เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความตลกขบขัน

ดัชนี ความตลกขบขัน

การยิ้มอาจจะแสดงอารมณ์ขำ ดังที่เห็นในจิตรกรรมตัวละคร Falstaff ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดย Eduard von Grützner ความตลกขบขัน (humour, humor) เป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนาน คำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า humor (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขัน มนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour) คนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผล แม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ ทอมกับเจอร์รี่ ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้ เทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: การ์ตูนกีเยร์โม มอร์ดีโยหัวเราะจิตไร้สำนึกตลกซูเซิน บอยล์ไปรษณีย์อืดอาด

การ์ตูน

ตัวอย่างการ์ตูน ตัวอย่างแอนิเมชัน การ์ตูน (cartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความหมายที่เฉพาะเจาะจงแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ความหมายในสมัยใหม่โดยทั่วไปหมายถึง การวาดเส้นหรือจิตรกรรมแบบกึ่งสัจนิยมหรืออสัจนิยม (กึ่งเหมือนจริงหรือไม่เหมือนจริง) เพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist) ในยุคอดีต การ์ตูนหมายถึงภาพร่างหรือภาพวาดที่ใช้การเรียนการศึกษาแทนการใช้ภาพจริง ในปัจจุบันการ์ตูนมักจะหมายถึงแอนิเมชัน ซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ที่มีการฉายทางโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ในความหมายอื่น การ์ตูนใช้แทนรายการสำหรับเด็กที่มีการใช้สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนมนุษย์ การ์ตูนปัจจุบันจะพบได้จากหนังสือ, หนังสือพิมพ์ (ซึ่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าว การเมือง บันเทิง), โปสเตอร์, ภาพยนตร์ เป็นต้น นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยกล่าวถึงการ์ตูนว่า "หน้าที่หนึ่งของการ์ตูน คือกระตุกความคิดของเยาวชน ไม่ต้องสอน".

ดู ความตลกขบขันและการ์ตูน

กีเยร์โม มอร์ดีโย

กีเยร์โม มอร์ดีโย (Guillermo Mordillo) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มอร์ดีโย (Mordillo) ผู้สร้างการ์ตูนและแอนิเมชันชาวอาร์เจนตินา เป็นนักวาดการ์ตูนที่ผลงานได้รับการตีพิมพ์แพร่หลายมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงทศวรรษ 1970 ผลงานของเขามักมีเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก กีฬาฟุตบอล กีฬากอล์ฟ หรือเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ มีเอกลักษณ์คือมีสีสันฉูดฉาด ไม่ใช้คำอธิบาย และมีอารมณ์ขัน การ์ตูนของเขาถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สั้นแอนิเมชันโดย Miki Muster ผู้สร้างชาวสโลวีเนียในช่วงปี 1976 ถึง 1981 ใช้ชื่อว่า "Mordillo" จำนวนกว่า 400 ตอน ได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ในกว่า 30 ประเทศ นอกจากนั้นผลงานของเขายังได้รับการตีพิมพ์จำหน่ายในรูปของโปสเตอร์ติดผนัง และจิ๊กซอพัซเซิล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกลุ่มนักสะสม.

ดู ความตลกขบขันและกีเยร์โม มอร์ดีโย

หัวเราะ

หนุ่มสาวขณะที่กำลังหัวเราะ หัวเราะ เป็นการแสดงออกของมนุษย์ที่มีภาวะอารมณ์ขัน หัวเราะเป็นปฏิกิริยาต่อเรื่องขำขัน สิ่งที่น่าขัน โดยแสดงออกเป็นการเปล่งเสียงพร้อมกับยิ้ม การหัวเราะโดยผิดธรรมชาติ อาจเกิดได้เช่น การได้รับก๊าซหัวเราะ เป็นต้น.

ดู ความตลกขบขันและหัวเราะ

จิตไร้สำนึก

จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ประกอบด้วยกระบวนการในจิตซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่สามารถพินิจภายในได้ มีกระบวนการคิด ความจำ อารมณ์และแรงจูงใจ แม้กระบวนการเหล่านี้มีอยู่ใต้ผิวของความตระหนักพิชาน (conscious) แต่มีทฤษฎีว่า จิตไร้สำนึกส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรม คำนี้บัญญัติโดย ฟรีดริช เชลลิง นักปรัชญาจินตนิยมชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และภายหลังเซมาเอล เทย์เลอร์ โคละริดจ์ กวีและผู้เขียนงานประพันธ์ นำเข้ามาในภาษาอังกฤษ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียพัฒนาและเผยแพร่มโนทัศน์ดังกล่าว หลักฐานเชิงประจักษ์แนะว่า ปรากฏการณ์ไร้สำนึกมีความรู้สึกที่ถูกกดเก็บ ทักษะอัตโนมัติ สัญชานใต้ระดับ (subliminal perception) ความคิด นิสัยและปฏิกิริยาอัตโนมัติ และอาจยังมีปม (complex) ความกลัวและความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เข้าใจว่ากระบวนการไร้สำนึกแสดงออกในฝันในรูปสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการพลั้งปาก (slips of the tongue) และมุกตลก ฉะนั้น จึงมองได้ว่าจิตไร้สำนึกเป็นบ่อเกิดของฝันและความคิดอัตโนมัติ (ที่ปรากฏโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน) คลังความจำที่ถูกลืม (ซึ่งยังอาจเข้าถึงพิชานในภายหลัง) และที่ตั้งของความรู้โดยปริยาย (implicit knowledge, หมายถึง สิ่งที่สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างดีจนทำได้โดยไม่ต้องคิด) หมวดหมู่:จิตไร้สำนึก หมวดหมู่:จิตวิทยาวิเคราะห์ หมวดหมู่:ระบบประสาทส่วนกลาง หมวดหมู่:กระบวนการทางจิต หมวดหมู่:จิตวิทยาแบบฟรอยด์.

ดู ความตลกขบขันและจิตไร้สำนึก

ตลก

ตลก อาจหมายถึง.

ดู ความตลกขบขันและตลก

ซูเซิน บอยล์

ซูเซิน บอยล์ (Susan Boyle; เกิด: 1 เมษายน พ.ศ. 2504"Profile: Susan Boyle - Britain's got the unlikeliest angel", 2009: Online.) เป็นนักร้องมือสมัครเล่นชาวสกอตแลนด์และเคยเป็นนักบริการชุมชน"Profile: Susan Boyle - Britain's got the unlikeliest angel", 2009: Online.

ดู ความตลกขบขันและซูเซิน บอยล์

ไปรษณีย์อืดอาด

ปรษณีย์อืดอาด ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า "snail mail" หรือ "smail" (จาก snail + mail) เป็นคำที่ประดิษฐ์กันขึ้นในทางเสียดสีระบบการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ว่ากว่าจะบริการส่งถึงผู้รับนั้นช่างอืดอาดเหลือใจ โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษนั้นว่าอืดอาดอย่าง "snail" คือหอยทาก เทียบไม่ได้กับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อืดอาดนี้ความจริงแล้วก็หมายถึงไปรษณียภัณฑ์ที่ไม่ได้ส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง คือเป็นไปรษณียภัณฑ์ทั่วไปซึ่งบางทีภาษาอังกฤษก็เรียก "ไปรษณีย์กระดาษ" (paper mail) หรือ "ไปรษณีย์บก" (land mail) นอกจากนี้ คำ "ไปรษณีย์อืดอาด" ยังหมายถึง มิตรสัมพันธ์ทางไปรษณีย์ (pen pal) อีกด้วย คำ "ไปรษณีย์อืดอาด" มีการใช้ครั้งแรกประมาณ พ.ศ.

ดู ความตลกขบขันและไปรษณีย์อืดอาด

หรือที่รู้จักกันในชื่อ HumorHumourมุกตลกอารมณ์ขันอารมณ์ขำความตลกเรื่องขบขัน