โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุปลักษณ์

ดัชนี อุปลักษณ์

อุปลักษณ์ เป็นมโนในการทำความเข้าใจของสิ่งหนึ่ง ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์ เป็นการวาดภาพทางภาษาซึ่งเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือแนวคิดสองอย่าง.

16 ความสัมพันธ์: บทความฟรีเมสันการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆภาษาศาสตร์วัวทรงกลมสปิริเต็ดอะเวย์อุปมาอุปมานิทัศน์ความตลกขบขันประชานศาสตร์นกต้อยตีวิดโพไซดอนโรคซึมเศร้าไซเบอร์สเปซเก้าอี้ดนตรีเซลล์ประสาท

บทความ

ทความ หมายถึงงานเขียนที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ผลการวิจัย เผยแพร่ความรู้ การวิเคราะห์ทางการศึกษา การวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้น โดยปกติบทความหนึ่งบทความจะพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นประเด็นหลักเพียงเรื่องเดียว.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และบทความ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีเมสัน

ัญลักษณ์ไม้ฉากและวงเวียนของ “องค์กรฟรีเมสัน” องค์กรฟรีเมสัน (Freemasonry) เป็นองค์กรภราดรภาพที่มีที่มาของเบื้องหลังอันลึกลับตั้งแต่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 องค์กรฟรีเมสันในปัจจุบันมีด้วยกันหลายรูปหลายแบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีสมาชิกประมาณ 5 ล้านคนที่รวมทั้งเกือบ 2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา และราว 480,000 คนในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดองค์กรฟรีเมสันจะถือปรัชญาจริยธรรม และอภิปรัชญาเดียวกันที่ในเกือบทุกกรณีก็จะเป็นการประกาศธรรมนูญของความเชื่อใน “ผู้เหนือสิ่งทั้งปวง” (Supreme Being) องค์กรฟรีเมสันจัดระบบบริหารเป็นหน่วยที่เรียกว่า “แกรนด์ลอดจ์” (Grand Lodges) หรือ “แกรนด์โอเรียนท์” (Grand Orients) แต่ละหน่วยก็จะมีอำนาจบริหารเครือข่ายของตนเอง ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือ “Constituent Lodges” แกรนด์ลอดจ์บ่งตนเองระหว่างกันได้โดยกระบวนการที่เรียกว่า “บัญญัติเมสัน” (Masonic Landmarks) และ “ระเบียบเมสัน” (Regular Masonic jurisdictions) นอกจากนั้นก็ยังมี “องค์กรเมสันย่อย” (Masonic bodies) ที่มีความสัมพันธ์กันองค์กรหลักแต่มีระบบการบริหารของตนเอง องค์กรฟรีเมสันใช้อุปลักษณ์ของเครื่องมือช่างหินและวัดโซโลมอนที่ทั้งสมาชิกขององค์กรและผู้วิพากษ์กล่าวว่าเป็น “ระบบของจริยธรรมที่พรางอยู่เบื้องหลังอุปมานิทัศน์ ที่ออกมาในรูปของสัญลักษณ์” องค์กรฟรีเมสัน เป็นองค์กรภราดรภาพ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานย้อนไปถึงต้นกำเนิดคือ องค์กรภราดรภาพของพวกช่างหินตามท้องถิ่นต่างๆ เมื่อปลายศตวรรษที่ 14 ที่มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลมาตรฐานฝีมือการทำงานของพวกช่างหิน และเป็นองค์กรกลางที่คอยประสานงาน กับผู้ปกครอง และลูกค้า ของพวกเขา ระดับขั้นของฟรีเมสัน แบ่งออกเป็นสามระดับ ตามระดับการแบ่งฝีมือของช่างหินโดยสมาคมช่างหิน (mason guild) ในยุคกลางของยุโรป ดังนี้ ช่างฝึกหัด (Apprentice) ช่างฝีมือ (Journeyman or fellow (now called Fellowcraft))  เป็นช่างที่ผ่านการฝึก และได้รับการพิสูจน์ว่ามีฝีมือแล้วจะได้รับใบแสดงความสามารถที่จะเดินทางไปทำงานในที่อื่นๆได้) และ นายช่าง (Master Mason) เป็นผู้ที่มีฝีมือโดดเด่น และได้รับเลือกจากสมาชิกสมาคมให้เป็นผู้นำ ในปัจจุบันองค์กรฟรีเมสัน ที่เราเรียกว่า Blue Lodge ซึ่งเป็นองค์กรฐานรากของฟรีเมสัน เป็นผู้แต่งตั้งระดับเหล่านี้ให้กับสมาชิก นอกจากนี้ยังมี ระดับเพิ่มเติมไปอีกหลายระดับ แตกต่างกันไปตาม พื้นที่ปกครองของ Grand Lodge ต่างๆ โดยระดับเพิ่มเติมนี้มักจะตั้งองค์กรของตัวเองควบคุมขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยพื้นฐานแล้ว หน่วยที่เล็กที่สุดของฟรีเมสัน คือ สภาฟรีเมสันท้องถิ่น หรือเรียกว่าลอดจ์ (Lodge) โดยจะถูกกำกับดูแล โดย สภาฟรีเมสันระดับภาค หรือประเทศ หรือเรียกว่า แกรนด์ลอดจ์ หรือ แกรนด์ โอเรียนท์ (Grand Lodge or Grand Orient) โดยส่วนมาก แบ่งพื้นที่เป็น ประเทศ จังหวัด แคว้น หรือมลรัฐ เช่นใน สหรัฐอเมริกา แบ่งพื้นที่ออกเป็นมลรัฐ ฟรีเมสันไม่มีองค์กรกลางระดับนานาชาติที่เข้ามาควบคุมหรือเป็นตัวแทนของ ฟรีเมสันทั้งหมด โดยแต่ละแกรนด์ลอดจ์ มีอิสระที่จะกำหนดข้อกำหนดเอง และมีสิทธิ์ที่จะรับรู้รับรองการมีอยู่ของแกรนด์ลอดจ์ อื่นๆ โดยอิสระ ในปัจจุบัน องค์กรฟรีเมสัน มีอยู่สองแบบ ด้วยกัน คือ องค์กรฟรีเมสันแบบปกติ (Regular Freemason) เป็นองค์กรฟรีเมสันที่เมื่อมีการประกอบพิธีการประชุมของลอดจ์ ต้องเปิดคัมภีร์ทางศาสนา กลางห้องประชุมเสมอ อีกทั้งทุกคนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก ต้องเชื่อในสิ่งที่ดำรงอยู่สูงสุด (นับถือศาสนา) ไม่รับสมาชิกผู้หญิง และการพูดคุยถกเถียงกันใน เรื่องการเมืองและศาสนา ในลอดจ์ เป็นเรื่องต้องห้าม อีกประเภทหนึ่งคือ ฟรีเมสันแบบภาคพื้น (Continental Freemason) หรือเรียกกันว่า ฟรีเมสันแบบเสรีนิยม โดยลอดจ์ที่เป็นฟรีเมสันแบบเสรีนิยมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบ้างส่วน ที่เป็นหลักยึดถือของฟรีเมสันแบบปกติ เช่นการรับผู้หญิง หรือผู้ไม่นับถือศาสนาเป็นสมาชิก หรือสามารถพูดคุยเรื่อง ศาสนา และการเมืองในลอดจ์ได้ เป็นต้น โดยฟรีเมสันแบบนี้เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรป คือประเทศฝรั่งเศสเป็นสำคัญ .

ใหม่!!: อุปลักษณ์และฟรีเมสัน · ดูเพิ่มเติม »

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

แผนผังของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิซ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัวทรงกลม

วัวทรงกลมกระโดดข้ามดวงจันทร์ วัวทรงกลม (spherical cow) เป็นการอุปลักษณ์ที่น่าขบขันของแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์ในโลกแห่งความจริงมีความซับซ้อนน้อยลงมากShelton, Robin; Cliffe, J. Allie.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และวัวทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

สปิริเต็ดอะเวย์

ปิริเต็ดอะเวย์ (Spirited Away; "การถูกผีพาไปของเซ็งและชิฮิโระ") เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันจากประเทศญี่ปุ่น แนวแฟนตาซี/ผจญภัย เขียนและกำกับโดย ฮะยะโอะ มิยะซะกิ (Hayao Miyazaki) และผลิตโดย สตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) มีเนื้อหาว่าด้วยเด็กหญิงวัยสิบปีหลงเข้าไปในโลกของภูตพร้อมครอบครัวโดยบังเอิญ บิดามารดากลายร่างเป็นสุกร และเธอต้องทำงานที่โรงอาบน้ำของแม่มด เธอจึงพยายามปลดแอกตนและครอบครัวเพื่อกลับโลกมนุษย์ มิยะซะกิเขียนบทภาพยนตร์นี้ขึ้น โดยอ้างอิงลูกสาววัยสิบปีของเพื่อน ซึ่งมักมาเยี่ยมเขาทุกฤดูร้อน ภาพยนตร์เรื่อง สปิริเต็ดอะเวย์ นี้เริ่มกระบวนการผลิตใน..

ใหม่!!: อุปลักษณ์และสปิริเต็ดอะเวย์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปมา

อุปมา เป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คำว่า ดุจ, ดั่ง, ราว, เสมือน มีความหมายเชิงเปรียบเทียบเช่นเดียวกับอุปลักษณ์ แต่อุปมาจะเปรียบเทียบระหว่างสองสิ่ง และหลงเหลือแต่เพียงความคล้ายกันของสองสิ่งนั้น ในขณะที่อุปลักษณ์จะเปรียบเทียบโดยตรง หมวดหมู่:ภาษา.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และอุปมา · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ความตลกขบขัน

การยิ้มอาจจะแสดงอารมณ์ขำ ดังที่เห็นในจิตรกรรมตัวละคร Falstaff ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดย Eduard von Grützner ความตลกขบขัน (humour, humor) เป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนาน คำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า humor (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขัน มนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour) คนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผล แม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ ทอมกับเจอร์รี่ ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้ เทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และความตลกขบขัน · ดูเพิ่มเติม »

ประชานศาสตร์

ประชานศาสตร์ หรือ วิทยาการการรู้ หรือ วิทยาการปัญญา หรือ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (cognitive science) ความหมายโดยทั่วไปคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งเรื่องของความคิดและความฉลาด แต่หากกล่าวอย่างเป็นรูปนัยจะเน้นว่าเป็นการศึกษาด้านสหวิทยาการประกอบด้วย ประชานจิตวิทยา (cognitive psychology) ประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) ภาษาศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เจาะจงเรื่องปัญญาประดิษฐ์) มานุษยวิทยา และ จิตชีววิทยา (psychobiology) หรือสาขาประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อการศึกษาวิจัยภาวะของจิตและกระบวนการที่มนุษย์ควบคุมเปลี่ยนแปรยักย้ายข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยในสาขาวิทยาการการรู้ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาเพื่อศึกษาการทำงานของระหว่างสมองและจิตใจ (brain and mind) ศึกษาวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างการคิด อารมณ์ และการกระทำ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (brain-based learning) พฤติกรรม ความผิดปกติทางการเรียน การรับรู้ ความสนใจ การจำ การแก้ปัญหา การคำนวณ การให้เหตุผล และการตัดสินใจ บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแปลผลจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวิเคราะห์จากถ่ายภาพสมอง (brain imaging) เป็นต้น.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และประชานศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นกต้อยตีวิด

นกต้อยตีวิด หรือ นกกระต้อยตีวิด หรือ นกกระแตแต้แว้ด หรือ นกแต้แว้ด (red-wattled lapwing) เป็นนกที่สีสวยน่าดู พบได้ตามพื้นที่โล่งเกือบทุกสภาพทั่วประเทศ อยู่ในวงศ์นกหัวโต (Charadriidae) วงศ์ย่อย Vanellinae หรือ Charadriinae มีเสียงร้องเตือนภัยแหลมดังที่ไม่เหมือนใครว่า "แตแต้แวด" หรือตามคนพูดภาษาอังกฤษว่า did he do it หรือ pity to do it ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามเสียงร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ เป็นนกที่มักจะเห็นเป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ แต่อาจจะอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในฤดูหนาวที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และนกต้อยตีวิด · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ไซเบอร์สเปซ

ซเบอร์สเปซ (Cyberspace) หรือ ปริภูมิไซเบอร์ เป็นภาวะนามธรรมเชิงอุปลักษณ์ ใช้ในด้านปรัชญา หรือ คอมพิวเตอร์ เป็นความจริงเสมือนซึ่งแทนโลกในทฤษฎีทางปรัชญาของ คารล์ ปอปเปอร์ (Karl Popper) ซึ่งรวมทั้งสิ่งต่างๆ ในคอมพิวเตอร์จนถึงระบบเครือ.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และไซเบอร์สเปซ · ดูเพิ่มเติม »

เก้าอี้ดนตรี

ก้าอี้ดนตรี เก้าอี้ดนตรี เป็นการละเล่นประกอบเพลงอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นในงานสังสรรค์ งานวันเด็ก หรือ งานกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่จะจัดเก้าอี้เป็นวงกลมโดยมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนผู้เล่น เมื่อ เปิดเพลง หรือ ร้องเพลง ก็จะให้ผู้เล่นทุกคนเดินวนรอบเก้าอี้ เพื่อความสนุก ก็จะเดินรอบเก้าอี้ไปด้วย เมื่อเพลงหยุดหรือจบ หรือมีสัญญาณให้หยุด ผู้เล่นก็จะต้องแย่งกันนั่งเก้าอี้ ใครที่ไม่ได้นั่งก็จะถูกคัดออก และ ลดจำนวนเก้าอี้ลง และเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือ หนึ่งคนเป็นผู้ชน.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และเก้าอี้ดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: อุปลักษณ์และเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Metaphorอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »