โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฎของมัวร์

ดัชนี กฎของมัวร์

ำนวนทรานซิสเตอร์เทียบกับช่วงเวลา แสดงถึงปริมาณที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกสองปี Osborne Executive คอมพิวเตอร์พกพาปี 1982 และ iPhone ที่ออกปี 2007 (ในรูปเป็น iPhone 3G) Osborne Executive หนักกว่า 100 เท่า ใหญ่กว่า 500 เท่า แพงกว่า 10 เท่า และช้ากว่า 100 เท่าของ iPhone กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี กฎนี้เบ้อได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นไปตามกฎของมัวร์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ความเร็วประมวลผล ความจุของแรม เซ็นเซอร์ หรือแม้แต่จำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนอย่างคร่าว ๆ (ยังมีกฎอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นราคาต่อหน่วย) การพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎของมัวร์ได้อธิบายแรงการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21 ชื่อของกฎถูกตั้งตามชื่อของ อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของแผนที่จะเป็นเป้าหมายของของการวิจัย และพัฒน.

10 ความสัมพันธ์: พิกเซลกรรมการผู้จัดการกล้องดิจิทัลวงจรรวมสารกึ่งตัวนำอินเทลทรานซิสเตอร์ตัวรับรู้แรมไอโฟน

พิกเซล

มื่อขยายรายละเอียดภาพจะเห็น พิกเซลของภาพ จุดภาพ หรือ พิกเซล (pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้ จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอ.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และพิกเซล · ดูเพิ่มเติม »

กรรมการผู้จัดการ

กรรมการผู้จัดการ (managing director, MD) ในระบบอังกฤษ หรือ ประธานบริหาร (chief executive officer, CEO) ในระบบอเมริกัน คือ ตำแหน่งสูงสุดในบริษัทหรือหน่วยงาน ในบริษัทขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือบริษัทครอบครัว ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดมักจะเป็นตำแหน่ง "กรรมการผู้จัดการ" แต่งตั้งมาจากผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการนี้เอง หรือแต่งตั้งเครือญาติมาดำรงตำแหน่ง แตกต่างจากตำแหน่ง "ประธานบริหาร" ที่มักจะพบในบริษัทขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารนี้จะได้รับการสรรหาและแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ผู้ดำรงตำแหน่งอาจเป็นบุคคลจากภายในหรือภายนอกบริษัทก็ได้ มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างและได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และกรรมการผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องดิจิทัล

กล้องดิจิทัลเทียบขนาดกับกล่องไม้ขีดไฟ กล้องดิจิทัลชนิดเลนส์สะท้อนเดี่ยว จะมีขนาดใหญ่กว่ากล้องดิจิทัลแบบพกพา กล้องดิจิทัล เป็นกล้องถ่ายรูปที่ใช้ระบบดิจิทัล โดยเก็บรูปภาพลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่น เอสดีการ์ด หรือ คอมแพ็กต์แฟลช เป็นกล้องที่เก็บบันทึกภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม หากแต่เป็นกล้องที่บันทึกภาพโดยอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล (1 / 0) กล้องดิจิตอล มีวิวัฒนาการจากเทคโนโลยีอะนาล็อกที่ใช้กับเครื่องอัดวิดีโอเทป หรือวีทีอาร์ ที่ใช้บันทึกภาพจากโทรทัศน์ แปลงข้อมูลเป็นกระแสไฟฟ้าดิจิตอล ไปบันทึกบนเทปแม่เหล็กห้องทดลอง บิงครอสบีที่มี นายจอห์น มูลลิน วิศวกร เป็นหัว หน้าทีมในปี 2494 (ค.ศ.1956) สร้าง สรรค์เทคโนโลยี วีทีอาร์ยุคแรกนี้ และพัฒนาต่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ชื่อ วีอาร์ 1000 ใช้ในวงการโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย โดยทีมงานของชาร์ลส์ พี.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และกล้องดิจิทัล · ดูเพิ่มเติม »

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และวงจรรวม · ดูเพิ่มเติม »

สารกึ่งตัวนำ

รกึ่งตัวนำ (semiconductor) คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวง ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้ สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเติมสารเจือปนลงไปในสารกึ่งตัวนำแท้ เช่น ซิลิกอน หรือเยอรมันเนียม เพื่อให้ได้สารกึ่งตัวนำที่มีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดีขึ้น สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สารกึ่งตัวนำประเภทเอ็น (N-Type) และสารกึ่งตัวนำประเภทพี (P-Type).

ใหม่!!: กฎของมัวร์และสารกึ่งตัวนำ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล

ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium).

ใหม่!!: กฎของมัวร์และอินเทล · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึงตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอย่างน้อยสามขั้วไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับวงจร ภายนอก แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขั้วทรานซิสเตอร์หนึ่งคู่ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสที่ไหลผ่านในขั้วทรานซิสเตอร์อีกคู่หนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่ถูกควบคุม (เอาต์พุต)จะสูงกว่าพลังงานที่ใช้ในการควบคุม (อินพุท) ทรานซิสเตอร์จึงสามารถขยายสัญญาณได้ ปัจจุบัน บางทรานซิสเตอร์ถูกประกอบขึ้นมาต่างหากแต่ยังมีอีกมากที่พบฝังอยู่ใน แผงวงจรรวม ทรานซิสเตอร์เป็นการสร้างบล็อกพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ​​และเป็นที่แพร่หลายในระบบอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และทรานซิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้

ตัวรับรู้ หรือ เซ็นเซอร์ (sensor) เป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ตรวจจับเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของตัวมันเอง จากนั้นมันก็จะให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันออกมา ตัวรับรู้เป็นตัวแปรสัญญาณ (transducer) ชนิดหนึ่ง มันสามารถให้สัญญาณออกมาได้หลากหลายชนิด แต่โดยทั่วไปจะใช้สัญญาณไฟฟ้าหรือสัญญาณแสง ยกตัวอย่างเช่นคู่ควบความร้อน (thermocouple) จะแปลงค่าอุณหภูมิ(สิ่งแวดล้อม)ให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่สอดคล้องกัน ในทำนองที่คล้ายกัน เทอร์มอมิเตอร์แบบปรอทในหลอดแก้วจะเปลี่ยนอุณหภูมิที่วัดได้ให้อยู่ในรูปการขยายตัวหรือการหดตัวของของเหลว ซึ่งสามารถอ่านได้บนหลอดแก้วที่ผ่านการสอบเทียบแล้ว ตัวรับรู้ทุกชนิดจะต้องผ่านการสอบเทียบ (calibrate) โดยเทียบกับค่ามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ตัวรับรู้ถูกใช้ในอุปกรณ์ประจำวัน เช่นปุ่มกดลิฟท์แบบไวต่อการสัมผัส(เซ็นเซอร์สัมผัส) และโคมไฟที่สลัวหรือสว่างขึ้นโดยการสัมผัสที่ฐาน นอกจากนี้ยังมีการใช้งานเซ็นเซอร์นับไม่ถ้วนที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ ด้วยความก้าวหน้าทางเครื่องกลจุลภาคและแพลตฟอร์มไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน การใช้งานของตัวรับรู้ได้ขยายออกไปไกลเกินกว่าการวัดในสาขาอุณหภูมิ, ความดันหรือการไหลแบบเดิมส่วนมาก ยกตัวอย่างเช่น MARG (Magnetic, Angular Rate, and Gravity) sensors ยิ่งไปกว่านั้น ตัวรับรู้แบบแอนะล๊อกเช่นโปเทนฉิโอมิเตอร์และตัวต้านทานที่ไวต่อแรงยังคงถูกใช้อยู่อย่างกว้างขวาง การใช้งานจะรวมถึงการผลิตและเครื่องจักร, เครื่องบินและยานอวกาศ, รถยนต์, เครื่องไฟฟ้า, การแพทย์, และหุ่นยนต์ มันยังรวมถึงในชีวิตประจำวัน ความไวของตัวรับรู้หมายถึงว่าสัญญาณส่งออกของตัวรับรู้จะเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหนเมื่อปริมาณของสัญญาณที่ป้อนเข้าเพื่อทำการวัดมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่นถ้าปรอทในเทอร์มอมิเตอร์เครื่องไหวไป 1 ซม.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และตัวรับรู้ · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: กฎของมัวร์และแรม · ดูเพิ่มเติม »

ไอโฟน

อโฟน (iPhone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล โดยการทำงานของไอโฟนสามารถใช้งานส่งอีเมล ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งเอสเอ็มเอส ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์ซาฟารี ค้นหาแผนที่ ฟังเพลง และความสามารถอื่น โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย Wi-Fi (802.11b/g) บลูทูธ 2.0 และกล้องถ่ายภาพ 2.0-megapixel ไอโฟนรุ่นแรกมีลักษณะ 2.5G quad band GSM และ EDGE และรุ่นที่สองใช้ UMTS และ HSDPA แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550 โดยมีรุ่นถัดมาคือ ไอโฟน 3G ไอโฟน 3GS ไอโฟน 4 ไอโฟน 4S ไอโฟน 5 ไอโฟน 5C ไอโฟน 5S ไอโฟน 6 ไอโฟน 6พลัส ไอโฟน 6S ไอโฟน 6Sพลัส และ ไอโฟนSE โดยApple.Inc ได้เปิดตัวไอโฟนSE ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่กลับไปใช้ขนาดหน้าจอเดียวกับไอโฟน 5S เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งไม่ชอบขนาดหน้าจอของไอโฟน 6, 6S, 6พลัสและ 6Sพลัส ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินไป โดยไอโฟน SE มีสเปคเครื่องที่ดีกว่า iPhone 5S เช่น ในเรื่องของความเร็ว ที่เร็วกว่าสองถึงสามเท่า รวมทั้งปรับส่วนต่าง ๆ ให้เกือบเทียบเท่าไอโฟน 6S ต่อมาได้พัฒนาไอโฟนรุ่นต่อไปคือไอโฟน7 และไอโฟน7 พลัส ไอโฟนรุ่นล่าสุดคือ ไอโฟน8 ไอโฟน8 พลัส ไอโฟนเอ็กซ.

ใหม่!!: กฎของมัวร์และไอโฟน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กฏของมัวร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »