่อง เรียกชื่อว่า นาฏกรรมชีวิต (La Comédie humaine) ซึ่งแสดงให้เห็นฉากชีวิตของชาวฝรั่งเศสในยุคหลังจากที่นโปเลียนที่ 1 สิ้นอำนาจลงในปี..

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และออนอเร เดอ บาลซัก · ดูเพิ่มเติม »

จุลจิตรกรรมภาพเหมือน

ันส์ โฮลไบน์ ราว ค.ศ. 1540 จุลจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait miniature) คือภาพเหมือนขนาดจิ๋วที่มักจะเขียนด้วยสีน้ำทึบหรือสีน้ำหรือเป็นกระเบื้องเคลือบ จุลจิตรกรรมภาพเหมือนที่เริ่มมารุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุโรปและต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ต่อมา เป็นศิลปะอันมีค่าสำหรับการแนะนำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลกันได้ทำความรู้จักหรือเห็นหน้าเห็นตากัน ขุนนางที่เสนอการสมรสของบุตรีอาจจะส่งภาพเหมือนของบุตรีไปกับผู้เดินสาส์นไปให้ผู้หมายปองต่างๆ หรือ ทหารหรือกะลาสีก็อาจจะพกภาพเหมือนของบุคคลผู้เป็นที่รักติดตัวไปในระหว่างการเดินทาง หรือภรรยาอาจจะมีภาพเหมือนของสามีขณะที่สามีเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกล จุลจิตรกรรมภาพเหมือนในสมัยแรกเป็นภาพที่เขียนด้วยสีน้ำบนหนังลูกสัตว์ (vellum) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 การเขียนด้วยกระเบื้องเคลือบที่เหมือนแก้วบนทองแดงก็กลายมาเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จุลจิตรกรรมภาพเหมือนจะเขียนด้วยสีน้ำบนงาช้าง ความที่มีขนาดเล็กราว 40 × 30 มิลลิเมตรทำให้จุลจิตรกรรมภาพเหมือนใช้เป็นของที่ระลึกส่วนตัว หรือ เป็นเครื่องประดับ หรือใช้ในการประดับฝาปิดตลับตกแต่ง การวิวัฒนาการตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของดาแกโรไทป์และภาพถ่ายทำให้ความนิยมในการมีจุลจิตรกรรมภาพเหมือนลดน้อยลง.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และจุลจิตรกรรมภาพเหมือน · ดูเพิ่มเติม »

ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส

ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส ซามูเอล ฟินเลย์ บรีส มอร์ส (Samuel Finley Breese Morse – 27 เมษายน พ.ศ. 2334 – 2 เมษายน พ.ศ. 2415) เป็นนักประดิษฐ์รหัสมอร์ส (Morse Code) และจิตรกรเขียนภาพคนและภาพทิวทัศน์ฉากประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

นาดาร์

Nadar (self-portrait) นาดาร์ (Nadar) หรือ กัสปาร์ด-เฟลิกซ์ ตูร์นาคง (Gaspard-Félix Tournachon) (6 เมษายน พ.ศ. 2363 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2453) ไม่ได้เป็นที่รู้จักเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเท่านั้น เขายังเป็นที่รู้จักในความมีพรสวรรค์ของเขาในด้าน นักวารสาร, นักแต่งนวนิยาย, นักประดิษฐ์บอลลูน และนักสังคม เขาเป็นชาวฝรั่งเศสผู้ที่แม้ว่าจะเริ่มต้นอย่างต่ำต้อยแต่เขาก็ก้าวสู่ระดับของสังคมที่สูงขึ้นได้.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และนาดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

นีเซฟอร์ เนียปส์

นีเซฟอร์ เนียปส์ (Nicéphore Niépce) ชื่อเกิด โฌแซ็ฟ เนียปส์ (Joseph Niépce; 7 มีนาคม 1765 - 5 กรกฎาคม 1833) เป็นนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีส่วนในการบุกเบิกการถ่ายภาพ เนียปส์เกิดในเมืองชาลง-ซูร์-โซน (Chalon-sur-Saône) ในเขตจังหวัดโซเนลัวร์ปัจจุบัน บิดาเป็นทนายผู้มีฐานะ เขามีพี่ชาย 1 คน ชื่อ โกลด (1763-1828) มีน้องสาว 1 คน และน้องชายอีก 1 คน เมื่ออายุได้ 21 ปี เนียปส์ได้ศึกษาที่ Oratorian Brothers เมืองอ็องเฌ ในสาขาวิชาฟิสิกส์และเคมี เมื่อจบการศึกษาแล้ว เนียปส์จึงกลับมาเรียนวิชาการทหาร (National Guard) ที่เมืองชาลง-ซูร์-โซน บ้านเกิด ในปี 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้น เนียปส์ได้ถูกประจำการเป็นทหารอยู่ที่ซาร์ดิเนีย และผลจากการปฏิวัติครั้งนี้ทำให้ทรัพย์สินของครอบครัวส่วนใหญ่เสียหาย แต่ครอบครัวของเขามีบ้านหลังหนึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านชาลง-ซูร์-โซน ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส หลังจากที่เนียปส์ได้ออกจากราชการทหารในปี 1794 เขาแต่งงานกับแอกเนส โรเมโร่ (Agnes Romero) และย้ายมาอยู่ที่เมืองนี้ เมื่อแต่งงานไปได้ 1 ปี ภรรยาของเขาก็ให้กำเนิดบุตร ตั้งชื่อว่า อีซีดอร์ (Isidore; ภายหลังร่วมมือกับหลุยส์ ดาแกร์ ผู้คิดค้น กระบวนการดาแกโรไทป์ เพื่อพัฒนางานถ่ายภาพ) ในขณะนั้น เนียปส์ใช้เวลาในการค้นคว้าทำการทดลองเกี่ยวกับการบันทึกภาพไปด้วย เนียปส์เสียชีวิตในปี 1833 ในสภาพบุคคลล้มละล.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และนีเซฟอร์ เนียปส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์

ฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ เฟรดเดอริค สุรยุท อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer) เป็นที่รู้จักของสาธารณชนในฐานะนักประดิษฐ์คนแรกแห่งวงการภาพถ่าย ที่คิดค้น "กระบวนการเพลทเปียก"(wet collodion) ซึ่งได้รับความนิยมจากช่างภาพทั่วไปยาวนานถึง 300 ปี เกือบทั้งชีวิตของอาร์เชอร์ แทบไม่มีเอกสารอะไรที่บันทึกเรื่องราวของเขาไว้เลย หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง เรื่องราวชีวิตบางส่วนของเขาได้ถูกเล่าโดยภรรยาของเขา Fanny G. Archer อาร์เชอร์ทุ่มเทให้กับการทำงานเป็นอย่างมาก ผลจากการที่ลงทุนลงแรงและหักโหมมากจนเกินไป ทำให้ชีวิตของเขาค่อนข้างลำบาก ด้วยเหตุนี้เองสุขภาพร่างกายของเขาจึงค่อนข้างอ่อนแอ และได้เสียชีวิตลงในที.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และเฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลฟี

รูปเซลฟีที่ถ่ายจากมุมสูงทำให้ตาดูโตและคางดูเรียว เซลฟี (Selfie) เป็นการถ่ายภาพตัวเองแบบหนึ่ง เป็นคำนิยมซึ่งหมายถึงการถ่ายรูปตัวเองด้วยกล้องดิจิทัล หรือกล้องโทรศัพท์มือถือ อาจถ่ายด้วยมือหรือใช้ไม้เซลฟี แล้วเผยแพร่ลงบนบริการเครือข่ายสังคม เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ ภาพถ่ายเซลฟีมักดูดีเกินจริงและดูไม่เป็นทางการ ภาพถ่ายเซลฟีมักถ่ายจากการถือกล้องและยื่นแขนไปจนสุด หรือยื่นไปทางกระจก มากกว่าการใช้อุปกรณ์เซลฟ์ไทม์เมอร์ บางทีอาจมีการใช้ไม้เซลฟีเพื่อมุมมองที่กว้างขึ้น.

ใหม่!!: กระบวนการดาแกโรไทป์และเซลฟี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Daguerreotypeกระบวนการดาแกโรไทป์ (Daguerreotype Process)ดาแกโรไทพ์ดาแกโรไทป์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »