โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจมส์ จอยซ์

ดัชนี เจมส์ จอยซ์

มส์ จอยซ์ เจมส์ จอยซ์ (James Joyce) (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882 – 13 มกราคม ค.ศ. 1941) เป็นนักเขียนชาวไอริช เกิดในเมืองดับลิน แต่ไปจากบ้านเกิดตั้งแต่ยังหนุ่ม ซึ่งต้องการหลีกหนีจากปัญหาสังคมและเรื่องศาสนา โดยไปอาศัยอยู่ที่ปารีส งานเขียนที่สำคัญได้แก่ “ยูลิสซีส” (ค.ศ. 1922) และ Finnegans Wake (ค.ศ. 1939) เจมส์ จอยซ์ มีงานเขียนสามชิ้นที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม “นวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี” (Modern Library 100 Best Novels) ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ทำโดย Modern Library.

26 ความสัมพันธ์: ชาวไอริชฟอร์ด แมดด็อกซ์ ฟอร์ดพาลินโดรมภาพชีวิตวัยเยาว์ของศิลปินมโนสำนึกของฟินเนกันยวน แม็คเกรเกอร์ยูลิสซีสรายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาลรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมวิลเลียม ฟอล์คเนอร์วิลเลียม มอร์ริสศัพท์เฉพาะกิจอลิซ มุนโรอัปแซ็งต์อันตอน เชคอฟอุมแบร์โต เอโกจอร์จ กอร์ดอน ไบรอน บารอนไบรอนที่ 6จินตภาษาซอล เบลโลว์ซามูเอล เบ็คเค็ทท์นวนิยายอิงอัตชีวประวัตินะญีบ มะห์ฟูซแจ็ก เครูแอ็กเวอร์จิเนีย วูล์ฟเจฟฟรีย์ ยูจินนีดีสเจมส์

ชาวไอริช

วไอริช (Muintir na hÉireann หรือ na hÉireannaigh หรือ na Gaeil, Irish people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยุโรปตะวันตกที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีไอร์แลนด์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษยชนมาราว 9,000 ปีโดยมีบรรพบุรุษของชาวไอริช ที่เป็นชนเนเมเดียน (Nemedians), ชนโฟโมเรียน (Fomorians), Fir Bolgs, Tuatha Dé Danann และ ชนมิเลเซียน (Milesians) (ตามตำนาน - ไม่มีหลักฐานบันทึกเป็นอักษรก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6)—กลุ่มสุดท้ายกล่าวกันว่าเป็นกลุ่มที่เป็นบรรพบุรุษเกลลิคที่แท้จริง และยังคงใช้เป็นคำที่เรียกชนไอริชจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์หลักที่มีการติดต่อกับชาวไอริชในยุคกลางก็ได้แก่ชาวสกอต และ ไวกิง และ ชาวไอซ์แลนด์โดยเฉพาะที่มีเชื้อสายไอริช การรุกรานของแองโกล-นอร์มันในยุคกลางตอนกลาง, การก่อตั้งดินแดนของอังกฤษ และต่อมาการปกครองโดยอังกฤษเป็นการนำกลุ่มชนนอร์มัน, เวลช์, เฟลมมิช, แองโกล-แซ็กซอน และ เบรทอน เข้ามาในไอร์แลนด์ ชาวไอริชที่มีชื่อเสียงก็มีมาตลอดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อนักบวชไอริชและนักเผยแพร่ศาสนาโคลัมบานัสผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งยุโรป” คนหนึ่ง ตามด้วยนักบุญคิลเลียน และ เวอร์กิลเลียสแห่งซอลซบวร์ก นักวิทยาศาสตร์โรเบิร์ต บอยล์ผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาเคมี” นักสำรวจผู้มีชื่อเสียงที่เป็นชาวไอริชก็ได้แก่เบรนดันนักเดินเรือ (Brendan the Navigator), เอิร์นเนสต์ แช็คเคิลตัน (Ernest Shackleton) และ ทอม ครีน (Tom Crean) ในด้านวรรณกรรมชาวไอริชก็เป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่รวมทั้งโจนาธาน สวิฟท์, จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์, ออสคาร์ ไวล์ด และ เจมส์ จอยซ.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และชาวไอริช · ดูเพิ่มเติม »

ฟอร์ด แมดด็อกซ์ ฟอร์ด

ฟอร์ด แมดด็อกซ์ ฟอร์ด (Ford Madox Ford; 17 ธันวาคม ค.ศ. 1873 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1939) เป็นนักเขียนและกวีชาวอังกฤษ มีผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ The Good Soldier ซึ่ง The Observer ยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "นิยาย 100 เรื่องที่ดีที่สุดตลอดกาล" และ The Guardian ยกให้เป็นหนึ่งใน "นิยาย 1000 เรื่องที่ทุกคนควรอ่าน".

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และฟอร์ด แมดด็อกซ์ ฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

พาลินโดรม

ลินโดรม (Palindrome) คือคำ วลี จำนวนหรือลำดับที่สามารถอ่านจากหลังไปหน้าหรือหน้าไปหลังแล้วมีความหมายเหมือนกัน เช่น ยาย, นาน, กนก, นอน, รรรรรร (ระ รัน รอน) จำนวนเช่น 919 818 พาลินโดรมไม่ได้มีแค่แบบเป็นคำหรือวลีเท่านั้นแต่ยังมีแบบเป็นประโยคขนาดยาวเช่น A man, a plan, a canal, Panama!", "Was it a car or a cat I saw?" หรือ "No 'x' in Nixon" เป็นต้น คำว่าพาลินโดรมนั้นถูกสร้างขึ้นโดยเบน โจนสันนักเขียนบทละครและนักแสดงชาวอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 17 โดย palin มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า (πάλιν) ที่แปลว่า"อีกครั้ง" ส่วน dromos (δρόμος) ที่แปลว่า "ทาง, ทิศทาง".

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และพาลินโดรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพชีวิตวัยเยาว์ของศิลปิน

ีวิตวัยเยาว์ของศิลปิน (A Portrait of the Artist as a Young Man) เป็นนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์ ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ดิอีโกอิสต์ (The Egoist) ระหว่างปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และภาพชีวิตวัยเยาว์ของศิลปิน · ดูเพิ่มเติม »

มโนสำนึกของฟินเนกัน

มโนสำนึกของฟินเนกัน (Finnegans Wake) เป็นนวนิยายชวนขัน (Comic novel) และงานชิ้นสุดท้ายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์ ที่เขียนโดยใช้ลักษณะการเขียนแบบทดลอง ที่มีผลให้ได้ชื่อว่าเป็นงานวรรณกรรมนวนิยายชิ้นที่ยากแก่การเข้าใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของภาษาอังกฤษ จอยซ์ใช้เวลาถึง 17 ปีในการเขียนงานชิ้นนี้ในปารีส และในที่สุดก็ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1939 สองปีก่อนที่จอยซ์จะเสียชีวิต หนังสือทั้งเล่มเขียนโดยใช้จินตภาษา (idioglossia/idiosyncratic language) ที่ประกอบด้วยการเล่นคำ และคำสมาสที่จอยซ์สร้างขึ้นเอง (จินตสมาส (portmanteau)) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สร้างบรรยากาศของจิตสำนึกที่อยู่ในสภาพระหว่างการหลับและการฝันMercanton, James (1967).

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และมโนสำนึกของฟินเนกัน · ดูเพิ่มเติม »

ยวน แม็คเกรเกอร์

วน กอร์ดอน แม็คเกรเกอร์ (Ewan Gordon McGregor) เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1971 เป็นนักแสดงชายชาวสก็อตแลน.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และยวน แม็คเกรเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูลิสซีส

ูลิสซีส (Ulysses) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์ ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเป็นตอนๆ ในนิตยสารอเมริกัน “The Little Review” ตั้งแต่เดืยนมีนาคม..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และยูลิสซีส · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล

ในหลายสังคมได้มีการห้ามหนังสือบางเล่ม รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาลที่ปรากฏข้างล่างนี้เป็นเพียงบางส่วนของรายชื่อหนังสือทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามโดยรัฐบาลด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การห้ามอาจจะเป็นการห้ามระดับชาติหรือระดับรองและบางครั้งอาจจะมีโทษทางกฎหมายถ้าละเมิด นอกจากการห้ามทางกฎหมายแล้วก็อาจจะเป็นการห้ามโดยสถาบันศาสนาโดยการห้ามไม่ให้ผู้นับถือศาสนาอ่านหนังสือที่ห้าม แต่โดยปราศจากโทษทางอาญา แต่บางครั้งการห้ามก็อาจจะได้รับการยกเลิกเมื่อมีการท้าทายกันในศาล และศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการห้ามเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหม.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และรายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม

รางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม เป็นหนึ่งในรางวัลออสการ์โดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ที่มอบให้กับผู้เขียนบทภาพยนตร์ ซึ่งบทภาพยนตร์ที่จะถือว่าเป็นบทภาพยนตร์ดัดแปลงนั้นต้องแต่งขึ้นจากเค้าเรื่องที่มีอยู่แล้ว เช่น นวนิยาย บทละคร เรื่องสั้น หรือแม้แต่ภาพยนตร์เรื่องอื่น (รางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมเป็นสาขารางวัลที่ใกล้เคียงกัน).

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฟอล์คเนอร์

วิลเลียม ฟอล์คเนอร์ (William Faulkner) (25 กันยายน ค.ศ. 1897 - 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1962) วิลเลียม ฟอล์คเนอร์เป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นคนสำคัญชาวอเมริกัน ฟอล์คเนอร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และวิลเลียม ฟอล์คเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม มอร์ริส

วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) (24 มีนาคม ค.ศ. 1834 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1896) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักสังคมนิยมชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของ British Arts and Crafts movement และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นกวีและนักประพันธ์นวนิยายด้วย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบลวดลายบนผนัง มอร์ริสเคยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นสถาปนิก ต่อมาจึงพบว่าตัวเองชอบศิลปะการวาดมากกว่า มอร์ริสได้ตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อน และสร้างงานศิลปะเช่น ภาพวาดบนกระจกสี.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และวิลเลียม มอร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

ศัพท์เฉพาะกิจ

ัพท์เฉพาะกิจ (Nonce word) คือคำที่ใช้เพียงครั้งเดียว ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่งโดยไม่หวังที่จะใช้ต่อไปอีกหลังจากนั้น เช่นคำว่า “Quark” ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะกิจในภาษาอังกฤษที่ใช้โดยเจมส์ จอยซ์เท่านั้นใน “มโนสำนึกของฟินเนกัน” ที่ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และศัพท์เฉพาะกิจ · ดูเพิ่มเติม »

อลิซ มุนโร

อลิซ แอนน์ มุนโร (Alice Ann Munro; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 — ปัจจุบัน) เป็นนักประพันธ์ชาวแคนาดาผู้มีผลงานเขียนในภาษาอังกฤษ งานของมุนโรได้รับการอธิบายว่ามีการปฏิวัติโครงสร้างของเรื่องสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะเฉพาะในการเดินหน้าและย้อนกลับของห้วงเวลา เรื่องต่าง ๆ ที่ตราตรึงของเธอมีมากเกินกว่าที่ได้ประกาศ หรือเปิดเผยได้เสียยิ่งกว่าขบวนแห่ เรื่องแต่งของมุนโรโดยส่วนใหญ่มักจะมีฉากในบ้านเกิดของเธอ ซึ่งก็คือฮูรอนคันทรีในเซาธ์เวสเทิร์นออนแทรีโอ เรื่องราวต่าง ๆ ของเธอแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของมนุษย์ในรูปแบบร้อยแก้วที่ไม่ซับซ้อน การเขียนของมุนโรได้รับการจัดให้อยู่ในฐานะ "หนึ่งในนักเขียนเรื่องแต่งร่วมสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเรา" ประดุจดั่งซินเทีย โอซิก ได้เขียนเพิ่ม และเสมือนเป็น "เชคอฟของพวกเรา" ทั้งนี้ เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และอลิซ มุนโร · ดูเพิ่มเติม »

อัปแซ็งต์

แก้วและช้อนที่ใช้เพื่อละลายน้ำตาลก้อนลงไปในอัปแซ็งต์ ภาพเขียน ''ภูตเขียว'' โดยอาลแบร์ แมญ็อง (ค.ศ. 1895) แสดงภาพกวีคนหนึ่งที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภูตเขียว อัปแซ็งต์ (absinthe) เป็นเหล้าอาหนีชนิดหนึ่ง กลั่นจากสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ดอกและใบของพรรณไม้ชนิด Artemisia absinthium ร่วมกับเมล็ดเทียนสัตตบุษย์, เมล็ดผักชีล้อม และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาหรือทำอาหาร แต่เดิมจะมีสีเขียวตามธรรมชาติ แต่อาจไม่มีสีก็ได้ วรรณคดีตะวันตกเรื่องต่าง ๆ มักเรียกเหล้าชนิดนี้ว่า "เจ้าภูตเขียว" (la fée verte) ตามธรรมเนียมแล้ว อัปแซ็งต์จะถูกบรรจุขวดโดยมีปริมาณแอลกอฮอล์โดยปริมาตรในระดับสูง โดยได้รับการอธิบายว่าเป็นเครื่องดื่มกลั่นที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 45–74 โดยปริมาตร แต่ตามปกติก็ถูกทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนบริโภค แม้ว่าบางครั้งอัปแซ็งต์จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเหล้าหวาน (liqueur) แต่ก็ไม่มีการบรรจุอัปแซ็งต์ลงขวดโดยเติมน้ำตาลเพิ่ม ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นเหล้า (spirit) ชนิดหนึ่ง อัปแซ็งต์มีต้นกำเนิดในรัฐเนอชาแตลของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูงในฐานะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในฝรั่งเศสช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ศิลปินและนักเขียนชาวปารีส แต่เนื่องจากเหล้าชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องบางอย่างกับวัฒนธรรมโบฮีเมีย การบริโภคอัปแซ็งต์จึงถูกต่อต้านจากนักอนุรักษนิยมทางสังคมและผู้นิยมหลักการห้าม (prohibitionism) แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่านักเขียน กวี จิตรกร และนักประพันธ์ดนตรีหลายคนต่างเป็นนักดื่มอัปแซ็งต์ เช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, เจมส์ จอยซ์, ชาร์ล โบดแลร์, ปอล แวร์แลน, อาร์ตูร์ แร็งโบ, อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อาเมเดโอ โมดิลยานี, ปาโบล ปีกัสโซ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค, ออสการ์ ไวลด์, มาร์แซล พรุสต์, แอลัสเตอร์ โครว์ลีย์, เอริก ซาตี, เอดการ์ แอลลัน โพ, ลอร์ด ไบรอน, อาลแฟรด ฌารี เป็นต้น, Sarasota Herald-Tribune, September 18, 2008 ในอดีต อัปแซ็งต์มักได้รับการพรรณนาว่าเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสารก่อประสาทหลอนที่มีอันตรายมาก โดยเชื่อกันว่าสารประกอบเคมีชนิดหนึ่งชื่อทูโจน (thujone) เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว เมื่อถึงปี ค.ศ. 1915 อัปแซ็งต์ถือเป็นของต้องห้ามในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าอัปแซ็งต์จะถูกกล่าวหาเช่นนั้น แต่ก็ไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่ามันมีอันตรายมากกว่าเหล้าธรรมดาแต่อย่างใด ผลการวิจัยในยุคหลังแสดงให้เห็นว่าในอัปแซ็งต์มีสารทูโจนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสมบัติการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของอัปแซ็งต์ (นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์) ก็ถูกขยายให้เกินความจริง การฟื้นฟูการผลิตอัปแซ็งต์เริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายอาหารและเครื่องดื่มของสหภาพยุโรปซึ่งกำจัดอุปสรรคที่มีมายาวนานต่อการผลิตและการจำหน่าย เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีอัปแซ็งต์เกือบ 200 ยี่ห้อได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 12 ประเทศ ที่เด่นที่สุดได้แก่ ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, สเปน และเช็กเกี.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และอัปแซ็งต์ · ดูเพิ่มเติม »

อันตอน เชคอฟ

อันตอน ปัฟโลวิช เชคอฟ (Анто́н Па́влович Че́хов Anton Pavlovich Chyekhov, Anton Chekhov) (29 มกราคม ค.ศ. 1860 - (15 กรกฎาคม ค.ศ. 1904) อันตอน เชคอฟเป็นนายแพทย์, นักเขียนเรื่องสั้น และ นักเขียนบทละครคนสำคัญชาวรัสเซีย ผู้ถือกันว่าเป็นนักเขียนผู้มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของวรรณกรรมเรื่องสั้น เชคอฟเขียนบทละครสี่เรื่องที่ถือกันว่าเป็นงานคลาสสิกโดยนักเขียนและนักวิพากษ์วรรณกรรม"Stories… which are among the supreme achievements in prose narrative." George Steiner's review of The Undiscovered Chekhov, in The Observer, 13 May 2001. Retrieved 16 February 2007. ระหว่างที่ทำงานเขียนเชคอฟก็ยังเป็นนายแพทย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน ครั้งหนึ่งเชคอฟเปรียบการเป็นแพทย์กับการเขียนว่า "การแพทย์เป็นภรรยาตามกฎหมายและการเขียนเป็นภรรยาน้อย" เชคอฟหันหลังให้กับโรงละครเมื่อบทละครเรื่อง The Seagull (นกนางนวล) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1896 ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า แต่ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีเมื่อถูกนำกลับมาแสดงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1898 โดยโรงละครศิลปะมอสโคว์ของคอนแสตนติน สตานิสสลาฟสกี (Constantin Stanislavski) ซึ่งต่อมาก็สร้างละคร Uncle Vanya (ลุงวานยา) และสร้างละครสองเรื่องสุดท้ายของเชคอฟเป็นครั้งแรก Three Sisters (สามศรีพี่น้อง) และ The Cherry Orchard (สวนเชอร์รี) งานบทละครสี่ชิ้นนี้เป็นงานที่ท้าทายนักแสดง และผู้ชมเพราะแทนที่จะเป็นการสื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชคอฟใช้ "บรรยากาศ" (theatre of mood) และ "ฝังชีวิตลงในเนื้อหา" (submerged life in the text) ในระยะแรกเชคอฟเขียนเรื่องสั้นเพื่อหารายได้ แต่เมื่อแรงบันดาลใจทางด้านศิลปะเริ่มก่อตัวขึ้น เชคอฟก็เริ่มใช้วิธีใหม่ที่เป็นการปฏิรูปการเขียนเรื่องสั้นสมัยใหม่ ความเป็นเอกลักษณ์ของเชคอฟอยู่ที่การเป็นผู้เริ่มใช้วิธีเขียนที่เรียกว่า "การเขียนตามกระแสสำนึก" (stream of consciousness writing) ที่ต่อมานำมาใช้โดยเจมส์ จอยซ์ และนักเขียนแบบวรรณกรรมสมัยใหม่นิยม (Modernist literature) คนอื่นๆ ที่มารวมกับการไม่ยอมสรุปความเห็นทางด้านจริยธรรม ตามธรรมเนียมโครงสร้างของการเขียนวรรณกรรมก่อนหน้านั้น เชคอฟไม่ยอมแก้ตัวแต่อย่างใดในข้อที่ว่าบทละครทีตนเองเขียนเป็นบทละครที่ยากต่อความเข้าใจของผู้อ่าน โดยยืนกรานว่าหน้าที่ของศิลปินคือการตั้งคำถามมิใช่การตอบคำถาม.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และอันตอน เชคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

อุมแบร์โต เอโก

อุมแบร์โต เอโก (Umberto Eco; 5 มกราคม พ.ศ. 2475 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559) เป็นนักเขียน, นักปรัชญา และนักสัญญาณศาสตร์ชาวอิตาลี มีผลงานที่เป็นที่รู้จัก คือ The Name of the Rose.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และอุมแบร์โต เอโก · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ กอร์ดอน ไบรอน บารอนไบรอนที่ 6

จอร์จ กอร์ดอน ไบรอน บารอนไบรอนที่ 6 (George Gordon Byron, 6th Baron Byron) ต่อมาเป็น จอร์จ กอร์ดอน โนเอล บารอนไบรอนที่ 6 (22 มกราคม 1788 - 19 เมษายน 1824) เป็นกวีชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำในขบวนการโรแมนซ์ ในหมู่ไบรอนผลงานที่ดีที่สุดที่รู้จักกันคือ เรื่องเล่าบทกวียาว Don Juan และ Childe Harold's Pilgrimage และบทกวีสั้น ๆ คือ "เธอเดินเข้ามาในความงาม" เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและยังคงผู้คนอ่านกวีของเขาและทำให้เขามีอิทธิพลบทกวี หมวดหมู่:กวีชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และจอร์จ กอร์ดอน ไบรอน บารอนไบรอนที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

จินตภาษา

นตภาษา (Idioglossia) หมายถึงภาษาที่ไร้ความหมาย (idiosyncratic language) ที่ประดิษฐ์ขึ้นและใช้สื่อสารโดยกลุ่มคนเพียงสองหรือสามคน โดยทั่วไปแล้วจินตภาษามักจะหมายถึง “ภาษาส่วนตัว” ของเด็กโดยเฉพาะเด็กฝาแฝด บางครั้งก็เรียกว่า ภาษารหัส (cryptophasia) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ภาษาลูกแฝด” (twin talk หรือ twin speech) เด็กที่เติบโตขึ้นในแวดวงที่ใช้ภาษาหลายภาษามักจะมีแนวโน้มที่จะใช้จินตภาษา แต่จินตภาษามักจะหายไปตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อย ไปยังภาษาที่จะมาใช้ต่อมา นักประพันธ์ชาวไอริชเจมส์ จอยซ์ทดลองการใช้จินตภาษาในนวนิยายเรื่อง “มโนสำนึกของฟินเนกัน” ผสมกับการใช้คำสมาสที่จอยซ์สร้างขึ้นเอง (จินตสมาส (portmanteau)) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สร้างบรรยากาศของจิตสำนึกที่อยู่ในสภาพระหว่างการหลับและการฝันMercanton, James (1967).

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และจินตภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ซอล เบลโลว์

ซอล เบลโลว์ หรือ โซโลมอน เบลโลว์ (Saul Bellow หรือ Solomon Bellows) (10 มิถุนายน ค.ศ. 1915 - 5 เมษายน ค.ศ. 2005) ซอล เบลโลว์เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา เบลโลว์ได้รับทางวรรณกรรมหลายรางวัลที่รวมทั้งรางวัลพูลิตเซอร์ในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และซอล เบลโลว์ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูเอล เบ็คเค็ทท์

ซามูเอล เบ็คเค็ทท์ (Samuel Beckett) (13 เมษายน ค.ศ. 1906 - 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนบทละคร, นักเขียนบทความ และ กวีคนสำคัญชาวไอริช งานของเบ็คเค็ทท์ที่แสดงภาพพจน์อันมืดมนของวัฒนธรรมของมนุษย์ทั้งอย่างเป็นทางการและในทางปรัชญาค่อยกลายมาที่มีลักษณะเป็นงานจุลนิยม (minimalism) มากขึ้นต่อมา ขณะที่เป็นลูกศิษย์ ผู้ช่วย และเพื่อนของเจมส์ จอยซ์ เบ็คเค็ทท์ถือว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนแบบสมัยใหม่นิยมคนสุดท้ายผู้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักเขียนหลายคนต่อมา และบางครั้งก็ถือว่าเป็นนักเขียนคนแรกของสมัยใหม่นิยมสมัยหลัง (Postmodernism) นอกจากก็ยังถือกันว่าเบ็คเค็ทท์เป็นนักเขียนคนสำคัญคนหนึ่งของลักษณะการเขียนที่มาร์ติน เอสส์ลิน (Martin Esslin) เรียกว่า "ละครแปลกวิสัย" (Theatre of the Absurd) ซึ่งทำให้เบ็คเค็ทท์กลายเป็นนักเขียนผู้มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เบ็คเค็ทท์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และซามูเอล เบ็คเค็ทท์ · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ

วิด คอปเปอร์ฟิลด์''” เป็นนวนิยายอิงอัตชีวประวัติของชีวิตของชาร์ลส์ ดิคเก้นส์ นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ (Autobiographical novel) เป็นประเภท (genre) ของนวนิยายที่เนื้อเรื่องมีพื้นฐานมาจากชีวประวัติของผู้ประพันธ์ การเขียนนวนิยายอิงอัตชีวประวัติแตกต่างจากการเขียนอัตชีวประวัติ หรือ บันทึกความทรงจำ (memoir) เพราะเป็นงานที่ระบุว่าเป็นนวนิยายซึ่งหมายความว่าไม่ใช่เรื่องจริง เพราะการที่จัดว่าเป็นงานกึ่งนวนิยายผู้ประพันธ์ก็มิได้หวังที่จะเขียนงานที่มีคุณสมบัติของงานเขียนที่เป็นบันทึกความทรงจำ ชื่อและสถานที่มักจะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมความเป็นนาฏกรรมของเนื้อหาให้มากขึ้น แต่เนื้อหาโดยทั่วไปก็ยังมีพื้นฐานใกล้เคียงกับชีวิตของผู้ประพันธ์ แต่เมื่อบรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นผู้ประพันธ์ก็มิได้พยายามแต่อย่างใดที่จะเขียนให้ตรงต่อความเป็นจริง และบางครั้งก็จะเขียนอย่างเกินเลย หรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะแก่การดำเนินเรื่อง คำว่า “นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ” เป็นคำที่ยากต่อการให้คำนิยาม นวนิยายที่เป็นเรื่องของสถานที่และ/หรือเหตุการณ์ที่ผู้ประพันธ์มีความคุ้นเคยไม่จำเป็นที่อยู่ในข่ายของนวนิยายประเภทนี้ หรือนวนิยายที่มีเนื้อหาบางส่วนที่ดึงมาจากชีวิตของผู้ประพันธ์ที่เป็นโครงเรื่องย่อย การจะถือว่าเป็นนวนิยายอิงอัตชีวประวัติได้นวนิยายต้องประกอบด้วยตัวเอกของเรื่อง (protagonist) ที่ถอดมาจากผู้ประพันธ์และโครงเรื่องที่สะท้อนรายละเอียดของชีวิตของผู้ประพันธ์ “นวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ” (semi-autobiographical novel) งานเขียนบางชิ้นก็เรียกตนเองว่า “นวนิยายเชิงสารคดี” ที่ใช้เป็นครั้งแรกในงานเขียน “In Cold Blood” (ฆาตกรเลือดเย็น) โดยทรูแมน คาโพตีในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และนวนิยายอิงอัตชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

นะญีบ มะห์ฟูซ

นะญีบ มะห์ฟูซ หรือ นะกีบ มะห์ฟูซ (نجيب محفوظ; 11 ธันวาคม ค.ศ. 1911 - 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006) เป็นนักเขียนชาวอียิปต์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และนะญีบ มะห์ฟูซ · ดูเพิ่มเติม »

แจ็ก เครูแอ็ก

แจ็ก เครูแอ็ก (Jack Kerouac ชื่อเกิด Jean-Louis Lebris de Kérouac; 12 มีนาคม ค.ศ. 1922 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1969) เป็นนักเขียนนวนิยายและกวีชาวอเมริกัน เขาถูกมองว่าเป็นผู้คัดค้านการบูชารูปเคารพ และผู้บุกเบิกคนกลุ่มบีตเจเนอเรชัน ร่วมกับวิลเลียม เอส. บาโรส์ และอัลเลน กินส์เบิร์ก เครูแอ็กมีวิธีการเขียนร้อยแก้วตามสัญชาตญาณ ด้านใจความในงานเขียนของเขาจะครอบคลุมกับหัวข้อเช่น จิตวิญญาณคาทอลิก ดนตรีแจ๊ส ความสำส่อน พุทธศาสนา ยาเสพติด ความยากจน และการเดินทาง เขาเป็นคนดังใต้ดินและเป็นผู้ริเริ่มการเคลื่อนไหวฮิปปีร่วมกับคนกลุ่มบีตคนอื่น ๆ แม้ว่าเขายังเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิการเมืองหัวรุนแรงบางกลุ่ม เขาเสียชีวิตใน..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และแจ็ก เครูแอ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิเนีย วูล์ฟ

วอร์จิเนีย วูล์ฟ (Virginia Woolf (ชื่อเดิม Adeline Virginia Stephen)) (25 มกราคม ค.ศ. 1882 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1941) เวอร์จิเนีย วูล์ฟเป็นนักเขียนนวนิยาย, เรื่องสั้น และ บทความ, นักพิมพ์ และผู้สนับสนุนสิทธิสตรี (feminist) คนสำคัญชาวอังกฤษ วูล์ฟถือกันว่าเป็นนักเขียนผู้มีบทบาทสำคัญของวรรณกรรมสมัยใหม่นิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คนหนึ่ง ระหว่างสมัยสองสงครามโลก วูล์ฟเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการวรรณกรรมของลอนดอนและเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ “กลุ่มบลูมสบรี” (Bloomsbury group) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเขียน, ปัญญาชน และศิลปินที่ก่อตัวขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ งานชิ้นสำคัญ ๆ ของวูล์ฟก็ได้แก่นวนิยาย “Mrs Dalloway” (ค.ศ. 1925), “To the Lighthouse” (ค.ศ. 1927) และ “Orlando: A Biography” (ค.ศ. 1928) และบทความขนาดหนังสือ “A Room of One's Own” (ค.ศ. 1929) ที่มีประโยคที่เป็นที่รู้จักว่า “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตนเองถ้าจะเขียนนวนิยาย”.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และเวอร์จิเนีย วูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

เจฟฟรีย์ ยูจินนีดีส

ฟฟรีย์ เคนต์ ยูจินนีดีส (Jeffrey Kent Eugenides; เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2503) เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน เขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี..

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และเจฟฟรีย์ ยูจินนีดีส · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์

มส์ (James) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เจมส์ จอยซ์และเจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

James Joyce

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »