โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุตมรัฐ

ดัชนี อุตมรัฐ

อุตมรัฐ (Πολιτεία, มีความหมายว่า "การปกครองที่ดีที่สุด"; Res Publica, มีความหมายว่า "กิจการสาธารณะ"; The Republic) เป็นบทสนทนาของโสกราตีสที่เขียนโดยเพลโต ประมาณ 360 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในบรรดางานเขียนที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีทางด้านปรัชญาและการปกครองอย่างมากที่สุด และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเพลโต เนื้อหาในเรื่องเป็นการสนทนาระหว่างโสกราตีสกับชาวกรุงเอเธนส์ และชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม และข้อสงสัยว่าผู้มีใจเป็นธรรมจะมีความสุขมากกว่าผู้มีใจคดหรือไม่หากมีนครในอุดมคติ โดยที่นครแห่งนี้ปกครองโดยกษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ บทสนทนาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักปรัชญา รูปแบบและความขัดแย้งระหว่างแนวคิดทางปรัชญากับงานกวีนิพนธ์ รวมถึงสื่อให้เห็นจิตวิญญาณอันเป็นอมต.

8 ความสัมพันธ์: การกล่อมเกลาทางการเมืองลัทธิบัวขาวอุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำทฤษฎีอติชนคุณธรรมหลักประชาธิปไตยปรัชญาการเมืองเพลโต

การกล่อมเกลาทางการเมือง

การกล่อมเกลาทางการเมือง หรือ การเรียนรู้ทางการเมือง หรือสังคมประกิตทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจศึกษากันมานานแล้ว ในยุคที่รัฐศาสตร์ได้รับความสนใจศึกษาในเชิงปรัชญา นักปรัชญาการเมืองบอกว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคคลสำหรับความเป็นพลเมือง (Citizenship) ในแบบที่พึงปรารถนาของรัฐ ในบทสนทนา (Dialoque) เรื่อง “อุตมรัฐ” หรือ “The Republic” ของ เพลโต้ (Plato) นักปรัชญาการเมืองสมัยกรีกโบราณ ซึ่งเป็นบทสนทนาหนึ่งห้าเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเพลโต้ (Plato’ s Great Five Dialoques) มีข้อความที่กล่าวถึงการให้การศึกษาและการให้ประสบการณ์แก่เด็กในนครรัฐว่าเป็นช่องทางหรือวิธีการสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองที่เหมาะสม เพลโต้จึงได้วางโครงการฝึกอบรมคน เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีค่านิยมและมีความโน้มเอียงพื้นฐานที่สอดคล้องกับบทบาทที่เขาจะมีส่วนร่วมในนครรัฐ ซึ่งจะเป็นบทบาทที่แตกต่างกันไป เพลโต้ อธิบายว่า ค่านิยมของพลเมืองนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพและความเป็นระเบียบของสถาบันทางการเมืองด้วย ในทำนองเดียวกัน อริสโตเติล (Aristotle) ศิษย์เอกจากสำนักวิชาการอะแคเดมี่ (Academy) ของเพลโต้ กล่าวเน้นว่า กระบวนการให้การศึกษาทางการเมือง (Political Education) เป็นกระบวนการสร้างค่านิยมและความโน้มเอียงทางการเมือง (Dawson and Prewitt 1969, 6-7) นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ได้กล่าวถึงความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมืองไว้หลายท่าน ขอยกตัวอย่างมากล่าวถึงโดยสังเขปได้แก่ อัลมอนด์และเพาเวลล์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแก่ประชาชนในระบบการเมือง (Almond and Powell 1966, 64) โดยเป็นกระบวนการสร้างและการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมืองจากคนรุ่นไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งของระบบการเมือง ที่ได้รับจากประสบการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา (Almond and Powell 1980, 36) ซึ่งจะช่วยรักษาวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมเอาไว้ หรือนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมทางการเมืองเดิม หรือก่อให้เกิดการก่อตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ขึ้นมาก็ได้ ในเชิงการวิเคราะห์ระบบการเมืองกระบวนการเรียนรู้หรือการกล่อมเกลาทางการเมืองนี้ ในทัศนะของแอลมอนด์ จัดเป็นหน้าที่หนึ่งในระบบการเมืองตามตัวแบบการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional Approach) โดยเป็นหน้าที่นำเข้าสู่ระบบการเมือง หรือ Input Functions ซึ่งทำหน้าที่บำรุงรักษาระบบให้คงอยู่ ตามตัวแบบนี้ แอลมอนด์ตั้งสมมติฐานว่า ในแต่ละระบบการเมือง จะมีการสืบทอดวัฒนธรรมและโครงสร้างของระบบการเมืองยู่ตลอดเวลา และการสืบทอดดังกล่าวนี้ เป็นไปได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง อีสตันและเดนนิส (Easton and Dennis 1969, 7) อธิบายว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นวิธีการที่สังคมส่งผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง อันได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ปทัสถาน และค่านิยม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ สมาชิกใหม่ของระบบการเมืองซึ่งได้แก่ เด็ก ๆ ก็จะต้องแสวงหารูปแบบความโน้มเอียงเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา อันจะย่อมมีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเมือง.

ใหม่!!: อุตมรัฐและการกล่อมเกลาทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบัวขาว

ลัทธิบัวขาว (白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป.

ใหม่!!: อุตมรัฐและลัทธิบัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ หรือ ถ้ำของเพลโต (Allegory of the Cave, Plato's Cave) เป็นการนำเสนอของเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ในอุตมรัฐ (514a–520a) เพื่อเปรียบเทียบ "ผลกระทบของการศึกษา (παιδεία) และการขาดการศึกษาในธรรมชาติของพวกเรา" โดยเขียนในรูปแบบของบทสนทนาระหว่างพี่ชายของเขากลาวคอน (Glaucon) และที่ปรึกษาของเขาโสกราตีส และเล่าโดยโสกราตีส อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำถูกเสนอต่อจากอุปมานิทัศน์เรื่องดวงอาทิตย์ (508b–509c) และอุปมานิทัศน์เรื่องเส้นที่ถูกแบ่ง (508b–509c) เพลโตและโสกราตีสบรรยายถึงกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตโดยถูกตรึงอยู่และหันหน้าเข้ากับผนังถ้ำว่างเปล่าตลอด คนเหล่านี้เฝ้าดูเงาที่ถูกฉายบนผนังจากสิ่งของที่เคลื่อนผ่านเปลวไฟด้านหลังของพวกเขา พวกเขาต่างได้ตั้งชื่อให้เงาเหล่านี้ สำหรับนักโทษพวกนี้เงาเหล่านั้นเป็นความจริง โสกราตีสอธิบายว่านักปราชญ์ก็เหมือนนักโทษที่ได้รับการปลดปล่อยออกจากถ้ำและได้เข้าใจว่าเงาบนผนังไม่ใช่ความจริง ด้วยความที่เขาสามารถมองเห็นรูปแบบทีแท้จริงของความจริง ไม่ใช่ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นหรือเงาที่เหล่านักโทษเห็น นักโทษในที่แห่งนี้ไม่แม้แต่อยากที่จะออกจากคุก ด้วยความที่พวกเขาไม่รู้จักชีวิตที่ดีกว่านี้ วันหนึ่งเหล่านักโทษสามารถทำลายพันธะและค้นพบว่าความจริงที่พวกเขารู้จักไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาคิด พวกเขาค้นพบดวงอาทิตย์ซึ่งเพลโตใช้เปรียบดั่งเปลวไฟด้านหลังของพวกเขาที่พวกเขาไม่เคยเห็น เหมือนกับเปลวไฟที่ฉายแสงบนผนังถ้ำ สถานะภาพของมนุษย์ยึดติดอยู่กับสิ่งที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้งสิ้น แม้การตีความเหล่านี้อาจแตกต่างจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง พวกเราก็ยังไม่สามารถหลุดจากพันธะสภาพความเป็นมนุษย์ได้ พวกเราไม่สามารถปลดปล่อยตัวเราเองจากสถานะนี้ เหมือนกับที่นักโทษไม่สามารถปลดปล่อยตนเองจากโซ่ล่ามของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตามหากพวกเราสามารถหนีจากพันธะนี้ได้อย่างปาฏิหาริย์ พวกเราก็จะพบกับโลกที่พวกเราไม่สามารถเข้าใจได้ ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่เข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่เคยเห็นมัน กล่าวคือ พวกเราจะเจอกับอีก "ดินแดน" หนึ่งที่พวกเราไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะว่าตามทฤษฎี มันจะเป็นแหล่งของความจริงที่มากกว่าความจริงที่พวกเราเคยรู้จัก เป็นดินแดนของรูปแบบที่แท้จริง ความจริงที่แท้จริง โสกราตีสออกความเห็นว่าอุปมานิทัศน์นี้สามารถจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอุปมานิทัศน์เรื่องดวงอาทิตย์ (analogy of the sun) และอุปมานิทัศน์เรื่องเส้นที่ถูกแบ่ง (analogy of the divided line).

ใหม่!!: อุตมรัฐและอุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีอติชน

ในสาขารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทฤษฎีอติชน หรือ ทฤษฎีอภิชน (elite theory) เป็นทฤษฎีที่มุ่งหมายจะพรรณนาและอธิบายความสัมพันธ์ของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน โดยอ้างว่า ชนกลุ่มน้อยที่เป็นสมาชิกของอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจหรือของเครือข่ายการกำหนดนโยบาย จะมีอำนาจมากที่สุดในสังคม โดยอำนาจนี้จะเป็นอิสระจากกระบวนการเลือกตั้งของประชาธิปไตย คืออาศัยตำแหน่งในบรรษัทหรือการเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริษัท หรืออาศัยตำแหน่งในสถาบันนโยบายหรือกลุ่มอภิปรายนโยบาย หรืออาศัยอิทธิพลเหนือเครือข่ายบุคคลที่วางนโยบายโดยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่มูลนิธิ/องค์กรต่าง ๆ สมาชิกของกลุ่มอภิสิทธิชนจะมีอำนาจสำคัญในการตัดสินนโยบายของบริษัทหรือของรัฐบาล ตัวอย่างที่เห็นได้ก็คือ บทความในนิตยสารฟอบส์ ชื่อว่า "ผู้มีอำนาจมากที่สุดในโลก (The World's Most Powerful People)" ที่แสดงรายการบุคคลที่นิตยสารอ้างว่ามีอำนาจมากที่สุดในโลก (โดยแต่ละคนเทียบเท่ากับคน 100,000,000 คนอื่น) ลักษณะทางสังคมที่เข้าข่ายทฤษฎีโดยพื้นฐานก็คือ อำนาจมีการรวมศูนย์ อภิสิทธิชนพร้อมเพรียงกัน คนที่ไม่ใช่อภิสิทธิชนมีหลากหลายและไร้อำนาจ เทียบกับผลประโยชน์/สิ่งที่อภิสิทธิชนสนใจที่มีเอกภาพเนื่องจากมีพื้นเพหรือตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะเฉพาะของการมีอำนาจก็คือการมีตำแหน่งในสถาบัน แม้กลุ่มอาจจะไม่ได้อยู่ในเครือข่ายอำนาจธรรมดาของรัฐ (เช่นในประวัติศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความป็นขุนนาง เชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา) ทฤษฎีก็ยังแสดงว่า "กลุ่มต้านอภิสิทธิชน" (counter-elites) บ่อยครั้งก็จะเกิดภายในกลุ่มที่ถูกยกเว้นเช่นนี้ ดังนั้น การเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มเช่นนี้กับรัฐ จึงมองได้ว่าเป็นการต่อรองระหว่างกลุ่มต่อต้านอภิสิทธิชนกับกลุ่มอภิสิทธิชน ซึ่งก็จะทำให้เห็นปัญหาสำคัญอีกอย่างว่า อภิสิทธิชนสามารถรวบผู้ต่อต้านให้เป็นพวกได้ ทฤษฎีอภิสิทธิชนเป็นเรื่องตรงข้ามกับทฤษฎีพหุนิยมทางการเมือง ซึ่งสมมุติว่า ทุก ๆ คน หรืออย่างน้อยก็กลุ่มสังคมต่าง ๆ จะมีอำนาจเท่ากันและจะถ่วงดุลกันเอง ทำให้ได้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนทั้งหมดในสังคม เทียบกับทฤษฎีนี้ที่อ้างว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเหลวไหลแบบอุตมรัฐ หรือไม่ก็เป็นไม่ไปได้ในกรอบของทุนนิยม ซึ่งเป็นมุมมองปัจจุบันที่เข้ากับลัทธิมากซ์ได้.

ใหม่!!: อุตมรัฐและทฤษฎีอติชน · ดูเพิ่มเติม »

คุณธรรมหลัก

ณธรรมหลัก (cardinal virtues) หมายถึง คุณธรรมขึ้นพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งเป็นแม่บทของคุณธรรมอื่น ๆ พบในงานเขียนสมัยคลาสสิก ต่อมาศาสนาคริสต์ได้เพิ่มคุณธรรมทางเทววิทยาอีก 3 ประการ จึงรวมเป็น 7 คุณธรรมหลัก 4 ประการ ประกอบด้วย.

ใหม่!!: อุตมรัฐและคุณธรรมหลัก · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: อุตมรัฐและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ใหม่!!: อุตมรัฐและปรัชญาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: อุตมรัฐและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Republic (Plato)The Republic (Plato)สาธารณรัฐ (เพลโต)อุตมรัฐ (เพลโต)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »