โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดน้ำ

ดัชนี กรดน้ำ

กรดน้ำ (goatweed, scoparia-weed) หรือ หญ้าปีกแมลงวัน เป็นพืชในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae) พบได้ทั่วไปตามริมน้ำหรือที่ชื้นแฉ.

13 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่แท้การแพทย์แผนไทยมาลาเรียยาขับปัสสาวะวงศ์เทียนเกล็ดหอยอันดับกะเพราอนุมูลอิสระคาโรลัส ลินเนียสแอสเทอริดไม้ล้มลุกเบาหวาน

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: กรดน้ำและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: กรดน้ำและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: กรดน้ำและพืชใบเลี้ยงคู่แท้ · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไท.

ใหม่!!: กรดน้ำและการแพทย์แผนไทย · ดูเพิ่มเติม »

มาลาเรีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum เพราะ P. vivax, P. ovale และ P. malariae โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีน แต่กำลังพัฒนา การรักษาโรคมาลาเรียที่แนะนำ คือ การใช้ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมอาร์ตีมิซินิน ยาชนิดที่สองอาจเป็นเมโฟลควิน ลูมีแฟนทรีนหรือซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน อาจใช้ควินินร่วมกับด็อกซีไซคลินได้หากไม่มีอาร์ติมิซินิน แนะนำว่าในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไป ให้ยืนยันโรคมาลาเรียหากเป็นไปได้ก่อนเริ่มการรักษาเนื่องจากความกังวลว่ามีการดื้อยาเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดื้อยาในปรสิตต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการดื้อยาอาร์ทีมิซินินเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้แพร่หลายในเขตร้อนและอบอุ่นซึ่งอยู่เป็นแถบกว้างรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮารา ทวีปเอเชียและละตินอเมริกาบริเวณกว้าง โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทวีปแอฟริกา มีการประเมินว่ามีการสูญเสีย 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เสียความสามารถการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ป่วย 198 ล้านคน ใน..

ใหม่!!: กรดน้ำและมาลาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ยาขับปัสสาวะ

ับปัสสาวะ (diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษ.

ใหม่!!: กรดน้ำและยาขับปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เทียนเกล็ดหอย

วงศ์เทียนเกล็ดหอย หรือ Plantaginaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Lamiales สกุลหลักคือ Plantago ส่วนการจัดจำแนกในระบบเก่า จัดให้อยู่ในอันดับ Plantaginales.

ใหม่!!: กรดน้ำและวงศ์เทียนเกล็ดหอย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกะเพรา

อันดับกะเพรา หรือ Lamiales เป็นอันดับของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 11,000 สปีชีส์ แบ่งเป็น 20 วงศ์ สมาชิกที่สำคัญของอันดับนี้เช่น มะกอกออลิฟ มะลิ สัก ลิ้นมังกร สะระแหน่ และโหระพา เป็นต้น.

ใหม่!!: กรดน้ำและอันดับกะเพรา · ดูเพิ่มเติม »

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (radical หรือมักใช้ว่า free radical) คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือการจัดเรียงเป็นเชลล์เปิด (open shell) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน หน่วยพันธุกรรม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น.

ใหม่!!: กรดน้ำและอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: กรดน้ำและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

แอสเทอริด

แอสเทอริด (asterids) เป็นเคลดของพืชมีดอกในระบบ APG II พืชส่วนใหญ่ในเคลดนี้อยู่ใน Asteridae ในระบบ Cronquist และ Sympetalae ในระบบก่อนหน้านี้ สมาชิกประกอกด้ว.

ใหม่!!: กรดน้ำและแอสเทอริด · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ล้มลุก

อกเวอโรนิคา ลองกิโฟเลีย (Veronica longifolia) ซึ่งเป็นพืชโตชั่วฤดูชนิดหนึ่ง ไม้ล้มลุก (Herbaceous plant ในภาษาพฤกษศาสตร์เรียกสั้นๆ ว่า “Herb”) เป็นพืชที่ใบและก้านตายราบลงไปถึงดินเมื่อสิ้นฤดูการปลูก พืชโตชั่วฤดูอาจจะเป็นพืชปีเดียว, พืชสองปี หรือไม้ล้มลุกหลายปีก็ได้ พืชโตชั่วฤดูที่เป็นพืชปีเดียวจะตายโดยไม่ฟื้นเมื่อสิ้นฤดูการปลูก หรือเมื่อออกดอกและผลแล้วก็จะปลูกจากเมล็ดได้อีกในฤดูการปลูกของปีต่อมา ไม้ล้มลุกหลายปีและพืชสองปีจะมีก้านที่ตายราบลงเมื่อสิ้นฤดูการปลูกแต่บางส่วนที่ติดดินของยังคงมีเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ต่อไปในฤดูที่จะมาถึง (ในกรณีพืชสองปีก็จะมีชีวิตอยู่จนถึงฤดูการปลูกในปีต่อมาก่อนที่จะออกดอกและตาย) ส่วนที่จะโตขึ้นใหม่ในฤดูการปลูกในปีถัดมาจะก่อตัวขึ้นบนดินหรือใต้ดินที่รวมทั้วราก หัว ไรโซม หรือ หน่อ หรือกิ่งใต้ดินแบบต่างๆ ตัวอย่างของพืชโตชั่วฤดูที่เป็นพืชสองปีก็ได้แก่แครอท และ พาร์สนิพ ไม้ล้มลุกหลายปีก็ได้แก่โบตั๋น, ฮอสตา, สะระแหน่ และ เฟิร์นเกือบทุกชนิด ในทางตรงกันข้ามพืชที่ไม่ใช่ไม้ล้มลุกหลายปีจะเป็นไม้แข็ง (woody plant) ที่มีกิ่งเหนือดินที่ยังมีชีวิตอยู่ระหว่างช่วงที่หยุดเจริญเติบโต และแตกหน่อในฤดูการปลูกในปีต่อมาจากกิ่งที่อยู่เหนือดินซึ่งรวมทั้งต้นไม้ ไม้พุ่ม และ ไม้เถา ลักษณะการเติบโตเช่นที่กล่าวนี้เกิดขึ้นในบริเวณภูมิภาคที่อากาศเย็นและมีสี่ฤดูที่ฤดูการปลูกจะอยู่ในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูร้อน.

ใหม่!!: กรดน้ำและไม้ล้มลุก · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: กรดน้ำและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »