โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โยวี่

ดัชนี โยวี่

ประติมากรรมโยวี่ ในเมืองกิลคอย รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย สำหรับยาวีในความหมายอื่นดูที่: ภาษายาวี โยวี่ หรือ ยาวีAustralian Yowie, "Finding Bigfoot".

8 ความสัมพันธ์: บันยิปบาตูตุตบิ๊กฟุตสัตว์ประหลาดอัลมาส์ฮิบะกงเยติเหย่เหริน

บันยิป

ันยิป บนหนังสือพิมพ์ อิลลัสสเตรส ออสเตรเลียน นิวส์ ในปี ค.ศ. 1890 บันยิป หรือ เคียนปราตี (Bunyip, Kianpraty) เป็นชื่อเรียกสัตว์ประหลาดในตำนานพื้นบ้านของชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย บันยิปถูกอธิบายถึงรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น หน้าแบนเหมือนสุนัขพันธุ์บูลด็อกและหางเหมือนปลา หรือคอยาวและมีจะงอยปากเหมือนนกอีมูและมีขนแผงคอที่ห้อยย้อยลงมาเหมือนงูทะเล หรือแม้แต่กระทั่งเหมือนมนุษย์ โดยความเชื่อเรื่องบันยิปนี้มีกระจายไปทั่วออสเตรเลี.

ใหม่!!: โยวี่และบันยิป · ดูเพิ่มเติม »

บาตูตุต

ตูตุต (Batutut) หรือ คนป่า (Người Rừng; Forest Man) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตลึกลับชนิดหนึ่ง ที่พบในประเทศเวียดนาม มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ แต่มีขนดกปกคลุมทั้งลำตัว ไม่มีหาง คล้ายกับเอปหรือลิงใหญ่ เหมือนกับกรณีบิ๊กฟุต หรือแซสแควตช์ ที่พบในอเมริกาเหนือ, โอรังเป็นเดะก์ ที่พบในอินโดนีเซีย หรือยาวี ที่ออสเตรเลีย บาตูตุตเริ่มเป็นที่รู้จักของโลกตะวันตกจากทหารผ่านศึกชาวอเมริกัน ที่รบในสงครามเวียดนามที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 21 ปี และยุติลงเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว โดยบอกว่า เป็นสัตว์ที่คล้ายกับมนุษย์ อาศัยอยู่ตามภูเขาสูง และจะทำร้ายผู้ที่พบเห็นด้วยการทุ่มหินเข้าใส่ จึงเรียกชื่อมันว่า "วานรหิน" (Rock Ape) เรื่องราวของบาตูตุตเป็นที่เล่าขานกันรุ่นต่อรุ่นของชาวพื้นเมืองเวียดนาม โดยเล่าว่า หากถูกมันจับไปแล้ว จะถูกกินเป็นอาหาร บาตูตุตมีความสูงราว 5–7 ฟุต ซึ่งนับว่าเตี้ยกว่าบิ๊กฟุตมาก แต่มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ มีขนดกปกคลุมทั้งลำตัวสีน้ำตาลเข้มเหมือนสีดิน แขนยาวเกินหัวเข่า ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ แต่รูปร่างไม่อ้วน ไม่ลงพุง มีรายงานการพบเห็นบาตูตุตทั่วทั้งเวียดนาม ทั้งนี้มีการศึกษาในทางวิชาการอย่างจริงจัง โดยเจิ่น ห่ง เหวียต นักวิชาการชาวเวียดนาม ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โยวี่และบาตูตุต · ดูเพิ่มเติม »

บิ๊กฟุต

กฟุตในภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวิดีโอ ในปี ค.ศ. 1967 รู้จักกันดีในชื่อของภาพยนตร์ของแพตเตอร์สัน–กิมลิน (Patterson–Gimlin film) บิ๊กฟุต (Bigfoot) หรือ แซสแควตช์ (Sasquatch) หรือชื่อที่แปลตรงตัวว่า "ไอ้ตีนโต" เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป แต่มีขนดก พบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ โดยชื่อที่เรียกมีที่จากรอยเท้าที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่ใหญ่โตกว่ามาก ส่วนใหญ่บรรยายว่ามีความสูงถึง 8 ฟุต หรือ 9 ฟุต น้ำหนักอาจถึง 800 ปอนด์ มีขนดกปกคลุมทั่วตัวสีเข้ม มีแขนยาว ไร้คอ และใบหน้าเหมือนมนุษย์ มีตาแหลมคม มีพละกำลังมหาศาลสามารถทุ่มก้อนหินขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลไปไกลได้อย่างสบาย และมีสัตว์ลักษณะคล้ายเคียงกันที่พบในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น ที่เทือกเขาหิมาลัยในเนปาล เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า "เยติ" (เนปาล: यती; Yeti) หรือ มนุษย์หิมะ ที่ออสเตรเลียเรียกว่า "ยาวี" (Yowie) เป็นต้น โดยบิ๊กฟุตยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ต่างกันไปตามแต่ละชนเผ่าของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นกลุ่มปฐมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ เช่น "มายาเด็กเท็ก" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ขนดก" หรือ "มนุษย์กิ่งไม้", "หญิงตะกร้า" หรือ "ยายาริ" และคำว่า "แซสแควตช์" ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

ใหม่!!: โยวี่และบิ๊กฟุต · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

ใหม่!!: โยวี่และสัตว์ประหลาด · ดูเพิ่มเติม »

อัลมาส์

อัลมาส์ หรือ อัลมาตี (อังกฤษ: Almas; Almasty, Almasti; บัลแกเรีย: Алмас; เชเชน; Алмазы, ตุรกี: Albıs; มองโกล: Алмас; ภาษามองโกลแปลว่า "คนป่า") สิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบตามเทือกเขาและป่าในภูมิภาคเอเชียกลาง รวมถึงไซบีเรีย มีลักษณะคล้าย เยติ ในเทือกเขาหิมาลัย และ บิ๊กฟุต ในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: โยวี่และอัลมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิบะกง

กง หรือ ฮินะกง ชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่พบในประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกึ่งมนุษย์กึ่งลิง ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับ เยติในเทือกเขาหิมาลัย และบิ๊กฟุตในป่าลึกของสหรัฐอเมริกา การพบเห็นฮิบะกงครั้งแรก เกิดขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1970 ในพื้นที่ใกล้กับภูเขาฮิบะ ใกล้กับจังหวัดทตโตะริ ในจังหวัดฮิโระชิมะ 3 วันหลังจากการพบเห็นนั้น มีรายงานมีผู้พบเห็นสัตว์ลักษณะคล้ายลิงมีขนยาวเดินผ่านทุ่งนาในชนบทนอกเมืองไซโจ มีประจักษ์พยานพบเห็นทั้งหมดในปีนั้นรวม 12 ราย รวมถึงมีการพบรอยเท้าในหิมะในเดือนธันวาคมอีกด้วย ต่อมามีการพบเห็นฮิบะกงมากขึ้น ในพื้นที่รอบภูเขาฮิบะ ในช่วงฤดูร้อนระหว่างปี ค.ศ. 1971-1973 เนื่องจากมีการล่าสัตว์เพิ่มมากขึ้น ทำให้สัตว์ป่าทั้งหลายต่างหนีลงมาจากภูเขา ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1974 มีการถ่ายรูปฮิบะกงได้เป็นครั้งแรก เป็นรูปที่มันหลบซ่อนอยู่หลังต้นพลับ ขนาดของรอยเท้าที่วัดได้ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร (9 นิ้ว) พบในบริเวณใกล้เคียง แต่หลังจากปี ค.ศ. 1974 แล้ว การพบเห็นฮิบะกงแทบจะไม่ปรากฏมีอีกเลย จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1980 มีการรายงานพบเห็นมันเดินข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นพรมแดนใกล้เมืองยะมะโนะ ซึ่งตอนนี้ฮิบะกงเป็นที่รู้จักในชื่อ ยะมะกง (Yamagon) มันถูกพบเห็นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1981 ที่ถนนใกล้กับสถานีอนามัย แต่รายงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1982 ที่เมืองมิซูกิ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกราว 30 กิโลเมตร จากเมืองยะมะโนะ แต่ในครั้งนี้ยะมะกงมีลักษณะแปลกไปจากสัตว์ประเภทเดียวกันตัวอื่น ๆ คือ มีรายงานว่ามันถือสิ่งที่ดูคล้ายเป็นเครื่องมือที่ทำจากหินเหมือน ขวาน อีกด้วย โดยรวมแล้วฮิบะกงมีขนสีน้ำตาล, แดง หรือน้ำตาลดำ ในบางรายงานระบุมีขนสีขาวบนแขนหรือหน้าอกด้วย มีกลิ่นตัวเหม็น ใบหน้าปกคลุมด้วยขน มีจมูกเชิด และแววตาแลดูฉลาด ลักษณะใบหน้าบางครั้งระบุว่าค่อนข้างยาวแต่แบนและยื่นออกมามากกว่ามนุษย์ ส่วนศีรษะรายงานส่วนใหญ่มักบอกตรงกันว่า มีขนาดใหญ่และเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมหัวกลับ ฮิบะกงมีรูปร่างเล็กกว่าบิ๊กฟุตหรือซาสควอซท์ ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉลี่ยแล้วฮิบะกงมีความสูงประมาณ 5 ฟุต และหนักประมาณ 180 ปอนด์ แต่ฮิบะกงมีความคล้ายกับลิงไม่มีหางมากกว่าซาสควอทซ์ โดยฮิบะกงถูกอธิบายว่า มีลักษณะเหมือนกอริลลา และมักจะเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อ.

ใหม่!!: โยวี่และฮิบะกง · ดูเพิ่มเติม »

เยติ

รคดี เยติ หรือ มนุษย์หิมะ (เนปาลี: हिममानव himamānav, คำแปล "มนุษย์หิมะ") เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, ภูฏาน, ธิเบต, จีน จนถึงบางพื้นที่ในมองโกเลียและรัสเซีย โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 5–8 ฟุต น้ำหนักประมาณ 600 ปอนด์ ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำหรือสีเทาหรือเทาเข้มปกคลุมทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีคล้ำ มีเสียงร้องที่น่าสะพรึงกลัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง เช่น จามรี ได้ในบางครั้ง เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพในพรมธิเบตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังเหมือนจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 400 ปี เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตประหลาดอย่างหนึ่งที่ขนดกอยู่ด้านมุมภาพและในมือถือกะโหลกมนุษย์อยู่ และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังหัวของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควาทช์ ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยาวี ในทวีปออสเตรเลีย หรืออัลมาส์ ในเอเชียกลาง หากแต่หลักฐานเกี่ยวกับเยติเมื่อเทียบกับบิ๊กฟุตแล้วพบน้อยกว่ามาก แต่มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก้าวร้าวกว่ามาก นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" ขณะที่ในภูฏานเรียกว่า มิกอย (Migoi) หรือ นากอย (Nagoi) ส่วนชื่อ มนุษย์หิมะ นั้น ปรากฎขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1921 เมื่อนักสำรวจชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ที่ถ่ายภาพรอยเท้าของเยติไว้ได้เป็นภาพแรก เจอกับปัญหาการแปลภาษาเชอร์ปา ซึ่งมาจากคำว่า "ดซูท์เทห์" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ตัวเหม็นแห่งหิมะ" ซึ่งเขาได้เขียนลงในบันทึกในฐานที่พักว่า "มนุษย์ตัวเหม็นน่ารังเกียจแห่งหิมะ" ที่ภูฏาน ชาวพื้นเมืองต่างเชื่อว่าเยติมีจริง หลายคนเคยได้พบเจอตัวหรือได้ยินเสียงของเยติ โดยกล่าวว่าเยติเป็นสัตว์ดุร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ได้ มีรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมาก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วร่างรวมถึงมีใบหน้าคล้ายลิง มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคม เสียงร้องของเยติเป็นเสียงสูง เยติอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือในป่าลึก ออกหากินในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่น ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้ขัดสานกันเหมือนเตียงนอน และเชื่อว่าหากผู้ใดต้องการพบเห็นตัวเยติต้องทำร่างกายให้สกปรก หากเนื้อตัวสะอาดก็จะไม่ได้พบเยติ มีรายงานการพบเห็นเยติเป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสากเต็ง ในเขตตราชิกัง เรเน เดอ มีล์วีลล์ นักปีนเขาชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 เรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: โยวี่และเยติ · ดูเพิ่มเติม »

เหย่เหริน

อักษรสลักเป็นภาษาจีนบนหน้าผา ความว่า "ถ้ำของเหย่เหริน" ในมณฑลหูเป่ย์ตะวันตก เหย่เหริน หรือ ซูเหริน (อังกฤษ: Yeren, Yiren, Yeh Ren; จีน: 野人; พินอิน: Yěrén แปลว่า "คนป่า"; อังกฤษ: Xueren; จีน: 神农架野人; พินอิน: Shénnóngjiàyěrén แปลว่า "คนป่าแห่งเสินหนงเจี้ย") หรือ มนุษย์หมี (อังกฤษ: Man Bear; จีน: 人熊; พินอิน: Ren Xiong) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่า มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่มีขนดกปกคลุมอยู่ทั่วร่าง อาศัยอยู่ ณ เขตอนุรักษ์ป่าดึกดำบรรพ์เขาเสินหนงเจี้ย ในมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน โดยเหย่เหริน มีลักษณะคล้ายอุรังอุตังที่พบบนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซีย มีขนสีน้ำตาลแดงเข้มยาว 3–4 เซนติเมตร มีท้องขนาดใหญ่ ยืนด้วยขาหลังทั้งสองข้าง มีความสูง 5–7 ฟุต หรือ 8 ฟุต แต่มีรายงานว่าสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ใบหน้ามีลักษณะผสมกับระหว่างมนุษย์และเอป มีส่วนของขาหน้าหรือมือมีนิ้ว 5 นิ้ว โดยที่นิ้วโป้งแยกออกมาเหมือนมนุษย์ เคยมีการพบรอยเท้าของเหย่เหรินมีความยาว 16 นิ้ว มีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับเอป ในตัวผู้มีองคชาตเหมือนผู้ชาย ในขณะที่ตัวเมียมีเต้านมเหมือนผู้หญิง ส่งเสียงร้องได้ดังและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เชื่อกันว่า เหย่เหริน มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์นีแอนเดอร์ธาลที่เคยอาศัยอยู่ในเอเชียเหนือ และเอเชียกลาง เมื่อ 350,000 กว่าปีก่อน ซึ่งเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น บิ๊กฟุตในอเมริกาเหนือ ในคติของจีนมีศัพท์ที่ใช้เรียกสัตว์ที่มีลักษณะเช่นนี้โดยเฉพาะ โดยมีผู้เชื่อว่าอาจจะมีจำนวนเหย่เหรินมากถึง 1,000–2,000 ตัวอาศัยอยู่ในประเทศจีนตอนกลาง นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ของเหย่เหริน โดยการกล่าวอ้างถึงจากนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวยังเขตอนุรักษ์ป่าดึกดำบรรพ์เขาเสินหนงเจี้ย โดยค้นพบรอยเท้าและทำการหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์เพื่อศึกษา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีทฤษฎีว่า เหย่เหรินอาจจะเป็นเอปขนาดใหญ่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gigantopithecus blacki ที่เคยอาศัยอยู่ในเอเชียกลาง แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 500,000 ปี มีนักวิชาการที่ได้รับทุนจากรัฐบาลให้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเหย่เหริน สามารถเก็บตัวอย่างขนที่เชื่อว่าเป็นของเหย่เหรินได้เมื่อนำไปเทียบกับขนของลิงหรือเอปที่เป็นที่รู้จัก ปรากฏว่าไม่ตรงกับชนิดใดเลย ในตำนานพื้นบ้านแถบนี้ เหย่เหรินถูกเล่าขานว่าเป็นสัตว์กินเนื้อ และจับมนุษย์ฉีกแขนขากินเป็นอาหารด้วย ปัจจุบันแม้จะมีการสำรวจศึกษาเกี่ยวกับเหย่เหรินมากขึ้น แต่เรื่องของเหย่เหรินก็ยังคงอยู่ในความเชื่อของชาวจีนพื้นถิ่น ซึ่งป่าที่เหย่เหรินอาศัยอยู่นั้นก็ถือได้ว่าเป็นป่าดึกดำบรรพ์ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีพรรณพืชและพรรณสัตว์โบราณและหายากหลายชนิดอาศัยอยู่ด้วย โดยบางคนที่อ้างว่าเคยพบเห็นเหย่เหริน เป็นเจ้าหน้าที่ของเขตอนุรักษ์ อ้างว่าตนเคยคิดที่จะจับเหย่เหรินด้วยซ้ำ โดยเชื่อว่าเหย่เหรินอาศัยอยู่ในป่าหินซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเขตป่าอนุรักษ์เสินหนงเจี้ย รวมถึงมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นขณะนำพานักท่องเที่ยวบนรถทัวร์ ได้เห็นเหย่เหรินตัวหนึ่งที่มีขนสีดำวิ่งตัดหน้ารถด้วยสองขาหลัง คนขับรถได้ตะโกนบอกว่า "เหย่เหริน ๆ" ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า เหย่เหรินไม่อยู่เป็นกลุ่ม แต่จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ ระหว่างตัวผู้และตัวเมีย โดยปกติจะเดินด้วยสองขาหลัง แต่สามารถใช้ขาทั้งสี่ข้างปีนป่ายได้รวดเร็ว โดยกินอาหารจำพวก ผลไม้, ถั่ว, ข้าวโพด และแมลงบางชนิด ในสถานที่ ๆ ไม่มีใครมาพบเห็น.

ใหม่!!: โยวี่และเหย่เหริน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yowieยาวี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »