สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: ชตูร์มับไทลุงพรรคนาซีกุสทัฟ ริทเทอร์ ฟอน คาร์มิวนิกรัฐบาวาเรียรูดอล์ฟ เฮสส์สาธารณรัฐไวมาร์อีมิล มารีเซออดอล์ฟ ฮิตเลอร์แอริช ลูเดินดอร์ฟแอนสท์ เริมแฮร์มันน์ เกอริงไมน์คัมพฟ์ไรชส์เวร์
- อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ชตูร์มับไทลุง
ตูร์มับไทลุง (Sturmabteilung; ชื่อย่อ เอสเอ (SA);; แปลว่า "กองกำลังพายุ") เป็นหน่วยกองกำลังกึ่งทหารเดิมของพรรคนาซี หน่วยเอสเอมีบทบาทสำคัญในการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในทศวรรษที่ 1920 ถึง 1930 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มกันการเคลื่อนทัพและการระดมพลของนาซี เข้าก่อกวนการประชุมพรรคฝ่ายค้าน สู้กับหน่วยกึ่งทหารของฝ่ายตรงข้าม เช่น สันนิบาตนักสู้แนวหน้าสีแดง (Rotfrontkämpferbund) ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี รวมถึงสร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวสลาวิกและโรมัน กลุ่มลัทธิ และกลุ่มยิว เช่นในช่วงการคว่ำบาตรชาวยิวของนาซี กลุ่มเอสเอบ้างก็รู้จักในยุคสมัยนั้นว่าพวกชุดกากี (Braunhemden) ทำนองเดียวกับกลุ่มชุดดำของมุโสลินี กลุ่มเอสเอมียศกึ่งทหารเป็นของตนเองซึ่งนำไปใช้กับกลุ่มนาซีหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นหัวหน้าก็เช่นกลุ่มชุทซ์ชทัฟเฟิล ซึ่งเคยอยู่ภายใต้กลุ่มเอสเอก่อนแยกตัวออกมาภายหลัง เหตุที่ใช้ชุดกากีเพราะว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีชุดเหล่านี้จำนวนมากและราคาถูก เพราะได้เคยมีการสั่งชุดนี้สำหรับทหารประจำอาณานิคมของดินแดนอาณานิคมของเยอรมัน กลุ่มเอสเอสูญเสียอำนาจหลังจากฮิตเลอร์สั่งให้มีการฆ่าล้างอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์คืนมีดยาว (die Nacht der langen Messer) และถูกแทนที่โดยกลุ่มเอสเอส แต่กลุ่มเอสเอก็ยังไม่ถูกเลิกถาวรจนกระทั่วอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1945.
ดู กบฏโรงเบียร์และชตูร์มับไทลุง
พรรคนาซี
รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..
กุสทัฟ ริทเทอร์ ฟอน คาร์
กุสทัฟ ริทเทอร์ ฟอน คาร์ (29 พฤศจิกายน1862 – 30 มิถุนายน 1934) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันฝ่ายขวา,ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองในรัฐบาวาเรี.เขาได้มีส่วนช่วยในการหยุดยั้งและปราบปรามจากการก่อรัฐประหารของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีในเหตุการณ์กบฏโรงเบียร์ ในปี..
ดู กบฏโรงเบียร์และกุสทัฟ ริทเทอร์ ฟอน คาร์
มิวนิก
มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.
รัฐบาวาเรีย
ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ.
รูดอล์ฟ เฮสส์
รูดอล์ฟ วัลเทอร์ ริชาร์ด เฮสส์ (26 เมษายน 1894 – 17 สิงหาคม 1987) เป็นนักการเมืองคนสำคัญในนาซีเยอรมนี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1933 เขาดำรงตำแหน่งจนปี 1941 เมื่อเขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับเป็นนักโทษและสุดท้ายถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพ รับโทษจำคุกตลอดชีวิต เฮสส์สมัครเข้าเป็นทหารในกรมทหารปืนใหญ่สนามบาวาเรียที่ 7 เป็นทหารราบเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติ เขาได้รับบาดเจ็บหลายครั้งระหว่างสงคราม และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก ชั้นสองในปี 1915 ไม่นานก่อนสงครามยุติ เฮสส์ขึ้นทะเบียนเพื่อฝึกเป็นนักบิน แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทนี้ เขาออกจากกองทัพในเดือนธันวาคม 1918 ด้วยยศร้อยโทสำรอง (Leutnant der Reserve) ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1919 เฮสส์สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยมิวนิก ที่ซึ่งเขาศึกษาวิชาภูมิรัฐศาสตร์กับคาร์ล เฮาโชแฟร์ ผู้สนับสนุนมโนทัศน์เลเบนซเราม์ ("ที่อยู่อาศัย") ซึ่งต่อมากลายเป็นเสาหลักของอุดมการณ์พรรคนาซี เฮสส์เข้าร่วมพรรคนาซีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1920 และร่วมกับฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1923 อันเป็นความพยายามของนาซีที่ล้มเหลวเพื่อยึดรัฐบาลบาวาเรีย ระหว่างรับโทษจำคุกจากความพยายามรัฐประหารนี้ เฮสส์ช่วยฮิตเลอร์เขียนงานของเขา ไมน์คัมพฟ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานแนวนโยบายของพรรคนาซี เมื่อนาซียึดอำนาจในปี 1933 เฮสส์ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของพรรคนาซีและได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์ เขาเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดอันดับสามในประเทศเยอรมนี รองแต่เพียงฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง นอกเหนือจากการปรากฏตัวแทนฮิตเลอร์ในการปราศรัยและชุมนุม เฮสส์ลงนามผ่านกฎหมายหลายฉบับซึ่งรวมกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1935 ซึ่งถอดสิทธิของชาวยิวในประเทศเยอรมนีนำไปสู่ฮอโลคอสต์ เฮสส์ยังสนใจการบิน โดยเรียนบินอากาศยานที่ซับซ้อนขึ้นซึ่งมาพัฒนาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1941 เขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเขาหวังจัดการเจรจาสันติภาพกับดุ๊กแฮมิลตัน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคนสำคัญในฝ่ายค้านของรัฐบาลอังกฤษ เฮสส์ถูกจับกุมทันทีที่มาถึงและถูกอังกฤษควบคุมตัวจนสิ้นสงคราม(หลังจากฮิตเลอร์ได้ทราบการกระทำของเฮสส์ทำให้เขาโกรธมากและทำการปลดเขาออกจากรองฟือเรอร์และได้แต่งตั้งมาร์ติน บอรมันแทน) เมื่อเขากลับประเทศเยอรมนีเพื่อรับการไต่สวนในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กอาชญากรสงครามคนสำคัญในปี 1946 ตลอดการไต่สวน เขาอ้างว่าป่วยเป็นภาวะเสียความจำ แต่ภายหลังรับว่าเป็นอุบาย เฮสส์ถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพและคบคิดกับผู้นำเยอรมันอื่นเพื่อก่ออาชญากรรมและถูกย้ายไปเรือนจำซแพนเดาในปี 1947 ซึ่งเขารับโทษจำคุกตลอดชีวิต ความพยายามซ้ำ ๆ ของสมาชิกครอบครัวและนักการเมืองคนสำคัญเพื่อให้ปล่อยตัวเขาถูกสหภาพโซเวียตขัดขวาง ขณะยังถูกควบคุมตัวในซแพนเดา เขาเสียชีวิตโดยดูเหมือนฆ่าตัวตายในปี 1987 เมื่ออายุ 93 ปี หลังเสียชีวิต เรือนจำถูกทำลายเพื่อมิให้กลายเป็นที่บูชาของนีโอนาซี หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:นักการเมืองเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองชาวเยอรมันที่ถูกจับโดยสหราชอาณาจักร.
ดู กบฏโรงเบียร์และรูดอล์ฟ เฮสส์
สาธารณรัฐไวมาร์
รณรัฐไวมาร์ (Weimarer Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปี..
ดู กบฏโรงเบียร์และสาธารณรัฐไวมาร์
อีมิล มารีเซอ
อีมิล มารีเซอ (19 มกราคม ค.ศ. 1897, Westermoor – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972, มิวนิก) เป็นสมาชิกตั้งแต่ต้นของ พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง ชุทซ์ชทัฟเฟิล (SS).
ดู กบฏโรงเบียร์และอีมิล มารีเซอ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..
ดู กบฏโรงเบียร์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
แอริช ลูเดินดอร์ฟ
แอริช ฟรีดริช วิลเฮล์ม ลูเดินดอร์ฟ (Erich Friedrich Wilhelm Ludendorff) เป็นนายพลหนึ่งดาว (เทียบเท่าพลจัตวา) แห่งกองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน ผู้มีชัยชนะในการรบที่ Liège และ Tannenberg.ในเดือนสิงหาคม 1916,เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายพลฝ่ายพลาธิการ(Erster Generalquartiermeister)ทำให้เขากลายเป็นผู้นำ(พร้อมกับเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก) ของสงครามเยอรมันในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนกระทั่งได้ลาออกไปในปี 1918,ก่อนจะสิ้นสุดของสงคราม หลังสงคราม ลูเดินดอร์ฟได้กลายเป็นผู้นำของชาติที่มีความโดดเด่นและสนับสนุนทฤษฏีของตำนานแทงข้างหลัง,ด้วยความเชื่อที่ว่า ความพ่ายแพ้สงครามของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นมาจากการทรยศหักหลังต่อกองทัพเยอรมันโดยพวกมาร์กซิสต์และบอลเชวิค ผู้ที่มีความรับผิดชอบสำหรับการเจรจาต่อรองอย่างเสียเปรียบของเยอรมันในสนธิสัญญาแวร์ซ.เขาได้มีส่วนร่วมในการก่อรัฐประหารของ Wolfgang Kapp ในปี 1920 และกบฏโรงเบียร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1923,และในปี 1925,เขาได้ลงการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีกับอดีตผู้บังคับบัญชาอย่างฮินเดนบูร์ก,ผู้ที่เขาได้อ้างว่าได้มีชื่อเสียงสำหรับชัยชนะของลูเดินดอร์ฟกับรัสเซี.
ดู กบฏโรงเบียร์และแอริช ลูเดินดอร์ฟ
แอนสท์ เริม
แอนสท์ ยูเลียส กุนเทอร์ เริม (Ernst Julius Günther Röhm; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 - 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) เป็นนายทหารเยอรมันและสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของพรรคนาซี ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกแรกของพรรคกรรมกรเยอรมัน เขาเป็นเพื่อนสนิทและพันธมิตรเริ่มต้นของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และผู้ร่วมก่อตั้งของชตูร์มมับไทลุงหรือเอสเอ (SA, "กองพันพายุ") ซึ่งเป็นอาสาสมัครของพรรคนาซีและต่อมาเป็นผู้บัญชาการ ปี..
แฮร์มันน์ เกอริง
แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".
ดู กบฏโรงเบียร์และแฮร์มันน์ เกอริง
ไมน์คัมพฟ์
หน้าปกของ ''ไมน์คัมพฟ์'' ไมน์คัมพฟ์ (Mein Kampf) หรือ การต่อสู้ของข้าพเจ้า เป็นหนังสือที่เขียนโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นักการเมืองชาวออสเตรียผู้นิยมลัทธินาซี เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองของฮิตเลอร์ โดยถูกตีพิมพ์ครั้งแรกใน..
ไรชส์เวร์
รชส์เวร์ (Reichswehr ความหมาย: "กองกำลังป้องกันประเทศ") เป็นชื่อเรียกกองกำลังป้องกันตนเองของเยอรมนีระหว่าง..