โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การกล่อมเกลาทางการเมืองและอุตมรัฐ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การกล่อมเกลาทางการเมืองและอุตมรัฐ

การกล่อมเกลาทางการเมือง vs. อุตมรัฐ

การกล่อมเกลาทางการเมือง หรือ การเรียนรู้ทางการเมือง หรือสังคมประกิตทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจศึกษากันมานานแล้ว ในยุคที่รัฐศาสตร์ได้รับความสนใจศึกษาในเชิงปรัชญา นักปรัชญาการเมืองบอกว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคคลสำหรับความเป็นพลเมือง (Citizenship) ในแบบที่พึงปรารถนาของรัฐ ในบทสนทนา (Dialoque) เรื่อง “อุตมรัฐ” หรือ “The Republic” ของ เพลโต้ (Plato) นักปรัชญาการเมืองสมัยกรีกโบราณ ซึ่งเป็นบทสนทนาหนึ่งห้าเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเพลโต้ (Plato’ s Great Five Dialoques) มีข้อความที่กล่าวถึงการให้การศึกษาและการให้ประสบการณ์แก่เด็กในนครรัฐว่าเป็นช่องทางหรือวิธีการสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองที่เหมาะสม เพลโต้จึงได้วางโครงการฝึกอบรมคน เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีค่านิยมและมีความโน้มเอียงพื้นฐานที่สอดคล้องกับบทบาทที่เขาจะมีส่วนร่วมในนครรัฐ ซึ่งจะเป็นบทบาทที่แตกต่างกันไป เพลโต้ อธิบายว่า ค่านิยมของพลเมืองนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพและความเป็นระเบียบของสถาบันทางการเมืองด้วย ในทำนองเดียวกัน อริสโตเติล (Aristotle) ศิษย์เอกจากสำนักวิชาการอะแคเดมี่ (Academy) ของเพลโต้ กล่าวเน้นว่า กระบวนการให้การศึกษาทางการเมือง (Political Education) เป็นกระบวนการสร้างค่านิยมและความโน้มเอียงทางการเมือง (Dawson and Prewitt 1969, 6-7) นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ได้กล่าวถึงความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมืองไว้หลายท่าน ขอยกตัวอย่างมากล่าวถึงโดยสังเขปได้แก่ อัลมอนด์และเพาเวลล์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแก่ประชาชนในระบบการเมือง (Almond and Powell 1966, 64) โดยเป็นกระบวนการสร้างและการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมืองจากคนรุ่นไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งของระบบการเมือง ที่ได้รับจากประสบการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา (Almond and Powell 1980, 36) ซึ่งจะช่วยรักษาวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมเอาไว้ หรือนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมทางการเมืองเดิม หรือก่อให้เกิดการก่อตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ขึ้นมาก็ได้ ในเชิงการวิเคราะห์ระบบการเมืองกระบวนการเรียนรู้หรือการกล่อมเกลาทางการเมืองนี้ ในทัศนะของแอลมอนด์ จัดเป็นหน้าที่หนึ่งในระบบการเมืองตามตัวแบบการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional Approach) โดยเป็นหน้าที่นำเข้าสู่ระบบการเมือง หรือ Input Functions ซึ่งทำหน้าที่บำรุงรักษาระบบให้คงอยู่ ตามตัวแบบนี้ แอลมอนด์ตั้งสมมติฐานว่า ในแต่ละระบบการเมือง จะมีการสืบทอดวัฒนธรรมและโครงสร้างของระบบการเมืองยู่ตลอดเวลา และการสืบทอดดังกล่าวนี้ เป็นไปได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง อีสตันและเดนนิส (Easton and Dennis 1969, 7) อธิบายว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นวิธีการที่สังคมส่งผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง อันได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ปทัสถาน และค่านิยม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ สมาชิกใหม่ของระบบการเมืองซึ่งได้แก่ เด็ก ๆ ก็จะต้องแสวงหารูปแบบความโน้มเอียงเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา อันจะย่อมมีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเมือง. อุตมรัฐ (Πολιτεία, มีความหมายว่า "การปกครองที่ดีที่สุด"; Res Publica, มีความหมายว่า "กิจการสาธารณะ"; The Republic) เป็นบทสนทนาของโสกราตีสที่เขียนโดยเพลโต ประมาณ 360 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในบรรดางานเขียนที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีทางด้านปรัชญาและการปกครองอย่างมากที่สุด และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเพลโต เนื้อหาในเรื่องเป็นการสนทนาระหว่างโสกราตีสกับชาวกรุงเอเธนส์ และชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม และข้อสงสัยว่าผู้มีใจเป็นธรรมจะมีความสุขมากกว่าผู้มีใจคดหรือไม่หากมีนครในอุดมคติ โดยที่นครแห่งนี้ปกครองโดยกษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ บทสนทนาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักปรัชญา รูปแบบและความขัดแย้งระหว่างแนวคิดทางปรัชญากับงานกวีนิพนธ์ รวมถึงสื่อให้เห็นจิตวิญญาณอันเป็นอมต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การกล่อมเกลาทางการเมืองและอุตมรัฐ

การกล่อมเกลาทางการเมืองและอุตมรัฐ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปรัชญาเพลโต

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

การกล่อมเกลาทางการเมืองและปรัชญา · ปรัชญาและอุตมรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

การกล่อมเกลาทางการเมืองและเพลโต · อุตมรัฐและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การกล่อมเกลาทางการเมืองและอุตมรัฐ

การกล่อมเกลาทางการเมือง มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ อุตมรัฐ มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 14.29% = 2 / (6 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การกล่อมเกลาทางการเมืองและอุตมรัฐ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »