โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุตรภาพ

ดัชนี อุตรภาพ

อุตรภาพ (อังกฤษ: transcendence) ในทางปรัชญา คือสภาวะที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ประสบการณ์ที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ได้ สิ่งที่บางครั้งถูกจัดให้มีสภาวะเหนือความเข้าใจเช่น ศาสนา อภิปรัชญาหรือความตาย ในแนวคิดของคานท์ สิ่งที่ถูกจัดให้มีอุตรภาพคือ สิ่งที่อยู่นอกเหนือความรู้ของมนุษ.

7 ความสัมพันธ์: อิมมานูเอล คานต์จิตวิทยาเชิงบวกคุณธรรมซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรีโลกโลกุตระเต๋า

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อุตรภาพและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: อุตรภาพและจิตวิทยาเชิงบวก · ดูเพิ่มเติม »

คุณธรรม

ณธรรม (virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี" เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นรากฐานของหลักการและสัตศีลธรรมดี คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นค่านิยมว่าส่งเสริมความยิ่งใหญ่โดยรวมและปัจเจก ตรงข้ามกับคุณธรรม คือ ความชั่วร้าย (vice).

ใหม่!!: อุตรภาพและคุณธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี

หน้าปกเกมซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี (ภาษาอังกฤษ: Sid Meier's Alpha Centauri, อักษรย่อ: SMAC) เป็นวิดีโอเกมวางแผนการรบประเภททีละรอบ แนววิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อของเกมชุดซิวิไลเซชัน ซิด ไมเออร์ (ผู้ออกแบบเกมซิวิไลเซชัน) และไบรอัน เรย์โนล์ดส (ผู้ออกแบบเกมซิวิไลเซชัน 2) เป็นผู้พัฒนาเกมนี้หลังจากที่พวกเขาออกจากบริษัทไมโครโพรสไปยังฟิราซิสเกมส์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเกมที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาในเวลานั้น อิเล็คโทรนิค อาร์ตสเป็นผู้วางจำหน่ายเกมนี้ รวมถึงซิด ไมเออร์ส เอเลียน ครอสไฟร์ (Sid Meier's Alien Crossfire, SMAX) ภาคเสริมของอัลฟา เซนทอรี ในปี..

ใหม่!!: อุตรภาพและซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: อุตรภาพและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โลกุตระ

ลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก หรืออุตรภาพ เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก โลกุตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม 9 ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม 9 ในธัมมสังคณี พระอภิธรรมปิฎก ระบุว่า โลกุตรธรรม มี 9 ได้แก่ อริยมรรค 4 อริยผล 4 นิพพาน 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: อุตรภาพและโลกุตระ · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: อุตรภาพและเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »