โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ดัชนี สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

34 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังเดิมพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอัครชายา (หยก)กลุ่มภาษาจีนกวางตุ้งราชวงศ์จักรีรายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทยวัดบวรนิเวศราชวรวิหารสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรีสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิม กรมขุนอนัคฆนารีสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีอำเภออัมพวาอิเหนาจักรพรรดิเฉียนหลงจังหวัดสมุทรสงครามแม่น้ำแม่กลองเจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1เงิน แซ่ตัน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 รองจากพระบรมเชษฐา สูงศักดิ์กว่า "วังหน้า" กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช)พระองค์ใดในอดีต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อมีพระชนมายุได้ 43 พรรษ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเดิม

ท้องพระโรง พระราชวังกรุงธนบุรี (วังเดิม) พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) จึงได้ชื่อว่า "พระราชวังเดิม" ตั้งแต่บัดนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกำหนดเขตวังให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองที่กล่าวแล้วคือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) อยู่ภายนอกพระราชวัง และ นอกจากนี้ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่นี่ อันเนื่องจากเห็นว่าพระราชวังนี้มีความสำคัญทางด้านทำเลที่ตั้ง ได้แก.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระราชวังเดิม · ดูเพิ่มเติม »

พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นี่คือพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระราชโอรสและพระร.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดารวมทั้งสิ้น 58 พระองค์ โดยประสูติก่อนบวรราชาภิเษก 33 พระองค์ และประสูติหลังจากบวรราชาภิเษก 25 พระองค์ ซึ่งมีรายพระนามเรียงตามพระประสูติกาล ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระอัครชายา (หยก)

ระอัครชายา มีพระนามว่า หยก หรือ ดาวเรือง เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และเป็นพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระอัครชายา (หยก) · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กวางตุ้ง

กวางตุ้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์".

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทย

รายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไท.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและรายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

มเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) และพระอัครชายา (หยก) ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี

มเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี (1 กันยายน พ.ศ. 2313 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2365) หรือพระนามเดิมว่า จุ้ย พระโอรสลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ กับเจ้าขรัวเงิน ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 12 ค่ำ ปีขาลโทศก..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์

มเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์ (พ.ศ. 2302 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2348) พระนามเดิม ตัน เป็นพระโอรสลำดับที่ 1 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ กับ เจ้าขรัวเงิน ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิม กรมขุนอนัคฆนารี

มเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิม กรมขุนอนัคฆนารี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิม กรมขุนอนัคฆนารี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์

มเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (9 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373) หรือพระนามเดิมว่า เกศ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

มเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (9 มีนาคม พ.ศ. 2280 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) หรือ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระนามเดิม นาค เป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม พระชนกชื่อ "ทอง" (พระชนกทอง ณ บางช้าง) พระชนนีชื่อ "สั้น" (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

มเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี ทรงเป็นบุตรคนโตของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย (บ้างก็ว่า กรมนา) ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทร และได้เดินทางไปถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2228 สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงรับราชการในกรมมหาดไทย รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์ ในตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาส์นโต้ตอบกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเก็บรักษาพระราชลัญจกร สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสกสมรสกับสองพี่น้องบุตรีของคหบดีชาวจีน คนพี่ชื่อว่า ดาวเรือง (หรือ หยก) ส่วนคนน้อง ไม่ทราบนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีน.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บางคราวเรียกว่าสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเจ้าทองสุกซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์) พระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี (14 มกราคม พ.ศ. 2320 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2366) พระราชบุตรพระองค์ที่ 10 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี ประสูติในรัชสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกา นพศก จุลศักราช 1139 ตรงกับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2320 มีนามเดิมว่า "เอี้ยง" ในรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า "เจ้าฟ้าประไพวดี" แต่รัชกาลที่ 4 ทรงออกพระนามว่า "ประภาวดี" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า และทรงกรมเป็น กรมหลวงเทพยวดี เมื่อปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1170 ตรงกับ พ.ศ. 2351 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 เมื่อเมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1185 ตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2366 พระชันษา 46 ปี.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์

มเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พ.ศ. 2277 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342) หรือพระนามเดิมว่า แก้ว พระธิดาลำดับที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติจากพระอัครชายาหยก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นพระพี่นางพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ มีพระโอรส-ธิดา กับ เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน คหบดีชาวจีนที่สืบเชื้อสายมาจากขุนนางจีนในกรุงปักกิ่ง 6 พระองค์ คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ (พ.ศ. 2313 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2351) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติในรัชสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 ตรงกับ พ.ศ. 2313 มีนามเดิมว่า "แจ่ม" ในรัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า และทรงกรมเป็น กรมหลวงศรีสุนทรเทพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 1 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1170 ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2351 สิริพระชนมายุ 38 พรรษา ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพ แต่พงศาวดารบางเล่มระบุว่า ได้รับพระราชทานพระโกศไม้สิบสอง.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแจ่ม กรมหลวงศรีสุนทรเทพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

มเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนามเดิม:หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 — 9 กันยายน พ.ศ. 2404) เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออัมพวา

อำเภออัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและอำเภออัมพวา · ดูเพิ่มเติม »

อิเหนา

ละครของกรมศิลปากร เรื่อง “อิเหนา” ตอนส่งดอกลำเจียกให้นางค่อม แสดงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้ เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่ เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและอิเหนา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและจักรพรรดิเฉียนหลง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสงคราม

ังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและจังหวัดสมุทรสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแม่กลอง

แม่น้ำแม่กลอง ขณะไหลผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำที่ปากแม่น้ำแม่กลอง 30,106 ตารางกิโลเมตร โดยช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี ได้อีกชื่อหนึ่งว่า "แม่น้ำราชบุรี" มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 30,837 ตร.กม.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1

้าจอมแว่น หรือ เจ้าคุณจอมแว่น พระนามเดิมว่า เจ้านางคำแว่น หรือ อาชญานางคำแว่น บ้างออกพระนามว่า เจ้านางบัวตอง ชาวลาวและชาวอีสานนิยมออกคำลำลองพระนามว่า เจ้านางเขียวค้อม เป็นพระบรมวงศานุวงศ์จากนครเวียงจันทน์ อดีตนางพระกำนัลในพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนผลัดราชวงศ์ใหม่ เจ้าจอมแว่นเป็นพระสนมเอกที่มีอิทธิพลต่อราชสำนักสยามฝ่ายในอย่างสูง จนชาววังได้ยกย่องให้เป็น เจ้าคุณข้างใน และถือเป็นเจ้าคุณองค์แรกในพระราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่คอยอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า คุณเสือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและเจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เงิน แซ่ตัน

้าขรัวเงิน แซ่ตัน เป็นพระภัสดา (สามี) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) มีนามเดิมว่า เงิน เป็นบุตรชายคนคนที่ 4 ของเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนกับน้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) บิดาของท่านสืบเชื้อสายมาจากขุนนางในกรุงปักกิ่ง มีพี่น้อง 4 คน คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและเงิน แซ่ตัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์เจ้าฟ้าบุญรอด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »