โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮิบะกง

ดัชนี ฮิบะกง

กง หรือ ฮินะกง ชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่พบในประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกึ่งมนุษย์กึ่งลิง ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับ เยติในเทือกเขาหิมาลัย และบิ๊กฟุตในป่าลึกของสหรัฐอเมริกา การพบเห็นฮิบะกงครั้งแรก เกิดขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1970 ในพื้นที่ใกล้กับภูเขาฮิบะ ใกล้กับจังหวัดทตโตะริ ในจังหวัดฮิโระชิมะ 3 วันหลังจากการพบเห็นนั้น มีรายงานมีผู้พบเห็นสัตว์ลักษณะคล้ายลิงมีขนยาวเดินผ่านทุ่งนาในชนบทนอกเมืองไซโจ มีประจักษ์พยานพบเห็นทั้งหมดในปีนั้นรวม 12 ราย รวมถึงมีการพบรอยเท้าในหิมะในเดือนธันวาคมอีกด้วย ต่อมามีการพบเห็นฮิบะกงมากขึ้น ในพื้นที่รอบภูเขาฮิบะ ในช่วงฤดูร้อนระหว่างปี ค.ศ. 1971-1973 เนื่องจากมีการล่าสัตว์เพิ่มมากขึ้น ทำให้สัตว์ป่าทั้งหลายต่างหนีลงมาจากภูเขา ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1974 มีการถ่ายรูปฮิบะกงได้เป็นครั้งแรก เป็นรูปที่มันหลบซ่อนอยู่หลังต้นพลับ ขนาดของรอยเท้าที่วัดได้ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร (9 นิ้ว) พบในบริเวณใกล้เคียง แต่หลังจากปี ค.ศ. 1974 แล้ว การพบเห็นฮิบะกงแทบจะไม่ปรากฏมีอีกเลย จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1980 มีการรายงานพบเห็นมันเดินข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นพรมแดนใกล้เมืองยะมะโนะ ซึ่งตอนนี้ฮิบะกงเป็นที่รู้จักในชื่อ ยะมะกง (Yamagon) มันถูกพบเห็นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1981 ที่ถนนใกล้กับสถานีอนามัย แต่รายงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1982 ที่เมืองมิซูกิ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกราว 30 กิโลเมตร จากเมืองยะมะโนะ แต่ในครั้งนี้ยะมะกงมีลักษณะแปลกไปจากสัตว์ประเภทเดียวกันตัวอื่น ๆ คือ มีรายงานว่ามันถือสิ่งที่ดูคล้ายเป็นเครื่องมือที่ทำจากหินเหมือน ขวาน อีกด้วย โดยรวมแล้วฮิบะกงมีขนสีน้ำตาล, แดง หรือน้ำตาลดำ ในบางรายงานระบุมีขนสีขาวบนแขนหรือหน้าอกด้วย มีกลิ่นตัวเหม็น ใบหน้าปกคลุมด้วยขน มีจมูกเชิด และแววตาแลดูฉลาด ลักษณะใบหน้าบางครั้งระบุว่าค่อนข้างยาวแต่แบนและยื่นออกมามากกว่ามนุษย์ ส่วนศีรษะรายงานส่วนใหญ่มักบอกตรงกันว่า มีขนาดใหญ่และเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมหัวกลับ ฮิบะกงมีรูปร่างเล็กกว่าบิ๊กฟุตหรือซาสควอซท์ ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉลี่ยแล้วฮิบะกงมีความสูงประมาณ 5 ฟุต และหนักประมาณ 180 ปอนด์ แต่ฮิบะกงมีความคล้ายกับลิงไม่มีหางมากกว่าซาสควอทซ์ โดยฮิบะกงถูกอธิบายว่า มีลักษณะเหมือนกอริลลา และมักจะเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อ.

6 ความสัมพันธ์: บิ๊กฟุตอัลมาส์โยวี่โอรังมาวัซเยติเหย่เหริน

บิ๊กฟุต

กฟุตในภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวิดีโอ ในปี ค.ศ. 1967 รู้จักกันดีในชื่อของภาพยนตร์ของแพตเตอร์สัน–กิมลิน (Patterson–Gimlin film) บิ๊กฟุต (Bigfoot) หรือ แซสแควตช์ (Sasquatch) หรือชื่อที่แปลตรงตัวว่า "ไอ้ตีนโต" เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป แต่มีขนดก พบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ โดยชื่อที่เรียกมีที่จากรอยเท้าที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่ใหญ่โตกว่ามาก ส่วนใหญ่บรรยายว่ามีความสูงถึง 8 ฟุต หรือ 9 ฟุต น้ำหนักอาจถึง 800 ปอนด์ มีขนดกปกคลุมทั่วตัวสีเข้ม มีแขนยาว ไร้คอ และใบหน้าเหมือนมนุษย์ มีตาแหลมคม มีพละกำลังมหาศาลสามารถทุ่มก้อนหินขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลไปไกลได้อย่างสบาย และมีสัตว์ลักษณะคล้ายเคียงกันที่พบในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น ที่เทือกเขาหิมาลัยในเนปาล เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า "เยติ" (เนปาล: यती; Yeti) หรือ มนุษย์หิมะ ที่ออสเตรเลียเรียกว่า "ยาวี" (Yowie) เป็นต้น โดยบิ๊กฟุตยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ต่างกันไปตามแต่ละชนเผ่าของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นกลุ่มปฐมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ เช่น "มายาเด็กเท็ก" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ขนดก" หรือ "มนุษย์กิ่งไม้", "หญิงตะกร้า" หรือ "ยายาริ" และคำว่า "แซสแควตช์" ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

ใหม่!!: ฮิบะกงและบิ๊กฟุต · ดูเพิ่มเติม »

อัลมาส์

อัลมาส์ หรือ อัลมาตี (อังกฤษ: Almas; Almasty, Almasti; บัลแกเรีย: Алмас; เชเชน; Алмазы, ตุรกี: Albıs; มองโกล: Алмас; ภาษามองโกลแปลว่า "คนป่า") สิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบตามเทือกเขาและป่าในภูมิภาคเอเชียกลาง รวมถึงไซบีเรีย มีลักษณะคล้าย เยติ ในเทือกเขาหิมาลัย และ บิ๊กฟุต ในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ฮิบะกงและอัลมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

โยวี่

ประติมากรรมโยวี่ ในเมืองกิลคอย รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย สำหรับยาวีในความหมายอื่นดูที่: ภาษายาวี โยวี่ หรือ ยาวีAustralian Yowie, "Finding Bigfoot".

ใหม่!!: ฮิบะกงและโยวี่ · ดูเพิ่มเติม »

โอรังมาวัซ

อรังมาวัซ หรือ มาวัซ (Orang Mawas, Mawas) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า โอรังดาลัม (Orang Dalam) เป็นสัตว์ประหลาดขนดกคล้ายเอปผสมมนุษย์ซึ่งมีผู้อ้างว่าพบเห็นในป่าลึกของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย คล้ายคลึงกับบิ๊กฟุตหรือแซสแควตช์ในทวีปอเมริกาเหนือ, เยติหรือมนุษย์หิมะในเทือกเขาหิมาลัย หรือโอรัง เปนเดะก์บนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ภูมิภาคอาเซียนเช่นเดียวกัน กล่าวกันว่า โอรังมาวัซมีความสูงถึง 3 เมตร (ประมาณ 10 ฟุต) ตีนมีขนาดใหญ่และมีขนดกสีดำ มีรายงานว่าจับปลาและขโมยผลไม้กินเป็นอาหาร ชาวโอรังอัซลีหรือซาไก (ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของภูมิภาคแถบนี้) เรียกโอรังมาวัซว่า "ฮันตูจารังกีกี" (hantu jarang gigi) ซึ่งแปลว่า "ผีฟันเขี้ยว" บันทึกของโอรังมาวัซ ย้อนหลังไปไกลถึงปี..

ใหม่!!: ฮิบะกงและโอรังมาวัซ · ดูเพิ่มเติม »

เยติ

รคดี เยติ หรือ มนุษย์หิมะ (เนปาลี: हिममानव himamānav, คำแปล "มนุษย์หิมะ") เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, ภูฏาน, ธิเบต, จีน จนถึงบางพื้นที่ในมองโกเลียและรัสเซีย โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 5–8 ฟุต น้ำหนักประมาณ 600 ปอนด์ ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำหรือสีเทาหรือเทาเข้มปกคลุมทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีคล้ำ มีเสียงร้องที่น่าสะพรึงกลัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง เช่น จามรี ได้ในบางครั้ง เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพในพรมธิเบตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังเหมือนจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 400 ปี เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตประหลาดอย่างหนึ่งที่ขนดกอยู่ด้านมุมภาพและในมือถือกะโหลกมนุษย์อยู่ และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังหัวของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควาทช์ ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยาวี ในทวีปออสเตรเลีย หรืออัลมาส์ ในเอเชียกลาง หากแต่หลักฐานเกี่ยวกับเยติเมื่อเทียบกับบิ๊กฟุตแล้วพบน้อยกว่ามาก แต่มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก้าวร้าวกว่ามาก นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" ขณะที่ในภูฏานเรียกว่า มิกอย (Migoi) หรือ นากอย (Nagoi) ส่วนชื่อ มนุษย์หิมะ นั้น ปรากฎขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1921 เมื่อนักสำรวจชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ที่ถ่ายภาพรอยเท้าของเยติไว้ได้เป็นภาพแรก เจอกับปัญหาการแปลภาษาเชอร์ปา ซึ่งมาจากคำว่า "ดซูท์เทห์" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ตัวเหม็นแห่งหิมะ" ซึ่งเขาได้เขียนลงในบันทึกในฐานที่พักว่า "มนุษย์ตัวเหม็นน่ารังเกียจแห่งหิมะ" ที่ภูฏาน ชาวพื้นเมืองต่างเชื่อว่าเยติมีจริง หลายคนเคยได้พบเจอตัวหรือได้ยินเสียงของเยติ โดยกล่าวว่าเยติเป็นสัตว์ดุร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ได้ มีรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมาก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วร่างรวมถึงมีใบหน้าคล้ายลิง มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคม เสียงร้องของเยติเป็นเสียงสูง เยติอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือในป่าลึก ออกหากินในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่น ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้ขัดสานกันเหมือนเตียงนอน และเชื่อว่าหากผู้ใดต้องการพบเห็นตัวเยติต้องทำร่างกายให้สกปรก หากเนื้อตัวสะอาดก็จะไม่ได้พบเยติ มีรายงานการพบเห็นเยติเป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสากเต็ง ในเขตตราชิกัง เรเน เดอ มีล์วีลล์ นักปีนเขาชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 เรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: ฮิบะกงและเยติ · ดูเพิ่มเติม »

เหย่เหริน

อักษรสลักเป็นภาษาจีนบนหน้าผา ความว่า "ถ้ำของเหย่เหริน" ในมณฑลหูเป่ย์ตะวันตก เหย่เหริน หรือ ซูเหริน (อังกฤษ: Yeren, Yiren, Yeh Ren; จีน: 野人; พินอิน: Yěrén แปลว่า "คนป่า"; อังกฤษ: Xueren; จีน: 神农架野人; พินอิน: Shénnóngjiàyěrén แปลว่า "คนป่าแห่งเสินหนงเจี้ย") หรือ มนุษย์หมี (อังกฤษ: Man Bear; จีน: 人熊; พินอิน: Ren Xiong) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่า มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่มีขนดกปกคลุมอยู่ทั่วร่าง อาศัยอยู่ ณ เขตอนุรักษ์ป่าดึกดำบรรพ์เขาเสินหนงเจี้ย ในมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน โดยเหย่เหริน มีลักษณะคล้ายอุรังอุตังที่พบบนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซีย มีขนสีน้ำตาลแดงเข้มยาว 3–4 เซนติเมตร มีท้องขนาดใหญ่ ยืนด้วยขาหลังทั้งสองข้าง มีความสูง 5–7 ฟุต หรือ 8 ฟุต แต่มีรายงานว่าสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ใบหน้ามีลักษณะผสมกับระหว่างมนุษย์และเอป มีส่วนของขาหน้าหรือมือมีนิ้ว 5 นิ้ว โดยที่นิ้วโป้งแยกออกมาเหมือนมนุษย์ เคยมีการพบรอยเท้าของเหย่เหรินมีความยาว 16 นิ้ว มีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับเอป ในตัวผู้มีองคชาตเหมือนผู้ชาย ในขณะที่ตัวเมียมีเต้านมเหมือนผู้หญิง ส่งเสียงร้องได้ดังและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เชื่อกันว่า เหย่เหริน มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์นีแอนเดอร์ธาลที่เคยอาศัยอยู่ในเอเชียเหนือ และเอเชียกลาง เมื่อ 350,000 กว่าปีก่อน ซึ่งเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น บิ๊กฟุตในอเมริกาเหนือ ในคติของจีนมีศัพท์ที่ใช้เรียกสัตว์ที่มีลักษณะเช่นนี้โดยเฉพาะ โดยมีผู้เชื่อว่าอาจจะมีจำนวนเหย่เหรินมากถึง 1,000–2,000 ตัวอาศัยอยู่ในประเทศจีนตอนกลาง นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ของเหย่เหริน โดยการกล่าวอ้างถึงจากนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวยังเขตอนุรักษ์ป่าดึกดำบรรพ์เขาเสินหนงเจี้ย โดยค้นพบรอยเท้าและทำการหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์เพื่อศึกษา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีทฤษฎีว่า เหย่เหรินอาจจะเป็นเอปขนาดใหญ่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gigantopithecus blacki ที่เคยอาศัยอยู่ในเอเชียกลาง แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 500,000 ปี มีนักวิชาการที่ได้รับทุนจากรัฐบาลให้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเหย่เหริน สามารถเก็บตัวอย่างขนที่เชื่อว่าเป็นของเหย่เหรินได้เมื่อนำไปเทียบกับขนของลิงหรือเอปที่เป็นที่รู้จัก ปรากฏว่าไม่ตรงกับชนิดใดเลย ในตำนานพื้นบ้านแถบนี้ เหย่เหรินถูกเล่าขานว่าเป็นสัตว์กินเนื้อ และจับมนุษย์ฉีกแขนขากินเป็นอาหารด้วย ปัจจุบันแม้จะมีการสำรวจศึกษาเกี่ยวกับเหย่เหรินมากขึ้น แต่เรื่องของเหย่เหรินก็ยังคงอยู่ในความเชื่อของชาวจีนพื้นถิ่น ซึ่งป่าที่เหย่เหรินอาศัยอยู่นั้นก็ถือได้ว่าเป็นป่าดึกดำบรรพ์ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีพรรณพืชและพรรณสัตว์โบราณและหายากหลายชนิดอาศัยอยู่ด้วย โดยบางคนที่อ้างว่าเคยพบเห็นเหย่เหริน เป็นเจ้าหน้าที่ของเขตอนุรักษ์ อ้างว่าตนเคยคิดที่จะจับเหย่เหรินด้วยซ้ำ โดยเชื่อว่าเหย่เหรินอาศัยอยู่ในป่าหินซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเขตป่าอนุรักษ์เสินหนงเจี้ย รวมถึงมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นขณะนำพานักท่องเที่ยวบนรถทัวร์ ได้เห็นเหย่เหรินตัวหนึ่งที่มีขนสีดำวิ่งตัดหน้ารถด้วยสองขาหลัง คนขับรถได้ตะโกนบอกว่า "เหย่เหริน ๆ" ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า เหย่เหรินไม่อยู่เป็นกลุ่ม แต่จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ ระหว่างตัวผู้และตัวเมีย โดยปกติจะเดินด้วยสองขาหลัง แต่สามารถใช้ขาทั้งสี่ข้างปีนป่ายได้รวดเร็ว โดยกินอาหารจำพวก ผลไม้, ถั่ว, ข้าวโพด และแมลงบางชนิด ในสถานที่ ๆ ไม่มีใครมาพบเห็น.

ใหม่!!: ฮิบะกงและเหย่เหริน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HibagonHinagonหิบากองฮินะกง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »