โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอกซ์เอ็มแอล

ดัชนี เอกซ์เอ็มแอล

อกซ์เอ็มแอล (XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน.

61 ความสัมพันธ์: ADO.NETAGROVOCพอยท์เอเชีย.คอมพอดแคสต์พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ)ภาษาพีเอชพีภาษากรูวีภาษามาร์กอัปภาษาโปรแกรมมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ยูนิโคดรายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพีวอยซ์เอกซ์เอ็มแอลวิซเดิลวินโดวส์มีเดียเพลเยอร์สื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้อะแพชี ทอมแคตอะแพชี เล็นยาอะแพชี เวโลซิตีอะแพชี เอกซ์เอ็มแอลอะแพชี เซิร์กซีสอะโดบี ดรีมวีฟเวอร์อาร์เอสเอสข้อมูลที่เครื่องอ่านออกดับลินคอร์ด็อมคอลลาดาคิวต์คีย์พาสซูล (ภาษามาร์กอัป)แมทเอ็มแอลแอมเพอร์แซนด์แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์แซกซ์แซเมิลโอโอเอกซ์เอ็มแอลโอเพนด็อกคิวเมนต์โอเพนเอกซ์พีเอสโซปไมโครซอฟท์ ออฟฟิศไมโครซอฟท์ เอกซ์เพรสชันเว็บเกกโกเร็นเดอริงเอนจินเล็กซิตรอนเว็บเซอร์วิซเอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอ็มพีพี...เอสวีจีเอดิตพลัสเอแจ็กซ์เจซันเจเอสพีเค้าร่างเอกซ์เอ็มแอลCSSJEditLexical Markup FrameworkPubMed CentralXMLHttpRequest ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

ADO.NET

ADO.NET เป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก ADO.NET คือชุดส่วนประกอบซอฟต์แวร์สำหรับโปรแกรมเมอร์เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก แม้ว่าชื่อนั้นจะมาจากเทคโนโลยี ADO (ActiveX Data Object) แต่เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากจนสามารถเรียกได้เป็นคนละผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว โดยปกติแล้วจะใช้ในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล แต่การเชื่อมต่อเข้ากับ Excel ไฟล์XML หรือไฟล์ข้อความธรรมดานั้นก็ทำได้เช่นกัน.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและADO.NET · ดูเพิ่มเติม »

AGROVOC

AGROVOC ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1980 โดยเป็นอรรถาภิธานศัพท์พหุภาษาแบบมีโครงสร้าง ในด้านการเกษตร วนศาสตร์ การประมง อาหาร โภชนาการ และสาขาที่เกี่ยวข้อง (เช่น สิ่งแวดล้อม) อรรถาภิธานนี้เป็นคำศัพท์มาตรฐานที่กำหนดคำดรรชนีให้ถูกต้องตรงกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การสืบค้นสารสนเทศมีประสิทธิภาพ และยังช่วยขยายผลการสืบค้นสารสนเทศให้มีความครอบคลุมและกว้างขวางยิ่งขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา AGROVOC เป็นเครื่องมือที่ให้องค์กรต่างๆ ใส่องค์ความรู้ และพัฒนาออนโทโลยี เพื่อให้มีความสามารถในการสืบค้นได้ แต่ในปัจจุบัน AGROVOC ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นแม่ข่ายทางมโนทัศน์ (Concept Server) ซึ่งเปรียบเสมือนอรรถาภิธานคำศัพท์ (Term-based hesaurus) AGROVOC ได้ถูกใช้งานโดยกลุ่มคนทั่วโลก เช่นนักวิจัย บรรณารักษ์ ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และบุคคลอื่นๆ เพื่อใช้ในการทำดรรชนี การค้นคืน และการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในด้านสารสนเทศทางการเกษตร สิ่งสำคัญก็คือการทำให้การอธิบายเชิงความหมายมีมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อทำให้ระบบต่างๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้กว้างขึ้น อรรถาภิธานศัพท์เกษตร AGROVOC ประกอบด้วยคำศัพท์ใน 6 ภาษาหลัก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษารัสเซีย และได้ถูกแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีก ได้แก่ ภาษาเช็ก ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาฮังการี ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาลาว ภาษาโปแลนด์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาสโลวัก และภาษาไทย สำหรับคำศัพท์ในภาษามลายู ภาษามอลโดวา ภาษาเตลูกู ภาษาตุรกี และภาษายูเครน อยู่ในระหว่างดำเนินการ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและAGROVOC · ดูเพิ่มเติม »

พอยท์เอเชีย.คอม

ว็บแม็พ ภาพสามมิติจำลองของตึก Loxley พอยท์เอเชียดอตคอม (PointAsia.com) เป็นชื่อซอฟต์แวร์โปรแกรมแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง และเป็นฟรีแวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย สนับสนุนโดย บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท Space Imaging Southeast Asia (SISEA) ข้อมูลที่ให้บริการประกอบด้วยภาพถ่ายดาวเทียมที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย ข้อมูลแผนที่ จีไอเอส และข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างขึ้น เพื่อเป็นแผนที่ส่วนตัว หรือแผนที่เฉพาะกลุ่ม.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและพอยท์เอเชีย.คอม · ดูเพิ่มเติม »

พอดแคสต์

อดแคสติง (podcasting) คือขั้นตอนของการเผยแพร่เสียง รวมไปถึงการพูดคุย เล่าเรื่อง สนทนาเรื่องต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 โดยผู้รับฟังสามารถสมัครที่จะเลือกรับฟังเสียงหรือเพลง (โดยปกติจะเป็นในลักษณะ MP3) ผ่านทางระบบฟีด (feed) โดยตัวฟีดนี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ เข้าสู่ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา (หรือที่เรียกว่า MP3 เพลเยอร์) จุดเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ปี..

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและพอดแคสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่รูปแบบการสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งปฏิบัติต่อการคำนวณว่าเป็นการประเมินผลฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสถานะและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศซึ่งหมายความหรือการประกาศแทนข้อความสั่ง ในโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ค่าผลลัพธ์ของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับที่นำเข้าสู่ฟังก์ชันเท่านั้น ดังนั้นการเรียกฟังก์ชัน f สองครั้งด้วยค่าอาร์กิวเมนต์ x เดียวกันจะให้ค่าผลลัพธ์ f(x) เท่ากันทุกครั้ง การกำจัดผลข้างเคียง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ไม่ขึ้นกับสิ่งที่นำเข้าฟังก์ชัน สามารถทำให้ง่ายขึ้นที่จะทำความเข้าใจและพยากรณ์พฤฒิกรรมของโปรแกรมซึ่งเป็นหนึ่งในแรงจูงใจของการพัฒนาของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันมีรากฐานมาจากแคลคูลัสแลมบ์ดาซึ่งเป็นระบบรูปนัยที่พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อค้นEntscheidungsproblem นิยามของฟังก์ชัน การประยุกต์ฟังก์ชัน และการเรียกซ้ำ ภาษาการใส่รายละเอียดเพิ่มจากแคลคูลัสแลมบ์ดา กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศที่เป็นที่รู้จักอื่น ๆ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์เชิงตรรกะ ในกลับโปรแกรมเชิงคำสั่งเปลี่ยนสถานะด้วยคำสั่งในภาษาต้นทาง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือการกำหนดค่า การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งไม่มีฟังก์ชันในความหมายแบบคณิตศาสตร์แต่มีในความหมายแบบซับรูทีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่อาจะเปลี่ยนค่าของสถานะของโปรแกรมได้ ฟังก์ชันที่ไม่คืนค่าจึงสมเหตุสมผลเพราะขาดความโปร่งใสในการอ้างอิง ได้แก่นิพจน์เดียวกันทางภาษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่มีค่าต่างกันได้ในเวลาที่ต่างกันขึ้นกับสถานะของโปรแกรมที่กำลังกระทำการ ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันบริสุทธิ เช่น ภาษาโฮปถูกในความสำคัญในวงการวิชาการมากกว่าในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามภาษาโปรแกรมที่มีชื่อเสียงซึ่งสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เช่น ภาษาคอมมอนลิสป์ ภาษา Scheme ภาษา Clojure ภาษา Wolfram (หรือ ภาษา Mathematica) ภาษา Racket ภาษาเออร์แลง ภาษา OCaml ภาษา Haskell และภาษาเอฟชาร์ป ใช้ในโปรแกรมประยุกต์เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์โดยองค์กรอย่างกว้างขวาง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันยังได้รับการรองรับในภาษาเขียนโปรแกรมเฉพาะทางบางภาษา เช่น ภาษาอาร์ (สถิติ) ภาษาเจ ภาษาเค และภาษาคิวจาก Kx Systems (การวิเคราะห์ทางการคลัง) XQuery/XSLT (เอกซ์เอ็มแอล) และภาษาโอปอล ภาษาเชิงประกาศเฉพาะทางที่ใช้งานอย่างกว้างขวางเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และ Lex/Yacc ใช้บางส่วนประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะใน eschewing วัตถุที่เปลี่ยนแปลงได้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

ภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ)

ววิทยา (ontology information science) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ หมายถึง วิธีการบรรยายขอบเขตแนวคิดที่สนใจ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับแนวคิด โดยภววิทยาเป็นการสร้างโครงสร้างฐานความรู้หรือขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งซึ่งมีแนวคิดและความเข้าใจตรงกันและใช้ในการนิยามตัวแบบ (model) ภายในขอบเขตขององค์ความรู้เพื่ออธิบายสิ่งที่เราสนใจ (domain) ให้ได้ใจความและถูกต้อง.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพีเอชพี

ีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและภาษาพีเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรูวี

ษากรูวี (Groovy) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุสำหรับแพลตฟอร์มจาวาอันหนึ่ง นอกเหนือจากภาษาจาวา เราอาจมองกรูวีเป็นเหมือนภาษาสคริปต์สำหรับแพลตฟอร์มจาวาก็ได้ เนื่องจากมันมีคุณลักษณะหลายอย่างเหมือนกับภาษาสคริปต์อย่าง ไพทอน (Python) รูบี้ (Ruby) เพิร์ล (Perl) และ สมอลทอล์ค (Smalltalk).

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและภาษากรูวี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาร์กอัป

ษามาร์กอัป (markup language) คือประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ที่แสดงทั้งข้อมูล และข้อมูลรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยข้อมูลรูปแบบอธิบายถึงโครงสร้างหรือการแสดงผลซึ่งส่วนนี้เรียกว่า มาร์กอัป โดยจะอยู่รวมกับข้อมูลปกติ ภาษามาร์กอัปที่รู้จักกันดีที่สุดคือ HTML ตามความเป็นมาแล้ว ภาษารูปแบบนี้ได้มีการใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ในการติดต่อสื่อสารงานพิมพ์ระหว่างผู้เขียน บรรณาธิการ และเครื่องพิม.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและภาษามาร์กอัป · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรม

ษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer) ภาษาโปรแกรมในยุคแรกเริ่มนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยถูกใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ดและเครื่องเล่นเปียโน ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ หลายพันภาษาถูกสร้างขึ้นมา ส่วนมากใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และสำหรับวงการอื่นภาษาโปรแกรมก็เกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ ปี ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่อธิบายการคิดคำนวณในรูปแบบเชิงคำสั่ง อาทิลำดับของคำสั่ง ถึงแม้ว่าบางภาษาจะใช้การอธิบายในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ การพรรณนาถึงภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ วากยสัมพันธ์ (รูปแบบ) และอรรถศาสตร์ (ความหมาย) บางภาษาถูกนิยามขึ้นด้วยเอกสารข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น ภาษาซีเป็นภาษาหนึ่งที่กำหนดโดยมาตรฐานไอโซ) ในขณะที่ภาษาอื่นอย่างภาษาเพิร์ลรุ่น 5 และก่อนหน้านั้น ใช้การทำให้เกิดผลแบบอ้างอิง (reference implementation) เป็นลักษณะเด่น.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและภาษาโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี

ตัวอย่างข้อความร้องขอเอชทีทีพีที่สร้างในเทลเน็ต บรรทัดแรกของสีน้ำเงินคือรหัสสถานภาพ ต่อไปนี้เป็นรายชื่อรหัสสถานภาพในการตอบรับเอชทีทีพีจากเครื่องให้บริการ ซึ่งมีทั้งรหัสที่กำหนดโดยมาตรฐานอินเทอร์เน็ตของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) และกำหนดโดยเอกสารขอความเห็น (RFC) เอกสารลักษณะเฉพาะอื่น ๆ และรหัสที่มีการใช้งานโดยทั่วไปเพิ่มเข้ามา ตัวเลขแรกของรหัสสถานภาพ (หลักร้อย) เป็นตัวระบุประเภทของการตอบรับหนึ่งในห้าประเภท ซึ่งเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีสามารถรับรู้ประเภททั้งห้านี้ได้เป็นอย่างน้อย อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซอร์วิสเซส (IIS) ของไมโครซอฟท์ใช้รหัสย่อยเป็นทศนิยมเพิ่มเติมเพื่อแสดงข้อมูลให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่นำมาแสดงไว้ในนี้ วลีเหตุผลที่อยู่ถัดจากรหัสสถานภาพเป็นตัวอย่างมาตรฐาน ซึ่งสามารถเขียนหรือแปลให้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ ถ้าหากรหัสสถานภาพใดไม่มีการระบุหมายเหตุ แสดงว่ารหัสนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน HTTP/1.1.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและรายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

วอยซ์เอกซ์เอ็มแอล

วอยซ์เอกซ์เอ็มแอล หรือ วีเอกซ์เอ็มแอล (VoiceXML: VXML) เป็นมาตรฐาน XML ใช้สำหรับสร้างหัวข้อบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้ากับการยอมรับการพูดและโทรศัพท์ แทนที่การใช้เว็บเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งใช้โทรศัพท์เชื่อมผ่านเว็บเสียง คุณเพียงกดหมายเลขโทรศัพท์ของเว็บไซต์และใช้อุปกรณ์การพูดแล้วกดคำสั่งและก็จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและวอยซ์เอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

วิซเดิล

ภาษาพรรณนาบริการเว็บ หรือ วิซเดิล (Web Services Description Language: WSDL) คือ เอกสารที่เขียนด้วยภาษา XML ที่ใช้ในการอธิบาย/บรรยาย Web Service โดยจะบอกถึง วิธี/รูปแบบ การติดต่อกับ Web Services และบอกว่า Web Service นั้นมี Service อะไรไว้ให้ใช้บริการบ้าง หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและวิซเดิล · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์

. วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ (Windows Media Player ชื่อย่อ WMP) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการเล่นไฟล์มัลติมีเดียประเภทวิดีโอ เพลง และดูรูปภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์, พ็อกเก็ต พีซี และวินโดวส์โมบายล์ นอกเหนือจากนี้ วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแมคโอเอส, แมคโอเอสเท็น และโซลาริส แต่ปัจจุบันการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อระบบปฏิบัติการดังกล่าวได้ยุติลงแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ ยังมีความสามารถในการริป (rip) นั่นคือการคัดลอกไฟล์เพลงจากแผ่นซีดีลงสู่ฮาร์ดดิสก์ และคัดลอกไฟล์เพลงลงสู่แผ่นซีดี รวมถึงยังสามารถสร้างแผ่นออดิโอซีดีลงในแผ่นซีดี-อาร์ และซิงโครไนซ์ข้อมูลจากเครื่องเล่นเอ็มพี 3 (MP3) ได้เช่นกัน และยังสามารถเช่าหรือซื้อเพลงจากร้านค้าออนไลน์ได้ด้วย วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ 12 (Windows Media Player 12) เป็น Windows Media Player เวอร์ชันล่าสุด ออกวางจำหน่ายเมื่อ 22 กรกฎาคม 2552 พร้อมกับวินโดวส์ 7 และยังไม่ได้รับการสนับสนุนสำหรับ Windows รุ่นเก่า Windows Media Player ไม่ได้ปรับปรุงตั้งแต่ Windows 8 , Windows ที่ 8.1และวินโดวส์ 10  นามสกุลไฟล์เฉพาะของโปรแกรมวินโดวส์มีเดียเพลเยอร์คือ วินโดวส์มีเดียวิดีโอ (WMV), วินโดวส์มีเดียออดิโอ (WMA) และแอดวานซ์ซิสเตมฟอร์แมต (ASF; ชื่อเดิมคือ แอดวานซ์/แอกทีฟสตรีมมิงฟอร์แมต) รองรับภาษาเอกซ์เอ็มแอล (XML) เป็นเพลย์ลิสต์หรือรายชื่อไฟล์มัลติมีเดียที่เรียกว่า วินโดวส์เพลย์ลิสต์ (WPL).

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและวินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้

รหัสแท่งอันแสดงข้อมูลที่ทั้งมนุษย์และเครื่องสามารถอ่านได้ สื่อหรือรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้ หมายถึงตัวแทนของข้อมูลหรือสารสนเทศที่มนุษย์สามารถอ่านได้โดยธรรมชาติ ในทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ มนุษย์สามารถอ่านได้ มักจะเข้ารหัสเป็นข้อความแอสกีหรือยูนิโคด (เป็นตัวหนังสือ) มากกว่าที่จะแสดงแทนด้วยเลขฐานสอง ข้อมูลแทบจะทั้งหมดสามารถแจงส่วนได้ด้วยเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งหรือสร้างชุดคำสั่งที่เหมาะสม ซึ่งเหตุผลต่าง ๆ ที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์เลือกรูปแบบเลขฐานสองเหนือกว่ารูปแบบข้อความ มุ่งไปที่ปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่ว่างของหน่วยเก็บ เนื่องจากการแทนเลขฐานสองตามปกติจะใช้พื้นที่เพียงไม่กี่ไบต์ และประสิทธิภาพของการเข้าถึง (อินพุตและเอาต์พุต) โดยไม่ต้องผ่านการแปลงหรือแจงส่วนซ้ำ ในบริบทส่วนใหญ่ อีกทางหนึ่งของตัวแทนที่มนุษย์สามารถอ่านได้ก็คือ สื่อหรือรูปแบบของข้อมูลที่ เครื่องสามารถอ่านได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชิงกล หรือเชิงแสง หรือคอมพิวเตอร์ อ่านข้อมูลได้เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น รหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) เป็นรหัสแท่งที่มนุษย์อ่านเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าอ่านด้วยอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะได้ผลดีและน่าเชื่อถือมาก แต่ในขณะเดียวกันสายอักขระของตัวเลขที่ประกอบอยู่บนฉลากมีเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านสารสนเทศของรหัสแท่งนั้น ในบางเขตอำนาจศาล ฉลากรหัสแท่งที่ใช้ในการค้าปลีกจะต้องแสดงราคาที่มนุษย์สามารถอ่านได้บนสินค้านั้น เมื่อภาษามาร์กอัปเชิงโครงสร้างอย่างสูงและเป็นมาตรฐานเกิดขึ้น เช่นเอกซ์เอ็มแอล (XML) หน่วยเก็บข้อมูลมีราคาถูกลง และเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลเร็วขึ้นแต่ถูกลง ทำให้ความสามารถในการอ่านได้ของมนุษย์และเครื่อง เรียกได้ว่าแทบจะไม่แตกต่างกันอย่างในอดีต นอกจากนี้ ตัวแทนข้อมูลเชิงโครงสร้างสามารถบีบอัดได้อย่างมีประสิทธิผลมาก สำหรับการส่งผ่านหรือการเก็บบันทึก องค์การหลายองค์การได้กำหนดนิยามข้อมูลที่มนุษย์สามารถอ่านได้กับข้อมูลที่เครื่องสามารถอ่านได้ และวิธีการที่จะนำมาใช้ในสาขาที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร เช่น สหภาพไปรษณีย์สากล บ่อยครั้งที่ศัพท์ มนุษย์สามารถอ่านได้ นำไปใช้อธิบายถึงชื่อหรือสายอักขระขนาดสั้น ที่ง่ายต่อการเข้าใจและการจดจำมากกว่าสัญกรณ์วากยสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและขนาดยาว เช่น สายอักขระยูอาร์แอล (URL).

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและสื่อที่มนุษย์สามารถอ่านได้ · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี ทอมแคต

อะแพชี ทอมแคต (Apache Tomcat) เป็นโปรแกรมบรรจุเว็บ (web container) ที่พัฒนาโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี ทอมแคตใช้ข้อกำหนดของเซิร์ฟเลตและเจเอสพีจากซันไมโครซิสเต็มส์มาเป็นต้นแบบในการทำงาน ซึ่งกำหนดสภาพแวดล้อมสำหรับโค้ดจาวาเพื่อทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนั้นทอมแคตได้เพิ่มเครื่องมือสำหรับการจัดการการตั้งค่าที่เก็บในรูปแบบแฟ้มเอกซ์เอ็มแอล และมีโปรแกรม HTTP เซิร์ฟเวอร์อยู่ในตัวเอง อะแพชี ทอมแคต เคยเป็นโครงการย่อยของโครงการจาการ์ตา แต่ปัจจุบันได้แยกตัวออกมาเป็นโครงการหลักของมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอะแพชี ทอมแคต · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เล็นยา

อะแพชี เล็นยา (Apache Lenya) เป็นระบบจัดการเนื้อหา (CMS) ที่เป็นโอเพนซอร์สในรูปแบบภาษาจาวาและเอกซ์เอ็มแอล ทำงานอยู่บนเฟรมเวิร์กจัดการเนื้อหา (content management framework) ที่ชื่อ อะแพชี เคอคูน (Apache Cocoon) ลักษณะสำคัญประกอบด้วยการควบคุมการปรับปรุงแก้ไข (revision control), การจัดกำหนดการ (scheduling), ความสามารถในการสืบค้น, การรองรับกระแสงาน (workflow) และตัวแก้ไขแบบ WYSIWYG บนเบราว์เซอร.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอะแพชี เล็นยา · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เวโลซิตี

อะแพชี เวโลซิตี (Apache Velocity) เป็นแพ็กเกจโอเพนซอร์สที่สร้างและกำกับดูแลโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี เวโลซิตีเป็นเอนจินแม่แบบบนพื้นฐานของภาษาจาวา ซึ่งช่วยผูกภาษาแม่แบบกับอ็อบเจกต์ที่อ้างถึงในโค้ดจาวา โดยจุดประสงค์เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในการแบ่งแยกระหว่างระดับชั้นการนำเสนอกับระดับชั้นธุรกิจบนเว็บแอปพลิเคชัน (ดูเพิ่มที่ Model-view-controller) แอปพลิเคชันที่มักใช้เวโลซิตีเช่น.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอะแพชี เวโลซิตี · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เอกซ์เอ็มแอล

อะแพชี เอกซ์เอ็มแอล (Apache XML) เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชีซึ่งให้ความสำคัญกับเอกซ์เอ็มแอลโดยเฉพาะ โครงการนี้มีโครงการย่อยที่เป็นโอเพนซอร์สทั้งหมดดังนี้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอะแพชี เอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เซิร์กซีส

อะแพชี เซิร์กซีส (Apache Xerces) เป็นกลุ่มไลบรารีที่ใช้แจงส่วน (parse) และจัดดำเนินการ (manipulate) แฟ้มข้อมูลเอกซ์เอ็มแอล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอะแพชี เอกซ์เอ็มแอล (Apache XML) แพ็กเกจซอฟต์แวร์นี้ช่วยทั้งการแจงส่วนและการผลิตแฟ้มเอกซ์เอ็มแอลขึ้นใหม่ คำว่า Xerces มาจากผีเสื้อเซิร์กซีสสีน้ำเงิน (Xerces Blue butterfly) ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามพระนามในภาษาฝรั่งเศสของเซิร์กซีสมหาราชแห่งเปอร์เซีย (Xerxes the Great) อีกต่อหนึ่ง ไลบรารีนี้เป็นการนำเอพีไอมาตรฐานสำหรับการแจงส่วนเอกซ์เอ็มแอลมาใช้จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง DOM, SAX และ SAX 2 เซิร์กซีสสามารถใช้ได้บนภาษาจาวา ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาเพิร์ล.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอะแพชี เซิร์กซีส · ดูเพิ่มเติม »

อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์

อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver) หรือชื่อเดิมคือ แมโครมีเดีย ดรีมวีฟเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML พัฒนาโดยบริษัทแมโครมีเดีย (ปัจจุบันควบกิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์) สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบ WYSIWYG กับการควบคุมของส่วนแก้ไขรหัส HTML ในการพัฒนาโปรแกรมที่มีการรวมทั้งสองแบบเข้าด้วยกันแบบนี้ ทำให้ ดรีมวีฟเวอร์เป็นโปรแกรมที่แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ในช่วงปลายปีทศวรรษ 2533 จนถึงปี..

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอสเอส

ัญลักษณ์ที่นิยมสำหรับฟีดและอาร์เอสเอส ไออี 7 thumb อาร์เอสเอส (RSS) คือหนึ่งในประเภทเว็บฟีด ซึ่งมีรูปแบบข้อมูลเอกซ์เอ็มแอล ซึ่งใช้สำหรับในการกระจายข้อมูลที่มีการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยจากเว็บไซต์ (web syndication) และบล็อก ซึ่งอาร์เอสเอสสามารถย่อมาจากหลายรูปแบบด้วยกันคือ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและอาร์เอสเอส · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูลที่เครื่องอ่านออก

้อมูลที่เครื่องอ่านออกคือข้อมูลหรือเมทาดาทาที่อยู่ในรูปแบบซึ่งสามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ข้อมูลที่มนุษย์อ่านออกที่ถูกภาษามาร์กอัปข้อมูลดังนั้นจึงสามารถอ่านออกโดยเครื่องด้วย (เช่น ไมโครฟอร์แมทและอาร์ดีเอฟเอ) หรือข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่ตั้งใจให้ใช้สำหรับให้เครื่องประมวลผลผลเป็นหลัก (อาร์ดีเอฟ เอกซ์เอ็มแอลและเจซัน) การอ่านออกด้วยเครื่องไม่ได้มีความหมายเหมือนกันกับการเข้าถึงได้แบบดิจิทัล เอกสารที่เข้าถึงได้แบบดิจิทัลอาจจะเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ง่ายมนุษย์จะเข้าถึงโดยคอมพิวเตอร์ เว้นแต่ว่าข้อมูลสำคัญมีอยู่ในรูปแบบที่เครื่องอ่านออก ก็จะเป็นการยากมากที่จะใช้คอมพิวเตอร์สกัด แปลง และประมวลผลข้อมูล.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและข้อมูลที่เครื่องอ่านออก · ดูเพิ่มเติม »

ดับลินคอร์

ับลินคอร์ (Dublin Core) เป็นหนึ่งในแบบแผนของข้อมูลอภิพันธุ์หรือที่เรียกว่า"เมทาดาทา"ที่ใช้ในการอธิบายเนื้อหาและบริบทของงานดิจิทัลเช่น วีดิทัศน์ เสียง ภาพ ข้อความ และสื่อผสม เช่น เว็บเพจ อิมพลีเมนเทชั่นปัจจุบันของดับลินคอร์อยู่บนพื้นฐานของ XML และ Resource Description Framework (RDF) Dublin Core Metadata Elements ประกอบด้วยรายการที่แสดงลักษณะพื้นฐานของสารสนเทศ 15 ข้อ เพื่อให้พัฒนาข้อมูลดิจิตอล และทำดัชนีสำหรับสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและดับลินคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ด็อม

Document Object Model ด็อม (DOM: Document Object Model แบบจำลองอ็อบเจกต์เอกสาร) เป็นวิธีการอธิบายว่าข้อมูลต่างๆ ในเอกสาร HTML หรือ XML จัดเรียงตัวแบบเชิงวัตถุ (object oriented) อย่างไร ด็อมเป็นวิธีในการสร้าง API ให้สามารถควบคุมเนื้อหา โครงสร้าง และรูปแบบของเอกสารได้ เดิมทีนั้นเว็บเบราว์เซอร์แต่ละค่ายมีการพัฒนาด็อมโดยใช้จาวาสคริปต์ที่แตกต่างกันออกไป ทาง W3C จึงได้ร่างมาตรฐานกลางที่เรียกว่า W3C Document Object Model (W3C DOM) โดยไม่ขึ้นกับภาษาโปรแกรมมิ่งภาษาใดภาษาหนึ่ง การจัดข้อมูลในรูปแบบด็อมนั้นใช้แผนภูมิต้นไม้ในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุแต่ละชิ้น อย่างไรก็ตาม ด็อมมีจุดอ่อนในเรื่องประสิทธิภาพเมื่อต้องประมวลผลเอกสารขนาดใหญ่ ซึ่งด็อมจำเป็นต้องอ่านเอกสารให้ครบทั้งหมดก่อน จึงจะเริ่มประมวลผล ข้อเสียนี้จึงเกิดการออกแบบ SAX ที่ใช้วิธีอ่านเอกสารทีละส่วนแทน ตามมาตรฐานของ W3C นั้น ได้แบ่งด็อมเป็นระดับชั้น (level) ที่มีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไป ปัจจุบันมี Level 0-3.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและด็อม · ดูเพิ่มเติม »

คอลลาดา

อลลาดา (collaborative design activity: COLLADA) เป็นมาตรฐานไฟล์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติและซอฟต์แวร์ที่มีการประมวลผลสามมิติเช่น Game engine พัฒนาขึ้นโดยบริษัทโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อใช้เป็นรูปแบบไฟล์อย่างเป็นทางการสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเพลย์สเตชัน 3 และ เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ปัจจุบันอยู่ใต้ความดูแลของ Khronos Group คอลลาดาเป็นมาตรฐานแบบเปิด นิยามด้วย XML schema แบบ W3C เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้แก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์แอนิเมชันต่างๆเช่นการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก โมเดลสามมิติ Key frame โดยไฟล์คอลลาดาจะเป็นไฟล์แบบ XML ซึ่งมักใช้นามสกุล.dae (digital asset exchange).

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและคอลลาดา · ดูเพิ่มเติม »

คิวต์

วต์ (Qt อ่านเหมือน cute) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่ใช้คิวต์ เช่น KDE, โอเปรา, กูเกิลเอิร์ท, สไกป์, โฟโตชอป เอเลเมนส์ เป็นต้น คิวต์ พัฒนาโดยใช้ภาษา C++ และใช้ส่วนขยายอื่นนอกเหนือจาก C++ มาตรฐาน ที่ต้องใช้ preprocessor ประมวลเพื่อสร้างคำสั่ง C++ ก่อนการคอมไพล์ มี binding สำหรับใช้ในภาษา เอดา, ซีชาร์ป, จาวา, ปาสกาล, เพิร์ล, พีเอชพี, รูบี้ และ ไพทอน ขีดความสามารถอื่นนอกเหนือจากส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เช่นการติดต่อกับฐานข้อมูลSQL การอ่านข้อมูล XML การบริหารทรีด (thread) ด้านเครือข่าย และการจัดการไฟล์ ปัจจุบัน Qt ถูก Nokia เทคโอเวอร์ และ ออกผลิตภัณฑ์ ที่เน้นเขียนแอพพลิเคชั้นให้สามารถ รันข้ามแพรตฟอร์มหลากหลายและสามารถทำงานบน โทรศัพทืมือถือและอุปกรณ์เครื่อนที่(Mobile Device)ต่างได้ เช่น อุปกรณ์นำทางบนรถยนต์, แทปเลสพีซี(Tables PC) โดยกาสนับสนุนของ Intel Qt สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Maemo,Meego,Embleded Linux,Ubantu และ Android.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์พาส

ีย์พาส พาสเวิร์เซฟ (KeePass Password Safe) เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์สบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ สำหรับจัดการรหัสผ่านซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บชื่อผู้ใช้ รหัสผ่านและยูอาร์แอล (URL) หลายชุดไว้ในฐานข้อมูลเดียวได้ โดยฐานข้อมูลจะถูกเข้ารหัสไว้ด้วยขั้นตอนวิธีการเข้ารหัสแบบ AES หรือ Twofish.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและคีย์พาส · ดูเพิ่มเติม »

ซูล (ภาษามาร์กอัป)

ซูล (XUL: XML User Interface Language ภาษาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้เอกซ์เอ็มแอล) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้พัฒนาโดยมอซิลลา สำหรับการใช้งานใน Mozilla Firefox หรือ Mozilla Thunderbird โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเอกซ์เอ็มแอลมาใช้งาน ถึงแม้ว่าซูลจะไม่ได้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่ก็ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานจำนวนมาก เช่น CSS, JavaScript, DTD และ RDF.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและซูล (ภาษามาร์กอัป) · ดูเพิ่มเติม »

แมทเอ็มแอล

แมทเอ็มแอล (MathML: Mathematical Markup Language ภาษามาร์กอัปเชิงคณิตศาสตร์) เป็นการนำภาษาเอกซ์เอ็มแอล มาดัดแปลงให้ใช้กับการเขียนสูตรคณิตศาสตร์บนเว็บ แมทเอ็มแอลเป็นมาตรฐานของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม รุ่นปัจจุบันคือ 2.0 ปัจจุบันเว็บเบราว์เซอร์ที่สนับสนุน MathML คือเว็บเบราว์เซอร์ในตระกูล Mozilla สำหรับ Internet Explorer นั้นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อแสดงผล ด้านโปรแกรมชุดออฟฟิศนั้น ทั้ง Microsoft Word, OpenOffice.org และ KOffice สนับสนุนเป็นอย่างดี รวมถึงโปรแกรมทางคณิตศาสตร์อย่าง Mathematica และ MathType.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและแมทเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

แอมเพอร์แซนด์

แอมเพอร์แซนด์ (ampersand) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า แอนด์ (&) คือสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า and ในภาษาอังกฤษ มาจากการรวมอักษรของคำในภาษาละติน et แปลว่า "และ".

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและแอมเพอร์แซนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์

แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ (Cascading Style Sheets: CSS) เป็นภาษาสไตล์ชีตใช้ในการจัดรูปแบบของเอกสารที่เขียนในภาษามาร์กอัป CSS เป็นภาษาที่สำคัญตัวหนึ่งในการเขียนเว็บเพจ ซึ่งเขียนในภาษา HTML และ XHTML แต่ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับใน XML ซึ่งรวมถึง SVG และ XUL ด้วย มาตรฐาน CSS นั้น สร้างโดยกลุ่ม World Wide Web Consortium (W3C) แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ มักเรียกโดยย่อว่า สไตล์ชีต แต่ความจริงแล้วคำนี้อาจหมายถึงภาษาสไตล์ชีตอื่นก็ได้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ · ดูเพิ่มเติม »

แซกซ์

แซกซ์ (SAX: Simple API for XML เอพีไออย่างง่ายสำหรับเอกซ์เอ็มแอล) เป็นวิธีการอ่านข้อมูลจากเอกสารเอกซ์เอ็มแอล โดยเป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือไปจากด็อม ตัวอ่านข้อมูลที่ใช้วิธีแซกซ์ จะอ่านข้อมูลเอกซ์เอ็มแอลในรูปของสตรีมทิศทางเดียว ทำให้ดึงข้อมูลที่อ่านไปแล้วได้ โดยไม่ต้องอ่านใหม่ทั้งหมด ซึ่งวิธีการนี้จะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าด็อม ที่อ่านข้อมูลทั้งหมดก่อนแล้วจึงประมวลผล ในเฉพาะกรณีที่เอกสารมีขนาดใหญ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและแซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แซเมิล

แซเมิล (XAML: Extensible Application Markup Language ภาษามาร์กอัปแอปพลิเคชันขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัป ที่พัฒนาภาษามาจากเอกซ์เอ็มแอล สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟท์ โดยมีไว้สำหรับกำหนดส่วนติดต่อผู้ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ใช้สำหรับกำหนดวัตถุ คุณลักษณะ ความสัมพันธ์ และการโต้ตอบของวัตถุ XAML นั้นใช้เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้งานด้วย Windows Presentation Foundation (WPF) (หรือ Avalon) ซึ่งเป็นไลบรารี่ สำหรับจัดการส่วนติดต่อผู้ใช้งานแบบใหม่ซึ่งเริ่มมีมาใน Microsoft.NET Framework 3.0 XAML เป็นภาษาสำหรับกำหนดส่วนติดต่อผู้ใช้ที่พัฒนามาจาก XML เช่นเดียวกับภาษา XUL ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้พัฒนามักจะไม่จำเป็นต้องรู้ หรือเขียนภาษา XAML เอง แต่มักออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานผ่านเครื่องมือพัฒนาอย่างเช่น Visual Studio หรือ XAMLPad โดย XAML สามารถคอมไพล์ เป็นไฟล์.BAML.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและแซเมิล · ดูเพิ่มเติม »

โอโอเอกซ์เอ็มแอล

อโอเอกซ์เอ็มแอล (OOXML: Office Open XML เอกซ์เอ็มแอลแบบเปิดของโปรแกรมออฟฟิศ) เป็นรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเอกสารด้วยมาตรฐานเอกซ์เอ็มแอลจากไมโครซอฟท.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและโอโอเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนด็อกคิวเมนต์

อเพนด็อกคิวเมนต์ (OpenDocument) หรือ โอดีเอฟ (ODF: Open Document Format for Office Applications รูปแบบเอกสารเปิดสำหรับโปรแกรมสำนักงาน) เป็นชื่อของรูปแบบแฟ้มสำหรับจัดเก็บเอกสารสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง ตารางคำนวณ, แผนภูมิ, เอกสารนำเสนอ ฐานข้อมูล และเอกสารข้อความ (เช่น บันทึกข้อความ รายงาน จดหมาย) มาตรฐานนี้ถูกพัฒนาโดยคณะกรรมการเทคนิคของสมาคม Organization for the Advancement of Structured Information Standards (OASIS - เป็นหน่วยงานมาตรฐานกลางที่ไม่หวังผลกำไร มีหน้าที่ในการออกมาตรฐานสำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์) โดยออกแบบอยู่บนพื้นฐานของรูปแบบ XML ที่เดิมทีออกแบบและสร้างใช้จริงโดยชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) OpenDocument นอกจากจะเป็นเป็นมาตรฐาน OASIS แล้ว ยังเป็นมาตรฐานนานาชาติ ISO และ IEC อีกด้วย (ISO/IEC 26300:2006) มาตรฐานโอเพนด็อกคิวเมนต์ตรงกับคำจำกัดความพื้นฐานของมาตรฐานเปิด ซึ่งหมายความว่าข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเปิดให้ดูได้โดยอิสระและไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์ได้โดยอิสระและไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและโอเพนด็อกคิวเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนเอกซ์พีเอส

อเพนเอกซ์พีเอส (OpenXPS: Open XML Paper Specification ข้อกำหนดกระดาษเอกซ์เอ็มแอลแบบเปิด) เดิมชื่อ เอกซ์พีเอส (XPS: XML Paper Specification) เป็นรูปแบบไฟล์เอกสารเอกซ์เอ็มแอล สำหรับบันทึกและอ่านเอกสาร ซึ่งภาษามาร์กอัปของเอกซ์พีเอสนั้นเป็นส่วนย่อยของแซเมิลสำหรับ Windows Presentation Foundation เอกซ์พีเอสนั้นมองว่าเป็นคู่แข่งพีดีเอฟ เนื่องจากว่ามีไฟล์รูปแบบเอกซ์พีเอสนั้นเป็นรูปแบบคงที่ ไม่ใช่สำหรับการแก้ไขเหมือนพีดีเอฟ เอกซ์พีเอสมาพร้อมกับวินโดวส์วิสตา และดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 สำหรับผู้ที่ไม่มีส่วนประกอบดังกล่าว ยังสามารถดาวน์โหลด XPS Viewer สำหรับเปิดไฟล์เอกซ์พีเอสได้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและโอเพนเอกซ์พีเอส · ดูเพิ่มเติม »

โซป

ซป (SOAP: Simple Object Access protocol โพรโทคอลเข้าถึงอ็อบเจกต์อย่างง่าย) เว็บเซอร์วิซเป็นลักษณะในรูปแบบของการออกแบบโมเดลสื่อสาร ในลักษณะของการกระจาย,การติดต่อสื่อสารที่เป็นตัวกลาง โดยโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารคือ SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็นโพรโทคอลในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นโพรโทคอลการสื่อสาร ในระดับ Application Layer หรือในระดับ แอปพลิเคชันโดยอาศัยผ่านอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล อย่างเช่น HTTP, SMTP, FTP โพรโทคอลพัฒนารากฐานมาจาก XML โดยมาตรฐานของ SOAP ปัจจุบันอยู่เวอร์ชัน 1.2 เอกสารสามารถดูได้ที่ W3C 220px หมวดหมู่:เว็บเซอร์วิซ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและโซป · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ

มโครซอฟท์ ออฟฟิศ (Microsoft Office) เป็นชุดโปรแกรมสำนักงาน พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ซึ่งสามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแอปเปิล แม็คอินทอช ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศยังมีการส่งเสริมให้ใช้บริการผ่านระบบเครื่องแม่ข่าย (Server) และ บริการผ่านหน้าเว็บ (Web Based) ในรุ่นใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เราจะเรียกมันว่า ระบบสำนักงาน (Office system) แทนแบบเก่าคือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) ซึ่งการเรียกว่า ระบบสำนักงานจะรวมการทำงานกับเครื่องแม่ข่ายเอาไว้ด้วย ในวันที่ 16 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ เอกซ์เพรสชันเว็บ

มโครซอฟท์ เอกซ์เพรสชันเว็บ (Microsoft Expression Web) คือ HTML editor สำหรับออกแบบเว็บเพจพัฒนาขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft Expression ซึ่งจะมาแทนที่ Frontpage ที่ได้หยุดพัฒนาไปแล้ว เอกซ์เพรสชันเว็บนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับผู้ออกแบบเว็บเพจในการพัฒนาเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงและตามมาตรฐานเว็บสากล โดย Expression Web ได้รองรับ XML CSS 2.1 ASP.NET 2.0 XHTML จาวาสคริปต์ และเทคโนโลยีอื่นๆ สำหรับการเขียนเว็บแบบไดนามิค และเข้าถึงได้ เอกซ์เพรสชันเว็บได้ออกรุ่นแรกวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและไมโครซอฟท์ เอกซ์เพรสชันเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เกกโก

ำหรับ Gecko ที่หมายถึงตุ๊กแก ดูที่ ตุ๊กแก Gecko (เกกโก) เป็นตัววาดหน้าเว็บ (layout engine) แบบโอเพนซอร์ส ซึ่งใช้ในโปรแกรมอินเทอร์เน็ตของมอซิลลาทุกตัว รวมถึงเว็บเบราว์เซอร์ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และเบราว์เซอร์อื่น ๆ เดิมพัฒนาโดยบริษัทเน็ตสเคป คอมมูนิเคชันส์ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมูลนิธิมอซิลลา เกกโกมี API สำหรับเขียนโปรแกรมที่ครบครันทำให้มันเหมาะนำไปใช้สำหรับหน้าที่ต่าง ๆ ในโปรแกรมอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บเบราว์เซอร์ โปรแกรมแสดงเนื้อหา และโปรแกรมลูกข่าย/แม่ข่าย เกกโกออกแบบมาให้ทำงานข้ามระบบปฏิบัติการได้ และสนับสนุนระบบปฏิบัติการหลายตัว เช่น วินโดวส์ ลินุกซ์ และแมคโอเอสเท็น.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเกกโก · ดูเพิ่มเติม »

เร็นเดอริงเอนจิน

ร็นเดอริงเอนจิน (rendering engine) หรือ เลย์เอาต์เอนจิน (layout engine) หรือ ตัววาดหน้าเว็บ เป็นซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลเนื้อหาเว็บในลักษณะ HTML XML ภาพ วิดีโอ ไฟล์ รวมถึงข้อมูลในรูปแบบอื่น เช่น CSS XSL มาแสดงและจัดรูปแบบบนมอนิเตอร์แก่ผู้ใช้ โดยตัวเร็นเดอริงเอนจินนี้มักจะใช้กับ เว็บเบราว์เซอร์ ไคลเอนต์อีเมล หรือแอปพลิเคชันอื่นที่ต้องการแสดงผลข้อมูลเนื้อหาของเว็.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเร็นเดอริงเอนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เล็กซิตรอน

ล็กซิตรอน (LEXiTRON) เป็นชุดพจนานุกรมสองภาษาสองชุด ได้แก่ พจนานุกรมไทย-อังกฤษ และพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย สร้างขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาต.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเล็กซิตรอน · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเซอร์วิซ

มาตรฐานที่ใช้งาน เว็บเซอร์วิซ (web service บริการบนเว็บ) คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเอกซ์เอ็มแอล เว็บเซอร์วิซมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ เช่น WSDL ระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานสื่อสารโต้ตอบกับเว็บเซอร์วิซตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยการส่งสาสน์ตามอินเตอร์เฟสของเว็บเซอร์วิซนั้น โดยที่สาสน์ดังกล่าวอาจแนบไว้ในซอง SOAPหรือส่งตามอินเตอร์เฟสในแนวทางของ REST สาสน์เหล่านี้ปกติแล้วถูกส่งโดยอาศัย HTTP และใช้ XML ร่วมกับมาตรฐานเกี่ยวกับเว็บอื่นๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เขียนโดยภาษาต่างๆ และทำงานบนแพลตฟอร์มต่างๆกันสามารถใช้เว็บเซอร์วิซเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ในลักษณะเดียวกับการสื่อสารระหว่างโปรเซส (Inter-process communication) บนเครื่องเดียวกัน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่ต่างกันนี้ (เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง โปรแกรมที่เขียนโดยภาษาจาวา และโปรแกรมที่เขียนโดยภาษาไพทอน หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนไมโครซอฟท์วินโดวส์และโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนลินุกซ์) เกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้มาตรฐานเปิด โดย OASIS และ W3C เป็นคณะกรรมการหลักในการรับผิดชอบมาตรฐานและสถาปัตยกรรมของเว็บเซอร์วิซ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเว็บเซอร์วิซ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอชทีเอ็มแอล

อกซ์เอชทีเอ็มแอล (XHTML: Extensible Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปที่มีลักษณะการใช้งานเหมือน HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา โดยมีวากยสัมพันธ์สอดคล้องกับ XML เนื่องจาก HTML นั้นใช้โครงสร้างของ SGML ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ในขณะที่ XHTML นั้นพัฒนาจาก XML ซึ่งเป็นภาษาที่คล้ายกับ SGML แต่เข้มงวดมากกว่า เราสามารถมองว่า XHTML เป็นการแปลง HTML เดิมให้มาอยู่ในโครงสร้างของ XML ก็ได้ XHTML 1.0 ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ World Wide Web Consortium (W3C) ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543 และกลายมาเป็น W3C recommendation เมื่อ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 อย่างไรก็ตาม XHTML 2.0 จะหยุดภายในสิ้นปี 2552 โดยหวังจะพัฒนา HTML 5 แทนที.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเอกซ์เอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มพีพี

อกซ์เอ็มพีพี (XMPP: Extensible Messaging and Presence Protocol โพรโทคอลรับส่งและแสดงข้อความขยายได้) เดิมชื่อ แจบเบอร์ (Jabber) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการส่งข้อความด่วน (instant messaging) ที่ใช้ภาษา XML เป็นหลัก ปัจจุบันใช้ในโปรแกรมส่งข้อความด่วน Google Talk รวมถึงโปรแกรมพูดคุยแบบ VoIP อย่าง Gizmo5.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเอกซ์เอ็มพีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอสวีจี

SVG: Scalable Vector Graphics ''ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ปรับขนาดได้'') เป็นภาษามาร์กอัปบนมาตรฐาน XML สำหรับอธิบายภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ 2 มิติ ทั้งที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เอสวีจีเป็นมาตรฐานเปิดที่ดูแลโดย World Wide Web Consortium เวอร์ชันล่าสุดคือ SVG 1.1 มาตรฐานของเอสวีจี ประกอบด้วยวัตถุต่างกัน 3 ชนิดดังนี้ # รูปร่างต่างๆ ที่เป็นเวกเตอร์ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง # ภาพแบบแรสเตอร์ # ข้อความ.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเอสวีจี · ดูเพิ่มเติม »

เอดิตพลัส

อดิตพลัส (EditPlus) คือโปรแกรมแก้ไขข้อความ 32 บิต สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นโปรแกรมสัญชาติเกาหลีใต้ พัฒนาโดย คิม ซังอิล (김상일) จากอีเอส-คอมพิวติง เป็นแชร์แวร์ให้ทดลองใช้งานได้ 30 วัน ซึ่งหากเลยกำหนดแล้วโปรแกรมจะไม่สามารถบันทึกไฟล์ได้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเอดิตพลัส · ดูเพิ่มเติม »

เอแจ็กซ์

อแจ็กซ์ (AJAX: Asynchronous JavaScript and XML) เป็นกลุ่มของเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลในฉากหลัง ทำให้ทั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มการตอบสนอง ความรวดเร็ว และการใช้งานโดยรวม เอแจ็กซ์นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นเทคนิคที่ได้ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างที่มีอยู่แล้วรวมกันดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเอแจ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจซัน

ซัน (JSON: JavaScript Object Notation แปลว่า สัญกรณ์วัตถุจาวาสคริปต์) เป็นฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฟอร์แมต JSON นั้นอยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้ มาตรฐานของฟอร์แมต JSON คือ มี Internet media type เป็น application/json และมีนามสกุลของไฟล์เป็น.json ปัจจุบัน JSON นิยมใช้ในเว็บแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะ AJAX โดย JSON เป็นฟอร์แมตทางเลือกในการส่งข้อมูล นอกเหนือไปจาก XML ซึ่งนิยมใช้กันอยู่แต่เดิม สาเหตุที่ JSON เริ่มได้รับความนิยมเป็นเพราะกระชับและเข้าใจง่ายกว่า XML.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเจซัน · ดูเพิ่มเติม »

เจเอสพี

อสพี (JavaServer Pages: JSP) เป็นเทคโนโลยีจาวาที่เปิดช่องทางให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้าง HTML, XML หรือไฟล์เอกสารในประเภทนี้ตามความต้องการของเครื่องลูกข่ายร้องขอ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เปิดให้ใช้ภาษาจาวาในการสร้างและกรทำการใด ๆ เพื่อให้หน้าเว็บเพจธรรมดากลายเป็นหน้าเว็บเพจที่สามารถตอบสนองได้ โดยเจเอสพีจะถูกโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนเจเอสพี เช่น อะแพชี ทอมแคต, GlassFish แปลให้เป็นจาวา คลาส ที่เรียกว่าเซิร์ฟเลต ซึ่งพร้อมที่จะประมวลผลด้วยจาวาและแสดงผลออกเป็น HTML.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเจเอสพี · ดูเพิ่มเติม »

เค้าร่างเอกซ์เอ็มแอล

้าร่างเอกซ์เอ็มแอล (XML schema) คือวิธีการที่จะใช้จำแนกชนิดของเอกสารแบบเอกซ์เอ็มแอล โดยจะบอกถึงโครงสร้างและชนิดของข้อมูลในเอกสารเอกซ์เอ็มแอลแต่ละชนิด โดยตัวเค้าร่างเองมีหน้าตาเหมือนเนื้อหาเอกซ์เอ็มแอลตามปรกติเช่น XML Schema (W3C) และ RELAX NG หรือนิยามขึ้นโดยภาษาพิเศษโดยเฉพาะและเป็นส่วนหนึ่งของเอกซ์เอ็มแอลเช่น Document Type Definition (DTD) ซึ่งพัฒนาขึ้นก่อนแบบอื่นที่กล่าวมาข้างต้นโดยพัฒนามาจาก SGML โดยมีข้อจำกัดเช่นการไม่รองรับ XML Namespace.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและเค้าร่างเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

CSS

CSS อาจหมายถึง; ในทางคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและCSS · ดูเพิ่มเติม »

JEdit

jEdit เป็น text editor สำหรับโปรแกรมเมอร์ เผยแพร่ในลิขสิทธิ์ GNU General Public License jEdit เขียนขึ้นด้วย ภาษาจาวา มี plug-ins มากมายสำหรับเพิ่มความสามารถในหลายๆส่วน รองรับ Syntax highlighting มากกว่า 130 รูปแบบ (สามารถเพิ่มแบบใหม่ๆได้ด้วยตัวเองผ่านไฟล์ XML).

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและJEdit · ดูเพิ่มเติม »

Lexical Markup Framework

Lexical Markup Framework (LMF) เป็นโครงการของ ISO ที่จะกำหนดกรอบร่วมกับในการสร้างคลังคำสำหรับงานประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP) และพจนานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ขอบเขตของโครงการคือการวางมาตรฐานของหลักการและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรภาษา ในบริบทของการสื่อสารที่ใช้ภาษามากกว่าหนึ่งภาษาในวัฒนธรรมที่หลากหล.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและLexical Markup Framework · ดูเพิ่มเติม »

PubMed Central

PubMed Central (ตัวย่อ PMC) เป็นฐานข้อมูลที่ใช้เก็บบทความทางวิชาการฉบับเต็ม ที่สามารถเข้าถึงได้เป็นสาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นบทความซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเกี่ยวกับชีวการแพทย์ (biomedical) และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (life sciences) โดยเป็นฐานข้อมูลเพื่องานวิจัยที่สำคัญฐานหนึ่งที่พัฒนาโดยศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center of Biotechnology Information; NCBI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) (National Institute of Health; NIH) ข้อมูลใน PMC ไม่ได้มีแต่ข้อความในเอกสารเท่านั้น แต่จะมีการสร้างดัชนีและการเปลี่ยนรูปแบบของข้อความ เพื่อประกอบข้อความกับเมทาเดตา, ศัพท์การแพทย์ที่มีลิงก์ทางภววิทยา (medical ontologies), และตัวระบุเฉพาะ (unique identifiers) ที่เพิ่มคุณค่าให้กับบทความโดยมีโครงสร้างเป็น XML เนื้อหาที่บรรจุอยู่ใน PMC สามารถเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลอื่น ๆ ของ NCBI และสามารถเข้าถึงได้โดยระบบค้นหาและค้นคืน Entrez (เป็นเครื่องมือการค้นหา ของ NCBI) ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา การอ่าน และการต่อยอดคลังความรู้ทางชีวการแพทย์นี้ ให้แก่สาธารณชน.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและPubMed Central · ดูเพิ่มเติม »

XMLHttpRequest

XMLHttpRequest (XHR) เป็นเอพีไอที่สามารถเรียกใช้ได้จาก จาวาสคริปต์ เจสคริปต์ วีบีสคริปต์ และภาษาสคริปต์อื่นๆ ในการแลกเปลี่ยน และปรับรูปแบบ XML จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ HTTP ซึ่งสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ (Client-Side) กับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side) XMLHttpRequest นั้นถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้เทคนิค AJAX.

ใหม่!!: เอกซ์เอ็มแอลและXMLHttpRequest · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

XMLเอ็กซ์เอ็มแอลเอ็กเอ็มแอล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »