โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เภสัชศาสตร์

ดัชนี เภสัชศาสตร์

ร้านยาแผนปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์ เภสัชศาสตร์ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช สัตว์ และแร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน และได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครตีส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชบริบาลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริบาลผู้ป่วยและดูแลรักษาควบคุมการใช้ ตลอดจนติดตามผลการรักษาจากการใช้ยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล และด้านเภสัชสาธารณสุข เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่อง.

30 ความสัมพันธ์: การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชามหาวิทยาลัยฮาวายมหาวิทยาลัยปาร์มามหาวิทยาลัยไลพ์ซิชมณฑล สงวนเสริมศรีรายชื่อคณะ วิทยาลัย และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยรายการสาขาวิชาวาเลรีอุส คอร์ดุสวิลเบอร์ สโกวิลล์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์สุขภาพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรปสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สำนักงานราชบัณฑิตยสภาสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรคณิตศาสตร์ประยุกต์ตรีโกณมิติตั้ว ลพานุกรมประวัติศาสตร์เภสัชกรรมแซเวียร์ เฮอร์เบิร์ตเภสัชกรรมคลินิกเภสัชวิทยาเภสัชเวทเห็ดโคน

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.

ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เริ่มจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว. · ดูเพิ่มเติม »

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานระดับภาควิชา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ

ทางเข้ามหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ 2 มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (សាកលវិទ្យាល័យភូមិន្ទភ្នំពេញ สากลวิทฺยาลัยภูมินฺทภฺนํเพญ; Royal University of Phnom Penh หรือ RUPP) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด มหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษา ซึ่งมีอยู่ประมาณ 12,000 คน ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน นอกจากหลักสูตรระดับปริญญาที่ครอบคลุมในสาขาต่างๆ อาทิ เช่น วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แล้วมหาวิทยาลัยยังมีหลักสูตรวิชาชีพ เปิดสอนในสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ จิตวิทยา และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ ยังมีหลักสูตรทางภาษาต่างประเทศที่มีชื่อเสียง เปิดสอนในสถาบันภาษาต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ มีเจ้าหน้าที่เต็มเวลาอยู่ 420 คน คณาจารย์ 294 คน ซึ่งมีวุฒิระดับปริญญาเอก 15 คน ปริญญาโท 132 คน เจ้าหน้าที่ทางด้านธุรการและซ่อมบำรุง 140 คน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นจุดเชือมต่อกันระหว่างบุคลากรจากองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) ทั้งในและต่างประเทศ, ระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ และ กระทรวงต่างๆ จึงทำให้ทางมหาวิทยาลัยมีบุคลากรแบบไม่เต็มเวลาจากองค์กรเหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญมีค่าเล่าเรียนแต่ละหลักสูตรระดับปริญญาตรีอยู่ที 250 ถึง 450 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี แล้วแต่หลักสูตร.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และมหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชา

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชา (សាកលវិទ្យាល័យវិទ្យាសាស្រ្តសុខាភិបាល เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพียง 1 ใน 2 แห่งของกัมพูชา ที่เปิดสอนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ แพทย์ศาสตร์ (อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนานาชาติ (กัมพูชา)).

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาวาย

The Royal Sala Thai John A. Burns School of Medicine UH 88 - Telescope มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii at Manoa) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐประจำรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1907 ทางมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและปริญญาอาชีพในหลากหลายสาขา อาทิ แพทยศาสตร์, กฎหมาย, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มานุษยวิทยา, การจัดการ, เศรษฐศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์, วรรณกรรม, ภาษาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, การเกษตร, สังคมศาสตร์, สาธารณสุข และเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฮาวาย มีนักศึกษารวมทุกวิทยาเขตประมาณ 35,000คน โดยที่วิทยาเขตมานัว (Manoa) มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยปาร์มา

มหาวิทยาลัยปาร์มา (Università degli Studi di Parma; University of Parma) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่ที่เมืองปาร์มา ประเทศอิตาลี ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 30,000 คน มหาวิทยาลัยปาร์มา ประกอบด้วย 12 คณะ ได้แก.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และมหาวิทยาลัยปาร์มา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช (Universität Leipzig; University of Leipzig) ตั้งอยู่ที่เมืองไลพ์ซิช รัฐซัคเซิน ประเทศเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยประจำเมืองไลพ์ซิช มีการเรียนการสอน 14 คณ.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

มณฑล สงวนเสริมศรี

ตราจารย์(พิเศษ) เภสัชกร มณฑล สงวนเสริมศรี (29 ธันวาคม พ.ศ. 2490 -) ศาสตราจารย์พิเศษสาขาเภสัชศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร 2 วาระ (พ.ศ. 2544 - 2548 และ พ.ศ. 2548 - 2552) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยาคนแรก (พ.ศ. 2553).

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และมณฑล สงวนเสริมศรี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะ วิทยาลัย และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาเภสัชศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค ปัจจุบัน สภาเภสัชกรรมให้การรับรองหลักสูตรทั้งสิ้น 19 สถาบัน ดังนี้.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และรายชื่อคณะ วิทยาลัย และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

วาเลรีอุส คอร์ดุส

วาเลรีอุส คอร์ดุส (Valerius Cordus; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1515 – 25 กันยายน ค.ศ. 1544) เป็นแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดในปี..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และวาเลรีอุส คอร์ดุส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเบอร์ สโกวิลล์

วิลเบอร์ ลิงคอล์น สโกวิลล์ (Wilbur Lincoln Scoville; 22 มกราคม ค.ศ. 1865 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1942) เป็นเภสัชกรชาวอเมริกัน ในปี..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และวิลเบอร์ สโกวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษา วิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์ งานวิจัยด้านนี้วางอยู่บนฐานของชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ รวมไปถึงความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยาการแพท.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก,; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษ.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป

หภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป (European Pharmaceutical Union;EPU) คือสมาคมทางเภสัชกรรมแห่งยุโรป เป็นองค์กรระดับชาติและสหภาพยุโรป เป็นตัวแทนของเภสัชกร และเภสัชศาสตร์ ในยุโรป ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และสหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสถาบันการศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ โดยเป็นสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์คุณภาพ มุ่งผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรม และมีความรู้เป็นเลิศ เป็นทีพึงของชุมชน.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

กลฟิช (GloFish) สัตว์ดัดแปรพันธุกรรมอย่างแรกที่มีขายเป็นสัตว์เลี้ยง สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism, GMO) คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรม จีเอ็มโอเป็นแหล่งของยาและอาหารดัดแปรพันธุกรรมและมีใช้แพร่หลายในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และในการผลิตสินค้าอื่น คำว่าจีเอ็มโอคล้ายกับศัพท์กฎหมายเฉพาะวงการ "สิ่งมีชีวิตดัดแปรที่ยังมีชีวิต" (living modified organism) ที่นิยามว่า "สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตใด ๆ ที่มีการรวมสารพันธุกรรมใหม่ที่ได้มาโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่" ในพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) ที่กำกับการค้าจีเอ็มโอที่ยังมีชีวิตระหว่างประเทศ หนูดัดแปรพันธุกรรมตัวแรกกำเนิดในปี 2524 พืชต้นแรกผลิตในปี 2526 และมนุษย์ดัดแปรพันธุกรรมคนแรก (ดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียดัดแปร) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในที่นี้ เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยโดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด, CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นการรวมภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก (Pre-clinic) ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขาเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และให้การสนับสนุนงานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพท.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์ประยุกต์

คณิตศาสตร์ประยุกต์ (applied mathematics) แตกต่างจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ (pure mathematics) ตรงที่ จะเริ่มต้นพิจารณาปัญหาในชีวิตจริงก่อน ไม่ว่าปัญหานั้นจะอยู่ในเรื่องของวิชา หรือ สาขาใดๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ฯลฯ หรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคณิตศาสตร์เอง แล้วจากนั้น จะนำความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจำเป็นจะต้องสร้างใหม่ขึ้นมา เพื่อจะใช้แก้ปัญหาเหล่านั้น คณิตศาสตร์ประยุกต์.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตรีโกณมิติ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติทั้งหมดของมุม ''θ'' สามารถนำมาสร้างทางเรขาคณิตในวงกลมหนึ่งหน่วยที่มีศูนย์กลางที่จุด ''O'' ตรีโกณมิติ (จากภาษากรีก trigonon มุม 3 มุม และ metro การวัด) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและมุมของรูปสามเหลี่ยม ตรีโกณมิติเกิดขึ้นในสมัยเฮลเลนิสต์ ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ตั้งแต่ในวิชาเรขาคณิตไปจนถึงวิชาดาราศาสตร์ นักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 3 ได้สังเกตว่าความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากและมุมระหว่างด้านมีความสัมพันธ์ที่คงที่ ถ้าทราบความยาวอย่างน้อยหนึ่งด้านและค่าของมุมหนึ่งมุม แล้วมุมและความยาวอื่น ๆ ที่เหลือก็สามารถคำนวณหาค่าได้ การคำนวณเหล่านี้ได้ถูกนิยามเป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติ และในปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั้งคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เช่น การแปลงฟูรีเย หรือสมการคลื่น หรือการใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เป็นคาบในสาขาวิชาฟิสิกส์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า ดนตรีและสวนศาสตร์ ดาราศาสตร์ นิเวศวิทยา และชีววิทยา นอกจากนี้ ตรีโกณมิติยังเป็นพื้นฐานของการสำรวจ ตรีโกณมิติมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากบนระนาบ (กล่าวคือ รูปสามเหลี่ยมสองมิติที่มีมุมหนึ่งมีขนาด 90 องศา) มีการประยุกต์ใช้กับรูปสามเหลี่ยมที่ไม่มีมุมฉากด้วย โดยการแบ่งรูปสามเหลี่ยมดังกล่าวเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูป ปัญหาส่วนมากสามารถแก้ได้โดยใช้การคำนวณบนรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ดังนั้น การประยุกต์ส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ยกเว้นในตรีโกณมิติเชิงทรงกลม วิชาที่ศึกษารูปสามเหลี่ยมบนพื้นผิวทรงกลม ซึ่งมีความโค้งเป็นค่าคงที่บวก ในเรขาคณิตอิลลิปติก (elliptic geometry) อันเป็นพื้นฐานของวิชาดาราศาสตร์และการเดินเรือ) ส่วนตรีโกณมิติบนพื้นผิวที่มีความโค้งเป็นค่าลบเป็นส่วนหนึ่งของเรขาคณิตไฮเพอร์โบลิก วิชาตรีโกณมิติเบื้องต้นมักมีการสอนในโรงเรียน อาจเป็นหลักสูตรแยกหรือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลั.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และตรีโกณมิติ · ดูเพิ่มเติม »

ตั้ว ลพานุกรม

รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม (21 ตุลาคม พ.ศ. 2441- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2484)น้าชาด สำนักพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และตั้ว ลพานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และประวัติศาสตร์เภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

แซเวียร์ เฮอร์เบิร์ต

แซเวียร์ เฮอร์เบิร์ต (Xavier Herbert; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984) เป็นนักเขียนชาวออสเตรเลีย มีชื่อเกิดว่าแอลฟริด แจ็กสัน เป็นบุตรนอกสมรสของเบนจามิน ฟรานซิส เฮอร์เบิร์ตและเอมี วิกตอเรีย สแกมเมลล์ เฮอร์เบิร์ตเริ่มทำงานครั้งแรกที่ร้านขายยาขณะอายุได้ 14 ปี ก่อนจะเรียนด้านเภสัชศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคนิคเพิร์ท ต่อมาเขาย้ายไปที่เมลเบิร์น เพื่อเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น พร้อมกับเริ่มเขียนเรื่องสั้น เฮอร์เบิร์ตออกนวนิยายเรื่องแรก Capricornia ในปี..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และแซเวียร์ เฮอร์เบิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรมคลินิก

ัชกรรมคลินิก (อังกฤษ:Clinical Pharmacy) เป็นกลุ่มวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ยา และศึกษาผลข้างเคียงจากการใช้ยาซึ่งรายละเอียดของวิชาดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และเภสัชกรรมคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชเวท

ัชเวท (Pharmacognosy) เป็นศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยาอันมีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เภสัชเวทสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของเภสัชเวทไว้ว่า "เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ, เคมี, ชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวภาพของยา, สารที่นำมาใช้เป็นยาที่มีที่มาจากธรรมชาติ และการวิจัยค้นพบยาใหม่จากแหล่งธรรมชาติ" สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาได้ภายหลังผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมเราเรียกว่า "เครื่องยา" โดยมีการจัดจำแนกตามคุณสมบัติของเครื่องยาตามวิธีการของศาสตร์ต่างๆ อาทิ เภสัชวิทยา, กลุ่มสารเคมี, การเรียงลำดับตามตัวอักษรละตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เภสัชเวทยังครอบคลุมไปถึงการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์เช่น ไฟเบอร์, ยาง ในการศัลยกรรมรักษา และการใช้เพื่อควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงการใช้เป็นสารปรุงแต่งทางเภสัชกรรม, เครื่องสำอาง.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และเภสัชเวท · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดโคน

เห็ดโคน (ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Termitomyces fuliginosus Heim) เป็น เห็ดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Termitophilae เป็นเห็ดป่าเติบโตได้ดีในสภาพธรรมชาติ ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะ มีรูปร่างเหมือนเห็ดทั่วไปคือมีก้านเห็ดและหมวกเห็ด ดอกใหญ่ โคนอวบหนา มีกลิ่นเฉพาะตัว มักเกิดตามจอมปลวก จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เห็ดปลวก มีการอพยพของปลวกที่เราเรียกว่า แมลงเม่า ออกจากรังปลวกเดิม เพื่อสร้างรังใหม่ การที่ฝนตกชุกจนมีความชุ่มชื้นเหมาะสม เมื่อปลวกในรังปลวกมีปริมาณลดลง ตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ สามารถมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดที่มีความชุ่มชื้นออกมาได้ สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด ประกอบกับการที่เห็ดโคนเองมีรสชาติที่น่ารับประทาน จึงจัดเป็นเห็ดหายากจะต้องหาตามป่าเขาห่างไกลความเจริญ ซึ่งเห็ดโคนนั้นมีรสหวานอร่อยกว่าเห็ดอื่นๆ ปรุงง่ายเพียงต้มกับเกลือก็ได้น้ำต้มเห็ดรสหวานตามธรรมชาติ นอกจากนำไปต้มกับน้ำเกลือแล้วเราอาจนำเห็ดโคนไปประกอบอาหารที่หลากหลายได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์ได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งมีวางขายเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมและจะมีให้รับประทานเพียงปีละ 1 ครั้ง พบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อพื้นที่ป่าค่อยๆ หมดไป เห็ดโคนจึงหายากและมีราคาแพง หมวดหมู่:เห็ดที่รับประทานได้.

ใหม่!!: เภสัชศาสตร์และเห็ดโคน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »