โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตวิทยาเชิงบวก

ดัชนี จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

10 ความสัมพันธ์: การยอมรับตนเองการดูแลและหาเพื่อนรายการสาขาวิชาสุขภาพจิตสติ (จิตวิทยา)ทักษะชีวิตความยืดหยุ่นทางจิตใจความตลกขบขันคุณธรรมCharacter Strengths and Virtues

การยอมรับตนเอง

การยอมรับตนเอง คือการยอมรับได้แม้ว่าตนจะมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่อง แม้ว่าความหมายของการยอมรับตนเองจะเป็นไปตามสามัญสำนึก แต่ก็มีนักวิจัยนิยามอย่างเป็นทางการว่าเป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ จากหนังสือของ Shepard เ78855775979 การยอมรับตนเองหมายถึงความพึงพอใจหรือความสุขส่วนตัวเกี่ยวกับตัวเอง และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีสุขภาพจิตดี การยอมรับตนเองมักเกี่ยวข้องกับการเข้าใจตนเอง การรับรู้ได้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตน แม้ว่าจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว โดยจะแสดงออกทางความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองที่คิดว่าเป็นเอกลักษณ์ ในวิชาจิตวิทยาคลินิก และจิตวิทยาเชิงบวกการยอมรับตนเองถือเป็นสิ่งที่ย่อมเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ และอาจลุล่วงได้โดยการหยุดวิจารณ์ และแก้ข้อบกพร่องของตนก่อน แล้วจึงยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นให้เกิดขึ้นกับตนได้ นั่นคือการยอมให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นกับตนเองได้เพียงบางส่วน.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและการยอมรับตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

การดูแลและหาเพื่อน

การดูแลและหาเพื่อน (Tend-and-befriend) เป็นพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดรวมทั้งมนุษย์ เพื่อตอบสนองต่อภัยโดยป้องกันหรือดูแลเลี้ยงลูก (tend) และโดยหาพวกหรือกลุ่มสังคมเพื่อช่วยป้องกันให้กันและกัน (befriend) มีสมมติฐานว่าพฤติกรรมนี้เป็นการตอบสนองปกติของหญิงต่อความเครียด เหมือนกับที่การตอบสนองหลักของชายเป็นแบบสู้หรือหนี เป็นแบบจำลองทางทฤษฎีที่ตั้งขึ้นโดย ดร.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและการดูแลและหาเพื่อน · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

สุขภาพจิต

ตเป็นระดับความเป็นอยู่ดีทางจิตใจ หรือการปลอดโรคทางจิต เป็น "สถานะทางจิตของบุคคลที่ทำหน้าที่ได้ในระดับการปรับตัวได้ทางอารมณ์และพฤติกรรมที่น่าพอใจ" จากทัศนะจิตวิทยาเชิงบวกหรือสัมพฤตินิยม (holism) สุขภาพจิตอาจรวมความสามารถของบุคคลในการมีความสุขกับชีวิต และสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมชีวิตและความพยายามบรรลุความยืดหยุ่นทางจิตวิทยา องค์การอนามัยโลกระบุว่า สุขภาพจิตรวม "ความเป็นอยู่ดีอัตวิสัย การก่อผลตนเองที่รับรู้ อัตตาณัติ ความสามารถ การพึ่งระหว่างรุ่นและความตระหนักในศักยภาพตนในด้านปัญญาและอารมณ์ เป็นต้น" องค์การอนามัยโลกยังกล่าวอีกว่า ความเป็นอยู่ดีของปัจเจกบุคคลรวมอยู่ในการตระหนักถึงความสามารถของตน การจัดการกับความเครียดปกติของชีวิต การทำงานและการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ต่อชุมชนของพวกเขา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การประเมินอัตวิสัย และทฤษฎีของมืออาชีพที่ขัดกันล้วนมีผลต่อการนิยาม "สุขภาพจิต" ทั้งสิ้น.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและสุขภาพจิต · ดูเพิ่มเติม »

สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและสติ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ทักษะชีวิต

ทักษะชีวิต (Life skills) เป็นสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมที่เป็นการปรับตัวที่ดี ซึ่งช่วยให้มนุษย์รับมือกับความจำเป็น/ความต้องการและปัญหาของชีวิต หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นสามัตถิยะทางจิต-สังคม (psychosocial competency) มีทักษะจำนวนหนึ่งที่จะได้จากการสอนหรือการปฏิบัติโดยตรงเพื่อใช้ไขปัญหาและคำถามที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทักษะที่ว่าจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคาดหวังของสังคม แต่ทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข (well-being) และช่วยให้พัฒนาเป็นสมาชิกทางสังคมที่มีส่วนและก่อประโยชน์ จะพิจารณาว่าเป็นทักษะชีวิต.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและทักษะชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ความยืดหยุ่นทางจิตใจ

วามยืดหยุ่นได้ทางด้านจิตใจ*.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและความยืดหยุ่นทางจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

ความตลกขบขัน

การยิ้มอาจจะแสดงอารมณ์ขำ ดังที่เห็นในจิตรกรรมตัวละคร Falstaff ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดย Eduard von Grützner ความตลกขบขัน (humour, humor) เป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนาน คำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า humor (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขัน มนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour) คนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผล แม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ ทอมกับเจอร์รี่ ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้ เทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและความตลกขบขัน · ดูเพิ่มเติม »

คุณธรรม

ณธรรม (virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี" เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นรากฐานของหลักการและสัตศีลธรรมดี คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นค่านิยมว่าส่งเสริมความยิ่งใหญ่โดยรวมและปัจเจก ตรงข้ามกับคุณธรรม คือ ความชั่วร้าย (vice).

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและคุณธรรม · ดูเพิ่มเติม »

Character Strengths and Virtues

ผู้เขียนหนังสือ Character Strengths and Virtues กล่าวถึง ความสำคัญและอิทธิพลของ หลักการที่มั่นคงและชัดเจน ต่อตัวบุคคล หนังสือคู่มือ Character Strengths and Virtues หรือ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัยและคุณธรรม เขียนโดย Christopher Peterson และ Martin Seligman แสดงถือ ความความพยายามแรกๆของสังคมวิชาการที่จะจำแนกและแยกแยะลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวก ของมนุษย์ ในขณะที่ หนังสือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ของ American Psychiatric Association ได้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความผิดปกติทางจิต, หนังสือ Character Strengths and Virtues มีจุดประสงค์ในการสร้างขอบข่ายเชิงทฤษฎีเพื่อช่วยการส่งเสริมการการประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวก หนังสือ Character Strengths and Virtues ได้จำแนกคุณธรรมออกเป็น 6 กลุ่มหลักๆ ซึ่งมาจาก ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย ที่วัดได้ 24 ลักษณ.

ใหม่!!: จิตวิทยาเชิงบวกและCharacter Strengths and Virtues · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Positive psychologyจิตวิทยาบวก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »