โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เนยแข็ง

ดัชนี เนยแข็ง

วิสชีส จะมีลักษณะเด่นคือมีรูกระจายตามเนื้อชีส เนยแข็งพร้อมเสิร์ฟ เนยแข็ง หรือ ชีส (cheese) คือ ผลิตภัณฑ์จากนมซึ่งสามารถผลิตได้จากนมวัวหรือแพะ เป็นต้น ที่ผ่านกระบวนการคัดแยกโปรตีน แล้วนำโปรตีนของนมมาทำการผสมเชื้อรา หรือแบคทีเรีย หรือสารอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของเนยแข็ง ซึ่งแตกต่างจากเนยที่ทำมาจากไขมันของนม เนยแข็งเป็นอาหารที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยมีปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุดในคัมภีร์ไบเบิล กลุ่มนักรบทหารโรมันเป็นบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้จักเนยแข็ง เพราะไม่ว่าจะยกทัพไปที่ใดก็มักจะนำเนยแข็งไปด้วยเสมอและมักจะแบ่งปันเนยแข็งที่มีให้กับคนท้องถิ่นนั้นๆ โบสถ์จัดว่าเป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเนยแข็งที่เด่นชัดที่สุดในสมัยกลาง การจำหน่ายเนยแข็งเพื่อหารายได้เข้าโบสถ์ของบาทหลวงในศาสนาคริสต์ส่งผลให้เกิดเนยแข็งแบบดั้งเดิมที่มีเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น และในเวลาต่อมาเนยแข็งท้องถิ่นนี้ได้ถูกพัฒนาปรับปรุงรสชาติให้มีความหลากหลาย จนในปัจจุบันมีเนยแข็งมากกว่า 3,000 ชนิด หลายคนมีความเข้าใจผิดว่าเนยแข็งและเนยเหลวเป็นอาหารประเภทไขมันเช่นเดียวกัน อันที่จริงแล้วเนยแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโปรตีนในน้ำนมวัว ในขณะที่เนยเหลวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขมันในน้ำนมวัว ดังนั้นเนยแข็งจึงจัดเป็นอาหารจำพวกโปรตีนเหมือนเนื้อสัตว์ และมีคุณค่าทางโภชนาการไม่แพ้น้ำนมวัว เนยแข็งให้สารอาหารจำพวก แคลเซียม โปรตีน ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 สังกะสี และไขมัน แต่ให้น้ำตาลแล็กโทสในปริมาณที่น้อยกว่าในน้ำนม ผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนมจึงสามารถหันมารับประทานเนยแข็งแทนเป็นทางออกแทนได้.

72 ความสัมพันธ์: ชีสพิซซ่าชีสเบอร์เกอร์ฟรองซ์ไฟว์ฟงดูว์พาย (อาหาร)พาลาทชินเกนพาสตาพิซซากอร์ดงเบลอการรับรู้รสการหมักเชิงอุตสาหกรรมกานาเปกิชมอซซาเรลลามักกะโรนีอบชีสระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลกรัฐวิสคอนซินรัฐตาชีรารายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิงรายชื่อตัวละครในดราก้อนบอลลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิงวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุลวิทยาศาสตร์การอาหารวิตามินบี12หางนมอัลคาไลน์ ไดเอตอาหารอาหารฟิลิปปินส์อาหารยุโรปอาหารอินโดนีเซียอาหารเยอรมันอาหารเยเมนอินูลินอุมะมิอเมริกันฮอตดอกทาโกไรซ์ขำกลิ้งลิงกับหมาขนมบ้าบิ่นขนมโตเกียวดิอะเมซิ่งเรซ 14ดิอะเมซิ่งเรซ 18ครีมคร็อก-เมอซีเยอตุอีลปัจจัยสี่ปาร์มาปานีร์ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้าปีซังโกเร็ง...นมน้ำเกลือเข้มข้นแพริโดเลียแล็กโทสแซนด์วิชโยเกิร์ตกรองโรตีปราตาโอโกโนมิยากิโปรตีนหางนมไลนิโซลิดไทยากิเบเกิลเกซาดิยาเวลช์แรร์บิตเดอะซิมส์ 2เคซีนเคโซงปูติเค้กเนยเนสท์เล่SalmonellaThe China Study ขยายดัชนี (22 มากกว่า) »

ชีสพิซซ่า

ีสพิซซ่า (pizza cheese) หมายรวมถึงชีสและผลิตภัณฑ์นมหลากหลายชนิดที่ถูกออกแบบและผลิตเพื่อใช้ทำพิซซ่าโดยเฉพาะ อย่างเช่น ชีสแปรรูปและปรุงแต่งคล้ายมอซซาเรลลา ชีสพิซซ่าสามารถเป็นชีสใด ๆ ที่เหมาะสมกับพิซซ่า ในสหรัฐอเมริกา ชีสที่ใช้เตรียมพิซซ่าประมาณร้อยละ 30 เป็นชีสมอซซาเรลลา, โปรโวโลเน, เชดดาร์ และพาร์มิแซน ในขณะที่ชีสเอ็มเมินทาล, โรมาโน และรีค็อตตามักใช้โรยหน้า ส่วนชีสแปรรูปที่ผลิตสำหรับพิซซ่านั้นจะมาจากการผลิตจำนวนมาก ชีสพิซซ่าแปรรูปผลิตขึ้นเพื่อทำบราวนิง หลอมเหลว ทำให้แผ่บาง และเพิ่มประมาณไขมันและความชื้น การศึกษาและการทดลองหลายครั้งได้วิเคราะห์ผลกระทบของน้ำมันพืช การผลิตและกระบวนการหมัก โปรตีนหางนมที่ผิดธรรมชาติ และความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เพื่อผลิตชีสพิซซ่าในอุดมคติและประหยัด ใน..

ใหม่!!: เนยแข็งและชีสพิซซ่า · ดูเพิ่มเติม »

ชีสเบอร์เกอร์

ีสเบอร์เกอร์ (cheeseburger) เป็นแฮมเบอร์เกอร์ซึ่งมีเนยแข็งวางอยู่บนเนื้อ ส่วนใหญ่จะนำเนยแข็งวางลงบนแผ่นเนื้อในระหว่างที่กำลังร้อนอยู่บนเตาย่าง เพื่อที่จะให้เนยแข็งละลายลงบนแผ่นเนื้อ ภายในตัวชีสเบอร์เกอร์มักมีส่วนผสมอื่น ๆ อีก เช่น ผักกาดหอม มะเขือเทศ หอมใหญ่ แตงกวาดอง มัสตาร์ด มายองเนส ซอสมะเขือเทศ และบางครั้งอาจใส่เบคอนด้วย ชีสเบอร์เกอร์เป็นอาหารอเมริกันที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เนื่องจากที่ว่าเป็นอาหารที่นิยมรับประทานตามร้านอาหารจานด่วนอเมริกันต่าง ๆ คำว่า "ชีสเบอร์เกอร์" เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า "แฮมเบอร์เกอร์เนยแข็ง" โดยคำ "เบอร์เกอร์" (burger) เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า "แฮมเบอร์เกอร์" (hamburger) อีกที.

ใหม่!!: เนยแข็งและชีสเบอร์เกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรองซ์ไฟว์

ูชิ เซนไท ฟรองซ์ไฟว์ หรือ ชินเคน จูชิ ฟรองซ์ไฟว์ เป็นขบวนการนักสู้ฉบับฝรั่งเศส ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2000 มีทั้งหมด 5 ตอน ในตอนที่1-3 ฟรองซ์ไฟว์ จะใช้ชื่อว่า จูชิ เซนไท ฟรองซ์ไฟว์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชินเคน จูชิ ฟรองซ์ไฟว์ ในตอนที่4 เป็นต้นไป.

ใหม่!!: เนยแข็งและฟรองซ์ไฟว์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟงดูว์

ฟงดูว์ (fondue) หรือ ฟอนดูตา (fonduta) เป็นอาหารสวิส อาหารอิตาลี และอาหารฝรั่งเศสชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเนยแข็งละลายกับไวน์ขาวและเครื่องปรุงรส เสิร์ฟในหม้อเคลือบกาเกอลง (caquelon) ซึ่งตั้งไว้บนเตาแบบพกพา แล้วใช้ส้อมด้ามยาวจุ่มขนมปังลงไปในเนยที่ละลายอยู่นั้นเพื่อรับประทาน ฟงดูว์ได้รับการส่งเสริมให้เป็นอาหารประจำชาติของสวิตเซอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยสหภาพเนยแข็งสวิส (Schweizerische Käseunion) และได้รับการเผยแพร่จนเป็นที่นิยมในอเมริกาเหนือในคริสต์ทศวรรษ 1960 ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา ได้มีการนำชื่อ "ฟงดูว์" ไปใช้เป็นคำทั่วไปเพื่อเรียกอาหารชนิดอื่นที่มีการจุ่มอาหารลงในของเหลวร้อน ๆ ในหม้อไฟที่ใช้ร่วมกัน ได้แก่ ฟงดูว์ช็อกโกแลต ซึ่งใช้ผลไม้ที่หั่นเป็นชิ้น ๆ จุ่มลงไปในส่วนผสมช็อกโกแลตเหลว และ "ฟงดูว์บูร์กีญอน" หรือฟงดูว์แบบอย่างบูร์กอญ (fondue bourguignonne) ซึ่งใช้เนื้อสัตว์ (โดยเฉพาะเนื้อวัว) หั่นเป็นชิ้นพอคำ จุ่มลงในน้ำมันร้อน คำว่า fondue เป็นรูปกริยาขยายในอดีตกาล กรรมวาจก เพศหญิง (feminine passive past participle) ของคำกริยาฝรั่งเศส fondre (แปลว่า "ทำให้ละลาย") ซึ่งในที่นี้ทำหน้าที่เป็นคำนาม ปรากฏหลักฐานการใช้คำนี้เป็นชื่ออาหารเป็นครั้งแรกในภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1735 ในตำรา Cuisinier moderne ของแว็งซ็อง ลา ชาแปล พ่อครัวชาวฝรั่งเศสVincent la Chapelle, Le cuisinier moderne และปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1878Oxford English Dictionary, Second edition, 1989; online version November 2010.

ใหม่!!: เนยแข็งและฟงดูว์ · ดูเพิ่มเติม »

พาย (อาหาร)

ตรอเบอร์รี่ชีสพาย พาย (pie) คืออาหารชนิดหนึ่งที่ผ่านกระบวนการอบ โดยปกติพายจะบรรจุไส้ต่าง ๆ ไว้ด้านใน เช่น เนื้อปลา ผัก ผลไม้ ชีส ครีม ช็อกโกแลต คัสตาร์ด ถั่ว หรือของหวานอื่น ๆ พายจะมี 2 ลักษณะคือ แบบที่มีแป้งประกบทั้งสองด้าน เช่น พายไก่ หรือพายสับปะรด หรืออีกประเภทที่วางอยู่บนแป้งด้านหนึ่ง เช่นพายที่เป็นขนมหวาน โดยไส้ที่เป็นของหวานหรือผลไม้ จะวางบนแผ่นแป้งที่เรียกว่าครัสต์ พายประเภทที่เป็นของหวานมักจะผ่านกระบวนการอบเฉพาะส่วนของแป้งเท่านั้น ส่วนไส้ในจะมาใส่ภายหลัง.

ใหม่!!: เนยแข็งและพาย (อาหาร) · ดูเพิ่มเติม »

พาลาทชินเกน

ลาทชินเกน (Palatschinke;พหูพจน์:Palatschinken) เป็นชื่อที่ชาวออสเตรียและบาวาเรียนเยอรมันเรียกกัน เป็นแป้งที่คล้ายๆ กับแพนเค้กแต่บางเหมือนเครปและสามารถหารับประทานทั่วไปในยุโรปกลาง เปรียบเทียบกับเครปของฝรั่งเศส แพนเค้กในยุโรปกลางจะมีลักษณะที่บาง ต่างจากแพนเค้กที่อเมริกาที่มีหนามาก พาลาทชินเกนสอดไส้ด้วยไส้ชนิดต่างๆ และสามารถรับประทานอาหารตอนกลางวันหรืออาหารเย็นได้ พาลาทชินเกนตามธรรมเนียมแล้วมักจะทาด้วย แยมแอพริคอต หรือสตรอเบอร์รี่ แล้วทำเป็นโรลและโรยด้วย ลูกกวาด ซอสผลไม้อื่นๆ เช่น แอปเปิ้ลซอส หรือแยมที่มีเนื้อหนาเรียกว่า เลควาร์ (พลัม พรุน ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ แยม) น้ำมะนาวและน้ำตาล ช็อคโกแลตซอส เฮเซลนัท-ช็อคโกแลตครีม อัลมอนด์ ผลไม้สดแห้ง ชีส ลูกเกต ผงโกโก้ เมล็ดงาดำ หรือทอปปิ้งอื่นๆ ก็สามารถนำมาใช้ได้ พาลาคซินตา ราคอตต์ เป็นแพนเค้กที่มีหลายๆ ชั้นและในแต่ละชั้นจะมีสวีทคอทเทจ ชีส ลูกเกต แยม และวอลนัท แล้วหลังจากนั้นนำไปอบในเตาอบ พาลาทชินเกนที่มีชื่อเสียงในฮังการีมีชื่อว่า กุนเดล แพนเค้ก (Gundel palacsinta) ที่ทำจากวอลนัทบด ลูกเกด เปลือกส้มเชื่อม อบเชยและรัม เสริฟคู่กับซอสช็อคโกแลตดำทำจากไข่แดง ครีมและโกโก้ พาลาชินเกนสามารถรับประทานแบบเค็ม ซึ่งจะสอดไส้ด้วยชีส เนื้อ เห็ด หรือ ผักต้ม แล้วราดด้วยซาวด์ครีม หรือนำมาหั่นเป็นชิ้นๆแล้วนำมาต้มในน้ำซุปเรียกว่า แฟลเดิล ในเยอรมัน.

ใหม่!!: เนยแข็งและพาลาทชินเกน · ดูเพิ่มเติม »

พาสตา

ตา (pasta) คือชื่อเรียกโดยรวมของอาหารอิตาลีประกอบด้วยเส้นที่ทำจากแป้งสาลี น้ำ ไข่ เกลือ และ น้ำมันมะกอก จากนั้นจึงนำมารีดเป็นแผ่นและตัดเป็นเส้น ทำให้สุกโดยการต้ม รับประทานกับซอสหลากหลายประเภท ที่มักมีส่วนประกอบหลักคือ น้ำมันมะกอก ผัก เครื่องเทศ และเนยแข็ง เส้นพาสตาเป็นชื่อเรียกโดยรวมของเส้นหลากหลายประเภท ในสมัยก่อนพาสตานั้นเป็นอาหารที่ชาวอิตาลีทางตอนใต้นิยมรับประทาน ซึ่งนับว่ายากจนกว่าชาวอิตาลีทางตอนเหนือ ซึ่งนิยมรับประทานนมเนย และข้าว ปัจจุบันมีการผลิตเส้นสำเร็จรูปแบบอบแห้งในลักษณะอุตสาหกรรม ถูกใช้แพร่หลายมากกว่าเส้นแบบสดเนื่องจากสะดวกไม่ต้องใช้เวลาและความชำนาญมากในการจัดเตรียม.

ใหม่!!: เนยแข็งและพาสตา · ดูเพิ่มเติม »

พิซซา

ซซา (pizza) เป็นอาหารอิตาลีและอาหารจานด่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอ.

ใหม่!!: เนยแข็งและพิซซา · ดูเพิ่มเติม »

กอร์ดงเบลอ

กอร์ดงเบลอ (cordon bleu) เป็นอาหารฝรั่งเศสที่นำเนื้อสัตว์มาแล่ให้เป็นชิ้นบาง ๆ ใส่แฮมและชีสเป็นไส้ แล้วนำเนื้อไก่มาหุ้มให้มิด นำไปชุบไข่และเกล็ดขนมปัง ทอดให้สุก เนื้อสัตว์ที่ใช้มีทั้งไก่และแฮม เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากชนิทเซิลที่เป็นเนื้อสัตว์ทอดยัดชีสในสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เนยแข็งและกอร์ดงเบลอ · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: เนยแข็งและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การหมักเชิงอุตสาหกรรม

การหมักเชิงอุตสาหกรรม (Industrial fermentation) เป็นการหมักจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียและเห็ดรา ที่ทำโดยตั้งใจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในอุตสาหกรรม สารเคมีที่มีขายทั่วไปบางอย่าง เช่น กรดน้ำส้ม กรดซิตริก และเอทานอล ล้วนผลิตโดยวิธีการหมัก ความช้าเร็วของกระบวนการหมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ เซลล์ องค์ประกอบของเซลล์ เอนไซม์ รวมทั้งอุณหภูมิและค่ากรด และสำหรับการหมักบางชนิด ออกซิเจน กระบวนการสกัดผลิตภัณฑ์ออกมา บ่อยครั้งต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางนั้น เอนไซม์ที่ผลิตขายทั้งหมด เช่น lipase, invertase, และ rennet จะทำโดยการหมักที่ใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ในบางกรณี มวลชีวภาพของจุลินทรีย์นั่นแหละเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยีสต์ขนมอบ (Saccharomyces cerevisiae) และแบคทีเรียที่เปลี่ยนแล็กโทสเป็นกรดแล็กติกที่ใช้ในการผลิตชีส โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งการหมักได้ออกเป็น 4 จำพวก คือ.

ใหม่!!: เนยแข็งและการหมักเชิงอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กานาเป

300px กานาเป (Canapé) เป็นอาหารชิ้นเล็ก ๆ ที่มักมีไว้ตกแต่งอาหาร สามารถถือได้โดยนิ้วมือและมักรับประทานได้ภายในคำเดียว มักเสิร์ฟในช่วงค็อกเทล กานาเปส่วนใหญ่มักจะรสเค็มหรือเผ็ดเพื่อทำให้แขกดื่มได้มากขึ้น ชิ้นส่วนของกานาเป เช่น แคร็กเกอร์ ขนมปังหั่นเป็นแผ่นชิ้นเล็ก ๆ ขนมปังอบ ตัดออกในรูปร่างต่างกัน อาจทาเนย และด้านบนอาจเป็นเนื้อสัตว์ เนื้อปลา เนยแข็ง คาเวียร์ ฟัวกรา ซอส หรือเครื่องปรุงอื่น ๆ หมวดหมู่:อาหารประเภทเนื้อปลา.

ใหม่!!: เนยแข็งและกานาเป · ดูเพิ่มเติม »

กิช

มดิเตอร์เรเนียนกิช กิช (quiche; สัท.) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่ากิชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่กิชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในกิชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้ ถึงแม้ว่ากิชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสต.

ใหม่!!: เนยแข็งและกิช · ดูเพิ่มเติม »

มอซซาเรลลา

มอซซาเรลลา มอซซาเรลลา (mozzarella) เป็นเนยแข็งชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากภาคใต้ของประเทศอิตาลี ตามธรรมเนียมแล้วผลิตจากน้ำนมควายเมดิเตอร์เรเนียนอิตาลีด้วยกรรมวิธีปัสตาฟีลาตา (pasta filata) ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วเป็นการแช่ กวน และนวดลิ่มน้ำนมในอ่างหางนมร้อนหรือน้ำร้อน เนยแข็งที่ได้จะมีเนื้อสัมผัสกึ่งนุ่ม ยืดหยุ่น และมีกลิ่นรสไม่แรง นิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในพิซซาและอาหารจากพาสตาชนิดต่าง ๆ หรือเสิร์ฟกับมะเขือเทศฝานและใบโหระพาในสลัดคาปรี มอซซาเรลลาได้รับการขึ้นทะเบียนการรับรองความชำนาญพิเศษแบบดั้งเดิม (Traditional Speciality Guaranteed) จากสหภาพยุโรปในปี..

ใหม่!!: เนยแข็งและมอซซาเรลลา · ดูเพิ่มเติม »

มักกะโรนีอบชีส

มักกะโรนีอบชีส (macaroni and cheese) เป็นอาหารที่ประกอบด้วยมักกะโรนีกับเนยแข็งซึ่งส่วนมากนิยมใช้เชดดาร์ชีส บางครั้งอาจมีส่วนประกอบอื่นด้วย เช่น เกล็ดขนมปัง เนื้อสัตว์ ผัก มักกะโรนีอบชีสเป็นอาหารที่นิยมรับประทานอย่างแพร่หลายในหลายประเทศที่มีประชากรที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่เป็นส่วนใหญ่ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น.

ใหม่!!: เนยแข็งและมักกะโรนีอบชีส · ดูเพิ่มเติม »

ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก

ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Ratatouille ผลิตโดย พิกซาร์ และจัดจำหน่ายโดย วอล์ท ดิสนีย์ แอนิเมชัน กำกับภาพยนตร์โดย แบรด เบิร์ด (Brad Bird) ออกฉายในประเทศไทยในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และออกฉายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ถือเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 8 ของพิกซาร์ โดยตั้งชื่อตามอาหารของฝรั่งเศส ราทาทุย (ออกเสียง แรททาทูอี ในภาษาอังกฤษ) ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำ, รางวัลบาฟต้า, และรางวัลแกรมมี.

ใหม่!!: เนยแข็งและระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสคอนซิน

รัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในเขตมิดเวสต์ ชื่อวิสคอนซินมาจากชื่อแม่น้ำวิสคอนซิน ซึ่งบันทึกในภาษาฝรั่งเศสว่า "Ouisconsin" มาจากอินเดียนแดง หมายถึงดินแดนของหินแดง รัฐวิสคอนซินมีชื่อเสียงในเรื่องของชีสและผลิตภัณฑ์อื่นจากวัว เมืองสำคัญในรัฐวิสคอนซินได้แก่ มิลวอกี แมดิสัน และ กรีนเบย์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในเมืองแมดิสันและเมืองมิลวอกี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ ทีมอเมริกันฟุตบอลกรีนเบย์ แพคเกอร์ และ ทีมบาสเกตบอลมิลวอกี บักส์ ในปี 2551 วิสคอนซินมีประชากร 5,601,640 คน.

ใหม่!!: เนยแข็งและรัฐวิสคอนซิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐตาชีรา

ตาชีรา (Táchira) เป็น 1 ใน 23 รัฐของประเทศเวเนซุเอลา มีเมืองหลวงของรัฐคือเมืองซันกริสโตบัล รัฐตาชีรามีพื้นที่ครอบคลุม 11,100 ตร.กม.

ใหม่!!: เนยแข็งและรัฐตาชีรา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง

ตัวละครหลัก รายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง ซึ่งเป็นตัวละครการ์ตูนจากการ์ตูนไทยเรื่อง "ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง".

ใหม่!!: เนยแข็งและรายชื่อตัวละครในลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในดราก้อนบอล

ตัวละครจากเรื่อง ดราก้อนบอล การ์ตูนเรื่อง ดราก้อนบอล มีตัวละครมากมาย โดยสร้างจากจินตนาการของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อ อากิระ โทริยามา (ซึ่งในภาค GT ถือเป็นจักรวาลที่แยกออกไป และในภาค Movie นั่นถือไม่รวมอยู่ในไทม์ไลน์หลักของเนื้อเรื่อง Dragonball) โดยรายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของตัวละครที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องนี้.

ใหม่!!: เนยแข็งและรายชื่อตัวละครในดราก้อนบอล · ดูเพิ่มเติม »

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง (LaFlora, the Princess Academy) เป็นหนังสือการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ มี 9 ชุด คือ "ลา ฟลอร่า", "ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด", "ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม","ลาฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่","ลาฟลอร่า คลับเฟสต้า","ลาฟลอร่า แอนิเมชัน","นิยาย ลาฟลอร่า","คอมมิกชันนารี ลา ฟลอร่า โรซารี่ please" และ "ลาฟลอร่า ดรีมมี่ คาเฟ่" โดยในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน จากความนิยมอย่างแพร่หลาย และความโดดเด่นของตัวละคร ส่งผลให้ทางผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของเกมกระดานในเวลาต่อมา ปัจจุบันได้มีการจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 4 ภาษา รวมถึงจัดทำเป็นแอนิเมชัน และวรรณกรรมเยาวชน.

ใหม่!!: เนยแข็งและลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง · ดูเพิ่มเติม »

วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล

วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล (ชื่อเล่น: พิช) เป็นนักแสดง และนักร้องชาวไทย ที่มีชื่อเสียงจากการแสดงเป็น “มิว” ตัวละครเอกของภาพยนตร์ไทยเรื่อง “รักแห่งสยาม” (2550) และการเป็นนักร้องนำวงออกั.

ใหม่!!: เนยแข็งและวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์การอาหาร

วิทยาศาสตร์การอาหาร (food science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เน้นการศึกษาของอาหาร เริ่มตั้งแต่เก็บเกี่ยวจนถึงการบริโภคมีส่วนคาบเกี่ยวกับวิชาเกษตรศาสตร์ ". ตำราวิทยาศาสตร์การอาหารกำหนดวิทยาศาสตร์การอาหารว่า เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและวิศวกรรมเพื่อการศึกษาทางกายภาพเคมีและลักษณะทางชีวเคมีของอาหารและหลักการของการแปรรูปอาหาร " วิทยาศาสตร์การอาหาร มีสาขาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: เนยแข็งและวิทยาศาสตร์การอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี12

วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.

ใหม่!!: เนยแข็งและวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

หางนม

หางนมที่เพิ่งได้จากการกรองเนยแข็งใหม่ ๆ หางนม หรือ ซีรัมของนม (whey หรือ milk serum) เป็นของเหลวที่หลงเหลือจากการทำนมให้เป็นลิ่มนมและผ่านกน น ารกรองแล้ว มันเป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตเนยแข็งหรือเคซีน และสามารถนำไปใช้ใทางธุรกิจได้หลายอย่าง หางนมหวานผลิตได้ระหว่างการทำเนยแข็งชนิดแข็งประเภทเรนเนต อย่างเช่น เนยแข็งเชดดา หรือเนยแข็งสวิส หางนมกรด (หรือที่รู้จักกันในชื่อ "หางนมเปรี้ยว") ได้มาระหว่างการผลิตเนยแข็งประเภทกรด อย่างเช่น เนยแข็งคอทเท.

ใหม่!!: เนยแข็งและหางนม · ดูเพิ่มเติม »

อัลคาไลน์ ไดเอต

Leafy green, allium, and cruciferous vegetables are key parts of alkaline diet. อัลคาไลน์ ไดเอต (หรือ อาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง) เป็นการอธิบายถึงกลุ่มของอาหารที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า อาหารแต่ละประเภทสามารถส่งผลกระทบต่อ ความเป็นกรด และ ค่า pH ของของเหลวในร่างกาย ซึ่งรวมถึง ปัสสาวะ และ เลือด และสามาถนำไปใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรค แต่เนื่องจากยังขาดการศึกษาที่สนับสนุนผลดีของอาหารประเภทนี้ ดังนั้นจึงเป็นที่ไม่แนะนำโดยนักโภชนาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและ สภาวะสมดุลกรดด่าง หรือ การควบคุมภาวะความเป็นกรด – ด่างของร่างกาย มากว่าทศวรรษ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้ในทางการแพทย์จะมุ่งเน้นกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยหลักแล้วอาหารประเภทนี้สนับสนุนให้หลีกเลี่ยงการบริโภค เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ชีส และ ธัญพืช เพื่อที่จะทำให้ปัสสาวะมีความเป็นด่างมากขึ้น (มีค่า pH ที่สูงขึ้น) และเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมของปัสสาวะเพื่อที่จะป้องกันการเกิด โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTIs) และ โรคนิ่วไต (Nephrolithiasis) อย่างไรก็ตาม ความยากในการคาดหมายผลของการบริโภคอาหารประเภทนี้ จึงทำให้ การรักษาด้วยยา เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากกว่าในการปรับค่าความเป็นกรดด่างของปัสสาวะมากกว่าที่จะเป็นการปรับเปลี่ยนอาหาร การบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นกรดถูกพิจารณาโดยผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์จำนวนมาก ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของ โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) แม้ว่าในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่สนับสนุนสมมุติฐานนี้ แผนการบริโภค “อาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง (alkaline diet)” ยังได้ถูกใช้โดย การแพทย์ทางเลือก โดยแนะนำว่าอาหารประเภทดังกล่าวจะสามารถรักษาหรือป้องกัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ภาวะระดับพลังงานต่ำ (low energy levels) รวมทั้งโรคอื่น ๆ ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์มาสนับสนุน และทำให้เกิดข้อสันนิษฐานที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลของการบริโภคอาหารที่มีสภาวะเป็นด่าง ซึ่งขัดแย้งกับความเข้าใจใน สรีรวิทยา ของมนุษ.

ใหม่!!: เนยแข็งและอัลคาไลน์ ไดเอต · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: เนยแข็งและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาหารฟิลิปปินส์

อาหารฟิลิปปินส์ อาหารฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยอาหาร วิธีการเตรียมและประเพณีการรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ รูปแบบของการทำอาหารและอาหารที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาตลอดระยะหลายศตวรรษจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนผสมกับอาหารสเปนและโปรตุเกส จีน อเมริกัน และอาหารอื่น ๆ ในเอเชียที่ปรับให้เข้ากับส่วนผสมพื้นเมืองและความนิยมในท้องถิ่น อาหารมีตั้งแต่ง่ายมากเช่นปลาทอดเค็มและข้าวและอาหารที่มีความประณีต อาหารยอดนิยมฟิลิปปินส์ยอดนิยมได้แก่ เลชอน (lechón หมูย่างทั้งตัว), ลองกานิซา (longganisa ไส้กรอกฟิลิปปินส์), ตาปา (tapa ทำจากเนื้อวัว), ตอร์ตา (torta ไข่เจียว), อาโดโบ (adobo ไก่และ/หรือหมูต้มในกระเทียม น้ำส้มสายชู น้ำมัน และซอสถั่วเหลืองเคี่ยวจนแห้ง), กัลเดเรตา (kaldereta สตูเนื้อในซอสมะเขือเทศ), เมชาโด (mechado เนื้อปรุงกับถั่วเหลืองและซอสมะเขือเทศ), โปเชโร (pochero กล้วยและเนื้อในซอสมะเขือเทศ), อาฟริตาดา (afritada ไก่หรือหมูในซอสมะเขือเทศกับผัก), การี-กาเร (kari-kare หางวัว และผักสุกในซอสถั่วลิสง), ปาตากรอบ (ขาหมูทอด), ฮาโมนาโด (hamonado หมูหวานในซอสสับปะรด), อาหารทะเลในน้ำซุปรสเปรี้ยว, ปันสิต (pancit ก๋วยเตี๋ยว) และลุมเปีย (lumpia ปอเปี๊ยะสดหรือทอด).

ใหม่!!: เนยแข็งและอาหารฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารยุโรป

นมปังฝรั่งเศส พาสตาของอิตาลี อาหารยุโรปหรือ อาหารตะวันตก เป็นคำที่ใช้อ้างถึงอาหารในทวีปยุโรป และประเทศตะวันตกอื่น.

ใหม่!!: เนยแข็งและอาหารยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

อาหารอินโดนีเซีย

ตัวอย่างของอาหารซุนดาหนึ่งมื้อ; ''อีกันบาการ์'' (ปลาย่าง), ''นาซีติมเบ็ล'' (ข้าวห่อใบตอง), ''อายัมโกเร็ง'' (ไก่ทอด), ''ซัมบัล'', ''เต็มเปทอด'' และเต้าหู้, และ ''ซายูร์อาเซ็ม''; ชามใส่น้ำและมะนาวคือโกโบกันใช้ล้างมือ สะเต๊ะในอินโดนีเซีย อาหารอินโดนีเซีย (Masakan Indonesia) เป็นอาหารทีมีความหลากหลายทางด้านรูปลักษณ์และสีสันเพราะประกอบด้วยประชากรจากเกาะต่าง ๆ ที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะจากทั้งหมด 18,000 เก.

ใหม่!!: เนยแข็งและอาหารอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารเยอรมัน

อาหารการกินของชาวเยอรมันจะต่างกันไปตามภูมิภาค แคว้นทางใต้ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) อาหารจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนทางตะวันตกจะกรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ในขณะที่อาหารทางตะวันออกจะใกล้เคียงกับอาหารทางยุโรปตะวันออก และอาหารบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะใกล้เคียงกับอาหารแถบสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: เนยแข็งและอาหารเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อาหารเยเมน

ฟาตุต ขนมปังทอดของชาวเยเมน ใส่ไข่ อาหารเยเมน เป็นอาหารที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอาหารที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลาง อาหารเยเมนในภูมิภาคที่ที่ต่างกันยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อยอาหารเยเมนได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกีสมัยจักรวรรดิออตโตมันมากเนื่องจากการถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน.

ใหม่!!: เนยแข็งและอาหารเยเมน · ดูเพิ่มเติม »

อินูลิน

อินูลิน (Inulin)หรือฟรักโทแซน (Fructosan) เป็นแป้งที่พบในหัวหรือรากพืชบางชนิด ละลายในน้ำอุ่นได้ดี จัดเป็นเส้นใยที่เรียกว่าฟรุกแทน (fructan) เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลฟรุคโตสที่เชื่อมต่อกันเป็นเส้นตรงที่ตำแหน่งบีตา 2, 1 (β - 2, 1 linked polyfructan) มีปลายด้านหนึ่งคือกลูโคสที่เชื่อมต่อกับฟรุกโตสในลักษณะการเชื่อมของซูโครส โดยพบเป็นคาร์โบไฮเดรต โครงสร้างหลักไม่มีพันธะที่เป็นองค์ประกอบของวงแหวน มีน้ำตาลประกอบเข้าด้วยกันมากกว่า 10 โมเลกุล ค้นพบอินูลินครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เนยแข็งและอินูลิน · ดูเพิ่มเติม »

อุมะมิ

อุมะมิ เป็นรสชาติของกลูตาเมตอิสระ หนึ่งในกรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนที่พบได้ในอาหารตามธรรมชาติ และ เครื่องปรุงรสต่างๆ อุมะมิเป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งแปลว่ารสอร่อย ในภาษาไทยคำที่ใกล้เคียงที่สุดได้แก่ "รสหวานน้ำต้มกระดูก" หรือ "รสกลมกล่อม" ในภาษาอีสานมีคำว่า "นัว" ส่วนในภาษาอังกฤษจะมีคำว่า "Savory" "Meaty" "broth-like" หรือ "mounthfullness" รสอุมะมิเป็นหนึ่งใน 5 รสชาติพื้นฐาน (basic taste) นอกเหนือไปจากรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขมที่ช่วยให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น Ikeda K. On a new seasoning.

ใหม่!!: เนยแข็งและอุมะมิ · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกัน

อเมริกัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เนยแข็งและอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอตดอก

อตดอก (hot dog, hotdog) เป็นไส้กรอกนึ่งหรือย่างซึ่งวางในขนมปังที่ผ่ากลางแนวยาว โดยรับประทานในรูปแบบคล้ายแซนด์วิช ชื่อของฮอตดอกอาจทำให้บางบุคคลคิดว่ามีเนื้อสุนัขเป็นส่วนประกอบหลัก แต่เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้ทำฮอตดอกคือเนื้อวัว, หมู หรือ ไก่ หรืออาจเป็นเนื้อสัตว์สามหรือสองชนิดนี้ผสมรวมกันก็ได้ เครื่องปรุงที่นิยมรับประทานข้างเคียงได้แก่ มัสตาร์ด, ซอสมะเขือเทศ, หอมใหญ่, มายองเนส, แตงกวาดอง, เนยแข็ง, ชีลีกอนการ์เน และเซาเออร์เคราท์ โดยทั่วไปมักเชื่อว่าฮอตดอกมีแหล่งกำเนิดจากชาวเยอรมันที่อพยพไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา จนทำให้เป็นอาหารข้างถนนที่มีความนิยมสูงในสหรัฐอเมริกา โดยถือว่าเป็นอาหารอเมริกันได้เลยทีเดียว ในสหรัฐอเมริกา ฮอตดอกส่วนใหญ่มักมีจำหน่ายตามรถขายอาหารเคลื่อนที่ซึ่งมักอยู่ใกล้บริเวณสนามเบสบอล จนทำให้เป็นอาหารที่ชาวอเมริกันทุกคนนึกถึงเมื่อไปชมเบสบอล แต่ความจริงแล้ว ฮอตดอกถือกำเนิดมานานกว่า 3,500 ปีแล้วในยุคบาบิโลเนีย มีลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ชาวโรมันเรียกอาหารประเภทนี้ว่า "Salsus" และเป็นที่ของคำว่า "Sausage" หรือไส้กรอกในภาษาอังกฤษ ในยุคกลาง เมืองต่าง ๆ ของทวีปยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น ที่มาของคำว่า "ฮอตดอก" ที่แปลว่า "หมาร้อน" มาจาก ในปี..

ใหม่!!: เนยแข็งและฮอตดอก · ดูเพิ่มเติม »

ทาโกไรซ์

ทาโกไรซ์ (Taco rice) เป็นอาหารญี่ปุ่นและโอกินาวะชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม มีลักษณะอย่างตาโก (taco) ซึ่งเป็นอาหารเม็กซิโก มีส่วนประกอบหลักได้แก่ชีส, เนื้อ, ผักกาดหอม และมะเขือเทศ (ด้วยการหั่นฝอยทั้งหมด) ราดด้วยซอสซัลซา โดยมีข้าวอยู่ใต้สุดของจาน ร้านชาร์ลีส์ทาโกส์ (Charlie's Tacos) เปิดกิจการในโอกินาวะในปี..

ใหม่!!: เนยแข็งและทาโกไรซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขำกลิ้งลิงกับหมา

ตเติ้ลรายการขำกลิ้งลิงกับหมา ภาพไตเติ้ลรายการขำกลิ้งลิงกับหมา ขำกลิ้งลิงกับหมา เป็นรายการโทรทัศน์ของ NTV ในประเทศญี่ปุ่น ที่ออกอากาศในช่วงรายการวาไรตี้เกี่ยวกับสัตว์ที่ชื่อว่า "เท็นไซ! ชิมูระโดบุทสึเอ็น" ในประเทศไทยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2550 ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 21.00 น. (ระยะแรกของรายการ ออกอากาศในเวลา 21.30 น.) ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปัจจุบันการออกอากาศในช่วงแรกได้สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2550 รวมความยาว 43 ตอน จากนั้นยังนำมาอากาศซ้ำ ทุกวันพุธถึงศุกร์ และยังขยายเวลาเป็น ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลาประมาณ 17.10-17.35 น. ขำกลิ้งลิงกับหมา เป็นเรื่องของ ปัง (หรือ ปังคุง - แปลว่า เด็กชายปัง) ลูกลิงชิมแปนซีตัวน้อย กับ เจมส์ สุนัขบูลด๊อกคู่หู ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของครูฝึกสอนสัตว์ ชื่อ อัตสึชิ มิยาซาวะ โดยในแต่ละตอนจะมีการฝึกพัฒนาการของสัตว์เลี้ยงทั้งสองโดยมอบหมายภารกิจต่างๆ ให้ทำร่วมกัน เช่น ไปเที่ยวงานวัด ไปเที่ยวสวนสนุก ถ่ายรูป ซื้อของ เก็บเห็ด เป็นต้น รายการนี้นำออกอากาศในหลายประเทศ ในประเทศไทย มีตัวหนังสือพากย์ความคิดของสัตว์ คล้ายหนังสือการ์ตูน แต่ละตอนของรายการ จะมีพิธีกรชาวไทย 2 คน ออกมาดำเนินรายการ คือ เอก ฮิมสกุล (แฟนพันธุ์แท้ ฟุตบอลโลก) และ พุทธชาด พงศ์สุชาติ (ปัจจุบัน ไม่ได้จัดรายการนี้แล้ว)ส่วนผู้ให้เสียงบรรยายในรายการ คือ สัจจะ กาญจน์นิรันดร์ ทางรายการได้มีเว็บไซต์ ด้ว.

ใหม่!!: เนยแข็งและขำกลิ้งลิงกับหมา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมบ้าบิ่น

นมบ้าบิ่น ขนมบ้าบิ่น ขนมไทยอย่างหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าวและนํ้าตาลทรายรวมถึงไข่ไก่ ทำให้สุกด้วยการผิงไฟล่างไฟบน มีลักษณะเป็นชิ้นเล็ก ๆ แบน ๆ เป็นขนมที่มีที่มาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยอีกหลาย ๆ ประเภท แต่ขนมบ้าบิ่นน่าจะถือกำเนิดในยุครัตนโกสินทร์ ที่มาของชื่อ "บ้าบิ่น" มีที่มาด้วยกันสองกระแส บ้างก็ว่ามาจากผู้ที่เป็นเจ้าของตำรับซึ่งเป็นชาวชุมชนกุฎีจีนชื่อ "แม่บิ่น" โดยครั้งแรกใช้ชื่อว่า "ขนมป้าบิ่น" และเรียกเพี้ยนจนกลายเป็นบ้าบิ่นในที่สุด ขณะที่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ด้วยความที่ขนมบ้าบิ่นมีที่มาจากขนมโปรตุเกสชื่อ กลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา (Queijadas de Coimbra) ซึ่งใช้เนยแข็งเป็นวัตถุดิบ แต่เรียกกันติดปากเพียงคำสุดท้าย คือ "บรา" และต่อมาเพิ่มคำว่า "บิ่น" เข้าไป จนกลายมาเป็นขนมบ้าบิ่นในที่สุด โดยแหล่งของขนมบ้าบิ่นที่ขึ้นชื่อ คือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้คำว่า "บ้าบิ่น" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้นิยามว่า ว. มุทะลุ หุนหันพลันแล่น อวดกล้าทําการอย่างไม่มีสติยั้งคิด บิ่น ก็ว.

ใหม่!!: เนยแข็งและขนมบ้าบิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ขนมโตเกียว

ังขยาที่กรุงเทพมหานคร ขนมโตเกียวไส้ฮอตดอกระหว่างเทศกาลผลไม้ ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ขนมโตเกียว เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง คล้ายกับขนมโดะระยะกิของญี่ปุ่น คือ เป็นแป้งแพนเค้กชิ้นบาง ๆ ทำให้ร้อนบนเตาขนาดเล็กที่มีหน้าเตาแบน แล้วม้วนห่อไส้ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายไส้ เช่น ไส้กรอก, ไข่นกกระทา, ไส้ครีมรสหวานต่าง ๆ รวมถึงอาจจะมีไส้พิเศษในบางร้าน เช่น ชีส, บิ๊กไบค์, ไก่ยอ หรือแซลมอน ที่มาของขนมโตเกียวนั้นไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่นอน บ้างก็ว่ามาจากขนมยะสึฮะชิ บ้างก็ว่าน่าจะมาจากขนมโดะระยะกิของญี่ปุ่น บ้างก็ว่ามาจากการที่ผู้ขายละเลงแป้งแล้วบีบแป้งเป็นเส้นคล้ายตัวอักษรญี่ปุ่นด้านข้าง ก่อนจะม้วนแป้ง แต่ที่มาที่เชื่อถือกันมากที่สุดหน้า 32, ไทยแลนด์โอนลี่ 8 อาหารญี่ปุ่นเหล่านี้มีเฉพาะเมืองไทย!.

ใหม่!!: เนยแข็งและขนมโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 14

อะเมซิ่ง เรซ 14 (The Amazing Race 14) เป็นฤดูกาลที่ 14 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 20 นาฬิกา ซึ่งยังคงเป็นคืนวันอาทิตย์ เช่นเดิม และเริ่มออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง เอเอ็กซ์เอ็น ทาง ทรูวิชั่นส์ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 21 นาฬิก.

ใหม่!!: เนยแข็งและดิอะเมซิ่งเรซ 14 · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 18

อะเมซิ่ง เรซ 18 (The Amazing Race 18) เป็นฤดูกาลที่ 18 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในฤดูกาลนี้ทำลักษณะแบบ ทีมรวมดารา โดยเอาทีมต่างๆ จากฤดูกาลที่ 12-17 มาแข่งขันกันใหม่ จากฤดูกาลที่ 11 ใช้ชื่อว่า The Amazing Race: All-Stars (ดิ อะเมซิ่ง เรซ รวมดารา) แต่ในฤดูกาลนี้จะใช้ชื่อว่า The Amazing Race: Unfinished Business (ดิ อะเมซิ่ง เรซ ธุรกิจนี้ยังสะสางไม่เสร็จ) ซึ่งซีบีเอสได้โปรโมทฤดูกาลนี้ทันที โดยอยู่ภายในตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 17 เลยและรวมถึงฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่จะถ่ายทำในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกด้วย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารายการนี้ถ่ายทำยากมาก เนื่องจากช่างกล้องจะต้องวิ่งตามผู้เข้าแข่งขันตลอดและภาพบางภาพในรายการใช้การตัดต่อหรือดึงภาพจากแฟ้มข้อมูลที่เคยมีไว้มาตัดต่อลงไปทำให้อาจมีภาพแบบขนาดความละเอียดมาตรฐานปนอยู่บ้าง โดยทางผู้ผลิตได้กล่าววาจะจัดการปัญหาตรงจุดนี้ให้เหมาะสมอย่างสมดุลและออกอากาศในแบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างแน่นอน และจะมีการจัดฉลองการครบรอบ 10 ปีของรายการซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่มชาสแนปเปิล โดยจะทำการจัดงานวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 (ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ของประเทศไทย) รวมถึงการออกอากาศตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 (ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ของประเทศไทย) ด้วยความยาว 2 ชั่วโมงเป็น 2 เลกสุดท้ายติดต่อกันเนื่องจากเคยมีการหยุดฉายไป 1 สัปดาห์ที่ทางสถานีได้ถ่ายทอดสด คันทรี มิวสิก อาวอร์ด คู่พี่น้องจากฤดูกาลที่ 14 คิชากับเจน ซึ่งได้ลำดับที่ 4 ในฤดูกาลนั้น เป็นผู้ชนะการแข่งขันครั้งนี้ไปรวมถึงทั้งคู่ยังเป็นทีมหญิงล้วนคู่ที่สองที่ชนะรายการนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: เนยแข็งและดิอะเมซิ่งเรซ 18 · ดูเพิ่มเติม »

ครีม

วดนมที่บรรจุครีมเต็มขวด ครีม (cream) คือผลิตภัณฑ์นมที่ประกอบด้วยชั้นไขมันเนยตักออกจากส่วนบนของนมก่อนกระบวนการรวมเป็นเนื้อเดียวกัน (homogenization) ในนมที่ไม่ผ่านกระบวนการนั้น ไขมันซึ่งหนาแน่นน้อยกว่าจะฟูขึ้นด้านบนในที่สุด ในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตครีม กระบวนการนี้จะเร่งด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง เรียกว่า "เครื่องแยก" ในหลายประเทศ ครีมมีขายในหลายเกรดขึ้นกับเนื้อไขมันเนยรวม ครีมอาจแห้งและกลายเป็นผงได้ในระหว่างการขนส่งสู่ตลาดระยะไกล ครีมที่ตักออกจากนมอาจเรียกว่า "สวีตครีม" (sweet cream) หรือ "ครีมหวาน" เพื่อแยกตัวจากครีมหางนมที่ตักจากหางนม ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการทำเนยแข็ง ครีมหางนมจะมีเนื้อไขมันต่ำกว่าและมีรสเค็ม เปรี้ยว และ "รสเนย" (cheesy) ครีมที่ผลิตจากวัว (โดยเฉพาะวัวเจอร์ซีย์) ที่กินหญ้าตามทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์จะมีสารแคโรทีนอยด์ธรรมชาติที่สกัดจากพืชที่พวกมันกิน ทำให้ครีมมีสีออกเหลืองอ่อน จึงเรียกสีขาวออกเหลืองดังกล่าวว่า สีครีม ครีมจากนมแพะ หรือจากวัวที่เลี้ยงในที่ร่มให้กินธัญพืช หรือเม็ดอาหารที่สกัดจากธัญพืช จะมีสีขาว.

ใหม่!!: เนยแข็งและครีม · ดูเพิ่มเติม »

คร็อก-เมอซีเยอ

ร็อก-เมอซีเยอ (croque-monsieur) คือแซนด์วิชไส้เนยแข็งและแฮมที่นำไปอบในเตาอบหรือนาบบนกระทะให้ผิวกรอบและเป็นสีน้ำตาล (มักจะทาซอสเบชาแมลหรือโรยเนยแข็งขูดบนขนมปังอีกชั้นหนึ่งก่อนอบ โดยปกติใช้เนยเอ็มเมินทาลหรือกรูว์แยร์เป็นส่วนผสม) คร็อก-เมอซีเยอแบบที่เสิร์ฟโดยมีไข่ดาวหรือไข่ดาวน้ำวางอยู่ข้างบนสุดจะเรียกว่า "คร็อก-มาดาม" (croque-madame) ซึ่งในพื้นที่บางส่วนของนอร์ม็องดีเรียกว่า "ครอกาเชอวาล" (croque-à-cheval) ชื่อ "คร็อก-เมอซีเยอ" มาจากคำกริยา croquer (แปลว่า "เคี้ยวกร้วม ๆ") ประสมกับคำนาม monsieur (แปลว่า "นาย" หรือ "คุณ" ที่เป็นคำนำหน้าชื่อบุคคลชาย) อาหารชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากอาหารว่างที่เสิร์ฟในร้านเครื่องดื่มและบาร์ของประเทศฝรั่งเศส โดยปรากฏเป็นครั้งแรก (เท่าที่สืบค้นได้) ในรายการอาหารของร้านกาแฟในกรุงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 1910.

ใหม่!!: เนยแข็งและคร็อก-เมอซีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

ตุอีล

ตุอีล (tuile) หรือที่คนไทยบางคนเรียกว่า ขนมเบื้องฝรั่งเศส เป็นคุกกี้หรือเวเฟอร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะบางกรอบ มีรสหวานหรือรสกลมกล่อม และทำจากแป้งหรือเนยแข็ง คำว่า ตุอีล ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "กระเบื้อง" สื่อถึงรูปทรงของกระเบื้องลอนมุงหลังคาซึ่งขนมชนิดนี้ควรจะมีลักษณะคล้ายกันเมื่อทำเสร็จ โดยทั่วไปมักใช้ตุอีลเป็นเครื่องตกแต่งขนมหวาน เช่น ปันนาค็อตตา หรือใช้เป็นถ้วยไอศกรีมหรือซอร์เบที่กินได้.

ใหม่!!: เนยแข็งและตุอีล · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจัยสี่

ปัจจัยสี่ เป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น โดยปัจจัยทั้งสี่อย่างนี้มนุษย์ไม่สามารถขาดได้ เพราะเมื่อขาดแล้วอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ปัจจัยสี่ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เนยแข็งและปัจจัยสี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปาร์มา

ปาร์มา (Parma) เป็นเมืองในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา จังหวัดปาร์มา ประเทศอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านการผลิตแฮม,ชีส และด้านสถาปัตยกรรม เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยปาร์มา และสโมสรฟุตบอลปาร์มา มีประชากร 184,044 คน (ค.ศ.2009) หมวดหมู่:เมืองในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา หมวดหมู่:ปาร์มา.

ใหม่!!: เนยแข็งและปาร์มา · ดูเพิ่มเติม »

ปานีร์

ปานีร์ (Paneer;ਪਨੀਰ; ภาษาฮินดี และภาษาเนปาลี पनीर panīr; Պանիր panir; پنير; پەنییر penîr; پنير panir; peynir) เป็นชีสสดชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและภาคตะวันออก โดยในอินเดียภาคเหนือเรียกเชนะ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้รับประทานมังสวิรัตน์เพราะไม่ใช้เอนไซม์จากตับลูกวัวมาช่วยในการแข็งตัว แต่ใช้น้ำมะนาว น้ำส้มหรือหางนมจากการทำปานีร์ครั้งก่อนหน้าใส่ลงในนมที่ต้มจนเดือดแล้วคนไปในทางเดียวกัน นมจะตกตะกอนเป็นก้อน เมื่อบีบน้ำออกและกดทับให้แข็ง จะได้ปานีร์ ในอินเดียใช้ปานีร์ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงใส่ถั่วลันเตา แกงใส่ผักปวยเล้ง รัสมาลัย ปานีร์ย่างหรือข้าวหมกปานีร์ เป็นต้น คำว่าปานีร์มีต้นกำเนิดมาจากภาษาเปอร์เซีย คำใน ภาษาดุรกี peynir คำใน ภาษาเปอร์เซีย panir คำใน ภาษาอาเซอร์ไบจาน panir, และคำใน ภาษาอาร์เมเนีย panir (պանիր) ล้วนมาจากคำว่า "paneer" ซึ่งหมายถึงเนยชนิดหนึ่ง จุดกำเนิดของปานีร์ยังเป็นที่โต้เถียง ทั้งอินเดียในยุคพระเวท ชาวอัฟกัน ชาวอิหร่าน ชาวเบงกอล และชาวอินเดียเชื้อสายโปรตุเก.

ใหม่!!: เนยแข็งและปานีร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.

ใหม่!!: เนยแข็งและปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ปีซังโกเร็ง

ปีซังโกเร็ง ปีซังโกเร็ง (pisang goreng) อาหารว่างของชาวอินโดนีเซียและมลายูชนิดหนึ่ง เป็นกล้วยทอดในน้ำมันเดือด โดยชุบกับแป้งคล้ายกับกล้วยแขกหรือกล้วยทอดของไทย ต่างกันเพียงไม่ใส่มะพร้าวและงา และทอดทั้งลูกไม่ได้ฝานบางอย่างกล้วยแขก ปีซังโกเร็งจัดเป็นอาหารที่หารับประทานง่ายและมีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ตามข้างถนนหรือตามรถเข็นต่าง ๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโกเรงัน (gorengan) คือ อาหารประเภทชุบแป้งทอดกับน้ำมันเดือด ๆ ในวัฒนธรรมอาหารอย่างอินโดนีเซีย ปีซังโกเร็งแต่ดั้งเดิมมิใช่อาหารพื้นเมืองของท้องถิ่นแถบนี้ แต่เป็นชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในดินแดนแถบนี้เห็นว่ากล้วยเป็นพืชพื้นเมืองที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงนำมาชุบแป้งทอดรับประทานเป็นอาหารเช้า สันนิษฐานว่ากล้วยแขกหรือกล้วยทอดของไทยก็น่าจะมีที่มาจากปีซังโกเร็งด้วย โดยคำว่า "ปีซัง" (pisang) เป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่า "กล้วย" ขณะที่ "โกเร็ง" (goreng) แปลว่า "ทอด" นอกจากนี้แล้วยังมีปีซังโกเร็งอีกชนิดหนึ่ง คือ ปีซังโมเลิน (pisang molen) คำว่า "โมเลิน" (molen) เป็นภาษาดัตช์แปลว่า "โม่" โดยหมายถึง แป้งโดที่ห่อไว้ด้านนอก ปีซังโมเลินเป็นปีซังโกเร็งชนิดหนึ่ง ที่ใช้แป้งห่อหุ้มกล้วยอยู่ด้านนอก จากนั้นจึงนำไปทอดทั้งลูกโดยไม่ต้องฝานให้บาง โดยแป้งที่ใช้ห่อทำมาจากแป้งสาลี, ไข่, น้ำตาลทราย, มาร์การีน และน้ำเย็น นวดผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นรีดเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วตัดเป็นเส้น แล้วนำมาห่อหุ้มกล้วยให้มิดด้วยการพับ โดยกล้วยที่ใช้ทอดจะใช้กล้วยน้ำว้าห่าม หั่นตามยาวแบ่งเป็น 4 ส่วน หากใช้กล้วยสุกเมื่อทอดออกมาแล้วจะเละไม่น่ารับประทาน ทั้งปีซังโกเร็งและปีซังโมเลินนิยมรับประทานเป็นอาหารว่างในช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย โดยรับประทานร่วมกับชาร้อนหรือกาแฟร้อนไม่ใส่นม นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบัน ปีซังโมเลินยังได้ประยุกต์ให้ใช้แป้งเดนิชมาหุ้มแทน แล้วใช้ซอสช็อกโกแลตหรือชีสใส่ลงแทนไส้ จากนั้นนำไปอบแทนการทอด ซึ่งปีซังโมเลินแบบนี้จะหารับประทานได้เฉพาะในร้านเบเกอรีเท่านั้น และมีราคาซื้อขายที่แพงกว่าปีซังโมเลินแบบดั้งเดิมหน้า 38, Pisang Molen กล้วยแขกเมืองอิน.

ใหม่!!: เนยแข็งและปีซังโกเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: เนยแข็งและนม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเกลือเข้มข้น

ระหัดวิดน้ำเกลือ (1848) ใน Bad Kissingen ประเทศเยอรมนี ระหัดวิดน้ำเกลือ (1848) ใน Bad Kissingen ประเทศเยอรมนี น้ำเกลือเข้มข้น หรือ ไบรน์ (brine) หมายถึงน้ำที่มีเกลือ (NaCl) ละลายอยู่ในระดับอิ่มตัวหรือใกล้อิ่มตัว น้ำเกลือเข้มข้นสามารถนำไปสู่การตกผลึกของเกลือในการทำนาเกลือ หรือใช้ประโยชน์ในการถนอมอาหาร คือการดองเค็มผัก ปลา และเนื้อสัตว์ต่างๆ สามารถเก็บรักษาเนยแข็งชนิด Halloumi และ Feta ได้ด้วย น้ำเกลือเข้มข้นถูกใช้เป็นของไหลสำหรับการนำพาความร้อนจากสถานที่หนึ่งไปยังอาคารบ้านเรือนในบริเวณภูมิอากาศหนาว เนื่องจากการเพิ่มเกลือในน้ำจะทำให้จุดเยือกแข็งของน้ำลดลงและไม่ทำให้แข็งตัว ที่ความเข้มข้น 23.3% จุดเยือกแข็งของน้ำเกลือจะลดลงไปอยู่ที่ −21 ℃ (252.15 K, −6 ℉) ที่อุณหภูมิ 15.5 ℃ (288.65 K, 60 ℉) น้ำเกลือเข้มข้นที่อิ่มตัวจะมีปริมาณเกลือ 26.4% โดยน้ำหนัก (น้ำเกลือ 100 ดีกรี) และที่อุณหภูมิ 0 ℃ (273.15 K, 32 ℉) น้ำเกลือจะอิ่มตัวที่ 26.3% หมวดหมู่:เกลือ หมวดหมู่:น้ำ หมวดหมู่:อุทกวิทยา.

ใหม่!!: เนยแข็งและน้ำเกลือเข้มข้น · ดูเพิ่มเติม »

แพริโดเลีย

รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ใหม่!!: เนยแข็งและแพริโดเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แล็กโทส

แล็กโทส (lactose) เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ส่วนใหญ่พบในนม ประกอบจากกาแล็กโทสและกลูโคส แล็กโทสเป็นส่วนประกอบราว 2-8% ของนมโดยน้ำหนัก ถึงแม้ว่าปริมาณจะแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ แล็กโทสแตกตัวมาจากหางนมรสหวานหรือเปรี้ยว สำหรับชื่อ "แล็ก" เป็นคำในภาษาละตินแปลว่า "นม" และ "-โอส" ที่เป็นพยางค์ท้ายสำหรับชื่อน้ำตาล เขียนสูตรได้เป็น C12H22O11.

ใหม่!!: เนยแข็งและแล็กโทส · ดูเพิ่มเติม »

แซนด์วิช

แซนด์วิช แซนด์วิช (sandwich) เป็นขนมปังหั่นแบบคู่หนึ่งประกบกัน ตรงกลางมักมีหมูแฮม ชีส ไข่ดาว แตงกวาดอง ทามายองเนส มัสตาร์ด หรือแยม ถ้าเป็นแบบอเมริกันมักใช้ขนมปังทั้งแผ่น บางครั้งปิ้งด้วย ถ้าเป็นแบบอังกฤษมักเป็นชิ้นเล็กๆ แซนด์วิช มีหลากหลายชนิด ที่กินกันโดยทั่วไป จะมี แซนด์วิชแฮมชีส แซนวิชหมูหยองน้ำพริกเผา แซนด์วิชปูอัดมายองเนส แซนด์วิชไก่ แซนด์วิชไข่ คลับแซนด์วิช แซนวิชทูน่าชีส รูปร่างของตัวแซนด์วิชเองก็มีหลากหลาย แซนด์วิชแบบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แบบม้วนเรียกซูชิ แซนด์วิชแบบเย็น แซนด์วิชแบบตัองปิ้งกิน แซนด์วิชแบบอบกิน แซนด์วิชถูกตั้งชื่อตาม จอห์น มอนทากิว เอิร์ลแห่งแซนด์วิช ซึ่งเป็นผู้คิดค้นมันขึ้นม.

ใหม่!!: เนยแข็งและแซนด์วิช · ดูเพิ่มเติม »

โยเกิร์ตกรอง

กิร์ตกรอง (strained yogurt), โยเกิร์ตกรีก (Greek yogurt) หรือ ลับนะฮ์ (لبنة) คือนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตที่ถูกกรองเพื่อแยกเอาหางนมออกไป เหลือแต่เนื้อโยเกิร์ตที่เป็นครีมข้นเสมอกัน โดยมีความข้นอยู่ระหว่างโยเกิร์ตทั่วไปกับเนยแข็ง และยังคงลักษณะเด่นคือรสเปรี้ยวไว้ โยเกิร์ตกรองมักทำจากนมที่ได้รับการเสริมคุณค่าด้วยการต้มจนน้ำบางส่วนระเหยไป และ/หรือด้วยการเติมไขมันเนยและนมผงเพิ่มเข้าไป (เช่นเดียวกับนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตอีกหลายชนิด) โปรตีนในโยเกิร์ตกรองโดยหลัก ๆ จะเป็นโปรตีนประเภทเคซีน 100% เนื่องจากโปรตีนหางนมถูกกำจัดออกไปกับหางนมแล้ว และเนื่องจากแล็กโทสบางส่วนจะถูกดึงออกไประหว่างกระบวนการกรองด้วย โยเกิร์ตชนิดนี้จึงมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่านมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตทั่วไป ในยุโรปและอเมริกาเหนือ โยเกิร์ตกรองมักทำจากโยเกิร์ตพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย โดยบ่อยครั้งได้รับการทำตลาดในอเมริกาเหนือในชื่อ "โยเกิร์ตกรีก" แต่ที่จริงแล้ว โยเกิร์ตที่ผลิตในกรีซไม่ใช่โยเกิร์ตกรองเสียทั้งหมด และโยเกิร์ตกรองทั้งหมดก็ไม่ได้ผลิตขึ้นในกรีซเพียงประเทศเดียว ยังมีการผลิตและรับประทานโยเกิร์ตในลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคลิแวนต์, เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และเอเชียใต้ซึ่งมักจะนำโยเกิร์ตกรองมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร (เนื่องจากโยเกิร์ตชนิดนี้มีปริมาณไขมันมากพอที่จะกันไม่ให้โปรตีนในโยเกิร์ตจับตัวเป็นลิ่มที่อุณหภูมิสูง ๆ) อาหารที่ผสมโยเกิร์ตกรองเหล่านั้นอาจปรุงสุกหรือดิบ และอาจมีรสกลมกล่อมหรือรสหวานก็ได้ ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา โยเกิร์ตกรองเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อเทียบกับโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวทั่วไป มีรายงานในปี..

ใหม่!!: เนยแข็งและโยเกิร์ตกรอง · ดูเพิ่มเติม »

โรตีปราตา

การเตรียมโรตีปราตา โรตีปราตา (Roti prata) เป็นโรตีที่เป็นแผ่นแบน กินกับแกงเนื้อหรือแกงผัก เป็นที่นิยมในมาเลเซียและสิงคโปร์ บางครั้งใส่เนยแข็ง หัวหอม กล้วย ถั่วแดง ช็อกโกแลต เห็ด หรือไข่ อาหารลักษณะคล้ายกันนี้ในมาเลเซียเรียกโรตีจาไน การปรุงโรตีปราตาจะทำแป้งเป็นแผ่นแบน ปรุงสุกบนกระทะเหล็กแบน เครื่องปรุงอื่น เช่นเนื้อสัตว์ หัวหอม และไข่ เนยแข็ง กล้วย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะเติมลงบนแป้งโดระหว่างการปรุง กินกับแกงปลาหรือแกงไก่ บางคนกินกับน้ำตาล.

ใหม่!!: เนยแข็งและโรตีปราตา · ดูเพิ่มเติม »

โอโกโนมิยากิ

อโกโนมิยากิ คือ แพนเค้กแบบญี่ปุ่น ประกอบด้วยส่วนผสมหลายอย่าง ชื่อของโอโกโนมิยากิ มาจากคำว่า โอโกโนมิ แปลว่า "ที่ชอบ" และคำว่า ยากิ แปลว่า "ย่าง" (คำอื่น ๆ เช่น ยากิโตริ คือ "ไก่ย่าง" และยากิโซบะ คือ "โซบะย่าง") โอโกโนมิยากิเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคคันไซและฮิโรชิมะ แต่แพร่หลายไปทั่วประเทศ เครื่องโรยหน้าและซอสมีความไม่เหมือนกันในแต่ละภูมิภาค โอโกโนมิยากิของทางโตเกียวจะมีขนาดเล็กกว่าของทางฮิโรชิมะหรือคันไซ.

ใหม่!!: เนยแข็งและโอโกโนมิยากิ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีนหางนม

ขวดบรรจุโปรตีนหางนมที่มีจำหน่ายทางการค้า โปรตีนหางนม หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า เวย์โปรตีน (Whey protein) คือ โปรตีนที่สกัดได้มาจากนมวัว โดยนมวัวที่คัดแยกจากกระบวนการทำเนยแข็งมาสกัดส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ออกให้เหลือส่วนที่เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้งเพื่อให้อยู่ ในรูปผง โปรตีนหางนม เป็นแหล่งโปรตีนที่มีความสมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งรวมกรดอะมิโน (ที่เป็นหน่วยย่อยของโปรตีน) ที่ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย และดูดซึมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หมวดหมู่:โปรตีน ja:プロテイン#プロテインの種類.

ใหม่!!: เนยแข็งและโปรตีนหางนม · ดูเพิ่มเติม »

ไลนิโซลิด

ลนิโซลิด (Linezolid) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ไลนิโซลิดสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกได้เกือบทุกสายพันธ์ุ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียในสกุลสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus), สกุลเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus; VRE), และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus; MRSA) ส่วนมากแล้วมักใช้ยานี้ในการรักษาโรคติดเชื้อดังข้างต้นบริเวณผิวหนังและในปอด อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจถูกใช้ในโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นได้เช่นกัน เช่น วัณโรคที่ดื้อต่อยารักษาวัณโรคสูตรปกติ โดยยานี้สามารถบริหารยาได้ทั้งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous) และการรับประทาน การใช้ยาไลนิโซลิดในระยะเวลาสั้นนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง หรือโรคตับอักเสบ อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ในช่วงสั้น ได้แก่ ปวดศีรษะ, ท้องเสีย, ผื่น, และอาเจียน ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome), การกดไขกระดูก (Bone marrow suppression) และภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก (lactic acidosis) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อใช้ยาไลนิโซลิดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ ในบางครั้งการใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทส่วนปลายจนไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งรวมถึงการทำลายเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของการมองเห็นด้วย ไลนิโซลิดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในยากลุ่มออกซาโซลิโดน (Oxazolidone) เนื่องจากยาดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้ยาดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีนาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนกับไลนิโซลิด แต่โดยแท้จริงแล้ว ไลนิโซลิดนั้นมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างไปจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่น กล่าวคือ ยาดังกล่าวจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งขั้นตอนแรกในการสร้างโปรตีน ในขณะที่ยาปฏิชีวนะอื่นนั้นจะออกฤทธิ์ในขั้นตอนที่เป็นลำดับถัดมา ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่นนี้ ทำให้อุบัติการณ์การดื้อต่อยาไลนิโซลิดของเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ข้อมูล ปี ค.ศ. 2014) ไลนิโซลิดถูกค้นพบในช่วงกลางทศวรรต 1990 และได้รับการรับรองให้มีการผลิตเชิงการค้าในปี..

ใหม่!!: เนยแข็งและไลนิโซลิด · ดูเพิ่มเติม »

ไทยากิ

ทยากิ ("ปลาจานย่าง") คือขนมญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง เป็นเค้กรูปทรงปลาจาน ไส้มีรสหวาน โดยมากจะสอดไส้ถั่วแดงอาซูกิ บ้างก็สอดไส้คัสตาร์ด, ช็อกโกแลต, ชีส หรือมันฝรั่งหวาน ร้านค้าบางแห่งมักจะขายไทยากิร่วมกับโอโคโนมิยากิ, เกี๊ยวซ่า และไส้กรอก.

ใหม่!!: เนยแข็งและไทยากิ · ดูเพิ่มเติม »

เบเกิล

กิลกับครีมชีส และ ปลาแซลมอนรมควัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของครัวอเมริกัน-ยิว เบเกิล (bagel, beigel) กำเนิดในประเทศโปแลนด์ มีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ทำจากแป้งสาลี ขนาดประมาณ 1 กำมือ นำไปต้มในน้ำเดือดสักพักหนึ่ง แล้วนำไปอบต่อ จะได้เนื้อภายในที่แน่นและนิ่ม กับเนื้อภายนอกสีอมน้ำตาล มักโรยหน้าด้วยงาดำ บ้างอาจโรยเกลือบนเบเกิล ทั้งยังมีแป้งประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวไรย์ หรือแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสีEncyclopædia Britannica (2009), retrieved February 24, 2009 from Encyclopædia Britannica Online เบเกิลเป็นที่นิยมในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรชาวยิวอาศัยจำนวนมาก วิธีการทำเบเกิลนั้นมีหลากหลาย เช่น เบเกิลที่ทำในเบเกอรี หรือเบเกิลประเภทแช่แข็งที่หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น เบเกิลชนิดที่เป็นวงกลมและมีรูตรงกลางออกแบบมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากการอบ ยังสามารถหยิบจับง่ายและยังเป็นจุดเด่นทำให้น่าสนใจอีกด้ว.

ใหม่!!: เนยแข็งและเบเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เกซาดิยา

กซาดิยา (quesadilla) เป็นอาหารเม็กซิโกและอาหารเท็กซ์-เม็กซ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแผ่นตอร์ติยาแป้งข้าวโพดหรือตอร์ติยาแป้งสาลี ใส่ไส้หลากชนิด โดยหลัก ๆ ได้แก่เนยแข็งขูดและส่วนผสมที่เป็นเนื้อสัตว์และ/หรือผักต่าง ๆ ซึ่งปรุงสุกแล้ว จากนั้นพับให้เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง แล้วนำไปนาบทั้งสองด้านในกระทะพื้นร.

ใหม่!!: เนยแข็งและเกซาดิยา · ดูเพิ่มเติม »

เวลช์แรร์บิต

วลช์แรร์บิต (Welsh rarebit) หรือ เวลช์แรบบิต (Welsh rabbit, "กระต่ายเวลส์") เป็นอาหารประเภทแซนด์วิชชนิดหนึ่งซึ่งนิยมบริโภคในสหราชอาณาจักร เวลช์แรร์บิตมีสองประเภท ประเภทที่หนึ่งคือ แผ่นขนมปังปิ้ง ซึ่งนำมาโรยหน้าด้วยเนยแข็งที่ละลายแล้วกับส่วนประกอบอื่นๆ ส่วนประเภทที่สองคือ เนยแข็งเหลวร้อนใส่ชาม แล้วนำมารับประทานกับขนมปัง เวลช์แรร์บิตโดยมากทำจากเนยแข็งเชดดา ซึ่งไม่เหมือนกับฟงดูว์ของยุโรปภาคพื้นทวีป ที่ใช้เนยแข็งสวิส คำว่า เวลช์แรร์บิต นั้น เริ่มมีการใช้ในบริเตนใหญ่มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: เนยแข็งและเวลช์แรร์บิต · ดูเพิ่มเติม »

เดอะซิมส์ 2

อะซิมส์ 2 (The Sims 2) เป็นเกมคอมพิวเตอร์ประเภทแบบจำลองชีวิตคน (Strategic Life Simulation Computer Game) เป็นเกมส์ภาคต่อจากเกมส์ เดอะซิมส์ ภาคแรก พัฒนาโดย แมกซิส และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอิเล็กโทรนิคอาร์ต (EA Games) เป็นเกมส์จำลองเช่นเดียวกับภาคแรกซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยมีมาร์ก มาเธอร์สบาฟ เป็นผู้แต่งเพลงประกอบเกมนี้ ตัวละครที่อยู่ในเกมเดอะซิมส์ (ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง) นั้นเรียกว่า ชาวซิม.

ใหม่!!: เนยแข็งและเดอะซิมส์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ใหม่!!: เนยแข็งและเคซีน · ดูเพิ่มเติม »

เคโซงปูติ

ซงปูติ เคโซงปูติ (kesong putî) เป็นเนยแข็งชนิดหนึ่งในฟิลิปปินส์ ชื่อมาจากภาษาตากาล็อก แปลตรงตัวว่า "เนยขาว" เป็นเนยสีขาว นุ่ม ทำจากนมควายที่ไม่ได้สกัดไขมันออก เกลือ และเรนเนต เมื่อเปรียบเทียบกับเนยแข็งชนิดอื่น เคโซงปูติมีลักษณะนุ่ม รสเค็มเล็กน้อย แบบที่ผลิตเพื่อการค้าจะมีรสเปรี้ยวเล็กน้อยเพราะใช้น้ำส้มสายชูแทนเรนเนต ต้นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดบูลาคัน เซบู ลากูนา และซามาร์ ในฟิลิปปินส์นิยมกินเป็นอาหารเช้ากับขนมปังพื้นบ้านที่อบใหม่ ๆ เรียกปันเดซัล.

ใหม่!!: เนยแข็งและเคโซงปูติ · ดูเพิ่มเติม »

เค้ก

้ก (cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีลักษณะหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้งสาลี, น้ำตาลเทียม และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ไข่, แป้งสาลี, ผัก, ผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว เป็นต้น หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย, ชีส, ยีสต์, นม, เนยเทียม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนมาก อีกทั้งตำรับการทำเค้กบางสูตรก็มีการสืบทอดการทำเป็นเวลาหลายศตวรรษ และเค้กนั้นยังเป็นอาหารหวานที่นิยมไปทั่วโลกอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้สนใจที่อยากจะเรียนทำเค้กเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น เรียนเพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพเปิดร้านเค้ก เป็นต้น.

ใหม่!!: เนยแข็งและเค้ก · ดูเพิ่มเติม »

เนย

นย เนย (Butter) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม แบ่งเป็น เนยเหลว และเนยแข็ง.

ใหม่!!: เนยแข็งและเนย · ดูเพิ่มเติม »

เนสท์เล่

ตราสัญลักษณ์ของเนสท์เล่ เนสท์เล่ (Nestlé) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านโภชนาการและสุขภาพ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เนยแข็งและเนสท์เล่ · ดูเพิ่มเติม »

Salmonella

Salmonella เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปท่อนไม่สร้างสปอร์ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยที่สุด และจำนวนแบคทีเรียชนิดนี้ในอาหารเพียงเล็กน้อยทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิในขอบเขตระหว่าง 8-45 องศาเซลเซียส ในอาหารที่มีความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 4-9 อาหารที่มาจากสัตว์เช่นเนื้อสัตว์ดิบ/ปรุงไม่สุก หรือซากเป็ดไก่ ไข่ดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีไข่ดิบ นมดิบหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และผลิตภัณฑ์จากนมเช่น เนย ไอศกรีม เนยแข็งและผักบางชนิด สามารถนำเชื้อก่อโรค Salmonella จากสัตว์มาสู่คนได้ การใช้น้ำที่สกปรกทางการเกษตรหรือใช้ล้างอาหารสดทำให้เกิดการปนเปื้อนได้เช่นกัน อาการของอาหารเป็นพิษที่เกิดจาก Salmonella เป็นเช่นเดียวกับจุลินทรีย์ที่มาจากระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เกี่ยวข้องกับอาการถ่ายเป็นน้ำ อาเจียน ปวดท้องและมีไข้ เฉพาะโดยการทดสอบจุลินทรีย์ในอุจจาระของคนจึงจะจำแนกเชื้อที่ก่อโรคได้ ทำให้เกิดไข้ไทฟอยด์ การติดเชื้อ Salmonella สามารถส่งผ่านระหว่างคน และระหว่างคนกับสัตว์ได้.

ใหม่!!: เนยแข็งและSalmonella · ดูเพิ่มเติม »

The China Study

หนังสือ The China Study (แปลว่า งานวิจัยในเมืองจีน, พิมพ์ปี ค.ศ. 2005) มีผู้เขียน 2 คนคือ.

ใหม่!!: เนยแข็งและThe China Study · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ชีสชีส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »