โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสียงทุ้มแหลมผสม

ดัชนี เสียงทุ้มแหลมผสม

Play เล่นทั้ง 3 แถว เสียงทุ้มแหลมผสม หรือ เสียงทุ้มแหลมรวม (combination tone, resultant tone, subjective tone) เป็นปรากฏการณ์ทางเสียง-จิต ที่ได้ยินเสียงทุ้มแหลมเพิ่มขึ้นที่ไม่มีจริง พร้อมกับได้ยินเสียงทุ้มแหลมสองเสียงที่มีจริง ๆ นักไวโอลิน จูเซปเป ตาร์ตีนี (Giuseppe Tartini) ได้เครดิตว่าค้นพบปรากฏการณ์นี้ถึงจะไม่ใช่คนแรก ดังนั้น เสียงที่ไม่มีจริงนี้จึงเรียกเป็นภาษาอังกฤษ/ภาษาตะวันตกอีกอย่างหนึ่งว่า Tartini tones (เสียงทุ้มแหลมตาร์ตีนี) มีเสียงทุ้มแหลมรวมสองแบบ คือ เสียงทุ้มแหลมเป็นผลบวก (sum tone) ที่สามารถหาความถี่โดยรวมความถี่ของเสียงที่มีจริง ๆ และเสียงทุ้มแหลมเป็นผลลบ (difference tone) โดยเป็นความต่างระหว่างเสียงที่มีจริง ๆ "เสียงทุ้มแหลมรวมจะได้ยินก็เมื่อเล่นเสียงทุ้มแหลมบริสุทธิ์ (คือเสียงทุ้มแหลมที่เกิดจากคลื่นเสียงฮาร์มอนิกธรรมดาที่ไม่มีเสียงแบบ overtones) สองระดับที่ต่างกันโดยความถี่ประมาณ 50 คาบ/นาที (เฮิรตซ์) หรือยิ่งกว่านั้น และเล่นด้วยกันให้ดังพอ" เสียงทุ้มแหลมรวมยังสามารถสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมสัญญาณเสียงในวงจรที่มีความเพี้ยนแบบไม่ใช่เชิงเส้น (นอนลินเนียร์) เช่น เครื่องขยายเสียงที่ขริบยอดสัญญาณหรือกล้ำสัญญาณแบบ Ring modulation.

15 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์ฟุตการกล้ำสัญญาณหูชั้นในหูฟังออร์แกนอิเล็กทรอนิกส์อ็อกเทฟความถี่ความถี่มูลฐานโน้ตดนตรีไวโอลินเสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีเฮิรตซ์เซต (คณิตศาสตร์)

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุต

ฟุต (foot; พหูพจน์: feet; ย่อว่า ft หรือ ′ (ไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยให้มีขนาดเท่ากับ 0.3048 เมตรพอดี และแบ่งเป็นหน่วยย่อย 12 นิ้ว.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและฟุต · ดูเพิ่มเติม »

การกล้ำสัญญาณ

การกล้ำสัญญาณ หรือ (Modulation) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ โทรคมนาคม การ(ควบ)กล้ำสัญญาณเป็นกระบวนการของการปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband โมดูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์กล้ำสัญญาณ, demodulator(บางครั้งเรียกว่า demod) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตรงกันข้ามกับการกล้ำส้ญญาณ, โมเด็ม(จาก modulator-demodulator) สามารถทำงานได้ทั้งสองอย่าง จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณดิจิตอลคือการโอนย้ายกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่อง bandpass แอนะล็อก ตัวอย่างเช่นผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ (PSTN) (ที่ซึ่งตัวกรอง bandpass จะจำกัดช่วงความถี่ไว้ที่ 300-3400 Hz ซึ่งเป็นความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน)เช่นบริการ ADSL หรือ ผ่านทางแถบความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัด จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณอะนาล็อกคือการโอนย้ายสัญญาณแอนะล็อก baseband (หรือ lowpass) เช่นสัญญาณเสียงหรือสัญญาณทีวี ผ่านช่องทาง bandpass แบบอะนาล็อกที่ความถี่ที่แตกต่างกันเช่นในช่วงแถบความถี่วิทยุที่จำกัดหรือช่องทางเครือข่ายเคเบิลทีวี การกล้ำสัญญาณแอนะล็อกและดิจิตอลช่วยอำนวยความสะดวกในการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่(Frequency Division Multiplex) หรือ FDM ที่หลายๆสัญญาณข้อมูลความถี่ต่ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะถูกโอนพร้อมกันผ่านทางสื่อทางกายภาพเดียวกันที่ใช้ร่วมกัน โดยการใช้ช่อง passband แยกจากกัน (หลายความถี่คลื่นพาหะที่แตกต่างกัน) จุดมุ่งหมายของวิธีการกล้ำสัญญาณดิจิทัล baseband หรือที่เรียกว่า line coding ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่องทางเบสแบนด์ โดยทั่วไปก็คือลวดทองแดงที่ไม่กรอง เช่นบัสแบบอนุกรมหรือสายแลน จุดมุ่งหมายของวิธีกล้ำสัญญาณกระตุก()ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนสัญญาณอนาล็อกแบนด์แคบ เช่น สัญญาณเสียงพูดโทรศัพท์ ผ่านช่องสัญญาณ baseband แถบกว้าง หรือในบางรูปแบบส่งผ่านเหมือนเป็นกระแสบิตผ่านระบบการส่งผ่านดิจิตอลอื่น ในตัวสังเคราะห์เพลง, การกล้ำสัญญาณอาจถูกใช้ในการสังเคราะห์รูปคลื่นต่างๆ ด้วยคลื่น ความถี่เสียงกว้างโดยการใช้ oscillator จำนวนน้อย ในกรณีนี้ความถี่คลื่นพาหะโดยทั่วไปจะ อยู่ในลำดับเดียวกันหรือต่ำกว่าสัญญาณที่มากล้ำมากๆ ดูตัวอย่าง frequency modulation synthesis หรือ ring modulation synthesis.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและการกล้ำสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

หูฟัง

หูฟัง (headphone) เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยมีหน้าที่คล้ายกับลำโพง ประกอบด้วยตัวหูฟัง จะได้ยินเสียงเมื่อนำไปครอบกับหู และไมโครโฟนขนาดเล็กในตัวสำหรับใช้สำหรับติดต่อสื่อสารเพื่อการพูดได้ เช่นทางโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมถึงใช้เป็นสิ่งบันเทิงในการฟังเพลงเล่นวิดีโอเกมส์ ปรับให้เข้ากับกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องใช้เสียง สามารถพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้เพราะมีน้ำหนัก.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและหูฟัง · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและออร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กทรอนิกส์

อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็น active component เช่นหลอดสูญญากาศ, ทรานซิสเตอร์, ไดโอด และ Integrated Circuit และ ชิ้นส่วน พาสซีฟ (passive component) เช่น ตัวนำไฟฟ้า, ตัวต้านทานไฟฟ้า, ตัวเก็บประจุ และคอยล์ พฤติกรรมไม่เชิงเส้นของ active component และความสามารถในการควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนทำให้สามารถขยายสัญญาณอ่อนๆให้แรงขึ้นเพื่อการสื่อสารทางภาพและเสียงเช่นโทรเลข, โทรศัพท์, วิทยุ, โทรทัศน์ เป็นต้น อิเล็กทรอนิกส์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการสื่อสารข้อมูลโทรคมนาคม ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ปิดเปิดวงจรถูกนำไปใช้ในวงจร ลอจิกเกต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญหลักในระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ยังถูกนำไปใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ในการส่งพลังงานไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ การผลิตพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมต่างๆอีกมาก อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเครื่องกลไฟฟ้า โดยจะเกี่ยวข้องกับการสร้าง, การกระจาย, การสวิทช์, การจัดเก็บและการแปลงพลังงานไฟฟ้าไปและมาจากพลังงานรูปแบบอื่น ๆ โดยใช้สายไฟ, มอเตอร์, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, สวิตช์, รีเลย์, หม้อแปลงไฟฟ้า ตัวต้านทานและส่วนประกอบที่เป็นพาสซีพอื่นๆ ความแตกต่างนี้เริ่มราวปี 1906 เป็นผลจากการประดิษฐ์ไตรโอดโดยลี เดอ ฟอเรสท์ ซึ่งใช้ขยายสัญญาณวิทยุที่อ่อนๆได้ ทำให้เกิดการออกแบบและพัฒนาระบบการรับส่งสัญญาณเสียงและหลอดสูญญากาศ จึงเรียกสาขานี้ว่า "เทคโนโลยีวิทยุ" จนถึงปี 1950 ปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ใช้ชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำเพื่อควบคุมการทำงานของอิเล็กตรอน การศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำและเทคโนโลยีโซลิดสเตต ในขณะที่การออกแบบและการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ภายใต้สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บทความนี้มุ่งเน้นด้านวิศวกรรมของ.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็อกเทฟ

อ็อกเทฟ (octave) หรือ ขั้นคู่แปดเพอร์เฟกต์ (perfect eighth) มักเขียนย่อเป็น 8ve หรือ P8 คือขั้นคู่เสียง (interval) ที่เทียบจากโน้ตดนตรีตัวหนึ่งไปสู่โน้ตตัวหนึ่งในระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งโน้ตตัวนั้นมีความถี่เป็นครึ่งหนึ่งหรือเป็นสองเท่าจากโน้ตตัวเดิม และเหตุที่เรียกว่าขั้นคู่แปด เนื่องจากตัวโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 8 ขั้นบนบันไดเสียง (หรือ 12 ครึ่งเสียง) จะเกิดสมบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบันไดเสียงเมเจอร์หรือบันไดเสียงไมเนอร.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและอ็อกเทฟ · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่มูลฐาน

การสั่นและคลื่นนิ่งในสาย (เช่นในสายเครื่องดนตรี) เป็นความถี่มูลฐาน (บนสุด) และเสียง overtone 6 ความถี่แรก ความถี่มูลฐาน (fundamental frequency) ซึ่งในภาษาอังกฤษอาจเรียกอย่างโดด ๆ ว่า "fundamental" นิยามว่าเป็นความถี่ต่ำสุดของรูปคลื่นแบบเป็นคาบ ในดนตรี ความถี่มูลฐานก็คือเสียงสูงต่ำของโน้ตดนตรีที่ได้ยินโดยเป็นคลื่นรูปไซน์ (partial) ที่ความถี่ต่ำสุดซึ่งได้ยิน ถ้าดูการซ้อนทับของคลื่นรูปไซน์ (เช่น อนุกรมฟูรีเย) ความถี่มูลฐานก็คือคลื่นรูปไซน์ความถี่ต่ำสุดในผลรวม ในบางกรณี ความถี่มูลฐานจะเขียนเป็นเครื่องหมาย f0 (หรือ FF) ซึ่งระบุความถี่ต่ำสุดจาก 0 ในบางกรณี ก็จะเขียนเป็นเครื่องหมาย f1 ซึ่งหมายถึงฮาร์มอนิกแรก (ฮาร์มอนิกที่สองก็จะเป็น f2.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและความถี่มูลฐาน · ดูเพิ่มเติม »

โน้ตดนตรี

น้ต ''เอ'' หรือ ''ลา'' โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและโน้ตดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี

ลื่นเสียงด้านล่างไม่มีความถี่มูลฐานที่ 100 เฮิรตซ์ และไม่มีฮาร์มอนิกที่สองคือ 200 เฮิรตซ์ แต่ภาวะเป็นคาบก็ยังเหมือนกับคลื่นด้านบนที่มีฮาร์มอนิกครบสมบูรณ์ เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี (missing fundamental, suppressed fundamental, phantom fundamental) เป็นเสียงฮาร์มอนิกที่ไม่มีจริง ๆ แต่จะได้ยินเมื่อเสียง overtone คือเสียงฮาร์มอนิกที่มีความถี่สูงกว่าความถี่มูลฐานนั้น แสดงนัยว่า มีเสียง เพราะสมองไม่ได้รับรู้เสียงว่าสูงต่ำเท่าไรโดยขึ้นกับความถี่มูลฐานของมันเท่านั้น แต่จะขึ้นกับภาวะเป็นคาบที่เสียงฮาร์มอนิกระดับที่สูงกว่าแสดงนัยด้วย เราจึงอาจได้ยินเสียงที่ความถี่มูลฐาน (โดยอาจมีน้ำเสียงต่างจากเสียงจริง) แม้เสียงที่ความถี่นั้นจะไม่มีจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเสียงโน้ตดนตรีที่ไม่ใช้เสียงทุ้มแหลมบริสุทธิ์มีเสียงสูงต่ำที่ 100 เฮิรตซ์ มันก็จะมีองค์ประกอบความถี่ซึ่งเป็นพหุคูณของเสียงสูงต่ำนั้น ๆ เช่น 100, 200, 300, 400, 500....

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและเสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี · ดูเพิ่มเติม »

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและเฮิรตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซต (คณิตศาสตร์)

อินเตอร์เซกชันของเซตสองเซต คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเซตทั้งสองเซต ดังแสดงในแผนภาพเวนน์ เซต ในทางคณิตศาสตร์นั้น อาจมองได้ว่าเป็นการรวบรวมกลุ่มวัตถุต่างๆ ไว้รวมกันทั้งชุด แม้ว่าความคิดนี้จะดูง่ายๆ แต่เซตเป็นแนวคิดที่เป็นรากฐานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาโครงสร้างเซตที่เป็นไปได้ ทฤษฎีเซตมีความสำคัญและได้รับความสนใจอย่างมากและกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มันถูกสร้างขึ้นมาตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตอนนี้ทฤษฎีเซตเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการศึกษาคณิตศาสตร์ และถูกจัดไว้ในระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาในหลายประเทศ ทฤษฎีเซตเป็นรากฐานของคณิตศาสตร์เกือบทุกแขนงซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้.

ใหม่!!: เสียงทุ้มแหลมผสมและเซต (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Combination toneCombination tonesDifference toneDifference tonesResultant toneResultant tonesSubjective toneSubjective tonesSum toneSum tonesTartini toneTartini tonesเสียงทุ้มแหลมรวมเสียงทุ้มแหลมผลลบเสียงทุ้มแหลมผลบวกเสียงทุ้มแหลมตาร์ตีนีเสียงทุ้มแหลมแบบรวมเสียงทุ้มแหลมแบบอัตวิสัยเสียงทุ้มแหลมแบบผสมเสียงทุ้มแหลมเชิงรวมเสียงทุ้มแหลมเชิงอัตวิสัยเสียงทุ้มแหลมเชิงผสม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »