โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคกรดไหลย้อน

ดัชนี โรคกรดไหลย้อน

รคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ แผนภาพแสดงโรคกรดไหลย้อน ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดั.

5 ความสัมพันธ์: กระเพาะอาหารมะเร็งหลอดอาหารยาลดกรดรังสีเอกซ์หลอดอาหาร

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: โรคกรดไหลย้อนและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มีชนิดย่อยหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นอะดีโนคาร์ซิโนมา (ประมาณ 50-80% ของมะเร็งหลอดอาหาร) และมะเร็งเซลล์สความัส มะเร็งเซลล์สความัสเกิดขึ้นมาจากเซลล์ที่บุผิวเยื่อเมือกส่วนบนของหลอดอาหาร ส่วนอะดีโนคาร์ซิโนมาเกิดขึ้นมาจากเซลล์แกลนดูลาร์ที่อยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เนื้องอกในหลอดอาหารมักทำให้มีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) อาการเจ็บ และอาการอื่นๆ โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เนื้องอกที่มีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะที่อาจรักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด เนื้องอกขนาดใหญ่มักไม่สามารถผ่าตัดได้ซึ่งจะได้รับการรักษาด้วยการรักษาประทัง ซึ่งสามารถชะลอการโตของเนื้องอกได้ด้วยการใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือรักษาร่วมกัน ในบางกรณีการใช้เคบีบำบัดหรือรังสีรักษาอาจทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงจนสามารถผ่าตัดได้ก็ได้ พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับว่าโรคกระจายไปมากแค่ไหนและมีปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ หรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี.

ใหม่!!: โรคกรดไหลย้อนและมะเร็งหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ยาลดกรด

ลดกรด (Antacids) เป็นสารประเภทด่างใช้สะเทินฤทธิ์กรด ในกระเพาะอาหาร โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี ยาพวกนี้ส่วนใหญ่ใช้รับประทานซึ่งช่วยรักษาอาการ ฮาร์ตเบิร์น (heartburn) กระเพาะเปรี้ยวหรือกรดมากจากอาหารไม่ย่อย ได้ด้วย ยาลดกรดส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นสารละลายบัฟเฟอร์ (buffer solution) ระหว่าง กรดกระเพาะ (gastric acid) กับผนังกระเพาะ เพื่อทำให้ pH สูงขึ้นเป็นการลดอันตรายจากฤทธิ์กรด ตัวอย่างของยาลดกรดเช่น โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3), อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Al(OH)3), แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH)2) ในกรณีที่ใช้ยาลดกรดแล้วไม่ได้ผล ยาตัวอื่นที่แนะนำให้ใช้คือ.

ใหม่!!: โรคกรดไหลย้อนและยาลดกรด · ดูเพิ่มเติม »

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895 ทฤษฎีอิเล็กตรอนสมัยปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดรังสีเอกซ์ว่า ธาตุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากในอะตอมแต่ละตัวมีนิวเคลียสเป็นใจกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งวนเป็นชั้น ๆ ธาตุเบาจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่น้อยชั้น และธาตุหนักจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่หลายชั้น เมื่ออะตอมธาตุหนักถูกยิงด้วยกระแสอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในถูกชนกระเด็นออกมาวิ่งวนอยู่รอบนอกซึ่งมีภาวะไม่เสถียรและจะหลุดตกไปวิ่งวนอยู่ชั้นในอีก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกในรูปรังสี ถ้าอิเล็กตรอนที่ยิงเข้าไปมีพลังงานมาก ก็จะเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ทำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard x-ray) ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อยเข้าไปได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft x-ray) กระบวนการเกิดหรือการผลิตรังสีเอกซ์ทั้งโดยฝีมือมนุษย์และในธรรมชาติ มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: โรคกรดไหลย้อนและรังสีเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: โรคกรดไหลย้อนและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acid refluxGERDGastro-oesophageal reflux diseaseGastroesophageal reflux diseaseกรดไหลย้อนอาการกรดไหลย้อนโรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหารโรคสำลักในหลอดอาหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »