โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กถาสริตสาคร

ดัชนี กถาสริตสาคร

กถาสริตสาคร เป็นหนังสือรวบรวมนิทาน ตำนานต่างๆ ของอินเดีย แต่งโดยนักปราชญ์ชาวกัศมีร์ชื่อ โสมเทวะ เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 นับเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่งของอินเดีย คำว่า "กถาสริตสาคร" เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง "มหาสมุทรแห่งสายน้ำของเรื่องเล่าต่างๆ" กถาสริตสาคร มีเนื้อหา 18 เล่ม 124 บท มีบทร้อยกรองมากกว่า 21,000 บท ที่แต่งเสริมเนื้อหาในส่วนร้อยแก้ว นิทานเรื่องหลักนั้นเป็นการเล่าเรื่องผจญภัยของเจ้าชายนรวหนทัตตะ โอรสของพระเจ้าอุทยนะในตำนาน มีการแต่งนิทานจำนวนมากประกอบกับเนื้อเรื่องหลัก ทำให้กลายเป็นแหล่งรวมนิทานอินเดียที่ยาวที่สุด ตำนานกล่าวว่า กถาสริตสาครนั้น ส่วนใหญ่อิงจากงานเขียนเรื่อง พฤหัตกถา ของคุณธฺย ในภาษาไปศาจี จากตอนใต้ของอินเดีย แต่พฤหัตกถาฉบับกัษมิร์ที่โสมเทวะใช้เป็นแหล่งเนื้อหานั้น อาจแตกต่างไปจากฉบับของไปศาจี เพราะมีพฤหัตกถาหลงเหลืออยู่สองฉบับ ในกัศมีร์ (นอกเหนือจากพฤหัตกถาโศลกสังเคราะห์ ของพุทธสวามิน จากเนปาล) ลักษณะการเล่านิทานในกถาสริตสาครนั้น (หรือในเนื้อหาหลักของพฤหัตกถา) คล้ายกับการเล่าเรื่องปัญจตันตระ นั่นคือ เป็นเรื่องที่ผูกโยงมาจากท้องถิ่นต่างๆ มากมายในโลกนี้ ประวัติการแปลในภาษาไทย เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป เคยร่วมกันแปลถ่ายทอดนิทานชุดนี้ออกเป็นภาษาไทย เมื่อ..

10 ความสัมพันธ์: พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)ภาษาสันสกฤตรัฐชัมมูและกัศมีร์คริสต์ศตวรรษที่ 11ตำนานประเทศอินเดียประเทศเนปาลปัญจตันตระนิทาน

พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

ตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมและเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2531 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: กถาสริตสาครและพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) · ดูเพิ่มเติม »

พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)

ระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป พระสารประเสริฐ นามเดิม ตรี นาคะประทีป (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2488) ผู้เชี่ยวชาญวิชาอักษรศาสตร์ภาษาไทย ผู้ร่วมแปลและถ่ายหนังสือหิโตปเทศจากภาษาอังกฤษร่วมกับพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) และได้ร่วมงานกันต่อเนื่องมาเป็นเวลานานและใช้นามปากกาที่มีชื่อเสียงร่วมกันคือ “เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป”.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชัมมูและกัศมีร์

ตในรัฐชัมมูและกัศมีร์ แสดงถึงเขตการปกครองและบริเวณดินแดนพิพาท รัฐชัมมูและกัศมีร์ หรือ รัฐจัมมูและแคชเมียร์ คือรัฐเหนือสุดของประเทศอินเดีย ดินแดนส่วนมากตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากนั้นยังเป็นบริเวณพิพาทระหว่างอินเดีย ปากีสถาน และจีนด้ว.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและรัฐชัมมูและกัศมีร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 11

ริสต์ศตวรรษที่ 11 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1001 ถึง ค.ศ. 1100.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและคริสต์ศตวรรษที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

ตำนาน

ตำนาน (legend; legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและตำนาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจตันตระ

หน้าจากหนังสือกาลิกา วา ดิมนา ภาคภาษาอาหรับอายุราว พ.ศ. 1753 แสดงรูปของราชาแห่งกากับที่ปรึกษา หน้าจากหนังสือ''Kelileh o Demneh'' อายุราว พ.ศ. 1972 จากเฮรัต ซึ่งเป็นปัญจตันตระที่แปลเป็นภาษาเปอร์เซีย โดยแปลมาจากฉบับภาษาอาหรับ ''Kalila wa Dimna'' อีกต่อหนึ่ง แสดงเรื่องตอนที่สุนัขจิ้งจอกชักนำสิงโตเข้าสู่สงคราม รูปสลักเกี่ยวกับปัญจตันตระที่วิหารเมนดุต ชวากลาง อินโดนีเซีย ปัญจตันตระ (Pancatantra; ภาษาสันสกฤต: पञ्चतन्त्र) เป็นนิทานโบราณของอินเดีย คาดว่ามีต้นกำเนิดที่แคชเมียร์เมื่อ..

ใหม่!!: กถาสริตสาครและปัญจตันตระ · ดูเพิ่มเติม »

นิทาน

นิทาน (นิทาน, Fable) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย ๒ ความหมาย คือ.

ใหม่!!: กถาสริตสาครและนิทาน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »