โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับชมพู่

ดัชนี อันดับชมพู่

อกและตาของ'''Blue Eyes Fuchsia''' จากอันดับชมพู่และวงศ์ Onagraceae อันดับชมพู่ หรือ Myrtales เป็นอันดับของพืชมีดอกในกลุ่มโรสิดแท้ 2 หรือกลุ่มมัลวิด ในระบบ APG III ประกอบด้วยวงศ์ต่อไปนี้.

61 ความสัมพันธ์: ชมพู่ชมพู่มะเหมี่ยวชมพู่ออสเตรเลียชมพู่ป่าชมพู่น้ำชมพู่น้ำดอกไม้ชมพู่แก้มแหม่มพลองเหมือดพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงคู่แท้กามูกามูกานพลูฝรั่งฝาดฝาดขาวมะชมพู่ป่ามะยมฝรั่งมังเคร่ช้างยูคาลิปตัสลัดวิเจียเล็กลำพูลำพูป่าวงศ์ชมพู่วงศ์พญารากดำวงศ์ลำพูวงศ์สมอวงศ์ตะแบกวงศ์โคลงเคลงสกุลฝาดสกุลลัดวิเจียสมอพิเภกสมอดีงูสมอไทยสนทรายหว้าหว้านาหูกระจงหูกวางอวดเชือกออลสไปซ์อินทนิลองุ่นบราซิลจุกนารีทับทิม (ผลไม้)ข้าวตอกแตกตะแบกนาตะแบกเกรียบแพงพวยน้ำโกฐจุฬารศโรสิด...โทะ (พืช)โคมญี่ปุ่นโคลงเคลงเมอร์เทิลเมาเล็บมือนางเสม็ดขาวเสม็ดแดงเทียนกิ่งขาวเทียนนาTerminalia ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

ชมพู่

มพู่ (Syzygium) เป็นสกุลพืชดอกชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำผลมารับประทานได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 1,100 สปีชี.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่ · ดูเพิ่มเติม »

ชมพู่มะเหมี่ยว

อกซึ่งเห็นเกสรตัวผู้ชัดเจน ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นตรง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบหนาและเหนียว เมื่ออ่อนเป็นสีแดง ก้านใบยาว ดอกดอกเฉพาะกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกสีแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดบวมพอง เกสรตัวผู้สีแดงจำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีกลีบเลี้ยงติดที่ปลายผล ผลสีแดงเข้มหรือเหลืองอมม่วงหรือขาวอมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ สีขาว มีกลิ่นหอม เมล็ดกลม สีน้ำตาล การกระจายพันธุ์พบมากในคาบสมุทรมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ผลใช้รับประทานสด ทำอาหารคาวเช่นยำโดยใช้เกสร เมื่อ แก่แล้วยังมีรสเปรี้ยว นิยมนำไปต้มรวมกับผลไม้อื่น ๆ ให้มีรสเปรี้ยวน้อยลง เปลือกลำต้น ใบและรากมีสรรพคุณเป็นยา รสชุ่มคอ มีวิตามินซี และแคลเซียมสูง เสริมสร้างกระดูกและฟัน ไฟล์:Starr 070321-6134 Syzygium malaccense.jpg|ผล ไฟล์:Syzygium malaccense at Kadavoor.jpg|ตา ไฟล์:Pommerac01.JPG|ผล ไฟล์:Pommerac.whole.jpg|ผลสุกทั้งผล ไฟล์:Pommerac.cut.jpg|ผลสุกผ่าครึ่ง.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่มะเหมี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

ชมพู่ออสเตรเลีย

มพู่ออสเตรเลีย เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบหนาและแข็ง เขียวสดเป็นมัน ดอกช่อ พู่ของเกสรตัวผู้เป็นพู่สีขาวชัดเจน ผลกลมรีหรือหลมแป้น สุกแล้วเป็นสีชมพูหรือแดงเข้ม ผลรับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่ออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ชมพู่ป่า

มพู่ป่า เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมักโค้งงอ ใบเดี่ยว ขยี้แล้วไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ก้านยาว ดอกช่อออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปหลอด กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสด ทรงคล้ายลูกข่าง มีหลายเมล็ด กลีบเลี้ยงติดที่ส่วนปลายของผล ผลสีขาวหรือแดง ฉ่ำน้ำ ผิวเป็นมันวาว ไม่มีกลิ่น เมล็ดขนาดเล็ก รูปกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลคล้ายชมพู่แก้มแหม่ม แก่แล้วยังมีรสฝาด ในอินโดนีเซียใช้ใบอ่อนห่ออาหารว่างที่ทำจากข้าวเหนียวหมัก รสฝาดในผลเกิดจากแทนนิน.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

ชมพู่น้ำ

มพู่น้ำ เป็นพืชในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 15 เมตร ใบเรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน ใบหอกหรือแกมรูปไข่ ยาว 9-28 เซนติเมตร โคนกลมหรือเว้าตื้น ก้านใบยาว 3.5-8 มิลลิเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะสั้น ๆ ตามปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มี 2-6 ดอก ก้านดอกยาว 3-5 มิลลิเมตร ฐานดอกยาว 1-1.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาว 3-6.5 มิลลิเมตร ดอกสีชมพู แดงหรือเหลือง มี 4 กลีบ ขนาด 1.4-1.7 เซนติเมตร เกสรเพศผู้วงนอกยาว 2-3 เซนติเมตร รังไข่มี 2 ช่อง ผลกลม สีเขียวอ่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-2.7 เซนติเมตร ภายในมีเนื้อสีขาว.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ชมพู่น้ำดอกไม้

มพู่น้ำดอกไม้ เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่น้ำดอกไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ชมพู่แก้มแหม่ม

'ผลชมพู่แก้มแหม่มผ่าครึ่ง ชมพู่แก้มแหม่ม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae กิ่งก้านโค้งงอ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบเหนียวคล้ายหนัง มีจุดใสบนใบ ก้านใบใหญ่ ดอกดอกตามยอดและซอกใบของใบที่ร่วงไปแล้ว ดอกช่อ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีปลายของกลีบเลี้ยงที่โค้งเข้าข้างในติดที่ปลายผล ผลสีแดงอ่อนจนถึงขาว เนื้อสีขาวคล้ายฟองน้ำ ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแบนหรือกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิยมปลูกไปทั้งภูมิภาค ในอินโดนีเซียนิยมนำไปทำโรยักหรือนำไปดองที่เรียกอาซีนัน เปลือกผลมีลักษณะคล้ายไขเคลือบ เนื้อค่อนข้างแห้ง มีกลิ่นหอม ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และชมพู่แก้มแหม่ม · ดูเพิ่มเติม »

พลองเหมือด

ลองเหมือด หรือเหมือดแอ่ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Memecylaceae แตกเป็นร่องตามยาวของลำต้น สีน้ำตาลถึงดำ ใบเดี่ยว เนื้อใบหนา ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีฐานรองดอกรูปถ้วย กลีบดอกสีม่วงหรือน้ำเงินเข้ม อับเรณูโค้งคล้ายอักษร J ผลกลมเมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีม่วงเข้ม ผลมีรสฝาดหวาน รับประทานเป็นผลไม้ รากหรือลำต้นใช้ต้มรักษาโรคกระเพาะอาหาร หรือต้มผสมกับยาอื่น รักษาโรคหืด ใบเมื่อนำมาเคล้ากับพริกแล้วตากแดดช่วยให้พริกสีสด ป้องกันไม่ให้แมลงมาเจาะพริกแห้ง กิ่งและลำต้นทำเป็นน้ำด่างใช้แช่ไหมและฝ้ายก่อนย้อม สามารถสกัดสีเหลืองออกมาได้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และพลองเหมือด · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: อันดับชมพู่และพืชใบเลี้ยงคู่แท้ · ดูเพิ่มเติม »

กามูกามู

มล็ดกามูกามูแห้ง กามูกามู (โปรตุเกสและcamu camu, camu-camu, camucamu), กาซารี (caçari) หรือ อาราซาดากวา (araçá-d'água) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กชนิดหนึ่งในวงศ์ชมพู่ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำลำธารในป่าดิบชื้นแอมะซอนของประเทศบราซิล เวเนซุเอลา โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู กามูกามูเป็นญาติใกล้ชิดกับองุ่นบราซิล (Myrciaria cauliflora) และรัมเบอร์รีหรือกวาวาเบอร์รี (Myrciaria floribunda) มีความสูงของต้นประมาณ 3–5 เมตร (10–16 ฟุต) ออกผลขนาดเล็กคล้ายผลเชอร์รี มีสีแดงอมม่วง รสเปรี้ยว และมีปริมาณวิตามินซีสูงมาก กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 2–3 ของน้ำหนักผล.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และกามูกามู · ดูเพิ่มเติม »

กานพลู

กานพลู เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และกานพลู · ดูเพิ่มเติม »

ฝรั่ง

ปลือกต้นฝรั่ง ดอกฝรั่ง ฝรั่ง (Linn.) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ฝรั่งเป็นพืชที่มีจุดกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก หลักฐานทางโบราณคดีในเปรูชี้ให้เห็นว่า มีฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนครืสตกาล พ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้ไปยังถิ่นต่างๆทั่วโลก เข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนในประเทศไทย คาดว่าเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษคือ Guava ซึ่งมาจากภาษาสเปน คำว่า Guayaba และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba ฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ ย่าหมู (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ตรัง, ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ หรือ ย่าหมู หรือ ย่าหวัน (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส).

ใหม่!!: อันดับชมพู่และฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ฝาด

ฝาด หรือขวาด แดงสองเปลือก เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae เป็นพืชไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นเรียบสีเทาอมขาว เมื่ออายุมากขึ้นผิวจะแตกเป็นสะเก็ด หลุดร่วงได้ง่าย มีกลิ่น ใบเดี่ยว สีเขียวเรียบเป็นมัน ใบหนา ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว เกสรตัวผู้สีขาวยาวกว่ากลีบดอก ผลเดี่ยว ยอดอ่อนรับประทานได้ ใช้เป็นผักแกล้ม ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ผลสุกรับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และฝาด · ดูเพิ่มเติม »

ฝาดขาว

ฝาดขาวกำลังออกดอกที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย ฝาดขาว เป็นพืชหนึ่งในสองชนิดในสกุลฝาด เป็นไม้ยืนต้น กลีบดอกสีขาว ขอบใบประดับและกลีบเลี้ยงมีต่อม เกสรตัวผู้เรียงเป็นสองวงชัดเจน เกสรตัวเมียติดที่ฐานรองดอก เนื้อไม้ใช้ทำด้าม และเครื่องมือเครื่องใช้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และฝาดขาว · ดูเพิ่มเติม »

มะชมพู่ป่า

มะชมพู่ป่า เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นกระจุก ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ฐานรองดอกเจริญเป็นรูปถ้วย ผลสุกรับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และมะชมพู่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

มะยมฝรั่ง

มะยมฝรั่ง เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ใบเกลี้ยงเป็นมัน มีตุ่มใสบนผิวใบ ใบจะเป็นสีแดง ดอกหอม สีขาวครีม กลีบเลี้ยงเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ห้อยลง ทรงกลมแบน ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีส้ม แก่สีแดงสดหรือค่อนข้างดำ ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นไม้พื้นเมืองในบริเวณสุรินัมในอเมริกาใต้ ไปจนถึงกายอานาและปารากวัย ปัจจุบันมีปลูกทั่วไป ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกที่เกาะชวา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย แต่ไม่มากนัก รับประทานผลสดหรือแปรรูปเป็นแยม เยลลี่ หรือดอง ในบราซิลใช้ผลิตน้ำส้มสายชูหรือไวน์ ใช้เป็นไม้ประดับ ใบมีน้ำมันเมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน ใช้ไล่แมลง เปลือกลำต้นมีแทนนินใช้ฟอกหนัง ในสุรินัมและบราซิลใช้ใบบดละเอียดเป็นยาเจริญอาหาร ในชวาใช้ผลเป็นยาลดความดันโลหิต.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และมะยมฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

มังเคร่ช้าง

ื่อสามัญ โคลงเคลงขน ชื่อท้องถิ่น เหมรฺช้าง หรือ มังเครช้าง(กระบี่) ลำต้น เป็นไม้พุ่ม (S) สูง 1-5 เมตร สีน้ำตาลอมม่วง แตกกิ่งก้านในระดับต่ำและแตกเป็นจำนวนมาก ทรงพุ่มกว้างครึ่งทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตรงข้าม รูปร่างเป็นใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ตวใบสากมีขนปกคลุม ขนาดของใบ กว้าง3-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกช่อ กระจกที่ปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอก 3-6ดอก กลีบดอกมี 5กลีบ เป็นสีชมพู ม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 5-6 เซนติเมตร ผล เป็นผลเดี่ยวเกิดแต่ฐานรองดอกมีรูปร่างคล้ายคนโท มีขนจำนวนมาก ผลสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีม่วง เนื้อในแบบเปียกสีน้ำเงินเข้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ผลแตกออกตามขวาง ที่อยู่ บริเวณป่าชายเลน ดินค่อนข้างแข็ง สูงกว่าระดับน้ำทะเล 5-10 เมตร ประโยชน์น้ำต้มใบหรือน้ำคั้นจากใบใช้แก้โรคท้องร่วง โรคบิด และระดูขาว ราก ช่วยบำรุงธาตุเ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้อ่อนเพลีย และ เพิ่มภูมิคุ้มกันโร.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และมังเคร่ช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ยูคาลิปตัส

ูคาลิปตัส (Eucalyptus) เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน มีมากกว่า 700 ชนิด ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับชมพู่และยูคาลิปตัส · ดูเพิ่มเติม »

ลัดวิเจียเล็ก

ลัดวิเจียเล็ก เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้น้ำในสกุลลัดวิเจีย วงศ์พญารากดำ ใช้เป็นไม้ประดับสวยงาม หมวดหมู่:วงศ์พญารากดำ หมวดหมู่:ไม้ประดับ.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และลัดวิเจียเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ลำพู

ลำพู (Cork tree, Mangrove apple) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ Sonneratiaceae พบทั่วไปตามดินเลนริมแม่น้ำหรือคลอง ที่มีระดับน้ำขึ้นน้ำลงท่วมถึง ขึ้นได้ทั้งในน้ำจืดหรือน้ำกร่อย ลำพูมีลักษณะเรือนยอดเป็นทรงพุ่ม ลำต้นเป็นแบบ Pettis's model มีการเจริญติดต่อกันไป ลำต้นค่อนข้างกลมมีกิ่งเกิดในแนวตั้ง เจริญทางด้านข้างมากกว่าทางยอด เมื่อลำต้นแตกหักจะสร้างกิ่งใหม่ขึ้นได้เนื่องจากมีตาสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก สีเขียว ขอบใบเรียบ แตกใบตรงกันข้ามกันเป็นคู่ มีก้านใบสีชมพูมองเห็นแต่ไกล ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกบริเวณปลายยอด ลักษณะผลแก่มีเปลือกหนาสีเขียวอมเหลือง เนื้ออ่อนนุ่ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ประมาณ 1000 ถึง 2500 เมล็ด ผลลำพูแก่มีกลิ่นแรง จะร่วงหล่นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน เป็นพืชที่รับประทานได้ ดอกนำไปแกงส้ม หรือใช้เป็นผักสด รับประทานกับขนมจีน ลำพูไม่มีรากแก้ว จะเกิดรากแผ่กระจายไปด้านข้างขนานกับผิวดินตื้นๆ และมีรากเล็กๆ แตกแขนงทางด้านล่างทำหน้าที่ยึดเกาะ และมีรากฝอยอีกชั้นทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหาร ลำพูยังมีรากพิเศษช่วยในการหายใจ ลักษณะรูปกรวยแหลมยาวแทงโผล่พื้นดินรอบโคนต้น มีความยาวประมาณ 10-50 ซม.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และลำพู · ดูเพิ่มเติม »

ลำพูป่า

อกลำพูป่าในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ลำพูป่า หรือ ลำแพนเขา ลำพูขี้แมว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Sonneratiaceae เปลือกลำต้นขรุขระเล็กน้อย สีออกเทา ส่วนปลายกิ่งห้อยลง ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวอ่อนอมขาว ดอกเป็นดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มไว้ มี 5-6 กลีบ และติดทนจนเป็นผล เกสรตัวผู้มีเป็นจำนวนมาก สีขาว เกสรตัวเมียมีอันเดียว ปลายยอดของเกสรตัวเมียจะติดทนจนเป็นผลเช่นกัน ผลเดี่ยว สีเขียว เรียบ เป็นมัน มีพูเล็กน้อย เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือต่างๆ มีสีขาวและเป็นไม้เนื้ออ่อน ยอดอ่อนและผลใช้รับประทานเป็นผัก.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และลำพูป่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ชมพู่

''Pimenta dioica'' วงศ์ชมพู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Myrtaceae) เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีสมาชิกที่สำคัญคือชมพู่ กานพลู ฝรั่ง และยูคาลิปตัส สมาชิกในวงศ์ทั้งหมดเป็นพืชมีเนื้อไม้ มีน้ำมันหอมระเหย มีโฟลเอมอยู่ทั้งสองด้านของไซเลม ไม่ได้อยู่ด้านนอกเหมือนพืชวงศ์อื่นๆ ใบมีสีเขียว กลีบดอกมี 5 กลี.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และวงศ์ชมพู่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พญารากดำ

วงศ์พญารากดำ หรือOnagraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 640-650 สปีชีส์ มีทั้งไม้ล้มลุก ไม้พุ่มและไม้ยืนต้น มี 20-24 สกุล.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และวงศ์พญารากดำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ลำพู

Sonneratiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกอยู่ในอันดับ Myrtales โดยระบบ Cronquist ประกอบด้วยสองสกุล Sonneratia และ Duabanga ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ย่อยของวงศ์ Lythraceae ชื่อวงศ์นี้ตั้งตามนักธรรมชาติวิทยา Pierre Sonnerat.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และวงศ์ลำพู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์สมอ

วงศ์สมอ (Combretaceae) เป็นวงศ์ของพืชดอกในอันดับ Myrtales มีสมาชิกประมาณ 600 สปีชีส์ รวมถึง Combretum imberbe พืชในวงศ์นี้ 3 สกุลคือ Conocarpus, Laguncularia และ Lumnitzera เจริญในป่าชายเลน พืชในวงศ์นี้แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งร้อน บางชนิดเป็นไม้ก่อสร้างที่มีคุณภาพดี เช่น Terminalia ivorensis.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และวงศ์สมอ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะแบก

วงศ์ตะแบก หรือ Lythraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกมีสมาชิก 620 สปีชีส์ มีไม้พุ่มและไม้ยืนต้น อยู่ใน 31 สกุล สกุลส่วนใหญ่ได้แก่ Cuphea (275 spp.), Lagerstroemia (56), Nesaea (50), Rotala (45), and Lythrum (35).

ใหม่!!: อันดับชมพู่และวงศ์ตะแบก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์โคลงเคลง

วงศ์โคลงเคลง เป็นชื่อวงศ์พรรณไม้ จำพวก โคลงเคลง จุกนารี และแปร้น้ำเงิน ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม กลีบดอกเด่นชัด รังไข่เชื่อมติดกับฐานดอก มีระยางค์ยื่นออกมาตรงโคนอับเรณู.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และวงศ์โคลงเคลง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลฝาด

กุลฝาด (Lumnitzera) เป็นสกุลของไม้ป่าชายเลนในบริเวณอินโด-แปซิฟิกตะวันตก อยู่ในวงศ์ Combretaceae ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ black mangrove.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และสกุลฝาด · ดูเพิ่มเติม »

สกุลลัดวิเจีย

กุลลัดวิเจีย หรือ Ludwigia(primrose-willow, water-purslane, หรือ water-primrose) เป็นพืชตระกูลพืชน้ำ มีประมาณ 75 ชนิด สามารถพบได้ทุกพื้นที่ แต่ส่วนมากจะกระจายอยู่ในเขตร้อน;ตัวอย่างสปีชี.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และสกุลลัดวิเจีย · ดูเพิ่มเติม »

สมอพิเภก

มอพิเภก ภาษาสันสกฤตเรียก Vibhitaka विभितक หรือ Aksha अक्ष เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Combretaceae เปลือกต้นสีน้ำตาลอมแดง มีรอยแตกขนาดเล็ก บางและหลุดร่อนง่าย เปลือกชั้นในสีเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นดอกช่อโดยก้านดอกย่อยสั้นมากจนติดกับก้านดอกหลัก ช่อดอกชี้ขึ้น ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบเชื่อมติดกัน ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ผลเดี่ยว ทรงกลมรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ผิวเกลี้ยง เนื้อแข็งติดเมล็.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และสมอพิเภก · ดูเพิ่มเติม »

สมอดีงู

มอดีงู Roxb.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และสมอดีงู · ดูเพิ่มเติม »

สมอไทย

ปลือกต้นสมอในเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย สมอไทย หรือสมออัพยา (Retz.) กะเหรียงเรียกว่าม่าแนหรือหมากแหน่ะ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียใต้ ภาคอีสานเรียกหมากแน่ะ หรือม่าแน่ เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ปลายแหลม ใบใหญ่ขนาดประมาณใบกระท้อนสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนสีน้ำตาลปกคลุม ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอกสีขาวนวลขนาดเล็กกลิ่นหอม ออกเป็นช่อ ผลค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ผิวเรียบ สีเขียวอมเหลืองหรืออมแดง มีเมล็ดเดียว แห้งแล้วเป็นสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และสมอไทย · ดูเพิ่มเติม »

สนทราย

นทราย ชื่ออื่นๆ ก้านถินแดง สน (พังงา) สนนา (สุราษฎร์ธานี) สนหอม (จันทบุรี); สนดง สนหิน (อุบลราชธานี) สนหางสิงห์ (เลย) สนขี้ไก่ (กาญจนบุรี) ปอโฮ่งรุห์ สนเล็ก สนสร้อย (นครศรีธรรมราช)เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล เนื้อไม้สีน้ำตาล แข็งแรงทนทาน กิ่งแตกเป็นเนื้อมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งมีน้ำตาลอ่อน เรียวยาว เปลือกแตกเป็นขุย ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม คล้ายรูปเข็มแบน หนา ยาวไม่เกิน 8 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร โคนเป็นครีบ ไม่มีก้านใบ ใบมีกลิ่นหอม ใบใช้ ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้หวัด แก้ไอ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ ใบ ใช้ชงเป็นชาดื่มแก้ไข้ปวดเมื่อย ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้หน้ามืด วิงเวียน แก้ปวดหลัง ปวดเอว ช่วยขับปัสสาวะ ใบ ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลม ในมาเลเซียและสุมาตรา ใช้ในการอยู่ไฟ ในเวียดนามใช้ต้นทำเป็นไม้กวาด ใช้เป็นไม้ประดั.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และสนทราย · ดูเพิ่มเติม »

หว้า

หว้า เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และหว้า · ดูเพิ่มเติม »

หว้านา

หว้านา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นเรียบหรือแตกเป็นร่อง สีน้ำตาลอมเทา เปลือกชั้นในหนา สีน้ำตาลแกมชมพูหรือน้ำตาลอ่อน เหนียว ลอกออกเป็นแผ่นได้ ใบเดี่ยว ผิวเกลี้ยง ก้านใบบวม ดอกช่อ ผลเดี่ยว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีดำ ผลรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง เปลือกต้นแก้โรคบิด ท้องร่วง ล้างแผลเปื่อย แก้ปากเปื่อย ใบ ผล และเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และหว้านา · ดูเพิ่มเติม »

หูกระจง

หูกระจง หรือ แผ่บารมี (Terminalia ivorensis Chev.) มีถิ่นกำเนิดในป่าแอฟริกาตะวันตก แถบเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่ประเทศกินีไปจนถึงประเทศแคเมอรูน เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเพื่อใช้เนื้อไม้ ในแถบถิ่นกำเนิด เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีอายุยืน.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และหูกระจง · ดูเพิ่มเติม »

หูกวาง

''Terminalia catappa'' หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และหูกวาง · ดูเพิ่มเติม »

อวดเชือก

อวดเชือก เป็นพืชในวงศ์ Combretaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่อ สีขาวอมเหลือง ออกตามง่ามใบหรือปลายยอด ผลแห้งมีปีก 4 อัน รากใช้รักษากามโรค แก่นบำรุงโลหิต ผลช่วยเจริญอาหาร.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และอวดเชือก · ดูเพิ่มเติม »

ออลสไปซ์

ออลสไปซ์ (Allspice) เป็นเครื่องเทศ ทำจากผลอ่อน ของต้น Pimenta dioica นำมาตากแห้ง มีถิ่นกำเนิด แถบแคริบเบียน เม็กซิโกตอนใต้ และอเมริกากลาง ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกในเขตร้อนหลายส่วนของโลก ชื่อ "ออลสไปซ์" ได้รับการตั้งโดยชาวอังกฤษใน..

ใหม่!!: อันดับชมพู่และออลสไปซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อินทนิล

อินทนิล หรือ อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ) อินทนิลเป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดสกลนครและจังหวัดระนอง.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และอินทนิล · ดูเพิ่มเติม »

องุ่นบราซิล

องุ่นบราซิล, องุ่นต้น หรือ ฌาบูชีกาบา (jabuticaba) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) เป็นไม้โตช้า ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีแดง แก่แล้วเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว ผลมีลักษณะคล้ายองุ่น กลมรี ออกเป็นกระจุกแน่นตามลำต้น และกิ่งก้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีม่วงเกือบดำ ลักษณะคล้ายผลตะขบไทย มีเมล็ดอยู่ข้างใน ผลสุกใช้แปรรูปเป็นน้ำผลไม้ วิสกี้ ไวน์ และแชมเปญ และรับประทานสดเป็นผลไม้ในตลาดบราซิล นิยมรับประทานสด ใช้ทำแยม ทาร์ต พบสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็งในผล.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และองุ่นบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

จุกนารี

อดอก มองเห็นเกสรตัวผู้ โค้งเป็นรูปตัว s ชัดเจน (ภาพ: สะเมิง เชียงใหม่) จุกนารี หรือ เอ็นอ้าขน หรือ โคลงเคลงขนเป็นพืชมีดอกในวงศ์ Melastomataceae เป็นพืชท้องถิ่นในเขตภูเขาของจีน ภูฏาน พม่า กัมพูชา ลาว อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ เนปาล ไทยและเวียดนาม.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และจุกนารี · ดูเพิ่มเติม »

ทับทิม (ผลไม้)

ผลทับทิม แกะออก เห็นเมล็ดข้างใน บทความนี้กล่าวถึง "ทับทิม" ในฐานะผลไม้ชนิดหนึ่ง สำหรับทับทิมในความหมายอื่นๆ ดูได้ใน ทับทิม ทับทิม ชื่อท้องถิ่น เซี๊ยะลิ้ว, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 5-8 เซนติเมตร ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และทับทิม (ผลไม้) · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวตอกแตก

้าวตอกแตก เป็นพืชในวงศ์ Combretaceae เป็นไม้เลื้อยเปลือกสีเทาปนน้ำตาล กิ่งอ่อนรูปสี่เหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบเดี่ยว ดอกช่อ มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลรูปรีแข็ง ไม่แตก กลีบเลี้ยงติดทน ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ พบทั่วไปทางภาคกลางและภาคใต้ของอินเดี.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และข้าวตอกแตก · ดูเพิ่มเติม »

ตะแบกนา

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ 15-30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และตะแบกนา · ดูเพิ่มเติม »

ตะแบกเกรียบ

ตะแบกเกรียบ Pierre เป็นพืชในวงศ์ Lythraceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น เปลือกบางสีน้ำตาล ลอกออกได้เป็นแผ่น ใบเรียงตรงข้าม ใบมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่จะไม่มีขนหรือมีขนตามเส้นใบด้านล่าง ดอกช่อ ดอกสีชมพูอมม่วงหรืออมขาว กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม มี 6 กลีบ ทรงสามเหลี่ยม ติดทน กลีบดอก 6 กลีบ มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก อันที่อยู่ด้านนอกยาวกว่าอันด้านใน รังไข่มีขนสีขาว เกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแตก เกลี้ยง หรือมีขนส่วนปลาย เมล็ดจำนวนมาก มีปีก พบในไทยทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และในเขตอินโดจีน.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และตะแบกเกรียบ · ดูเพิ่มเติม »

แพงพวยน้ำ

แพงพวยน้ำ เป็นพืชในสกุลลัดวิเจีย กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา เอเชียถึงออสเตรเลีย ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกยาวได้กว่า 4 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีรากตามข้อ ต้นที่ลอยน้ำมีรากหายใจรูปกระสวย แตกกิ่งจำนวนมาก ใบรูปรี ขอบขนานหรือใบพาย ยาวได้ถึง 7 เซนติเมตร ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมมี 5 กลีบ ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกสีขาว โคนด้านในสีเหลือง กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 1-1.8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 10 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2.5-4 มิลลิเมตร ผลรูปทรงกระบอกยาว 1.2-2.7 เซนติเมตร มีสันตามยาว เกลี้ยงหรือมีขน ภายในมีเมล็ดเรียงเป็นแถวเดียว.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และแพงพวยน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

โกฐจุฬารศ

กฐจุฬารศ (Tasmanian blue gum, southern blue gum หรือ blue gum) อยู่ในวงศ์ Myrtaceae เป็นพืชพื้นเมืองของออสเตรเลีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นเรียบ สีขาวถึงสีนวล ใบเดี่ยว ดอกช่อทรงลูกข่าง ผลทรงกรวยกลม พืชชนิดนี้เมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันระเหยง่ายเรียกน้ำมันโกศจุฬารศหรือน้ำมันยูคาลิปตัส ใช้เป็นยาธาตุ ขับลม แก้อาการปวดแสบปวดร้อนจากไฟไหม้ abbr.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และโกฐจุฬารศ · ดูเพิ่มเติม »

โรสิด

รสิด หรือ rosids เป็นเคลดขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 70,000 สปีชีส์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ของพืชมีดอกทั้งหมดเคลดนี้แบ่งเป็น 16 - 20 อันดับ ขึ้นกับระบบการจัดจำแนก อันดับเหล่านี้แบ่งเป็นวงศ์ได้ประมาณ 140 วง.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และโรสิด · ดูเพิ่มเติม »

โทะ (พืช)

ทะหรือทุ หรือพรวดหรือพรวดกินลูก เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ ใบอ่อนและดอกมีผงรังแคสีขาวหรือเหลืองปกคลุม ใบเหนียวคล้ายหนัง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีผงรังแค เส้นใบนูน ดอกช่อ ออกตามง่ามใบ สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว ผลเดี่ยว กลม กลีบเลี้ยงติดทน ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด สีดำแกมม่วง มีผงรังแคปกคลุม รสหวาน มีเมล็ดมาก ผลแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ แบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และโทะ (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

โคมญี่ปุ่น

มญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fuchsia L.; ชื่อสามัญ: Fuchsia) เป็นสกุลของพืชมีดอก มักเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก Fuchsia triphylla, ซึ่งเป็นพืชชนิดแรกที่พบว่าอยู่ในสกุลนี้ ค้นพบครั้งแรกที่เกาะฮิสปานิโอลา (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐโดมินิกันและเฮติ) เมื่อ..

ใหม่!!: อันดับชมพู่และโคมญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โคลงเคลง

วาดทางพฤกษศาสตร์ ไมร์ทาเลส มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี --> โคลงเคลง หรือ สำเหร่ (Malabar melastome (Indian rhododendron)) เป็นไม้ดอกล้มลุกประเภทใบเลี้ยงคู่ กิ่งสี่เหลี่ยมมักมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวคู่ตรงข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบขั้นบันได ไม่มีหูใบ ออกดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้ (ก้านชูอับละอองเรณู) มีประมาณ 10 เกสรเรียงเป็น 2 วงและมีรยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด รากใช้เป็นยา แก้ร้อนในกระหายน้ำ.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และโคลงเคลง · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์เทิล

มอร์เทิล เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองในยุโรปใต้ แอฟริกาเหนือ เอเชียตะวันตก มาโครนีเซีย และอนุทวีปอินเดีย และเป็นพืชปลูกด้วย สูงได้ราว 5 เมตร ดอกสีขาว ผลมีเมล็ดมาก สุกเป็นสีน้ำเงินอมดำ ใบมีน้ำมันหอมระเหย File:Myrtus communis10.jpg|ต้นเมอร์เทิล File:Myrtus communis 001.JPG|ต้นระยะใกล้ File:Myrtus communis Fruits Closeup DehesaBoyalPuertollano.jpg|ผล File:Myrtus communis 10.jpg|ผลหมักในแอลกอฮอล์เพื่อทำมีร์โต.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเมอร์เทิล · ดูเพิ่มเติม »

เมา

มา หรือ หว้าดง, ขะเมา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae เปลือกลำต้นสีเทาแกมน้ำตาลหรือเทาแกมขาว ขรุขระ แตกเป็นรูปเหลี่ยม หนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ดอกช่อ สีขาว ออกใกล้ปลายกิ่ง ผลเดี่ยว สีเขียว มีเมล็ดเดียว เป็นอาหารของค้างคาว.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเมา · ดูเพิ่มเติม »

เล็บมือนาง

ล็บมือนาง เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเล็บมือนาง · ดูเพิ่มเติม »

เสม็ดขาว

อกเสม็ดขาว เสม็ดขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-ใหญ่ สูง 5-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือกสีน้ำตาลแดง มีใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอก ออก ก.พ - เม.ย ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ผล ออก มี.ค - ม.ย มีประโยชน์ ยอดอ่อน นำมาลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบตำพอกแก้เคล้ดขัดยอกฟกบวม.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเสม็ดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เสม็ดแดง

ต้นเสม็ดแดง หรือ ไคร้เม็ด เม็ก เม็ดชุน เสม็ด เสม็ดเขา เป็นต้นไม้ มีความสูง 7 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือกสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอก ออก ก.พ - เม.ย ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ผล ออก มี.ค - ม.ย ปลูกในสวนสมุนไพร หรือ ให้ร่มเงาในบ้านแข็งแรงและ ดูแลง่าย โดยยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ขนมจีนหรือข้าวยำ ตำพอกแก้เคล้ดขัดยอกฟกบวม.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเสม็ดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เทียนกิ่งขาว

ทียนกิ่งขาว หรือ เฮนนา (Henna) เป็นพืชในวงศ์ Lythraceae และเป็นพืชมีดอกชนิดเดียวในสกุล Lawsonia คำว่าเฮนนาในภาษาอังกฤษมาจาก ภาษาอาหรับ حِنَّاء (ALA-LC: ḥinnāʾ; ออกเสียง) หรือ حناหรือ เป็นไม้พุ่มเปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปรี ออกตรงข้ามกัน โคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกขาวเรียกเทียนกิ่งขาว ดอกแดงเรียกเทียนกิ่งแดง ผลกลมสีเขียวแก่แล้วสีน้ำตาล เปลือกต้น ผลและรากเมื่อรับประทานทำให้อาเจียน ท้องร่วง เป็นอัมพาตและแท้งบุตร กระจายพันธุ์ในแอฟริกาและเอเชียใต้ ใบสดของเทียนกิ่งต้มรวมกับเหง้าขมิ้นชันใช้รักษาเล็บขบ ผงใบแห้งใช้ย้อมผมให้เป็นสีแดงส้ม ใบมีสารลอว์โซน เป็นผลึกสีส้มแดงพืชชนิดนี้ใช้ทำสีย้อมที่เรียกเฮนนาเช่นกัน โดยใช้ทาผิวหนัง เส้นผม เล็บ ผ้าไหม ผ้าฝ้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเทียนกิ่งขาว · ดูเพิ่มเติม »

เทียนนา

ทียนนา หรือ ผักบุ้งรอ อยู่ในวงศ์ Onagraceae ขึ้นตามทุ่งนาและหนองน้ำทั่วไป ใบเดี่ยว ก้านใบสั้นมาก กลีบเลี้ยงเป็นหลอด ติดทนจนเป็นผล ดอกสีเหลือง เมล็ดกลมรีจำนวนมาก ใช้เป็นยาแก้บิด ลำไส้อักเสบ รากใช้พอกแก้สิว.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และเทียนนา · ดูเพิ่มเติม »

Terminalia

Terminalia เป็นสกุลของไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Combretaceae ประกอบด้วยสปีชีส์ราว 190 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อน ชื่อของสกุลนี้มาจากภาษาละติน terminus หมายถึงใบที่เกิดที่ปลายกิ่ง พืชในสกุลนี้สร้างสารทุติยภูมิที่เป็นประโยชน์ เช่น ไตรเทอร์พีน ฟลาโวนอยด์ แทนนิน และอื่น ๆ สารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ต้านมะเร็งได้.

ใหม่!!: อันดับชมพู่และTerminalia · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Myrtales

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »