เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ดัชนี พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

สารบัญ

  1. 839 ความสัมพันธ์: Aquilaria crassnaชบาชบาจีนชมพูภูคาชมพู่ชมพู่มะเหมี่ยวชมพู่ออสเตรเลียชมพู่ป่าชมพู่แก้มแหม่มชมจันทร์บราซิลนัตบลูเบอร์รีบลูเบอร์รีฟิลิปปินส์ชวนชมชะมวงชะมดต้นชะลูดชะอมชะครามชะเอมจีนชะเอมไทยบักวีตชัยพฤกษ์บัวหลวงบัวหิมะบันยันบาวบาบชาข่อยบานบุรีบานบุรีสีม่วงบานบุรีสีแสดบานไม่รู้โรยบานไม่รู้โรยป่าชำมะนาดชินชี่ชิโซะชุมเห็ดไทยชุมเห็ดเล็กบีตรูตชงโคนาช้องนางช้าแป้นช้าเลือดฟ้าทะลายโจร (พืช)พญายอพญาสัตบรรณพญาคชราชพญาไร้ใบพรมออสเตรเลียพระเจ้าห้าพระองค์ (พืช)... ขยายดัชนี (789 มากกว่า) »

Aquilaria crassna

อก ''Aquilaria crassna'' Aquilaria crassna คือพรรณไม้ชนิดหนึ่งในสกุลกฤษณา มีลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบเป็นคลื่นม้วนลงเล็กน้อย ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มออกที่ด้านข้างของกิ่งที่ยังอ่อน ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง กลีบรวมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ผลรูปไข่ปลายเป็นติ่งเล็กน้อย และมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองตามผิวผลหนาแน่น ฐานผลติดอยู่บนกลีบรวม แฉกของกลีบรวมหุ้มแนบผล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และAquilaria crassna

ชบา

() เป็นพืชมีดอกในสกุล Hibisceae วงศ์ Malvaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ มาเลเซีย ใช้เปลือกรากแช่ในน้ำข้ามคืนและดื่มขณะท้องว่างเพื่อรักษาฝี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชบา

ชบาจีน

ีน เป็นไม้ในสกุล Hibiscus มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย และเป็นดอกไม้ประจำชาติเกาหลีใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชบาจีน

ชมพูภูคา

มพูภูคา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bretschneidera sinensis) เป็นไม้ยืนต้นชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Bretschneideraceae เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ดอกออกเป็นช่อตั้งสีชมพู พบเฉพาะทางตอนใต้ของจีน เวียดนามตอนบน ไต้หวัน และภาคเหนือของไทย ที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมพูภูคา

ชมพู่

มพู่ (Syzygium) เป็นสกุลพืชดอกชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำผลมารับประทานได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 1,100 สปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมพู่

ชมพู่มะเหมี่ยว

อกซึ่งเห็นเกสรตัวผู้ชัดเจน ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นตรง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบหนาและเหนียว เมื่ออ่อนเป็นสีแดง ก้านใบยาว ดอกดอกเฉพาะกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกสีแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดบวมพอง เกสรตัวผู้สีแดงจำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีกลีบเลี้ยงติดที่ปลายผล ผลสีแดงเข้มหรือเหลืองอมม่วงหรือขาวอมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ สีขาว มีกลิ่นหอม เมล็ดกลม สีน้ำตาล การกระจายพันธุ์พบมากในคาบสมุทรมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ผลใช้รับประทานสด ทำอาหารคาวเช่นยำโดยใช้เกสร เมื่อ แก่แล้วยังมีรสเปรี้ยว นิยมนำไปต้มรวมกับผลไม้อื่น ๆ ให้มีรสเปรี้ยวน้อยลง เปลือกลำต้น ใบและรากมีสรรพคุณเป็นยา รสชุ่มคอ มีวิตามินซี และแคลเซียมสูง เสริมสร้างกระดูกและฟัน ไฟล์:Starr 070321-6134 Syzygium malaccense.jpg|ผล ไฟล์:Syzygium malaccense at Kadavoor.jpg|ตา ไฟล์:Pommerac01.JPG|ผล ไฟล์:Pommerac.whole.jpg|ผลสุกทั้งผล ไฟล์:Pommerac.cut.jpg|ผลสุกผ่าครึ่ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมพู่มะเหมี่ยว

ชมพู่ออสเตรเลีย

มพู่ออสเตรเลีย เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบหนาและแข็ง เขียวสดเป็นมัน ดอกช่อ พู่ของเกสรตัวผู้เป็นพู่สีขาวชัดเจน ผลกลมรีหรือหลมแป้น สุกแล้วเป็นสีชมพูหรือแดงเข้ม ผลรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมพู่ออสเตรเลีย

ชมพู่ป่า

มพู่ป่า เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมักโค้งงอ ใบเดี่ยว ขยี้แล้วไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ก้านยาว ดอกช่อออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปหลอด กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสด ทรงคล้ายลูกข่าง มีหลายเมล็ด กลีบเลี้ยงติดที่ส่วนปลายของผล ผลสีขาวหรือแดง ฉ่ำน้ำ ผิวเป็นมันวาว ไม่มีกลิ่น เมล็ดขนาดเล็ก รูปกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลคล้ายชมพู่แก้มแหม่ม แก่แล้วยังมีรสฝาด ในอินโดนีเซียใช้ใบอ่อนห่ออาหารว่างที่ทำจากข้าวเหนียวหมัก รสฝาดในผลเกิดจากแทนนิน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมพู่ป่า

ชมพู่แก้มแหม่ม

'ผลชมพู่แก้มแหม่มผ่าครึ่ง ชมพู่แก้มแหม่ม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae กิ่งก้านโค้งงอ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบเหนียวคล้ายหนัง มีจุดใสบนใบ ก้านใบใหญ่ ดอกดอกตามยอดและซอกใบของใบที่ร่วงไปแล้ว ดอกช่อ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีปลายของกลีบเลี้ยงที่โค้งเข้าข้างในติดที่ปลายผล ผลสีแดงอ่อนจนถึงขาว เนื้อสีขาวคล้ายฟองน้ำ ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแบนหรือกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิยมปลูกไปทั้งภูมิภาค ในอินโดนีเซียนิยมนำไปทำโรยักหรือนำไปดองที่เรียกอาซีนัน เปลือกผลมีลักษณะคล้ายไขเคลือบ เนื้อค่อนข้างแห้ง มีกลิ่นหอม ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมพู่แก้มแหม่ม

ชมจันทร์

ผลแก่ของต้นชมจันทร์ ชมจันทร์ หรือ ดอกพระจันทร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea alba L. อยู่ในวงศ์ Convolvulaceae สกุล Ipomoea มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลียและในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชมจันทร์

บราซิลนัต

ผลสดของบราซิลนัตผ่าครึ่ง เมล็ดบราซิลนัตพร้อมเปลือก บราซิลนัต (Brazil nut) เป็นพืชในอเมริกาใต้ในวงศ์ Lecythidaceae เป็นพืชที่เมล็ดรับประทานได้ ในบราซิล การโค่นต้นบราซิลนัตเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่วนผลที่มีเมล็ดแข็งอยู่ข้างในหนักและแข็งมาก สามารถทำลายยานพาหนะและเป็นอันตรายต่อคนที่เดินผ่านใต้ต้นได้ และเคยมีคนเสียชีวิตเพราะผลหล่นใส่ศีรษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบราซิลนัต

บลูเบอร์รี

ลูเบอร์รี (blueberry) เป็นพืชดอกในสกุล Vaccinium เป็นพืชหลายปีมีผลรสเปรี้ยวสีฟ้าเข้มขนาด 5–16 มม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบลูเบอร์รี

บลูเบอร์รีฟิลิปปินส์

ลูเบอร์รีฟิลิปปินส์ เป็นพืชในวงศ์ Ericaceae เป็นไม้พุ่ม ดอกช่อ กลีบดอกโค้งเข้าด้านใน สีแดงอมชมพูไปจนถึงขาวอมเหลือง ผลสด รูปกลม สีน้ำเงินเข้ม กระจายพันธุ์เฉพาะในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ผลรับประทานได้ นิยมนำไปแปรรูปเป็นแยมหรือเยลลี่ และเป็นอาหารนก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบลูเบอร์รีฟิลิปปินส์

ชวนชม

วนชม Adenium เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชวนชม

ชะมวง

มวงหรือส้มโมง เป็นชื่อของต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อมไปจนกระทั่งถึงขนาดกลางชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ GUTTTIFERACEAE พบได้ตามป่าร้อนชื้นทั่วไป เปลือกเรียบ สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีน้ำยางสีเหลืองขุ่น ใบเดี่ยว ผิวใบเป็นมัน เนื้อใบหนา มีรสเปรี้ยว ดอก เป็นช่อขนาดเล็ก กลีบดอกแข็ง หนา ผลสด ทรงกลม ผิวเรียบมีพูตื้นๆรอบผล ผลอ่อน สีเขียวอมเหลือง สุกแล้วมีสีเหลืองถึงส้มชอบขึ้นในดินกร่อยหรือดินชายทะเล ชะมวงมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบและผลรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย ฟอกโลหิต รากใช้แก้ไข้ ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทางภาคตะวันออกใช้ปรุงรสเปรียวในหมูชะมวง ทางภาคใต้ นำไปใบใส่ปรุงรสเปรี้ยวในต้มเนื้อชะมวง ผลชะมวง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะมวง

ชะมดต้น

| name.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะมดต้น

ชะลูด

ลูด Blume var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะลูด

ชะอม

อม เป็นพืชจำพวกอาเคเซีย นิยมรับประทานในทุกภาคของไทย เป็นพืชยื่นต้น ใช้ใบแก่และอ่อน เป็นสมุนไพร ของไทย ลำต้นของชะอมมีหนาม ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ใบอ่อนของชะอมหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละภาค โดยมากมักปลูกตามรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแล้วยังเป็นผักที่ทานได้ตลอดทั้งปี พืชอีกชนิดหนึ่งที่พบในประเทศ ซึ่งเป็นคนละสปีชีส์ย่อยกับชะอมคือผัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะอม

ชะคราม

ราม หรือ ช้าคราม เป็นพืชล้มลุก พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเล ที่น้ำเค็มขึ้นถึง ในไทยพบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม เป็นพืชทนเค็ม กิ่งก้านอวบน้ำ ใบแคบยาว พองกลม ปลายแหลมมีนวลจับขาว จำนวนมาก สีเขียวอมฟ้า ใบมีรสเค็ม ออกดอกตามซอกใบ ชะคราม ใช้เป็นดัชนีชี้วัดความเค็มของดินได้ โดยชะครามที่ขึ้นในดินเค็ม ใบออกสีม่วงแดง ส่วนต้นที่ขึ้นในดินจืด ใบจะออกสีน้ำเงินองค์ บรรจุน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะคราม

ชะเอมจีน

อมจีน ภาษาจีนกลางเรียกกันเฉ่า ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกกำเช่า เป็นพืชในวงศ์ Leguminosae เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี มีรากขนาดใหญ่จำนวนมาก ลำต้นมีขนสั้นๆ ปลายขนมีต่อม เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปกลมรี มีขนสั้นๆทั้งสองด้าน ดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกย่อยมีจำนวนมากติดเป็นกลุ่มแน่น กลีบดอกสีม่วงอ่อนหรือขาว ทรงแบบดอกถั่ ฝักกลม งอคล้ายเคียวหรือบิดงอ มีขนปกคลุม ภายในฝัก นั้นจะมีเมล็ดอยู่ 2-8 เม็ด เมล็ดนั้นจะมีลักษณะกลมและแบนหรือคล้ายรูปไต เป็นสีดำและมัน ใช้ทำยา สรรพคุณเหมือนชะเอมเทศ ในตำรายาจีน รากใช้เป็นยาแก้ปวด ขับเสมหะ เปลือกบางมียางสีแดง ด้านในสีเหลือง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะเอมจีน

ชะเอมไทย

ใบชะเอมไทย ชะเอมไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth อยู่ในวงศ์ Mimosoideae เป็นไม้ยืนต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร มีชื่อเรียกทั่วไป อ้อยช้าง ชะเอมป่า(กลาง) ส้มป่อยหวาน(ภาคเหนือ) ตาลอ้อย(ตราด) เซาะซูโพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ชะเอมไทยจะแตกต่างจากชะเอมเทศ ชะเอมไทยเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ มีหนาม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย คล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน โคนใบโป่งออก ดอกช่อออกตามปลายกิ่งลักษณะเป็นพู่ สีขาวหอม ก้านช่อดอกยาว เกสรตัวผู้สีขาว มีจำนวนมาก ผลเป็นฝัก เมื่ออ่อนมีสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลแบน นูนตรงที่มีเมล็ดอยู่มักพบขึ้นอยู่ตามเชิงเขา ดงป่าไม้ หรือป่าเบญจพรรณ พบมากในทางภาคตะวันออกของไทย ปลูกได้โดยการตอนกิ่งหรือเพาะเมล็.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชะเอมไทย

บักวีต

ักวีต ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagopyrum esculentum เป็นพืชในวงศ์ Polygonaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม กลวง ใบที่อยู่ด้านบนเกือบจะไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกสั้นสีแดงกุหลาบจนถึงสีขาว ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อนสีน้ำตาลดำไปจนเกือบดำ เมล็ดสีเขียวอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง การปลูกบักวีตเป็นอาหารพบที่เทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่อินเดีย เนปาล ไปจนถึงพม่า จีนและมองโกเลีย รวมทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกทางภาคเหนือของเวียดนามและไทย บักวีตสามารถเติบโตได้ใรที่ที่มีดินค่อนข้างเร็ว ปลูกธัญพืชอื่น ๆ ไม่ได้ผล ถ้าดินมีไนโตรเจนหรือความชื้นสูง ทำให้เฝือใบ ดอกบักวีต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบักวีต

ชัยพฤกษ์

ใบและดอกของชัยพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (Java Cassia, Pink Shower, Apple Blossom Tree, Rainbow Shower Tree) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝ้กเกลี้ยงใช้ทำยาได้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชัยพฤกษ์

บัวหลวง

ัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง วงศ์บัว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบัวหลวง

บัวหิมะ

ัวหิมะ (Snow lotus) เป็นชื่อสามัญของพืชในสกุล Saussurea อยู่ในวงศ์ Compositae เป็นพืชที่ขึ้นในที่สูง มีหิมะปกคลุม ในเอเชียกลาง และจีนเช่น ในทิเบต มณฑลยูนนาน เสฉวน ซินเจียงอุยกูร์ ในทางยาจีน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น แก้ข้ออักเสบ แก้ไข้ บำรุงหัวใ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบัวหิมะ

บันยัน

ันยัน (Banyan, Banyan tree, Banian) เป็นสกุลย่อยของไม้ในสกุล Ficus โดยจัดอยู่ในสกุลย่อย Urostigma ในวงศ์ Moraceae (โดยปกติแล้วจะหมายถึง ไกร (F. benghalensis)) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย ลักษณะส่วนใหญ่ของไม้ในสกุลย่อยนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศ ไม่มีรากตามข้อ ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบด้านล่างมีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ 1 ต่อมฟิกส์เกลี้ยง ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบหรือตามกิ่ง พบน้อยออกตามลำต้น ใบประดับที่โคน 2-3 ใบ ไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดมีใบประดับ 2-5 ใบ ปิดด้านบน ดอกเพศผู้เรียงกระจัดกระจายระหว่างดอกเพศเมีย หรืออยู่ใกล้ช่องเปิด กลีบรวม 3-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 1 อัน มีหลากหลายชนิด พบในประเทศไทยประมาณ 45 ชนิด นอกจากไกรแล้ว อาทิ ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamin), โพ (F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบันยัน

บาวบาบ

ผลบาวบาบใช้ทำเครื่องดื่มได้ บาวบาบ หรือ บาวแบบ (Kremetart, Hausa: Kuka, Seboi, Mowana, Shimuwu, Muvhuyu)เป็นพืชในสกุล Adansoniaที่แพร่หลายมากที่สุด พบในทวีปแอฟริกา ในบริเวณที่ร้อนแล้งหรือทุ่งหญ้าสะวันนา ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษของบาวบาบมีหลายชื่อ เช่น dead-rat tree (จากลักษณะของผล), monkey-bread tree (ผลที่นุ่ม แห้งและรับประทานได้) upside-down tree (กิ่งที่แตกทรงพุ่มคล้ายราก) และ cream of tartar tree เป็นไม้ผลัดใบ ไม่มีหนาม ลำต้นโป่งพองคล้ายขวด ผลเป็นแคปซูลแห้ง รูปร่างยาวหรือกระบอง ไม่แตก เนื้อมีลักษณะเป็นเยื่อ รสเปรี้ยวเล็กน้อย บาวบาบเป็นไม้ยืนต้นที่โคนบวมพองออก มองคล้ายขวดแชมเปญ ใช้สะสมน้ำ กิ่งก้านสาขาบิดเบี้ยวไปมา ทรงคล้ายราก ชาวแอฟริกาเชื่อว่าต้นไม้ชนิดนี้ถูกพระเจ้าสาปแช่ง จึงต้องเอารากชี้ฟ้ามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของแอฟริกา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกในเกาะชวาและฟิลิปปินส์ บาวบาบเป็นพืชสมุนไพรในแอฟริกา ผลมีแคลเซียมมากกว่าผักโขม มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีวิตามินซีมากกว่าส้ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบาวบาบ

ชาข่อย

อยหรือจ้าข่อย ชาฤษี เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae แตกกิ่งใกล้ผิวดิน ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ออกดอกในช่วงสิงหาคม – กุมภาพันธ์ นิยมนำมาปลูกเป็นรั้วและใช้เป็นไม้ประดับ พบครั้งแรกในไทยที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชาข่อย

บานบุรี

นบุรี หรือ บานบุรีเหลือง เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล บานบุรี เป็นสัญลักษณ์ ดอกไม้ประจำโรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบานบุรี

บานบุรีสีม่วง

นบุรีสีม่วง (ชื่อสามัญ: Purple Allamanda) มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบออกรอบข้อ ข้อละสี่ใบ ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงแดงหรือม่วงอมชมพู โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงเข้ม ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบานบุรีสีม่วง

บานบุรีสีแสด

นบุรีสีแสด หรือ บานบุรีแสด หรือ บานบุรีหอม มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่คอสตาริกา จนถึงทวีปอเมริกาใต้ในบราซิล เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ดอกเป็นดอกช่อ ดอกย่อยรูปกรวย กลีบดอกสีเหลืองอมส้ม โคนกลีบเป็นสีส้ม ดอกมีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบานบุรีสีแสด

บานไม่รู้โรย

นไม่รู้โรยเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบานไม่รู้โรย

บานไม่รู้โรยป่า

นไม่รู้โรยป่าเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบานไม่รู้โรยป่า

ชำมะนาด

ำมะนาด (L.) Ktze.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชำมะนาด

ชินชี่

นชี่หรือดันรอกหรือน้าม เป็นพืชในวงศ์ Rhamnaceae เป็นไม้เลื้อยมีหนามโค้งงอจำนวนมาก ผลรูปไข่หรือกลม มีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ำตาลเล็กน้อย ผลมีรสหวาน รับประทานได้ กระจายพันธุ์ในเกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายูและไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชินชี่

ชิโซะ

ซะ เป็นพืชชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Perilla frutescens var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชิโซะ

ชุมเห็ดไทย

มเห็ดไทย เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1 เมตร ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อท้องถิ่นอื่นคือ ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี) อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดเล็ก

มเห็ดเล็ก หรือ ขี้เหล็กผี เป็นไม้พุ่มในวงศ์ถั่ว เดิมอยู่ในสกุล Cassia ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ในสกุลขี้เหล็ก ลำต้นเรียบสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ลำต้นกลวงมีเยื่อสีขาว ลำต้นเหนียว มีกลิ่นเหม็น ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ด้านบนของโคนก้านใบโป่งพอง ดอกช่อ กลีบดอกสีเหลือง ผลเดี่ยวเป็นฝักแบนเล็กน้อย สีเขียวอมม่วง แก่แล้วแห้งเป็นสีน้ำตาล แตกตามตะเข็บ เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลกลมแบนเล็กน้อย ไม่พบต้นกำเนิดที่แน่นอนแต่ขึ้นกระจายทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีปลูกในอินโดนีเซี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชุมเห็ดเล็ก

บีตรูต

ีตรูต หรือชื่ออื่นเช่น ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง เป็นหัวพืชหรือรากที่สะสมอาหารที่อยู่ใต้ดิน เป็นพืชเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และบีตรูต

ชงโคนา

งโคนา หรือชงโคขี้ไก่ หรือส้มเสี้ยว (कठमूली / झिंझेरी; अपटा / सोना / श्वेत-कांचन; ஆத்தி atti / தாதகி tataki; അരംപാലി arampaali / കുടബുളി kutabuli / മലയത്തി malayaththi; తెల్ల ఆరెచెట్టు tella arecettu.; ಅಪ್ತಾ / ಅರಳುಕದುಮನ್ದರ; banraji, banraj; Gul-e-anehnal; และयमलपत्रक / युग्मपत्र) จัดเป็นพืชสมุนไพรและมีความสำคัญทางศาสนา เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ในรัฐมหาราษฏระ ใช้ใบของชงโคนามาแลกเปลี่ยนกันในเทศกาลทุศเสหระ ซึ่งมีความหมายถึงการมอบพระผู้เป็นเจ้าให้แก่กัน นอกจากนั้น ในอินเดียยังใช้ใบชงโคนาเป็นส่วนผสมในบุหรี่พื้นเมือง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และชงโคนา

ช้องนาง

้องนางเป็นพืชล้มลุกหลายฤดูและเป็นพืชท้องถิ่นในแอฟริกาตะวันตกและเอเชีย ทรงพุ่มสูงประมาณ 2.5 เมตร กลีบดอกสีม่วงหรือฟ้าเข้ม ส่วนที่ติดกันเป็นหลอดมีเหลือง หมวดหมู่:ไม้ดอกไม้ประดับ หมวดหมู่:พรรณไม้ในวรรณคดี หมวดหมู่:วงศ์เหงือกปลาหมอ ช้องนาง เป็นไม้พุ่มเล็ก แตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 6 ฟุต ใบคล้ายใบแก้ว ใบมนปลายแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง ดอกเป็นรูปแตร ปลายดอกผายออกเป็น 5 แฉก ในดอกตรงกลางมีตาสีเหลือง ดอกสีม่วง และยังมีชนิดดอกสีขาวเรียกว่าช้องนางขาว ดอกยาวประมาณ 2 นิ้ว ช้องนางมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกา ในเมืองไทยมีหลายชนิด เช่น T.affinis S.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และช้องนาง

ช้าแป้น

้าแป้น หรือ ผ้าลาย หูควายใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Verbenaceae ลำต้นสีเทาอมเขียวอ่อน ยอดกิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาลอมเขียว ใบเดี่ยว ใบสีเขียวเหลือบเป็นมัน หลังใบมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีชมพูอมม่วง ช่อดอกเป็นทรงครึ่งวงกลม บานพร้อมกันทุกดอกในช่อ ผลเดี่ยว กลม ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีดำ เมล็ดมีอันเดียว เปลือกต้มน้ำดื่ม และนั่งแช่ ช่วยบรรเทาอาการอัมพฤกษ์เบื้องต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และช้าแป้น

ช้าเลือด

้าเลือด เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยในวงศ์ Verbenaceae ลำต้นขาวอมเทา ผิวเรียบ ลำต้นอ่อนสีน้ำตาล มีจุดสีขาวเล็กน้อย ใบเดี่ยว เหนียว ไม่ลื่นมือ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมเขียว ผลเดี่ยวกลมเมื่ออ่อนสีเขียว สุกมีสีดำ มีเมล็ดแข็งเพียงอันเดียว ผิวเรียบเป็นมัน ใบใช้ห้ามเลือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และช้าเลือด

ฟ้าทะลายโจร (พืช)

ฟ้าทะลายโจร ((Burm.f.) Wall ex Nees.) เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว ในตระกูล Acanthaceae มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา โดยในตำรายาโบราณของไทย จัดให้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถหามารับประทานแก้โรคได้เอง สูงประมาณ 30-70 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฟ้าทะลายโจร (พืช)

พญายอ

ญายอ หรือ เสลดพังพอนตัวเมีย มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่ออื่นอีก คือ: ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)และ พญายอ (แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า "พญายอ" ส่วนมากนำมาทำเป็นยาสมุนไพรไทยจัดอยู่ในกลุ่มพืชถอนพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพญายอ

พญาสัตบรรณ

ญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ประไพรัตน์ สีพลไกร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพญาสัตบรรณ

พญาคชราช

ญาคชราช หรือ หูปอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Talipariti macrophyllus (Roxb. Ex Hornem.) Fryxell หรือ Hibiscus macrophyllus) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15-60 เมตร สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ได้ โดยเนื้อไม้จัดอยู่ในชั้นไม้คุณภาพปานกลางหรือเกรดบี มีความหนาแน่น ประมาณ 630 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื้อไม้คล้ายไม้สักทอง แต่เป็นไม้ที่มดมอดปลวกชอบกิน ระยะเวลาปลูกถึงตัดใช้งานได้อยู่ที่ 10 ปี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพญาคชราช

พญาไร้ใบ

ญาไร้ใบ เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae กิ่งอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล กิ่งกลม อวบน้ำ ใบเดี่ยว ขนาดเล็กมากจนเหมือนไม่มีใบ ออกตามลำต้น ทำให้เห็นแต่ลำต้นเป็นสีเขียว มียางขาว ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอมเหลือง มีขน พญาไร้ใบเป็นพืชมีพิษ ยางทำให้เกิดผื่นคัน บวมแดง รับประทานจะทำให้ปากขม คลื่นไส้ ทางเดินอาหารอักเสบอย่างรุนแรงและถ่ายเป็นเลือด ยางเข้าตาทำให้ตาบอด ยางใช้กำจัดหูด แต้มหัวริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาสมุนไพรในมาเลเซีย มีสารที่กดระบบภูมิคุ้มกันและส่งเสริมการเจริญของเนื้องอก และอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ ไฟล์:Euphorbia tirucalli Blanco1.210b.png|Habit ไฟล์:Euphorbia tirucalli 'Sticks on Fire' Plant 3264px.jpg|'Sticks-on-fire' ไฟล์:Euphorbia tirucalli, Flora of Tanzania 4532 Nevit.jpg|ต้นเต็มวัยในแทนซาเนี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพญาไร้ใบ

พรมออสเตรเลีย

รมออสเตรเลีย (Nerve plant) เป็นไม้ล้มลุก แบบไม้คลุมดินในวงศ์เหงือกปลาหมอ ต้นสูงประมาณ 10 - 15 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพรมออสเตรเลีย

พระเจ้าห้าพระองค์ (พืช)

ระเจ้าห้าพระองค์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dracontomelon dao (Blanco) Merr. & Rolfe) เป็นไม้ยืนต้น สูง 25–40 ม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปรีกว้าง มีใบ 6-9 คู่ เมื่อต้นโตเต็มที่จะให้ร่มเงาดีมาก ดอก เป็นสีเหลืองปนเขียว “ผล” รูปกลมรีเล็กน้อย แบ่งเป็นพู 5 พู แต่ละพูจะมีรูปคล้ายพระเรียงรอบผลห้าองค์ มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร โดยใช้ ผล ฝนกับหินลับมีด หรือ หินฝนยาสมุนไพร ผสมกับน้ำให้ข้นแล้วเอาน้ำที่ฝนได้ทารักษาบริเวณที่เป็น “หิด” หรือแก้พิษสัตว์ต่อย ในทางไสยศาสตร์เชื่อว่ามีฤทธิ์ทางคงกระพันชาตรี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพระเจ้าห้าพระองค์ (พืช)

พฤกษ์

กษ์, ซึก, มะรุมป่า หรือ จามจุรีทอง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกว่า จามจุรี) เป็นพืชวงศ์ถั่ว เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง ใบประกอบ ดอกออกเป็นช่อกระจุก เกสรตัวผู้เป็นพู่จำนวนมาก ผลเป็นฝัก ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ภายในมีเมล็ดแบน ๆ จำนวนมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพฤกษ์

พลองเหมือด

ลองเหมือด หรือเหมือดแอ่ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Memecylaceae แตกเป็นร่องตามยาวของลำต้น สีน้ำตาลถึงดำ ใบเดี่ยว เนื้อใบหนา ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีฐานรองดอกรูปถ้วย กลีบดอกสีม่วงหรือน้ำเงินเข้ม อับเรณูโค้งคล้ายอักษร J ผลกลมเมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีม่วงเข้ม ผลมีรสฝาดหวาน รับประทานเป็นผลไม้ รากหรือลำต้นใช้ต้มรักษาโรคกระเพาะอาหาร หรือต้มผสมกับยาอื่น รักษาโรคหืด ใบเมื่อนำมาเคล้ากับพริกแล้วตากแดดช่วยให้พริกสีสด ป้องกันไม่ให้แมลงมาเจาะพริกแห้ง กิ่งและลำต้นทำเป็นน้ำด่างใช้แช่ไหมและฝ้ายก่อนย้อม สามารถสกัดสีเหลืองออกมาได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพลองเหมือด

พลับพลา (พืช)

ลับพลาหรือพลองส้ม กะปกกะปู หลายหรือหมากกอม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Tiliaceae หรือ Malvaceae ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกสีน้ำตาลเข้มจนออกดำ ลำต้นเรียบมีสะเก็ดเล็กน้อย อาจมีพูพอน เปลือกมีความเหนียว ลอกออกได้ ใบเดี่ยว สีเขียว มีขนเป็นหนามแข็ง และขนสั้นสีน้ำตาลปกคลุม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองอมเทาหรือสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลเดี่ยว เมล็ดเดียวแข็ง กลม สีเขียวมีขนสั้นปกคลุม เปลือกผลเหนียว แก่แล้วผิวเป็นสีดำ มีเมล็ดแข็งเพียงเมล็ดเดียว มีเส้นใยหุ้มเมล็ด กระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย และเกาะชวา ใบนำมามวนยาสูบ เนื้อไม้เหมาะสำหรับทำตู้ เปลือกมีเส้นใยมาก ใช้ทำเชือกได้ ผลรับประทานได้ ในอินเดียใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อย แก้ไทฟอยด์ ท้องเสีย และแผลในปาก ไต้หวันใช้ใบชงน้ำดื่มแก้อาหารไม่ย่อย ในอินโดจีนนำใบมาย่างไฟแล้วต้มน้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ ทางภาคใต้ของไทย แก่นใช้ผสมกับตัวยาอื่นๆ ต้มน้ำดื่ม แก้หื.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพลับพลา (พืช)

พลับจีน

ลับจีน หรือพลับญี่ปุ่น เป็นไม้พุ่มผลัดใบในวงศ์ Ebenaceae ดอกแยกเพศ แยกต้นหรือร่วมต้น ใบเหนียวคล้ายหนัง เขียวเข้มเป็นมัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกขนาดเล็ก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ดอกสีเหลืองอมเขียว ผลเนื้อนุ่มกลมแบน สีเขียวอมเหลืองจนถึงสีแดง กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล พลับจีนพันธุ์ "Koushu-Hyakume" พันธุ์ที่ใช้ทำพลับแห้ง พลับจีนเป็นพืชที่เป็นเอกลักษณ์ของจีนในสมัยโบราณ นำไปปลูกในญี่ปุ่น ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกบ้างเล็กน้อยในเกาะสุมาตรา มาเลเซีย และภาคเหนือของไทย ผลรับประทานได้ ใช้ทำไอศกรีม เยลลี่ พันธุ์ที่มีรสฝาดใช้ทำพลับแห้ง แทนนินจากพลับจีนใช้เป็นสีทาผ้าหรือกระดาษ ความฝาดในผลพลับจีนเกิดจากแทนนินในเนื้อผล การแช่แข็งทำให้ความฝาดหมดไปเพราะเซลล์จะปล่อยแทนนินมาจับกับโปรตีนในผล เมื่อรับประทานผลดิบจะรู้สึกแห้งในปากเพราะแทนนินจะจับกับโปรตีนในปาก พลับจีนมีโพแทสเซียมและวิตามินเอสูง ผลพลับผ่าแสดงภายในผล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพลับจีน

พลัมยุโรป

ลัมยุโรป (Prunus domestica บางครั้งเป็น Prunus × domestica) เป็นพืชในสกุล Prunus ที่มีหลากหลายพันธุ์ บ่อยครั้งมักเรียกว่า "พลัม"เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพลัมยุโรป

พวงฟ้า

วงฟ้า เป็นไม้เลื้อยในสกุลพวงแก้วกุดั่น วงศ์ Ranunculaceae ใบประกอบมีใบย่อยสามใบ ขอบใบเว้าเป็นสามแฉก ดอกช่อออกที่ปลายยอด มีปุยสีฟ้าอ่อนที่ดอก ปลายกลีบมีเส้นยาว 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดย J.F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพวงฟ้า

พวงร้อย

วงร้อยเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพวงร้อย

พวงแสด

วงแสด เป็นพืชในวงศ์ Bignoniaceae มีชื่อสามัญอื่น ๆ คือ Orange trumpet, Flame flower, Fire-cracker vine พวงแสด พวงแสดเครือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพวงแสด

พะยอม

อม เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย และเวียดนาม มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง - เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพะยอม

พังกาหัวสุมดอกขาว

ังกาหัวสุมดอกขาว หรือขลัก ประสักแดง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae ลำต้นแตกเป็นร่องไม่ลึกมาก ผิวหยาบเป็นสะเก็ด เปลือกสีน้ำตาลเข้มถึงเทา โคนต้นเป็นพูพอน ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ผิวใบเป็นมัน ท้องใบสีเขียวอ่อนกว่าเล็กน้อย ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง ปลายแหลม กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลเดี่ยว ทรงคล้ายลูกข่าง มีเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลจะงอกออกมาเป็นฝัก สีเขียว ผิวเรียบ ปลายแหลมมน ไม้ใช้ทำเสาเรือน กระดาน และโป๊ะ ฝักใช้ต้มรับประทานได้Wild Fact Sheet.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพังกาหัวสุมดอกขาว

พังกาหัวสุมดอกแดง

ังกาหัวสุมดอกแดง หรือโกงกางหัวสุม (Black mangrove, Swart-wortelboom, Isikhangati, Isihlobane) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกต้นแตกเป็นแนวยาว สีน้ำตาลหรือสีดำ โคนต้นมีพูพอนสูง มีรากหายใจ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อน ก้านใบสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีแดง ดอกตูมรูปร่างเป็นทรงกระสวย กลีบดอกสีขาวอมชมพู ผลคล้ายลูกข่าง งอกตั้งแต่อยู่บนต้น ฝักคล้ายกระสวย อ่อนเป็นสีเขียวเข้ม แก่แล้วเป็นสีม่วงออกดำ กระจายพันธุ์ในเขตร้อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพังกาหัวสุมดอกแดง

พันงูเขียว

ันงูเขียว หรือในภาษามลายูเรียกบังกามาลัม อยู่ในวงศ์ Verbenaceae ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย นำทั้งต้นมาบดกับน้ำใช้รักษาอาการปวดและอัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพันงูเขียว

พิษนาศน์

ษนาศน์ ชื่ออื่นๆ แผ่นดินเย็น (อุบลราชธานี) นมราชสีห์ นมฤๅษี ถั่วดินโคก เป็นพืชในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสั้นมาก ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ แนบกับพื้นดินเป็นแนวรัศมี ใบย่อย 9-13 ใบ รูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมวงรี ใบย่อยปลายใบรูปไข่กลับ ผิวใบมีขนละเอียดสีขาว ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีม่วงเข้ม ก้านช่อดอกยาว ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน มีขนละเอียดสีขาว มีเมล็ดเดียว พิษนาศน์เป็นพืชสมุนไพร ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้ ราก ฝนกับน้ำดื่ม ช่วยลดไข้ในเด็ก ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนมแต่รับประทานมากไม่ดี ราก เหง้า ลำต้น ใบ ฝนทาฝี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพิษนาศน์

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพืชใบเลี้ยงคู่

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

พุทราจีน

พุทราจีนแห้ง พุทราจีน (jujube; พันธุ์ที่มีเปลือกสีน้ำตาลเข้มเรียก red date; Chinese date) ภาคอีสานเรียก บักทันหรือหมากกะทัน ภาคเหนือเรียกมะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น ภาษาจีนเรียก เป้กเลี้ยบ อินเดียเรียก เบอร์.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุทราจีน

พุทราทะเล

ทราทะเล เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Olacaceae ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีสีเทาอมแดง ผิวแตกตามความยาวของลำต้น มีหนามแต่ไม่มาก ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกตามง่ามใบ ผลเดี่ยว กลมยาวเล็กน้อย เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวของผลไม่เรียบมีปุ่มเล็กน้อย ผลใช้รับประทานได้ เนื้อผลมีรสเปรี้ยว ใบใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่เนื่องจากมีไซยาไนด์ จึงต้องปรุงสุกก่อนและไม่ควรรับประทานครั้งละมากๆ ในอินเดียใช้น้ำมันในเมล็ดปรุงอาหาร เมล็ดรับประทานได้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ในอินโดนีเซียใช้ใบปรุงรสชาติอาหาร เปลือกลำต้นมีแทนนิน เนื้อไม้แข็ง มีกลิ่นหอม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุทราทะเล

พุดชมพู

มพู ตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ (ค.ศ. 2004) เนื่องจากเคยสับสนกับ พุดใบใหญ่ Kopsia macrophylla Hook.f. และ พุดชมพู (เดิม) Kopsia fruticosa (Ker) A.DC.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุดชมพู

พุดพิชญา

ญา เป็นพืชในสกุลโมก ในประเทศไทยนำเข้าจากประเทศศรีลังกา มีชื่อท้องถิ่นว่า "อิดด้า" (Inda) มีความหมายว่าดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ผู้นำเข้าคือ คุณปราณี คงพิชญานนท์ ลักษณะของดอกสีขาวเหมือนกลุ่มดอกพุดในบ้านเรา เธอจึงนำชื่อ ดอกพุด มา สมาส เข้ากับวลีนามสกุล ออกมาเป็นชื่อใหม่ว่า "พุดพิชญา".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุดพิชญา

พุดภูเก็ต

ูเก็ตหรือ พุดป่า รักนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กในสกุลพุดวงศ์ Rubiaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ หอมแรงเมื่อใกล้โรย กลีบเลี้ยงติดอยู่กับผลจนผลแก่ เป็นไม้ถิ่นเดียวในไทย พบในภาคใต้ฝั่งตะวันตกตั้งแต่ภูเก็ต พังงา จนถึงสตูล พบครั้งแรกโดยศาสตราจารย์ชวลิต นิยมธรรม ที่อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต เมื่อ..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุดภูเก็ต

พุดจีบ

ีบ (Tabernaemontana divaricata)มีชื่อว่า টগর (bn:টগর) ใน ภาษาเบงกาลี มียางสีขาว ในสิลเหตเรียกว่า দুধফুল (ดอกน้ำนม) เป็นพืชที่มีสีเขียวตลอดปี อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีดอกพุดจีบสองชนิดในบังกลาเทศ อินเดีย คือชนิดที่มีดอกเดี่ยวกับอีกชนิดที่เป็นดอกกลุ่ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุดจีบ

พุดทุ่ง

ทุ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Holarrhena densiflora Ridl.; Holarrhena curtisii King & Gamble) หรืออาจเรียกว่า พุดน้ำ, ถั่วหนู, หัสคุณใหญ่, หัสคุณเทศ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5 ฟุต ลำต้นกลม ตั้งตรง เปลือกต้นของกิ่งก้าน และลำต้นมีสีน้ำตาลดำ ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลม เนื้อหนา ดอกเป็นช่อกลีบสีขาวหนา ผลเป็นฝักกลมยาว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุดทุ่ง

พุดซ้อน

ซ้อน ถิ่นเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ในประเทศจีน และเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวงขาว กระทุ่ม และกาแฟ มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ พุดจีน พุดใหญ่ เก็ดถะหวา (ภาคเหนือ) และอินถะหวา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุดซ้อน

พุงแก

งแก เป็นพืชในสกุลชิงชี่ วงศ์ Capparaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนาม กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว มีติ่งที่ปลายใบ ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ผลกลมรี สุกแล้วเป็นสีแดง ออกดอกช่วงธันวาคม – เมษายน พบครั้งแรกในประเทศไทย โดย J.E.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพุงแก

พูมารี

ูมารีหรือกระอวม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rutaceae ยอดและกิ่งอ่อนมีขนประปรายใบประกอบเนื้อใบหนา มีต่อมน้ำมันกระจาย ขยี้จะมีกลิ่น ดอกช่อ สีขาวแกมเหลืองหรือแกมเขียว ผลเดี่ยว เมล็ดแข็ง เปลือกลำต้นเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคผิวหนัง ใบภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางพื้นที่ นำใบไปรับประทานกับหมากแทนพลู ยังมีที่ใช้เป็นยาแก้ปวด และระงับการติดเชื้อในลำไส้ ผลดิบรับประทานไม่ได้ ผลสุกรับประทานได้ รสเปรี้ยวอมหวาน ในเวียดนามใช้รากเป็นยาเบือปลา ในอินเดียนำไม้ไปเผาถ่าน นำใบไปใส่สลั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพูมารี

พู่เรือหงส์

ู่เรือหงส์ เป็นพืชในสกุลชบา เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกาตะวันออก ตั้งแต่ เคนยา แทนซาเนีย และโมซัมบิก ลักษณะดอกคล้ายชบาแต่ดอกห้อยลง กลีบดอกสีแดงสดหรือชมพู ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และพู่เรือหงส์

กระบก

กระบก เป็นไม้ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคเหนือเรียกมะมื่น ภาคอีสานเรียกหมากบก ภาษาชองเรียกชะอัง สุโขทัยและโคราชเรียกมะลื่น ภาษาส่วยในจังหวัดสุรินทร์เรียกหลักกาย เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Irvingiaceaeไม่ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงสลับ ผิวเกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก มีขนนุ่ม ออกดอกรวมกันเป็นช่อโตที่ปลายกิ่ง สีขาวอมเขียวอ่อน ผลกลมรี ทรงกล้วยไข่ ขนาดใกล้เคียงกับมะม่วงกะล่อนขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเข้มขึ้น สุกเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อเละ เมล็ดแห้ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระบก

กระบาก

กระบาก เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุด ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลม ๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็ก ๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก ในประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระบาก

กระบิด

กระบิดหรือขี้แรด เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Euphorbiaceae แตกเป็นพุ่มแน่น ใบเดี่ยว ผิวใบสาก ดอกเป็นดอกช่อแบบกระจุก ดอกแยกเพศไม่แยกต้น ผลกลม แก่แล้วแตกเป็นสามเสี้ยว พบในป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ชื่อสกุลตั้งเป็นเกียรติให้แก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระบิด

กระพังโหม

กระพังโหม(กลาง) หรือจมูกปลาหลด อยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae เป็นไม้เถาขนาดเล็ก ไม่มีกลิ่น ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อย ยางสีขาว ใบเดี่ยวทรงยาวแคบ เรียงตรงข้าม ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาวอมชมพู ริมขอบกลีบมีขน ผลรูปไข่ ปลายโค้งเรียว เปลือกนิ่ม แก่แล้วแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก ปลายเมล็ดมีขนติดอยู่เป็นกระจุก ช่วยให้กระจายพันธุ์ได้ไกล ใบและดอกรับประทานได้ รากและใบมีรสขม แก้ไข้จับสั่น ในอินเดีย จีน และอินโดนีเซียใช้ดอก ใบ และผล ต้มเอาน้ำกลั้วคอ ชะล้างแผลเพื่อฆ่าเชื้อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระพังโหม

กระจับนก

กระจับนก เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Celastraceae ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องตื้นๆ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ขอบใบหยักเล็กย้อย ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง เมื่อบานครั้งแรกจะเป็นสีชมพูอ่อน แล้วจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงอมชมพู กลีบม้วนไปด้านหลังเล็กน้อย เกสรตัวเมียเด่น เห็นชัดเจน ผลเดี่ยว สีเขียว ทรงผลเป็นทรงห้าเหลี่ยม ปลายผลกว้าง สอบเข้าหาขั้ว ใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือประมง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระจับนก

กระทงลาย

มล็ดกระทงลาย กระทงลาย หรือกระทุงลาย หรือหมากแตก (ภาษาสันสกฤต: jyotishmati ज्योतीष्मती, ภาษาฮินดี: Mal-kangani माल-कांगनी, ภาษาจีน: deng you teng 灯油藤) เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae เป็นพืชที่พบในอินเดีย และในประเทศไทย เป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกแยกเพศ แยกต้น ดอกตัวผู้มีฐานรองดอกรูปถ้วย กลีบดอกสีเขียว ผลกลม แห้งแตก เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดงหรือแดงสด ยอดอ่อนลวกรับประทานกับน้ำพริก ลำต้นใช้เป็นส่วนผสมในยารักษาโรคมาลาเรีย โรคบิด หรือใช้เป็นยากระตุ้นประสาท เมล็ดมีน้ำมัน คั้นมาทำน้ำมันใส่ตะเกียง หรือใช้นวดให้กล้ามเนื้อคลายตัว ในอินเดียใช้น้ำมันของพืชนี้เป็นยา สารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ เมล็ดรับประทานไม่ได้ ทำให้ระคายคอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระทงลาย

กระดอม

กระดอม ((Lour.) Merr. หรือ Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz) เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุล Gymnopetalum ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย กระดอมสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรอันปรากฏในตำรับตำรายาโบราณของไทย โดยเฉพาะส่วนของเมล็ด ต้นกระดอมขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่รกร้าง มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแถบประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคราชบัณฑิตยสถาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระดอม

กระดิ่งช้างเผือก

กระดิ่งช้างเผือก อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae ไม้เลื้อยมีขน สีขาวอมเทา ใบเดี่ยว ผลเกือบกลมหรือรูปไข่ สุกแล้วเป็นสีแดง เมล็ดสีน้ำตาลอมดำ ใบใช้ตำพอกฝี รากต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย ดอกแก้ไข่ แก้จุกเสียด ผลต้มน้ำดื่มใช้เป็น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระดิ่งช้างเผือก

กระดุมทองเลื้อย

กระดุมทองเลื้อย หรือ เบญจมาศเครือ (Singapore dailsy) เป็นไม้ประดับหรือพืชคลุมดิน ขยายพันธุ์โดยการปักชำ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระดุมทองเลื้อย

กระโดนใต้

กระโดนใต้ Blume) Blume เป็นพืชในวงศ์ Lecythidaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ โคนต้นมีพูพอน หูใบร่วงง่ายรูปลิ่มแคบ ใบเดี่ยว แผ่นใบค่อนข้างบาง ดอกช่อ เรียงแน่น กลีบเลี้ยงติดทน กลีบดอกบาง สีออกเขียวอ่อน ผลมีหลายเมล็ด พบในไทยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เช่น ที่ ยะลา กระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะนิโคบาร์ไปจนถึงเกาะนิวกินี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระโดนใต้

กระเจาะ

กระเจาะ หรือ ขะเจาะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionpidae ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ดอกเป็นดอกช่อ ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีม่วงอ่อน บานวันเดียวแล้วโรย ติดผลเป็นฝักแบน แก่แล้วแตกเป็นสองซีก เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกที่แม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยหมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อ 6 พฤษภาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระเจาะ

กระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบราชบัณฑิตยสถาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบละว้า

กระเจี๊ยบละว้า เป็นพืชในวงศ์ Malvaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากแก้วมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นเหนือดินมีหนามยาว ดอกช่อ มีริ้วประดับ ดอกสีเหลือง แกนกลางเป็นสีม่วงขนาดเล็ก ผลรูปรีเป็นแคบซูลมีหนามแข็ง เมล็ดมาก พบในอินเดีย พม่า อินโดจีน จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หัวรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกระเจี๊ยบละว้า

กลีบเทียน

กลีบเทียน หรือ เพดาโก๊ะ เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Ranunculaceae ลำต้นเลื้อยได้ไกล มีขนยาวทั่วไป ใบประกอบมี 3 ใบย่อย ดอกออกที่ปลายยอด สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ พบในที่ชื้นแฉะในที่สูง ทางภาคเหนือตอนบน พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกลีบเทียน

กล้วยฤๅษี

กล้วยฤๅษี อยู่ในวงศ์ Ebenaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ผลกลมแป้นสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลือง ผลสุกรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกล้วยฤๅษี

กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาว Graham ex Benth.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกวาวเครือขาว

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง Roxb.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกวาวเครือแดง

กะทกรก

''Passiflora foetida'' กะทกรก (Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower) ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกะทกรก

กะทกรกต้น

กะทกรกต้น หรือ เจาะเทาะ เป็นพืชในวงศ์ Olacaceae เป็นพืชที่พบในมอริเชียส เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีกิ่งก้านมาก มีขนตามกิ่ง กิ่งแก่มีหนามใหญ่ ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบ ผลเป็นผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง สุกแล้วเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ทางภาคใต้ของไทย ใบนำไปแกงเลียง แกงส้มหรือแกงใส่กะทิแบบอื่น นำไปลวก จิ้มน้ำพริก เนื้อไม้มีรสฝาดใช้แก้พิษเบื่อเมา ใบตำพอกศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก ปวดศีรษะ พืชที่เรียกกะทกรกในตำรายาโบราณ มักหมายถึงพืชชนิดนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกะทกรกต้น

กะเมีย

กะเมีย ((Hunter) Roxb.) เป็นไม้เถาเนื้อแข็งในวงศ์ Rubiaceae เป็นพืชสมุนไพร โดยนำใบและกิ่งก้านของสีเสียดเทศ มาสกัดด้วยน้ำเดือด กรอง แล้วระเหยแห้ง จะได้สารสีน้ำตาลอ่อน แข็งเป็นก้อนสีน้ำตาลอ่อน เรียกว่า "สีเสียดเทศ" หรือ "สีเสียดแขก" องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มแทนนิน สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอล มีฤทธิ์ต้านเชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง (E.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกะเมีย

กะเม็ง

กะเม็ง (false daisy, white-head) เป็นพืชสมุนไพรของไทย ถูกนำมาใช้ในด้านการรักษาโรค จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก กะเม็งตัวเมีย คัดเม็ง (ภาคกลาง) บังกีเช้า (จีน) หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว (ภาคเหนือ).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกะเม็ง

กัญชา

กัญชา หรือในภาษาไทยเรียกว่า ปุ๊น หรือเนื้อ เป็นชื่อของพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งใช้สูบมีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่านและทอผ้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกัญชา

กัญชาเทศ

กัญชาเทศ เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงจีน เป็นพืชปลูกในสหรัฐ ในไทยพบตามหมู่บ้านชาวเขา ใบทรงคล้ายใบกัญชา ออกดอกตามซอก ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอมแรง มีสารลีโอนูรีน ทำให้เซื่องซึมเพ้อฝัน คล้ายถูกสะกดจิต มีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ตำรับยาพื้นบ้านใช้รักษามาลาเรีย ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชาเท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกัญชาเทศ

กัดลิ้น

กัดลิ้น เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Meliaceae ลำต้นแตกเป็นสะเก็ดบางๆ สัน้ำตาลอมเหลือง ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวกลีบดอกเชื่อมกันที่โคน ปลายแยก ผลเดี่ยว สุกแล้วเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือทำเป็นส้มตำร่วมกับผลตะโก ถ้ารับประทานมากจะกัดลิ้น ชาวไทยอีสานนำพืชชนืดนี้เป็นส่วนผสมในยารักษาโรคริดสีดวงทวาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกัดลิ้น

กันเกรา

ต้นกันเกรา กันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกันเกรา

กาบหอยแครง

กาบหอยแครง (Venus Flytrap) เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง กาบหอยแครงมีโครงสร้างกับดักคล้ายคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ และมีขนกระตุ้นบางๆบนพื้นผิวด้านในกับดัก เมื่อแมลงมาสัมผัสขนกระตุ้นสองครั้ง กับดักจะงับเข้าหากัน การที่ต้องการสิ่งกระตุ้นที่ซับซ้อนนี้ก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร ชื่อ Venus Flytrap นั้นอ้างอิงถึงเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของชาวโรมัน ขณะที่ชื่อสกุล Dionaea (เทพีไดโอนี Dionaea เป็นสกุลที่มีเพียงชนิดเดียวและเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aldrovanda vesiculosa และสกุลหยาดน้ำค้าง).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกาบหอยแครง

กากหมาก

กากหมาก เป็นพืชในวงศ์ Balanophoraceae เป็นพืชเบียน อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากไทร แยกเพศ ดอกตัวเมีย เป็นช่อสีเหลือง มีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ช่อดอกเรียวยาวคล้ายกระบอง ดอกตัวผู้สีเหลือง ช่อมีลักษณะคล้ายฝักข้าวโพด ลำต้นสีเหลือง โคนต้นมีลักษณะไม่แน่นอน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกากหมาก

กากหมากตาฤๅษี

กากหมากตาฤๅษี หรือขนุนดิน มีชื่อสามัญว่า Nutmeg tree เป็นพืชประเภทพืชเบียนหรือกาฝาก อยู่ในวงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae) ในประเทศไทยพบพรรณไม้วงศ์ขนุนดิน 1 สกุล คือ สกุล Balanophora มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ กากหมากตาฤๅษี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกากหมากตาฤๅษี

กาญจนิการ์

กาญจนิการ์ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Bignoniaceae ไม่ผลัดใบ ดอกช่อ มีดอกย่อยสีขาวจำนวนมาก โคนกลีบดอกเป็นหลอดเรียวยาว ขอบกลีบหยักเว้าและย่น ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก แห้งแล้วแตก เมล็ดแบนและมีปีกบาง ๆ ออกดอกเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ และยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ Paget ผู้เก็บตัวอย่างครั้งแรกจากกรุงเทพมหานครเมื่อ..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกาญจนิการ์

กาฝาก

กาฝาก เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae อันดับ Santalales สกุล Loranthaceae ชื่อไทยว่า "กาฝากของส้มโอ" ชื่อท้องถิ่น เดี้ยงแปงซ่าง(เมี่ยน)มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิต เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกาฝาก

กาฝากมะม่วง

กาฝากมะม่วง เป็นพืชเบียนในวงศ์ Loranthaceae ใบเดี่ยวแผ่นใบหนา ผิวเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ดอกช่อ สีเขียวนวลหรือค่อนข้างแดง ออกตามใบที่หลุดร่วงไปแล้ว ผลเดี่ยว ผลแก่เป็นสีเขียวหรือแดงคล้ำ มีเมล็ดเดียว เมล็ดมียางเหนียวติดมือ ผลเป็นอาหารของสัตว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกาฝากมะม่วง

กาหยีเขา

กาหยีเขา ภาคใต้เรียกหยีเขา เป็นพืชเขตร้อนในวงศ์ Leguminosae ผลรับประทานได้ โดยมีเปลือกหนาแข็ง สีน้ำตาลหุ้ม พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของไนจีเรีย เปลือกและใบมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ผลมีรสคล้ายมะขาม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกาหยีเขา

กานพลู

กานพลู เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกานพลู

กาแฟใบใหญ่

กาแฟใบใหญ่ หรือ กาแฟไลเบอริกา อินโดนีเซียเรียกโกปีนังกา ฟิลิปปินส์เรียกโกเปบาราโก เป็นพืชในสกุลกาแฟ วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ กิ่งเกลี้ยง ใบออกตรงข้าม มีหูใบระหว่างก้านใบ ออกดอกเป็นกลุ่มตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นหลอด กลีบดอกบิดเวียนไปทางซ้าย สีขาว ผลมีเมล็ดเดียว แข็ง สีเหลืองหรือสีแดง กาแฟใบใหญ่เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกา ปลูกเป็นการค้าที่อเมริกาใต้ และแอฟริกา นำมาปลูกที่อินเดียเมื่อ..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกาแฟใบใหญ่

กำลังเสือโคร่ง

กำลังเสือโคร่ง อยู่ในวงศ์ Betulaceaeเป็นไม้ผลัดใบระยะสั้น เปลือกต้นสีน้ำตาลแดงหรือเทาออกเงิน มีเลนติเซล เมื่อสับเปลือกมีกลิ่นคล้ายน้ำมันระกำ แก่แล้วจะลอกเป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษ เปลือกชั้นในมีกลิ่นหอม หูใบขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ใบเดี่ยว ขอบใบเป็นซี่จัก ยอดอ่อนมีขนสีเงิน ผิวด้านล่างมีจุดน้ำยางมากมาย ดอกแยกเพศไม่แยกต้น ดอกขนาดเล็ก อยู่เป็นช่อห้อยลง สีออกเขียว ดอกเพศผู้ห้อยเป็นพวงเหมือนพวงกระรอกเล็กๆ ช่อดอกเพศเมียเป็นช่อตั้ง ผลขนาดเล็ก แบนกว้าง มีปีกบาง กลุ่มผลมีกาบดอกปกคลุม และยังติดอยู่บนก้านแม้ว่าผลจะปลิวออกไปแล้ว พบในเอเชียใต้และคาบสมุทรอินโดจีน ไม้เนื้อแข็ง ทนทาน นิยมใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกมีน้ำมันหอม มีฤทธ์เป็นยา ใช้ทำเหล้า ใบใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เปลือกต้นใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เปลือกต้นใช้ดองเหล้าเป็นยาสมุนไพร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกำลังเสือโคร่ง

กำแพงเก้าชั้น

กำแพงเก้าชั้น เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae ชื่ออื่น ๆ ตากวง(นครพนม) ตากวาง กระดอเย็น(เกาะช้าง)เป็นไม้เถา หรือไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวล ผิวสีน้ำตาลมีกระด่างขาว เนื้อไม้สีชมพู มีวงปีสีแดงเข้ม ค่อนข้างถี่ จำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน มียางสีแดง กำแพงเก้าชั้นเป็นพืชสมุนไพร เนื้อไม้ บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้โลหิตและน้ำเหลืองพิการ บำรุงตับไต แก้ระดูขาว แก้กระษัยไตพิการ แก้ปวดหลังปวดเอว ตำรับยาแก้ปวดเมื่อย คลายเส้นเอ็น ใช้ลำต้นผสมกับยาอื่น (ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ทางจังหวัดนครราชสีมา ใช้ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกำแพงเก้าชั้น

กำแพงเจ็ดชั้น

กำแพงเจ็ดชั้น เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ในวงศ์ Celastraceae ชื่ออื่นๆ ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง) ขาวไก่ เครือตากวาง ตากวาง ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์) เปลือกลำต้นเรียบสีเทานวลหรือสีน้ำตาลอมขาว เปลือกล่อนงาย เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน เรียงซ้อนกันเป็นชั้น 7-9 ชั้น ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบห่อเข้าเล็กน้อย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบหรือซอกกิ่ง สีเขียวอมเหลือง เนื้อผลสีขาว กำแพงเจ็ดชั้นเป็นพืชที่นำไปใช้เป็นพืชสมุนไพรอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปใช้ ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษหรือเป็นส่วนผสมของยาระบาย รักษาโรคตับอักเสบ แก้หืด แก้เบาหวาน ราก ใช้ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย แก้เส้นเอ็นอักเสบ ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้นผสมกับยาอื่นใช้แก้ปวดเมื่อย ยาระบาย แก้ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ ทางจังหวัดนครราชสีมาใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น ชาวกัมพูชาใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกำแพงเจ็ดชั้น

กุหลาบ

กุหลาบ (rose) คือดอกไม้ในสกุล Rosa ในวงศ์ Rosaceae ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน, ประดับตกแต่งบ้าน, ประดับสถานที่, ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุหลาบ

กุหลาบพันปี

กุหลาบพันปี (Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุหลาบพันปี

กุหลาบญี่ปุ่น

กุหลาบญี่ปุ่น เป็นสปีชีส์หนึ่งของตระกูลกุหลาบ มีถิ่นกำเนิดบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย ในพื้นที่ของประเทศจีน, เกาหลี และ ญี่ปุ่น ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดฮกไกโด โดยมักจะเติบโตอยู่ตามชายฝั่งหรือเนินทราย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรจะสับสนกับ Rosa multiflora ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่มีอีกฉายาว่า "กุหลาบญี่ปุ่น".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุหลาบญี่ปุ่น

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่นเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุหลาบมอญ

กุหลาบแดง

กุหลาบแดง หรือ กุหลาบดอย เป็นไม้ดอกประเภทกุหลาบพันปีชนิดหนึ่ง ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) จัดเป็นกุหลาบพันปีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่โล่งบริเวณป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 800-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลำต้นเป็นไม้พุ่ม มีความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่ง มีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบแคบ มีขนสีน้ำตาล ดอก สีแดงอมส้ม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็กโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีขาวหรือแดง กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแตร ภายในมีจุดประสีแดงเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกค่อนข้างกลม ผล มีทรงรูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดมีจำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีกบาน กุหลาบแดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในที่สูง ให้ดอกสวยงาม โดยจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุหลาบแดง

กุหลาบเชียงดาว

กุหลาบเชียงดาวหรือคำขาวเชียงดาว เป็นพืชในวงศ์ Ericaceae เป็นไม้พุ่มอิงอาศัยลำต้นและกิ่งคดงอ แตกกิ่งสั้นๆจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผลรูปกระสวย ดอกบานเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบในภาคเหนือ พบครั้งแรกโดย C.C.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุหลาบเชียงดาว

กุ่มบก

กุ่มบก (sacred garlic pear หรือ temple plant) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ในสกุลไม้กุ่ม ในวงศ์ไม้แจง มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ กุ่มบกมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ สะเบาถะงัน ผักก่าม (อีสาน) เดิมถะงัน (เขมร).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุ่มบก

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ เป็นพืชในวงศ์ Capparidaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบแห้งสีออกแดง ดอกช่อ กลีบสีขาวแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลสีนวล มีเมล็ดมาก สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้า เปลือกต้น เปลือกรากและกิ่งอ่อนถูกผิวหนังแล้วทำให้คัน รับประทานเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกุ่มน้ำ

กีนัว

กีนัวสีแดง สุกแล้ว กีนัว (quinoa) เป็นพืชในวงศ์ Chenopodiaceae มีความใกล้ชิดกับผักโขมและปวยเล้ง ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว โคนต้นกลม ส่วนที่แตกใบต้นจะเป็นเหลี่ยม ต้นแก่เป็นสีเหลืองอ่อนหรือแดง ต้นอ่อนมีได้หลายสี สีแดงของพืชชนิดนี้เกิดจากเบตาไซยานิน ต้นอายุน้อยใบสีเขียวมีขนละเอียด เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง หรือม่วง ดอกช่อผลมีกลีบดอกห่อหุ้ม สามารถถูออกได้ ผลมีหลายสี เมล็ดสีขาว น้ำตาลหรือดำ ลำต้นสูง 1–2 เมตร พืชชนิดนี้เป็นพืชที่ปลูกในแถบเทือกเขาแอนดีส และกระจายไปทั่วอเมริกาใต้ จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ถือเป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง โดยชาวอินคาได้บริโภคกีนัวกันมาอย่างยาวนานแล้วด้วยเป็นพืชที่มีประโยชน์ เมล็ดนำไปคั่วแล้วบดละเอียดทำเป็นแป้ง นำไปต้มใส่ในซุปหรือทำพาสตา เมล็ดรสชาติมันแต่อบแล้วไม่ขยายตัว นำไปทดแทนแป้งสาลีในการทำขนมปังได้บางส่วน ใบและลำต้นรับประทานเป็นผักได้ทั้งสดหรือนำไปต้ม หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดคีนัวให้โปรตีนโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 ของน้ำหนัก มีแป้งร้อยละ 60 เม็ดแป้งขนาดเล็กมาก โดยเป็นอะมิโลสร้อยละ 20 และเปลี่ยนรูปเป็นวุ้นเหนียวที่ 55 องศาเซลเซียส เปลือกหุ้มเมล็ดมีสารซาโปนินที่เป็นพิษ กำจัดออกโดยการล้าง กวน และขัดถูอย่างรุนแรง พันธุ์ที่มีรสขมมีซาโปนินสูงถึงร้อยละ 4 ในปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และกีนัว

ก่วมแดง

ก่วมแดง หรือ ไฟเดือนห้าเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และก่วมแดง

ก่อหลับ

ก่อหลับ เป็นพืชในวงศ์ Fagaceae พบทางภาคใต้ของไทยและมาเลเซีย จัดเป็นพืชที่ใกล้สูญพันธุ์และกำลังหายไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิม เปลือกสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีเปลือกเหนียว ลอกได้ ใบเดี่ยว แผ่นใบเรียบเป็นมัน หลังใบสีเขียวนวล ดอกช่อ แยกเพศ อยุ่บนต้นเดียวกันและอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกตัวเมียอยู่โคนช่อ ดอกสีขาวอมเหลือง กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ผลเดียวมีกาบหุ้มเป็นจานรองหรือค่อนข้างแบน หุ้มส่วนฐานของผล เมื่อผลแก่ กาบมีลักษณะเป็นเกล็ด มี 1 ผลต่อ 1 กาบ ผลสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และก่อหลับ

ก่อหัวหมู

ก่อหัวหมู อยู่ในวงศ์ Fagaceae เป็นไม้ยืนต้น ขอบใบเรียบ ผลรูปกรวยคว่ำ มีกาบหุ้มผลรูปถ้วย เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือ เผาถ่าน ผลแห้งใช้ตกแต่งบ้าน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และก่อหัวหมู

ก่อผา

ก่อผาเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และก่อผา

ก่อแพะ

ก่อแพะ หรือก่อตาหมู ก่อขี้หมู ก่อหิน เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Fagaceae ใบเดี่ยว ขอบใบจักฟันเลื่อย ช่อดอกแยกเพศแต่อยู่ต้นเดียวกัน ดอกขนาดเล็ก สีเขียวหรือเหลืองอ่อน ผลกลมแป้นหรือรูปกรวยหงาย ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน พบในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขาทุกภาคของประเทศไทย พบครั้งแรกที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่หมอคาร์ ชาวไอร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และก่อแพะ

ก้ามกุ้งดอย

ก้ามกุ้งดอย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในสกุลก้ามกุ้ง วงศ์ Begoniaceae มีหัวติดอยู่หินปูน โคนใบเว้ารูปหัวใจ มีขนมาก เส้นแขนงใบนูนเด่นชัดที่ด้านล่างของใบ ดอกช่อสีชมพู ออกดอกเดือนกรกฎาคม – กันยายน พบตามเขาหินปูนในภาคเหนือตอนบน พบครั้งแรกที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายพุด ไพรสุรินทร์ เมื่อ 6 ตุลาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และก้ามกุ้งดอย

ฝรั่ง

ปลือกต้นฝรั่ง ดอกฝรั่ง ฝรั่ง (Linn.) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ฝรั่งเป็นพืชที่มีจุดกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก หลักฐานทางโบราณคดีในเปรูชี้ให้เห็นว่า มีฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนครืสตกาล พ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้ไปยังถิ่นต่างๆทั่วโลก เข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนในประเทศไทย คาดว่าเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษคือ Guava ซึ่งมาจากภาษาสเปน คำว่า Guayaba และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba ฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ ย่าหมู (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ตรัง, ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ หรือ ย่าหมู หรือ ย่าหวัน (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฝรั่ง

ฝาด

ฝาด หรือขวาด แดงสองเปลือก เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae เป็นพืชไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นเรียบสีเทาอมขาว เมื่ออายุมากขึ้นผิวจะแตกเป็นสะเก็ด หลุดร่วงได้ง่าย มีกลิ่น ใบเดี่ยว สีเขียวเรียบเป็นมัน ใบหนา ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว เกสรตัวผู้สีขาวยาวกว่ากลีบดอก ผลเดี่ยว ยอดอ่อนรับประทานได้ ใช้เป็นผักแกล้ม ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ผลสุกรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฝาด

ฝาง

ฝาง (Caesalpinia sappan, suō, 苏木 (植物)) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฝาง

ฝิ่นหนาม

thumb ฝิ่นหนาม (Mexican poppy; Mexican prickly poppy; cardo หรือ cardosanto) จัดเป็นดอกป๊อปปี้ชนิดหนึ่งที่พบในเม็กซิโก เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งและดินเสื่อมโทรม มักพบในพื้นที่ถนนตัดใหม่ มียางสีเหลือง ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ฟันแทะ แต่ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองในเม็กซิโกและสหรัฐฝั่งตะวันตกใช้พืชนี้เป็น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฝิ่นหนาม

ฝ้ายคำ

ฝ้ายคำ เป็นไม้ผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย โดยได้นำเข้ามาประเทศไทยเป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฝ้ายคำ

มะพลับ

มะพลับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros malabarica (Desr.) Kostel) เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางใบเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ Ebenaceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับต้นตะโก ต้นมะพลับนั้นมีดอกขนาดเล็กและก็มีผลที่ค่อนข้างกลมแต่ถ้าสุกแล้วสามารถกินได้มีรสชาติอร่อย ต้นมะพลับนอกจากมีผลที่กินได้แล้วยังมีคุณค่าในทางสมุนไพรสูงมากด้วย มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ เชื่อกันว่าการปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะพลับ

มะพลับเจ้าคุณ

มะพลับเจ้าคุณ เป็นไม้ยืนต้นในสกุลมะพลับ วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีน้ำตาลแกมดำ ใบเดี่ยว แผ่นใบหนา มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกแยกเพศแยกต้น โคนกลีบดอกเป็นรูประฆัง กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ – เมษายน กระจายพันธุ์ในแถบภาคเหนือ พบครั้งแรกในไทยเมื่อ 17 เมษายน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะพลับเจ้าคุณ

มะพอก

มะพอก เป็นพืชในวงศ์ Chrysobalanaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ลึกและแตกเป็นรูปสะเก็ด ใบเดี่ยว แผ่นใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างมีขนสีขาวนวล ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ผลสดค่อนข้างกลมหรือรูปกระสวย ผิวแข็งและมีตุ่มเล็กๆ สีเทาแกมน้ำตาล เมล็ดแข็ง ในผลมีน้ำมัน คั้นออกมาใช้ประโยชน์ได้ แก่นใช้ต้มน้ำดื่มและอาบรักษาโรคประดง ผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อรักษาโรคหืด เปลือกต้นทำให้ร้อนใช้ประคบแก้ช้ำใน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะพอก

มะพูด

มะพูด เป็นไม้ท้องถิ่นในอินโดนีเซียและหมู่เกาะอันดามัน ภาษาอินโดนีเซียเรียกมุนดู ภาษาเขมรเรียกประโฮด ภาคอีสานเรียกมะหูด เป็นไม้ยืนต้นเกิดในป่าดงดิบแล้งและป่าโปร่ง ต้นมีรอยบาดแผลมีน้ำยางสีขาวไหลออกมาแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบหนาเป็นมัน ดอกสีเหลืองอมเขียว ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสอมเปรี้ยวอมหวาน ผลมะพูดกินเป็นผลไม้มีรสเปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม ทางยา ใช้น้ำคั้นจากผลแก้เลือดออกตามไรฟัน ขับเสมหะ รากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ถอนพิษ เปลือกนำไปต้ม กรองเอาแต่น้ำ ใช้ล้างแผล ในชวาและสิงคโปร์ใช้เมล็ดตำละเอียดรักษาอาการบวม ใช้ย้อมสีเสื่อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะพูด

มะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะกรูด

มะกอกฝรั่ง

มะกอกฝรั่ง, มะกอกหวาน หรือ มะกอกดง เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อนขนาดกลาง ใบประกอบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน มีขนาดเล็ก ผลกลมรี สีเขียวเข้ม พอแก่สีจะอ่อนลง เนื้อมีรสมัน เปรียวอมหวาน ติดผลตลอดปี มีชื่อเรียกแตกต่างกันมากมาย เช่น พอมซิเทย์ (pomsitay) ในตรินิแดดและโตเบโก,Davidson, Alan, and Tom Jaine.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะกอกฝรั่ง

มะกอกออลิฟ

ผลมะกอกสีดำ ต้นมะกอกโบราณในกรีซ การเก็บเกี่ยวมะกอกในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มะกอกออลิฟ (olive) เป็นมะกอกชนิดที่นำมาทำน้ำมันมะกอก เป็นพืชท้องถิ่นในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นออกสีเทาออกขาวนวล ต้นโค้งงอ ดอกสีขาวครีมขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลเล็กเท่านิ้วหัวแม่มือ ผลดิบสีเขียว ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะกอกออลิฟ

มะกอกโคก

มะกอกโคก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Shrebera swieteniodes) มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น โยนีปีศาจ หีผี มะกอกดอน สำโรง มะกักป่า มะกอกเผือก เป็นต้น มะกอกโคก เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 15 เมตร เป็นพืชถิ่นเดียว พบตามภูเขาไฟเก่า เช่นแถบเขากระโดง เขาอังคาร เขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทนานแล้ว ใบ ประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ช่อใบยาว ใบย่อย 2 – 3 คู่ เรียงตรงข้ามรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปขอบขนาน แกมรูปรี ปลายแหลม โคนสอบเรียวปลายแคบไปตามก้าน ขอบเรียบ ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนนุ่ม ดอก ดอกเล็กออกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ผลของมะกอกโคกเป็นรูปไข่กลับ เปลือกแข็ง แตกเป็นสองซีกเมื่อแห้ง เมล็ดมีปีก ผลที่แก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มองเห็นเมล็ดข้างในได้ตามชื่อที่เรียกกัน หากนำไปกดบนดินทราย จะยิ่งดูแปลกคล้ายอวัยวะเพศหญิงมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะกอกโคก

มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน หรือ หมากเหลี่ยม เป็นพืชในวงศ์ Burseraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกสีน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ดอกสีขาวแกมเหลือง ผลรูปกระสวย สีเขียว ผลและเมล็ดใช้รับประทานได้ ใช้ปรุงอาหารแทนหนำเลี้ยบ เนื้อไม้ใช้ทำพิณ เปลือกใช้รักษาโรคลักปิดลักเป.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะกอกเกลื้อน

มะก่อ

มะก่อ เป็นไม้ในวงศ์ก่อ ขึ้นตามป่าดิบเขา เป็นไม้ผลัดใบไม่มียาง เปลือกต้นหนา ติดผลเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีครีมอมเหลือง เปลือกนอกสีเขียวมีหนามแหลม กะลาสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวครีม รสมัน นำเมล็ดมาคั่วหรือต้มให้สุก เพื่อรับประทานเนื้อในเมล็ด มีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะก่อ

มะม่วง

มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์)  เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วง

มะม่วงชัน

มะม่วงชัน เป็นพืชในสกุลมะม่วง วงศ์ Anacardiaceae พบในอินโดนีเซีย มาเลเซียและภาคใต้ของไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงชัน

มะม่วงกะเลิง

มะม่วงกะเลิงหรือมะม่วงขี้กวาง เป็นพืชในวงศ์ Anacardiaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบบางคล้ายกระดาษ ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกสีเขียวอมขาวหรือเหลืองอ่อน ก้านดอกยาว ดอกย่อยขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลคล้ายมะม่วงขนาดเล็ก สุกแล้วสีเหลืองอ่อน เนื้อสีเหลือง นุ่มมีเส้นใยมากและฉ่ำน้ำ พบทั่วไปในภาคใต้ของไทยไปจนถึงปาปัวนิวกินี ผลเมื่อสุกเนื้อเหลวเป็นน้ำ รับประทานโดยการเจาะผลแล้วดูด ผลดิบกินกับน้ำปลาหวาน ไฟล์:Mangga pari 071209-2355 plrtu.jpg ไฟล์:Mangga pari 071210-2455 plrtu.jpg ไฟล์:Mango ManggaAer Asit ftg.jpg.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงกะเลิง

มะม่วงหัวแมงวัน

มะม่วงหัวแมงวัน หรือรักหมู (चारोली; चिरौन्जी; चारोळी) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Anacardiaceae กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่จะเกลี้ยง ใบเดี่ยว ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้มี 10 อัน ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว แก่แล้วเป็นสีดำ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องใช้ต่างๆ ผลรับประทานได้ทั้งอ่อนและสุก แต่ยางของผลอาจทำให้ระคายเคืองในลำคอได้ ในอินเดียนำเมล็ดไปคั่ว ทำเป็นขนมกะเหรี่ยงเรียกสะโก่เร เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีน้ำตาลอ่อนหรือชมพู.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงหัวแมงวัน

มะม่วงจิ้งหรีด

มะม่วงจิ้งหรีด ภาคกลางเรียกมะม่วงป่า นราธิวาสเรียกกินนิง มาเลเซียเรียกกุยนี เป็นพืชในสกุลมะม่วง วงศ์ Anacardiaceae พบในกวม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มะม่วงจิ้งหรีดเป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทา มีน้ำยางทำให้ระคายเคือง ใบเหนียวคล้ายหนัง โคนก้านใบโป่งพอง ดอกช่อ ดอกย่อยสีออกเหลืองอมชมพูอ่อน ผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง เนื้อหนา สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ผลของมะม่วงจิ้งหรีดเมื่อสุกเป็นสีส้มอ่อน รสหวาน ออกดอกตลอดปี เนื้อผลสีเหลืองอมส้ม แน่น มีเส้นใย รสหวานอมเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นฉุนและกลิ่นขี้ไต้ เป็นพืชที่พบตามธรรมชาติน้อย มักพบเป็นพืชปลูก คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่างมะม่วงกับส้มมุด ผลสุกรับประทานได้ ผลดิบใช้ดองเกลือหรือตำน้ำพริก ในชวานำเมล็ดไปผลิตเป็นแป้ง เปลือกลำต้นใช้แก้โรคลมบ้าหมู ยางของผลดิบมีพิษ ต้นผลิตเรซินที่มีกลิ่น ดอกกลิ่นแรง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงจิ้งหรีด

มะม่วงขี้ยา

มะม่วงขี้ยา var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงขี้ยา

มะม่วงขี้ไต้

มะม่วงขี้ไต้ ภาคเหนือเรียก มะม่วงช้างเหยียบ มะม่วงแป๊บ ภาคใต้เรียก ส้มม่วงกล้วย ชาวกะเหรี่ยง จังหวัดลำปางเรียก โค๊ะแมงซา เป็นพืชในสกุลมะม่วง วงศ์ Anacardiaceae แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่บังกลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย พม่า เนปาล ไทย ชื่อสามัญอื่นๆได้แก่ มะม่วงหิมาลัย (Himalayan Mango) มะม่วงเนปาล (Nepal Mango) หรือ Pickling Mango.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงขี้ไต้

มะม่วงป่า

มะม่วงป่า เป็นพืชในสกุลมะม่วง วงศ์ Anacardiaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบเหนียวคล้ายหนัง เห็นเส้นใบชัดเจนทั้งสองด้าน ใบแห้งสีออกแดง ผลสดคล้ายมะม่วงลูกเล็ก สีเขียวอมเหลือง ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมเหลืองหรือขาวครีม เนื้อผลนุ่ม ฉ่ำน้ำ สีส้ม รสหวานพบการแพร่กระจายในมาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย เมื่อสุก เนื้อเหลวเป็นน้ำ รับประทานโดยการเจาะผลดูด ผลดิบกินกับน้ำปลาหวาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะม่วงป่า

มะยมฝรั่ง

มะยมฝรั่ง เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ใบเกลี้ยงเป็นมัน มีตุ่มใสบนผิวใบ ใบจะเป็นสีแดง ดอกหอม สีขาวครีม กลีบเลี้ยงเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ห้อยลง ทรงกลมแบน ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีส้ม แก่สีแดงสดหรือค่อนข้างดำ ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นไม้พื้นเมืองในบริเวณสุรินัมในอเมริกาใต้ ไปจนถึงกายอานาและปารากวัย ปัจจุบันมีปลูกทั่วไป ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกที่เกาะชวา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย แต่ไม่มากนัก รับประทานผลสดหรือแปรรูปเป็นแยม เยลลี่ หรือดอง ในบราซิลใช้ผลิตน้ำส้มสายชูหรือไวน์ ใช้เป็นไม้ประดับ ใบมีน้ำมันเมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน ใช้ไล่แมลง เปลือกลำต้นมีแทนนินใช้ฟอกหนัง ในสุรินัมและบราซิลใช้ใบบดละเอียดเป็นยาเจริญอาหาร ในชวาใช้ผลเป็นยาลดความดันโลหิต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะยมฝรั่ง

มะยมทอง

มะยมทอง เป็นพืชในวงศ์ Phyllanthaceae โคนต้นพองออกเป็นหัว ใบคล้ายมะยม ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ แก่แล้วก้านใบเป็นสีแดง เวลากลางคืนก้านใบหุบ ชอบขึ้นตามหน้าผ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะยมทอง

มะยมแก้ว

มะยมแก้ว เป็นพืชในวงศ์ Campanulaceae เป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ลำต้นเกลี้ยงหรือมีขนปกคลุม ลำต้นกลวงและมีเหง้าเป็นหัว ใบออกตรงข้าม ก้านใบยาว ขอบใบหยักแบบซี่เลื่อย ดอกสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ออกตามซอกใบ ผลมีเนื้อหลายเมล็ด สีขาว มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เปลือกเป็นเส้นใย พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนตอนใต้และไต้หวัน ผลรับประทานได้ เหง้ามีแป้ง ลำต้นและใบนำมาทำอาหารได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะยมแก้ว

มะริด (พืช)

มะริด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae ผลัดใบ แยกเพศ ใบอ่อนสีเขียวอ่อนหรือออกสีชมพู มีขนเป็นมันปกคลุม ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุก กลีบเลี้ยงรูปท่อ ปลายเว้าเป็นสี่กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกสั้นมากดอกใหญ่กว่าดอกตัวผู้เล็กน้อย ผลเปลือกบางมีขนสั้นๆสีน้ำตาลแดงปกคลุม กลิ่นคล้ายเนยแข็ง เนื้อสีขาว รสหวานฝาด ผลมะริด มะริดเป็นไม้พื้นเมือง ขึ้นได้ทั่วไปในฟิลิปปินส์ ผลสุกรับประทานได้ รสหวาน เนื้อไม้สีดำ ผิวเรียบทนทาน ในฟิลิปปินส์นิยมใช้ในงานหัตถกรรม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะริด (พืช)

มะละกอภูเขา

มะละกอภูเขา เป็นพืชในวงศ์ Caricaceae มีลักษณะเช่นดียวกับมะละกอแต่มีขนาดเล็กกว่า ก้านดอกสั้นมาก ผลรูปไข่กลับ เนื้อสีเหลืองอมส้ม ไม่เละ รสเปรี้ยว กลิ่นหอม เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเทือกเขาแอนดีส ตั้งแต่โคลัมเบียจนถึงชิลีตอนกลาง นำมาปลูกในสหรัฐ ศรีลังกา และอินโดนีเซีย รับประทานผลสุก หรือนำไปต้มกับน้ำตาล ในอเมริกาใต้ใช้ทำน้ำผลไม้และแยม พืชชนิดนี้มีความต้านทานต่อไวรัสใบด่างวงแหวนมากกว่ามะละกอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะละกอภูเขา

มะลิ

มะลิ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาในวงศ์มะลิ มีประมาณ 200 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ลักษณะดอกและกลิ่นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดหรือพัน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะลิ

มะลิลา

มะลิลา หรือ มะลิซ้อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac) เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 15-25 ซม. ใบออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง 3.5 - 4.5 ซม. ยาว 4-7 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะลิลา

มะลิสยาม

มะลิสยามหรือมะลิเมาหรือเสี้ยวดิน เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Oleaceae ออกดอกที่ปลายยอด มี 1-3 ดอก กลิ่นหอมแรง ผลกลม สุกแล้วเป็นสีแดง เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย กระจายพันธุ์ตามเขาหินปูนและป่าผลัดใบในภาคกลางและภาคตะวันตก พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 2 กุมภาพัน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะลิสยาม

มะลินก

มะลินกหรือเขี้ยวงู ไส้ไก่ต้น มะลิฟ้า แส้วน้อย subsp.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะลินก

มะลิไส้ไก่

มะลิไส้ไก่ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Oleaceae เลื้อยไปตามพื้นดินหรือต้นไม้อื่น เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ต้นเรียบ เมื่อแก่จะแตกเล็กน้อย มีเนื้อไม้แข็ง ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ใบห่อมาข้างหน้าเล็กน้อย ใบค่อนข้างหนา ช่อดอกเป็นกระจุก สีขาว กลีบเลี้ยงสีเขียว ผลเดี่ยว กลมรีเล็กน้อย เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ มีเมล็ดเดียว ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะลิไส้ไก่

มะลุลี

มะลุลี เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีดอกสีขาวคล้ายมะลิ มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน เลื้อยไกลราว 1-2 เมตร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะลุลี

มะสัง

มะสัง หรือ หมากกะสัง ((Scheff.) Swingle) เป็นพืชในวงศ์ Rutaceae เป็นไม้ยืนต้นแผ่กิ่งก้านจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งก้าน มีหนามแหลมยาว แข็ง ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบโค้งขึ้นด้านบนเล็กน้อย สีเขียวเข้ม เป็นมันวาว ตามผิวใบมีต่อมน้ำมัน ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบ คล้ายดอกกระถิน เป็นปุย ๆ มีสีขาว ผลทรงกลมสีเขียวคล้ายผลมะนาว ผิวเปลือกมีลายเป็นคลื่น เปลือกแข็งและหนามาก ผลอ่อนเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดสีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะสัง

มะส้าน

มะส้าน อยู่ในวงศ์ Dilleniaceae เป็นไม้ต้น ดอกสีเหลือง ผลกลม สุกแล้วเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม น้ำต้มเปลือกต้นปรุงเป็นยาฝาดสมานและแก้ท้องเสี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะส้าน

มะหลอด

มะหลอด จังหวัดราชบุรีเรียกสลอดเถา ภาคใต้เรียกส้มหลอด เป็นไม้ผลในวงศ์ Elaeagnaceae ในไทยพบมากทางภาคเหนือ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีเกล็ดละเอียดสีเทาหรือสีเงินอยู่ทั่วไป แผ่นใบสีเขียว ด้านล่างสีน้ำตาล มีเกล็ดเงินติดอยู่ ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน ผลทรงรีหรือรูปไข่ เมื่ออ่อนสีเขียว มีจุดสีขาวหรือสีเงินบนผล เมื่อสุกสีแดงหรือส้มแดง มีสองชนิดคือ ชนิดเปรี้ยว ผลใหญ่ สุกเป็นสีเหลืองส้ม มีรสเปรี้ยว และชนิดหวาน ผลเล็กกว่า สีอ่อนกว่า รสหวานอมฝาด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นพู มะหลอดชนิดเปรี้ยวนิยมบริโภคสดเป็นผลไม้ การนำไปแปรรูปมีน้อย ทางภาคเหนือนำไปทำส้มตำ นอกจากนั้น ยังมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ยาระบาย แก้ท้องผูก เถาใช้แก้ไข้พิษ เปลือกต้นช่วยขับเสมหะ ดอกใช้แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะ และใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นใช้ทำยาแก้ปวด แก้นิ่วได้ ไฟล์:Gardenology.org-IMG 8011 qsbg11mar.jpg ไฟล์:Gardenology.org-IMG 8012 qsbg11mar.jpg ไฟล์:Gardenology.org-IMG 8015 qsbg11mar.jpg.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะหลอด

มะหวด

มะหวดหรือกำชำ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Sapindaceae ผิวเปลือกเรียบหรือเป็นแผ่นสะเก็ด สีน้ำตาลอมแดง แตกกิ่งจำนวนมาก ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ขอบใบเรียบ ดอกช่อแบบแตกแขนง แยกเพศไม่แยกต้น กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีขาวอมชมพู ดอกตัวผุ้มีเกสรตัวผู้ 8 อัน ผลเดี่ยว กลมรี อ่อนเป็นสีเขียว สุกแล้วเป็นสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นดำ มีเมล็ดเดียว ใบอ่อนกินเป็นผัก ผลกินเป็นผลไม้ รสหวาน รากใช้แก้ไข้ ปวดศีรษะ พอกรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน แก้พิษฝี ตำพอกที่หัวฝี แก้โรคผิวหนัง เมล็ดแก้โรคไอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะหวด

มะอึก

มะอึก หรือ Solanum stramonifolium Hairy-fruited eggplant เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นพืชพื้นเมืองของไทยและอินโดนีเซีย ผลกลมมีขนอ่อนๆปกคลุมอยู่โดยรอบ ผลอ่อนสีเขียว รสขื่น สุกแล้วเป็นสีเหลืองอมส้ม มีรสเปรียวและหอม เมื่อสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดมาก รับประทานได้ ผลทั้งดิบและสุก มีรสเปรี้ยว ใส่ในน้ำพริก ใช้ปรุงแกงที่ออกรสเปรี้ยวเช่น แกงคั่วส้ม แกงคั่ว แกงหมูตะพาบน้ำ โดยต้องขูดขนออกก่อนนำไปทำอาหาร แล้วหั่นเป็นแว่น ชาวม้งนำผลไปใส่น้ำพริกทางจังหวัดจันทบุรีนิยมนำมายำ ทางภาคเหนือและภาคอีสานนำมาทำส้มตำ ใส่แกงส้ม ทางภาคใต้ใส่ในแกงเนื้อและปลาย่าง ดอกมะอึกกำลังบาน เมล็ดจำนวนมากในลูกมะอึกซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดมะเขือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะอึก

มะฮอกกานีใบใหญ่

มะฮอกกานีใบใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Swietenia macrophylla King), big leaf, Brazillian, Hondurus(English), caoba/aguono/mara(Spanish), mogno/aguano(Portuguese), mahogani grands feuillis(French), Echtes mahagoni(German), mogano(Italian), cheria mahogany(Malay).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะฮอกกานีใบใหญ่

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง หรือ เหมือด กาลังกาสาตัวผู้ อ้ายรามใบใหญ่ อยู่ในวงศ์ Myrsinaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว หนา ใบอ่อนสีแดง ดอกช่อ สีแดงหสลับขาว ผลกลม สุกแล้วเป็นสีดำ ใบใช้แก้ท้องเสีย เมล็ดแก้ลมพิษ ต้นแก้โรคเรื้อน ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ใช้ใบต้มรักษาอาการติดเชื้อไวรั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะจ้ำก้อง

มะขวิด

ผลแห้งของมะขวิดที่ขายในประเทศอินเดีย ผลมะขวิดอยู่บนต้น เปลือกต้นมะขวิด มะขวิด ภาคอีสานเรียกมะยม ภาคเหนือเรียกมะฟิด เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย สูงถึง 12 เมตร กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 เซนติเมตร ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ ยาวถึง 4 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะขวิด

มะขามแขก

มะขามแขก (Indian Senna,Tinnevelly Senna) มีทรงต้นเป็นพุ่มหรือกอขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย จะสูงประมาณ 60-150 เซนติเมตร ใบเหมือนกับกับมะขามทั่วไป แต่จะยาวกว่า และที่ปลายใบแหลมกว่า ก้านใบมีใบย่อย ประมาณ 7 คู่ และ ใบมีสีเขียว มีรสเปรี้ยวหวานชุ่ม ยอดของกิ่งจะออกดอกเป็นช่อสีเหลือง จะมีกลีบที่รองดอกและกลีอดอกเกือบมีขนาดที่เท่ากันจำนวน 5 กลีบ ออกผลเป็นฝักลักษณะเหมือนกับถั่วลันเตา แต่จะแบนกว่า กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีเขียวใสตอนยังอ่อน เมื่อแก่จะกลายเป็นสีดำ มีเมล็ดประมาณ 6 เมล็ด มีรสเปรี้ยว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะขามแขก

มะขามเทศ

มะขามเทศ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย หลักฐานบางแหล่งกล่าวว่าเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนบนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเหนือ กวม ฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษาเตลูกูเรียกว่า సీమ చింత "seema chintakaya" ชื่ออื่นๆได้แก่ guamúchil / cuamúchil / huamúchil (ในเม็กซิโก ภาษาสเปน), guamá americano (ในเปอร์โตริโก) opiuma (ภาษาฮาวาย), kamachile (ภาษาฟิลิปิโน),கோன புளியங்கா/ கொடுக்காப்புளி kodukkappuli (ภาษาทมิฬ), વિલાયતી આંબલી vilayati ambli (ภาษาคุชราต), जंगल जलेबी jungle jalebi หรือ ganga imli (ภาษาฮินดี), তেঁতুল tetul (ภาษาเบงกาลี), seeme hunase (ภาษากันนาดา) และ विलायती चिंच vilayati chinch (ภาษามราฐี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีหนาม ใบบางและเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีขาว เห็นเกสรตัวผู้เป็นพู่ชัดเจน ผลเป็นฝักโค้งเป็นปล้องๆ ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดง เนื้อในเป็นสีชมพูหรือสีขาว รสหวานหรือหวานอมฝาด ถ้าทิ้งไว้นาน เนื้อจะนุ่ม รสหวานจัดขึ้น แต่ถ้านานเกินไปจะมีกลิ่นเหล้าออกมา เมล็ดสีดำ มีปล้องละ 1 เมล็ด ฝักมะขามเทศ มะขามเทศในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะฝักเป็นสามกลุ่มคือนิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะขามเทศ

มะดะหลวง

มะดะหลวง เป็นพืชในวงศ์ Guttiferae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา ยางสีขาวเหนียว ลำต้นเกลี้ยง ใบมักห้อยลง ใบสีเขียวเข้ม ด้านบนเป็นมันเหนียวคล้ายหนัง ดอกสีขาว ผลเปลือกบางนิ่มสีส้มอ่อนหรือสีเหลืองเข้ม เมล็ดสีน้ำตาลเนื้อสีเหลืองแกมส้ม ลักษณะโดยทั่วไปใกล้เคียงกับมะพูด ผลดิบรับประทานได้หรือทำแยม รสเปรี้ยว ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร น้ำต้มผลแห้งปรุงรสด้วยน้ำตาลใช้ดื่มแก้ตับผิดปกติ บางครั้งใช้ยางเป็นสีย้อม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะดะหลวง

มะดัน

มะดัน (pierre.)หรือส้มไม่รู้ถอย หรือส้มมะดัน เป็น ผลไม้ที่เป็นประเภทไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE มีกิ่งก้านเล็กๆจำนวนมาก โคนกิ่งเล็กเป็นเต้านูน บางต้นมีกิ่งเล็กๆงอกสานกันคล้ายรังนก เรียกรกมะดัน ใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ดอกสีเขียว ผลมะดันนั้นมีลักษณะที่ยาวรีสีเขียวและเปรี้ยวจัด เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและขรุขร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะดัน

มะดูก

มะดูก เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะดูก

มะคังแดง

มะคังแดง หรือ ตุมกาแดง ชื่ออื่นๆคือ กาญจนบุรี เรียก จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง ราชบุรีเรียก จิ้งก่าขาว ชันยอด เชียงใหม่เรียก มะคัง นครราชสีมาเรียก มุยแดง ลุมพุกแดง เป็นพืชในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาลแดง มีขนนุ่มๆเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วไป โคนต้นและกิ่งมีหนามโดยรอบ หนามขนาดใหญ่ พุ่งตรงออกเป็นระยะ เนื้อไม้สีขาวนวล มะคังแดงมีฤทธิ์เป็นยา ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดลมเดินไม่สะดวก ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ไตพิการ แก้ปวดท้อง ขับพิษโลหิต และน้ำเหลือง เปลือกต้น ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้เปลือกต้น เข้ายากับมุ่ยขาว ทำเป็นลูกกลอน แก้ปวดเส้นเอ็น อัมพฤกษ์ อัมพาต แก้ริดสีดวงทวาร แก่น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน แก่นผสมกับยาชนิดอื่นๆ ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะคังแดง

มะคำดีควาย

มะคำดีควาย (A.DC.) หรือเรียกว่า มะซัก ประคำดีควาย เป็นชื่อต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE มีลักษณะของใบประกอบที่เรียงสลับกัน ผลออกเป็นพวง ค่อนข้างกลม ผลแก่จะแห้ง ค่อนข้างกลม ผิวย่น เปลือกแห้งสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผลมี 3 พู ส่วนใหญ่จะฝ่อไป 1 หรือ 2 พู เนื้อเหนียว ใส สีน้ำตาล เมล็ดกลมสีดำ เป็นมัน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะคำดีควาย

มะค่าแต้

มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม มะค่าหลุม มะค่าลิง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminosae ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ฝักแบนหรือกลมแบน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะค่าแต้

มะค่าโมง

มะค่า เป็นชื่อของไม้เนื้อแข็งยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นไม้ทางเศรษฐกิจได้ เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุโขทัย ผลัดใบช่วงสั้น ๆ สูงได้ถึง 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีเทาอ่อน หรือสีชมพูอมน้ำตาล ผิวต้นขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนประปราย ต้นแก่มักมีปุ่มปม เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 18-30 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะค่าโมง

มะงั่ว

มะงั่วหรือส้มมะงั่ว หรือ มะนาวควาย เป็นพืชในวงศ์ Rutaceae เป็นไม้พุ่มมีกิ่งมาก เปลือกลำต้นสีเทาอ่อน ไม้เนื้ออ่อน ยอดอ่อนสีม่วงหรือเขียวอมม่วง กิ่งอ่อนสีอมม่วง เป็นเหลี่ยม กิ่งแก่กลม ผิวเกลี้ยงมีหนามแหลมตามซอกใบ ใบประกอบลดรูปเหลือใบเดียว ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกสีชมพูหรือขาว ผลทรงกลมยาว ผิวหยาบ ผลสดเปลือกเป็นปุ่มปมเล็กน้อย เปลือกหนา สีเหลือง กลิ่นหอม แต่ละกลีบขนาดเล็ก รสออกเปรี้ยว เมล็ดรูปไข่จำนวนมาก มีสองพันธุ์คือ พันธุ์ที่มีรสเปรี้ยว ยอดและตาดอกสีชมพู เนื้อมีรสเปรี้ยว และพันธุ์ที่รสไม่เปรี้ยว ยอดและตาดอกไม่เป็นสีชมพู เนื้อรสไม่เปรี้ยว ส้มโอมือและส้มซ่าหวานจัดเป็นสายพันธุ์ย่อยของมะงั่ว เค้กมะงั่ว Yuja cha, ชาพื้นบ้านของเกาหลีทำจากมะงั่วและน้ำตาล ถิ่นกำเนิดของมะงั่วอยู่ในอินเดีย กระจายพันธุ์ไปจนถึงจีนและอิหร่าน ใช้เปลือกผลทำขนมหวานและเค้ก ใช้ทำน้ำหอม ในจีนใช้รากต้มน้ำรักษาอาการผิดปกติของระบบหายใจและปวดหลัง ผิวมะงั่วมีน้ำมันมากเรียกน้ำมันผิวมะงั่ว น้ำมะงั่วรสเปรี้ยว ใช้แก้ไอ ใช้เป็นน้ำกร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะงั่ว

มะตาด

มะตาด เป็นพืชในสกุลส้าน มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และทางตะวันออกของศรีลังกาจรดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน) และเวียดนาม และทางตอนใต้ของไทยถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซียGermplasm Resources Information Network: มะตาดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: ส้มปรุ ส้านกว้าง ส้านท่า ส้านใหญ่ (สุราษฎร์ธานี) ส้านป้าว (เชียงใหม่) แส้น (ตรัง, สงขลา).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะตาด

มะปราง

มะปราง เป็นชื่อของผลไม้เมืองร้อนชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae (วงศ์เดียวกับ มะม่วง มะกอก ฯลฯ) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะปรางมีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีใบมาก ไม่มีผลัดใบนอก กิ่งก้านแตกแขนงจนทึบ รากแก้วค่อนข้างแข็งแรงมากจึงสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี ดอกออกเป็นช่อและก็มีสีเหลืองเมื่อบาน ผลของมะปรางจะมีขนาดพอๆ กับไข่ของนกพิราบและก็มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มเวลาสุก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะปราง

มะปริง

มะปริง หรือปริง ตง ส้มปริง ภาษาเขมรสุรินทร์เรียกโค้ง เป็นผลไม้พื้นเมืองของประเทศไทย ลักษณะคล้ายมะปราง ต่างกันที่ผลเล็กและป้อมกว่า เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาดำ มียางสีเหลือง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบสีเขียวเข้มแกมม่วง ยอดอ่อนมีใบสีม่วงห้อยลง ดอกช่อ ออกตามซอกใบหรือตามกิ่ง ดอกสีเหลืองอ่อนหรือขาวปนเขียว ผลกลมรี ผลดิบสีเขียวอ่อน เนื้อกรอบชุ่มน้ำ ผลสุกสีเหลือง เนื้อนุ่ม เมล็ดสีม่วงมีรสฝ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะปริง

มะปี๊ด

มะปี๊ดหรือส้มจี๊ด คนจีนแต้จิ๋วเรียกกำกั๊ดหรือกิมกิก เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดในประเทศจีนแล้วจึงแพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ฮาวาย อินดีสตะวันตก อเมริกากลาง และอเมริกาเหนือ Morton, J.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะปี๊ด

มะนาวผี

มะนาวผี หรือ กรูดผี เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rutaceae ต้นสีน้ำตาลเข้ม มีหนามแหลมตามต้น เนื้อไม้สีเทา ใบเดี่ยว มีกลิ่นเหมือนมะนาว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย สีเขียว เกสรตัวผู้สีเหลือง ผลเดี่ยว รูปไข่ ปลายผลมีปุ่มออกมาเล็กน้อย สีเขียวอมเหลือง มีต่อมน้ำมันที่ผิว นิยมใช้ทำเครื่องเรือนต่าง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะนาวผี

มะนาวไม่รู้โห่

ผลมะนาวไม่รู้โห่ มะนาวไม่รู้โห่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa carandas L.; ชื่อสามัญ: Karanda; Carunda; Christ's thorn) หรือชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น มะนาวโห่, หนามแดง, หนามขี้แฮด (เชียงใหม่) เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ตามกิ่งก้านมีหนามค่อนข้างยาวและแหลม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่รี ปลายและโคนมน ขอบเรียบ ดอกมีขนาดเล็กมีสีขาวเป็นช่อ หอมกลีบดอกเป็นรูปหอก ผลขนาดเท่าหัวแม่มือ เป็นพวงสีแดงสดแก่สีดำรับประทานได้ ชื่อ "มะนาวไม่รู้โห่" นั้นเป็นชื่อพืชที่มีปรากฏเรียกกันมาแต่โบราณ ซึ่งเห็นได้จากที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเช่นในเรื่อง พระรถเมรี นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะนาวไม่รู้โห่

มะแว้งนก

มะแว้งนก เป็นพืชในสกุล Solanum เป็นพืชพื้นเมืองในยูเรเชีย เป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารและยาได้Mohy-ud-dint, A., Khan, Z., Ahmad, M., Kashmiri, M.A., Chemotaxonomic value of alkaloids in Solanum nigrum complex, Pakistan Journal of Botany, 42(1): 653-660, 2010.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะแว้งนก

มะแข่น

มะแข่น (Alston) ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ มะกรูดตาพราหมณ์ (นครราชสีมา); กำจัดต้น, พริกหอม, หมากมาศ (กรุงเทพฯ); มะข่วง, มะแขว่น, บ่าแข่น (ภาคเหนือ); มะแข่น (ไทสิบสองพันนา); มะแขว่น (ลาว); ลูกระมาศ (ภาคกลาง); หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน); มะเข่น, มะแข่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) (50px) เป็นพืชสมุนไพรสกุลเดียวกับพริกไทยเสฉวน (Sichuan pepper) ผลและใบใช้เป็นเครื่องเทศชูรสอาหาร โดยผลใช้ผลสดหรือผลแห้งหรือทั้งสองอย่าง แล้วแต่ชนิดอาหาร เช่น ลาบ หลู้ แกง และอาหารพื้นเมืองและอาหารท้องถิ่น เช่น ตำหวาย หลามบอน ตำน้ำพริก ฯลฯ มะแข่นมีรสชาติเผ็ด กลิ่นฉุนแต่หอม มีสรรพคุณทางยาคือสามารถแก้หวัดได้ ต้นและกิ่งเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 6–8 คู่ ก้านใบสีแดง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม ต้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้จะมีอายุตั้งแต่ 3–15 ปี ผลค่อนข้างกลมผลเล็ก ๆ ขนาดผลพริกไทย ผิวขรุขระ สีเขียว มีกลิ่นฉุน คล้ายกลิ่นเมล็ดผักชียี่หร่า ผลแก่เปลือกหุ้มเมล็ดสี แดง แก่จัดสีดำ ออกผลเดือนกันยายนถึงธันวาคม เมล็ดกลม ๆ ดำเป็นมัน ใช้เปลือกผลผสมชูรสอาหาร ใช้รากและเนื้อไม้ เป็นยาขับลมในลำไส้ ลดความดัน เป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี ผลเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ พบมากหรือปลูกมากในเขตพื้นที่ หมู่บ้านผาสิงห์ บ้านผาหลัก บ้านปางส้าน บ้านยอด ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะแข่น

มะไฟกา

มะไฟกา หรือมะไฟเตา ส้มไฟดิน ส้มไฟป่า เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Baccaurea เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกรวมเป็นกลุ่ม ข้อต่อระหว่างโคนใบกับก้านใบบวมพอง ดอกออกที่ลำต้นและปลายกิ่งเป็นช่อ ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีขนสีขาวปกคลุม ดอกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า ผลกลม เปลือกหุ้มเหนียวและหนา แก่แล้วผลเป็นสีแดงแกมม่วง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยว เมล็ดกลมแบน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะไฟกา

มะไฟควาย

มะไฟควาย เป็นพืชท้องถิ่นในมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และภาคใต้ของไทย ภาคกลางเรียกลังแขหรือลำแข ปัตตานีเรียกมะแค้ ลังแข ภาษาอินโดนีเซียเรียกตัมปุยซายาหรือตัมปุยบูลัน ภาษามลายูเรียกตัมโปย เงาะซาไกเรียกลารัก เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเกลี้ยง ไม่มีขนอ่อน แผ่นใบเรียวเข้าหาโคน ไม่เว้า ช่อดอกยาว ออกเป็นกลุ่มตามกิ่งหรือลำต้น ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับพืชในสกุลเดียวกันทั้งหมด ผลกลม เปลือกหนามาก มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ก้านของผลยาว แข็ง ผลดิบสีชมพูอมม่วง มีขน เมื่อแก่กลายเป็นสีน้ำตาล ไม่มีขน เนื้อสีขาวขุ่น แต่เมื่อถูกอากาศจะกลายเป็นสีดำอย่างรวดเร็ว มี 3-6 เมล็ด รสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะไฟควาย

มะเกลือ

มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง สมัยก่อนนิยมใช้ยางผลมะเกลือไปย้อมผ้า ผลที่เปลือกเป็นสีดำ เมื่อรับประทานทำให้หน้ามืด ตาลายตาพร่ามัว อาเจียน ท้องเดินและตาบอดได้ มะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี ในภาคเหนือเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า มะเกีย มะเกือ หรือ ผีผา ทางใต้เรียกว่า เกลือ แถบเขมร-ตราดเรียก มักเกลือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเกลือ

มะเม่า

มะเม่า หรือ หมากเม่า ทางพิษณุโลกเรียกเม่าหลวง ระนองเรียกมัดเซ เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Antidesma ใบเดี่ยว สีเขียวเป็นมัน โคนใบเรียวมน ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแยกเพศแยกต้น ผลกลม ออกรวมกันเป็นพวง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง สุกเต็มที่เปลี่ยนเป็นสีดำ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเม่า

มะเม่าดง

มะเม่าดงหรือเม่าช้าง ภาษากะเหรี่ยงเรียกส่าคู่โพ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Phyllanthaceae แยกเพศ ลำต้นตรง ใบหนาและเหนียวเป็นมันวาว เส้นกลางใบนูนเด่นด้านหลังใบ ใบอ่อนสีม่วงแดงเป็นมัน หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกตัวผู้ไม่มีก้านดอก กลีบดอกกลม ดอกตัวเมียมีก้านดอก ผลสดมีเมล็ดเดียว สีแดงอมเหลืองไปจนถึงม่วง แดงอมน้ำเงิน เนื้อผลฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปไข่ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย กระจายพันธุ์ลงมาทางใต้จนถึงศรีลังกา พม่า มาเลเซีย ปลูกเป็นการค้าในอินโดนีเซียและอินโดจีน ผลสดรับประทานได้ มีสีติดมือและปาก สุกไม่พร้อมกัน เมื่อดิบเปรี้ยว นิยมใช้ทำแยม น้ำคั้นผลสุกใช้ทำเครื่องดื่มหรือไวน์ อินโดนีเซียใช้ผลิตน้ำปลาที่มีรสเปรี้ยว ใบอ่อนใช้ปรุงแต่งรสเปรี้ยวและรับประทานเป็นผัก เปลือกลำต้นมีอัลคาลอยด์และมีรายงานว่าเป็นพิษ รสเปรี้ยวของผลเกิดจากกรดซิตริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเม่าดง

มะเม่าควาย

มะเม่าควาย เม่าหินหรือเม่าเล็ก เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Phyllanthaceae มีขนสีเหลืองปกคลุมทั้งต้น ใบรูปรี ผลสด เมล็ดเดียวแข็ง มีขนละเอียดปกคลุมบนผล สีขาวอมแดง ผลรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเม่าควาย

มะเขือบ้าดอกขาว

อกในไฮเดอราบัด อินเดีย มะเขือบ้าดอกขาว เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นพืชฤดูเดียว ดอกเป็นหลอดปลายบานคล้ายแตรสีขาว ผลเป็นแบบกระเปาะ ที่ผิวมีหนาม มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก และทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ มีฤทธิ์หลอนประสาท ทุกส่วนของพืชชนิดนี้มีพิษทั้งต่อคนและสัตว์ ในบางท้องที่ห้ามซื้อขายพืชชนิดนี้ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเขือบ้าดอกขาว

มะเขือพวง

มะเขือพวง (Turkey berry) เป็นพืชตระกูลมะเขือ เป็นไม้ข้ามปี มีถิ่นกำเนิดในแถบรัฐฟลอริดา, หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์, เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นวัชพืชขึ้นกระจัดกระจายเกือบทั่วเขตร้อน มะเขือพวงใช้ตำผสมลงในน้ำพริกหลายชนิดเช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา ใช้ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงป่า แกงอ่อม ซุบ กินดิบเป็นผักจิ้ม หรือกินสุกโดยการเผา ปิ้ง ย่างในภาษาใต้จะเรียกว่า "มะเขือเทศ" หรือ "เขือเทศ".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเขือพวง

มะเขือเทศราชินี

มะเขือเทศราชินี เป็นมะเขือเทศที่ผลเล็ก รสชาติหวาน เนื้อแน่นมีกลิ่นหอมต่าง และมีสารบีตา-แคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีสูง การปลูกจะเก็บเกี่ยวได้ภายใน 90 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,000-4,000 กิโลกรัม/ไร่ การแปรรูป สามารถนำผลไปทำมะเขือเทศราชินีอบแห้ง และมะเขือเทศราชินีแช่อิ่ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเขือเทศราชินี

มะเขือเทศต้น

กลุ่มดอก ผลดิบ ผลสุก มะเขือเทศต้น หรือ Solanum betaceum เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Solanaceae กิ่งเปราะหักง่าย ใบเดี่ยว มีกลิ่นฉุน ก้านใบยาว ดอกช่อขนาดเล็กสีชมพูหรือสีน้ำเงินอ่อน ผลสดแบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ผลสีแดงอมม่วง แดงอมส้ม หรือเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ดกลมแบน มะเขือเทศต้นมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาแอนดีส ประเทศเปรูก่อนจะแพร่กระจายพันธุ์ออกไป ผลใช้ทำอาหารและของหวาน ผลดิบใช้ทำน้ำผลไม้ ใส่ในแกงและน้ำพริก ผลสุกใส่ในสตูว์ ซุป สลัด เปลือกมีสารรสขมซึ่งทำให้หายไปได้โดยปอกเปลือกออกหรือลวกในน้ำเดือดประมาณ 4 นาที.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเขือเทศต้น

มะเดื่อ

มะเดื่อ หรือ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเดื่อ

มะเดื่อฟาโรห์

มะเดื่อฟาโรห์ หรือ มะเดื่อไซคามอร์ เป็นพืชในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลรับประทานได้ ชาวอียิปต์นิยมนำไปหมักทำสุรา ผลเป็นอาหารสัตว์หลายชนิด ยางใช้รักษาหูด เนื้อไม้เบา ไม่ผุพังเมื่อแช่น้ำ นิยมใช้ทำกังหันวิดน้ำ กรุขอบบ่อบาดาล ใช้สร้างสุสาน เฟอร์นิเจอร์ ประตู และใช้ทำขื่อในโบสถ์วิหารและสุเหร่า ผลมีความหวานใช้ปรุงรสหวานในอาหารได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเดื่อฟาโรห์

มะเดื่อปล้อง

ผล มะเดื่อปล้อง หรือ เดื่อสาย ตะเออน่า เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae กระจายพันธุ์ในเอเชียจนถึงออสเตรเลียลำต้นเรียบมียางสีขาวข้นเหนียว ใบเดี่ยว ผิวใบจับแล้วสากมือ ดอกช่อ ดอกย่อยเจริญบนฐานรองดอก ดอกมีสามแบบคือดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ผลเดี่ยวอยู่ภายในฐานรองดอก สีเขียว มียางสีขาว เมื่อแก่แล้ว ฐานรองดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม ใบต้มน้ำดื่ม รักษาไข้ ปัสสาวะเป็นเลือด รากและลำต้นตัมน้ำดื่ม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้หวัด รากและเปลือกต้นใช้ตำแก้ฝี แก้ผื่นคันตามผิวหนัง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเดื่อปล้อง

มะเนียงน้ำ

มะเนียงน้ำ จัดเป็นสปีชีส์เดียวกับ Aesculus assamica พบในจีนและเวียดนาม มะเนียงน้ำที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes มะเนียงน้ำที่สกัดด้วยเอทานอลมีความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง (Vero cell) โดยมีค่า CD50 เท่ากับ 0.04.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมะเนียงน้ำ

มังกรคาบแก้ว

มังกรคาบแก้ว (bagflower) เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยสูง 3 - 6 เมตร มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกจากประเทศแคเมอรูนถึงประเทศเซเนกัล เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีแดงเข้ม 5 กลีบ หลอดดอกเชื่อมติดกับกลีบเลี้ยงสีขาวคล้ายรูปหัวใจ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นไม้ที่ชอบแสงแดด วิลเลียม คูเปอร์ ธอมสัน มิชชันนารีและนายแพทย์ในไนจีเรียเป็นผู้ตั้งชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่า Bleeding heart.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมังกรคาบแก้ว

มังคะ

มังคะ หรือแตดลิง เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Caesalpinodeae มีเนื้อไม้ กิ่งขรุขระ สีน้ำตาลอมแดง ใบเดี่ยว ผิวเรียบ ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกช่อ เกิดตามข้อของลำต้น สีขาว ผลเดี่ยว เมื่ออ่อนสีเขียวอมขาว มีเมล็ดเดียว ในทางยา ใช้น้ำต้มเปลือกแก้บวมพอง น้ำต้มใบใช้ล้างแผลสด แผลเปื่อย ฝีหนอง น้ำต้มรากแก้ไข้มาลาเรี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมังคะ

มังคุดทะเล

มังคุดทะเลหรือวา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ไม่ผลัดใบ ต้นสีเทาดำ เปลือกแตกเป็นสะเก็ดตามยาว มียางสีเหลือง ใบเดี่ยว สีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงสีเขียว ติดทยจนเป็นผล เมื่อแกเป็นสีส้มอมแดง เปลือกหนา มีเนื้อหุ้มเมล็ด ไม้ใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องมือต่างๆ ผลใช้รับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมังคุดทะเล

มังตาน

อกมังตาน ต้นมังตาน มังตาน เป็นชื่อไม้ต้นชนิด Schima wallichii (DC.) Korth.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมังตาน

มันขี้หนู

มันขี้หนู เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae เป็นไม้ล้มลุก อายุยืน กิ่งอวบน้ำ สะสมอาหารที่รากเป็นหัว สีออกดำ น้ำตาล หรือสีออกแดง ออกขาว ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบค่อนข้างหนา อวบน้ำ ขยี้แล้วมีกลิ่นหอม ขอบใบหยักเป็นซี่หยาบๆ เป็นพืชที่มีความหลากหลายและแบ่งเป็นพันธุ์ตามสีของหัว ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของแอฟริกาหรือมาดากัสการ์ มีปลูกทั่วไปในมาดากัสการ์ ศรีลังกา อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวมีกลิ่นหอม ดอกมันขี้หนู หัวมันขี้หนู.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมันขี้หนู

มากี้เบอร์รี่

มากี้เบอร์รี (Maqui หรือ Chilean Wineberry) เป็นพืชดอกในสกุล Aristotelia กลุ่มเดียวกับ บลูเบอร์รี่,แบล็กเบอร์รี currants, acai, ราสเบอร์รี่ และ elderberries เป็นพืชหลายปี มีผลเล็กๆสีม่วงเข้มข้น ผลสามารถรับประทานได้ รสชาติอร่อย อมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก พบในป่าของชิลี ผลของมากี้มีแอนโทไซยานิน รับประทานได้ นำไปอบแห้ง ทำแยม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมากี้เบอร์รี่

มารัง

ใบและผล ผลสุกในฟิลิปปินส์ มารัง (marang) ชื่ออื่นๆได้แก่ johey oak, เปอดาไลเขียว มาดัง ตารับ เตอรับ หรือตีมาดัง เป็นพืชพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว เกาะปาลาวัน และเกาะมินดาเนา ในฟิลิปปินส์พบกระจายพันธุ์ในมินโดโร เกาะมินดาเนา บาซิลัน และคาบสมุทรซูลู ในเกาะบอร์เนียว พบเป็นพืชป่ามีลักษณะใกล้เคียงกับ ขนุน จำปาดะและ สาเก ผลของมารังขนาดใหญ่เนื้อรสหวาน รับประทานได้ โดยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่เมื่อสุก เนื้อภายในผลคล้ายขนุน แต่ยวงใหญ่กว่าและเป็นสีขาว รับประทานสด หรือใช้ทำเค้ก แต่ต้องรับประทานทันทีหลังจากผ่าเพราะจะเสียรสชาติและเกิดสีดำเร็วมาก เมล็ดรับประทานได้ โดยนำไปต้มหรืออบ ผลอ่อนต้มในกะทิรับประทาน ใช้เป็นผัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมารัง

มาลัย (พืช)

มาลัย (ภาษาอูรดู: فالسہ, ภาษาฮินดี: फ़ालसा) เป็นพืชในวงศ์ Tiliaceae เป็นไม้ผลัดใบ เปลือกหยาบสีเทา กิ่งห้อยลง กิ่งอ่อนมีขนแข็งห่อหุ้มหนาแน่น ใบเดี่ยว ร่วงง่าย ใบด้านบนมีขนปกคลุม ด้านล่างมีผงรังแค ดอกช่อ สีเหลือง ผลสดแบบเมล็ดเดียวแข็ง รูปกลมเป็นพูไม่ชัดเจน สีแดงหรือสีม่วง เนื้อผลนุ่ม มีเส้นใย สีขาวแกมเขียว รสเปรี้ยว เป็นไม้พื้นเมืองในแถบเทือกเขาหิมาลัย ในปากีสถานและอินเดียFlora of Pakistan: Pacific Island Ecosystems at Risk: นิยมปลูกในอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบทางภาคเหนือของไทยและเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ผลมาลั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมาลัย (พืช)

มาเต

มาเต (yerba mate), มาชี (โปรตุเกสแบบบราซิล: erva-mate) หรือ ชาบราซิล เป็นพืชในวงศ์ Aquifoliaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งมาก ใบหนาและเหนียว ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกช่อออกตามซอกใบ แยกเพศ ดอกสีขาว ผลสุกสีแดงหรือสีดำ เมล็ดเดียว แข็ง แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์คือ var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมาเต

มิราเคิล (พืช)

มิราเคิล (Miracle fruit; Miracle berry) เป็นไม้ผลพื้นเมืองของประเทศกานา ลักษณะต้นมีขนาดทรงพุ่มเล็ก ชอบความชื้นสูงแต่ไม่ชอบแดดจัด ผลสุกแก่จะมีสีแดงสดใส เมื่อรับประทานผลสุกแก่เข้าไปแล้ว ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะยม ระกำ ตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวานคล้ายน้ำตาล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมิราเคิล (พืช)

มิลา

มิลา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Euphorbiaceae เปลือกต้นสีเทาเรียบ มีช่องหายใจเป็นจุดเล็กๆมีหูใบและมีขนหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีนวลเคลือบขาวเด่นชัดหรือเป็นสีเงิน เส้นใบนูนเด่น เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทยพบโดย J.F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมิลา

มือสยาม

มือสยาม เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Araliaceae กิ่งมีเลนติเซลเป็นจุดนูน สีขาว ใบรูปฝ่ามือ มีตุ่มสีขาวหรือสีเหลืองใต้ใบย่อย ดอกช่อ ผลกลม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม เป็นพืชที่ทนความหนาวเย็นได้ดี ขึ้นตามซอกหินปูน ใช้เป็นไม้ประดับ พบครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพัน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมือสยาม

มธุลดา

มธุลดา (American campsis) เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ ทางตะวันออกของทวีป มธุลดานั้นจากการศึกษาทางสัณฐานวิทยาและชีวโมเลกุลพบว่ามธุลดาและรุ่งอรุณเคยเป็นพืชชนิดเดียวกันและขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกันมาก่อน โดยอ้างอิงทฤษฎีที่ว่าพื้นที่ทางเอเชียตะวันออกเคยเชื่อมติดกับทวีปอเมริกาเหนือโดยเรียกส่วนนี้ว่า "Bering land bridge" และต่อมาเมื่อมีช่องแคบเบริ่งเกิดขึ้นทำให้มีวิวัฒนาการแยกเป็นต่างชนิดกันเมื่อประมาณ 24.4 ล้านปีก่อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมธุลดา

มณเฑียรไทย

|image.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และมณเฑียรไทย

ม่อนไข่

ผลม่อนไข่ผ่าครึ่ง ผลม่อนไข่พร้อมรับประทานในลาว ผลม่อนไข่อยู่บนต้น ม่อนไข่ เป็นผลไม้เนื้อสีทอง ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกม่อนไข่ ราชบุรีเรียกว่า ลูกท้อพื้นบ้าน ปราจีนบุรีเรียกว่าท้อเขมร เพชรบูรณ์เรียกทิสซา ฟิลิปปินส์ เรียก chesa ศรีลังกาเรียก Laulu Lavulu หรือ Lawalu มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา บราซิล และเอลซัลวาดอร์ ม่อนไข่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบบาง มัน เรียวแหลม ลำต้นมียางสีขาว ก้านอ่อนเป็นสีน้ำตาล ดอกสีครีม มีกลิ่นหอม ผลสุกสีเหลืองอ่อน เปลือกบาง เนื้อผลสีเหลืองสด เหนียวคล้ายแป้งทำขนม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน เนื้อผลนิ่มคล้ายไข่แดง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และม่อนไข่

ม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง (Wall) เป็นไม้ในวงศ์ MORACEAE มีชื่อท้องถิ่นอื่นว่า เช่น เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และม้ากระทืบโรง

ยมหิน

มหิน เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูกเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นยมหินมีความสูง 15-25 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ เพื่อลำต้นมีอายุเพิ่มขึ้น เปลือกในสีแดงออกน้ำตาลชมพู แก่นไม้มีสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาลแดง ใบของต้นยมหิน จะเป็นแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใบแก่จะมีรูปร่างใบแบบรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ฐานใบกลมหรือมน ปลายใบแหลม ผลของต้นยมหิน เป็นแบบผลแห้งมีเปลือกแข็งสีน้ำตาลมีรูปทรงแบบไข่ ขนากยาวประมาณ 2.5-50 เซนติเมตร เมล็ดของต้นยมหิน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาล มีความยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง ในแต่ละช่วงของผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 60-100 เมล็ด การใช้ประโยชน์ เป็นไม้ที่เหมาะสำหรับงานที่ใช้ในที่ร่ม สามารถนำไปแปรรูปเป็นสินค้าได้ เช่น ทำเครื่องเรือน, ก่อสร้างบ้านเรือน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยมหิน

ยอ

อกยอ ยอ (L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยอ

ยอป่า

อป่า หรือ ยอเถื่อน กะมูดู มูดู เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผิวแตกเป็นร่องตามยาว สีเทาอมน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ด้านบนเรียบเขียวเป็นมัน หลังใบสีอ่อนกว่าอมขาว ใบห่อมาด้านหน้าเล็กน้อย ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว ผลรวมเกือบกลม ผิวนูนเป็นปุ่มเมื่ออ่อน แก่แล้วจะเรียบ สีเขียวอมเทา สุกเป็นสีดำ ผลเป็นอาหารสัตว์ ใบใช้ทำอาหารได้เช่นเดียวกับยอบ้าน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยอป่า

ยาสูบเล็ก

ูบเล็กหรือยาสูบนิโคติน เป็นไม้ล้มลุก ตั้งตรง ผิวใบหยาบ ปลายใบเรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อ สีเหลืองแกมเขียว ผลเป็นแบบแคบซูล กลีบเลี้ยงติดทน มีหลายเมล็ดรูปรีหรือรูปไข่ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เป็นยาสูบชนิดแรกที่มีการปลูกเป็นการค้า ก่อนจะแทนที่ด้วย Nicotiana tobaccum ที่มีรสอ่อนนุ่มกว่า ปัจจุบันมีความสำคัญทางการค้าน้อยลง ใช้สูบหรือใช้เป็นยานัตถุ์ บุหรี่บางชนิดในปากีสถานจะผสมยาสูบเล็ก 40% ทำให้มีรสและกลิ่นฉุน นิโคตินในยาสูบนี้มี 4-9.5% ซึ่งสูงกว่ายาสูบที่มี 1-3%.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยาสูบเล็ก

ยางกราด

งกราด หรือ สะแบง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Dipterocarpaceae ลำต้นแตกเป็นร่องลึกยาวหรือเป็นสะเก็ดตามขวาง สีน้ำตาลปนเทา ใบเดี่ยว ผิวใบด้านบนมีขนหยาบและสาก ด้านล่างมีขนรูปดาว ดอกช่อ กลีบดอกบิดเป็นรูปกังหัน สีขาวหรือแซมสีแดงเป็นแนวตรงกลางกลีบ ผลกลมเป็นจีบพับ มีปีก 5 ปีก เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน ยางใช้ทำยางชัน ใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาอหิวาตกโรค เป็นไม้ประจำโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยางกราด

ยางนา

งนา เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อน สูงถึง 40-50 เมตร ในพบในประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง,ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง,ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร,ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง,หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยางนา

ยางน่องเถา

งน่องเถา หรือยางน่องเครือ เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ ชื่อพื้นเมืองอื่น: เครืองน่อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่ฮ่องสอน) ตะเกาะแบเวาะ (มลายู ภาคใต้) น่อง (ภาคกลาง นครราชสีมา) บานบุรีป่า (ภาคใต้) ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) ยางน่องเถา (จันทบุรี ปราจีนบุรี) เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยางน่องเถา

ยาแก้

แก้ อยู่ในวงศ์ Asteracae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยว ขอบใบจักเป็นหนามห่างๆ แผ่นใบมีขนประปรายทั้งสองด้าน กิ่งฝนผสมน้ำอุ่น แก้อาการเมาหัว ปวดท้อง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยาแก้

ยี่โถ

ี่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium oleander L.) มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และยี่โถ

ย่ามควาย

มควาย เป็นพืชในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกเรียบมีรอยแตกสีขาว สีเทาหรือน้ำตาล เนื้อไม้แข็ง แก่นไม้สีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ใบออกตรงข้ามหนาคล้ายหนัง ดอกขนาดเล็ก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ผลขนาดเล็ก เนื้อหนา สุกแล้วเป็นสีส้ม กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ใช้ใบต้มน้ำดื่มแทนกาแฟ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และย่ามควาย

ย่าหยา (พืช)

หยา มีชื่ออื่นๆคือ ต้นอ่อมแซบ เบญจรงค์ ๕ สี บุษบาริมทางหรือ ตำลึงหวาน (Chinese violet; Coromandel; Ganges primrose; Philippine violet); (L.) T. Anders.) คล้ายต้นต้อยติ่ง แต่ไม่มีขน ใบสากไม่แหลม ดอกมีห้าสี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ควรปลูกให้โดนแดดพอสมควร ประโยชน์ใช้เป็นไม้ประดับ มีสรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และย่าหยา (พืช)

ระย่อมพินเก้

ระย่อมพินเก้ เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้พุ่มใบเรียงเป็นวง จำนวนวงไม่เท่ากัน ดอกเกิดในซอกใบ เกิดที่ยอดมีสีขาวแกมเขียวขนาดเล็ก ผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง สุกแล้วเป็นสีดำ พบในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ หมู่เกาะเวสต์อินดีส ในบริเวณทุงหญ้าสะวันน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และระย่อมพินเก้

ระย่อมน้อย

ระย่อมน้อย เป็นพืชพื้นบ้านภาคใต้และมีสรรพคุณทางยาหลายประการ ระย่อมน้อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauvolfia serpentina Benth.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และระย่อมน้อย

ระฆังแคนเตอร์บรี

ระฆังแคนเตอร์บรี หรือเรียกง่ายๆ ว่า ดอกระฆัง (Canterbury Bells หรือ Campanula medium) เป็นไม้ดอกวงศ์พระจันทร์ครึ่งซีก สกุล Campanula ระฆังแคนเตอร์บรีอาจจะเป็นได้ทั้งทั้งพืชปีเดียว หรือ พืชสองปี ดอกมีลักษณะเป็นรูประฆังหรือกระดิ่งซึ่งทำให้ได้รับการขนานนามว่า “Campanula” ที่แปลว่าระฆังในภาษาอิตาลี สีของดอกก็อาจจะเป็นสีน้ำเงิน, ม่วง, ม่วงแดง หรือขาว แต่สีที่พบบ่อยจะเป็นสีม่วงน้ำเงิน ความสูงประมาณ 2 ถึง 3 ฟุต ถ้าปลูกในสวนให้สวยก็ควรจะปลูกเป็นกลุ่มใหญ่ตามขอบหรือท่ามกลางพุ่มไม้ ชอบอากาศเย็นหรืออุ่นไม่เหมาะกับอากาศร้อนหรือแห้ง ในภาษาดอกไม้ระฆังแคนเตอร์บรีเป็นสัญลักษณ์ของความรู้สึกในบุญคุณ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และระฆังแคนเตอร์บรี

ระงับ

ระงับ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กในสกุลอังกาบ วงศ์ Acanthaceae แตกกิ่งน้อย กิ่งก้านมีขนอ่อนปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบเรียบเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดหรือซอกใบ กลีบดอกสีม่วง โคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นสองแฉก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน พบครั้งแรกในประเทศไทย ชอบขึ้นในป่าดิบชื้น ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และระงับ

ระงับพิษ

ระงับพิษ หรือจ้าสีเสียด ผักหวานด่าง เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Phyllanthaceae เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แก่แล้วแตกเป็นสะเก็ด อ่อนเป็นสีแดงอมเขียว ใบเดี่ยว เรียบเขียว เป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล แห้งแล้วเป็นสีดำ ดอกช่อ แยกเพศไม่แยกต้น ดอกตัวเมียออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยวสีแดง ดอกตัวผู้เป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบ สีเหลืองแกมเขียว ผลเดี่ยวกลม สีแดงอมเขียวเล็กน้อย ปลายผลมีแฉกตื้นๆ 3 แฉก ภายในมี 6 เมล็ด ใบปรุงเป็นยาเขียว รากแก้พิษไข้และแก้ไข้จับสั่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และระงับพิษ

รัก (ไม้พุ่ม)

รัก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea (Linn.) R.Br.ex Ait.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ Apocynaceae วงศ์ย่อย Asclepiadoideae ลำต้นสูง 1.5–3 เมตร ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ รักเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา อินเดีย และจีน ดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่า ดอกรัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรัก (ไม้พุ่ม)

รักทะเล

ผลรักทะเล ภาพใกล้ๆของดอกรักทะเลในรัฐอันธรประเทศ อินเดีย รักทะเล (Sea Lettuce; Merambong) ภาษาฮาวายเรียก Naupaka kahakai ภาษาตองกาเรียก Ngahu เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Goodeniaceae พบในชายฝั่งเขตร้อนในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นที่พบได้ทั่วไปในเกาะคริสต์มาสและเป็นวัชพืชในบางประเทศ ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามชายหาด รากแผ่กว้าง ใบดก หนา มันวาว ป้องกันการสูญเสียน้ำ ใบแตกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว บานเป็นรูปพัดครึ่งวงกลม ผลกลมสีขาว ลอยน้ำได้ สามารถเป็นพืชบุกเบิกในพื้นที่ใหม่ได้ รักทะเลมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร โดยรากใช้แก้พิษอาหารทะเล ใบตำพอกแก้ปวดบวม ใช้เป็นยาสูบได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรักทะเล

รัง

รัง (Burmese sal, Ingyin, Dark red meranti, Light red meranti, Red lauan) เป็นไม้ยืนต้นประเภทใบเดียวชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไป มีคุณสมบัติในการทนแล้งและทนไฟได้ดีมาก พบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า และไทย เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูง 15–20 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ผลรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุดรธานี มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "เปา, เปาดอกแดง" ในภาษาเหนือ หรือ "เรียง, เรียงพนม" ในภาษาเขมร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรัง

ราชดัด

ราชดัด (L.) Merr.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และราชดัด

รางจืด

รางจืด (Laurel clock vine, Blue trumpet vine) เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆหรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่างๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ รางจืดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ยาเขียว(ภาคกลาง)คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรางจืด

ราตรี (พรรณไม้)

ราตรี หรือ หอมดึก มีถิ่นกำเนิดในแคริบเบียนเป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เป็นไม้พุ่ม เปลือกสีเทาอ่อนเกือบขาว ใบเดี่ยวรูปหอกแคบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว วงกลีบดอกรูปหลอดผอม บานตอนกลางคืน กลิ่นหอมแรง มักส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ผลค่อนข้างกลม สีขาวขุ่น มีหลายเมล็ด ผลสุกถ้ารับประทานทำให้คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ประสาทหลอน ใจสั่น ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้เล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และราตรี (พรรณไม้)

รำเพย

รำเพย (Yellow oleander; Lucky nut; Juss. ex Steud.) ชื่ออื่น ๆ คือ ยี่โถฝรั่ง กระบอก เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีความสูง 2 - 3 เมตร มียางสีขาวเป็นพิษระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะใบแคบเรียวยาวคล้ายใบยี่โถ หนาแต่ไม่แข็ง ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกทีละ 3-4 ดอกที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นกรวย มีกลีบ 5 กลีบเรียงซ้อนทับกัน โคนดอกเป็นหลอดมีสีอมเขียว มีกลีบเลี้ยง ยาวแหลม 5 กลีบเช่นกัน ดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง ส้ม ขาว เมื่อดอกโรยจะติดผล ผลมีลักษณะกลม ปลายผลแบนมีรอยหยักเป็น 2 แฉก เมื่อสุกมีสีดำ มีเมล็ดข้างใน 1-2 เมล็ด ออกดอกในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป โดยเฉพาะดินปนทราย และชอบแสงแดดจัด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง ปลูกเป็นไม้ประดับสวน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกตลอดปี เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ รำเพยเป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง รับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หมดสติ หัวใจเป็นอัมพาต ไฟล์:ramphei1.jpg|รำเพยขาว ไฟล์:ramphei2.jpg|รำเพยเหลือง ไฟล์:ramphei3.jpg|รำเพยส้ม ไฟล์:Thevetia peruviana 05.JPG|ผลสุกเป็นสีดำ ไฟล์:Thevetia peruviana MHNT.BOT.2007.27.24.jpg|ตัวอย่างชนิด Thevetia peruviana.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรำเพย

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ (Chinese trumpet vine) เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ อยู่ในวงศ์แคหางค่าง และอยู่ในสกุล Campsis เดิมรุ่งอรุณมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bignonia grandiflora Thunb.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรุ่งอรุณ

รง

รง หรือรงทอง เป็นพืชในวงศ์ Guttiferae เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบเปลือกสีเทาเรียบ ยางเหนียวสีเหลือง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เหนียวคล้ายหนัง ดอกสีเหลืองซีด กลิ่นหอม ผลกลม เนื้อนุ่ม เมล็ดมีเนื้อเป็นเยื่อหุ้มอยู่ ยางเหนียวนี้เรียก gamboge ได้จากรอยกรีดบนเปลือกลำต้น สีเหลืองทอง ใช้เป็นยาทาไม้ แลกเกอร์ สีและหมึก เป็นยาถ่ายอย่างแรง ทำให้อาเจียน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืดในสัตว์ ในน้ำยางสีเหลืองประกอบด้วยเรซิน 70 – 80% ยางเหนียว 15 – 25% กรดที่มีมากคือกรดแคมโปอิก เป็นไม้พื้นเมืองในกัมพูชา เวียดนามใต้และไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และรง

ละมุดขาว

ละมุดขาว หรือcochitzapotl ใน ภาษานาฮวต แปลตรงตัวว่าละมุดหลับ เป็นพืชในวงศ์ส้ม ใบประกอบ ผลกลมแก่แล้วเป็นสีเหลือง สุกรับประทานได้ รสชาติคล้ายท้อหรือสาลี่ เมล็ดเมื่อเผาแล้วเป็นผงใช้เป็นยานอนหลับ ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ผลสุก ในละมุดขาวพบสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายตัว เช่น ''N''-methylhistamine, ''N'',''N''-dimethylhistamine histamine 2′,5,6-Trimethoxyflavone, 2′,5,6,7-tetramethoxyflavone (ซาโพทิน) และ 5-hydroxy-2′,6,7-trimethoxyflavone (ซาโพทินิน) ซาโพทินมีฤทธิ์เป็นสารต้านการเกิดมะเร็งในเซลล์มะเร็งลำไส้ ผลละมุดขาว ต้นที่กำลังติดผล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และละมุดขาว

ละไม

ผลละไม ต้นละไมกำลังติดผล ละไม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Euphorbiaceae และเป็นผลไม้พื้นเมืองทางภาคใต้ ใบขนาดใหญ่ ผลออกเป็นพวงยาว ห้อยย้อยตามลำต้น ลักษณะคล้ายผลมะไฟ ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลแบ่งเป็นกลีบๆ มี 3-5 กลีบ เนื้อสีขาว รสอมเปรี้ยวอมหวาน รับประทานเป็นผลไม้สด ใส่ในแกงต่างๆ ผลมีวิตามินซีสูง หรือนำไปแปรรูปเป็นแยมและไวน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และละไม

ลัดวิเจียเล็ก

ลัดวิเจียเล็ก เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้น้ำในสกุลลัดวิเจีย วงศ์พญารากดำ ใช้เป็นไม้ประดับสวยงาม หมวดหมู่:วงศ์พญารากดำ หมวดหมู่:ไม้ประดับ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลัดวิเจียเล็ก

ลั่นทม

ลั่นทม หรือ ลีลาวดี เป็นไม้ดอกยืนต้นในวงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม (Plumeria) มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้านเพราะมีความเชื่อว่า เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ นิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Temple Tree, Graveyard Tree) ต้นลีลาวดีเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู สีขาวขุ่น ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี อาจมีมากถึงหลายสีในดอกเดียว ดอกลีลาวดียังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว โดยเรียกว่า "ดอกจำปา" และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลั่นทม

ลาเวนเดอร์

ลาเวนเดอร์ (Lavandula) เป็นสกุลของพืชดอก ประกอบไปด้วยพืช 39 ชนิด ในวงศ์มินต์ (Lamiaceae) เป็นพืชพื้นเมืองในยุคโบราณซึ่งถูกค้นพบจากเคปเวิร์ดและหมู่เกาะคานารี ทางตอนใต้ของยุโรปข้ามไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา, เมดิเตอร์เรเนียน, เอเชียตะวันตกเฉียงใต้จรดไปอินเดียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลาเวนเดอร์

ลาเวนเดอร์สามัญ

ลาเวนเดอร์สามัญ, ลาเวนเดอร์อังกฤษ, ลาเวนเดอร์แท้, ลาเวนเดอร์ใบแคบ หรือลาเวนเดอร์ เป็นพืชดอกในวงศ์ Lamiaceae เป็นพืชประจำถิ่นในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก หลัก ๆ ในเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาอื่นทางเหนือของประเทศสเปน เป็นไม้พุ่มมีกลิ่นแรง โตได้สูง 1 ถึง 2 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบยาว 2–6 เซนติเมตร และกว้าง 4–6 เซนติเมตร ดอกสีชมพู-ม่วง (สีลาเวนเดอร์) ออกที่ช่อเชิงลดยาว 2–8 เซนติเมตรที่ปลายสุดของลำต้นเรียวไม่มีใบยาว 10–30 เซนติเมตร มักปลูกลาเวนเดอร์สามัญเป็นไม้ประดับ ได้รับความนิยมจากดอกสีสวยงาม กลิ่นหอมและทนแล้งได้ เติบโตไม่ดีในดินชื้นต่อเนื่อง ค่อนข้างทนได้ดีต่ออุณหภูมิต่ำ ทนต่อดินกรดแต่ชอบดินกลางถึงด่าง ในบางภาวะอาจมีอายุสั้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลาเวนเดอร์สามัญ

ลำบิดทะเล

ลำบิดทะเล var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลำบิดทะเล

ลำยา

ลำยา หรือ ลำไย ภาษามลายูปัตตานีเรียกบินยา ภาษามลายูเรียกบินไย ภาษาบาหลีเรียกวานี เป็นพืชในสกุลเดียวกับมะม่วง พบในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ปาปัวนิวกินี รัฐเกรละ และฟิลิปปินส์ บินยาหรือลำยาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นสีน้ำตาลแกมเทา มีรอยแตกที่เปลือก มียางที่ทำให้ระคายเคือง ใบหนาและเหนียวคล้ายหนัง ดอกช่อสีชมพูอ่อน หรือสีชมพูอมม่วง ผลเปลือกสีออกเหลือง เนื้อสีขาว นุ่ม ฉ่ำน้ำ มีเส้นใย ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปทำน้ำมะม่วง ตำน้ำพริกหรือนำไปดอง โดยเฉพาะพันธุ์วานีที่ไม่มีกลิ่นขี้ไต้ ผลดิบรับประทานได้โดยจิ้มกับส่วนผสมของซอสถั่วเหลืองกับพริก ใช้ปรุงรสเปรี้ยวในซัมบัล ยางสีขาวจากผลดิบเป็นพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลำยา

ลำโพงม่วง

ลำโพงม่วง เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae แตกกิ่งน้อย ต้นตั้งตรง วงกลีบดอกเป็นรูปหลอด สีขาวหรือสีม่วงซีด ผลเป็นกระเปาะทรงกลม ผิวมีหนามสั้น หรือผิวเรียบ ทุกส่วนของพืชมีสารอัลคาลอยด์ชนิดโทรเพนในระดับอันตราย ได้แก่ อะโทรปีน, ไฮออสไซยามีนและสโคโพลามีน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลำโพงม่วง

ลำโพงราชินีมืด

ลำโพงราชินีมืด เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ดอกคล้ายลำโพงปากแตร ห้อยลง สีขาว ใบมีขนนุ่มปกคลุม ผลแห้งแตก มีเมล็ดมาก เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีบอเมริกาใต้ มีฤทธิ์สะกดจิต ทำให้ประสาทหลอน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลำโพงราชินีมืด

ลำโพงแดง

ลำโพงแดง เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นไม้พุ่ม ใบเป็นกระจุก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ดอกสีแดงอมส้มมีลายสีเหลือง ผลเป็นแบบกระเปาะแห้งแตกคล้ายรูปลูกข่าง พบตามป่าดิบเขาในพื้นที่สูง มีฤทธิ์หลอนประสาท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลำโพงแดง

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะและลำไยนั้นเอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว ลิ้นจี่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงบัญชาให้ทหารม้านำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ฉางอาน เปลือกผลของลิ้นจี่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลิ้นจี่

ลิ้นงูเห่า

ลิ้นงูเห่า เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อยในวงศ์ Acanthaceae ไม่ค่อยแตกกิ่งแขนง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบบาง ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยช่อละ 12 – 20 ดอก ดอกย่อยในช่อบานไม่พร้อมกัน สีส้ม ปลายแยกเป็น 2 แฉก เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันออก กระจายพันธุ์ในเขตฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย ลักษณะต้นคล้ายพญายอแต่ใบกว้างกว่า สีเขียวเข้มกว่า ช่อดอกโตกว่า ใช้เป็นยาได้เช่นเดียวกับพญายอใช้เป็นไม้ประดับได้ด้ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลิ้นงูเห่า

ลูกปืนใหญ่ (พืช)

ผลลูกปืนใหญ่ ลูกปืนใหญ่ หรือ สาละลังกา (Cannonball tree) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลูกปืนใหญ่ (พืช)

ลูกน้ำนม

ลูกน้ำนมผ่าครึ่ง ผลสีเขียวหรือม่วง ผลสด ลูกน้ำนม ภาษาเขมรเรียกว่า แพรตึกเดาะ เป็นพืชพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม กัมพูชา เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว ยาวรี หน้าใบเป็นมัน เขียวเข้ม หลังใบเป็นสีแดง เป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง หรือชมพูอมขาว กลื่นหอม ผลทรงกลม มีทั้งพันธุ์สีเขียว พันธุ์สีเหลืองและพันธุ์สีม่วงแดง พันธุ์เปลือกเขียว เนื้อสีขาว ส่วนพันธุ์เปลือกม่วง เนื้อสีขาวอมม่วง รสหวานหอม เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน กินเป็นผลไม้สด ชื่อสามัญของลูกน้ำนมได้แก่ cainito, caimito, star apple, golden leaf tree, abiaba, pomme dulait, estrella, milk fruit และ aguay ใน เวียดนาม เรียกว่า vú sữa (ตรงตัว: breast-milk) ผลของลูกน้ำนมมีสารต้านอนุมูลอิสระ เปลือกต้นเป็นยาบำรุงและยาชูกำลัง ยาต้มจากเปลือกใช้เป็นยาแก้ไอ สปีชีส์ใกล้เคียงเรียกสตาร์แอปเปิล พบในทวีปแอฟริกา เช่น C.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลูกน้ำนม

ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

วอลนัต

มล็ดวอลนัต วอลนัต (walnut) เป็นพืชในตละกูล Juglandaceae ขนาดของต้นมีหลายขนาดสูงตั้งแต่ 10-40 และใบมีขนาดยาวตั้งแต่ 200-900 มม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวอลนัต

วีสเตียเรีย

วีสเตียเรีย (Wisteria, Wistaria หรือ Wysteria) เป็นพืชในสกุลไม้ดอก ในพืชวงศ์ถั่ว, พืชที่มีฝักซึ่งเป็นหนึ่งใน10 ของสายพันธุ์ไม้เถาวัลย์ มีต้นกำเนิดทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกา และจีน เกาหลี และญี่ปุ่น บางสายพันธุ์นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและญี่ปุ่น แต่สำหรับไม้น้ำที่มีชื่อว่า 'water wisteria' ที่จริงแล้วคือพืช Hygrophila difformis ในวงศ์ Acanthaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวีสเตียเรีย

วงศ์บอระเพ็ด

วงศ์บอระเพ็ด หรือ Menispermaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ระบบ APG II จัดให้อยู่ในอันดับ Ranunculales ในกลุ่ม พืชใบเลี้ยงคู่แท้ วงศ์นี้มีสมาชิก 70 สกุลและ 420 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย อยู่ในเขตร้อน มีเพียงเล็กน้อย (ในสกุล Menispermumและ Cocculus) อยู่ในเขตอบอุ่นทางตะวันออกของอเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์บอระเพ็ด

วงศ์บัวหลวง

วงศ์บัวหลวง หรือ Nelumbonaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก แต่เดิมเคยรวมอยู่ในวงศ์ Nymphaeaceae ต่อมาได้แยกวงศ์นี้ออกมาต่างหาก โดยมีข้อมูลทางชีววิทยาโมเลกุลสนับสนุน ว่ามีวิวัฒนาการอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้ จัดอยู่ในอันดับ Proteales มีความใกล้ชิดกับวงศ์ Platanaceae และ Proteaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์บัวหลวง

วงศ์ชา

วงศ์ชา หรือTheaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีทั้งไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น รวมทั้งพืชในสกุล Camellia นักพฤกษศาสตร์บางคนได้รวมวงศ์ Ternstroemiaceae ไว้ในวงศ์ชาด้วยRoyal Botanic Gardens, Kew.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ชา

วงศ์บานไม่รู้โรย

วงศ์บานไม่รู้โรย หรือ Amaranthaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกขนาดใหญ่ในอันดับ Caryophyllales ปัจจุบันได้นำพืชจากวงศ์ Chenopodiaceae มารวมด้วย ทำให้มี 180 สกุลและ 2,500 สปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์บานไม่รู้โรย

วงศ์บานเย็น

วงศ์บานเย็น หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctaginaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 33 สกุลและ 290 สปีชีส์ กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ผลมีลักษณะพิเศษเรียก "anthocarp" หลายสกุลมีละอองเรณูขนาดใหญ่มาก (>100 µm) อยู่ในอันดับ Caryophyllales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์บานเย็น

วงศ์พญารากดำ

วงศ์พญารากดำ หรือOnagraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 640-650 สปีชีส์ มีทั้งไม้ล้มลุก ไม้พุ่มและไม้ยืนต้น มี 20-24 สกุล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์พญารากดำ

วงศ์พระจันทร์ครึ่งซีก

วงศ์พระจันทร์ครึ่งซีก หรือ Campanulaceae เป็นวงศ์อยู่ในอันดับ Asterales, ประกอบด้วย 2400 สปีชีส์ใน 84 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ไม้พุ่ม ส่วนน้อยเป็นไม้ยืนต้น มักมียางสีขาวที่ไม่มีพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์พระจันทร์ครึ่งซีก

วงศ์พวงแก้วกุดั่น

วงศ์พวงแก้วกุดั่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranunculaceae) เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิกราว 1,700 สปีชีส์ ชื่อของวงศ์นี้มาจากภาษาละติน rānunculus หมายความว่า "กบน้อย" วงศ์พวงแก้วกุดั่นประกอบด้วยพืช 60 สกุล โดยสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือ Ranunculus (มีพืชจำนวน 600 สปีชีส์), Delphinium (365 สปีชีส์), Thalictrum (330 สปีชีส์), Clematis (325 สปีชีส์), และ Aconitum (300 สปีชีส์).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์พวงแก้วกุดั่น

วงศ์พิกุล

วงศ์พิกุล หรือ Sapotaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกอยู่ในอันดับ Ericales มีสมาชิก 800 สปีชีส์ เป็นพืชไม่ผลัดใบ ทั้งไม้พุ่มและไม้ยืนต้น มีประมาณ 65สกุล (หรือ 35-75, ขึ้นกับการให้คำจำกัดความ) กระจายพันธุ์ในเขตร้อน หลายสปีชีส์ผลรับประทานได้ หรือมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ พืชที่มีผลรับประทานได้ ได้แก่ ละมุด ลูกน้ำนม ม่อนไข่ ผลของมิราเคิล (Synsepalum dulcificum) อยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน ไม้ยินต้นในสกุล Palaquium ผลิตลาเท็กซ์ ที่ใช้งานได้หลากหลาย เมล็ดของ Argania spinosa (L.) ใช้ผลิตน้ำมัน (Argan oil)ใน โมร็อกโก ชื่อของวงศ์นี้มาจาก zapote ชื่อของพืชชนืดหนึ่งในเม็กซิโก ซึ่งสะกดในภาษาละตินว่า sapota.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์พิกุล

วงศ์พุทรา

วงศ์พุทรา หรือ Rhamnaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น มีที่เป็นไม้พุ่มและไม้เลื้อย ประกอบด้วย 50-60 สกุล และประมาณ 870-900 สปีชีส์ กระจายพันธุ์ทั่วโลก พบมากในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์พุทรา

วงศ์กระบก

วงศ์กระบก หรือ Irvingiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 20 สปีชีส์ ใน 3 สกุล วงศ์นี้ตั้งตามชื่อของทหารเรือชาวสกอตแลนด์ Edward George Irving.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กระบก

วงศ์กระทืบยอด

วงศ์กระทืบยอด หรือ Oxalidaceae เป็นวงศ์ขนาดเล็กที่ประกอบด้วยพืชล้มลุก ไม้พุ่มและไม้ยืนต้น ประกอบด้วย 8 สกุลและ 900 สปีชีส์ ใบย่อยสามารถเคลื่อนไหวได้โดยจะกางเมื่อมีแสงและหุบเมื่อไม่มีแสง สกุล Averrhoa ของมะเฟืองส่วนใหญ่จัดอยู่ในวงศ์นี้ มีนักพฤกษศาสตร์บางคนจัดแยกเป็นวงศ์ Averrhoaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กระทืบยอด

วงศ์กระทงลาย

ผลของ ''Loeseneriella africana'' ช่อดอกของ ''Gymnosporia senegalensis'' วงศ์กระทงลาย หรือ Celastraceae หรือในระบบ Cronquist เป็นวงศ์ Canotiaceae, Chingithamnaceae, Euonymaceae, Goupiaceae, Lophopyxidaceae, and Siphonodontaceae มีสมาชิก 90-100 สกุล และ 1,300 สปีชีส์ของไม้เลื้อย ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้น อยู่ในอันดับ Celastrales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กระทงลาย

วงศ์กระท้อน

วงศ์กระท้อน (Meliaceae หรือ Mahogany family) เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ส่นใหญ่เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม มีส่วนน้อยที่เป็นไม้ล้มลุก หรือเป็นพืชป่าชายเลน อยู่ในอันดับ Sapindales ลักษณะการเรียงของใบเป็นแบบเรียงสลับ (alternate) เส้นใบเป็นแบบขนนก ไม่มีหูใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ panicles, cymes, spikes, หรือ clusters สปีชีส์ส่วนใหญ่ไม่ผลัดใบ วงศ์นี้ประกอบด้วย 50 สกุลและ 550 สปีชีส์ มีการกระจายตัวอย่างกว้างขวางในเขตร้อนตั้งแต่จีนจนถึงออสเตรเลีย ผลของ ''Chisocheton paniculatus'' ใน Pakke Tiger Reserve.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กระท้อน

วงศ์กระโถนฤๅษี

วาดของ ''Rhizanthes'' (ต่อมารู้จักในชื่อ''Brugmansia''), เป็นพืชในวงศ์กระโถนฤๅษีจาก''Der Bau und die Eigenschaften der Pflanzen'' (1913). วงศ์กระโถนฤๅษี (Rafflesiaceae) เป็นวงศ์ของพืชเบียนที่พบในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง Rafflesia arnoldii ซึ่งเป็นพืชที่มีดอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก พืชกลุ่มนี้เป็นปรสิตภายในของไม้เถาในสกุล Tetrastigma (วงศ์ Vitaceae) ไม่มีกิ่งก้าน ใบ รากและส่วนที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ จะมีเฉพาะดอกที่โผล่ออกมาจากรากหรือกิ่งด้านล่างของพืชเจ้าบ้านเท่านั้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กระโถนฤๅษี

วงศ์กฤษณา

วงศ์กฤษณา หรือ Thymelaeaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ประกอบด้วย 50 สกุล และ 898 สปีชีส์Zachary S. Rogers (2009 onwards).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กฤษณา

วงศ์กะลังตังช้าง

วงศ์กะลังตังช้าง หรือ Urticaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ชื่อของวงศ์นี้ตั้งตามสกุล Urtica มีสมาชิกทั้งสิ้น 2600 สปีชีส์ ประกอบด้วย 54 - 79 สกุล geสกุลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ Pilea (500 to 715 สปีชีส์) รองลงมาคือ Elatostema (300 สปีชีส์), Urtica (80สปีชีส์) และ Cecropia (75 สปีชีส์) กระจายพันธุ์ทั่วโลก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กะลังตังช้าง

วงศ์กะทกรก

วงศ์กะทกรก หรือ Passifloraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 530 สปีชีส์ อยู่ใน 27 สกุล มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ส่วนใหญ่พบในเขตร้อน ชื่อของวงศ์มาจากสกุล (Passiflora) ซึงเป็นสกุลของกะทกรกและเสาวรส ระบบการจัดจำแนกแบบ Cronquist จัดให้วงศ์นี้อยู่ในอันดับ Violales แต่การจัดจำแนกแบบใหม่ๆของ Angiosperm Phylogeny Group จัดให้อยู่ในอันดับ Malpighiales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กะทกรก

วงศ์กะตังใบ

วงศ์กะตังใบ หรือ Leeaceae เป็นวงศ์เก่าในระบบการจัดจำแนกที่ใช้สัณฐานวิทยาเป็นหลัก ในระบบ APG จะรวมสกุล Leea เข้าในวงศ์ Vitaceae เช่นในระบบ APG II ให้ Leea อยู่ในวงศ์ย่อย Leeoideae (Vitaceae).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กะตังใบ

วงศ์กัญชา

วงศ์กัญชา หรือ Cannabaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกขนาดเล็ก ประกอบด้วย 170 สปีชีส์ จาก 11 สกุล ได้แก่ Cannabis (กัญชา), Humulus (ฮอบส์) และ Celtis (hackberries).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กัญชา

วงศ์กันเกรา

วงศ์กันเกราหรือ Loganiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Gentianales มีสมาชิก 13 สกุล แพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก แต่เดิม วงศ์นี้มีสมาชิก 29 สกุล การศึกษาทางด้านไฟโลเจเนติกนั้นแสดงให้เห็นว่าบางกุลในวงศ์กันเกราอย่างกว้างนั้นควรย้ายออกไปวงศ์อื่น เช่น Gentianaceae, Gelsemiaceae, Plocospermataceae, Tetrachondraceae, Buddlejaceae, และ Gesneriaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กันเกรา

วงศ์กาฝาก

''Psittacanthus'' ออกดอกบนต้นไม้ วงศ์กาฝาก (Loranthaceae) เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 75 สกุล และ 1,000 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นพืชปรสิต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กาฝาก

วงศ์กำลังเสือโคร่ง

วงศ์กำลังเสือโคร่ง หรือ Betulaceae มีสมาชิกทั้งสิ้น 6 สกุล และมีประมาณ 130 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นพืชท้องถิ่นทางซีกโลกเหนือ มีบางส่วนพบทางซีกโลกใต้ทางเทือกเขาแอนดีส ในอดีตวงศ์นี้แยกออกเป็น 2 วงศ์คือ Betulaceae (ประกอบด้วยสกุล Alnus, Betula) และ Corylaceae (สกุลที่เหลือ) ในระบบ APG ได้รวมเป็นวงศ์ใหญ่ที่มีวงศ์ย่อย Betuloideae และ Coryloideae วงศ์ที่ใกล้เคียงคือ Casuarinaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กำลังเสือโคร่ง

วงศ์กุหลาบหิน

อก Rosularia วงศ์กุหลาบหิน หรือCrassulaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ ใบพืชกลุ่มนี้อวบน้ำ เก็บน้ำไว้ได้ดี พบได้ทั่วโลก แต่มักพบในซีกโลกเหนือและแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่แห้งหรือหนาวเย็น วงศ์นี้ประกอบด้วย 1,400 สปีชีส์ใน 33 สกุล การสังเคราะห์ด้วยแสงแบบแคม (Crassulacean acid metabolism) ตั้งตามชื่อวงศ์ของพืชวงศ์นี้ เพราะพบครั้งแรกในพืชวงศ์นี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กุหลาบหิน

วงศ์กุหลาบป่า

วงศ์กุหลาบป่า (Heath, Heather) เป็นวงศ์ของไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ericaceae ลักษณะเด่นประจำวงศ์ คือ ไม่มีหูใบ ใบเป็นแบบใบเดี่ยว ติดแบบเรียงเวียนสลับ มีต่อมด้านล่าง มีเส้นใบออกจาก 2 ข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก บางครั้งมีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น หรือมากกว่านั้น ดอกมีลักษณะสมมาตรตามรัศมี ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อหรือรูปโถ เกสรเพศผู้มี 10 อัน อับเรณูแตกโดยมีรูเปิดที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่มี 5 ช่อง เมล็ดมีจำนวนมาก บางชนิดเป็นพืชกินซาก ใบมีเกล็ดรังแค หรือมีต่อมที่ขอบใบตอนโคน ดอกแบบดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อหรือรูปโถ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เป็นพืชที่พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก มีมากกว่า 4,000 ชนิด ประมาณ 126 สกุลStevens, P.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กุหลาบป่า

วงศ์กุ่ม

วงศ์กุ่ม หรือ Capparaceae หรือ Capparidaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Brassicales ในปัจจุบันประกอบด้วย 33 สกุลและประมาณ 700 สกุลขนาดใหญ่ได้แก่ Capparis (150), Maerua (100), Boscia (37) และ Cadaba (30) วงศ์นี้มีความใกล้เคียงกับวงศ์ Brassicaceae และเคยรวมอยู่ด้วยกัน (APG, 1998) บางสกุลในวงศ์นี้ใกล้เคียงกับวงศ์ Brassicaceae มากกว่าสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน ปัจจุบันจึงนำไปรวมในวงศ์Brassicaceae (เป็นวงศ์ย่อย Clemoideae) หรือแยกไปเป็นวงศ์ Cleomaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์กุ่ม

วงศ์ก่วม

วงศ์ก่วม (Aceraceae) เป็นวงศ์พืชของไม้ดอก ประกอบด้วย 2 ถึง 4 สุกลขึ้นกับขอบเขต มีประมาณ 120 ชนิดที่เป็นไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ทั่วไปมีลักษณะใบเป็นแฉกและผลแยกแล้วแตก วงศ์ก่วมเป็นญาติใกล้ชิดกับวงศ์เงาะ นักอนุกรมวิธานหลายคน (รวมถึงกลุ่มวิวัฒนาการชาติพันธุ์พืชดอก) ได้รวมวงศ์ก่วมและ Hippocastanaceae ไว้ใน Sapindaceae งานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ (Harrington et al.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ก่วม

วงศ์ก่อ

วงศ์ก่อ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fagaceae) เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้นและไม้พุ่มราว 900 สปีชีส์ มีใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกแยกเพศ ผลมีลักษณะคล้ายนัท มีเปลือกแข็ง ผลไม่มีเอนโดสเปิร์ม ตัวอย่างของพืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ โอ๊ก ในสกุล Quercus ซึ่งผลมีเปลือกแข็งแบบนัทและมีเมล็ดเดียว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ก่อ

วงศ์ฝิ่น

วงศ์ฝิ่น หรือ Papaveraceae หรือวงศ์ป๊อบปี้ เป็นวงศ์ของพืชมีดอกซึ่งมีสมาชิกราว 30 สกุล ประมาณ 600 สปีชีส์ อยู่ในอันดับ Ranunculales วงศ์นี้กระจายตัวในที่อุณหภูมิปานกลางหรือกึ่งเขตร้อน แต่พบน้อยในเขตร้อน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ส่วนน้อยที่เป็นไม้พุ่มและไม้ยืนต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ฝิ่น

วงศ์มะพลับ

วงศ์มะพลับ หรือ Ebenaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Ericales ซึ่งสมาชิกได้แก่ ตะโก มะพลับ มะเกลือ มีสมาชิกประมาณ 768 สปีชีส์ ทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ดอก ''Diospyros chloroxylon'' ''Diospyros dichrophylla'' ฟอสซิลของดอก ''Royena graeca'' ส่วนใหญ่เป็นไม้ไม่ผลัดใบ กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พืชในวงศ์นี้ที่มีเนื้อไม้สามารถเจริญในบริเวณดินเสียหรือเป็นกรดโดยอยู่ร่วมกับไมคอไรซา หลายสปีชีส์ในสกุลมะพลับ (Diospyros) เป็นที่มาของ ebony wood ไม่ได้เป็นพืชที่รับประทานผลได้ทุกสปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะพลับ

วงศ์มะพอก

วงศ์มะพอก หรือ Chrysobalanaceae เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ที่เป็นพืชมีดอกจำนวน 17 สกุลและประมาณ 460 สปีชีส์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พบทั่วไปในทวีปอเมริกา บางสปีชีส์มีซิลิกา ในส่วนของต้นที่แข็งแรง และชั้นมีโซฟิลล์ของใบมักมีสเคลอเรนไคม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะพอก

วงศ์มะม่วง

วงศ์มะม่วง หรือ Anacardiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ผลมีเมล็ดเดียวและผลิตยางที่มีความระคายเคือง มีหลายสกุลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น มะม่วงหิมพานต์ มะม่วง มะปราง สกุล Pistaciaรวมอยู่ในวงศ์นี้แม้ว่าบางครั้งจะแยกไปอยู่วงศ์ต่างหากคือ Pistaciaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะม่วง

วงศ์มะรุม

วงศ์มะรุม หรือ Moringaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Brassicales ตามระบบ APG (1998) และระบบ APG II (2003) ส่วนในระบบ Cronquist (1981) อยู่ในอันดับ Capparales มีสกุลเดียวคือ Moringa.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะรุม

วงศ์มะละกอ

วงศ์มะละกอ หรือ Caricaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ในอันดับ Brassicales,พบในเขตร้อนของอเมริกากลาง อเมริกาใต้และแอฟริกา เป็นพืชไม่ผลัดใบ อายุสั้น มีสปีชีส์เดียวคือ Vasconcellea horoviziana เป็นไม้เลื้อยและมีสามสปีชีส์ของสกุล Jarilla เป็นไม้ล้มลุก หลายสปีชีส์มีผลที่รับประทานได้และเป็นแหล่งของปาเปน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะละกอ

วงศ์มะลิ

วงศ์มะลิ หรือ Oleaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ประกอบด้วย 24 สกุลและราว 600 สปีชีส์ มีทั้งไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น และไม้เลื้อย ชื่อของวงศ์นี้ตั้งตามสกุล Olea ซึ่งเป็นสกุลของมะกอกออลิฟ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะลิ

วงศ์มะหลอด

วงศ์มะหลอด หรือ วงศ์สลอดเถา หรือ Elaeagnaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Rosales ประกอบด้วยไม้พุ่มและไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พบในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือไปจนถึงเขตร้อนของเอเชียและออสเตรเลีย ประกอบด้วยสมาชิก 45-50 สปีชีส์ในสามสกุล พืชเหล่านี้มักมีหนาม ใบมีขนหรือเกล็ดขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นพืชทนแล้ง และหลายชนิดเป็นพืชทนเค็ม พืชในวงศ์นี้มักมีแบคทีเรียสกุล Frankia อยู่ในราก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะหลอด

วงศ์มะขามป้อม

วงศ์มะขามป้อม หรือ Phyllanthaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Malpighiales ใกล้เคียงกับวงศ์ Picrodendraceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะขามป้อม

วงศ์มะแฟน

วงศ์มะแฟน หรือ Burseraceae เป็นสกุลขนาดกลางที่มี 17-18 สกุลและประมาณ 540 สปีชีส์ วงศ์นี้มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่มเป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย แอฟริกา และอเมริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะแฟน

วงศ์มะเขือ

วงศ์มะเขือ (Solanaceae) เป็นวงศ์ของพืชดอกที่มีความสำคัญทางการเกษตร แม้ว่าบางชนิดเป็นพืชมีพิษ ชื่อของวงศ์นี้ตั้งตามชื่อสกุล Solanum วงศ์นี้ประกอบด้วยสกุล Datura, Mandragora (mandrake), Atropa belladonna (deadly nightshade), Lycium barbarum (wolfberry), Physalis philadelphica (tomatillo), Physalis peruviana (Cape gooseberry flower), Capsicum (พริก), Solanum (มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, มะเขือ), Nicotiana (ยาสูบ), และ Petunia พืชเศรษฐกิจในวงศ์นี้ยกเว้นยาสูบ (Nicotianoideae) และพิทูเนีย (Petunioideae) แล้ว สกุลอื่นๆอยู่ในวงศ์ย่อยSolanoideae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มะเขือ

วงศ์มังคุด

Clusiaceae หรือ Guttiferae Juss.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มังคุด

วงศ์มุ่นดอย

วงศ์มุ่นดอย หรือ Elaeaocarpaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 605 สปีชีส์ ใน 12 สกุล"Elaeocarpaceae" In: Klaus Kubitzki (ed.). The Families and Genera of Vascular Plants vol.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มุ่นดอย

วงศ์มณเฑียรทอง

วงศ์มณเฑียรทอง หรือ Scrophulariaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ที่สมาชิกส่วนใหญ๋อยู่ในเขตอบอุ่น และภูเขาในเขตร้อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์มณเฑียรทอง

วงศ์ยางพารา

วงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) เป็นวงศ์ของพืชดอกที่มี 300 สกุลและประมาณ 7,500 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม พบมากในเขตร้อน โดยเฉพาะในแถบอินโด-มลายา และเขตร้อนในทวีปอเมริกา มีความหลากหลายมากในเขตร้อนของแอฟริกา แต่ยังน้อยกว่าสองเขตข้างต้น สกุล Euphorbia เป็นสกุลที่พบนอกเขตร้อนมากที่สุด เช่นในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ และทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:พืชมีพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ยางพารา

วงศ์ยางนา

วงศ์ยางนา หรือ วงศ์ไม้ยาง หรือDipterocarpaceae เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้นมีสมาชิก 17 สกุลและประมาณ 500 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ในป่าฝนเขตร้อนระดับล่าง ชื่อของวงศ์นี้มาจากสกุล Dipterocarpus ซึ่งมาจากภาษากรีก (di.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ยางนา

วงศ์ย่อยระย่อม

วงศ์ย่อยระย่อม หรือRauvolfioideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชมีดอกในวงศ์ Apocynaceae (อันดับ Gentianales) พืชส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ย่อยระย่อม

วงศ์ย่อยราชพฤกษ์

Caesalpinia sappan วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ หรือ Caesalpinioideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชวงศ์ถั่ว ชื่อตั้งตามชื่อสกุล Caesalpinia ในการจัดจำแนกบางระบบ เช่นระบบ Cronquist วงศ์ย่อยนี้ยกขึ้นเป็นวงศ์ เรียก Caesalpiniaceae ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ในเขตร้อย ดอกสมมาตรครึ่งซีก เกิดปมรากได้น้อย วงศ์ย่อยนี้แบ่งเป็นสี่เผ่า ได้แก่ Caesalpinieae, Cassieae, Cercideae และ Detarieae เผ่า Cercideae บางครั้งเคยรวมเข้ากับวงศ์ย่อย Faboideae (Papilionoideae)ในอดีต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ย่อยราชพฤกษ์

วงศ์ย่อยสีเสียด

วงศ์ย่อยสีเสียด หรือ Mimosoideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชวงศ์ Fabaceae (Leguminosae) ดอกมีลักษณะเด่นคือเห็นก้านชูเกสรตัวผู้ชัดเจน แบ่งเป็นสี่เผ่า: Acacieae, Ingeae, Mimoseae, and Mimozygantheae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ย่อยสีเสียด

วงศ์ย่อยส้มลม

''Holarrhena pubescens'' วงศ์ย่อยส้มลม หรือ Apocynoideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชมีดอกในวงศ์ Apocynaceae (อันดับ Gentianales) ประกอบด้วย 78 สกุลและ 860 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางยา พืชที่สำคัญได้แก่ ยางน่องเถา ส้มลม Nerium oleander เป็นต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ย่อยส้มลม

วงศ์ย่อยถั่ว

วงศ์ย่อยถั่วหรือวงศ์ย่อยประดู่ หรือ Faboideaeเป็นวงศ์ย่อยของพืชมีดอกในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae บางครั้งเรียก Papilionoideae Faboideae เป็นได้ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก ตัวอย่างสมาชิกได้แก่ ถั่วลันเตา ประดู่ พืชในวงศ์ย่อยนี้จะเกิดปมราก ดอกจะมีลักษณะเฉพาะที่เรียกดอกทรงดอกถั่ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ย่อยถั่ว

วงศ์ย่านตีเมีย

วงศ์ย่านตีเมีย หรือ Santalaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับSantalales ตัวอย่างเช่น ไม้จันทน์ ในปัจจุบันได้รวมวงศ์ Viscaceae เข้ามาด้วย;สกุล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ย่านตีเมีย

วงศ์รักทะเล

วงศ์รักทะเล หรือ Goodeniaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Asterales มีสมาชิก 404 สปีชีส์ และ 12 สกุล การกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในออสเตรเลีย ยกเว้นสกุล Scaevola.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์รักทะเล

วงศ์ว่านไก่แดง

วงศ์ว่านไก่แดง หรือ Gesneriaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิกประมาณ 150 สกุลและประมาณ 3,200 สปีชีส์ในเขตร้อนของโลกเก่าและโลกใหม่ หลายสปีชีส์มีดอกสีสดใสและใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ว่านไก่แดง

วงศ์สร้อยสุวรรณา

Lentibulariaceae - ''Utricularia humboldtii'' วงศ์สร้อยสุวรรณา หรือ Lentibulariaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มี 3 สกุล Genlisea Pinguicula Utricularia ส่วนสกุล Polypompholyx และ Biovularia เคยจัดอยู่ในวงศ์นี้ Biovularia ถูกรวมเข้ากับ Utricularia และ Polypompholyx กลายเป็นสกุลย่อยในสกุล Utricularia เดิมวงศ์นี้เคยอยู่ในอันดับ Scrophulariales ต่อมาในระบบ APG จึงย้ายมาอยู่ในอันดับ Lamiales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์สร้อยสุวรรณา

วงศ์สะเดาดิน

วงศ์สะเดาดิน หรือ Molluginaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ในระบบ APG จัดให้วงศ์นี้อยู่ในอันดับ Caryophyllales ในเคลดพืชใบเลี้ยงคู่แท้ มีสมาชิก 100 สปีชีส์ แต่เดิมวงศ์นี้เคยรวมอยู่กับวงศืที่ใหญ่กว่าคือวงศ์ Aizoaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์สะเดาดิน

วงศ์สายน้ำผึ้ง

วงศ์สายน้ำผึ้ง หรือ Caprifoliaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ มีสมาชิก 860 สปีชีส์ 42 สกุล พบความหลากหลายมากในอเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออก ไม่พบในเขตร้อนและแอฟริกาใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์สายน้ำผึ้ง

วงศ์สนุ่น

วงศ์สนุ่น หรือ Salicaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ประกอบด้วย 55 สกุล ในระบบ Cronquist วงศ์นี้อยู่ในอันดับ Salicales และมีสมาชิก 3 สกุลเท่านั้น (Salix, Populus และ Chosenia) ส่วนระบบ APG จัดให้อยู่ในอันดับ Malpighiales และรวมวงศ์ Flacourtiaceae เข้ามา รวมทั้งสกุลที่เคยอยู่ใน Bembiciaceae Caseariaceae Homaliaceae Poliothyrsidaceae Prockiaceae Samydaceae และ Scyphostegiaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์สนุ่น

วงศ์สนทะเล

วงศ์สนทะเล หรือ Casuarinaceaeเป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Fagales ประกอบด้วย 3-4 สกุล มี 70 สปีชีส์ มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม เป็นไม้พื้นเมืองของโลกเก่าในเขตร้อนตั้งแต่ อินโด-มลายา ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงเวลาหนึ่ง ทุกสปีชีส์ในวงศ์นี้จัดอยู่ในสกุล Casuarina ทั้งสิ้น ต่อมาระหว่าง..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์สนทะเล

วงศ์ส้าน

วงศ์ส้าน หรือ Dilleniaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก พืชในวงศ์นี้ที่ใช้แต่งสวนอยู่ในสกุล Hibbertia ซึ่งมีสปีชีส์ที่เป็นที่รู้จักทางการค้าจำนวนมาก ในระบบ APG II ใน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ส้าน

วงศ์หญ้างวงช้าง

วงศ์หญ้างวงช้าง หรือ Boraginaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก สมาชิกมีประมาณ 2,000 สปีชีส์ใน 146 สกุลทั่วโลก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์หญ้างวงช้าง

วงศ์ผกากรอง

วงศ์ผกากรอง หรือ Verbenaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและไม้ล้มลุก มีดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็ก มีกลิ่น (2001-): -.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผกากรอง

วงศ์ผักบุ้ง

''Jacquemontia paniculata'' วงศ์ผักบุ้ง หรือConvolvulaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก โดยมีสมาชิกที่โดดเด่นคือ มอร์นิงกลอรี ประกอบด้วย 60 สกุลและมากกว่า 1,650 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย ส่วนน้อยเป็นไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผักบุ้ง

วงศ์ผักชี

วงศ์ผักชี หรือ Apiaceae หรือ Umbelliferae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง มีสมาชิกมากกว่า 3,700 สปีชีส์ และ 434 สกุล จัดเป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของพืชมีดอกStevens, P.F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผักชี

วงศ์ผักกาด

วงศ์ผักกาด หรือ Brassicaceae, เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ชื่อวงศ์ตั้งตามชื่อสกุล Brassica วงศ์นี้แต่เดิมใช้ชื่อว่า Cruciferae หมายถึงลักษณะดอกที่มีสี่กลีบ วงศ์นี้ประกอบด้วย 330 สกุล มีสมาชิกประมาณ 3,700 สปีชีส์ สกุลที่ใหญ่ที่สุดคือ Draba (365 สปีชีส์) รองลงไปได้แก่ Cardamine (200 สปีชีส์แต่คำจำกัดความยังมีข้อโต้แย้ง) Erysimum (225 สปีชีส์), Lepidium (230 สปีชีส์) และ Alyssum (195 สปีชีส์) สปีชีส์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ Brassica oleracea (กะหล่ำ) Brassica napus (เรปสีด) Raphanus sativus (ผักกาดหัว) Armoracia rusticana (ฮอร์สเรดิช) Arabidopsis thaliana (พืชที่ใช้เป็นแบบจำลองในการศึกษาทางด้านชีวโมเลกุล).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผักกาด

วงศ์ผักหวาน

Agonandra brasiliensis วงศ์ผักหวาน หรือOpiliaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก บางสกุลเป็นพืชปรสิต สกุลที่ใหญ่ที่สุดคือ Agonandra นอกจากสกุล Anthobolus (ที่เคยอยู่ในวงศ์ Santalaceae) สกุลที่เหลืออยู่ในโลกเก่าทั้งหม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผักหวาน

วงศ์ผักไผ่

วงศ์ผักไผ่ หรือ Polygonaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ชื่อวงศ์ตั้งตามชื่อสกุล Polygonum ใช้เป็นครั้งแรกโดย Antoine Laurent de Jussieu เมื่อปี 1789 ใน Genera Plantarum.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผักไผ่

วงศ์ผักเบี้ย

วงศ์ผักเบี้ย หรือ Portulacaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกประกอบด้วย 20 สกุล และประมาณ 500 สปีชีส์ มีทั้งไม้ล้มลุกและไม้พุ่ม มีความหลากหลายในซีกโลกใต้ ตั้งแต่แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ มีลักษณะคล้ายกับวงศ์ Caryophyllaceae ต่างกันที่กลีบเลี้ยงเท่านั้น ระบบ APG II system จัดให้อยู่ในอันดับCaryophyllales ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้แกน และได้ย้ายหลายสกุลไปยังวงศ์ Montiaceae, Didiereaceae, Anacampserotaceae และ Talinaceae ทำให้ในปัจจุบันมีเพียงสกุลเดียวคือ Portulaca.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ผักเบี้ย

วงศ์จิก

''Barringtonia acutangula'' ในกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ''Careya arborea'' ในประเทศอินเดีย วงศ์จิก หรือ Lecythidaceae เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้น ประกอบด้วย 20 สกุลและ 250-300 สปีชีส์ เป็นพืชท้องถิ่นในอเมริกาใต้แลมาดากัสการ์ จากการวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุลของ Mori et al.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์จิก

วงศ์ถอบแถบ

วงศ์ถอบแถบหรือ Connaraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก มีสมาชิก 16 สกุลและราว 350 สปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ถอบแถบ

วงศ์ทานตะวัน

วงศ์ทานตะวัน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Asteraceae หรือ Compositae) จัดเป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางStevens, P. F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ทานตะวัน

วงศ์ขนุน

วงศ์ขนุน หรือ Moraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 40 สกุลและมีมากกว่า 1000 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะเดื่อ, บันยัน, สาเก, หม่อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ขนุน

วงศ์ขนุนดิน

วงศ์ขนุนดิน หรือ Balanophoraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่เป็นพืชเบียน ประกอบด้วย 17 สกุลและมีสมาชิกประมาณ 50 สปีชีส์ พบในพื้นที่ชื้น โดยเจริญกับไม้ยืนต้น และจะโผล่ให้เห็นเฉพาะช่อดอก มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ผลเป็นแบบเมล็ดเดียวหรือแบบเปลือกแข็ง ส่วนที่อยู่ใต้ดินยึดกะโฮสต์ มองคล้ายหัวแต่ไม่มีราก พืชเหล่านี้ไม่มีคลอโรฟิลล์ ระบบ APG IIไม่ได้จัดให้วงศ์นี้อยู่ในอันดับใด แต่ในระบบ APG III และ จัดให้อยู่ในอันดับ Santalales (post APG II), ซึ่งงในระบบ Cronquist ได้จัดไว้เช่นกัน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ขนุนดิน

วงศ์ข้าวสารหลวง

วงศ์ข้าวสารหลวง หรือ วงศ์ Myrsinaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกขนาดใหญ่ในอันดับ ประกอบด้วย 35 สกุลและประมาณ 1000 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตอบอุ่นและเขตร้อนตั้งแต่ ยุโรป ไซบีเรีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก ฟลอริดา นิวซีแลนด์ อเมริกาใต้ และแอฟริกาใต้ พืชในวงศ์นี้นำไปใช้ปประโยชน์ทางเศรษฐกิจน้อย บางสกุล เช่น Ardisia, Cyclamen, Lysimachia, และ Myrsine ใช้เป็นไม้แต่งสวนโดยเฉพาะ Ardisia crispa และ Myrsine africana Ardisia japonica (ภาษาจีน: 紫金牛; พินอิน: zǐjīn niú) ใช้เป็นสมุนไพรจีน ระบบ APG III ไม่มีวงศ์ข้าวสารหลวง แต่จัดรวมให้อยู่ในวงศ์ Primulaceae ซึ่งมีขนาดใหญ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ข้าวสารหลวง

วงศ์ดอกหรีดเขา

วงศ์ดอกหรีดเขา หรือ Gentianaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่อยู่ในกลุ่มของพืชใบเลี้ยงคู่แท้ ประกอบด้วย 87 สกุลและมากกว่า 1500 สปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ดอกหรีดเขา

วงศ์ดอกดิน

วงศ์ดอกดิน หรือ Orobanchaceaeเป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Lamiales มีสมาชิก 90 สกุล และมากกว่า 2000 สปีชีส์ หลายสกุลในวงศ์นี้เคยยรวมอยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae อย่างกว้าง (sensu lato) พบในเขตอบอุ่นของยูเรเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ บางส่วนของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเขตร้อนของแอฟริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ดอกดิน

วงศ์ดาดตะกั่ว

วงศ์ดาดตะกั่ว หรือ Begoniaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกมีสมาชิกประมาณ 1400 สปีชีส์ พบในเขตกึ่งเขตร้อนทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ พืชในวงศ์นี้มีสองสกุลคือ Begonia และอีกสกุลหนึ่งคือ Hillebrandia ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของหมู่เกาะฮาวาย และมีสปีชีส์เดียว สกุล Symbegonia ปัจจุบันถูกลดป็นส่วนหนึ่งของสกุล Begonia ตามข้อมูลทางชีววิทยาโมเลกุล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ดาดตะกั่ว

วงศ์คำแสด

วงศ์คำแสดหรือ Bixaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ ในระบบ Cronquist จัดอยู่ในอันดับViolales อย่างไรก็ตาม ในการจัดแบบใหม่ ได้ย้ายวงศ์ในอันดับ Violales ไปสู่อันดับMalvales วงศ์คำแสดประกอบด้วย 25 สปีชีส์ แม้ว่าสกุล Cochlospermum บางครั้งจัดอยู่ในวงศ์ของตนเอง คือวงศ์ Cochlospermaceae แม้จะเป็นวงศ์ขนาดเล็ก แต่พืชในวงศ์นี้ก็มีความหลากหลาย ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก พืชในวงศ์นี้มักมียางสีแดงหรือเหลือง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์คำแสด

วงศ์ค่าหด

วงศ์ค่าหด หรือ Juglandaceae เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้น บางส่วนเป็นไม้พุ่มอยู่ในอันดับ Fagales ส่วนใหญ่เป็นพืชท้องถิ่นในทวีปอเมริกา ยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ค่าหด

วงศ์งา

วงศ์งา เป็นวงศ์ของพืชมีดอกอยู่ในอันดับ Scrophulariales ตามระบบ Cronquist และLamiales ในระบบ APG ซึ่งระบบ Cronquist ได้รวมวงศ์Martyniaceae เข้ามาด้วย แต่การศึกษาทางด้านไฟโลเจเนติกทรีพบว่าไม่มีความใกล้เคียงกัน จึงแยกทั้งสองวงศ์ออกจากกันในระบบ APG ตัวอย่างพืชสำคัญในวงศ์นี้คืองา (Sesamum indicum).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์งา

วงศ์ตะแบก

วงศ์ตะแบก หรือ Lythraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกมีสมาชิก 620 สปีชีส์ มีไม้พุ่มและไม้ยืนต้น อยู่ใน 31 สกุล สกุลส่วนใหญ่ได้แก่ Cuphea (275 spp.), Lagerstroemia (56), Nesaea (50), Rotala (45), and Lythrum (35).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ตะแบก

วงศ์ตานเหลือง

วงศ์ตานเหลือง (Ochnaceae) เป็นวงศ์ของพืชที่พบในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ส่วนใหญ่พบในอเมริกาใต้ ประกอบด้วย 53 สกุล และ 600 ชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ตานเหลือง

วงศ์ติ้ว

วงศ์ติ้ว หรือ Hypericaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Malpighiales ประกอบด้วยสกุลต่อไปนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ติ้ว

วงศ์ตีนเป็ด

วงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Apocynaceae‎) เป็นชื่อวงศ์พรรณไม้ของพืชตระกูล ลั่นทม ลีลาวดี ตีนเป็ด ลักษณะเด่นคือทุกส่วนของต้นพืชมีน้ำยางขาวมี ใบเป็นเดี่ยวติดตรงข้ามหรือติดเป็นวงรอบข้อ ขอบใบเรียบเส้นแขนงใบเป็นร่างแห กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 5 อันติดบนท่อกลีบดอก มีเกสรเพศเมีย 2 อันเชื่อมติดกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ รังไข่มี 2 ช่อง ผลเป็นฝักคู่ หรือเดี่ยวแตกตามแนวเดียว เมล็ดมีขนเป็นกระจุกที่ปลาย ในวงศ์นี้เป็นไม้หวงห้าม 4 สกุล คือ สกุลตีนเป็ด สกุลไยลูตง สกุลโมกหลวง และสกุลโมกมัน ไม้ตีนเป็ด จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ตีนเป็ด

วงศ์ต่างไก่ป่า

วงศ์ต่างไก่ป่าหรือ Polygalaceae (ชื่อพ้อง Diclidantheraceae, Moutabeaceae, Xanthophyllaceae) เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Fabales มีสมาชิก 17 สกุลและ 900–1,000 สปีชีส์ สมาชิกมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในสกุล Polygala ในระบบ Cronquist วงศ์นี้อยู่ในอันดับต่างหากคืออันดับ Polygalaceae ส่วนในระบบ APG จัดให้อยู่ในอันดับ Fabales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ต่างไก่ป่า

วงศ์ปลาไหลเผือก

วงศ์ปลาไหลเผือกหรือSimaroubaceae เป็นวงศ์ขนาดเล็ก พบในเขตร้อน อยู่ในอับดับ Sapindales ข้อมูลทางไฟโลเจเนติกทรีที่ตีพิมพ์ใน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์ปลาไหลเผือก

วงศ์นมตำเลีย

''Asclepias syriaca'' ''Caralluma acutangula'' ''Leptadenia pyrotechnica'' ''Microloma calycinum'' วงศ์นมตำเลีย หรือ Asclepiadaceae เป็นวงศ์เก่าในระบบ APG II ซึ่งต่อมาได้ลดระดับเป็นวงศ์ย่อยนมตำเลีย ('Asclepiadoideae) ในวงศ์ Apocynaceae (Bruyns, 2000) มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ส่วนไม้ยืนต้นพบน้อย จัดอยู่ในอันดับ Gentianales ชื่อวงศ์ตั้งตามสกุล Asclepias (milkweeds) มี 348 สกุล ประมาณ 2,900 สปีชีส์ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนของแอฟริกาและอเมริกาใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์นมตำเลีย

วงศ์น้ำใจใคร่

วงศ์น้ำใจใคร่ หรือOlacaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Santalales ระบบ APG และ APG II จัดให้อยู่ในอันดับSantalalesValéry Malécot and Daniel L. Nickrent.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์น้ำใจใคร่

วงศ์แตง

ืชในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) ประกอบไปด้วยพืชจำพวกสควอช, เมล่อน, และบวบ และยังรวมถึงพืชที่เพาะปลูกกันอย่าง แตงกวา, ฟักทอง, และแตงโมด้วย พืชวงศ์นี้ ส่วนมากกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั้งในเขตโลกเก่าและโลกใหม่ พืชวงศ์แตงมีประมาณ 125 สกุล 960 ชนิด ส่วนใหญ่พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ส่วนมากเป็นพืชเถาปีเดียว แต่สามารถเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, ไม้พุ่มมีหนาม, และต้นไม้ (Dendrosicyos) หลายชนิดมีดอกขนาดใหญ่สีขาวหรือเหลือง ลำต้นเป็นห้าเหลี่ยม มีขน มือจับทำมุม 90° กับก้านใบตรงข้อ ใบไร้หูใบสลับใบแฉกเหมือนนิ้วมือหรือใบประกอบแผ่เหมือนนิ้วมือ ดอกมีเพศเดียวอยู่ต่างต้น (dioecious) หรือต้นเดียวกัน (monoecious) ดอกเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ ผลมีเนื้อหลายเมล็ดแบบแตง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์แตง

วงศ์โกงกาง

วงศ์โกงกาง หรือ Rhizophoraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกเขตร้อน ส่วนใหญ่เป็นไม้ในป่าชายเลน พบทั้งสิ้น 149 สปีชีส์ มี 16 สกุล มักเป็นพืชพื้นเมืองในโลกเก่า ส่วนใหญ่เป็นพืชมีเนื้อไม้ มีดอก และมีกลีบดอก 5 กลีบ ปัจจุบันอยู่ในอันดับ Malpighiales แต่ใน Cronquist systemจะอยู่ในอันดับ Rhizophorales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์โกงกาง

วงศ์โคคา

วงศ์โคคา หรือ Erythroxylaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ประกอบด้วยสมาชิก 4 สกุลและประมาณ 240 สปีชีส์ พืชที่เป็นที่รู้จักดีของวงศ์นี้คือโคคา ซึ่งใช้ผลิตสารเสพติดที่เรียกโคเคน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์โคคา

วงศ์โนรา

วงศ์โนรา หรือ Malpighiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Malpighiales ประกอบด้วย 75 สกุลและ 1300 สปีชีส์ ส่วนใหญ่พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ประมาณ 80% ของสกุลและ 90% ของสปีชีส์พบในโลกใหม่ ทะเลแคริบเบียนและทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงอาร์เจนตินา ส่วนที่เหลือพบในโลกเก่า ได้แก่ แอฟริกา มาดากัสการ์ และแถบอินโดมลายา ไปจนถึงออสเตรเลียและฟิลิปปิน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์โนรา

วงศ์เล็บครุฑ

วงศ์เล็บครุฑ หรือ Araliaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 254 สปีชีส์ มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก แบ่งเป็น 2 วงศ์ย่อย ใบมักเป็นใบประกอบรูปฝ่ามือ ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กอยู่ในช่อขนาดใหญแบบพานิเคิล ไฟล์:Scheflera1.jpg|Schefflera arboricola ไฟล์:Oplopanax horridus0.jpg|(Oplopanax horridus) ไฟล์:Eleutherococcus-sieboldianus.JPG|Eleutherococcus sieboldianus ไฟล์::Starr 070515-7041 Osmoxylon lineare.jpg|Osmoxylon lineare ไฟล์::Illustration Hydrocotyle vulgaris0.jpg|(Hydrocotyle vulgaris) ไฟล์:Starr_010419-0021_Hedera_helix.jpg|Hedera helix ไฟล์:Aralia spinosa, Georgia, USA.jpg|Aralia spinosa ไฟล์:Starr 070515-7041 Osmoxylon lineare.jpg|Osmoxylon lineare.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เล็บครุฑ

วงศ์เหมือดคน

วงศ์เหมือดคนหรือ Proteaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่กระจายพันธุ์ในซีกโลกใต้ มีสมาชิกประมาณ 80 สกุลและประมาณ1,600 สปีชีส์ อยู่ในอันดับProtealesเช่นเดียวกับวงศ์ Platanaceae และ Nelumbonaceae สกุลที่เป็นที่รู้จักทั่วไปได้แก่ Protea, Banksia, Embothrium, Grevillea, Hakea, Dryandra และ Macadamia.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เหมือดคน

วงศ์เหงือกปลาหมอ

วงศ์เหงือกปลาหมอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthaceae) เป็นชื่อของวงศ์พรรณไม้วงศ์หนึ่ง เป็นพืชดอกมีใบเลี้ยงคู่ มีประมาณ 250 สกุลและ 2500 ชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เหงือกปลาหมอ

วงศ์เอี้ยบ๊วย

วงศ์เอี้ยบ๊วย หรือMyricaceae เป็นวงศ์ขนาดเล็กของพืชใบเลี้ยงคู่ในอันดับFagales มีสามสกุล แต่นักพฤกษศาสตร์บางคนได้แยกสกุลMyrica ออกเป็นสกุลที่สี่คือสกุล Morella.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เอี้ยบ๊วย

วงศ์เทียนดอก

วงศ์เทียนดอก หรือ Balsaminaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 2 สกุลและมากกว่า 850 สปีชีส์ โดยสกุลที่สำคัญคือสกุล Impatiens มีทั้งพืชฤดูเดียวและพืชหลายฤดู พบทั้งในอเมริกาเหนือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เทียนดอก

วงศ์เทียนเกล็ดหอย

วงศ์เทียนเกล็ดหอย หรือ Plantaginaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Lamiales สกุลหลักคือ Plantago ส่วนการจัดจำแนกในระบบเก่า จัดให้อยู่ในอันดับ Plantaginales.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เทียนเกล็ดหอย

วงศ์เข็ม

วงศ์เข็ม หรือ Rubiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิกเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ต้นกาแฟ (Coffea), ต้นควินิน (Cinchona), และสกุล Uncaria Carapichea ipecacuanha และพืชที่มีความสำคัญทางการจัดสวนได้แก่ สกุลRubia Ixora Mitchella Morinda, Gardenia และ Pentas สมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน ปัจจุบันประกอบด้วย 611 สกุลและมากกว่า 13,000 สปีชีส์Stevens, P.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เข็ม

วงศ์เน่าใน

วงศ์เน่าในหรือ Aquifoliaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้ มีสมาชิกเหลืออยู่เพียงสกุลเดียวคือสกุล Ilex.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และวงศ์เน่าใน

ว่านตะขาบ

ว่านตะขาบ (F.v.Muell.) Meissn.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และว่านตะขาบ

สบู่ดำ

ู่ดำ เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ในหลายประเทศได้มีความเห็นคัดค้านการปลูกสบู่ดำเพื่อสกัดน้ำมัน โดยเสนอแนะให้นำพื้นที่เหล่านั้นไปปลูกพืชสำหรับบริโภคแทน และนอกจากนี้ปัญหาการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อคิดเทียบเท่าต่อพลังงานที่ได้จากพืชชนิดอื่นเช่นอ้อยหรือข้าวโพด สบู่ดำใช้น้ำเป็นปริมาณ 5 เท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสบู่ดำ

สกุลชบา

กุลชบา (Hibiscus) เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Malvaceae เป็นสกุลขนาดใหญ่ มีด้วยกันราว 200 ถึง 230ชนิด พบในเขตอากาศอุ่นในกึ่งเขตร้อนและเขตร้อนทั่วโลก ไม้สกุลนี้มีทั้งพืชปีเดียวและพืชหลายฤดู มีทั้งไม้ล้มลุกและพืชที่มีเนื้อไม้ ชื่อสกุลนี้มาจากภาษากรีก ἱβίσκος (hibískos) ซึ่งเป็นชื่อที่นักปรัชญาและนักพฤกษศาสตร์ชาวกรีก พีดาเนียส ไดออสคอริดีส ตั้งให้กับ Althaea officinalis.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลชบา

สกุลบลูเบอร์รี

กุลบลูเบอร์รี หรือ Vaccinium ออกเสียง v|æ|k|ˈ|s|ɪ|n|i|ə|m เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Ericaceae หลาบสปีชีส์ที่ผลรับประทานได้ เช่น แครนเบอร์รี บลูเบอร์รี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลบลูเบอร์รี

สกุลบานไม่รู้โรย

กุลบานไม่รู้โรย (Gomphrena) เป็นพืชดอกที่อยู่ในสกุลกอมฟรีนา (Gomphrena) ในวงศ์บานไม่รู้โรยที่มีด้วยกัน 4 สปีชีส์.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลบานไม่รู้โรย

สกุลชงโค

กุลชงโค (Bauhinia)เป็นสกุลของพืชที่เป็นได้ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เถา อยู่ในวงศ์ Fabaceae พบในเขตร้อนทั่วโลกกว่า 300 ชนิด ลักษณะเด่นคือปลายใบแยกเป็นสองแฉก มองดูคล้ายรูปเมล็ดถั่วหรือไต บางชนิดแยกเป็นสองใบย่อย ในประเทศไทยพบประมาณ 34 ชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลชงโค

สกุลพิสตาชีโอ

มล็ดพิสตาชีโอ เรซินจาก ''Pistacia lentiscus'' Pistacia เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Anacardiaceae ประกอบด้วย 20 สปีชีส์ที่เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกาและยูเรเชีย จากหมู่เกาะคะแนรี แอฟริกา และ ยุโรปใต้ เขตอบอุ่นและกึ่งทะเลทรายของเอเชียและอเมริกาเหนือ จากเม็กซิโกไปจนถึงเทกซัสหรือแคลิฟอร์เนี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลพิสตาชีโอ

สกุลพุด

กุลพุด หรือ Gardenia เป็นสกุลของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 142 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์เข็ม หรือ Rubiaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของแอฟริกา เอเชียใต้ ออสเตรเลีย และพื้นที่ในแถบมหาสมุทร เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ดอกออกเป็นกลุ่ม สีขาวหรือเหลือง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลพุด

สกุลกฤษณา

กุลกฤษณา (Aquilaria) เป็นสกุลหนึ่งของพืชวงศ์กฤษณา (Thymelaeaceae) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ พบมากโดยเฉพาะในป่าดิบชื้นของอินโดนีเซีย, ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินเดียตอนเหนือ, ฟิลิปปินส์ และนิวกินี พรรณไม้ในสกุลนี้ปกติมีเนื้อไม้สีขาว เมื่อเกิดบาดแผล ต้นไม้จะหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อรักษาบาดแผลนั้น แต่สารเคมีจะขยายวงกว้างออกไปอีก ก่อให้เกิดเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ กลิ่นหอม เรียกว่า "กฤษณา".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลกฤษณา

สกุลกะทกรก

กุลกะทกรก (Passiflora) เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์กะทกรก มีสมาชิกประมาณ 500 สปีชีส์ ชื่อของสกุลนี้ได้นำไปตั้งเป็นชื่อวงศ์ Passifloraceae ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อย บางส่วนเป็นไม้พุ่ม มี 2-3 สปีชีส์เป็นไม้ล้มลุก ยังมีข้อโต้แย้งในการแยกหรือไม่แยกสกุล Hollrungia ออกจากสกุล Passiflora ซึ่งต้องศึกษาต่อไป.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลกะทกรก

สกุลกัญชา

กุลกัญชา หรือCannabis (Cán-na-bis) เป็นสกุลของพืชมีดอกที่ประกอบด้วย 3 สปีชีส์ Cannabis sativa หรือกัญชง Cannabis indica หรือกัญชา และ Cannabis ruderalisที่เป็นวัชพืชในยุโรป พืชเหล่านี้เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียกลาง และเอเชียใต้ พืชในสกุลนี้เป็นพืชให้เส้นใย สมุนไพร และเป็นยาเสพติด นอกจากนั้นยังสามารถคั้นน้ำมันจากเมล็ดได้ด้วยErowid.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลกัญชา

สกุลกาแฟ

''Coffea canephora''. สกุลกาแฟหรือ Coffea เป็นสกุลของพืชมีดอกซึ่งเมล็ดนำไปใช้ทำกาแฟ อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกาใต้และเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชที่มีความสำคัญทางการค้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลกาแฟ

สกุลมะพลับ

กุลมะพลับ หรือ Diospyros เป็นสกุลที่มีสมาชิก 450–500 สปีชีส์ ซึ่งไม่ผลัดใบ มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน หลายสปีชีส์จะเป็นที่รู้จักในชื่อพลับ บางชนิดเนื้อไม้แข็ง คุณภาพดี บางชนิดผลรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะพลับ

สกุลมะม่วง

Mangifera เป็นสกุลของพืชใบเลี้ยงคู้ในวงศ์ Anacardiaceae ประกอบด้วย 69 สปีชีส์ ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะม่วง (Mangifera indica) ซึงมีการแพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแหล่งที่หลากหลายที่สุดอยู่ที่คาบสมุทรมลายู เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะม่วง

สกุลมะม่วงหัวแมงวัน

กุลมะม่วงหัวแมงวัน หรือ Buchanania เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Anacardiaceae สปีชีส์ในสกุลนี้ ได้แก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะม่วงหัวแมงวัน

สกุลมะม่วงหิมพานต์

กุลมะม่วงหิมพานต์ หรือ Anacardium เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Anacardiaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนของทวีปอเมริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะม่วงหิมพานต์

สกุลมะละกอ

กุลมะละกอ หรือ Carica เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Caricaceae มีเพียง มะละกอ สปีชีส์เดียว อต่เดิมสกุลนี้เคยมีสมาชิก 20 - 25 สปีชีส์ แต่ต่อมาถูกย้ายไปยังสกุล Vasconcellea, และบางส่วนไปยังสกุล Jacaratia และ Jarilla, ดังต่อไปนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะละกอ

สกุลมะขามป้อม

กุลมะขามป้อมหรือPhyllanthus เป็นสกุลขนาดใหญ่ในวงศ์ Phyllanthaceae คาดว่ามีสมาชิกประมาณ 750David J. Mabberley.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะขามป้อม

สกุลมะขามเทศ

กุลมะขามเทศ หรือ Pithecellobium เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Fabaceae ชื่อสกุลนี้มาจาก ภาษากรีก πιθηκος (pithekos), หมายถึงลิง และ ελλοβιον (ellobion), หมายถึง ต่างหู ซึ่งหมายถึงรูปร่างของฝัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะขามเทศ

สกุลมะไฟ

Baccaurea เป็นสกุลของพืชมีดอก อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceaeประกอบด้วยสปีชีส์มากกว่า 100 สปีชีส์ แพร่กระจายจากอินโดนีเซีย จนถึงแปซิฟิกตะวันตก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะไฟ

สกุลมะเฟือง

กุลมะเฟือง หรือ Averrhoa เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Oxalidaceae ในอันดับOxalidales ตั้งชื่อตามAverroes - นักปรัชญาจากอัลอันดาลุส บางครั้งยกเป็นวงศ์ต่างหาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะเฟือง

สกุลมะเม่า

Antidesma เป็นสกุลของพืชเขตร้อนในวงศ์ เป็นพืชที่มีความสูงได้หลากหลาย มีทั้งต้นเตี้ยและต้นสูง ช่อดอกเป็นช่อยาว และเมื่อติดผลจะเป็นช่อยาวด้วย ผลกลม ขนาดเล็ก มักมีรสเปรี้ยวเมื่อดิบ สุกแล้วเป็นสีแดงแล้วกลายเป็นดำ รสจะหวานขึ้น Antidesma เป็นสกุลของพืชพื้นเมืองในเขตร้อนของโลกเก่า มีประมาณ 100 สปีชีส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมี 18 สปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะเม่า

สกุลมะเขือ

กุลมะเขือ (Solanum) ประกอบด้วยพืชปีเดียวและพืชสองปีมากมายหลายชนิด ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 1,500-2,000 สปีชีส์ กลุ่มใบและผลมีเนื้อหลายเมล็ดของมันมีพิษ โดยสารหลักที่ออกฤทธิ์ คือ โซลานิน ซึ่งอาจทำให้ชักและเสียชีวิตได้หากรับประทานในปริมาณมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมะเขือ

สกุลมังคุด

กุลมังคุด หรือGarcinia เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Clusiaceae เป็นพืชพื้นเมืองในออสเตรเลีย เอเชีย แอฟริกาใต้และโพลีเนเซีย ตัวอย่างพืชในสกุลนี้เช่น มังคุด ชะมวง ส้มแขก เป็นต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลมังคุด

สกุลยางนา

กุลยางนา หรือ Dipterocarpus เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ยางนา พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อสกุลนี้มาจากภาษากรีก หมายถึง ผลที่มีสองปีก สกุลนี้เป็นสกุลของพืชที่มีความสำคัญในการนำเนื้อไม้ไปใช้ทางการค้า Dipterocarpus turbinatus ซึ่งเป็นสปีชีส์ที่พบในหมู่เกาะอันดามัน และมีความสำคัญในการนำไปผลิตไม้อั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลยางนา

สกุลลัดวิเจีย

กุลลัดวิเจีย หรือ Ludwigia(primrose-willow, water-purslane, หรือ water-primrose) เป็นพืชตระกูลพืชน้ำ มีประมาณ 75 ชนิด สามารถพบได้ทุกพื้นที่ แต่ส่วนมากจะกระจายอยู่ในเขตร้อน;ตัวอย่างสปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลลัดวิเจีย

สกุลวอลนัต

กุลวอลนัต หรือJuglans เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Juglandaceae เมล็ดมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าวอลนัต เป็นพืชที่ดอกแยกเพศแยกต้น ใบประกอบแบบขนนก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลวอลนัต

สกุลสะแล่งหอมไก๋

กุลสะแล่งหอมไก๋ หรือ Rothmannia เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Rubiaceae ต่อไปนี้เป็นรายชื่อพืชในสกุลนี้ซึ่งยังไม่สมบูรณ์.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลสะแล่งหอมไก๋

สกุลสะเดาดิน

กุลสะเดาดิน หรือ Glinus เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Molluginaceae พืชในสกุลนี้มักเรียกด้วยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า sweetjuice เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ผลเป็นแบบแคปซูล มีเมล็ดรูปไตจำนวนมาก ใช้รับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลสะเดาดิน

สกุลอังกาบ

กุลอังกาบ หรือ Barleria เป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ Acanthaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลอังกาบ

สกุลผักกาดหอม

กุลผักกาดหอมหรือ Lactuca เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Asteraceae ประกอบด้วย 50 สปีชีส์ แพร่กระจายไปทั่วโลก พืชในสกุลนี้ที่รู้จักดีที่สุดคือผักกาดหอม (Lactuca sativa) ที่มีหลายสายพันธุ์ บางสปีชีส์เป็นวัชพืช มีทั้งพืชฤดูเดียว พืชสองฤดูและพืชหลายฤดูLebeda, A., et al.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลผักกาดหอม

สกุลจันทนา

กุลจันทนา หรือ Tarenna เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Rubiaceae ตัวอย่างสปีชีส์ในสกุลนี้ได้แก่.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลจันทนา

สกุลจั่น

กุลจั่น เป็นสกุลในวงศ์ Fabaceae ประกอบด้วยสปีชีส์ 150 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลจั่น

สกุลถ่อน

ฝัก ''Albizia procera'' สกุลถ่อน หรือAlbizia เป็นสกุลของพืชที่มีสมาชิก 150 สปีชีส์ เป็นกลุ่มของพืชโตเร็วในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae วงศ์ Fabaceae การกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่พบในโลกเก่า บางสปีชีส์เป็นวัชพืช หมวดหมู่:สกุลถ่อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลถ่อน

สกุลขี้เหล็ก

กุลขี้เหล็ก หรือ Senna (มาจาก ภาษาอาหรับ sanā) เป็นสกุลขนาดใหญ่ในวงศ์ Fabaceaeและวงศ์ย่อย Caesalpinioideae พืชในสกุลนี้เป็นพืชท้องถิ่นในเขตร้อน พบในเขตอบอุ่นไม่กี่ชนิด จำนวนสปีชีส์ประมาณ 260 - 350 สปีชีส์Randell, B.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลขี้เหล็ก

สกุลขนุน

กุลขนุน หรือ Artocarpus เป็นสกุลของพืชในวงศ์ขนุนประมาณ 60 ชนิดเป็นไม้พุ่มและไม้ยืนต้น พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบมหาสมุทรแปซิฟิก พืชในสกุลนี้หลายชนิด เช่น ขนุน สาเกหรือจำปาดะ ผลใช้รับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลขนุน

สกุลขนุนดิน

กุลขนุนดิน หรือ Balanophora เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Balanophoraceae บางชนิดเป็นพืชเบียนตามรากของไม้ใหญ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลขนุนดิน

สกุลดาวเงิน

กุลดาวเงิน หรือ Argostemmaเป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Rubiaceae พบในเขตกึ่งร้อนของเอเชีย และเขตร้อนในแอฟริกาตะวันตกและตอนกลาง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลดาวเงิน

สกุลคราม

''Indigofera pendula'' ''Indigofera spicata'' ''Indigofera astragalina'' ''Indigofera decora'' สกุลครามหรือIndigofera เป็นสกุลขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากกว่า 750 สปีชีส์ Flora of China.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลคราม

สกุลงิ้ว

กุลงิ้ว หรือBombax เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ชบา เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกาตะวันตก อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงออสเตรเลียภาคเหนือ ปัจจุบันมีประมาณ 4 สปีชีส์ โดยพืชหลายชนิดถูกย้ายไปสกุลอื่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลงิ้ว

สกุลตีนเป็ดทะเล

กุลตีนเป็ดทะเล หรือ Cerbera iเป็นสกุลที่มีสมาชิก 10-15 สปีชีส์ เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย มาดากัสการ์ เซเชลล์ และหมู่เกาะในแปซิฟิกตะวันตก มีพืชในสกุลนี้สามชนิดเป็นไม้ป่าชายเลน ได้แก่ Cerbera floribunda, Cerbera manghas and Cerbera odollam ผลมีเมล็ดเดียว มียางสีขาว ชื่อสกุลตั้งชื่อตามเซอร์เบอรัส สุนัขในนรกในเทพปกรณัมกรีกเพราะยางมีพิษ มีสารพิษคือเซอเบอริน ซึ่งจะยับยั้งการส่งกระแสไฟฟ้าในร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ กิ่งนิยมใช้ทำฟืน แม้ว่าควันอาจเป็นพิษ;ตัวอย่างสปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลตีนเป็ดทะเล

สกุลประทัดดอย

กุลประทัดดอย (Agapetes) เป็นไม้กึ่งเลื้อที่เป็นพืชพื้นเมืองในเขตเทือกเขาหิมาลัย ดอกมีสีสดและบานเป็นเวลานาน เจริญในเขตหนาวจนถึงกึ่งเขตร้อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลประทัดดอย

สกุลป่านรามี

กุลป่านรามี (Boehmeria) เป็นสกุลของพืชมีดอกที่มีสมาชิกประมาณ 100 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Urticaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียและอเมริกาเหนือ สมาชิกในสกุลนี้มีทั้งไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ชื่อสกุลนี้ตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์เยอรมัน Georg Rudolf Boehmer พืชที่สำคัญในสกุลนี้คือป่านรามี (Boehmeria nivea) เป็นพืชเส้นใยที่สำคัญ บางชนิดใช้ปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลป่านรามี

สกุลนมตำเลีย

กุลนมตำเลีย หรือ Hoya เป็นสกุลของพืชในวงศ์นมตำเลีย มี 200–300 สปีชีส์ในเขตร้อน ส่วนใหญ่เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน ไทย มาเลเซีย, และ อินโดนีเซีย และยังพบใน ฟิลิปปินส์ โพลีเนเซีย นิวกินี และ ออสเตรเลี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลนมตำเลีย

สกุลแสลงใจ

กุลแสลงใจ หรือ Strychnos เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Loganiaceae (บางครั้งเป็น Strychnaceae).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลแสลงใจ

สกุลโพ

กุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม ผลของมะเดื่อ (''F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลโพ

สกุลโมกมัน

กุลโมกมัน หรือ Wrightia เป็นสกุลที่มีสมาชิก 23 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ชื่อสกุลนี้ตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ วิลเลียม ไรท์ (William Wright) ในบางครั้ง จะเกิดความสับสนกันระหว่างพุดพิชญา (Wrightia antidysenterica) กับโมกหลวง (Holarrhena pubescens) ซึ่งมีชื่อพ้อง Holarrhena antidysenterica โดยพืชทั้งสองชนิดอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่คนละสกุล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลโมกมัน

สกุลไคร้น้ำ

Homonoia เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Euphorbiaceae ประกอบด้วย 2 สปีชีส์ H. retusa พบในอินเดียตอนกลาง ส่วน H. riparia หรือไคร้น้ำ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงจีนไต้หวัน มาเลเซียเกาะนิวกินี มักพบตามริมฝั่งแม่น้ำ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลไคร้น้ำ

สกุลเจินจูฉ่าย

กุลเจินจูฉ่าย (珍珠菜, 真珠菜) ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกเตียวจูฉ่าย เป็นคนละชนิดกับจิงจูฉ่ายที่ชาวจีนแต้จิ๋วนิยมนำไปใส่ในเกาเหลาเลือดหมูเป็นกลุ่มพืชสกุล Lysimachia ถือเป็นสมุนไพรจีน เการแพทย์แผนจีนโบราณถือว่าผักชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น(หยิน)มีรสขม ลักษณะต้นขึ้นเป็นกอคล้ายต้นใบบัวบก เจริญงอกงามในที่แดดรำไร ชื้น ดินโปร่งแต่ไม่แฉ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลเจินจูฉ่าย

สกุลเถาคัน

''Cissus verticillata'' สกุลเถาคัน หรือ Cissusเป็นสกุลที่มีสมาชิกประมาณ 350 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Vitaceae พบมากในเขตร้อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลเถาคัน

สกุลเทียนดอก

กุลเทียนดอก หรือ Impatiens เป็นสกุลชอ พืชมีดอกที่มีสมาชิก 850 - 1,000 สปีชีส์ พบแพร่กระจายในซีกโลกเหนือ และเขตร้อน อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลเทียนดอก

สกุลเครือเขาน้ำ

กุลเครือเขาน้ำ หรือ Tetrastigma เป็นสกุลของพืชในวงศ์ Vitaceae เป็นไม้เลื้อย ใบประกอบ พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย พืชในสกุลนี้มักเป็นเจ้าบ้านขอพืชปรสิตในวงศ์ Rafflesiaceae รวมทั้ง Rafflesia arnoldii ที่มีดอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในวงศ์ Vitaceae Tetrastigma มีความใกล้เคียงกับ Cayratia และCyphostemma.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลเครือเขาน้ำ

สกุลเงาะ

กุลเงาะ หรือ Nephelium เป็นสกุลที่ประกอบด้วย 25 สปีชีส์ในวงศ์ Sapindaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีผลที่รับประทานได้ โดยเงาะเป็นชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด พืชในสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับสกุล Litchi และ Dimocarpus;ตัวอย่างสปีชี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสกุลเงาะ

สมอทะเล

มอทะเล เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นเกลี้ยงมียาง ใบรูปรีแคบ มีต่อมเล็กๆ 2 ต่อมที่โคนใบ ดอกช่อ ผลเป็นแบบแคปซูล ผลสุกสีน้ำตาลแกมเทา กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่าไปจนถึงเกาะนิวกินี แต่ไม่พบในฟิลิปปินส์ สีย้อมสกัดจากใบ ใช้ย้อมด้ายให้เป็นสีเหลืองแกมเขียว หรือย้อมหวายเป็นสีดำ ผลอ่อนเป็นพิษใช้เบื่อปลา เปลือกผลมียางกัดผิวหนัง น้ำต้มเปลือกรากเป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสมอทะเล

สร้อยสยาม

ร้อยสยามหรือชงโคสยาม เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งในสกุลชงโค วงศ์ Leguminosae ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกเป็นดอกช่อ ดอกย่อยสีชมพู ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ – เมษายน นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยแต่งรั้วหรือซุ้ม พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 2 กุมภาพัน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสร้อยสยาม

สร้อยอินทนิล

ร้อยอินทนิล หรือ ช่ออินทนิล ช่องหูปากกา น้ำผึ้ง ปากกา ย่ำแย้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia grandiflora Roxb.ชื่อสามัญคือ Bengal Trumpet มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ พม่า และไทย ชอบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ใช้ยอดเลื้อยพันได้ไกล 15-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหัวใจหรือเว้าตื้น 5-7 แฉก กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบหยักฟันเลื่อย ผิวใบสาก ดอกสีฟ้าอมม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบ ช่อดอกห้อยลงยาว 0.8-1 เมตร ใบประดับสีเขียวและมีสีแดงเรื่อ ดอกรูปแตร โคนกลีบเป็นหลอดสั้นสีเหลืองปลายแยก 5 แฉก รูปกลม โคนกลีบล่างอันกลางมีแต้มสีม่วงเข้ม ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร ปลูกได้ในดินทั่วไป ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำเถา หรือหน่อ เปลือกและรากนำมาตำพอกแก้อาการช้ำบวมและแผลอักเสบ ใบนำมาชงเป็นชาแก้ปวดท้อง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสร้อยอินทนิล

สลัดได

ลัดได เป็นพันธุ์ไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ ต้นพืชชนิดนี้ถ้าจะนำมาใช้จะต้องมีความระมัดระวังให้มาก เพราะสลัดได ส่วนที่เป็นลำต้น กิ่งก้าน ดอก จะมียาง และ ยางนี้จะมีพิษค่อนข้างรุนแรง ถ้าใช้อย่างถูกวิธี ก็จะให้ประโยชน์ แก่นกลางต้นที่อายุมาก ๆ จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เรียก "กะลำพัก".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสลัดได

สวาด

วาด หรือภาษาถิ่นทางภาคใต้เรียกว่า หวาด หรือ ตามั้ด มะกาเลิง เป็นไม้เลื้อย พบทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบมากตามป่าละเมาะใกล้ทะเล ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป เลื้อยพันต้นไม้อื่นโดยใช้หนามช่วยประคอง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว 30-50 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสวาด

สะบ้า (พืช)

้า อยู่ในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ลำต้นมักคดงอหรือบิดเป็นเกลียว เปลือกนอกเรียบสีน้ำตาลแก่ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกออกเป็นกระจุก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผล เป็นฝักตรง หรือคดงอและบิดไปมา เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นท่อนๆ เมล็ดสีน้ำตาล ถึงแดงคล้ำ รูปกึ่งกลม แบน แข็ง เมล็ดใช่เล่นสะบ้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสะบ้า (พืช)

สะพานก๊น

นก๊น อยู่ในวงศ์ Caprifoliaceae เป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านขนาดเล็ก ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว พบตามธรรมชาติในภูฏาน พม่า กัมพูชา จีน (ยกเว้นทางเหนือ) อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย (รัฐซาบะฮ์) ฟิลิปปินส์ ภาคใต้ของไทย และเวียดนาม ใบและก้านขยี้ให้คนไข้ดม แก้ชัก ต้นต้มน้ำอาบแก้ผดผื่น ผลกินเป็นยาระบาย ช่วยให้ถ่ายท้อง ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย นำใบบดกับน้ำใช้ทาแก้อาการอัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสะพานก๊น

สะเดาเทียม

ทียม, สะเดาช้าง หรือ เทียม เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดสงขลา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงราว 20-35 เมตร ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสะเดาเทียม

สัก (พรรณไม้)

ัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลาย ๆ ชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสัก (พรรณไม้)

สักขี

ักขี เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยในวงศ์ถั่ว ลำต้นสีน้ำตาลอมม่วง มีปุ่มทั่วไป ใบประกอบแบบขนนก ขอบใบเรียบ ดอกช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ผลเดี่ยวเป็นฝักแบนงอโค้ง ไม้ใช้ทำเครื่องมือประมงหรือทำเชือก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสักขี

สังเครียดกล้อง

ังเครียดกล้อง ตรังเรียกสังเครียดดอหด สุราษฎร์ธานีเรียก สังขะมา เป็นพืชในวงศ์ Meliaceae พบในออสเตรเลีย บรูไน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน และ ไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสังเครียดกล้อง

สันโสก

ันโสก หรือ สามโสก หรือ เพี้ยฟาน (Burm. f.) อยู่ในวงศ์ Rutaceae ที่มีน้ำมันหอมระเหยในใบและส่วนต่างๆ ของต้น เป็น พืชสมุนไพรที่เชื่อว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคเอดส์และโรคมะเร็ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสันโสก

สาบหมา

''Ageratina adenophora'' สาบหมา หรือพาพั้งดำในภาษาไทใหญ่ เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Asteraceae ชื่อสามัญที่รู้จักกันทั่วไปคือ eupatory, sticky snakeroot, crofton weed, และ Mexican devil ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม ขอบใบหยัก ปลายแหลม ดอกเป็นช่อกลม ดอกย่อยสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุกกลม ผลแห้ง มีขนสีขาวจำนวนมาก ชาวไทใหญ่ใช้ใบขยี้ห้ามเลือด รากต้มรักษาโรคกระเพาะ สาบหมาเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาทีชัดเจน สารสกัดด้วยมทานอลจากใบยับยั้งการงอกและการเจริญของไมยราบเครือ ข้าวน้ำรู โสนขน ผักโขมหนาม ผักโขมหัด ถั่วผี หญ้าปากควาย หงอนไก่ป่า กะหล่ำปลี คะน้า และข้าวพันธุ์ กข 23 ได้สารสกัดด้วยเมทานอลจากส่วนเหนือดินยับยั้งการเจริญของผักโขมหนาม ปืนนกไส้ กระดุมใบใหญ่ หงอนไก่ป่า หญ้าขจรจบ โสนขนและหญ้าปากคว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสาบหมา

สาบเสือ

ือ (Bitter bush, Siam weed) เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่หาง่ายมากมีอยู่ทั่วไป จัดว่าเป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ประโยชน์ได้ดีที่เดียว เราใช้" ต้นสาบเสือ" เป็นดรรชีชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ เพราะหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอก สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ ก็เพราะว่าดอกของมันไม่มีกลิ่นหอมเลยแต่กลับมีกลิ่นสาบ คนโบราณเวลาหนีสัตว์ร้ายอื่นเข้าดงสาบเสือจะปลอดภัย เพราะสัตว์อื่นนั้นจะไม่ได้กลิ่นคน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสาบเสือ

สามเกลอข้อโปน

มเกลอข้อโปน เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ในวงศ์องุ่น เลื้อยได้ไกล เถากลมหรือแบน แตกกิ่งน้อย มีตุ่มนูนตามเถา ใช้เป็นช่องหายใจ ใบหนา ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ขอบใบจักเว้าตื้น ออกดอกช่วงตุลาคม - พฤศจิกายน กระจายพันธุ์ตามป่าดิบเขาในภาคเหนือตอนบนของไทย พบครั้งแรกที่ดอยดินแดง จังหวัดลำพูน โดยหมอคาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสามเกลอข้อโปน

สารพัดพิษ

รพัดพิษ หรือ ส้มพอ กักไม้ฝอย สะนาน เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionoideae ต้นอ่อนเปลือกสีเขียวนวล แก่เป็นสีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ดอกช่อ ดอกย่อยทรงดอกถั่ว สีเหลือง ผลเดี่ยว ฝักเป็นทรงกระบอกยาว ฝักแก่จะนูนที่ตำแหน่งเมล็ด เป็นสีน้ำตาล เมล็ดใช้รักษาอาการติดเชื้อเป็นฝีหนอง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสารพัดพิษ

สาละ

ละ เป็นพืชในวงศ์ Dipterocarpaceae เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู เป็นที่ประทับของพระเจ้า และเป็นสัญลักษณ์แห่งอินทรา ในทางพุทธศาสนา ต้นสาละคือต้นที่พระพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งในขณะประสูติไม่ใช่ต้นสาละลังกา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสำคัญในอินเดีย ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะกรอบประตูและหน้าต่าง ใบอ่อนและตาดอกในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสาละ

สาลี่ (ผลไม้)

left ดอกบานเต็มที่ สาลี่ หรือสาลี่จีน (Chinese pear; L.) มีชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อ เช่น nashi pearในญี่ปุ่นเรียก nashi ภาษาเกาหลีเรียก shingo เป็นชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rosaceae เป็นพืชเมืองหนาว ถิ่นกำเนิดในภาคตะวันตกของจีน พบขึ้นตามธรรมชาติในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ต้นชะลูด ทรงพีระมิด ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ผลมีหลายสี ตั้งแต่เหลือง แดงอมส้ม น้ำตาล เขียว เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ บางพันธุ์เนื้อเป็นทราย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม เมล็ดขนาดเล็ก แบนรี สีดำหรือสีน้ำตาลเกือบดำ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสาลี่ (ผลไม้)

สาธร (พรรณไม้)

ร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมาและต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสาธร (พรรณไม้)

สาดรากลำเทียน

รากลำเทียน เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Asteraceae เป็นไม้ล้มลุกสองฤดู แตกกิ่งน้อย ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนอ่อนปกคลุม ใบออกเป็นกระจุกที่โคนต้น ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสั้น มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลแก่แห้งมปุยปลิวตามลม ออกดอกเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พบครั้งแรกในไทยโดยหมอคาร์ เมื่อ 13 มีนาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสาดรากลำเทียน

สำมะงา

ำมะงา เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยในวงศ์ Lamiaceae ลำต้นเรียบสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ ก้านดอกสั้น ดอกเป็นหลอดยาวปลายเป็นแฉกตื้นๆ 5 แฉก กลีบดอกสีขาวอมชมพู ก้านเกสรตัวผู้สีม่วงแดง ผลเดี่ยวกลมรี เป็นพูเล็กน้อย เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีดำ ใบสดต้มน้ำใช้ทำความสะอาดแผล ใบแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้ติดเชื้อ ใบและผลสดต้มรวมกับเหล้าพออุ่น ทาแก้รอยฟกช้ำหรือบวม รากแห้งต้มกับน้ำดื่ม แก้ไข้หวัด ตับอักเสบและแผลบวม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสำมะงา

สำรอง

ำรอง (Malva nut; Beaum)หรือ พุงทะลาย หมากจอง เป็นพืชที่อยู่ใน วงศ์ Sterculiaceae หรือ Malvaceae ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมในเขตจังหวัดจันทบุรีและตราดวรัญญา โนนม่วง ชาติชาย ไชยช่วย ทองจวน วิพัฒน์เจริญลาภ และ นฤมล มงคลธนวัฒน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสำรอง

สิรินธรวัลลี

รินธรวัลลี หรือ สามสิบสองประดง เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งในสกุลชงโค วงศ์ Leguminosae กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่ เปลือกเถาเรียบ บิดตามยาวเล็กน้อย เนื้อไม้เมื่อตัดตามขวาง สีน้ำตาลเข้มออกแดง มีลวดลายสีน้ำตาลอ่อนเป็นกลุ่มเหมือนกลีบดอกไม้ ดอกออกเป็นช่อสีน้ำตาล ออกดอกตลอดปี แต่ดอกจะบานมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดย ดร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสิรินธรวัลลี

สุพรรณิการ์

อกสุพรรณิการ์แบบชั้นเดียวในบราซิล กำลังแก้ไข สุพรรณิการ์ สุพรรณิการ์ เป็นไม้ผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทุ่งหญ้าเขตร้อนแซราดู (Cerrado) ในทวีปอเมริกาใต้ (บริเวณประเทศบราซิล, โบลิเวีย, ปารากวัย) แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สุพรรณิการ์มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกับฝ้ายคำมาก ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ ฝ้ายคำจะออกดอกเพียงชั้นเดียว มี 5 กลีบ และบานทีละดอก ในขณะที่สุพรรณิการ์จะมีทั้งชนิดที่ออกดอกชั้นเดียวและชนิดที่ออกดอกซ้อนกันเป็นกระจุกแน่น โดยบานพร้อม ๆ กัน ในประเทศไทยนิยมปลูกสุพรรณิการ์เป็นไม้ประดับ โดยได้รับการกำหนดให้เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครนายก และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก สระบุรี บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และอุทัยธานี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสุพรรณิการ์

สีฟันกระบือ

ีฟันกระบือ หรือขนหนอนสะเหล่า เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Phyllanthaceae กิ่งอ่อนมีขน เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน ผลเดี่ยว กลม ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียว สุกแล้วเป็นสีดำ ใบใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย รากต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย หลังคลอดบุตร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสีฟันกระบือ

สีง้ำ

ีง้ำ (nilad; nila, chengam ในสิงคโปร์) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Rubiaceae ต้นอ่อนลำต้นสีเหลืองแดง แก่แล้วเป็นสีเทาอมดำ เปลือกแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยว หลังใบสีเขียวอ่อนออกนวล ดอกช่อออกตามง่ามใบ ผลเดี่ยว ติดเป็นกระจุก ทรงรี สีเขียวอ่อน ผิวเป็นร่องตามยาว ไม้สีง้ำใช้ทำเครื่องประมงพื้นบ้าน ชื่อเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ (กรุงมะนิลา) ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า Maynila แปลว่า "มีต้นสีง้ำ" เนื่องจากบริเวณอ่าวมะนิลามีต้นสีง้ำขึ้นอยู่มาก คำว่านีลัดหรือนีลาที่แปลว่าสีง้ำ อาจมาจากภาษาสันสกฤต nila (नील).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสีง้ำ

สีเสียดแก่น

ีเสียดแก่น หรือชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สีเสียด สีเสียดไทย สีเสียดเหนือ สีเสียดเหลือง สีเสียดหลวง สีเสียดลาว เป็นพืชในวงศ์ถั่ว กระจายพันธุ์ในเอเชีย จีน, อินเดีย และบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย เมล็ดเป็นแหล่งของโปรตีน แก่นต้นนำมาใช้เป็นยา โดยนำแก่นต้นสีเสียด สับให้เป็นชิ้น ๆ แล้วต้มและเคี่ยว หลังจากนั้นระเหยน้ำที่ต้มได้ให้เหนียวข้น จะได้ของแข็งเป็นก้อน สีน้ำตาลดำ เป็นมัน แข็ง รูปร่างไม่แน่นอน ผิวนอกหยาบ มีด้านในด้านหนึ่งที่แตกจะมันวาว ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มแทนนินที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อเกิดอาการท้องร่วง (Escherichia coli) Staphylococcus aureus ฤทธิ์ต้านเชื้อบิด มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้ เปลือกสีเสียดแก่น ดอกสีเสียดแก่น ฝักสีเสียดแก่น ในทางยาสมุนไพร ใช้สีเสียดแก่นแก้ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ รักษาบาดแผล แก้ปากเป็นแผล ใส่แผลเปื่อยและริดสีดวง และอาการบาดเจ็บที่มีเลือดออก บดหรือต้มกินแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดกำเดา แก้บิด ล้างแผลหัวนมแตก ล้างแผลถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็ว และเป็นส่วนผสมใน "ยาเหลืองปิดสมุทร" ที่ใช้รักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสีเสียดแก่น

สนุ่น

นุ่นหรือตะไคร้บก เป็นพืชวงศ์สนุ่นเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศไทย เป็นไม้ผลัดใบระยะสั้น ลำต้นอ้วน สั้น บิดงอ กิ่งชูขึ้น ปลายลู่ลงเล็กน้อย ยอดอ่อนมีขนสีเงิน ขอบใบเป็นซี่ ดอกเป็นช่อห้อยลง สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ดอกตัวเมียมีต่อมน้ำหวาน 1 ต่อม ผลขนาดเล็ก แตกได้ ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาว ช่วยให้ปลิวตามลมได้ดี พบทั่วไปตามบริเวณธารน้ำ พบในอินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน ฟิลิปปินส์ เนื้อไม้เบาใช้ทำฟืน เปลือกมีแทนนินมาก ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ แก้ไข้ ใบสดใช้รักษางูสวัด นิยมปลูกริมน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ตลิ่งพัง ในรัฐมณีปุระ ดอกอ่อนของสนุ่นเรียก ঊযুম (Ooyum) นำมารับประทานได้ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแดง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสนุ่น

สนทราย

นทราย ชื่ออื่นๆ ก้านถินแดง สน (พังงา) สนนา (สุราษฎร์ธานี) สนหอม (จันทบุรี); สนดง สนหิน (อุบลราชธานี) สนหางสิงห์ (เลย) สนขี้ไก่ (กาญจนบุรี) ปอโฮ่งรุห์ สนเล็ก สนสร้อย (นครศรีธรรมราช)เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล เนื้อไม้สีน้ำตาล แข็งแรงทนทาน กิ่งแตกเป็นเนื้อมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งมีน้ำตาลอ่อน เรียวยาว เปลือกแตกเป็นขุย ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม คล้ายรูปเข็มแบน หนา ยาวไม่เกิน 8 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร โคนเป็นครีบ ไม่มีก้านใบ ใบมีกลิ่นหอม ใบใช้ ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้หวัด แก้ไอ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ ใบ ใช้ชงเป็นชาดื่มแก้ไข้ปวดเมื่อย ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้หน้ามืด วิงเวียน แก้ปวดหลัง ปวดเอว ช่วยขับปัสสาวะ ใบ ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลม ในมาเลเซียและสุมาตรา ใช้ในการอยู่ไฟ ในเวียดนามใช้ต้นทำเป็นไม้กวาด ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสนทราย

สนทะเล

''Casuarina equisetifolia” สนทะเล เป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณตั้งแต่พม่าถึงเวียดนาม และออสเตรเลีย พบในมาดากัสการ์ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณนั้นหรือไม่ มีการนำไปปลูกในสหรัฐและแอฟริกาตะวันตกและเป็นพืชรุกรานในฟลอริดา สนทะเล เป็นพืชมีดอก ส่วนปลายกิ่งเปลี่ยนไปทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงจึงมีสีเขียว ใบจริงติดเป็นวงรอบข้อ ผลขนาดเล็กคล้ายลูกทุเรียน แข็ง แห้งแตก ปล่อยเมล็ดกระจายออกไป เมล็ดมีปีก ปลิวตามลมได้ดี ลำต้นลู่ลมได้ดี ลดแรงต้านจากพายุ เปลือกลำต้นขรุขระทำให้น้ำฝนไหลผ่านได้ช้า สามารถดูดซับแร่ธาตุจากน้ำฝนได้ดี มีเห็ดอาศัยร่วมกับรากสนช่วยย่อยสลายเศษซากพืชเพื่อให้สนใช้เป็นปุ๋ย เปลือกไม้ใช้ทำสีย้อมผ้าได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และสนทะเล

ส่องฟ้า

องฟ้า เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Rutaceae ใบประกอบแบบขนนก เนื้อใบมี่จุดใสซึ่งเป็นต่อมน้ำมันกระจายทั่วไปมีกลิ่น ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งสีขาวแกมเหลือง ผลสด ค่อนข้างกลม ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก รากต้มน้ำดื่มช่วยลดไข้ แก้ปวดศีรษะ ผสมกับสมุนไพรอื่นแก้โรคหลอดลมอักเสบ แก้ปวด แก้จุกเสี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส่องฟ้า

ส้มกบ

้มกบ Linn.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มกบ

ส้มมุด

้มมุด เป็นพืชในสกุลเดียวกับมะม่วง เป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ และเวียดนาม กระบี่เรียกว่า ส้มมุดหรือมะมุด นราธิวาสเรียกว่า มะม่วงป่าหรือมาแซอูแต เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อ สีชมพูอมแดง หอมเย็น เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดเปลือกนอกสีน้ำตาลคล้ำ เปลือกในสีน้ำตาลแดง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเหลืองแกมเขียว เมื่ออ่อน เนื้อสีขาวเช่นเดียวกับมะม่วง แต่เปรี้ยวกว่า เนื้อแน่น เหนียวกว่า สุกแล้วเนื้อสีเหลือง กลิ่นแรงมาก ทำให้เป็นผลไม้ที่ถูกห้ามนำขึ้นรถโดยสารหรือห้องประชุม ส้มมุดเป็นผลไม้กินสด เนื้อผลรับประทานได้ มีกลิ่นขี้ไต้ และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก นำมากินเป็นผักแกล้ม นำมายำกับปลาใส่มะพร้าวคั่ว หรือใส่ในแกงส้ม แกงเหลือง ผลดิบใช้เป็นผักหรือดองโดยเฉพาะในกาลิมันตันตะวันออกนิยมนำไปใช้แทนมะขาม ในมาเลเซียใช้ทำน้ำพริกและนำไปดอง ชาวโอรังอัสลีในคาบสมุทรมลายูใช้น้ำยางในการสักผิวหนัง เพื่อให้รอยสักติดลึก ใบใช้เป็นยาลดไข้ เมล็ดใช้แก้โรคติดเชื้อราบางชนิด ผลดิบมียางซึ่งทำให้ระคายเคืองในปากและริมฝีปาก ผลสุกมียางเฉพาะที่เปลือก ส้มมุดจากชวาตะวันตก อินโดนีเซี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มมุด

ส้มม่วงคัน

้มม่วงคัน เป็นพืชในวงศ์ Anacardiaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบเหนียวคล้ายหนัง ดอกช่อ สีขาวหรือขาวแกมเขียว ผลรูปกลมป้อม เปลือกสีม่วงเข้ม เนื้อผลสีเหลืองมีเส้นใยมาก เป็นไม้พื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว สุมาตรา สิงคโปร์ และคาบสมุทรมลายู ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อผลหนาเพียง 1 เซนติเมตร เมล็ดมีเส้นใยมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มม่วงคัน

ส้มลม

้มลม เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Apocynaceae ลำต้นมีน้ำยางขาวเหนียว ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอด สีขาวอมเขียว ปลายแยก สีแดงหรือสีชมพู ผลเป็นฝักคู่ ผลกลุ่มแก่แล้วแตกเมล็ดสีน้ำตาลมีขนสีขาว ใบและผลมีรสเปรี้ยว เป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาค อินโดจีน (ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม)ในกัมพูชาเรียก /vɔə tʰnɜŋ/ (វល្លិថ្នឹង) หรือ /kaɔt prɷm/ (កោតព្រំ) กินเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือแจ่ว รากต้มน้ำดื่มช่วยขับลม คลายกล้ามเนื้อ หรือผสมกับยาสมุนไพรอื่นๆ รักษาอาการปวดเมื่อย ปัสสาวะขัด ในเวียดนาม นำไปใส่ในอาหารประเภทต้มที่เรียกกัญจัว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มลม

ส้มสันดาน

้มสันดานหรือส้มข้าว เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Vitidaceae ไม่มีเนื้อไม้ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม โดยมีปีกบางๆตามยาวของลำต้น และมีคราบขาวตามลำต้น ต้นอ่อนสีม่วงอมแดง แก่เป็นสีเขียวแล้วเป็นสีน้ำตาลอมเทา ใช้หนวดในการยึดพันกับต้นไม้อื่น ใบเดี่ยว ขอบใบหยักเป็นคลื่น ก้านใบเรียวเล็ก ดอกช่อแบบแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีม่วง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวผลเดี่ยว กลม ผิวเกลี้ยงเป็นมันอมเขียว เมื่ออ่อนสีม่วงแดง แก่แล้วเป็นสีดำ มีเมล็ดเดียว ใบรับประทานได้ ใส่ในต้มส้ม มีรสเปรี้ยวเป็นเอกลักษณ์ เถาใช้ดองเหล้าดื่มแก้ปวดเมื่อย แก้ไอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มสันดาน

ส้มหูก

้มหูก หรือส้มโหลก เป็นพืชในสกุลเดียวกับมะไฟ ผลคล้ายมะไฟ ผลมีรสเปรี้ยวจัด เปลือกหนา รับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มหูก

ส้มซ่า

้มซ่า เป็นพืชในวงศ์ Rutaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีหนามยาวตามลำต้น ใบประกอบแบบลดรูป เหลือใบย่อยใบเดียว ใบหนาเป็นมัน มีต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป ก้านใบมีปีก ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลกลม ขนาดใกล้เคียงกับผลมะนาว เปลือกหนา เปลือกนอกเป็นสีเขียวอมน้ำตาล เปลือกตะปุ่มตะป่ำ เนื้อในคล้ายส้มโอ รสเปรี้ยวอมหวาน ใช้ผิวแต่งกลิ่นอาหารเช่นหมี่กรอบ ปลาแนม น้ำคั้นจากผลใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร ใช้เป็นยาแก้ไอ กัดเสมหะ ใช้เป็นน้ำกระสายยา ในตำรายาจีนเรียกจื๋อเบอ (ภาษาจีนกลาง) หรือจี๋ปัก (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยาเจริญอาหาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มซ่า

ส้มแก้ว

้มแก้ว เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซีย แล้วจึงแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในไทยปลูกมากที่จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นส้มที่มีขนาดใหญ่รองจากส้มโอ เป็นไม้ยืนต้น ใบเรียบ มีต่อมน้ำมัน ผลรูปร่างกลมแป้น ใหญ่ เปลือกนอกสีส้ม เปลือกล่อน แกะง่าย ใช้ทำน้ำส้มคั้น และเป็นผลไม้เซ่นไหว้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มแก้ว

ส้มแขก

้มแขก ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด ใบส้มแขก เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก และ ฟลาโวนอยด์ นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามลายูเรียก อาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ ผลดิบเมื่อโตเต็มที่นำมาตากแห้งนำไปต้มเคี่ยวในน้ำเชื่อม รับประทานเป็นของหวาน ผลแห้งเป็นตัวช่วยให้สีย้อมติดแน่นทนทาน น้ำต้มเคี่ยวใบและรากใช้แก้อาการปวดหูใช้แปรรูปได้หลายอย่าง เช่น น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน ส้มแขกหยี แยมส้มแขก ส้มแขกแช่อิ่ม รสเปรี้ยวของส้มแขกเกิดจากกรดหลายชนิดเช่นกรดซิตริก กรดทาร์ทาริก กรดมาลิก กรดแอสคอร์บิกและกรดไฮดรอกซีซิตริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มแขก

ส้มเขียวหวาน

้มเขียวหวาน เป็นส้มชนิดหนึ่ง ที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากส้มจีน (C. reticulata) ในประเทศไทยมีผู้สันนิษฐานว่ามีผู้นำเข้าต้นพันธุ์มาจากประเทศจีนเมื่อระยะเวลากว่า 100 ปีมาแล้ว โดยลักษณะทั่วไปของส้มเขียวหวานมีรูปกลมมน แป้นเล็กน้อย ฐานผลกลมมน ด้านล่างเป็นแอ่งตื้น ๆ ผิวผลเรียบ มีเปลือกบาง เนื้อส้มภายในเป็นสีส้มอมทอง ฉ่ำน้ำ กลีบแยกออกจากกันได้โดยง่าย มีรสชาติอร่อยหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เมื่อแกะออกมาแล้วกลิ่นจะติดจมูก ทำให้เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก ทั้งในรูปของผลไม้สดและในรูปของน้ำส้มคั้น ซึ่งนอกจากจะให้คุณค่าทางอาหารสูงแล้ว การบริโภคในลักษณะที่รวมทั้งเส้นใยและกากจะเป็นยาระบายอ่อนๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วยส้มเขียวหวานที่ผลิตในแต่ละปีจะใช้บริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายประเทศเพื่อนบ้าน นำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท แหล่งที่ขึ้นชื่อว่าปลูกส้มเขียวหวานกันมากและมีชื่อเสียงในประเทศไทย คือ ตำบลบางมดในพื้นที่อำเภอราษฎร์บูรณะและอำเภอบางขุนเทียนของจังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือแขวงบางมดในเขตทุ่งครุและเขตจอมทองของกรุงเทพมหานคร) จนได้ชื่อว่า "ส้มบางมด" แต่ต่อมาในปี พ.ศ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้มเขียวหวาน

ส้านช้าง

อก ส้านช้าง เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายส้านหิน แต่ใบยาวกว่า ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เรียบ ไม่มีขน กลีบเลี้ยงไม่มีขน เกสรตัวผู้จำนวนมาก การกระจายพันธุ์จะพบในบริเวณเดียวกับส้านหิน แต่จะพบในบริเวณที่ชุ่มชื้นกว่า พบในอินเดีย พม่า ยูนนาน ลาว เวียดนาม เกาะชวา เกาะสุลาเวสี เนื้อไม้คงทน ใช้ทำเครื่องใช้ภายในบ้าน พื้นบ้าน เสาบ้าน และรางรถไฟ เผาถ่าน ผลมีรสเปรี้ยว รับประทานได้ นำมาทำน้ำผลไม้ วุ้น แกง ทางยาใช้เป็นยาแก้ไอ เปลือกใช้แก้โรครูมาติก ใช้มุงหลังคาได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้านช้าง

ส้านหิน

้านหิน หรือ ส้านหิ่ง อยู่ในวงศ์ Dilleniaceae เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างตรง ผิวใบด้านบนมีขนสาก ผิวใบด้านล่างมีขนสีเทานุ่มหรือสาก ดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นกระจุก สีเหลือง กลีบดอกบอบบางและหลุดง่าย ผลอวบน้ำ เมื่อแก่สีส้ม เนื้อไม้ใช้ทำกระดาน และก่อสร้างบ้าน ภาษากะเหรี่ยงเรียก ลาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และส้านหิน

หญ้าช้างน้อย

หญ้าช้างน้อย เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Caprifoliaceae ยอดอ่อนมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว รูปไข่ ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบไม่เท่ากัน ผลรูปกลม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พบตามพื้นที่สูงของภาคเหนือและภาคตะวันตก พบครั้งแรกในประเทศไทยโดยหมอคาร์เมื่อ 26 กุมภาพัน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าช้างน้อย

หญ้าละออง

หญ้าละออง Less.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าละออง

หญ้าหวาน

หญ้าหวาน หรือ สเตเวีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ ความพิเศษของหญ้าหวาน คือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงานแต่อย่างไร (0 แคลอรี/กรัม) นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร เครื่องดื่ม เป็นต้น มนุษย์รู้จักนำสารสกัดที่มีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภคหลายศตวรรษแล้วโดยชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย โดยนำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องดื่ม เช่น ชา นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังนำสารให้ความหวานมาผสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักดอง ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด เป็นต้น หญ้าหวานเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าหวาน

หญ้าขัดใบยาว

หญ้าขัดใบยาว หรือ หญ้าขัดมอน หญ้าไม้กวาด เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Malvaceae ไม่ผลัดใบ ลำต้นเหนียว เรียบ สีเขียว ใบเดี่ยว ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง เกสรตัวผู้ขนาดสั้นสีเหลืองไม่โผล่เหนือกลีบดอก ผลเดี่ยว แห้ง ขั้วใหญ่ปลายผลเรียวแหลม มีกลีบเลี้ยงหุ้มสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองออกน้ำตาลมีสี่พู แก่แล้วแตก รากต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้ท้องผูก ใบตำแล้วคั้นน้ำทาหรือพอกสิว ฝี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าขัดใบยาว

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้างในประเทศอินเดีย หญ้างวงช้าง เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Boraginaceae ลำต้นไม่มีเนื้อไม้ มีขนสั้นๆ จับแล้วเหนียวมือ มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว มีขนสั้นๆกระจายทั่วผิวใบ จับแล้วรู้สึกเหนียวมือ ดอกช่อ ปลายช่อม้วน มีดอกย่อยอยู่ที่ช่อดอกเพียงด้านเดียว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเดี่ยวกลม ปลายผลเป็นร่อง มีกลีบเลี้ยงหุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยม อ่อนเป็นสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้งแตก เมล็ดสีเทาดำ ในฟิลิปปินส์ใช้เป็นยาแก้บวม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้างวงช้าง

หญ้าน้ำค้าง

หญ้าน้ำค้าง หรือ หยาดน้ำค้าง เป็นพืชกินแมลงในสกุลหยาดน้ำค้าง กระจายพันธุ์ในเขตร้อน พบได้ในประเทศออสเตรเลียและทวีปเอเชียจนถึงทวีปแอฟริกาแต่ไม่พบในเขตนีโอทรอป.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าน้ำค้าง

หญ้าไฟตะกาด

หญ้าไฟตะกาด (shield sundew) เป็นพืชในสกุลหยาดน้ำค้างที่มีหัวใต้ดิน มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชื่อในภาษาละติน peltata แปลว่า รูปโล่ ซึ่งหมายถึงรูปทรงของก้านใบBruce Salmon, "Carnivorous Plants of New Zealand", Ecosphere publications, 2001โดยทั่วไปหยาดน้ำค้างชนิดมีหัวใต้ดินส่วนมากจะเป็นใบกระจุกแนบดิน แต่หญ้าไฟตะกาดลำต้นจะตั้งขึ้น ช่อดอกเป็นกิ่งแขนง หญ้าไฟตะกาดยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกดังนี้: หยาดน้ำค้าง (เลย) ปัดน้ำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เลย).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าไฟตะกาด

หญ้าเหล็กขูด

หญ้าเหล็กขูด มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษหลายชื่อ ได้แก่ frog fruit, sawtooth fogfruit, turkey tangle เป็นพืชในวงศ์ Verbenaceae และเป็นพืชพื้นเมืองในอเมริกาใต้และสหรัฐ พบได้ในเขตร้อนทั่วโลก นิยมปลูกเป็นพืชคลุมดิน ทางภาคใต้ของไทยนำส่วนเหนือดินไปลวกจิ้มน้ำพริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหญ้าเหล็กขูด

หมักม่อ

หมักม่อ บุรีรัมย์เรียกต้นขี้หมู เป็นพืชในสกุลสะแล่งหอมไก๋ วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นกระจุก ปลายยอดสีขาวนวล ช่อละ 1-12 ดอก รูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกด้านในมีจุดประสีม่วงแดง ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น บานนานประมาณ 1 สัปดาห์ มีกลิ่นหอมอ่อนตอนกลางคืน ผลกลม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน พบครั้งแรกที.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหมักม่อ

หมันทะเล

หมันทะเล เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Boraginaceae พบตั้งแต่ แอฟริกา เอเชียใต้ ไปจนถึงออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ลำต้นมีรอยแตกสีน้ำตาลอมขาว มีรอยแตกตื้นๆ แตกกิ่งจำนวนมาก ดอกช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกัน บานออกคล้ายปากแตร สีส้มออกแดง เกสรตัวผู้สีเหลือง ผลเดี่ยว กลมรี กลีบเลี้ยงติดที่ผล ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง แก่แล้วเป็นสีขาวอมเหลือง ในไทยใช้เป็นไม้ประดับ เมล็ดรับประทานได้ใช้เป็นอาหารในแอฟริกา ไม้เนื้ออ่อน ใช้ในงานช่างได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหมันทะเล

หมู่ตันผี

หมู่ตันผี หรือหมู่ตาน เป็นพืชในสกุลโบตั๋นที่เป็นพืชพื้นเมืองในจีน ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ tree peony Jade Institute.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหมู่ตันผี

หม่อนอ่อน

หม่อนอ่อน เป็นพืชพื้นเมืองในแถบหุบเขาของเนปาล และพื้นที่สูงของอินเดียโดยเฉพาะรัฐปัญจาบ พบในเอเชียใต้ คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นสั้นและคดงอ เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกตามยาว เปลือกชั้นในสีแดงอมส้ม ใบอ่อนมีชนสีออกชมพู ใบแก่เหนียว สีเขียวเป็นมัน มีจุดน้ำยางเหนียวกระจายทั่วผิว ดอกขนาดเล็กมาก เป็นช่อแน่น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ดอกตัวผู้สีแดง ดอกตัวเมียสีเขียว ผลสีแดงอมส้ม ผิวมีตุ่มเล็กๆ ขรุขระ ในจีนใช้เปลือกไม้เป็นแหล่งของแทนนินในการฟอกหนัง ผลรสหวานอมเปรี้ยวรับประทานได้หรือใช้ทำน้ำผลไม้ น้ำต้มเปลือกแก้ท้องเสีย หลอดลมอักเสบและลำไส้อักเสบเปลือกใช้เป็นยาสมาน ป้องกันแผลเน่า รักษาโรคบิด รูมาติก ท้องร่วง ทำยาเบื่อปลา ไม้ใช้ทำฟืน ไขที่หุ้มผลแยกออกได้โดยการต้ม ใช้ทำเทียนและสบู่ ในเปลือกมีสารสีเหลืองจำพวก myrisetin, myricitrin และ glycoside ใช้ทำสีย้อมผ้าโดยย้อมผ้าฝ้ายได้สีเหลืองอมน้ำตาล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหม่อนอ่อน

หยาดน้ำค้าง (สกุล)

หยาดน้ำค้าง (Sundew) เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง คือ Drosera มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหยาดน้ำค้าง (สกุล)

หยี

หยี ทางภาคใต้เรียก เขลง กาหยี ภาคอีสานเรียกนางดำ เป็นพืชท้องถิ่นในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ พบในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบรูปไข่คล้ายใบพิกุล ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลออกเป็นพวง เมื่อดิบสีเขียว สุกแล้วเป็นสีดำ เนื้อสีน้ำตาล หวานอมเปรี้ยว เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างแบน ผลมีวิตามินซีสูง ไม่รับประทานสดแต่นิยมนำมาแปรรูป เช่น ลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ใช้ทำน้ำผลไม้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหยี

หลุมพอทะเล

หลุมพอทะเล หรือ ประดู่ทะเล เป็นต้นไม้พืชดอกในวงศ์ถั่ว มีถิ่นกำเนิดในอินโดแปซิฟิก มีการกระจายพันธุ์จากประเทศแทนซาเนียและประเทศมาดากัสการ์ไปทางตะวันออกผ่านประเทศอินเดียและรัฐควีนส์แลนด์, ประเทศออสเตรเลียถึงหมู่เกาะแปซิฟิกของประเทศซามัว ต้นสูงได้ถึง 50 เมตร พบในป่าชายเลน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหลุมพอทะเล

หล่อฮังก๊วย

หล่อฮังก๊วย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชพืนเมืองของทางตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง ในการแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหล่อฮังก๊วย

หว้านา

หว้านา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นเรียบหรือแตกเป็นร่อง สีน้ำตาลอมเทา เปลือกชั้นในหนา สีน้ำตาลแกมชมพูหรือน้ำตาลอ่อน เหนียว ลอกออกเป็นแผ่นได้ ใบเดี่ยว ผิวเกลี้ยง ก้านใบบวม ดอกช่อ ผลเดี่ยว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีดำ ผลรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง เปลือกต้นแก้โรคบิด ท้องร่วง ล้างแผลเปื่อย แก้ปากเปื่อย ใบ ผล และเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหว้านา

หัวร้อยรู

หัวร้อยรู หรือ ปุ่มฟ้า ดาลูบูตาลิมา เป็นพืชจำพวกลงหัว ในวงศ์ Rubiaceae เป็นพืชอิงอาศัยกับต้นไม้ชนิดอื่น มักขึ้นตามคาคบไม้ ต้นแก่มีหัวกลมโตขนาดเท่ามะพร้าว ภายในหัวเป็นรูพรุนไปทั่ว จัดเป็นพืชที่อยู่ร่วมกับมด (myrmecophyte) ชนิดหนึ่ง ถ้าผ่าออกดู มักมีมดดำอาศัยอยู่เต็มหัว เนื้อนิ่ม สีน้ำตาลไหม้ เมื่อจะนำมาใช้ ต้องนำมาแช่น้ำทิ้งไว้จนกว่ามดจะออกไปหมด ในตำรายาไทย หัวร้อยรูอยู่ใน “พิกัดมหากาฬทั้ง 5” ที่ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษอักเสบ ช้ำบวม แก้พิษไข้ ไข้กาฬ ประดงผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย ส่วนหัวของหัวร้อยรูเองมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ ขับพยาธิ แก้พิษในข้อในกระดูก แก้พิษประดง แก้ข้อเข่าข้อเท้าบวม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหัวร้อยรู

หัวฆ้อนกระแต

หัวฆ้อนกระแต Roxb.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหัวฆ้อนกระแต

หัสคุณ

หัสคุณ หรือหมุย เป็นพืชในวงศ์ Rutaceae ต้นสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้นตามยาว ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ผิวใบเรียบ จับดูแล้วรู้สึกเหนียว มีกลิ่นน้ำมันหอมระเหย ดอกช่อ ดอกบานเต็มที่กลีบม้วนไปด้านหลังเล็กน้อย กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ผลเดี่ยว ผิวเรียบ มีขนสั้นสีขาว ผิวมีน้ำมันจับอยู่ทั้งผล เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีส้ม รากใช้ผสมกับรากปลาไหลเผือก ใช้เป็นยาแก้นิ่ว แก้หืด ขั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหัสคุณ

หาดรุม

หาดรุม เป็นพืชในสกุลขนุนที่พบในเกาะสุมาตรา สารสำคัญที่พบในหาดรุมได้แก่ oxyresveratrol, (+)-catechin, afzelechin-3-O-alpha-L-rhamnopyranoside, (-)-epiafzelechin, dihydromorin, epiafzelechin-(4beta→8)-epicatechin, dadahol A dadahol B, resveratrol, steppogenin, moracin M, isogemichalcone B, gemichalcone B, norartocarpetin และ engeletin.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหาดรุม

หางหมาจอก

หางหมาจอก (L.) Desv.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหางหมาจอก

หางไหล

หางไหลหรือโล่ติ๊น (Bentham) เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง จัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง พืชชนิดนี้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญคือโรติโนน (Rotenone) พบมากในราก มีฤทธิ์ฆ่าแมลงโดยการกินหรือการสัมผัสตัว และเป็นสารที่สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด สามารถนำมาใช้เป็นสารฆ่าแมลงได้ทั้งในรูปรากแห้งและรากสด โดยสารสกัดจากรากหางไหลแห้งนี้ สามารถใช้กำจัดหนอนแมลงวัน แมลงวัน ลูกน้ำ ยุงและเห็บโคได้ดี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหางไหล

หิรัญญิการ์

หิรัญญิการ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Beaumontia grandiflora Wall., ชื่อสามัญอื่น: Herald's Trumpet, Easter Lily Vine) เป็นไม้เถาขนาดใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของต้นเมื่อรับประทานทำให้หัวใจถูกกระตุ้น เร่งการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจวายได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหิรัญญิการ์

หิ่งเม่น

หิ่งเม่น เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionoideae ลำต้นสีเขียวออกเหลือง เปลือกด้านนอกเหนียว มีกลิ่นเหม็นเขียว ใบเดี่ยว ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลือง ลักษณะแบบดอกถั่ว ผลเดี่ยวเป็นฝักกลม ปลายแหลมยื่นไปด้านหนึ่ง ผลแห้ง อ่อนสีเขียว แก่สีน้ำตาล แตกตามตะเข็บ เมล็ดสีน้ำตาลอมดำขนาดเล็กจำนวนมาก รากต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนใน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหิ่งเม่น

หูปลาช่อน

หูปลาช่อน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงสูง 10 -45 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างรูปไข่ ขอบใบหยักเว้า หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีม่วงแดง ดอกออกเป็นช่อกลางลำต้น ช่อหนึ่งแยกเป็น 2 แขนง ดอกสีแดง ขนาดเล็ก ผลมีเปลือกแข็ง ในทางสมุนไพร รากสดนึ่งกับเนื้อหมูแก้ตานขโมย ต้นสดต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ ทอนซิลอักเสบ ต้นสดตำคั้นน้ำพอกบริเวณที่เป็นฝี แก้บวมน้ำ ยานี้ห้ามใช้ในหญิงมีครร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหูปลาช่อน

หีบไม้งาม

หีบไม้งาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa macrocarpa (Eckl.) A.DC.,ชื่อสามัญ: Natal Plum) ที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ตีนเป็ดที่สูงถึง 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามปลายแหลมแยกเป็น 2 แฉก ยาวได้ถึง 3 ซม.ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางขาว ด้วยทรงพุ่มสวยจึงใช้ปลูกในสวนหย่อม ทำเป็นรั้ว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากซ้อนกันถี่ ใบรูปไข่ กว้าง 3-5 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหีบไม้งาม

หงส์เหิร

หงส์เหิรเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหงส์เหิร

หนามแท่ง

หนามแท่งหรือเค็ด เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีหนามขนาดใหญ่แหลม ลำต้นสีเทา ผิวเรียบ ใบเดี่ยว แตกสลับเรียงเวียนเป็นกระจุก ใบเรียบ สีเขียว ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบดอกขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก ผลเดี่ยวกลม ปลายผลมีแผลเกิดจากกลีบดอก ผลสีเขียวมีขนสั้นสีน้ำตาลปกคลุม เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม อมดำ ใช้ทำเครื่องมือประมง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหนามแท่ง

หนามแดง (พืช)

หนามแดง (Maytenus marcanii) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Celastraceae สูงประมาณสามถึงสี่เมตร ลำต้นตรง มีหนามตามกิ่ง ลักษณะใบเป็นใบเดียว กว้างราวสองถึงสี่เซนติเมตร และยาวสี่ถึงเก้าเซนติเมตร ดอกสีขาวนวล ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ผลเมื่อแก่มีสีแดงเข้มถึงสีม่วง เมื่อบีบแตกจะมีสีแดงเข้มติดมือแต่สามารถล้างออกได้ ต้นหนามแดงนั้นจัดเป็นพืชสมุนไพร รากหนามแดงมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ส่วนแก่นสามารถใช้เป็นยาบำรุงร่างก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหนามแดง (พืช)

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย เป็นพืชชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เล็บครุฑ (Araliaceae) เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นสีเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ผลมีเนื้อนิ่มรูปทรงกลมขนาดเล็ก หนุมานประสานกาย ใช้เป็นพืชสมุนไพรไทย ใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค โดยใช้ใบสดเล็ก ๆ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ดื่มเป็นน้ำวันละ 2 ครั้ง ก่อนมื้ออาหารเช้า-เย็น เป็นเวลา 49 วัน รักษาโรคหื.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และหนุมานประสานกาย

ห้อม

ห้อม หรือ ฮ่อม มีชื่ออื่นๆคือ ฮ่อมเมือง ครามหลอย ครามเหล็กขูด ครามย่าน ใบเบิก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะเป็นไม้พุ่มลำต้นกลมและตั้งตรง สูง 50-80 เซนติเมตร ลำต้นและเหง้าเป็นรูปทรงกระบอก บริเวณข้อเป็นปล้องคล้ายขาไก่ แตกกิ่งก้านตามข้อ ลักษณะใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม โคนใบเรียวปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยละเอียด กว้าง 2.5 – 6 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และห้อม

ห้อมช้าง

ห้อมช้าง (Wall.) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Acanthaceae ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ออกตามปลายกิ่ง ใบประดับและใบประดับย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนหนาแน่นด้านใน กลีบดอกรูปปากเปิด สีม่วงอมแดงหรืออมชมพู ด้านนอกมีขนละเอียด กลีบล่าง 3 กลีบ กลีบรูปรี กลีบบน 2 กลีบ สั้นกว่ากลีบล่างเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดภายในหลอดกลีบดอก ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง กสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 2 อัน ขนาดเล็ก ผลแห้งแตก รูปแถบ มีสันเป็นเหลี่ยม มีขนสั้นนุ่ม การกระจายพันธุ์ พบที่อินเดีย ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม ในไทยพบมากทางภาคเหนือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และห้อมช้าง

อรพิม

อรพิม หรือ คิ้วนาง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งในสกุลชงโค มีมือเกาะ มีขนสีน้ำตาลที่กิ่งอ่อน ใบประกอบ ดอกมี 5 กลีบ สีขาว 4 กลีบ สีเหลือง 1 กลีบ ติดฝักเป็นรูปดาบ เปลือกบาง ผิวเรียน เมล็ดข้างในแบน มีจำนวนมาก แก้ท้องเสีย แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) นักพฤษศาสตร์ชาวไทย ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งพฤษศาสตร์ไทย".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอรพิม

ออริกาโน

ออริกาโนแห้งสำหรับปรุงอาหาร ออริกาโน (Oregano; หรือ) เป็นพืชในสกุล Origanumที่พบบ่อย อยู่ในวงศ์ Lamiaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเขตอบอุ่นและทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของยูเรเชีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ออริกาโนเป็นเครื่องปรุงสำคัญในอาหารอิตาลี ใส่ในพิซซา ซอส และอาหารจานผัก นิยมใช้แบบแห้งมากกว่าแ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และออริกาโน

ออลสไปซ์

ออลสไปซ์ (Allspice) เป็นเครื่องเทศ ทำจากผลอ่อน ของต้น Pimenta dioica นำมาตากแห้ง มีถิ่นกำเนิด แถบแคริบเบียน เม็กซิโกตอนใต้ และอเมริกากลาง ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกในเขตร้อนหลายส่วนของโลก ชื่อ "ออลสไปซ์" ได้รับการตั้งโดยชาวอังกฤษใน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และออลสไปซ์

อะราง

อะราง, นนทรีป่า หรือ อินทรี เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Caesalpiniaceae เปลือกเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อออกตามปลายกิ่งแล้วห้อยลง สีเหลือง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกย่น เกสรตัวผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักแบน ปลายและโคนฝักเรียวแหลม เมล็ดแบนสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายนนทรีแต่ต่างกันที่ช่อดอกของอะรางห้อยลงแต่นนทรีชี้ขึ้น เปลือกต้นอะรางเป็นยาขับเสมหะ และใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเลือด ใช้เป็นสีย้อม ให้สีน้ำตาลแดง เปลือกต้นที่มีอายุมากรับประทานได้ โดยขูดผิวด้านในออกมาแล้วสับละเอียด ใส่ในส้มตำร่วมกับสับปะรดและมดแดง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอะราง

อัญชันป่า

อัญชันป่าหรือขี้หนอน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Papilionaceae ลำต้นกลม ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ดอกย่อยทรงแบบดอกถั่ว สีขาว ผลเป็นฝักแห้งแตก ทั้งต้นตำพอกแผลช่วยห้ามเลือด ใส่ในไหปลาร้าหรือใช้ปิดปากไหป้องกันหนอนแมลงวัน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอัญชันป่า

อัมพวา (ผลไม้)

อัมพวา เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Leguminosae ภาคใต้เรียก นัมนัม เช่นเดียวกับภาษาอินโดนีเซียและภาษามัลดีฟส์ ชื่ออื่น ๆ คือมะเปรียง บูรานัม นางอาย ใบเดี่ยว รูปไข่ ใบห้อยลง ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงสีขาวปนชมพู กลีบดอกสีขาว ผลอ่อนสีน้ำตาลแกมเขียว แก่แล้วเป็นสีเหลือง ผลมีรูปร่างแบนคล้ายมะม่วง แต่ผลหยักเป็นลอนไม่เรียบ รสเปรี้ยวคล้ายมะม่วงดิบ ภายในผลมีเมล็ดเดียว ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างได้ ผลอัมพว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอัมพวา (ผลไม้)

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร หรือ ตรีชะวา (Moon var. wallichii Clarke)ในวงศ์.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอัคคีทวาร

อังกาบ

อังกาบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Barleria cristata L.) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย มีลำต้นเป็นข้อ สูงประมาณ 3 ฟุต ใบเป็นรูปหอก โคนและปลายเรียวแหลม ขนาดกว้างประมาณ 4 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอังกาบ

อังกาบสีปูน

อังกาบสีปูน (หรือ ไม้พุ่มคลุมดินขนาดเล็ก เป็นกิ่งทอดเลื้อย สูง 15 - 40 ซม. ใบรูปไข่ ปลายแหลม ยาว 2 - 4 ซม. มีสีเขียวเป็นมัน ดอกมีสีแดงอมส้ม คล้ายสีปูนแดงที่กินกับหมาก กลีบดอกกลมมน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามได้ทั้งในที่ร่มรำไร และกลางแจ้ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอังกาบสีปูน

อังกาบหนู

อังกาบหนู เป็นพืชที่เป็นพืชท้องถิ่นในอินเดีย เป็นพืชสมุนไพรในตำรับยาอายุรเวท น้ำคั้นจากใบใช้ป้องกันเท้าเปื่อยและแตกในฤดูมรสุม, Willliam Dymock, C.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอังกาบหนู

อันดับชบา

อันดับชบาหรือ Malvales เป็นอันดับของพืชมีดอกในระบบ APG ประกอบด้วย 6000 สปีชีส์จาก 9 วงศ์ จัดอยู่ในกลุ่มโรสิดแท้ ของพืชใบเลี้ยงคู่แท้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับชบา

อันดับชมพู่

อกและตาของ'''Blue Eyes Fuchsia''' จากอันดับชมพู่และวงศ์ Onagraceae อันดับชมพู่ หรือ Myrtales เป็นอันดับของพืชมีดอกในกลุ่มโรสิดแท้ 2 หรือกลุ่มมัลวิด ในระบบ APG III ประกอบด้วยวงศ์ต่อไปนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับชมพู่

อันดับบัวสาย

อันดับบัวสายหรือ Nymphaealesเป็นอันดับของพืชมีดอกประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นไม้น้ำ 3 วงศ์ คือ Hydatellaceae Cabombaceae และ Nymphaeaceae (บัวสาย) เป็นหนึ่งในสามอันดับที่อยู่ในกลุ่มพื้นฐานของพืชมีดอก และจัดเป็นกลุ่มของพืชมีดอกที่เกิดขึนในช่วงแรกของสายวิวัฒนาการ Peter F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับบัวสาย

อันดับพวงแก้วกุดั่น

อันดับพวงแก้วกุดั่น หรือRanunculales เป็นอันดับของพืชมีดอก จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้ ในกลุ่มพืชใบใบเลี้ยงคู่แท้พื้นฐาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับพวงแก้วกุดั่น

อันดับกระทืบยอด

อันดับกระทืบยอด หรือ Oxalidales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่อยู่ในกลุ่มโรสิด ที่อยู่ในพืชใบเลี้ยงคู่แท้ ส่วนใหญ่มีใบประกอบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5-6 กลีบ ประกอบด้วย.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับกระทืบยอด

อันดับกระทงลาย

อันดับกระทงลาย หรือ Celastrales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มีเพียงไม่กี่ชนิดที่พบในเขตอบอุ่น มีประมาณ 1200 "Lepidobotryaceae", "Parnassiaceae", and "Celastraceae" In: Klaus Kubitzki (ed.).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับกระทงลาย

อันดับกะเพรา

อันดับกะเพรา หรือ Lamiales เป็นอันดับของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 11,000 สปีชีส์ แบ่งเป็น 20 วงศ์ สมาชิกที่สำคัญของอันดับนี้เช่น มะกอกออลิฟ มะลิ สัก ลิ้นมังกร สะระแหน่ และโหระพา เป็นต้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับกะเพรา

อันดับกุหลาบ

อันดับกุหลาบ หรือ Rosales เป็นอันดับของพืชมีดอกPeter F. Stevens (2001 onwards).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับกุหลาบ

อันดับกุหลาบป่า

อันดับกุหลาบป่า หรือ Ericales เป็นอันดับของพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีความหลากหลายมาก มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อยและไม้ล้มลุก เช่น ต้นชา บลูเบอร์รี บราซิลนัท และยังมีพืชที่อยู่ร่วมกับเชื้อรา (เช่น Sarcodes sanguinea) และพืชกินแมลง (เช่น สกุล Sarracenia).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับกุหลาบป่า

อันดับก่อ

อันดับก่อ หรือ Fagales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่รวมของพืชที่เป็นที่รู้จักหลายชนิดเช่น เกาลัด วอลนัต และสนทะเล อยู่ในกลุ่มโรสิดของพืชใบเลี้ยงคู่แท้ ในระบบ APG ประกอบด้วยวงศ์ต่อไปนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับก่อ

อันดับย่านตีเมีย

อันดับย่านตีเมีย หรือ Santalales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่พบมากในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ระบบ APG III จัดให้อันดับนี้ประกอบด้วยวงศ์.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับย่านตีเมีย

อันดับอัสดง

อับดับอัสดง หรือ Saxifragales เป็นอันดับของพืชมีดอก มีความใกล้เคียงกับพืชในกลุ่ม พืชใบเลี้ยงคู่แท้ ส่วนใหญ่โดยอยู่ในกลุ่ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับอัสดง

อันดับผักชี

อันดับผักชี (Apiales) เป็นอันดับของพืชมีดอก ที่ยังคงอยู่ในระบบ APG IIIพืชที่สำคัญเช่น ผักชี แครอท บัวบก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับผักชี

อันดับผักกาด

อันดับผักกาด หรือ Brassicales เป็นอันดับของพืชมีดอกในกลุ่มโรสิดแท้ ของระบบ APG II สมาชิกของอันดับนี้สามารถผลิต glucosinolate (น้ำมันมัสตาร์ด)ได้ อันดับนี้บางครั้งเรียก Capparales สมาชิกในอันดับนี้ได้แก่.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับผักกาด

อันดับจำปา

''Myristica fragrans'' จากวงศ์ ''Myristicaceae'' ในอินเดีย อันดับจำปา หรือ Magnoliales เป็นอันดับของพืชมีดอก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับจำปา

อันดับถั่ว

''Desmodium gangeticum'' อันดับถั่วหรือ Fabales Bromhead เป็นอันดับของพืชมีดอกในกลุ่มโรสิด พืชใบเลี้ยงคู่แท้ ตามระบบ APG II ประกอบไปด้วยวงศ์ Fabaceae (มี 3 วงศ์ย่อยคือCaesalpinioideae Mimosoideae and Faboideae) Quillajaceae Polygalaceae (รวมวงศ์ Diclidantheraceae Moutabeaceae และ Xanthophyllaceae) และ Surianaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับถั่ว

อันดับทานตะวัน

อันดับทานตะวัน หรือ Asterales (AST-er-ALE'-eez) เป็นอันดับของพืชใบเลี้ยงคู่ที่รวมวงศ์ขนาดใหญ่คือ Asteraceae (หรือ Compositae) และวงศ์ของพืชที่ใกล้เคียงรวมเป็น 10 วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับทานตะวัน

อันดับดอกหรีดเขา

อันดับดอกหรีดเขา หรือ Gentianales เป็นอันดับของพืชมีดอก ที่เป็นพืชใบเลี้ยงคู่แท้ กลุ่มแอสเทอริด พืชสำคัญในอันดับนี้ เช่น กาแฟ ลั่นทม กันเกร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับดอกหรีดเขา

อันดับคาร์เนชัน

อันดับคาร์เนชัน หรือ Caryophyllales เป็นอันดับของพืชมีดอก ซึ่งรวมพืชวงศ์กระบองเพชร คาร์เนชัน วงศ์ผักเบี้ยทะเล วงศ์บานไม่รู้โรย และอีกหลายชนิด พืชส่วนใหญ่มีลำต้นสด ไม่มีเนื้อไม้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับคาร์เนชัน

อันดับแตง

อันดับแตง หรือ Cucurbitales เป็นอันดับของพืชมีดอกในพืชใบเลี้ยงคู่แท้ กลุ่มโรสิด อันดับนี้พบมากในเขตร้อน พบในเขตอบอุ่นน้อย มีทั้งไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย และไม้ยืนต้น ลักษณะเด่นของอันดับนี้คือดอกแยกเพศ การผสมเกสรเกิดขึ้นโดยแมลง แต่ก็มีที่อาศัยลม (Coriariaceae และ Datiscaceae).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับแตง

อันดับโคกกระสุน

อันดับโคกกระสุน หรือ Zygophyllales เป็นอันดับของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ประกอบด้วยพืชสองวงศ์คือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับโคกกระสุน

อันดับโนรา

''Aspidopterys cordata'' (Malpighiaceae) อันดับโนรา หรือ Malpighiales เป็นอันดับขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 16000 สปีชีส์ คิดเป็น 7.8% ของ พืชใบเลี้ยงคู่แท้Peter F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับโนรา

อันดับเงาะ

อันดับเงาะหรือ Sapindales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่มีสมาชิกที่สำคัญคือเมเปิล เงาะ ลิ้นจี่ สะเดา มะม่วง ระบบ APG II ได้จัดให้อันดับนี้อยู่ในกลุ่มโรสิดแท้ ในกลุ่มใหญ่โรสิด และในพืชใบเลี้ยงคู่แท้ มี 9 วงศ์.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับเงาะ

อันดับเน่าใน

อันดับเน่าใน หรือ Aquifoliales เป็นอันดับของพืชมีดอก ประกอบด้วยวงศ์ Aquifoliaceae และ Helwingiaceae และ Phyllonomaceae ใน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอันดับเน่าใน

อาร์รากาชา

อาร์รากาชา (arracacha) เป็นพืชในวงศ์ Umbelliferae เป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ผิวเกลี้ยง ลำต้นกลวง เหง้าใต้ดินเป็นหัว รูปร่างทรงกระบอก รากสะสมมีลักษณะเป็นหัว เนื้อหัวสีขาวครีมหรือสีม่วง ใบเรียงสลับ ก้านใบมีลักษณะเป็นกาบ ดอกช่อแบบซี่ร่ม ดอกสีม่วงหรือสีเหลือง ตรงกลางช่อเป็นดอกตัวผู้ รอบนอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลแก่แล้วแตก อาร์รากาชาเมื่อสุกแล้ว เนื้อจะนิ่มกว่ามันฝรั่ง คำว่าอาร์รากาชานี้มาจากภาษาสเปนซึ่งยืมมาจากภาษาเกชัวที่เป็นภาษาพื้นเมืองในแถบเทือกเขาแอนดีส อาร์รากาชาเป็นพืชพื้นเมืองในแถบที่สูงของเทีอกเขาแอนดีส ตั้งแต่เวเนซุเอลาจนถึงโบลิเวีย นำไปปลูกในอเมริกากลาง อินเดีย หัวย่อยมีแป้งมาก นำมาต้มรับประทาน ใส่ในอาหาร ลำต้นอ่อนใส่ในสลัด ใบแก่ใช้เป็นอาหารสัตว์ ในบราซิลนิยมรับประทานเป็นผัก ในโคลอมเบีย นิยมรับประทานแทนมันฝรั่ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอาร์รากาชา

องุ่นบราซิล

องุ่นบราซิล, องุ่นต้น หรือ ฌาบูชีกาบา (jabuticaba) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) เป็นไม้โตช้า ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีแดง แก่แล้วเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว ผลมีลักษณะคล้ายองุ่น กลมรี ออกเป็นกระจุกแน่นตามลำต้น และกิ่งก้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีม่วงเกือบดำ ลักษณะคล้ายผลตะขบไทย มีเมล็ดอยู่ข้างใน ผลสุกใช้แปรรูปเป็นน้ำผลไม้ วิสกี้ ไวน์ และแชมเปญ และรับประทานสดเป็นผลไม้ในตลาดบราซิล นิยมรับประทานสด ใช้ทำแยม ทาร์ต พบสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็งในผล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และองุ่นบราซิล

อ้อยช้าง

กอกกัน หรือ อด หรือกุ๊ก เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Anacardiaceae เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ สีเหลืองอ่อน ออกดอกแล้วจะทิ้งใบหมด ผลขนาดเล็ก สุกแล้วสีเหลืองหรือแดง เป็นพืชที่รับประทานได้ โดยนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผัก รากสะสมน้ำไว้มาก สามารถตัดรากแล้วรองน้ำมาดื่มได้ นิยมนำรากไปผสมในยาตำรับต่างๆเพื่อให้รสดีขึ้น ไฟล์:Lannea coromandelica (Wodier Tree) in Hyderabad W IMG 5647.jpg|เปลือกต้นกอกกันในอินเดีย ไฟล์:Lannea coromandelica (Wodier Tree) in Hyderabad W IMG 5634.jpg|ดอกกอกกันในอินเดีย ไฟล์:Lannea coromandelica (Wodier Tree) fruits in Hyderabd W IMG 7389.jpg|ผลกอกกันในอินเดี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอ้อยช้าง

อ้อยสามสวน

อ้อยสามสวน อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้เถา มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลรูปกระสวยเป็นพู ทรงกลม แก่แล้วแห้งแตกตามรอยตะเข็บ เถาของพืชชนิดนี้ตัดเป็นท่อนแล้วเคี้ยว ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และอ้อยสามสวน

ฮาโลไซลอนขาว

ลไซลอนขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กในวงศ์ Amaranthaceae แพร่กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันตกตั้งแต่อิสราเอล จอร์แดน อียิปต์ คาบสมุทรไซนาย อิรักตอนใต้ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัฟกานิสถาน และปากีสถาน ไปจนถึงเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน และซินเจียงในจีน ชอบขึ้นในทรายที่มีผลึกหินยิปซัม ตันมีกิ่งก้านขรุขระ เปลือกสีน้ำตาล ไม่มีใบ โดยใบลดรูปเป็นกุ่งที่อวบน้ำ พบในภูเขาทราย ทะเลทร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฮาโลไซลอนขาว

ผกากรอง

ผกากรอง เป็นพืชในวงศ์ Verbenaceae เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกา นำไปปลูกเป็นไม้แต่งสวนในบริเวณจนอาจกลายเป็นพืชรุกรานในเขตร้อนได้ เป็นไม้พุ่มหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย เส้นใบเห็นเป็นร่องชัดเจน ดอกเป็นช่อกระจุก มีหลายสี ดอกย่อยเป็นทรงปากแตร ดอกมีกลิ่นฉุน ขนตามลำต้นเมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน ถ้ารับประทาน ทำให้ปวดท้อง อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจขัด หมดสติ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซียนำใบไปต้มกับน้ำ ใช้ฉีดพ่นไล่แมลง ผลดิบของผกากรอง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผกากรอง

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักบุ้ง

ผักบุ้งจีน

ผักบุ้งจีน เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica Forsk.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักบุ้งจีน

ผักบุ้งขัน

ผักบุ้งขัน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Convolvulaceae เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นสีม่วงอมเขียวแตกรากตามข้อ ใบเดี่ยว มียางสีขาว ดอกเดี่ยวกลีบเลี้ยงสีเขียวปลายแหลม กลีบดอกสีม่วงเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายไม่แยก ผลเดี่ยวกลม เป็นผลแห้งแก่แล้วแตก เมล็ดข้างในสีน้ำตาล ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักบุ้งขัน

ผักบุ้งไทย

ผักบุ้งไทย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica พบได้บริเวณแม่น้ำลำคลองเพราะเจริญเติบโตในน้ำได้ดีกว่าบนดิน มักสานตัวเป็นกลุ่มและลอยตัวบนผิวน้ำ ชูส่วนยอดหรือบริเวณสีเขียวเพื่อสังเคราะห์แสง โดยทั่วไปแล้วผักบุ้งไทยได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารน้อยกว่าผักบุ้งจีน เพราะลำต้นมีความแข็งมากกว่าและนิยมนำมาประกอบอาหารบางประเภทเท่านั้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักบุ้งไทย

ผักชี

ใบผักชี ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักชี

ผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง (Culantro) เป็นไม้ล้มลุกเมืองร้อนปีเดียวหรือหลายปี ในวงศ์ผักชี (Apiaceae) มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและทวีปอเมริกาใต้ แต่มีการปลูกเลี้ยงไปทั่วโลก ผักชีฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่นดังนี้ ผักชีดอย (เชียงใหม่,เหนือ) มะและเด๊าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมป้อมกุลา (เหนือ) ผักหอมเป (อีสาน)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักชีฝรั่ง

ผักชีลาว

ผักชีลาว เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) ตัวอย่างพืชที่อยู่ในวงศ์นี้ ได้แก่ แคร์รอต, ขึ้นฉ่าย, ผักชี ฯลฯ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักชีลาว

ผักกาดกบ

ผักกาดกบ (L.) DC.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักกาดกบ

ผักกาดก้านขาว

ผักกาดก้านขาว (Brassica napus) เป็นพืชดอกสีเหลืองสดในวงศ์ Brassicaceae (วงศ์เดียวกับกะหล่ำปลี) ผักกาดขาวเป็นแหล่งใหญ่อันดับสามที่ใช้ในการผลิตน้ำมันพืชของโลกในปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักกาดก้านขาว

ผักกาดหอม

ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักกาดหอม

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว (subsp. longipinnatus) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า เป็นสปีชีส์ย่อยของ ผักกาดหัวสีแดง (R.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักกาดหัว

ผักกาดนกยูง

ผักกาดนกยูง เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Asteraceae อวบน้ำ ลำต้นกลวง ใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ ขอบใบหยักลึก ไม่สม่ำเสมอ และเป็นหยักฟันเลื่อยห่างๆ ดอกช่อขนาดเล็ก สีชมพู เบียดกันแน่น ผลเดี่ยว เป็นผลแห้ง รูปร่างยาว มีพู่สีขาว ปลิวไปตามลมได้ ต้นอ่อนกินเป็นผัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักกาดนกยูง

ผักลิ้นห่าน

ผักลิ้นห่าน เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Asteraceae ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกกอเป็นช่วงๆ ต้นสีเขียวอมเหลือง ตามข้อมีใบแตกเป็นกระจุก หลังใบสีขาวนวล ดอกช่อ มีริ้วประดับซ้อนกันเป็นรูปกรวยคว่ำ ช่อดอกชั้นนอกมีกลีบสีเหลือง ช่อดอกชั้นในไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง รูปยาวรี อยู่ในกรวยของริ้วประดับ ปลายเมล็ดมีขนสีขาว ปลิวตามลมได้ ใช้เป็นผักแกล้มหรือนำไปปรุงอาหาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักลิ้นห่าน

ผักหวานทะเล

ผักหวานทะเล หรือ คันทรง, ผักไห, ผักก้านถึ่ง เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยในวงศ์ Rhamnaceae ลำต้นเรียบ เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกล่อนออกได้และเหนียว ใบเดี่ยว ขอบใบเป็นหยัก ดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกตามง่ามใบ ผลเดี่ยว กลม มีพูตื้นๆสามพู เขียวเป็นมัน เป็นพืชที่รับประทานได้ ใบใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปลวกก่อน หรือใส่ในแกงกะทิ ใบเป็นยาแก้บวม น้ำเหลืองเสีย รากแก้เหน็บชา บวม ตานขโมย ร้อนใน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักหวานทะเล

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae ป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักหวานป่า

ผักหวานเมา

ผักหวานเมา หรือ ช้าผักหวาน เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Opiliaceae ตามลำต้นมีตุ่มและหนามแข็ง ใบเดี่ยว กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว ดอกเป็นดอกช่อ ผลสด เมล็ดแข็ง สุกแล้วเป็นสีแดง ออกดอกเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ พบครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดกำแพงเพชรโดย Soerensen ชาวเดนมาร์ก พบทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นภาคใต้ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักหวานเมา

ผักหนอก

ผักหนอก เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Araliaceae แตกไหลไปตามพื้นดิน ใบรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ขอบใบเว้าเป็น 5 ซี่ ดอกเป็นดอกช่อ กลีบดอกสีเขียวอมเหลือง ผลเป็นรูปไต พบในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบครั้งแรกที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยหมอคาร์ ชาวไอริช ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักหนอก

ผักอีเปา

ผักอีเปา เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Umbelliferae ใบประกอบ มี 3-4 ใบย่อย ใบเป็นรูปหัวใจ ขอบเรียบหรือจักฟันคลื่น ดอกเป็นดอกช่อแบบซี่ร่ม แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 10 – 20 กลุ่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก เกสรตัวผู้มีเป็นจำนวนมาก สีเหลืองอ่อน ผลเป็นก้อน แก่แล้วแตกให้เมล็ดร่วงออกมา ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม –พฤศจิกายน พบครั้งแรกเมื่อ 16 ตุลาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักอีเปา

ผักจินดา

ผักจินดา หรือ ผักเชียงดา เป็นไม้เถาเลื้อยพบได้ในประเทศแถบทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย พม่า ในประเทศไทยนิยมนำมารับประทานเป็นผักหรือใช้ปรุงอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวานทั้งสองชนิดได้ข้อมูลของ ผักเชียงดา “เชียงดา” ผักฆ่าน้ำตาล ช่วยรักษา “เบาหวาน” ผักเชียงดาผักสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักจินดา

ผักคราดหัวแหวน

ผักคราดหัวแหวน (ชื่อวิทยาศาสตร์เดิมคือ Spilanthes oleracea และ Spilanthes acmella; toothache plant, paracress) จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae ผักชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้าน นิยมรับประทานกันมาแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นผักที่เป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพร และเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน อีกทั้งทางด้านเภสัชวิทยาช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ต้านไวรัส ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ลดความดันโลหิต เพิ่มฤทธิ์ของฮิสตามีนในการทำให้ลำไส้หดเกร็ง ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันฆ่ายุง ฆ่าลูกน้ำยุง ทำให้ชัก เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวด ลดความแรงและความถี่ของการบีบตัวของหัวใจห้องบน ยับยั้งการหดตัวของมดลูกซึ่งเหนี่ยวนำด้วย oxytocin.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักคราดหัวแหวน

ผักคา

ผักคา เป็นไม้เลื้อยใน วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อย Mimisoidae เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกลลักษณะคล้ายชะอม ลำต้นมีหนาม ยอดและใบอ่อนกินได้ มีกลิ่นเหม็นเขียว ออกดอกเดือนธันวาคม – มกราคม พบครั้งแรกในไทยโดยนายขรรชัย บุญช่วย และนายบุญชู นิ่มอนงค์ ที่จังหวัดเชียงราย กระจายพันธุ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ชื่อสปีชีส์ย่อยตั้งเป็นเกียรติแก่หมอคาร์ ชาวไอร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักคา

ผักแพว

ผักแพว หรือ ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านจำพวกพืชล้มลุกที่มีลักษณะใบเรียวยาวและมีกลิ่นแรงชนิดหนึ่ง ผักแพวเป็นผักที่อยู่ในวงศ์ Polygonaceae มีลักษณะลำต้นคล้ายต้นไผ่ มีข้อตามต้นเหมือนเป็นปล่องไผ่ มีใบยาวรี ปลายแหลมเหมือนใบไผ่ เกิดเองตามธรรมชาติตามที่ชื้นพื้นราบ ตามแอ่งน้ำต่าง ๆ นอกจากนั้นยังพบขึ้นตามป่า ตามโคนกอไผ่อีกด้วย มีอายุเพียงปีเดียว กินยอด กินใบได้ตลอดลำต้น เพราะใบอ่อน เส้นใยไม่หยาบกระด้าง ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่งเท่านั้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักแพว

ผักแขยง

ผักแขยง หรือ Limnophila aromatica ชื่ออื่นๆ กะออม กะแยง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง(อุบลราชธานี) ผักพา(เหนือ) เป็นพืชในวงศ์ Scorphulariaceae หรือ Plantaginaceae ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอกขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดคล้ายถ้วย รูปกรวย ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย เมล็ดรูปร่างกลมรี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย ผักแขยงเป็นเป็นวัชพืชในนาข้าว ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อนชาวอีสานใช้ใส่ในแกงต้มปลา อ่อมต่างๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว และเป็นพืชสมุนไพร ทางภาคอีสาน ใช้ ทั้งต้น เป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นแห้ง ที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา ผักแขยง จัดเป็นผักพื้นบ้านที่สำคัญของภาคอีสาน แต่ไม่พบในพื้นที่ภาคใต้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักแขยง

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม มีชื่อภาษาท้องถิ่นในภาคใต้เรียกว่า ผักโหมหนาม ส่วนที่แม่ฮ่องสอนและกะเหรี่ยงเรียกว่า กะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่ และที่เขมรเรียกว่า ปะตี ส่วนภาคกลางจะเรียกว่า ผักขมสวน (spiny amaranth, prickly amaranth หรือ thorny amaranth) เป็นพืชล้มลุก ฤดูเดียว อายุสั้นประมาณ 2–4 เดือน หรือเมื่อออกดอก ติดเมล็ดแล้วก็จะค่อยๆ เหี่ยวแห้งตาย หรือเรียกว่าพืชที่มีอายุปีเดียว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักโขมหนาม

ผักเบี้ยทะเล

|image.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักเบี้ยทะเล

ผักเลือด

ผักเลือด เป็นพืชในสกุล Ficus ที่พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย ใบอ่อนเป็นสีแดงหรือชมพูเข้ม ผลรับประทานได้ ยอดและใบอ่อนนำมาทำอาหาร กินเป็นผักสด ในออสเตรเลียจะพบชนิดที่เป็น var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักเลือด

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome viscosa Linn.) หรือชื่ออื่นเช่น ผักเสี้ยนป่า ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) ผักเสี้ยนตัวเมีย ไปนิพพานไม่รู้กลั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักเสี้ยนผี

ผักเป็ด

ผักเป็ด St.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และผักเป็ด

จมูกปลาหลด

มูกปลาหลด เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Asclepiadaceae ลำต้นมียางขาวเหมือนน้ำนม ใบเดี่ยว ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หรือมีขนประปราย ดอกช่อขนาดเล็กสีแดงอมม่วง ผลเป็นฝักเรียว เมล็ดเล็กแบน รูปไข่มีขนเป็นพู่ ใช้เป็นอาหารสัตว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจมูกปลาหลด

จอกบ่วาย

อกบ่วาย เป็นพืชกินสัตว์ขนาดเล็กอยู่ในสกุลหยาดน้ำค้างเป็นพืชฤดูเดียว มีลักษณะลำต้นแนบไปกับพื้น ใบเป็นแผ่นมนรี ค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายช้อน เรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ถึง 3 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจอกบ่วาย

จัน

ัน, จันอิน, จันโอ, จันขาว หรือ จันลูกหอม เป็นพืชวงศ์เดียวกับมะพลับและมะเกลือ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว ดอกขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลือง ผลกลมเมื่อสุก สีเหลืองรสหวาน ผลมีสองแบบคือ ผลที่มีรอยบุ๋มตรงกลาง เมล็ดลีบหรือไม่มีเมล็ด เรียกลูกจันอิน ส่วนผลที่ไม่มีรอยบุ๋ม มีเมล็ด 2-3 เมล็ดเรียกลูกจันโอ ผลมีกลิ่นหอมและมีรสฝาด ต้องคลึงผลให้ช้ำ รสฝาดจึงจะหายไปนิยมกินเป็นผลไม้สด และนิยมปลูกในวัด ผลสุกรับประทานได้ หรือนำไปแปรรูปเป็นของหวาน ผลช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เนื้อไม้มีรสขมปนหวาน เป็นยาบำรุงประสาท แก้ร้อนใน แก้ไข้ ขับพยาธิ แก่นใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ใช้เป็นยาแก้ไข้ ผลดิบทางภาคอีสานนำไปตำส้มตำ โดยสับทั้งเปลือก ใช้แทนมะละกอ ปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะยมและมะเฟือง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจัน

จันทร์กระจ่างฟ้า

ันทร์กระจ่างฟ้า เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง มีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียว และมีสีแดงเรื่อ มีดอกสีเหลืองสด ขยายพันธุ์ด้วยการการปักชำ และตอนกิ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจันทร์กระจ่างฟ้า

จั่น (พรรณไม้)

ั่นราชบัณฑิตยสถาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจั่น (พรรณไม้)

จำปาดะ

ำปาดะ (cempedak, เจิมเปอดะก์) คือชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Moraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับขนุน ถิ่นกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย และเกาะนิวกินี ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น มียางสีขาวขุ่น ใบเป็นมัน ผลคล้ายขนุนแต่เล็กกว่า ผลดิบเปลือกแข็ง มียางมาก พอสุก เปลือกนิ่มลง ยางน้อยลง เนื้อมีกลิ่นหอมและรสหวานจัด ผลจำปาดะผ่าครึ่ง จำปาดะในตลาดที่ประเทศจีน ผลจำปาดะสามารถทำอาหารได้หลากหลาย มีกลิ่นเฉพาะตัว ทั้งกินเป็นผลไม้สด ชุบแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดซึ่งเป็นที่นิยมในภาคใต้ของไทย สิงคโปร์และมาเลเซีย เมล็ดอย่างเดียวนำไปต้มให้สุก หรือใส่ในกับข้าวเช่นแกงไตปลา ผลอ่อนต้มกับกะทิใช้เป็นผัก ผลอ่อนนำไปแกงได้ เนื้อไม้สีเหลืองหรือน้ำตาลใช้ทำเครื่องเรือนและต่อเรือ เปลือกลำต้นใช้ฟั่นเชือก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจำปาดะ

จิก

ก (Cornbeefwood) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกต้นไม้ในสกุล Barringtonia ในวงศ์ Lecythidaceae มีลักษณะโดยร่วมเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นในที่พื้นที่ชุ่มน้ำ ดอกมีสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงหรือสีชมพู มักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า มีทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจิก

จิกสวน

กสวน เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Lecythidaceae เปลือกต้นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นมีปุ่มเล็กๆ เปลือกชั้นในสีเขียวอ่อน หลุดลอกง่าย ภายในเปลือกมีเส้นใย ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบขนาดใหญ่ ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนเป็นมัน ก้านใบอ้วนสั้น ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ตัวช่อดอกห้อยลง ดอกย่อยมีก้านดอกสั้นมาก กลีบดอกสั้นกว่าเกสรตัวผู้ที่มีสีแดงและยื่นยาวออกมาเป็นพู่ กลีบดอกมี 4 กลีบ สีชมพูอ่อน ผลเป็นผลเดี่ยว ผลกลมรี ผิวขรุขระ ดอกและยอดรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจิกสวน

จิกน้ำ

กน้ำ หรือ จิกอินเดีย หรือ จิกนา หรือ จิกมุจรินทร์ (Indian Oak, Freshwater Mangrove) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ Lecythidaceae มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน, ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียแถบรัฐควีนส์แลนด์ โดยมักขึ้นใกล้ริมแหล่งน้ำ จิกน้ำมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามภาษาถิ่นว่า "กระโดนทุ่ง" หรือ "กระโดนน้ำ" (อีสาน-หนองคาย), "ปุยสาย" หรือ "ตอง" (ภาคเหนือ) "กระโดนสร้อย" (พิษณุโลก) และ "ลำไพ่" (อุตรดิตถ์) เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจิกน้ำ

จิกเล

ผลที่ยังไม่แก่ ดอก จิกเล หรือ จิกทะเล (accessdate putat, sea poison tree) เป็นสายพันธุ์ของ Barringtonia พื้นเมืองที่อยู่อาศัยป่าชายเลนบนชายฝั่งในเขตร้อนชื้นและหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จากแซนซิบาร์ทางทิศตะวันออกไปจนถึงไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ฟิจิ, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะคุก, วาลลิสและฟุตูนา และเฟรนช์โปลินีเซีย มักปลูกตามถนนเพื่อการตกแต่งและร่มเงาในบางส่วนของอินเดีย จิกเลเป็นต้นไม้ใหญ่ สูงราว 20 เมตร ใบขนาดใหญ่ มันวาว มีความหนา ป้องกันการสูญเสียน้ำ ดอกขนาดใหญ่ สีขาว เกสรตัวผู้เป็นพู่ยาวเห็นได้ชัดเจน สีขาว ปลายชมพู ดอกมีกลิ่นหอมแรง บานตอนค่ำและโรยตอนเช้า ผสมเกสรด้วยผีเสื้อกลางคืนและค้างคาว ผลขนาดใหญ่ ทรงคล้ายลูกข่าง มีกากเหนียวหุ้มทำให้ลอยน้ำได้ดีคล้ายผลมะพร้าว ในเมล็ดและลำต้นมีสารซาโปนิน ใช้ทำยาเบื่อปลาและยานอนหลั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจิกเล

จิงจูฉ่าย

งจูฉ่าย เป็นสมุนไพรจีนที่นิยมใส่ในต้มเลือดหมู เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศจีนทางตะวันตก เป็นพืชชนิดเดียวในสกุลนี้ที่เป็นพืชปลูก ไม่ชอบดินคุณภาพต่ำหรือดินที่แข็งเกินไป ชาวจีนแต้จิ๋วนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ใส่ในต้มเลือดหมู นำไปทอดกรอบกินคู่กับหอยโข่งทะเล ใส่ในแกงจืดไตหมู กระดูกหมูหรือลูกชิ้นปลา แพทย์แผนจีนถือว่าเป็นยาเย็นจัด ลดความร้อนในเลือด ขับพิษ ขับลม แก้ไอ ใบสดนำไปต้มน้ำหรือคั้นดื่ม แก้อักเสบและลดอาการบวม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจิงจูฉ่าย

จุกโรหิณี

ก Richard Wettstein's ''Handbuch der Systematischen Botanik'' 1924 จุกโรหิณี หรือ บวบลม ชื่อวิทยาศาสตร์ Dischidia major เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Asclepiadaceae อาศัยเกาะตามต้นไม้อื่น ต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลม ก้านสั้นเป็นใบหนา อวบน้ำ ผิวใบทั้งสองด้านมีลักษณะโป่งเป็นถุงเพราะมีมดเข้าไปอาศัย และได้ธาตุอาหารจากของเสียของมด ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กรูปโคม ผลเดี่ยวเป็นฝักเรียว มีขนเป็นพู่ที่ปล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจุกโรหิณี

จ้าม่วง

้าม่วงหรือมะม่วงขี้กระต่าย มะม่วงควาย เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่เป็นพืชพื้นเมืองในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะโซโลมอน ดอกช่อขนาดเล็ก สีครีมหรือเหลือง ผลรับประทานได้ ขนาดเล็ก ทรงกลม สุกแล้วสีแดงหรือม่วงอมดำ ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียรับประทานผลเป็นผลไม้ และใช้เป็นยาสมุนไพรในออสเตรเลียและมาเลเซี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจ้าม่วง

จ้าเครือ

้าเครือ หรือ ตับปลา เป็นพืชในวงศ์ Myrsinaceae เป็นไม้พุ่ม ตรง มีปุ่มใสบนใบ ผลสดมีเมล็ดเดียวแข็ง รูปกลมสีแดง ผลมีรสหวานรับประทานได้ ใบใช้ทำสลัด ใช้เป็นไม้ประดับ ต้นตำละเอียดและคั้นน้ำ ใช้รักษาโรคผิวหนัง น้ำสกัดจากรากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ และท้องเสีย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย ใช้น้ำคั้นจากทั้งต้นรักษาอาการไข้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และจ้าเครือ

ธนนไชย

นนไชย หรือฮวงไซ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กในสกุลมะม่วงหัวแมงวัน วงศ์ Anacardiaceae เป็นไม้ผลัดใบ กิ่งก้านอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่ผิวเกลี้ยง ใบเดี่ยว แตกใบมากที่ปลายยอด ใบหนา กรอบ ใบขนาดเล็กกว่ามะม่วงหัวแมงวัน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอกเป็นดอกช่อ ผลสดค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีดำ ออกดอกช่วงมกราคม – มีนาคม ผลแก่ช่วงเมษายน – พฤษภาคม พบครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี โดย J.E.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และธนนไชย

ถอบแถบทะเล

อบแถบทะเล ชื่ออื่นๆได้แก่ ถอบแถบน้ำ ผักแถบ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ถั่ว เลื้อยเกี่ยวพันไปตามต้นไม้หรือทอดไปตามพื้นดิน เปลือกต้นสีเทาดำหรือน้ำตาล มีปุ่มสีขาวขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบเรียบเป็นมัน ท้องใบสีเขียวอ่อนกว่าอีกด้านหนึ่ง ดอกเป็นดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว ผลเป็นผลเดี่ยว รูปร่างเป็นฝักแบน ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน รากและใบใช้เป็นยาระบาย แก้พิษตานซาง ขับเสมหะ สารในกลุ่มโรทีนอยด์ที่ชื่อ6aα,12aα-12a-hydroxyelliptone พบได้ที่ก้านของ D.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถอบแถบทะเล

ถั่วลูกไก่

ั่วลูกไก่ หรือ ถั่วหัวช้าง (chickpea) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว เมล็ดมีโปรตีนสูง เป็นถั่วที่ปลูกในตะวันออกกลางมานานราว 7,500 ปีมาแล้ว ถั่วลูกไก่เป็นถั่วที่มีบทบาทสำคัญในอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารตะวันออกกลาง และอาหารอินเดีย มีสองชนิดคือ กาบูลี เมล็ดใหญ่ สีครีมนวล เปลือกเรียบ และแบบเดซี ขนาดเล็กกว่า สีเข้ม เปลือกขรุขระกว่า ทั้งสองแบบเมล็ดเป็นทรงกลม มีจะงอยแหลม ใช้ทำอาหารได้หลายอย่างเช่น บดละเอียดทำฮุมมุส บดหยาบผสมเครื่องปรุงแล้วทอดเรียก ฟาลาเฟล ใส่ในแกง สลัด ผัดหรือทอดกับเนื้อสัตว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วลูกไก่

ถั่วผีทะเล

ั่วผีทะเล เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ถั่ว ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นเหนียว สีเขียวหรือเขียวอมขาว ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 3 ใบ สีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ดอกช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสเขียว กลีบดอกสีเหลือง ผลเดี่ยว เป็นฝัก เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลแห้ง แตกตามตะเข็บของผล ภายในมีเมล็ดกลมรี สีน้ำตาลอ่อน พืชชนิดนี้เป็นพืชทนเค็มพบทั่วไปตามชายหาดของเขตร้อน เช่นที่ฮาวาย และเกาะอีกหลายเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก Puerto Rico และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ชายฝั่งที่บราซิล ชายฝั่งทางมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดียวของแอฟริกา มาดากัสการ์ เซเชลส์ อินเดียและศรีลังกา คาบสมุทรอินโดจีน และเกาะไหหลำ มาเลเซีย, และชายฝั่งของออสเตรเลียในควีนส์แลนด์และนอร์ทเทิร์น เทอร์ริทอร์รี publication by the Beach Protection Authority of Queensland, Australia.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วผีทะเล

ถั่วขาว (ไม้ยืนต้น)

ั่วขาว หรือประสักขาว โปรย โปรง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามแนวยาวของลำต้น ลำต้นส่วนล่างเป็นพูพอนแต่ไม่มาก มีรากหายใจเป็นรูปเข่า ใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบมันเรียบ สีเขียว ท้องใบเขียวออกเหลือง ดอกเป็นดอกช่อออกที่ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง ปลายแตกเป็นแฉก กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลเดี่ยว สีเขียวอมเหลือง มีกลีบเลี้ยงหุ้ม งอกออกมาเป็นฝักกระบอกยาว สีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาล ปลายแหลม เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ผลขูดเอาผิวออกนำไปนึ่งแล้วคลุกกับมะพร้าวและเกลือ ใช้เป็นขนม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วขาว (ไม้ยืนต้น)

ถั่วดำ (ไม้ยืนต้น)

ั่วดำ หรือสังกะแท้ ลังกระได เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือเทา มีเปลืกลำต้นเรียบ ไม่มีรอยแตก ลำต้นส่วนล่างเป็นพูพอนชัดเจน มีรากหายใจเป็นทรงพุ่มยอดแหลม ใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบมันเรียบ สีเขียวออกเหลือง ดอกเป็นดอกช่อออกที่ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง ปลายแตกเป็นแฉก กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ผลเป็นผลเดี่ยว สีเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยงหุ้ม งอกออกมาเป็นฝักกระบอกยาว สีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาล ปลายแหลม ออกดอกตลอดปี เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เผาถ่าน และทำเครื่องมือประมง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วดำ (ไม้ยืนต้น)

ถั่วด้วง

ั่วด้วง เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae เป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ลำต้นตั้งตรง มีไหลใต้ดิน หัวเกิดจากการสะสมอาหารในส่วนปลายของไหล มีรอยคอดในส่วนข้อมองเห็นเป็นปล้องกลมต่อเนื่องกัน สีขาว ลำต้นรูปสี่เหลี่ยม ขอบใบเป็นซี่ทู่ๆ มีขนหยาบปกคลุมผิวใบทั้งสองด้าน ดอกสีชมพู สีม่วงหรือสีขาว ผลเป็นผลแบบเคี้ยวมัน เกิดหัวและไหลหลังปลูก 5-7 เดือน left ถั่วด้วงเป็นพืชพื้นเมืองของจีน มีปลูกในจีน ญี่ปุ่น ก่อนจะนำไปปลูกในฝรั่งเศส มาเลเซีย หัวรับประทานได้ทั้งสดและทอด ในญี่ปุ่นเป็นอาหารพิเศษในโอกาสขึ้นปีใหม่ ในจีนและญี่ปุ่นนิยมดองก่อนรับประทาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วด้วง

ถั่วคล้าทะเล

อกของถั่วคล้าทะเล ''Canavalia rosea'' ถั่วคล้าทะเล (Sea bean) เป็นไม้เลื้อยในพืชตระกูลถั่วที่พบในบริเวณชายหาด พบได้ทั่วไปในเขตร้อน ลำต้นทอดเลื้อยไปตามทราย ได้ไกล ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล แข็งและเหนียว ใบหนาและอวบน้ำ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มีใบย่อยสามใบ โดยสองใบแรกมีก้านใบสั้น ส่วนใบที่สามจะมีก้านยาวยื่นออกไปต่างหาก ดอกแบบดอกถั่ว ดอกช่อ สีม่วงอมชมพู ติดฝัก ผลเดี่ยวเป็นฝัก เมื่ออ่อนแบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายเฉียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พอแก่แล้วจะพองออกเป็นก้อนเท่าจำนวนเมล็ดภายในฝัก สีกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม แก่ต็มที่จะแตก เมล็ดมีเยื่อสีขาวหุ้ม แต่ละฝักมีราว 3-4 เมล็ด เมล็ดสามารถแพร่กระจายไปกับกระแสน้ำได้ ลักษณะถั่วคล้าจะคล้ายผักบุ้งทะเล ต่างกันที่ใบของถั่วคล้าทะเลเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยสามใบ ส่วนผักบุ้งทะเลเป็นใบเดี่ยว เป็นพืชที่ทนเค็มและชอบดินทร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วคล้าทะเล

ถั่วเมสคาล

ั่วเมสคาล เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Fabaceae ใบประกอบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ สีม่วงอมน้ำเงิน กลิ่นแรง ฝักยาวมีเมล็ดสีแดง เป็นพืชมีพิษร้ายแรงมาก มีฤทธิ์หลอนประสาท พบในรัฐเท็กซัส รัฐนิวเม็กซิโก และในประเทศเม็กซิโก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถั่วเมสคาล

ถุงมือจิ้งจอก

งมือจิ้งจอก หรือ ดิจิทาลลิส (Digitalis, Foxglove) เป็นสกุลของไม้ 20 ชนิดของสมุนไพรที่เป็นพืชสองปี (Perennial plant) ที่เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “foxgloves” หรือ “ถุงมือจิ้งจอก” เดิมจัดอยู่ในวงศ์มณเฑียรทอง (Scrophulariaceae) แต่หลังจากการพิจารณาทางไฟโลเจเนติกส์ ก็ได้รับการจัดให้อยู่ในตระกูลที่ใหญ่กว่าในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae) ถุงมือจิ้งจอกเป็นไม้ที่มีถิ่นฐานอยู่ในยุโรป, เอเชียตะวันตก เอเชียกลางและทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ชื่อวิทยาศาสตร์แปลว่า “เหมือนนิ้ว” เพราะขนาดของดอกพอดีกับการที่เอาปลายนิ้วสอดเข้าไปได้พอดี ดอกออกบนกิ่งเรียวยาวชลูดขึ้นไปจากกอที่ติดดิน ตัวดอกมีลักษณะเป็นหลอดสั้น ๆ สีก็มีต่าง ๆ ที่รวมทั้งม่วง ชมพู ขาวและเหลือง ชนิดที่พบบ่อยเรียกว่า Digitalis purpurea ถุงมือจิ้งจอก นอกจากจะเป็นไม้ที่ขึ้นง่ายโดยทั่วไปเป็นดอกไม้ป่าแล้วก็ยังเป็นไม้บ้านเป็นพืชสองปีที่มักปลูกเป็นไม้ประดับเพราะดอกที่มีความเด่นที่มีสีและแต้มด้านในของดอกต่าง ๆ ปีแรกที่ปลูกจะมีเพียงแต่ใบ ปีที่สองจึงออกดอก ความสูงของก้านประมาณระหว่าง 0.5 ถึง 2.5 เมตร คำว่า “ดิจิทาลลิส” ยังหมายถึงสารดิช็อกซินที่สกัดจากไม้ที่ใช้ในการทำคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ สำหรับการรักษาโรคหัวใจ แต่ “ถุงมือจิ้งจอก” บางพันธุ์ก็เป็นไม้มีพิษร้ายแรงทั้งต้นทั้งดอกที่ทำให้ได้สมญาว่า “กระดิ่งคนตาย” หรือ “ถุงมือแม่มด” ต้นถุงมือจิ้งจอก เป็นต้นไม้ที่ในความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ของยุโรปยุคกลางเชื่อว่า เป็นส่วนผสมที่ผสมกับสารเคมีอย่างอื่น เช่น ฝิ่น ทำให้ผู้ที่ทากลายร่างเป็นสัตว์ป่าที่ดุร้ายหรือมนุษย์หมาป่าได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถุงมือจิ้งจอก

ถ่อนฝักตั้ง

อนฝักตั้ง เป็นพืชในสกุลถ่อน วงศ์ย่อย Mimosoideae เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ผลเป็นฝักแบนมีติ่งที่ปลายฝัก แห้งแตก พบในภาคเหนือตอนบน พบครั้งแรกที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดย H.B.G.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และถ่อนฝักตั้ง

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinacanthus nasutus Kurz) หรือทองคันชั่ง หรือหญ้ามันไก่ มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อนมักมีขนปกคลุมใบรูปคล้ายรูปไข่หรือวงรี กว้าง 2-4 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทองพันชั่ง

ทองเดือนห้า

ทองเดือนห้า เป็นไม้ยืนต้น เมื่อออกดอกจะผลัดใบ เปลือกลำต้นหนา มีหนามสั้น ดอกสีแดงสด ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผลเป็นฝักทรงกระบอก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทองเดือนห้า

ทิพเกสร

ทิพเกสร เป็นพืชกินแมลงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae มีความสูง 10-30 เซนติเมตร ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว และมีใบที่เปลี่ยนเป็นถุงสำหรับดักจับแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู ออกเป็นช่อตั้งสูงประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีดอกย่อย 3-10 ดอก ออกเรียงสลับ ขนาดประมาณ 6-10 มิลลิเมตร กลีบดอกล่างแผ่แยกออกเป็น 2 ปาก ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, นิวกินิ, ออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่, เลย, อุบลราชธานี, กาญจนบุรี, สระแก้ว, ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด, สุราษฎร์ธานี, พังงา, สงขลา, ปัตตานี, และนราธิวาส พบตามพื้นที่ชื้นแฉะ เปิดโล่ง มักพบบนดินทราย ในระดับความสูง 0-1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ออกดอก ออกผลช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ทิพเกสร เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีชื่อดั้งเดิมว่า "หญ้าสีฝอยเล็ก".

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทิพเกสร

ทิวาราตรี

ทิวาราตรี เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว รูปรี ใบเป็นมันเกลี้ยง ดอกช่อ กลีบดอกย่อยโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยก ปลายกลีบม้วนกลม ดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลกลม สุกแล้วเป็นสีดำ ถ้ารับประทานผลทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทิวาราตรี

ทิ้งทวน

ทิ้งทวน เป็นพืชในวงศ์ Ericaceae เป็นไม้พุ่มใบออกสีชมพูอมแดง ผลิใบอ่อนเป็นช่วงๆ ดอกช่อ มีกลิ่นหอม ดอกเรียงตัวเป็นแถว ก้านห้อยลง ดอกสีชมพูหรือขาว ผลสดกลม สีดำอมแดง มีขนปกคลุม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนล่าง พบมากในเกาะนิวกินี กระจายพันธุ์จากพม่า ไทย ไปจนถึงจีนและญี่ปุ่น ผลรับประทานได้ นิยมแปรรูปเป็นแยมและเยลลี่ เป็นอาหารนก เนื้อไม้แข็ง ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทิ้งทวน

ทิ้งทองหู

ทิ้งทองหู (Jack) เป็นพืชในวงศ์ Gesneriaceae เป็นไม้เลื้อย มีขนละเอียดขึ้นตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก แผ่นใบหนา เห็นเส้นใบไม่ชัดเจน ดอกช่อ มีริ้วประดับรูปไข่ กลีบเลี้ยงสีม่วงน้ำตาลอมเขียวกลีบดอกสีแดงสด ด้านในมีสีเหลืองแซม ผลแบบแห้งแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีปุ่มกระจาย มีรยางค์รูปเส้นด้ายทั้งสองด้าน ในไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ กระจายพันธุ์ตั้งแต่คาบสมุทรมลายูจนถึงเกาะบอร์เนียว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทิ้งทองหู

ทุเรียน

ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้วันดี กฤษณพันธ์, สมุนไพรน่ารู้, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และทุเรียน

ขมิ้นเครือ

มิ้นเครือhttp://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขมิ้นเครือ

ขลู่

ลู่ (ชื่อสามัญ:Indian Marsh Fleabane ชื่อวิทยาศาสตร์:Pluchea indica (L.) Less.) เป็นพืชที่พบมากในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย จีนและฟิลิปินส์ เป็นต้น ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด ขลู่มีชื่อพื้นบ้านว่า หนาดวัว หนาดงิ้ว หนวดวัวหรือหนวดงิ้ว(อุดรธานี) ขลู คลู(ภาคใต้) เพี้ยฟาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้ป้าน(แม่ฮ่องสอน).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขลู่

ขวง

วง, ผักขวง, สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง (sweetjuice) เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Glinus oppositifolius A. DC.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขวง

ขามคัวะ

มคัวะ หรือ กระนวล เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกสีออกแดง หูใบจักเป็นครุย ผิวใบด้านล่างมีขน ดอกรวมกันเป็นกระจุก ผลแบบแคบซูล เนื้อไม้แข็งทนทาน พบตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา และอินโดจีน ในอินโดจีนใช้เปลือกกินแทนหมาก เนื้อไม้ใช้ทำด้ามขวานและเชื้อเพลิง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขามคัวะ

ขาวปั้น

วปั้น เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Caprifoliaceae ลำต้นอวบน้ำแทรกตามเขาหินปูน ใบเดี่ยว ดอกช่อกระจุกแน่นเกือบกลม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายพุด ไพรสุรินทร์ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขาวปั้น

ขานาง

ขานาง ((Vent.) Benth.) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูง 15 - 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การดูแลรักษา ขานางชอบดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง ขานางมีชื่อพื้นเมืองอื่น ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่), แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา) นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกาญจนบุรี หมวดหมู่:ไม้ดอกไม้ประดับ หมวดหมู่:ต้นไม้ประจำจังหวัด หมวดหมู่:วงศ์สนุ่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขานาง

ขี้กาแดง

ี้กาแดง (Kurz.) ชื่ออื่นๆ แตงโมป่า มะกาดิน ขี้กาขาว เป็นไม้เถาเลื้อย ลำเถาอวบน้ำและสากมีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียนและมีหนวดที่โคนก้านใบ ใบรูปไข่เกือบกลม 5 เหลี่ยม ขนาดประมาณ 10 x 15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้าเป็นติ่งหู ขอบหยักบิดเป็นคลื่น แผ่นใบผิวหยาบสากเป็นลอนตามรอยกดเป็นร่องของเส้นใบ หลังใบมีขนสั้นสีขาวจำนวนมาก ก้านใบสีเขียวอ่อนแกมเหลืองยาว มีขนชนิดเดียวกัน ดอกเป็นดอกเดี่ยวแยกเพศกัน เกิดที่ซอกใบ ดอกสีขาวกลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 - 5 กลีบ ดอกเพศเมียที่ฐานดอกมีรังไข่ทรงกลม ดอกเพศผู้ไม่มีรังไข่ ผลทรงกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว มีริ้วสีขาวจางๆ ผลสุกนั้นจะมีสีแดงห้อนเป็นระย้า ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดทรงกลมรีแบนมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเมือกใสสีเขียวเข้มเกือบดำ เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม ขี้กาแดงเป็นพืชมีพิษ ผลเมื่อรับประทานแล้วทำให้ท้องเดินอย่างแรง เมล็ดมีพิษ ถ้ารับประทานเพียงเล็กน้อยทำให้เสียชีวิตได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขี้กาแดง

ขี้หนอนเถา

ี้หนอนเถา เป็นพืชในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้เลื้อย มีขนตามลำต้นและกิ่งก้าน ดอกสีเหลือง ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้นิ่ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขี้หนอนเถา

ขี้ครอก

ี้ครอก (Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain) ชื่ออื่นๆของขี้ครอก คือ ขมดง ชบาป่า บอเทอ ปะเทาะ ปอเส้ง ปูลุ เส้ง หญ้าผมยุ้ง หญ้าอียู หญ้าหัวยุ่ง นางนวล จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae ขี้ครอกเป็นพืชมีพิษ หนามมีขนทำให้ระคายเคือง ทุกส่วนของลำต้นถ้ารับประทานเป็นพิษต่อหัวใจทำให้หมดความรู้สึก ขี้ครอกเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ มีหูใบ 1 คู่ รูปรี ดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม ผล ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ด รูปไตสีน้ำตาล มีพูละ 1 เมล็.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขี้ครอก

ขี้เหล็ก

ี้เหล็ก จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น ในปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขี้เหล็ก

ขี้เหล็กย่าน

ี้เหล็กย่าน เป็นพืชในวงศ์ Compositae เป็นไม้เลื้อยเลื้อยพันโดยใช้ลำต้น ต้นอ่อนเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว ผิวใบขรุขระเพราะเส้นใบบุ๋มลงไป ดอกช่อ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเดี่ยว สีเขียว ขนาดเล็กรูปกรวย แก่แล้วแห้งสีน้ำตาล เมล็ดยาวสีดำ มีขน ปลิวไปกับกระแสลมได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขี้เหล็กย่าน

ขี้เห็น

ี้เห็นหรือผ่าเสี้ยน เป็นไม้ต้นในวงศ์ Lamiaceae ผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลหรือสีดำ กิ่งก้านอ่อนมีขนสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกช่อ กลีบเลี้ยงมีขน กลีบดอกปลายแฉกรูปปาก สีเหลืองหรือสีนวล เกสรตัวผู้มีสี่อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อันผลเดี่ยว ทรงกลมหรือเกือบกลม เนื้อไม้สีเหลือง ใช่ก่อสร้างหรือทำเครื่องเรือน และเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคติดเชื้อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขี้เห็น

ขนุนนก

นุนนก เป็นพืชในวงศ์ Sapotaceae ไม่ผลัดใบ เปลือกสีเทาอมดำ มีรอยแตกตามยาว ต้นสดมียางสีขาว ใบเดี่ยว ดอกช่อแบบกระจุก กลิ่นหอมเย็น กลีบเลี้ยง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกสีเหลืองอมขาว 6 กลีบ เกสรตัวผู้ล้อมรอบเกสรตัวเมีย ผลเดี่ยว กลมรี เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีน้ำตาล ยางใช้ทำสารหุ้มสายเคเบิลใต้น้ำ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และขนุนนก

ข่อยดาน

อยดานหรือปัดหิน เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นตรง มีหนาม ใบเดี่ยว ปลายแหลม ผิวใบสากมือ ดอกเดี่ยว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย กลิ่นหอม ผลสด สุกแล้วเป็นสีส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีส้ม เปลือกลำต้นแช่เหล้าใช้ทาตามแขนขา แก้ปวดและอัมพาต ชาวไทยอีสาน ใช่รากข่อยดานตรวจสอบเห็ดพิษ โดยต้มรากรวมกับเห็ด ถ้าเห็ดมีพิษทำให้น้ำเปลี่ยนสี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และข่อยดาน

ข่อยดำ

อยดำหรือดังหวาย เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Labiatae ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบ ขอบใบหยัก ดอกช่อแบบแตกแขนง ผลเดี่ยวค่อนข้างกลม ผลแก่สีแดงหรือสีดำ มี 5-6 เมล็ด ผลใช้เป็นอาหารสัตว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และข่อยดำ

ดอกดิน (พืช)

อกดิน ชื่ออื่นๆคือ ดอกดินแดง ซอซวย ปากจะเข้ สบแล้ง หญ้าดอกขอ เป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีใบ มีชีวิตอยู่แบบกาฝาก ต้นเป็นปุ่มปมเบียนอยู่กับรากไม้หรือหญ้า ลำต้นเกาะอยู่ตามรากไม้ใต้ดิน เช่นรากไผ่หรือรากหญ้าคา ก้านดอกสีขาวนวล ดอกโผล่มาเหนือดิน กลีบดอกเป็นหลอด สีม่วงเข้ม ตอนปลายเป็นแฉก พบในที่ร่มและชื้นช่วงฤดูฝน ในดอกมีสารสีดำชื่อออคิวบิน ใช่แต่งสีดำในขนมบางชนิดเช่นขนมดอกดิน โดยนำดอกสดไปผึ่งแดดพอหมาด แล้วสับรวมกับแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า และกะทิ ขนมนี้ถ้าใส่ดอกดินอย่างเดียว จะไม่เป็นสีดำ แต่เป็นสีน้ำตาลคล้ายกาแฟ ใส่มากขึ้นทำให้ขนมขื่น จึงแต่งสีดำด้วยกาบมะพร้าวเผาไฟ แล้วนำไปนึ่งให้สุก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดอกดิน (พืช)

ดาวเรืองเม็กซิโก

วเรืองเม็กซิโก เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Asteraceae ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอม ใบรูปหอก ขอบใบจักละเอียด ดอกสีเหลืองสด พบในเม็กซิโก มีสารกลุ่มแลกโตน เทอร์พีน คูมารินส์ ทำให้เกิดความมึนงง สับสน ลำต้นแห้งใช้เผาไล่แมลง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดาวเรืองเม็กซิโก

ดาวเงินไทยทอง

วเงินไทยทอง เป็นพืชในสกุลดาวเงิน วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ล้มลุกอวบน้ำ ขึ้นตามหินปูน ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ดอกสีขาว รูประฆัง ผลขนาดเล็ก แห้งแล้วแตก ออกดอกช่วงมิถุนายน – สิงหาคม พบครั้งแรกที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดย H.B.G.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดาวเงินไทยทอง

ดาดตะกั่ว

ตะกั่ว (Redivy; T. Anders.) เป็นพืชในวงศ์ Acanthaceae ลักษณะเป็นไม้คลุมดิน ต้นทอดเลื้อยไปตามดิน ใบด้านบนสีเหลือบเงิบ เขียงปนม่วง ด้านล่างสีม่วง ปลายใบแหลม ขอบหยัก ดอกสีขาว เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดียและเกาะชวา นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดาดตะกั่ว

ดูกค่าง

ูกค่าง var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดูกค่าง

ดูกไก่ย่าน

ูกไก่ย่าน เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นเรียบ สีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลและผิวไม่เรียบ ใบเดี่ยว ค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเล็ก สีเขียวอ่อนหรือขาว ผลเดี่ยวกลมรี ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยง เมื่ออ่อนเป็นสีเขียวอมขาว แก่แล้วเป็นสีขาว มีเมล็ดเดียว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดูกไก่ย่าน

ดีปลากั้ง

ีปลากั้ง หรือ บีปลากั้ง T.Anderson.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และดีปลากั้ง

ด่าง (พืช)

ง เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งในวงศ์ Labiatae ตามกิ่งมีสันสี่เหลี่ยม มีขนยาวปกคลุม มีเลนติเซลเป็นรอยขีดนูน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่ออกตามปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลกลมรี เมล็ดขนาดเล็ก สีดำ กระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง พบครั้งแรกโดยหมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อเดือนกันยายน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และด่าง (พืช)

ครอบฟันสี

รอบฟันสี หรือ หมากก้นจ้ำ (อังกฤษ:Country mallow; ชื่อวิทยาศาสตร์:Abutilon indicum)เป็นพืชสมุนไพรไทย มีดอกสีแสดเหลือง ที่มีสรรพคุณหลากหลาย โดยเฉพาะ คนป่วยเป็นโรคเบาหวานต้มกินเพื่อใช้คุมระดับน้ำตาลในเลือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และครอบฟันสี

คราม (พืช)

รามหรือนาโค อยู่ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ใช้ทำสีย้อม ต้นครามมีกลูโคไซด์อินดิแคน เมื่อนำต้นไปแช่น้ำ สารน้ถูกเปลี่ยนเป็นอินดอกซิลและเมื่อถูกอากาศจะถูกเปลี่ยนเป็นอินดิโก-บลู ให้สีคราม ใช้เป็นยารักษาอาการทางประสาท บรรเทาอาการปวดแผลที่เกิดในบริเวณเยื่ออ่อน คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำคราม มาย้อมผ้า สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม นั่นเอง แต่ต้องย้อมซ้ำหลายครั้ง ครั้งแรก ๆ อาจได้เป็นสีฟ้าเข้ม ในการหมักนั้นมีกรรมวิธีที่เรียกว่าการ 'เลี้ยงคราม' หากทำไม่ถูกขั้นตอน ครามจะไม่ให้สี เรียกว่า 'ตาย' น้ำสีที่ยังไม่สมบูรณ์จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อโดนอากาศ จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำเงิน ถึงสีครามในที่สุด ชาวอีสานเรียกสีครามว่าสีนิล สีหม้อ หรือสีหม้อนิล ชาวอีสานตอนบนนิยมนำไปย้อมผ้า และมัดเป็นลาย เรียกว่า ผ้าย้อมคราม แหล่งผลิตผ้าทอมือย้อมครามที่มีคุณภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งคือจังหวัดสกลนครเนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวผู้ไทและมีการต่อยอด ออกแบบสีและลวดลายให้มีความปราณีตสวยงาม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคราม (พืช)

ครามป่า

รามป่า เป็นพืชในวงศ์ถั่ว เป็นไม้พุ่มมีขนปกคลุมตามลำต้นและกิ่งก้าน มีใบประกอบ มีดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นฝักทรงกระบอก มีเมล็ด 8-10 เมล็ด ขนเมื่อถูกร่างกายทำให้เป็นผื่นแดง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และครามป่า

ครามเถา

รามเถา อยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae ไม้เถาเนื้อแข็ง ยางขาว ดอกช่อ สีขาวอมเหลืองอ่อน แก่แล้วเป็นสีน้ำเงินเข้ม เปลือกและใบใช้ทำสีย้อมเส้นใยและผ้า ให้สีคราม ใช้ย้อมผมให้สีดำ ใบมีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการผิดปกติในลำไส้ กระตุ้นการงอกของผม ในบังกลาเทศใช้สารสกัดจากครามเถาทำให้แท้งลูก เปลือกลำต้นมีเส้นใ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และครามเถา

คอนสวรรค์ (พืช)

อนสวรรค์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea quamoclit L.) หรือชื่อพื้นเมืองอื่นคือ สนก้างปลา ดาวนายร้อย มี 3 สีคือแดง ชมพู ขาว เป็นพืชพื้นเมืองในแถบลาตินอเมริกา ทางใต้ของอินเดียเรียกว่า มายิล มานิกกัม (மயில் மாணிக்கம்) เป็นไม้เลื้อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคอนสวรรค์ (พืช)

คันธุลี

ันธุลี หรือ ท้าวพันราก หน่ายไส้เดือน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวสีน้ำนม เถาสีน้ำตาลอมแดง เกาะต้นไม้อืนโดยใช้เถาพัน ใบเดี่ยว ดอกเป็นดอกช่อ ออกดอกตามง่ามใบ ดอกสีขาวอมเหลือง ผลเดี่ยวเป็นฝักเรียว สีเหลืองอมเขียว แก่แล้วแตก เมล็ดมีขนปลิวตามลม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคันธุลี

คำฝอย

''Carthamus tinctorius'' คำฝอย (Safflower) เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีความสูง 40-130 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี ใบหอก หรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกเป็นดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ออกที่ปลายยอด ดอกอ่อนเป็นสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงภายหลัง ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก สารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือคาร์ทามินและ แซฟฟลาเวอร์เยลโลว์ ใช้แต่งสีอาหาร โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อนและใช้ทำสีย้อมผ้ามาแต่โบราณ นอกจากนี้แล้ว ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคำฝอย

คำรอก

ำรอกหรือตานกกด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Connaraceae เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมหนา กิ่งก้านมีขนละเอียดสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกสีขาว เกสรตัวผู่ 10 อัน ผลสีน้ำตาล มีขน แก่แล้วแตก กิ่งก้านและต้นต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาหืด ไตพิการ ประดงกินกระดูก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคำรอก

คำขาว

ำขาว หรือ กุหลาบพันปีป่า (Westland's rhododendron) เป็นไม้ประเภทกุหลาบพันปีชนิดหนึ่ง ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงลำต้นตั้งแต่ 2-8 เมตร ใบเป็นแบบใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ เป็นกลุ่มห่าง ๆ กลุ่มละ 3-6 ใบ รูปรีแกมรูปหอก กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอกมีสีขาว ออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่งและซอกใบ ช่อละ 3-5 ดอก ขนาดดอกบานเต็มที่ กว้างถึง 6 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปกรวย ปลายแยกแผ่เป็น 5 กลีบ บริเวณโคนกลีบมีประสีเหลืองอ่อนแต้มเป็นทาง เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน โคนก้านชูอับเรณูมีขนสีขาว รังไข่รูปทรงกระบอก ผลเป็นรูปทรงกระบอก มี 5 พู ขนาด 3-4 เซนติเมตร ปลายแหลมยาว ผลแก่แตกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดแบน มีขนาดเล็ก มีจำนวนมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ คำขาว แพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบเขา ที่ค่อนข้างโปร่ง สูงจากระดับน้ำทะเล 950-2,200 เมตร ออกดอกระหว่างเดือนตุลาคม-พฤษภาคม พบตั้งแต่ทางตอนใต้ของจีน, พม่า, มาเลเซีย, ภาคใต้ของไทยจนถึงอินโดนีเซีย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และฮ่องกง ดอกคำขาว คำขาว สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับได้ โดยขึ้นได้ดีในที่สูง มีความชื้นพอประมาณ และชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคำขาว

คำแดง

ำแดง เป็นไม้ชนิดหนึ่ง จำพวกกุหลาบพันปี ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) คำแดง เป็นหนึ่งในชนิดของกุหลาบพันปี หรือกุหลาบป่าที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, พม่า และจีนในมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว (สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุลย่อยและชนิดย่อยต่าง ๆ) สำหรับในประเทศไทย นับเป็นพืชดอกที่งดงามมากที่สุดและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะในเขตอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่ชุ่มชื้น เช่น สันเขา หรือหน้าผา ในระดับความสูงประมาณ 1,600-2,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบได้ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น ผลิดอกในระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลายเดือนกุมภาพันธ์ คำแดงเป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ ใบสีเขียวเข้มมีรูปร่างคล้ายหอก ยาว 7-14 เซนติเมตร ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง กุหลาบพันปีมีดอกสีแดงเลือดนกเข้นข้นสะดุดตา ดอกเป็นช่อทรงกลมที่ปลายกิ่ง โดยมีใบเรียงแผ่วนต่อกันเป็นจานรองแลดูงดงามคล้ายดอกกุหลาบ แต่ละช่อมีดอกออกรวมกันตั้งแต่ 4-12 ดอก เมื่อบานมีขนาด 3-5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ สีแดงปกคลุม ดอกทรงกรวยแกมรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลีบค่อนข้างกลม ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมกันทั้งหมด และในช่วงที่ออกดอกบานนั้น น้ำหวานภายในดอกจะเป็นอาหารของนกและแมลงชนิดต่าง ๆ อีกด้วย คำแดง เป็นไม้ประจำประเทศเนปาล โดยสีแดงในธงชาติเนปาล หมายถึง สีแดงของดอกคำแดง คำแดง แม้จะเป็นไม้ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในพื้นที่สูงในเขตหนาว แต่ก็สามารถนำมาเพาะปลูกได้ในพื้นที่ราบ แต่ก็ปลูกเลี้ยงค่อนข้างยาก นอกจากความงดงามแล้วยังมีคุณสมบัติสามารถดูดซึมสารพิษในอากาศได้อีกด้ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคำแดง

คุณนายตื่นสาย

ณนายตื่นสาย (Common Purslane, Verdolaga, Pigweed, Little Hogweed หรือ Pusley) เป็นพืชล้มลุก อวบน้ำในวงศ์ผักเบี้ย สามารถสูงได้ถึง 40 ซม.มีประมาณ 40 สายพันธุ์ในการปลูกเลี้ยงในปัจจุบัน มีการกระจายพันธุ์ในโลกเก่าตั้งแต่แอฟริกาเหนือถึงตะวันออกกลางและอนุทวีปอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเซีย ดอกชนิดนี้บานเมื่อมีแสงแดดส่องทั่วถึง คุณนายตื่นสายมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: ผักตาโค้ง (นครราชสีมา) ผักเบี้ยดอกเหลือง (กลาง) ผักเบี้ยใหญ่ (กลาง) และ ผักอีหลู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคุณนายตื่นสาย

คนทีสอทะเล

นทีสอทะเล เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Lamiaceae ลำต้นเลื้อยคลานไปบนดิน ลำต้นสีน้ำตาล เมื่ออายุมากจะมีสะเก็ดหลุดร่วงออกมา ใบเดี่ยว ใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนจนถึงสีนวล ดอกช่อ กลีบดอกสีน้ำเงินขนาดไม่เท่ากัน ผลเดี่ยว ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงหุ้มไว้เกือบครึ่งผล ผิวสีเขียวหรือสีม่วง ผลแห้ง ปลายผลมีติ่ง ใบแห้งบดเป็นผง นำไปทำขนมคนที โดยนำใบแห้งไปผสมกับแป้งข้าวเหนียวและน้ำ นำไปนึ่งให้สุก หั่นเป็นชิ้น คลุกกกับมะพร้าวขูด เกลือ และน้ำตาล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และคนทีสอทะเล

ค่าหด

หด ชื่ออื่น ๆ คือ ข่าหด คำหด เก็ดลิ้น ลบลีบ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ค่าหด ผลัดใบ ลำต้นมักคดงด เปลือกแตกเป็นร่อง สีออกเทา ใบประกอบ ใบอ่อนมีขนสากเมื่อแก่จะเกลี้ยง ผลัดใบก่อนออกดอก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกดอกกันและอยู่คนละช่อ ดอกตัวผู้เป็นช่อสั้น ดอกตัวเมียเป็นช่อยาวห้อยลง แต่ละดอกมีกาบรูปสามเหลี่ยมสีเหลืองอ่อนรองรับ และกาบนี้จะเจริญเป็นกาบของผล ผล กลมแข็ง มีขนแข็งคลุมแน่น มีแฉกกาบเป็นรูปสามง่าม เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทางภาคเหนือใช้เปลือกต้นรักษาอาการปวดฟัน ต้มน้ำอาบรักษาผื่นคัน เปลือกต้นนำไปผิงไฟให้อุ่นแล้วนำมาทาแผล ช่วยให้สมานตัวเร็ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และค่าหด

งวงช้างทะเล

งวงช้างทะเล หรือ Heliotropium foertherianum เป็นพืชในวงศ์ Boraginaceae เป็นไม้พุ่มลำต้นสีเทา แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มเป็นครึ่งวงกลม ใบเดี่ยว ออกแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว ติดกับก้านช่อเพียงด้านเดียว ก้านดอกอวบน้ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเดี่ยวกลม ขนาดเล็ก สีเขียว มีฐานรองดอกหุ้มผลไว้ครึ่งหนึ่ง ผิวเรียบเป็นมัน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และงวงช้างทะเล

ตองสยาม

ตองสยาม เป็นไม้ยืนต้นที่มีใบขนาดใหญ่อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเดี่ยว มีหูใบขนาดใหญ่ ผลแก่แล้วแตกเป็นสองพู สีเหลือง ไม่มีหนาม เมล็ดกลม ออกดอกในเดือนกรกฎาคม – กันยายน เป็นไม้เบิกนำขึ้นในที่แล้งหรือหลังจากเกิดไฟป่า พบในพื้นที่สูงทางภาคตะวันออกและภาคตะวันตก พบครั้งแรกในประเทศไทยโดย S.J.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตองสยาม

ตองหมอง

ตองหมอง (O.Ktze) Ohashi.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตองหมอง

ตองเต๊าะ

ตองเต๊าะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กในวงศ์ Euphorbiaceae ลำต้น ใบ และช่อดอกมีขนสีเหลือง ใบเดี่ยว ปลายใบเป็นติ่งแหลม หรือมน โคนเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็น 3 พู ดอกช่อ แยกเพศ มีขนาดเล็ก ดอกสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลแห้ง มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่เปลือกผล แก่นต้มน้ำดื่ม แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ต้มรวมกับยาอื่น แก้โรคปัสส่วะขุ่นข้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตองเต๊าะ

ตะขบฝรั่ง

ต้นตะขบฝรั่งในไฮเดอราบัด อินเดีย ใบและผลในไฮเดอราบัด อินเดีย ตะขบฝรั่ง เป็นพืชเพียงสปีชีส์เดียวในสกุล Muntingia เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือของเม็กซิโก บริเวณทะเลแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ฝั่งตะวันตก จนถึงเปรูและโบลิเวีย พบกระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะขบฝรั่ง

ตะขบป่า

ตะขบป่า ภาคเหนือเรียก มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า หรือตานเสี้ยน พบทั่วไปตั้งแต่เอเชีย แอฟริกา โพลีเนเซีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นคดงอ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน มีหนาม ผิวใบเรียบหรือมีขนกระจาย ดอกออกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว มีขนปกคลุม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน แยกออกตอนปลาย เกสรตัวผู้จำนวนมากสีขาว ผลกลม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีแดงสด รสเปรี้ยว ผลและยอดอ่อนรับประทานได้ ผลสดนำมาแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์ เนื้อไม้ใช้ทำด้ามอุปกรณ์ต่างๆ ผลและเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ใบใช้แก้งูกัด เปลือกไม้รักษาโรคผิวหนังได้ ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่ใช้รากต้มน้ำดิ่มแก้ปวดเมื่อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะขบป่า

ตะขบไทย

ตะขบไทย เป็นพืชในวงศ์ Flacourtiaceae เป็นไม้ยืนต้นนาดเล็ก ลำต้นอ่อนมีหนามแข็ง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบอ่อนสีแดงแกมน้ำตาล ใบห้อยลง ขอบใบมีรอยหยักหยาบๆ ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผลสดมีเนื้อนุ่ม สีเขียวอ่อน สีชมพู หรือสีเขียวอมม่วง เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว เมล็ดแบน กระจายพันธุ์ทางตอนล่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็ยไม้หายากในหมู่เกาะโมลุกกะและเกาะนิวกินี มีปลูกในไทย อินโดจีน และอินเดีย ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้สด ใช้ทำโรยัก ดอง หรือทำแยม ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสด ผลดิบใช้แก้ท้องเสีย น้ำคั้นจากใบใช้รักษาอาการอักเสบของเปลือกตา เนื้อไม้แข็งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน ผลตะขบไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะขบไทย

ตะคร้อ

ตะคร้อ อยู่ในวงศ์ Sapindaceae เป็นไม้ยืนต้น และเป็นพืชพื้นเมืองในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสุกกินได้ รสเปรี้ยว ใบอ่อนกินเป็นผัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะคร้อ

ตะแบกเกรียบ

ตะแบกเกรียบ Pierre เป็นพืชในวงศ์ Lythraceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น เปลือกบางสีน้ำตาล ลอกออกได้เป็นแผ่น ใบเรียงตรงข้าม ใบมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่จะไม่มีขนหรือมีขนตามเส้นใบด้านล่าง ดอกช่อ ดอกสีชมพูอมม่วงหรืออมขาว กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม มี 6 กลีบ ทรงสามเหลี่ยม ติดทน กลีบดอก 6 กลีบ มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก อันที่อยู่ด้านนอกยาวกว่าอันด้านใน รังไข่มีขนสีขาว เกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแตก เกลี้ยง หรือมีขนส่วนปลาย เมล็ดจำนวนมาก มีปีก พบในไทยทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และในเขตอินโดจีน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะแบกเกรียบ

ตะเคียน

ตะเคียน หรือ ตะเคียนทอง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ไม้ตะเคียน สามารถพบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ตะเคียนยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เลย) จะเคียน (เหนือ) จืองา (มลายู นราธิวาส) จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ตะเคียนใหญ่ (กลาง) ตะเคียนทอง (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์) ไพร (ละว้า เชียงใหม่).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะเคียน

ตะเคียนชันตาแมว

ตะเคียนชันตาแมว จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae) เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดนราธิวาส ลักษณะของตะเคียนชันตาแมว เป็นไม้ต้นสูงถึง 40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือบางครั้งแผ่กว้าง ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกตามยาวและล่อนเป็นสะเก็ด ตกชันสีขาวใส เปลือกในสีเหลืองแกมเขียว เนื้อไม้สีเหลืองน้ำตาลแกมเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตะเคียนชันตาแมว

ตังกุย

ตังกุย หรือ โสมตังกุย เป็นสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี รากอวบหนา ทรงกระบอก มีกลิ่นเฉพาะตัว หอมแรง ใบหยักลึกแบบขนนกสามชั้น ออกดอกเป็นช่อซี่ร่มตามปลายกิ่ง โคนแผ่เป็นกาบ สีอมม่วง ผลเป็นผลแบบผักชี พบแพร่กระจายในป่าดิบในเขตเขาสูงทางภาคกลางของจีน เช่น เสฉวน หูเป่ย กานซีจนถึงยูนนาน นอกจากนั้นยังมีปลูกในญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตังกุย

ตังเซียม

ตังเซียม (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือตานเซิน (ภาษาจีนกลาง) เป็นพืชอายุหลายปีในสกุล Salvia และเป็นพืชที่ใช้รากเป็นยาในตำรายาจีน เป็นพืชท้องถิ่นในจีนและญี่ปุ่น รากเปลือกนอกสีน้ำตาล หยาบเป็นรอยย่น ใช้เป็นยากระตุ้นการไหลเวียนเลือด ใช้รักษาฝี ตานเซิน มีสรรพคุณเกี่ยวกับโรคเลือดหลายๆ ด้านในทางศาสตร์แพทย์จีน จนได้รับฉายาว่า “ยาตัวเดียว สรรพคุณเหมือนยา 4 ตัว คือ ตำรับยา ชื่ออู้ทัง (四物汤) ทั้งตำรับซึ่งมีตัวยา 4 ตัวเลยทีเดียว”http://www.samluangclinic.com/index.php/blog/cat/Article_2010/post/Chinese_Medicine_0810/  กล่าวคือ ตำรับยา ซื่ออู้ทัง (四物汤) เป็นตำรับคลาสสิก เกี่ยวกับบำรุงเลือด และการปรับระบบเลือด ซึ่งครอบคลุมเรื่องของการบำรุงเลือด, สร้างเลือด, ขับเคลื่อนเลือด, สลายก้อนเลือด, ระงับอาการปวด (จากการอุดตันของเลือด) ตัวยาสำคัญของยาตำรับนี้คือ ตังกุย (当归), สูตี้ (.熟地.), ไป๋สาว (白芍), ชวนทรวง (川芎) ตานเซิน (丹参) ตัวเดียว มีสรรพคุณครอบคลุมทุกด้าน ตามตำรับยา ซื่ออู้ทัง ทุกประการ ในทางคลินิก จึงกล่าวถึงสรรพคุณหลักๆ ในการรักษาไว้ 4 ประการ                 1.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตังเซียม

ตาตุ่มทะเล

ตาตุ่มทะเล หรือมูตอ บูตา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Euphorbiaceae เปลือกลำต้นแตกเป็นร่องยาว สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ยางสีขาว มีพิษ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เมื่อแก่เป็นสีแดง ขอบใบหยักเล็กน้อย ผิวเรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อ ติดกันแน่น มีก้านเดียว แยกเพศและแยกต้นตัวผู้ตัวเมีย ดอกตัวผู้สีเหลือง ส่วนดอกตัวเมียสีเขียว เกสรตัวเมียเป็นตุ่ม ผลเดี่ยว เกือบกลม มีพูสามพู ผิวเหลือง สีเขียวอ่อนถึงน้ำตาล เป็นพืชที่พบทั่วไปตามป่าชายเลนตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลีย ยางถ้าเข้าตาทำให้ตาบอด ถ้ากินเข้าไปทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง ใบแห้งบดเป็นผงมีสารพิษมากพอที่จะใช้ฆ่าปลาได้ รากฝนผสมกับน้ำขิงใช้พอกแก้อาการบวมตามมือและเท้า แก่นเผาไฟให้หอม ใช้เป็นส่วนผสมในยาขับลม ฟอกเลือด ขับระดู.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตาตุ่มทะเล

ตานหม่อน

ตานหม่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vernonia elliptica DC. (Compositae)) ไม้เถาหรือไม้พุ่มเลื้อย ขึ้นแทรกในซอกหินตามหน้าผาชัน ลำต้น แตกกิ่งแขนงระเกะระกะ ห้อยระย้าลงมาตามหน้าผา กิ่งก้านเล็กเรียว มีสันตามยาว ขนสีเงิน ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีเงิน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีขาว ดอกเล็ก ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น เริ่มบานเป็นสีม่วง เมื่อโรยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม ออกที่ยอดหรือซอกใบ กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลแห้งมีต่อมใสๆ สีน้ำตาลอ่อน กระจายตามผิวผล มีขนเป็นพู่ติดรอบปลายผล ตานหม่อน จัดเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาทำเป็นยาขับพยาธิได้ ใช้เป็นยาแก้พิษตานซาง ใช้ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตานหม่อน

ตานเหลือง

ตานเหลือง, ช้างน้าว, กำลังช้างสาร หรือ ตานนกกด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ochnaceae ลำต้นคดงอ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง กิ่งก้านออกต่ำ ดอกสีเหลือง กลีบรองดอกสีแดงคล้ำ ผลกลม เป็นดอกไม้ที่เป็นที่นิยมมากทางภาคใต้ของเวียดนามและเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร รากใช้ขับพยาธิและฟอกน้ำเหลืองทางภาคอีสานใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้แก่นต้มน้ำดื่มแก้ประดง ชาวเขาเผ่ามูเซอใช้รากเป็นยาบำรุงกำลัง โดยตากแห้ง หรือดองเหล้า หรือต้มน้ำดื่ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตานเหลือง

ตำลึง

ตำลึง ((L.) Voigt) เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตำลึง

ตำลึงตัวผู้

ผลตำลึงตัวผู้ ตำลึงตัวผู้ อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก มีลำต้นเป็นหัวใต้ดิน ลำต้นเลื้อยพัน ดอกสีขาว ผลกลมรียาว สีเขียว สุกเป็นสีส้มแดง ไม่ควรนำมารับประทาน เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตำลึงตัวผู้

ตำเสา

ตำเสา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Theaceae ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาลมีรอยแตกตื้นๆ ใบเดี่ยว ด้านบนสีเขียวเข้มเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีสีอ่อนกว่า ขอบเรียบ ดอกเดี่ยว สีเหลืองนวล ดอกขนาดเล็ก ผลเดี่ยวกลม สีเหลือง เกลี้ยงหรือสากเล็กน้อย ขั้วผลสีน้ำตาล เมื่อสุกแตกออกเห็นเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดง พบในไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ เนื้อไม้ใช้การก่อสร้าง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตำเสา

ตำเสาหนู

ผล ทรงต้น ตำเสาหนู เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Sapindaceae เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง ตามความยาวของลำต้น ใบเดี่ยว เส้นกลางใบสีเขียวเหลืองนูนด้านหลังใบ ดอกช่อ กลีบดอกมีขนาดเล็ก ผลเดี่ยว มีปีก 2-3 พู ผลสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดเดียว ปลิวตามลมได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตำเสาหนู

ติ้วขน

ติ้วขน หรือ ผักติ้ว ภาษาลาวเรียก "ไม้ติ้ว" (ໄມ້ຕີ້ວ) ภาษามลายูเรียก "มัมปัต" (mampat) ภาษาเวียดนามเรียก "ถั่ญหงั่ญแด็ป" (thành ngạnh đẹp) เป็นไม้ผลัดใบขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทา เปลือกชั้นในมียางสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีชมพูอ่อนหรือแดง กลีบดอกบางสีชมพู ออกดอกในฤดูหนาว พบได้ตั้งแต่พม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ยอดและใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้ ยางและใบใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกใช้เป็นสีย้อมผ้า ให้สีน้ำตาล ในประเทศลาว ใช้เผาถ่าน และใช้กินเป็นผัก สารสกัดด้วยน้ำของติ้วขนสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของปลานิลโดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมสารสกัดจากติ้วขนในอัตราส่วน 1.5 % (w/w) จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (nonspecific immune response) สูงขึ้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และติ้วขน

ติ้วเกลี้ยง

ติ้วเกลี้ยง เป็นพืชในวงศ์ Hypericaceae ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายติ้วขน ต่างกันที่สีใบ ใบของติ้วเกลี้ยงเป็นสีเขียวออกเทา ดอกสีแดง มีต่อมสีเหลืองในชั้นของเกสรตัวผู้ พบในบรูไน จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและ เวียดนาม ใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับติ้วขน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และติ้วเกลี้ยง

ตีนนก

กิ่งของต้นตีนนก ต้นตีนนกในป่า ต้นตีนนก ตีนนก หรือสมอตีนเป็ด ลือแบ ชื่อสามัญอื่นๆของพืชนี้ได้แก่ ในศรีลังกาเรียก "Milla" ในอินโดนีเซียเรียกลาบัน ในเกาะสุลาเวสีเรียก "gulimpapa" ในพม่าเรียก "kyetyo po" ในมาเลเซียเรียกเลอบัน "leban" และในฟิลิปปินส์เรียก "molave" เป็นไม้ต้นในวงศ์ Lamiaceae ลำต้นแตกเป็นสะเก็ด เปลือกสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ใบประกอบแบบฝ่ามือ ดอกช่อ กลีบดอกสีน้ำเงินหรือสีม่วงเข้ม ผลเดี่ยวทรงกลม สุกแล้วเป็นสีม่วงเข้มจนเกือบดำ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ ใบใช้ตำแล้วพอกแผล ผลใช้แก้อาการบิด ไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตรและที่อยู่อาศั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตีนนก

ตีนเป็ดทราย

ผลตีนเป็ดทรายดิบในอินโดนีเซีย ตีนเป็ดทราย เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Apocynaceae ยางสีขาว รากแผ่กว้างเพื่อยึดกับทราย ใบยาวรี ค่อนข้างหนา ผิวเคลือบใบหนา ดอกสีขาว ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีแดง มีพิษ รับประทานไม่ได้ ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ชื่อสามัญของพืชนี้ในแต่ละถิ่นจะต่างกันไป ภาษาอังกฤษเรียก sea mango (ตรงตัว: มะม่วงทะเล), ในมาดากัสการ์เรียก tanguin samanta tangena, ในซามัวเรียก leva, ในตองงาเรียก toto, ในฟีจีเรียก vasa ส่วนในภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู และภาษาซุนดาเรียก bintaro.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตีนเป็ดทราย

ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ หรือ ตีนเป็ดทะเล (Suicide tree, Pong-pong, Othalanga) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ตุม (กาญจนบุรี), พะเนียงน้ำ หรือ สั่งลา (กระบี่), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส)เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มกลม ใบแน่น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกมีความสวยงาม มีสีขาว เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดี ต้องการแดดและความชื้นสูง สูงเต็มที่ประมาณ 12 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน พบจนถึงนิวแคลิโดเนีย มักขึ้นในป่าชายเลนหรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายทะเล ตีนเป็ดน้ำมีผลทรงกลม คล้ายผลส้ม มีสีเขียว แต่ทว่ามีพิษ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยางก็มีพิษ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารเคมีฆ่าเหาได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดแคระ

ตีนเป็ดแคระ เป็นพืชในสกุลพญาสัตบรรณ วงศ์ Apocynaceae เป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งมาก เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เส้นกลางใบด้านบนนูนเด่น และมีสีม่วงแดง โคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อ โคนกลีบดอกเป็นหลอดสีขาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ไม่มีกลิ่น ออกดอกเดือนมกราคม- มีนาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดพังงา โดย Curtis ใช้เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และตีนเป็ดแคระ

ต่อไส้

ต่อไส้ หรือ เพี้ยฟาน จ๊าตอง ตานขโมย เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Sapindaceae เปลือกแตกเป็นร่องเล็กๆ สีน้ำตาล ใบประกอบ สีเขียวอ่อน ดอกช่อสีเหลืองอมเขียว ก้านดอกย่อยสั้น ผลเดี่ยวกลม สุกแล้วเป็นสีแดง ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ยอดอ่อนใช้เป็นผักเหนาะ กินกับแกงและขนมจีน ชาวไทยอีสานใช้ทุกส่วนต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต ขับน้ำคาวปลา รากต่อไส้ใช้ผสมในยาแก้หอบหื.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และต่อไส้

ต่างไก่ป่า

ต่างไก่ป่า Buch.-Ham.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และต่างไก่ป่า

ต้อยติ่ง

thumb ต้อยติ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ruellia tuberosa) เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Acanthaceae เติบโตได้ดีทั้งกลางแจ้งและในร่ม ต้นเจริญเต็มที่สูง 6½ นิ้ว ใบกลมรี ตาแตกยอดได้สี่ข้าง ออกดอกสีม่วงน้ำเงินเฉพาะตอนฤดูฝน เมื่อผสมเกสรแล้วจะให้เมล็ด ประมาณ 25-32 เมล็ดอยู่ในฝัก เมื่อฝักแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ พอฝักโดนน้ำ (โดยธรรมชาติคือน้ำฝน) ก็จะแตกออกทำให้เมล็ดกระเด็นไปตกที่อื่น ซึ่งเป็นเทคนิคของการขยายพันธุ์ (เด็ก ๆ ชอบเล่นโดยนำฝักแก่ใส่ลงในน้ำให้แตก) ชื่ออื่นที่เรียกเช่น อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ, minnieroot, popping pod, cracker plant เป็นต้น รากของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยารักษาโรคไต โรคไอกรน หรือแม้แต่เป็นยาขับเลือด ถ้าใช้ในปริมาณที่เจือจางก็สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ ส่วนใบของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ หรือใช้พอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ แต่ต้อยติ่งมักจะถูกถอนทิ้งเพราะคนคิดว่าเป็นวัชพืช สรรพคุณของต้อยติ่ง สรรพคุณต้นต้อยติ่ง รากช่วยรักษาโรคไอกรน (ราก) รากใช้เป็นยาขับเลือด (ราก) รากต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไตได้ (ราก) สรรพคุณต้อยติ่งฝรั่ง รากช่วยดับพิษในร่างกาย (ราก) ช่วยทำให้อาเจียน (ราก) สรรพคุณต้อยติ่ง ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ) รากหากนำมาใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยจำกัดสารพิษในเลือดได้ (ราก) ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ (ราก) ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ (ราก) ใบใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ (ใบ) เมล็ดใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ (เมล็ด) เมล็ดใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ (เมล็ด) เมล็ดมีสรรพคุณช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เมล็ด) สรรพคุณสมุนไพรต้อยติ่ง เมล็ดช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (เมล็ด) ต้อยติ่งทั้งต้นเอาชนิดที่ไม่แก่ ดอกยังไม่ร่วงโรย นำมาถอนเอาทั้งรากไม่ให้รากขาดและอย่าให้เมล็ดแตก ประมาณ 4-5 ต้น แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด โขลกค้นเอาแต่น้ำมาดื่ม ตะช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาชา ร้าวลงได้ ซึ่งใช้เวลาในการรักษาเพียง 7 วันก็หาย (ทั้งต้น) รากใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อ (ราก) ประโยชน์ของต้อยติ่ง ฝักใช้เป็นของเล่นของเด็กๆ ด้วยการสะสมฝักแก่จัด (สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ) เก็บไว้ในที่แห้งเมื่อมีโอกาสก็นำมาจุ่มน้ำ (หรือน้ำลาย) แล้วเอาไปโยนใส่เพื่อนๆ สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกดังแป๊ะ พร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้เพื่อนตกใจหรือเจ็บคันๆ หรือบางครั้งก็แอบไปใส่ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง หรือแม้แต่คอเสื้อ ซึ่งแม้จะรู้ตัวแต่ก็มักจะเอาออกไม่ทัน ฝักก็จะแตกออกเสียก่อน (ฝัก).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และต้อยติ่ง

ต้นไม้พ่นควัน

ต้นไม้พ่นควัน เป็นพืชในวงศ์ Urticaceae เป็นไม้พุ่ม ผลัดใบ ดอกสีเขียวอมขาว ดอกช่อ มีริ้วประดับ เมื่อดอกตัวผู้บานจะปล่อยละอองเรณูออกมาทำให้ดูเหมือนควันบุหรี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และต้นไม้พ่นควัน

ฉัตรพระอินทร์

รรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลที่เกิดจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก แก้คันจากกลากเกลื้อน หมวดหมู่:สมุนไพรไทย หมวดหมู่:วงศ์กะเพร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และฉัตรพระอินทร์

ซากัวโร

อกซากัวโร ซากัวโร (Saguaro) เป็นพืชอวบน้ำจำพวกกระบองเพชรหรือแคกตัสที่มีขนาดใหญ่ เป็นชนิดที่สูงที่สุดของกระบองเพชรที่พบในสหรัฐอเมริกา คำว่า "ซากัวโร" มาจากภาษาสเปน ซึ่งยืมมาจากภาษามาโยอีกทีหนึ่ง เป็นพืชเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Carnegiea พบทางตอนใต้ของแอริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และทะเลทรายโซนอรันทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก เมื่อต้นสูงขึ้น จะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นรูปช่อเชิงเทียน สูงได้ถึง 12 เมตร แต่เพิ่มความสูงได้ช้า ประมาณ 30–50 ปีจึงสูงได้ 1 เมตร ออกดอกตามลำต้นและกิ่งสาขา มีผึ้งและแมลงช่วยผสมเกสร ผลสดเนื้อสีแดง เมล็ดสีดำรับประทานได้ ผลซากัวโรที่รับประทานได้ ซากัวโร ได้รับฉายาว่า "ราชาทะเลทราย" เนื่องจากเป็นพืชที่หายากและมีความโดดเด่น มีความสูงประมาณ 12–18 เมตร อายุยืนราว 150–200 ปี พบได้ตั้งแต่ทะเลทรายในพื้นที่ราบจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,220 เมตร หากพบสูงกว่านี้จะพบได้ตามไหล่เขาที่มีแสงแดดส่องถึงเพื่อลดอุณหภูมิความหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว โดยมากซากัวโรจะมีลำต้นแบบลำต้นเดียว บางต้นอาจแตกแขนงออกด้านข้าง แต่มักเป็นต้นที่มีอายุเกิน 50–70 ปี อาจมีแขนงเดียวหรือหลายแขนงก็ได้ และเมื่อโตถึงระดับหนึ่งบนยอดบนสุดจะแตกออกเป็นพุ่มขึ้นไป แต่ทว่าบางต้นอาจจะขยายออกด้านข้างลักษณะแผ่ออกคล้ายหงอน ซึ่งซากัวโรลักษณะแบบนี้ถูกเรียกว่า "คริสเตด" หรือ "คริสเตดซากัวโร" ซึ่งปกติวัดความกว้างได้ 09–1.5 เมตร และหาได้ยากมาก เท่าที่รับทราบในปัจจุบันนี้มีเพียงประมาณ 2,000 ต้นเท่านั้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดซากัวโรลักษณะนี้ บ้างก็เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ บ้างก็เชื่อว่าเกิดเพราะยอดบนโดนฟ้าผ่า และบ้างก็เชื่อว่าเกิดเพราะอุณหภูมิความหนาวเย็นในฤดูหนาวทำให้เกิดความผิดปกติในการเติบโตขึ้นมา ชาวอินเดียนแดงเผ่าปาปาโกรับประทานเป็นผลไม้สด ชาวโตโฮโนและชาวโอออดแฮมฉลองการเริ่มต้นฤดูร้อนด้วยเครื่องดื่มที่ทำจากผลซากัวโร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และซากัวโร

ประยงค์

ประยงค์ เป็นไม้ในวงศ์ Meliaceae อยู่ในสกุลเดียวกับลางสาด ลองกอง ใบมีสีเขียวเข้ม หนา มีใบย่อย 5 ใบ ใบรูปร่างโค้งมนปลายแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาดเล็กรูปร่างเป็นเม็ดกลม ๆ มี 20-30 ดอกต่อช่อ ดอกมีสีเหลือง พบในกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย พม่า ไต้หวัน ไทย เวียดนาม และอาจจะมีในลาว ในประยงค์มีสารออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น สารกลุ่ม Cyclopentabenzofuran ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร Rocaglamide, Odorine, Aglain, Lignanes และ Triterpenes สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้ สารสกัดด้วยน้ำจากกิ่งอ่อนยับยั้งการเจริญเติบโตของผักโขมและหญ้าข้าวนกได้ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำดอกไปแช่น้ำใช้ลดไข้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และประยงค์

ประทัดสุเทพ

ประทัดสุเทพ เป็นพืชในสกุลประทัดดอย วงศ์ Ericaceae มีรากสะสมอาหาร ใบเดี่ยว ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกตามกิ่งแก่ กลีบดอกรูปหลอดแคบ ปลายป่อง ผลขนาดเล็ก ทรงกลม ออกดอกช่วงพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ พบครั้งแรกที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นไม้หายากและใกล้สูญพันธ์ พบในป่าดิบเขาทางภาคเหนือตอนบน พบครั้งแรกโดย ดร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และประทัดสุเทพ

ปอบิด

ปอบิด (East Indian screw tree) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก มะบิด (ภาคเหนือ) ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง) นาคพต มะปิด ในตำรายาไทยสามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรสำหรับรักษาโรคได้หลายชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปอบิด

ปอสา

ปอสา เป็นพืชในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว แผ่นใบสากมือเล็กน้อย ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อหางกระรอก ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจุกแน่น ผลกลม สีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดสีแดง ยาง ราก ใบ และเปลือกลำต้น ผู้ที่แพ้เมื่อรับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง เปลือกลำต้นใช้ทำกระดาษเรียกกระดาษสา เส้นใยจากเปลือกใช้ทำผ้าตาปาซึ่งใช้ในฟิจิ ตองกา ซามัว และตาฮีตี Royal Botanic Gardens, Kew.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปอสา

ปอทะเล

ปอทะเล เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักถี่ ใต้ใบมีขนอ่อน ๆปกคลุม ดอกสีเหลือง บานตอนสาย พอตกเย็นจะกลายเป็นสีแดงแล้วหลุดร่วงไป ผลแห้ง แตก พบปอทะเลในบริเวณรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปอทะเล

ปอต่อม

ปอต่อม เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Malvaceae ใบเดี่ยว ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล ไม่มีขน ที่ก้านใบมีต่อมรูปรีหรือกลม ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในมีสีม่วงเข้มหรือสีแดงเลือดหมู ผลรูปไข่ แห้งแล้วแตกตามยาว เป็นพืชมีเส้นใย เหนียว ใช้ทำเป็นเชือกมั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปอต่อม

ปอเต่าไห้

ปอเต่าไห้ หรือพญาไม้ผุ ปอตับเต่า พันไฉน เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยในวงศ์ Thymelaeaceae ลำต้นแตกขึ้นเป็นจำนวนมากจากใต้ดิน ลำต้นและกิ่งมีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลสดรูปไข่ พบตามป่าเต็งรังทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ พบครั้งแรกในไทย ใช้เป็นยาสมุนไพร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปอเต่าไห้

ปัตตาเวีย (พืช)

ปัตตาเวีย (Peregrina, Spicy Jatropha) เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มค่อนข้างสูงโปร่ง เปลือกสีเปลือกต้นสีน้ำตาลเทา กิ่งอ่อนสีน้ำตาลแดง มีจุดหายใจสีน้ำตาลประทั่วไปที่ลำต้นและกิ่ง แตกกิ่งก้านมากและมักโค้งลงสู่พื้นดิน การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ก้านใบยาว ใบเดี่ยวทรงรีถึงรีแกมไข่กลับ ปลายใบแหลมเรียวยาวคล้ายหาง โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสีเขียวอมแดง ปลายใบโค้งมนมีติ่งหาง โคนใบสอบเรียวมีหนามอ่อนเกาะติดอยู่ประมาณ 4-6 อัน ดอกสีแดง ชมพู ชมพูม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกออกเป็นช่อที่บริเวณปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ดอกทยอยบาน ผลรูปไข่ มีสามพู เมื่อสุกสีแดงสด เมื่อแก่แห้งแล้วแตกดีดเมล็ดออกจากผล เมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาล ปัตตาเวียแดง ปัตตาเวียเป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้บวมแดง เป็นแผลพุพอง เข้าตาทำให้ตาบอด ผลถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด นิยมใช้เป็นไม้ประดับในพื้นที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน หรือได้รับแสงเต็มที่ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปัตตาเวีย (พืช)

ปีบ

ปีบ หรือ กาสะลอง ในภาษาไทยถิ่นเหนือ เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 เมตร มีดอกรูปแตรสีขาวหอมอ่อน ๆ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปีบยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปีบ

ปีบทอง

ปีบทอง, อ้อยช้าง หรือ กาสะลองคำ (ชื่ออื่น: กากี, สำเภาหลามต้น, จางจืด, สะเภา) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) สูงประมาณ 10 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นประเภทใบประกอบแบบ 2-3 ชิ้น ใบย่อยรูปไข่ปลายใบแหลม ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น พบตั้งแต่พม่าตอนใต้ไปจนถึงเกาะไหหลำ ดอกมีสีเหลืองอมส้มหรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5-10 ดอก บานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีม่วงแดง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26-40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก ปีบทองเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดเชียงราย และเป็นเป็นพรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (เรียกว่า "กาสะลองคำ") และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (เรียกว่า "ปีบทอง").

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และปีบทอง

ป่านรามี

ป่านรามี (Ramie) เป็นพืชในวงศ์ Urticaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบมีขนสีเงิน ทำให้บางครั้งเรียกว่าป่านรามีขาว ซึ่งจะต่างจากป่านรามีอีกสปีชีส์หนึ่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู ใบจะมีขนาดเล็กกว่าและมีสีเขียวทั้งสองด้านเรียกป่านรามีเขียว คำว่ารามีมาจากภาษามลายูโบราณ ป่านรามีเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นพืชให้เส้นใย ในเวียดนามมีขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว เนื้อขนมเป็นสีดำเพราะใส่น้ำคั้นจากใบป่านรามี ทำให้มีสีและกลิ่นเฉพาะ ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวในเวียดนาม เรียก Bánh gai แป้งชั้นนอกสีเข้มเพราะใส่น้ำคั้นจากใบป่านรามี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และป่านรามี

นมพิจิตร

นมพิจิตรหรือนมหมู ลิ้นเหี้ย เป็นพืชในวงศ์ Asclepiadaceae เป็นไม้เถาเลื้อยลำต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เป็นใบหนา อวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็ก 5 แฉก สีขาวนวลหรือสีชมพูอ่อน เกสรตัวผู้รูปมงกุฎอยู่ตรงกลางดอก ผลเดี่ยว เป็นฝักยาว เมล็ดแบนรูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย ใช้เป็นไม้ประดับ ดอกนมพิจิตร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และนมพิจิตร

นารา (พืช)

นารา เป็นไม้พุ่มมีหนามในวงศ์แตง พบในทะเลทรายนามิบ กิ่งก้านยืดยาว ไม่มีใบแต่มีหนามเป็นจำนวนมาก รากขนาดใหญ่ หยั่งลึกลงในดินได้ถึง 15 เมตรเพื่อดูดน้ำ มีเปลือกนอกที่แข็ง ผลสามารถรับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และนารา (พืช)

นางแย้มป่า

นางแย้มป่า, พนมสวรรค์ป่า หรือ พวงสวรรค์ เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae เป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ในไทย ไม้พุ่ม มีขนสั้นหนานุ่มปกคลุม กิ่งเป็นเหลี่ยม ดอกช่อ กลีบเลี้ยงรูประฆัง เกสรตัวผู้ 4 อัน ยื่นยาวพ้นกลีบดอก ผลเมล็ดเดียวแข็ง สีขาว กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน เกาะสุมาตราจนถึงฟิลิปปินส์ ในคาบสมุทรมลายูใช้เปลือกลำต้นกินแทนหมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และนางแย้มป่า

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นแผ่ไปตามดิน ลำต้นและใบมีขน ยางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบเดี่ยว ออกตามข้อเป็นคู่ ดอกออกระหว่างใบกับลำต้น ช่อแบบกระจุก ผลกลม แก่แตกเป็น 3 ซีก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ในทางสมุนไพร น้ำนมราชสีห์ทั้งต้นมี มีรสขม ทำให้เกิดน้ำนม ต้นตากแห้งแล้วคั่วนำมาขงน้ำมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ สรรพคุณแก้ไข้จับสั่น อักเสบ ผื่นคัน ยางใช้กัดหูด และยังใช้รักษา บิด ขับปัสสาวะ แก้หืด ผื่นคัน หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด หูดตาปลา ถ่ายพยาธิ องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของน้ำนมราชสีห์ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ โพลีฟีนอล แทนนิน ไตรเทอร์พีน ไฟโตสเตอรอล มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด สารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้ง Bacillus cereus และ Pseudomonas aeruginosa ได้ดี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และน้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ทะเล

น้ำนมราชสีห์ทะเล เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Euphorbiaceae ปกติจะคืบคลานไปตามพื้นดิน เมื่อมีความหนาแน่นสูงจึงจะยกต้นขึ้น มียางสีขาวข้น ลำต้นสีเขียวหรือเขียวอมม่วง อวบน้ำ ใบเดี่ยว สีเขียวเรียบเป็นมัน หลังใบสีเขียวขาว ดอกช่อเป็นกระจุก ออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก สีเขียว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลเดี่ยวกลม ปลายผลกว้าง ส่วนขั้วเรียวดูคล้ายลูกข่าง เป็นพืชคลุมดินในบริเวณชายหาด ช่วยยึดเกาะเม็ดทรายไม่ให้ปลิวตามลม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และน้ำนมราชสีห์ทะเล

น้ำนมราชสีห์เล็ก

น้ำนมราชสีห์เล็ก เป็นไม้ล้มลุก แผ่ติดดิน ก้านใบสีออกแดง ใบเดี่ยว ฐานใบเบี้ยวเล็กน้อย ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น สีม่วงอมแดง ใบและเมล็ดเป็นยาแก้ท้องเสีย กลากเลื้อน ทั้งต้นใช้บำรุงน้ำนม ยางสดใช้รักษาแผล สาระสำคัญคือฟีโนลิก ไฮโดรไลซ์แทนนิน ฟลาโวนอยด์ และสเตียรอยด์ สารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้ง Escherichia coli และ Staphylococcus aureus.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และน้ำนมราชสีห์เล็ก

น้ำเต้า

น้ำเต้า คือพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลแตง อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae น้ำเต้ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ เป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียว พบได้ในทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าทรงเซียน นิยมทำเป็นเครื่องประดับ น้ำเต้าขมไม่นิยมปลูกหาได้ยาก ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อทำเป็นยาเท่านั้น ในทางสมุนไพรชาวอินเดียจะใช้ผลของน้ำเต้าในการประกอบอาหารให้ผู้ช่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับประทาน และในประเทศจีนมีการรับประทานน้ำเต้าเพื่อควบคุมเบาหวาน สรรพคุณเป็นยาเย็นและชื้น มีประโยชนสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและชร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และน้ำเต้า

น้ำเต้าต้น

น้ำเต้าต้น (Calabash Tree) เป็นพืชในวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และน้ำเต้าต้น

แพร์

แพร์ (European Pear)เป็นผลไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรป โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่าได้มีการนำแพร์ที่เป็นพืชป่ามาปลูกเป็นพืชสวน จากหลักฐานในยุโรปสมัยยุคหินใหม่และยุคบรอนซ์ การปลูกแพร์มีบันทึกในเอกสารของกรีกโบราณและจักรวรรดิโรมัน เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดผลใกล้เคียงกับแอปเปิล เปลือกบาง สุกแล้วเนื้อนิ่มมาก ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวและหวานหอม เป็นพืชคนละสปีชีส์กับสาลี่ แพร์เองแบ่งได้เป็นหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมในตลาดมากที่สุดคือ Williams pear หรือเรียกว่า Bartlett ในสหรัฐและแคนาดา เปรียบเทียบแพร์ 8 สายพันธุ์จากซ้ายไปขวาคือ Williams' Bon Chrétien (ในสหรัฐเรียก Bartlett), พันธ์ Bartlett สีแดงสองแบบ, d'Anjou, Bosc, Comice, Concorde, และ Seckel.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแพร์

แพงพวยฝรั่ง

'' Catharanthus roseus'' แพงพวยฝรั่ง เป็นพืชดอกถิ่นเดียวของประเทศมาดากัสการ์ ในธรรมชาติอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะการถางและเผาเพื่อการเกษตรกรรมDrugDigest: แต่อย่างไรก็ตามมันกลับได้รับการปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในพื้นที่เขตร้อนทั่วโลก แพงพวยฝรั่งเป็นไม้ไม่ผลัดใบพุ่มเตี้ยหรือพืชโตชั่วฤดูสูงประมาณ 1 ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแพงพวยฝรั่ง

แกแล

แกแล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Maclura cochinchinensis Corner) มีเกิดตามป่าโปร่งทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ มีชื่ออื่น แกก้อง (แพร่) แกแล สักขี เหลือง (กลาง) แกล แหร (ใต้) เข (นครราชสีมา) ช้างงาต้อก (ลำปาง) น้ำเคี่ยโซ่ (ปัตตานี) หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์) กะเลอะเซอะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย แกแลเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ตามเถามีหนามตลอดเถา เนื้อไม้สีค่อนข้างขาว มียางขาว เปลือกลำต้นสีเทา แก่นเป็นสีเหลือง ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1 - 3.5 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแกแล

แก้ว (พรรณไม้)

แก้ว (Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแก้ว (พรรณไม้)

แก้งขี้พระร่วง

แก้งขี้พระร่วง (ตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบที่แรก คือ ติมอร์) เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae หรือวงศ์กัญชา เป็นไม้ยืนต้นที่เนื้อไม้มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นอุจจาระ มีตำนานเล่าไว้ว่าเมื่อพระร่วงหนีขอมจากละโว้ไปสุโขทัยนั้น เมื่อลงพระบังคนหนักแล้วหักกิ่งไม้มาชำระ เสร็จแล้วได้สั่งให้ไม้เป็นขึ้น ไม้นั้นได้แตกกิ่งใบกลายเป็นต้นแก้งขี้พระร่วงนี้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามถิ่นว่า ตะคาย, มะหาดน้ำ, เยื้อง, หมอนดง ในภาคกลาง ภาคใต้เรียกว่า ตายไม่ทันเฒ่า จังหวัดนครราชสีมาเรียก ขี้พระร่วง, มันปลาไหล จังหวัดน่านเรียก เช็ดก้นพระเจ้า จังหวัดเชียงใหม่เรียก เช็ดขี้พระเจ้า จังหวัดลำปางเรียก แก้งขี้พระร่วง ที่จังหวัดสุโขทัยเรียก ไม้เช็ดตูดพระร่วง ทั้งนี้เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระ ต้นแก้งขี้พระร่วงที่เวียดนาม แก้งขี้พระร่วง พบในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฟิลิปปินส์ จนถึงเกาะคริสต์มาส และออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปัจจุบันเป็นไม้หายาก พบได้ในป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ในกลางปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแก้งขี้พระร่วง

แมกโนลิด

แมกโนลิด หรือ Magnoliids (หรือMagnoliidae) เป็นกลุ่มของพืชมีดอกประมาณ 9,000 ชนิด เช่น จำปี จำปา จันทน์เทศ อบเชย อาโวกาโด พริกไทย และอื่นๆ พืชเหล่านี้ ละอองเรณูมีช่องเปิดช่องเดียว ใบเรียงเวียน ดอกแบบ trimerous flower.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแมกโนลิด

แมคาเดเมีย

แมคาเดเมีย (macadamia) เป็นไม้ยืนต้นจำพวกหนึ่งที่อยู่ในวงศ์เหมือดคน (Proteaceae) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Macadamia integrifolia แม้ว่าแมคาเดเมียจะมีลักษณะเหมือนถั่ว แต่มันกลับไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เพราะไม่ได้อยู่ในวงศ์ Fabaceae แต่ถึงอย่างไรก็ตามมันก็เป็นต้นไม้ประเภทนัทที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากและมีราคาสูง ต้นไม้ชนิดนี้จะให้ผลดีก็ต่อเมื่อปลูกบนพื้นที่ค่อนข้างสูงเท่านั้น แมคาเดเมียเป็นพืชหนึ่งในเก้าสายพันธุ์ของดอกพืชในวงศ์ Proteaceae ซึ่งมีอยู่ตามพื้นที่ทางภาคตะวันออกของออสเตรเลีย นิวแคลิโดเนียและ สุลาเวสี ในอินโดนีเซี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแมคาเดเมีย

แมงลักคา

แมงลักคาหรือแมงลักป่า เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Lamiaceae ผิวลำต้นเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนสีขาวสั้นปกคลุม เมื่อจับรู้สึกเหนียวติดมือ มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว ผิวใบสีเขียวมีขนนุ่ม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกช่อ กลีบเลี้ยงสีเขียวเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้สีเหลืองโผล่สูงเสมอช่อดอก ผลเดี่ยว สีเขียว โดยมีกลีบเลี้ยงรองรับ สุกแล้วเป็นสีดำ กิ่งและใบทุบแล้ววางในเล้าไก่เพื่อไล่ไรไก่ และเป็นพืชที่มีฤทธิ์ฆ่าแมลง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแมงลักคา

แมแหมะ

แมแหมะ เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผิวเกลี้ยง มีน้ำยางเปลือกสีเทาหยาบ ดอกช่อ ผลเป็นแคปซูลค่อนข้างกลม มีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด การกระจายพันธุ์พบทางภาคใต้ของไทยและหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่พบในเกาะนิวกินี เปลือกลำต้นและใบใช้ย้อมหวาย เสื่อ และผ้าฝ้ายให้เป็นสีดำ รากและใบใช้แก้ไข้ ใบใช้ถ่ายพยาธิในสัตว์ ในซาบะฮ์ใช้ผลรักษาแผล ปลายยอดของต้นที่สูงประมาณ 1 เมตร ถ้ารับประทานทำให้แท้งลูก น้ำยางมีพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแมแหมะ

แย้มปีนัง

แย้มปีนัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strophanthus gratus (Wallich & Hook. ex Benth.) Baillon) มีชื่อพื้นเมือง เช่น บานทน และ หอมปีนังเป็นไม้ที่มีดอกหอมแรง แย้มปีนังเป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งมาก ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน ใบดกทึบ ค่อนข้างหนา ผิวเรียบมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวปนม่วง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 5-20 ดอก กลิ่นหอม กลีบดอกสีม่วงแกมชมพู เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ผลเป็นฝัก รูปเรียวยาว เมล็ดสีน้ำตาล มีขน ขึ้นง่ายในดินทั่วไป ออกดอกตลอดปี หากปลูกในที่ร่มมากจะกลายเป็นไม้เลื้อยได้ เมล็ด มีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ คือสาร ouabain มีความเป็นพิษสูงไม่ควรรับประทาน หากเข้าสู่ร่างกาย ทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรง และเร็ว ต้องรีบทำให้อาเจียน และนำส่งโรงพยาบาลทันที.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแย้มปีนัง

แววมยุรา

แววมยุรา เป็นพืชไม้ดอกล้มลุก สูงประมาณ 15-50 เซนติเมตร จะมีสีดอกหลายสี ทั้งสีแดง สีชมพู สีม่วงเข้ม สีม่วงอ่อน โคนกลีบจะมีสีขาว กลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง จะออกเป็นช่อ กระจายตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ปลายแยกเป็น 5 แฉก จะมีขนาดไม่เท่ากัน ดอกจะบานทุกฤดูกาล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแววมยุรา

แสมแดง

''Aegiceras corniculatum'' แสมแดง หรือเล็บมือนาง เล็บนาง เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Myrsinaceae โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เปลือกเรียบสีเทาเข้มถึงน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเป็นมัน ท้องใบสีเขียวอมแดง ดอกช่อ ออกตามซอกใบเป็นช่อแบบซี่ร่ม มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นทรงกระบอก เรียวโค้ง ยาว 5-8 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแสมแดง

แห้วประดู่

แห้วประดู่ เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Leguminosae ต้นตั้งตรง มีกิ่งน้อยหรือไม่มี มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม โคนต้นใต้ดินเกิดเป็นหัวรูปยาว ใบประกอบ หูใบเป็นแบบเส้นด้าย ก้านใบมีขนแข็งและหยาบปกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อน บางครั้งมีแถบสีม่วง ผลเป็นฝักรูปข้อ แก่แล้วแตก สีออกดำ พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน หัวรับประทานได้ มีแป้ง 30% ของน้ำหนักแห้ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแห้วประดู่

แอฟริกันไวโอเล็ต

แอฟริกันไวโอเล็ต (African Violet หรือ Saintpaulias)เป็นพืชในวงศ์ Gesneriaceac มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามแถบภูเขาในทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย และทางตอนใต้ของเคนยาในประเทศแอฟริกา พบครั้งแรกที่แทนซาเนีย เมื่อปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแอฟริกันไวโอเล็ต

แอสเทอริด

แอสเทอริด (asterids) เป็นเคลดของพืชมีดอกในระบบ APG II พืชส่วนใหญ่ในเคลดนี้อยู่ใน Asteridae ในระบบ Cronquist และ Sympetalae ในระบบก่อนหน้านี้ สมาชิกประกอกด้ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแอสเทอริด

แอปเปิล

ต้นแอปเปิล (apple) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษคือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทางศาสนาและเทพปกรณัมในหลายวัฒนธรรม รวมถึงนอร์ส กรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป ต้นแอปเปิลจะมีขนาดใหญ่หากเติบโตจากเมล็ด แต่จะมีขนาดเล็กถ้าถูกตัดต่อเนื้อเยื่อเข้ากับราก ปัจจุบันมีแอปเปิลที่พันธุ์ปลูกมากกว่า 7,500 ชนิด ทำให้แอปเปิลมีลักษณะพิเศษหลากหลาย พันธุ์ปลูกแต่ละพันธุ์จะมีรสชาติแตกต่างกัน และการนำไปใช้ต่างกันด้วย เช่น นำไปประกอบอาหาร กินดิบ ๆ หรือนำไปผลิตไซเดอร์ ปกติแอปเปิลจะแพร่พันธุ์ด้วยการตัดต่อเนื้อเยื่อ แต่แอปเปิลป่าจะเติบโตได้เองจากเมล็ด ต้นแอปเปิลและผลแอปเปิลอาจประสบปัญหาจากจากเห็ดรา แบคทีเรีย และศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจควบคุมได้ด้วยวิธีการทางเกษตรอินทรีย์และอนินทรีย์หลายวิธี ใน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแอปเปิล

แครนเบอร์รี

แครนเบอร์รี (cranberry) อยู่ในกลุ่มไม้พุ้มแคระไม่ผลัดใบหรือมีลำต้นเป็นเถายาว (trailing vine) ในจีนัสย่อย Oxycoccus ในจีนัส Vaccinium พบในพรุที่เป็นกรดตลอดบริเวณหนาวในซีกโลกเหนือ แครนเบอร์รีจะให้สารอาหารดังนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแครนเบอร์รี

แคสันติสุข

แคสันติสุข เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Bignoniaceae ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกรูประฆังสีขาวอมชมพู ปลายกลีบหยักเว้าและย่น ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก แห้งแล้วแตก เมล็ดแบนและมีปีกบางๆ ออกดอกเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อ 16 กุมภาพัน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแคสันติสุข

แคทะเล

แคทะเล เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Bignoniaceae เปลือกแตกเป็นร่องเล็ก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ผิวใบเรียบ ใบมัน ใบอ่อนออกสีเขียวอมแดง แก่แล้วเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ บานไม่พร้อมกัน ช่อดอกสั้น ดอกเป็นถ้วยปากแตรสีขาว ปลายกลีบดอกเป็นหยัก เกสรตัวผู้ 4 อัน ยาวไม่เท่ากัน ออกดอกตลอดปี ผลเดี่ยว ยาว ค่อนข้างแบน เมื่ออ่อนสีเขียวอมม่วง แก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแคทะเล

แคนตาลูป

แคนตาลูป (cantaloupe) หรือเรียกกันว่า แตงแคนตาลูป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแคนตาลูป

แตงพะเนินทุ่ง

แตงพะเนินทุ่ง เป็นไม้เถาในวงศ์ Cucurbitaceae เถาปกคลุมด้วยขนสากแข็ง สีน้ำตาลหรือเทา ใบเดี่ยว เว้าลึกเป็นห้าแฉก ผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกสีขาว ผลเดี่ยว ทรงกระบอก สุกแล้วเป็นสีเขียว มีแถบสีขาวตามยาวของผล เมล็ดแบน พบครั้งแรกที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยนายพงษ์ศักดิ์ พลเสนา เมื่อ 25 กันยายน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแตงพะเนินทุ่ง

แตงกวาอาร์มีเนีย

แตงกวาอาร์มีเนีย (Armenian cucumber; acur; var. flexuosus) เป็นพืชที่มีผลยาว ผอมและมีรสชาติคล้ายแตงกวา แต่เป็นสายพันธุ์หนึ่งของแตงไทย (C.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแตงกวาอาร์มีเนีย

แตงกวาต้น

แตงกวาต้น เป็นพืชชนิดเดียวในวงศ์แตงที่เป็นไม้ยืนต้น อยู่ในเผ่า Coniandreae Dendrosicyos เป็นกลุ่มหลักภายในเผ่าโดยเป็นพี่น้องกับสกุลอื่นๆในเผ่าเดียวกัน พบในเกาะโซโคตรา ประเทศเยเมน เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นพองออก อวบใหญ่ เก็บน้ำได้ทั้งใบ ต้น และกิ่งก้าน พืชนี้มีสารเดนโดรไซซินซึ่งเป็นสารที่คล้ายกับคิวเคอร์บิทาซินแต่มีโครงสร้างเป็นวงที่แปลกไป.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแตงกวาต้น

แตงไทย

แตงไทย (Muskmelon) อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae ทางภาคเหนือเรียก แตงลายหรือมะแตงสุก ภาคอีสานเรียก แตงจิงหรือแตงกิง ภาษาเขมรเรีบกซกเซรา ภาษากะเหรี่ยงเรียก ดี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยไปถึงแหลมโคโมริน นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแตงไทย

แซะ

ต้นแซะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Callerya atropurpurea Benth; ชื่ออื่น: กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศฺ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกลำต้นเรียบ ผิวสีน้ำตาลหรือเทา มีพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ทรงดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีแดงแกมม่วงทึบ เกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลเดี่ยว ผลอ่อนแบน เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก มี 1-3 เมล็ด แซะขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ถิ่นกำเนิดอยู่ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแซะ

แปบ

แปบ เป็นพืชในสกุลมะม่วง วงศ์ Anacardiaceae พบในกัมพูชา เวียดนามและภาคใต้ของประเทศไท.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแปบ

แปะเจียก

แปะเจียก ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือไป๋เสาในภาษาจีนกลาง เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุลโบตั๋น เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ตั้งแต่ทิเบตตะวันออกไปจนถึงภาคเหนือของจีนและไซบีเรียตะวันออก ดอกขนาดใหญ่และกลม บานแล้วมีกลิ่นหอม เมื่อบานดอกมีทรงเหมือนถ้วย กลีบดอกสีชมพู เกสรสีเหลือง พืชชนิดนี้ใช้เป็นยาสมุนไพรในจีน รากด้านนอกเป็นสีน้ำตาลแดงอ่อนหรือขาว ใช้เป็นยาบำรุงตับ รากที่ปอกเปลือกออกแล้วใช้เป็นยาบำรุงเลือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแปะเจียก

แป๊ะตำปึง

แป๊ะตำปึง หรือ ว่านกอบ เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae เป็นไม้เลื้อยทอดตามพื้นดิน พบในฟิลิปปินส์ คาบสมุทรมลายู ไทย และคาบสมุทรอินโดจีน ลำต้นอวบน้ำ มียางใส ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอก ผิวใบหนามัน เนื้อใบขรุขระ ดอกช่อ ริ้วประดับมีสีเขียวรูปทรงกระบอกหุ้ม กลีบดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง ก้านชูเกสรเพศเมียยาว แยกเป็น 2 แฉก มีลักษณะเป็นฝอยชูทั่วช่อดอกกระจุก ชาวไทลื้อและชาวไทยในภาคเหนือนำยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักรับประทานกับลาบ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซียนำใบสดไปใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และแป๊ะตำปึง

โพศรี

รี เป็นพืชในวงศ์ยางพารา เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น สามารถพบได้ในบริเวณเขตร้อนอย่างในป่าแอมะซอน อเมริกาใต้ อินเดียรวมไปถึงประเทศไทย เปลือกลำต้นมีหนามสีน้ำตาลซึ่งหนามเหล่านี้ทำให้มันถูกตั้งฉายาว่าลิงไม่ปีน Monkey no-climb โพศรีสามรถสูงได้ถึง 60 เมตร มียางสีใส่ ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อที่ยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผลกลมแป้นปลายแหลมเป็นจะงอยคล้ายฝักทองในผลมีเมล็กคล้ายเมล็ดถั่วปากอ้า ยางเข้าตาทำให้ตาบอด ผลและเมล็ดถ้ารับประทานทำให้ปวดศีรษะ อาเจียน ชักและเป็นอัมพาต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโพศรี

โพธิ์ขี้นก

ี้นก หรือโพตัวผู้ หรือโพประสาท เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ปลายใบมีติ่งแหลม ดอกช่อ ออกตามซอกใบตามปลายกิ่ง ดอกเจริญอยู่บนฐานรองดอก ดอกตัวผู้อยู่ใกล้ช่องของฐานรองดอก ดอกตัวเมียอยู่ถัดเข้าไป ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก อัดแน่นอยู่บนฐานรองดอก ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก อัดแน่นอยู่บนฐานรองดอก มีผนังบางๆหุ้มฐานรองดอก เปลี่ยนจากสีเขียวมีน้ำยางมาเป็นสีดำอมแดงนิ่มและไม่มียาง ผลใช้เป็นอาหารสัตว์ เปลือกและใบเป็นยาละลายเสมหะ เปลือกและผลบดให้ละเอียด เป็นยาแก้โรคบิด เปลือกผลผสมสมุนไพรอื่นทำเป็นขี้ผึ้งทาแก้ปวด ยางผสมกับน้ำตาลมะพร้าวใช้ขั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโพธิ์ขี้นก

โพทะเล

''Thespesia populnea'' สำหรับอำเภอที่จังหวัดพิจิตร ดูที่: อำเภอโพทะเล โพทะเล (ชื่อสามัญ: Portia Tree) เป็นชนิดของไม้ดอกในตระกูล Malvaceae เป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม โพทะเล เป็นพืชในสกุลเดียวกับปอทะเลและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แหล่งอาศัยเป็นแบบเดียวกัน ดอกสีเหลือง บานตอนเช้า แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเช่นกัน แต่ดอกโพทะเลไม่มีวงกลมสีแดงภายในดอกแบบเดียวกับปอทะเล ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุมทำให้น้ำระเหยออกจากใบได้ช้า ผลกลม เมื่อแก่เต็มที่เป็นผลแห้ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ที่ขั้วผล ชื่อสามัญของโพทะเลในภาษาต่างๆ ได้แก่ Indian Tulip Tree, Pacific Rosewood, Seaside Mahoe (ใน ฟลอริดา), เบิฮ์สมุทร (បើស​សមុទ្រ) หรือ เจฺรยสมุทร (ជ្រៃ​សមុទ្រ) (ภาษาเขมร), Surina Suriya (ภาษาสิงหล), เบอบารู หรือ บารู บารู (ภาษามลายู), Milo หรือ Miro (ภาษาในกลุ่มโพลีเนเซียหลายภาษา), Makoi (ภาษาราปานุย), Gangaraavi (ภาษาเตลูกู), ปูวรสุ: பூவரசு (ภาษาทมิฬ), ปูวรสุ: പൂവരശ്‌ (ภาษามาลายาลัม), PakuR (ภาษาเบงกาลี) และ Plaksa (ภาษาสันสกฤต).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโพทะเล

โกฐหัวบัว

กฐหัวบัว ชื่อสามัญ Szechuan lovage, Selinum ภาษาจีนกลางเรียกซานซยง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกชวงเกียง เป็นพืชพื้นเมืองในอินเดียและเนปาล รากสีเหลืองอมน้ำตาล ผิวหยาบ มีตะปุ่มตะป่ำจำนวนมาก ใช้เป็นยากระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลำต้นใต้ดินใช้เป็นยากระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขับลม ลักษณะของโกฐหัวบัว ต้นโกฐหัวบัว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง โคนต้นเป็นข้อ ๆ และมีรากฝอยงอกอยู่ที่ข้อ บริเวณช่วงบนจะแตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยการใช้ข้อของลำต้น ชอบอากาศร้อนชื้น ชอบดินหนาและลึก การระบายน้ำดี มีฤทธิ์เป็นกลางหรือกรดเล็กน้อย เจริญเติบโตได้ดีในที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,500 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส สูงสุด 34 องศาเซลเซียส และต่ำสุด -5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 80% มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมนฑลเสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน หูเป่ยของประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ“.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโกฐหัวบัว

โกงกางบก

กงกางบก ชื่ออื่นๆคือ ราไซ พังกาบก สันขวาน เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Sapotaceae เปลือกต้นสีเทาแดง ทรงพุ่มเป็นทรงกรวย ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียว ก้านใบสีน้ำตาลอมแดง ดอกเป็นดอกช่อกระจุก ออกตามง่ามใบ ฐานรองดอกรูปถ้วย ดอกขนาดเล็ก ผลเป็นผลเดี่ยว กลมรี มีขั้วเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวเป็นมัน กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล มีเมล็ดเดียว พบในป่าชายเลน ในบริเวณติดต่อกับป่าชายหาด เนื้อไม้แข็ง ใช้ทำเครื่องใช้ เช่น ด้ามจอบ ด้ามขวาน และใช้ทำเครื่องเรือน ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำใบมาบดใช้พอกรักษาอาการปวดศีรษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโกงกางบก

โกงกางหูช้าง

กงกางหูช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ผลัดใบ ต้นแก่มีรอยแยกเป็นรอยตื้นๆ ตามความยาวของลำต้น เปลือกของกิ่งอ่อนล่อนออกได้ ใบเดี่ยว รูปใบเกือบกลม ใบเรียบ สีเขียวเข้ม ด้านหลังใบสีจางกว่า และมีขนเล็กน้อย ดอกช่อแบบกระจุก กลีบดอกสีขาวเชื่อมกันเป็นหลอด ผลเดี่ยว ทรงกลม ผลแห้ง เนื้อเป็นเส้นใยมีหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเขียวมีจุดเข้มกระจายทั่วไป เป็นพืชทนเค็ม ใช้เป็นไม้ประดับได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโกงกางหูช้าง

โกงกางใบใหญ่

กงกางใบใหญ่ในญี่ปุ่น โกงกางใบใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกลำต้นสีเทาเข้มถึงดำ แตกเป็นร่อง รอบ ๆ โคนต้นมีรากค้ำยันเพื่อพยุงลำต้นให้แข็งแรง สามารถดำรงต้นได้ในดินโคลน ใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรียงเป็นคู่ตรงข้าม ใบสีเขียวอ่อนมีจุดดำที่ก้านใบ ใบเกล็ดสีแดง หุ้มยอดอ่อน ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน มี 4 กลีบ กลีบดอกสีขาว 4 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเดี่ยว ทรงคล้ายลูกข่าง สีน้ำตาล ผิวของผลหยาบสาก ผลงอกตั้งแต่อยู่บนต้น เป็นฝักตรงสีเขียวอ่อน ส่วนที่ติดกับขั้วมีกลีบเลี้ยง พบในป่าชายเลน เป็นไม้ใช้ก่อสร้าง เผาถ่าน น้ำจากเปลือกใช้ล้างแผลและดื่มแก้ท้องร่วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโกงกางใบใหญ่

โกงกางเขา

กงกางเขา Thunb.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโกงกางเขา

โมก

มก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia religiosa Benth.) เป็นดอกไม้ มีลักษณะดอกเป็นช่อสีขาว มี 3-5 กลีบ ใบมีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เนื้อใบบางรูปรี หรือรูปหอกกว้าง 0.8-2.0 ทำการขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือ เพาะเมล็ด โมกยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้ ปิดจงวา (เขมร สุรินทร์) โมกซ้อน (กลาง) โมกบ้าน (กลาง) และ หลักป่า (ระยอง)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมก

โมกราชินี

มกราชินี เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Apocynaceae ดอกเป็นดอกช่อ มีดอกย่อย 2-6 ดอก ออกดอกช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พบครั้งแรกที่เขาหินปูนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดย D.J.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมกราชินี

โมกสยาม

มกสยาม เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Apocynaceae ใบเดี่ยว รูปรี ผิวใบมีขนนุ่ม ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ดอกสีชมพูหรือชมพูอมส้ม กลิ่นหอมอมเปรี้ยว ผลเป็นฝักคู่ ทรงกระบอก ออกดอกช่วงมกราคม – มีนาคม เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกเมื่อ 22 เมษายน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมกสยาม

โมกแดง

มกแดง หรือจำปูนแดง(Sims) Spreng.โมกแดงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร ลำต้นมีรอยขีดสีขาวตามยาว แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอกเป็นดอกเดี่ยว บางครั้งออกเป็นกระจุก กระจุกละ 1-4 ดอก ดอกทรงระฆังคว่ำ ห้อยลง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ด้านหน้ากลีบดอกมีสีส้มแดงอมชมพู ด้านหลังมีสีขาวนวล เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง ออกดอกตลอดปี โมกแดงชอบอยู่ในที่ที่แสงแดดรำไร มีความชื้นในดินและในอากาศค่อนข้างสูง ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำดี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง แยกหน่อที่แตกจากรากใต้ดิน ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม ผลใช้ปรุงเป็นยาขับระบบไหลเวียนโลหิต ยอดใช้เป็นผักสด นำมาใส่แกงได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมกแดง

โมกเหลือง

มกเหลือง เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกลำต้นและกิ่งมีเลนติเซลเป็นรอยขีดนูน สีขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบด้านบนเรียบ ด้านล่างมีขนเล็กน้อย ดอกช่อออกที่ปลายยอด สีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง ติดผลเป็นฝักคู่ แห้งแตก เมล็ดมีปุย ปลิวตามลม ดอกบานช่วงมิถุนายน – ตุลาคม พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 25 มิถุนายน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมกเหลือง

โมกเหลืองใบบาง

มกเหลืองใบบาง Pitard เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีขนละเอียดตามกิ่งอ่อน ก้านใบ แผ่นใบทั้งสองด้าน กิ่งที่แกจะไม่มีขน ดอกช่อ ขอบกลีบเลี้ยงมีขนเป็นชายครุย ดอกบานสีขาวนวลหรือขาวอมเหลือง กลีบดอกมีขน เกสรตัวผู้ติดบนกลีบดอกส่วนที่เชื่อมกันเป็นหลอด พืชชนิดนี้พบมากในกัมพูชา ในไทยมีรายงานว่าพบที่นครสวรรค์ จันทบุรีและพัทลุง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมกเหลืองใบบาง

โมกเครือ

มกเครือ หรือ เครือไส้ตัน ย่านไส้บิก เดือเครือ เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ในวงศ์ Apocynaceae ลำต้นเรียบ เปลือกสีน้ำตาลเข้ม มียางสีขาว ใบเดี่ยว ก้านใบสีเขียวอมเหลือง แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน ดอกช่อ กลีบดอกเป็นหลอดสีขาว ผลรวมมีผลย่อย 2 ผล เป็นฝักยาว สีเขียวเรียบเป็นมัน แก่แล้วเป็นสีดำ แตกตามความยาวของฝัก เมล็ดแบน มีครีบสีขาวปลิวไปตามลมได้ โมกเครื่อเป็นพืชสมุนไพร ต้นใช้รักษาโรคประดง แก้พิษฝีภายใน รากใช้บำรุงกำลัง แก้ไตพิการ ตับพิการ ขับระดู ใบเป็นส่วนผสมในยารักษาฝีและริดสีดวงทวาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโมกเครือ

โยทะกา

งโคลาย หรือจงโค เป็นพืชในวงศ์ถั่ว กระจายพันธ์ตั้งแต่มาดากัสการ์ พม่า, ออสเตรเลีย, เกาะคริสต์มาส, ทะเลแคริบเบียน, ภาคใต้ของสหรัฐ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโยทะกา

โรสิด

รสิด หรือ rosids เป็นเคลดขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 70,000 สปีชีส์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ของพืชมีดอกทั้งหมดเคลดนี้แบ่งเป็น 16 - 20 อันดับ ขึ้นกับระบบการจัดจำแนก อันดับเหล่านี้แบ่งเป็นวงศ์ได้ประมาณ 140 วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโรสิด

โลดทะนงแดง

ลดทะนงแดง หรือ ข้าวเย็นเนิน หนาดคำ เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae มีรากสะสมอาหารพองโต ผิวสีแดงอมม่วง เนื้อสีขาว โลดทะนงแดงมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร โดยราก ใช้ฝนน้ำกินทำให้อาเจียน ทำให้ถ่าย เพื่อถอนพิษคนกินยาเบื่อ เมาพิษเห็ดและหอย แก้พิษงู แก้เสมหะเป็นพิษ แก้หืด แก้วัณโรค เป็นยาระบาย ฝนเกลื่อนฝี หรือดูดหนองถ้าฝีแตก ฝนทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม แก้ปวดฝี คุมกำเนิด ต้มดื่ม แก้วัณโรค ฝนกับน้ำมะนาว หรือสุรา รับประทานแก้พิษงู ฝนทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก รากนำมาต้มน้ำดื่ม หรือฝนรับประทาน ทำให้อาเจียนอย่างหนัก ใช้ถอนพิษคนกินยาเบื่อยาเมา หรือฝนน้ำกินช่วยให้เลิกดื่มเหล้า ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก เข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง พิษแมงมุม ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา เหง้า ฝนทา แก้สิว ฝ้า และฟกช้ำ เคล็ดบวม สารสกัดด้วยเอทานอลจากพืชอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโลดทะนงแดง

โลควอท

ลควอท เป็นพืชในวงศ์ Rosaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ลำต้นตรง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง หูใบแบน ดอกช่อ ปกคลุมด้วยขนสั้นๆสีน้ำตาลแดง ไม่มีก้านดอก มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุม ผลรูปกลมหรือรูปไข่สีเหลืองอ่อนหรือสีส้ม มีขนปกคลุม เปลือกผลฉ่ำน้ำ เมล็ดยาว สีน้ำตาลดำ โลควอทกำลังออกดอก ถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน กระจายพันธุ์ในจีนและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกเฉพาะในที่สูง ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานสด ทำแยมหรือเยลลี่ เมล็ดมีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ น้ำคั้นจากผลใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในแอฟริกาตะวันออกใช้เนื้อไม้ทำเครื่องดนตรี ใบมีแทนนิน รสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสียและเป็นยาระบาย ผลมีเพกติน มีโพแทสเซียมสูงแต่มีวิตามินซีต่ำ ในตำรายาจีนเรียกผีผาเย่ (ภาษาจีนกลาง) หรือปีแปะเฮียะ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โครงสร้างของผล.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโลควอท

โสมเวียดนาม

มเวียดนาม เป็นพืชในวงศ์ Araliaceae และอยู่ในสกุลเดียวกับโสมเกาหลี สารสำคัญในโสมเวียดนาม ได้แก่ ซาโปนินไตรเทอร์พีนอยด์และมีโอโคทิลโลลปริมาณสูง ซึ่งสารนี้ไม่พบในโสมชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีพานาไซนอลและเฮปตาดีกาซึ่งเป็นสารมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะและต้านอนุมูลอิสระ โสมเวียดนามมีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับ Panax japonicus var.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโสมเวียดนาม

โอกา

อกา (oca) เป็นพืชในวงศ์ Oxalidaceae เป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ต้นตั้งตรงมีขนปกคลุม เหง้าแตกแขนง ปลายเหง้าเป็นหัวรูปทรงกระบอก หัวสีขาว เหลือง แดง หรือม่วง ดอกสีเหลือง ผลแบบแคปซูล เป็นพืชในแถบเทือกเขาแอนดีส หัวโอกาเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชนพื้นเมืองในแถบเทือกเขาแอนดีส นำมาต้ม เผา หรือเคลือบน้ำตาล ถนอมอาหารโดยการหั่นแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร ความหลากหลายของโอกาในเปรู ภาพมุมใกล้ หัวโอกาสีชมพู.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโอกา

โอ๊ก

อ๊ก (oak) หรือ ก่อ เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มในสกุล Quercus (ภาษาละติน "oak tree") มี 600 สปีชีส์ โอ๊กอาจจะหมายถึงพืชบางชนิดในสกุล Lithocarpusด้วย พืชสกุลนี้เป็นพืชพื้นเมืองในซีกโลกเหนือ แพร่กระจายตั้งแต่เขตที่อากาศหนาวเย็นไปจนถึงเขตร้อนในเอเชียและอเมริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโอ๊ก

โทะ (พืช)

ทะหรือทุ หรือพรวดหรือพรวดกินลูก เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ ใบอ่อนและดอกมีผงรังแคสีขาวหรือเหลืองปกคลุม ใบเหนียวคล้ายหนัง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีผงรังแค เส้นใบนูน ดอกช่อ ออกตามง่ามใบ สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว ผลเดี่ยว กลม กลีบเลี้ยงติดทน ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด สีดำแกมม่วง มีผงรังแคปกคลุม รสหวาน มีเมล็ดมาก ผลแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ แบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโทะ (พืช)

โทงเทง

ทงเทง หรือ พุ้งพิ้ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Physalis minima Linn.) เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เช่น เชียงใหม่ เรียก ต้อมต๊อก หรือ บาตอมต๊อก ปัตตานี เรียก ปุงปิง หนองคาย เรียก ปิงเป้ง เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 30 - 40 เซนติเมตร ใบนุ่มและเรียบ ดอกสีเหลือง ผลสีเหลืองมีลักษณะคล้ายผลมะเขือเทศ มีกลีบเลี้ยงหุ้มรูปร่างเหมือนโคมไฟ ชอบดินทรายและที่แห้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโทงเทง

โทงเทงฝรั่ง

''Physalis peruviana'' โทงเทงฝรั่ง หรือ ระฆังทองhttp://www.ku.ac.th/e-magazine/jan52/agri/agri4.htm (cape gooseberry) เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมะเขือ มะเขือเทศ มะเขือยาว และมันฝรั่ง (ไม่เกี่ยวข้องกับกูสเบอร์รี) ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกกิ่งสีม่วง มีลักษณะเป็นครีบ มีขนปกคลุมหนาแน่น ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกห้อยลง ก้านผลยาวกว่าก้านดอก ผลสดแบบเบอร์รี มีหลายเมล็ด รูปผลกลม สีเหลืองส้ม ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่สูงเขตร้อนในประเทศโคลอมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และชิลี รวมทั้งในบราซิล เป็นพืชพื้นเมืองในบริเวณเปรูและชิลี ผลรับประทานสดหรือผสมในสลัดผลไม้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลที่ต้มแล้วใส่พายหรือพุดดิง แปรรูปเป็นแยมหรือเยลลี่ ในเม็กซิโกใช้กลีบเลี้ยงต้มรับประทานเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน ผลดิบเป็นพิษ ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว มีเพกตินมาก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโทงเทงฝรั่ง

โด่ไม่รู้ล้ม

ม่รู้ล้ม ชื่ออื่น ชื่อ เช่น หนาดมีแคลน, หนาดผา, ตะชีโกวะ, หนาดผา,ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโบ้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปลาบ หญ้าไฟนกคุ่ม หญ้าสามสิบสองหาบ ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน ต้นแข็ง ตั้งตรง รากที่มีอายุมากจะมีลัษณะคล้ายเหง้า รากแขนงกลมยาว ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับที่โคนใกล้ผิวดิน ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบ ทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ใบรูปหอกกลับ หรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ผายกว้าง แล้วสอบแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่างๆ เนื้อใบหนาสาก ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาว ดอกสีม่วงหรือขาว การขยายพันธุ์ เพาะเมล็.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโด่ไม่รู้ล้ม

โคกกระสุน

"ผล ผลแห้งที่เป็นอัตราต่อยางรถจักรยาน แหล่งที่อยู่ของโคกกระสุน โคกกระสุน หรือ หนามกระสุน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Zygophyllaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในยุโรปใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา และออสเตรเลีย ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษมีมากมาย เช่น bindii, bullhead, burra gokharu, caltrop, cat's head, devil's eyelashes, devil's thorn, devil's weed, goathead, puncturevine, และ tackweed.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโคกกระสุน

โคคลาน

ลาน (Willd.) Muell.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโคคลาน

โต๋วต๋ง

ต๋วต่ง หรือในภาษาจีนกลางเรียก ตู้จ้ง (dùzhòng) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่เป็นไม้พื้นเมืองของจีน และเป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวของวงศ์ Eucommiaceae ในธรรมชาติหาได้ยากแต่มีการปลูกทั่วไปในจีน เนื่องจากเปลือกไม้มีฤทธิ์เป็นยา และใช้ในตำรับยาจีน เปลือกไม้นั้นภายนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผิวหยาบ ด้านในเรียบสีม่วงเข้ม มียางขาว เปลือกไม้ใช้เป็นยาบำรุงตับไต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโต๋วต๋ง

โปรงขาว

ปรงหรือโปรงขาว อยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นทรงกระบอก มีพูพอน มีรากอากาศเมื่อขึ้นในบริเวณชื้นแฉะ ใบเดี่ยว เหนียวคล้ายหนัง ดอกช่อ ผลเนื้อนุ่ม รูปกรวยรี กลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดงอกขณะอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปกระบองโผล่พ้นผลออกมาขณะที่อยู่บนต้น ขึ้นในป่าที่น้ำทะเลท่วมถึง กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย จนถึงเกาะนิวกินี ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ใบและเปลือกในการฟอกหนัง น้ำสีดำที่สกัดจากเปลือกใช้ในอุตสาหกรรมผ้าบาติก ลำต้นใช้ทำเสาและเผาถ่าน เปลือกไม้มีแทนนิน 25 – 37%.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโปรงขาว

โปรงแดง

ปรงแดง อยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae ลำต้นสูง ตรง มีรากค้ำยันสั้น ถ้าขึ้นในบริเวณที่ชื้นจะมีรากอากาศ กิ่งมีลักษณะโป่งพองตามข้อเห็นชัดเจน ใบเดี่ยว เหนียวคล้ายหนัง ผิวใบเป็นมัน ดอกช่อ ผลรูปไข่เนื้อนุ่ม กลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงทรงกระบอก โผล่ออกจากผลตั้งแต่อยู่บนต้น โปรงแดงมีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แอฟริกา อินเดีย จนถึงออสเตรเลีย มีแทนนิน ใช้ฟอกหนังได้เช่นเดียวกับโปรงขาว เปลือกและน้ำยางให้สารสีแดงและดำ ใช้ในการทำผ้าบาติก ใช้ย้อมฝาดแห อวน และเสื่อ ในเปลือกลำต้นมีแทนนิน 20 – 40% เปลือกให้สีย้อมสีน้ำตาล เมื่อผสมกับครามจะให้สีออกดำหรือม่วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโปรงแดง

โป๊ยเซียน (พืช)

ป๊ยเซียน เป็นหนึ่งในไม้มงคล จัดอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับพืชหลายชนิด เช่น ต้นคริสต์มาส และส้มเช้า โป๊ยเซียน (八仙) มาจากภาษาจีน แปลว่าเทพยดาทั้ง 8 องค์ ได้แก่ เซียนทิก๋วยลี้ เซียนฮั่นจงหลี เซียนลือท่งปิน เซียนเจียงกั๋วเล้า เซียนหลันไฉ่เหอ เซียนฮ่อเซียนโกว เซียนหันเซียงจือ เซียนเชาก๊กกู๋ เชื่อกันว่า ถ้าบ้านใดมีดอกโป๊ยเซียนครบ 8 ดอก จะนำความโชคดีมาให้แก่บ้านของผู้นั้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโป๊ยเซียน (พืช)

โนรีเกาะช้าง

นรีเกาะช้าง เป็นพืชในสกุลโนรา วงศ์ Malpighiaceae เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดไปตามพุ่มไม้อื่นได้ไกล ยอดอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เนื้อใบหนาเห็นเส้นใบเด่นชัด ดอกช่อ มีดอกย่อยจำนวนมาก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ผลแห้งมีปีก ออกดอกเดือนมกราคม – มีนาคม พบครั้งแรกที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดย Bensekom ชาวเนเธอร์แลนด์แล.ดร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และโนรีเกาะช้าง

ไฟเดือนห้า

ฟเดือนห้า เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว สีเขียวสด ดอกช่อ สีแดงอมส้ม กลีบดอกพับงอ ก้านช่อดอกมีขนสั้นนุ่มปกคลุม ผลรูปกระสวยยาว แห้งแตก เมล็ดรูปไข่ ยาว ถ้ารับประทานจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไฟเดือนห้า

ไกร

ำหรับกร่างชนิดอื่น ดูที่: ไทรทอง ไกร หรือ กร่าง (บาลี: นิโครธ; สันสกฤต: บันยัน; ฮินดี: บาร์คาด; Bengal fig, Indian fig, Banyan tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ในสกุล Ficus เช่นเดียวกับโพ (F.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไกร

ไกรทอง (พืช)

กรทอง หรือหุนไห้ ชื่ออื่นๆคือ แก่นแดง เข็ดมูล เจตมูล (ปราจีนบุรี) ต๋านฮ้วนเป็ด (เชียงใหม่) พิกุลทอง (ประจวบคีรีขันธ์) กระดูกอึ่ง (Miq.) Kurz อยู่ในวงศ์ Erythroxylaceae เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ ลำต้นกลม มีรอยแผลของหูใบ เกือบรอบกิ่ง เปลือกเรียบสีน้ำตาล เป็นร่องตามยาว เปลือกในสีเหลืองแกมน้ำตาล ไม่มีขน ใบเดี่ยว ด้านบนเนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างเกลี้ยง ขอบใบเรียบ ใบรูปสามเหลี่ยมถึงรูปใบหอก ดอกขนาดเล็ก ออกเป็นช่อกระจุก สีขาวอมเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองหรือแดง เป็นมัน เมล็ดแบนโค้ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไกรทอง (พืช)

ไมยราบ

ฝักและเมล็ดของไมยราบ ไมยราบ (อ่านว่า "ไม-ยะ-ราบ") (มาจากภาษาละติน: pudica แปลว่า "อาย ชมดชม้อย เหนียมอาย หรือหดลง") ภาษาอังกฤษ: sensitive plant, sleepy plant หรือ the touch-me-not ก็เรียก เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ไมยราบมักถูกปลูกขึ้นตามความอยากรู้อยากเห็นของผู้ปลูก โดยที่ใบประกอบสามารถพับเข้าหากันด้านใน หรือหุบได้ เมื่อถูกสัมผัส หรือเขย่า เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ และจะบานออกอีกครั้งเมื่อผ่านไปราวหนึ่งนาที พืชในตระกูลใกล้เคียงกันและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันได้แก่ ผักกระเฉด ในทางสมุนไพร ไมยราบมีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้นแห้งต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไมยราบ

ไมยราบไร้หนาม

มยราบไร้หนาม หรือ ไมยราบเลื้อย หรือ ไมยราบวัว (Giant sensitive plant) ไม้ล้มลุกกึ่งทอดเลื้อย อายุหลายปีในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ชนิดหนึ่ง มีลำต้นสี่เหลี่ยม มีหนาม แหลมเป็นแง่งและขนสากปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาวได้ถึง 22 เซนติเมตร ใบย่อยชั้นแรก 6-9 คู่ มีหนามแหลม ตลอดแผงก้านใบ ใบย่อยชั้นรอง 15-30 คู่ รูปขอบขนาน ดอก สีม่วงแดงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาด 12-15 มิลลิเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบรองดอกรูประฆัง กลีบดอก เชื่อมกันที่ฐาน ปลายแยก 4 กลีบ รูปไข่ ปลายมน เกสรผู้ 8 อัน ก้านชูเกสร ยาว 6-7 มิลลิเมตร รังไข่รูปรีแบน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย กว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 25-35 มิลลิเมตร ติดกันแน่น เป็นกระจุก ผิวมีหนาม ผลแก่สีน้ำตาลอ่อน มี 3-6 เมล็ด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นวัชพืชร้ายแรง พบทั่วไปตามที่รกร้างหรือที่เปิดโล่ง ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ไมยราบไร้หนาม มีประโยชน์ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมดินได้ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มสัดส่วนของช่องอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน แต่ไม่เหมาะสมนำมาเป็นอาหารสัตว์หากไม่เข้าใจวิธีดำเนินการเนื่องจากมีสารไนเตรท-ไนโตรเจน สะสมอยู่ในลำต้นและใบในปริมาณสูงพอที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้นได้ เมื่อสัตว์กินเข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะสัตว์จำพวกโค-กระบือ หากกินเข้าไปจะเป็นพิษมากกว่าแพะและม้า นอกจากนี้ในต้นไมยราบไร้หนามยังมีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ไมยราบไร้หนาม สันนิษฐานว่าเป็นต้นเหตุของการตายของกระทิงจำนวนหลายตัวในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในช่วงต้นปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไมยราบไร้หนาม

ไม้ลาย

ม้ลายหรือ ม้าลาย หรือ ข่าจี่ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Tiliaceae หรือ Malvaceae เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดตามความยาวของลำต้น ใบเดี่ยว สีเขียวเรียบ จับแล้วสากมือโดยเฉพาะหลังใบ ขอบใบหยักตื้น ดอกช่อออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองนวล ผลเดี่ยว กลม ผิวมีขนอ่อนปกคลุม เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ ผลมีเนื้อเส้นใยติดกับเมล็ด ไม้ลายเป็นพืชสมุนไพร เปลือกใช้ผสมในยาบำรุงเลือดของสตรี ผลสุกใช้เป็นยากระจายเลือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไม้ลาย

ไลลัก

ลลัก (Lilac) หรือ ซิริงกา (Syringa) เป็นพืชดอกที่อยู่ในสกุลSyringaในวงศ์มะลิที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 20 ถึง 25 สปีชีส์ เป็นพืชยืนต้นที่มีถิ่นฐานอยู่ในยุโรปและเอเชียFlora Europaea: Flora of China: Flora of Pakistan: Germplasm Resources Information Network: ไลลักเป็นพืชผลัดใบแบบพืชพุ่มหรือพืชต้นขนาดเล็กที่สูงตั้งแต่ราว 2 ถึง 10 เมตร และมีลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 20 ถึง 30 เซนติเมตร ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิต้นฤดูร้อนแล้วแต่สายพันธุ์ แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5 ถึง 10 เซนติเมตร สีม่วงต่าง ๆ ชมพู ขาว นวล และบางครั้งแดงเข้ม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไลลัก

ไส้กรอกแอฟริกา

้กรอกแอฟริกา เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในสกุล Kigelia ในวงศ์ Bignoniaceae พบในเขตร้อนของแอฟริกาตั้งแต่เอริเทรียและชาด ไปจนถึงทางเหนือของแอฟริกาใต้ เซเนกัล และนามิเบี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไส้กรอกแอฟริกา

ไฮเดรนเจีย

รนเจีย (hydrangea) เป็นสกุลของพืชมีดอก 70-75 ชนิดที่เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี เทือกเขาหิมาลัย อินโดนีเซีย) อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ความหลากหลายส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไฮเดรนเจีย

ไทรย้อยใบทู่

ทรย้อยใบทู่ หรือ ไทรย้อย (Chinese banyan, Malayan banyan; 細葉榕) เป็นไม้ประเภทบันยัน ในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12-25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือน้อยมากที่จะเป็นดอกคู่ ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3-7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3-8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใบของไทรย้อยใบทู่ เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ออกดอกและออกผลตลอดทั้งปี รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสียได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไทรย้อยใบทู่

ไทรทอง

ใบของไทรทอง สำหรับพืชชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน ดูที่: กร่าง ไทรทอง หรือ กร่าง หรือ ลุง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ในวงศ์ Moraceae มีความสูงประมาณ 2.5-3 เมตร มีพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกิ่งกระจายรอบต้น พุ่มทรงกลม ค่อนข้างหนาทึบ มีน้ำยางสีขาว รากอากาศเหนียว ใบเป็นแบบเดี่ยวทรงรูปไข่ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม มีหูใบหุ้มยอด ใบอ่อนสีเขียวสดเป็นมัน หูใบหุ้มยอดอ่อนไว้ ดอกช่อไม่มีก้านดอก โคนช่อดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 3 ใบรองรับช่อดอก ผลเมื่อสุกแล้วอ่อนนุ่ม สีเหลือง แต่ละผลมีเนื้อบาง ๆ และมีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นไม้มงคล นอกจากนี้แล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่น คือ รากอากาศของต้นกร่างเหนียวใช้ทำเชือกได้ เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ ต้นใช้เลี้ยงครั่ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไทรทอง

ไข่ดาว (พรรณไม้)

ไข่ดาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Oncoba spinosa Forsk) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2 - 3 เมตร มีดอกสีขาว กลีบดอกบางกลม หรือรูปไข่ กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้เส้นเล็กๆ สีเหลืองจำนวนมากอยู่กลางดอก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ หมวดหมู่:ไม้ดอกไม้ประดับ หมวดหมู่:วงศ์สนุ่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไข่ดาว (พรรณไม้)

ไข่เขียว

ียว หรือ กุเข้ ตะเคียนซวย ตะเคียนสามพอน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ในวงศ์ Dipterocarpaceae เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกในสีเขียวตองอ่อน โคนต้นมีพูพอน เนื้อไม้สีน้ำตาลออกเหลือง ใบเดี่ยว สีเขียวนวล ดอกเป็นดอกช่อแบบแยกแขนง กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน โคนกลีบมีจุดสีม่วงอ่อน ผลเป็นผลเดี่ยว มีปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงแบบเดียวกับลูกยางนา มี 5 ปีก แก่แล้วกลายเป็นสีน้ำตาล เนื้อไม้แข็งใช้ในงานก่อสร้าง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไข่เขียว

ไข่เน่า (พืช)

น่า หรือ ฝรั่งโคก หรือ ขี้เห็น หรือ คมขวาน เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบชนิดหนึ่ง ขนาดใหญ่ เจริญเติบโตดีในพื้นที่แห้งแล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ร่มเงาเพราะไม่ผลัดใบ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปีหลังปลูก ช่วงพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องการความแล้ง ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ ดอกติดผลปีละรุ่น ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างต้นต่างดอกได้ ออกดอกช่วงเดือน ม..- ก..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไข่เน่า (พืช)

ไคร้ย้อย

ร้ย้อย วงศ์ Elaeocarpaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ใบเดี่ยว หนา ดอกช่อ ช่อดอกห้อยลง ปลายกลีบดอกเป็นริ้ว โคนด้านในมีกลุ่มขนเรียงตัวกันอยู่ ผลรูปรีมีเมล็ดเดียวทุกส่วนของลำต้นเป็นพิษต่อหัวใ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไคร้ย้อย

ไคร้น้ำ

ร้น้ำ หรือ ไคร้, ไค้, ไค้น้ำ (ไทย-พายัพ), หึยที้ (กะเหรี่ยง-ฮ่องสอน), แร่(ตราด), ไคล้น้ำ(ยะลา), ไคล้หิน(หลังสวน), กะแลแร, แกลแร(มะลายู-ยะลา) เป็นพรรณไม้ยืนต้น หรือลำต้นแตกออกมาเป็นกอก็มีลักษณะของต้นจะกลม ๆ ขนาดเท่าต้นอ้อยก็มี ลำต้นจะไม่ใหญ่มากนัก และอาจจะเท่านิ้วก้อยหรือนิ้วมือก็มี รากของต้นเป็นฝอยรวมกันเป็นกระจุกใหญ่ มีเนื้อในสีขาวเปลือกสีน้ำตาลคล้ำใบเดี่ยว ลักษณะของใบจะแคบและยาวคล้ายใบของต้นชองระอา แต่จะหนา และสากระคายมือ ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้วยาว 4-6 นิ้ว มีสีเขียว เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือริมห้วย ซึ่งรากของต้นนั้นจะแช่อยู่ในน้ำเป็นฝอยเป็นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น ส่วนมากจะพบทางภาคเหนือ จังหวัดที่มีมากคือ ตาก หรือมีขึ้นไปเรื่อยตามเกาะแก่งลำน้ำปิง ราก นำมาใช้ปรุงเป็นยา แก้กษัย ขับปัสสาวะ แก้ไข้เซื่องซึม เบาพิการ นอกจากนี้ยอดอ่อนของต้นยังใช้รับประทาน จิ้มกับน้ำพริกได้อร่อยอีกด้วย และเนื้อไม้ภายในเปลือกนั้น นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วผสมยาสูบซึ่งทางเหนือจะเรียกว่า ขี้โย หมวดหมู่:สกุลไคร้น้ำ หมวดหมู่:สมุนไพร หมวดหมู่:พืชที่รับประทานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และไคร้น้ำ

เบญจมาศน้ำเค็ม

ญจมาศน้ำเค็ม เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้นมีขนสั้น ค่อนข้างแข็ง ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล ใบเดี่ยว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ดอกช่อ ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก เป็นแท่งยาวแห้ง สีน้ำตาล ใช้เป็นไม้ประดับ พบได้ทั่วไปตามป่าชายเลนที่ชื้นแฉะเสมอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเบญจมาศน้ำเค็ม

เพชรสังฆาต

รสังฆาต (อ่านว่า) เป็นไม้เลื้อยในวงศ์องุ่น ชื่ออื่น ๆ คือ สันชะฆาต ขันข้อ สามร้อยต่อ หรือสันชะควด เปลือกเถาเรียบ สีเขียว รูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาวมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก ในตำราสมุนไพร ใช้แก้ริดสีดวงทวารหนัก คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้ ทางภาคเหนือ ใช้น้ำจากต้น หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร ในประเทศอินเดีย ใช้ ลำต้น เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก น้ำคั้นจากต้นกินแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้อาการผิดปกติของประจำเดือน มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และต้านอนุมูลอิสระมีแคโรทีนอยด์และวิตามินซีมาก ไฟล์:Cissus quadrangularis W IMG 3197.jpg| ไฟล์:Cissus quadrangularis W IMG 3196.jpg| ไฟล์:Cissus quadrangularis W2 IMG 3196.jpg|.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเพชรสังฆาต

เพกา

กา (ชื่อสามัญ: Broken Bone tree,Damocles tree,Indian Trumpet Flower; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oroxylum indicum (L) Kurz) เป็นพืชในวงศ์แคหางค่าง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆดังนี้: ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโด (มาเลเซีย-นราธิวาส) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า หมากลิ้นฟ้า บ่าลิ้นไม้ (เลย) เพกาเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย โดยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วๆไป แม้เพกาจะขึ้นอยู่ในหลายประเทศ แต่ดูเหมือนจะมีแต่ชาวไทยเท่านั้นที่นำเพกามากินเป็นผัก เพกาเป็นผักที่อยู่ในหมวดดอกฝัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเพกา

เกรปฟรูต

กรปฟรูต เป็นไม้ผลกึ่งเขตร้อนในสกุล Citrus ที่เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผล ซึ่งแต่เดิมเคยเรียกว่า ผลไม้ต้องห้ามแห่งบาร์เบโดส ปกติแล้วไม้ไม่ผลัดใบชนิดนี้จะพบว่าสูงประมาณ 5-6 เมตร แต่ความจริงแล้วสามารถสูงได้ถึง 13-15 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม รูปร่างยาว (มากกว่า 15 เซนติเมตร) และผอม ดอกมี 4 กลีบ สีขาว ขนาด 5 เซนติเมตร ผลมีเปลือกสีเหลือง รูปกลมแป้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เนื้อผลแบ่งเป็นกลีบ สีเหลืองแบบกรด ผลเป็นที่นิยมตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นเพียงแต่ปลูกเป็นไม้ประดับ สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ มีสวนอยู่ในฟลอริดา เท็กซัส แอริโซนา และแคลิฟอร์เนีย ในภาษาสเปน ผลไม้ชนิดนี้รู้จักในชื่อว่า Toronja หรือ Pomelo.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเกรปฟรูต

เกล็ดมังกร

กล็ดมังกร อยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae เป็นไม้เลื้อย เกาะอาศัย ยางขาว ใบเดี่ยวเป็นวงรี ดอกช่อออกตามซอกใบ สีขาวอมเหลือง ใช้เป็นไม้ประดับ ไฟล์:Dischidia nummularia.jpg ไฟล์:Myrmecodia beccarii with Dischidia nummularia crop.jpg ไฟล์:Myrmecodia beccarii with Dischidia nummularia.jpg.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเกล็ดมังกร

เกล็ดปลาหมอ

เกล็ดปลาหมอ มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตรง ลักษณะใบเป็นแบบขนนกเรียงสลับจะมีใบย่อย 3 ใบ ดอกของมันจะเป็นกระจุกที่ซอกใบ มีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลา ประกบหุ้มไว้ 2 ใบ กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักแบนยาว มีสรรพคุณทางสมุนไพร ใช้รากต้มน้ำดื่มเพื่อแก้โรคตับพิการ หมวดหมู่:สมุนไพร หมวดหมู่:วงศ์ย่อยถั่ว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเกล็ดปลาหมอ

เกาลัด

กาลัด เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในสกุล Castanea ที่พบได้ในเขตภูมิอากาศเย็น ซึ่งนิยมเพาะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อจำหน่ายเมล็ดในการบริโภค เป็นพืชคนละวงศ์กับเกาลัดไทย (Sterculia monosperma).

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเกาลัด

เกาลัดญี่ปุ่น

กาลัดญี่ปุ่น (Japanese Chestnut)เป็นเกาลัดชนิดหนึ่งที่เป็นพืชพื้นเมืองของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สูง 10-15 m ใบคล้ายกับเกาลัดหวาน ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ยาว 8-19 cm และกว้าง 3-5 cm ดอกสมบูรณ์เพศ ยาว 7-20 cm ออกดอกในฤดูร้อน ติดผลในฤดูใบไม้ร่วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเกาลัดญี่ปุ่น

เกาลัดจีน

กาลัดจีน เป็นไม้ผลัดใบในวงศ์ Fagaceae ใบรูปไข่ ขอบหยักเป็นรูปฟัน ท้องใบมีขนสีขาวปกคลุม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ดอกเป็นช่อยาว ตั้งตรง ออกตามซอกใบ ผลกลม เปลือกหุ้มผลมีหนามแหลมแข็งสีเขียวปกคลุม ใต้เปลือกมีกะลาสีน้ำตาล หุ้มเนื้อในสีขาว รสชาติหวานมัน ผลแก่ แตก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเกาลัดจีน

เก๋ากี่

ก๋ากี่ หรือ เก๋ากี้, เก๋ากี๋, เก๋าคี่ (ชื่อทางการค้า: โกจิเบอรี่; Wolfberry) เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกผลไม้ซึ่งมีสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกันสองชนิด คือ Lycium barbarum และ L.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเก๋ากี่

เมา

มา หรือ หว้าดง, ขะเมา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae เปลือกลำต้นสีเทาแกมน้ำตาลหรือเทาแกมขาว ขรุขระ แตกเป็นรูปเหลี่ยม หนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ดอกช่อ สีขาว ออกใกล้ปลายกิ่ง ผลเดี่ยว สีเขียว มีเมล็ดเดียว เป็นอาหารของค้างคาว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเมา

เม่าไข่ปลา

ม่าไข่ปลาหรือเม่าทุ่งหรือส้มเม่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นไม้ผลัดใบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็ก ช่อสั้น เมื่อติดผลลูกเล็กคล้ายเม็ดพริกไทย ผลสด เมล็ดเดียวแข็ง มีขนละเอียดปกคลุมบนผล สีม่วงเข้ม เป็นไม้ยืนต้น ผลสุกสีแดงคล้ำ ใบที่นำมารับประทานคือ ผลรับประทานสดหรือทำแยม ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักหรือใช้เป็นเครื่องเทศ ใบใช้เป็นยาแก้ไข้ เนื้อไม้สีแดง แข็ง ใช้ในงานก่อสร้างได้ ใบอ่อนและผลดิบใช้ปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวยอดและใบเพสลาดใช้กินแนมกับอาหารอื่นหรือใส่ยำ ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเม่าไข่ปลา

เล็บครุฑ (พรรณไม้)

ำหรับความหมายอื่น ดูที่: เล็บครุฑ เล็บครุฑ (Polyscias) เป็นสกุลของพรรณไม้ยืนต้น ในสกุล Polyscias มีทั้งหมด 114 ชนิดGovaerts, R. & al.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเล็บครุฑ (พรรณไม้)

เล็บครุฑไซ่ง่อน

ล็บครุฑไซ่ง่อน เป็นพืชในวงศ์ Araliaceae ในไทยใช้เป็นไม้ประดับ ใบอ่อนชุบแป้งทอดรับประทาน ชาวจีนและชาวเวียดนามใช้เป็นสมุนไพร รากเล็บครุฑใช้บรรเทาอาการเครียด อ่อนเพลีย ไอ ในใบและรากมีสารซาโปนิน โอลีน และพานาไซนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเล็บครุฑไซ่ง่อน

เสมา

มา หรือ นิ้วมือผี เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae ลำต้นแบนหนา ด้านบนโค้ง ส่วนโคนต้นเรียวกลม มีหนามเป็นจุดๆ เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก อวบน้ำ เห็นได้เฉพาะกิ่งที่แตกใหม่ พอแก่ใบจะร่วงหมด ดอกเดี่ยว สีแดงอมส้ม ผลเดี่ยวกลม เนื้อนุ่ม แก่แล้วเป็นสีส้มอมแดง มีเกล็ดคล้ายใบอยู่รอบผล ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศเปรู มีปลูกในอเมริกากลาง สหรัฐอเมริกา อินเดียและอินโดนีเซีย เป็นพืชที่แมลงอินจีมาอาศัยอยู่และใช้เลี้ยงแมลงอินจีในเชิงอุตสาหกรรม โดยตัดกิ่งของนิ้วมือผีมาแขวนในร่มและใช้เลี้ยงแมลง แมลงอินจีเป็นแมลงที่ผลิตชาดอินจีหรือชาดลิ้นจี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสมา

เสม็ดขาว

อกเสม็ดขาว เสม็ดขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-ใหญ่ สูง 5-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือกสีน้ำตาลแดง มีใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอก ออก ก.พ - เม.ย ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ผล ออก มี.ค - ม.ย มีประโยชน์ ยอดอ่อน นำมาลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบตำพอกแก้เคล้ดขัดยอกฟกบวม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสม็ดขาว

เสม็ดแดง

ต้นเสม็ดแดง หรือ ไคร้เม็ด เม็ก เม็ดชุน เสม็ด เสม็ดเขา เป็นต้นไม้ มีความสูง 7 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือกสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอก ออก ก.พ - เม.ย ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ผล ออก มี.ค - ม.ย ปลูกในสวนสมุนไพร หรือ ให้ร่มเงาในบ้านแข็งแรงและ ดูแลง่าย โดยยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ขนมจีนหรือข้าวยำ ตำพอกแก้เคล้ดขัดยอกฟกบวม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสม็ดแดง

เสลดพังพอน

ลดพังพอนตัวผู้ หรือ ชองระอา ชื่ออื่น พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า คันชั่ง (ตาก) อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ) เป็นไม้พุ่ม สีเขียวน้ำตาล สูงเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะเรียงแคบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นกลางใบมีสีแดง โคนก้านใบมีหนามสีม่วง ดอกช่อสีส้มเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ เสลดพังพอน เป็นพืชสมุนไพร ใบใช้พอกฝี แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ช้ำบวม ทั้งต้นใช้แก้ปวดฟัน น้ำคั้นจากใบใช้แก้อาการปวดจากเงี่ยงปลาแทง แก้ปวดฟัน เหงือกบวม ริดสีดวงทวาร ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย ใช้ใบสดกำจัดหู.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสลดพังพอน

เสาวรส

วรส หรือ กะทกรกฝรั่ง หรือ กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (Passionfruit, Maracujá) เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสาวรส

เสาวรสลิ้นงู

วรสลิ้นงู เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Passifloraceae ใบแตกเป็นแฉกสามพู ดอกเดี่ยวเกิดตามซอกใบ สีขาวอมน้ำเงิน มีกระบังรอบสีขาวอมม่วงผลสีเขียวหรือสีเหลือง มีสารออกฤทธิ์ที่ทำให้มีอาการเพ้อฝันคล้ายถูกสะกดจิต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสาวรสลิ้นงู

เสาวรสเม็กซิโก

วรสเม็กซิโก เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Passifloraceae ใบแตกเป็นแฉกสองหรือสามพู ดอกเกิดเป็นคู่ตามซอกใบ สีแดงอมส้มขนาดเล็ก ผลกลม ผิวสีดำเป็นมัน มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทโดยมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับกัญ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสาวรสเม็กซิโก

เสี้ยวดอกขาว

''Bauhinia variegata'' เสี้ยวดอกขาว (ภาษากะเหรี่ยง: โพะเพ่; ภาษาฮินดี:कचनार, ภาษาสันสกฤต: कोविदार ภาษาอูรดู: کچنار) เป็นพืชมีดอกชนิดหนึ่งในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย แพร่กระจายในจีนไปจนถึงปากีสถานและอินเดีย ชื่อสามัญอื่นๆ ได้แก่ กล้วยไม้ต้น (Orchid tree) ต้นเท้าอูฐ (Camel's Foot Tree) และ Mountain-ebony Kachnar (ภาษาฮินดีภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู) หรือ Kanchan(ภาษาเบงกาลี) ในจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน เรียกพืชนี้ว่า Kolaar کلاڑ ซึ่งต่างจากชื่อในภาษาอูรดู พันธุ์ ''candida'' ในเมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 10-12 เมตร ใบยาว 10-20 เซนติเมตร และกว้าง กลม เป็นสองซีกแบบใบชงโค ดอกสีชมพูอ่อนหรือสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร มี 5 กลีบ ผลยาว มีหลายเมล็ด เป็นพืชที่นิยมใช้ในการจัดสวน และใช้ดึงดูดนกฮัมมิงเบิร์ด เช่น Sapphire-spangled Emerald (Amazilia lactea), Glittering-bellied Emerald (Chlorostilbon lucidus) หรือ White-throated Hummingbird (Leucochloris albicollis) ให้เข้ามาในสวนBaza Mendonça & dos Anjos (2005) แต่ในบางบริเวณ อาจกลายเป็นพืชรุกรานได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสี้ยวดอกขาว

เสี้ยน

ี้ยน ดงเสี้ยน หรือมะเขือเผาะ เป็นพืชในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกแตกเป็นร่อง หูใบรูปสามเหลี่ยม ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อกระจุกสั้นตามซอกใบ สีเขียวอ่อน ผลมีเนื่อหลายเมล็ดสีม่วงดำ พบตั้งแต่อินเดีย เทือกเขาหิมาลัย อินโดจีน ไทย ไปจนถึงบอร์เนียว ชาวกูบูใน เกาะสุมาตรานำไปพืชชนิดนี้ไปย่างไฟต้มน้ำดื่มแทนกาแฟ และเรียกเครื่องดื่มนี้ว่าโกปีกูบูหรือกาแฟกูบู.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเสี้ยน

เหมือดคนตัวผู้

หมือดคนตัวผู้ เป็นพืชในวงศ์ Proteaceae เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว ช่อดอกออกตามกิ่ง ดอก สีขาวอมเหลือง ผลมีเปลือกแข็งและมีเมล็ดเดียว ทรงค่อนข้างกลม ชาวกะเหรี่ยงนำใบไปต้มน้ำแล้วเอามาล้างตา แก้อาการเจ็บตา เปลือกต้นใช้ต้มรวมกับส่วนผสมอื่นๆในการย้อมผ้า และให้คนที่กินอาหารเป็นพิษรับประทานเพื่อทำให้อาเจียน เนื้อไม้ใช้ทำเป็นหม้อนึ่งข้าว เขียง ครก เนื้อไม้ไม่มีพิษ ผลใช้ล่อสัตว์ในกับดัก เปลือกต้นชาวกะเหรี่ยงใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลอ่อน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหมือดคนตัวผู้

เหมือดโลด

หมือดโลด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Phyllanthaceae ลำต้นแตกเป็นร่องลึก เปลือกสีเทาดำ ใบเดี่ยว ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศ แยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อแบบหางกระรอก ดอกตัวเมียเป็นช่อเชิงลด สีเหลืองอ่อน ไม่มีกลีบดอก ผลมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง แห้งแตก เยื่อหุ้มเมล็ดสีส้ม ชาวกะเหรี่ยงรับประทานผลสุกเป็นผลไม้ ไม้ใช้ทำฟืนหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เปลือกต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆตากแห้ง ใช้เป็นไส้บุหรี่ขี้โย เปลือกต้นมียางสีแดงใช้ทำสีย้อม ทางอุบลราชธานีใช้ประสมในยาแก้ตัวเหลือง ตาเหลือง ทางจังหวัดมุกดาหารใช้ประสมในยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ทางภาดเหนือใช้เปลือกไม้สดแก้ไข้ ทางภาคอีสานนำรากหรือแก่นนำมาฝนน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไข้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหมือดโลด

เหยื่อเลียงผา

หยื่อเลียงผา หรือ เหยื่อจง หรือ เทียนหมอคาร์ เป็นพืชในสกุลเทียนดอก วงศ์ Balsaminaceae เป็นไม้ล้มลุก ต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนใกล้ปลายยอด ดอกช่อมี 1-3 ดอก ผลรูปกระสวย เปลือกบาง แก่แล้วแตกและดีดเมล็ดกระเด็นไปไกล ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม พบมากในเขาหินปูนทางภาคเหนือ พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 3 พฤศจิกายน..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหยื่อเลียงผา

เหรียง

หรียง ชื่ออื่น ได้แก่ กะเหรี่ยง, เรียง, สะเหรี่ยง (ใต้); นะกิง, นะริง (มลายู-ใต้); สะตือ (ใต้)เป็นพืชในวงศ์ Mimosaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-50 เมตร ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น เปลือกเรียบและหนาสีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ลักษณะทั่วไปคล้ายสะตอ แต่พุ่มใบแน่น และเขียวทึบกว่า ใบใหญ่และหนากว่าสะตอ ลักษณะใบเป็นแบบช่อ ใบประกอบมี 18-33 คู่ ใบแคบปลายแหลม ใบแก่จะเป็นสีเหลืองร่วงเกือบหมดต้น และผลิใบใหม่แทน ลักษณะดอกเป็นดอกช่อแบบสะตอ ออกที่ปลายยอด เป็นก้านยาวสีเขียวสลับน้ำตาล ลักษณะผลเป็นฝัก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยางประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ ประมาณ 15-20 เมล็ดต่อฝัก ฝักแก่เต็มที่มีสีดำ เมล็ดในสีดำ เนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม และมีกลิ่นฉุน เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ดเมื่อแก่ตัดส่วนปลายนำไปเพาะให้แตกรากสั้น ๆ รับประทานสดหรือดอง ใช้เป็นผักเหนาะและนำไปประกอบอาหาร ทั้งผัดและแกง เช่น แกงหมูกับลูกเหรียง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหรียง

เหลืองสยาม

หลืองสยาม Hemsl.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหลืองสยาม

เหลืองคีรีบูน

หลืองคีรีบูน (Nees; อังกฤษ: Lollypops)เป็นพืชในเขตกึ่งร้อน มีสีเขียวตลอดปี ดอกช่อสีเหลือง ออกดอกในช่วงอากาศอบอุ่น เป็นไม้ประดับที่นิยมใช้ในการจัดสวน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหลืองคีรีบูน

เหลืองปรีดียาธร

หลืองปรีดียาธร (Silver trumpet tree, Tree of gold,Paraguayan silver trumpet tree) ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง จำพวกตาเบบูยา มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหลืองปรีดียาธร

เหลี่ยงเคี้ยว

หมวดหมู่:สมุนไพรจีน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหลี่ยงเคี้ยว

เหงือกปลาหมอ

หงือกปลาหมอ (Sea holly; ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus; ชื่อท้องถิ่น: แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน) เป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำลำคลอง อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงษ์และโรงเรียนนายเรือ ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอนั้น เป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าสมุนไพรชายน้ำ/สมุนไพรชายเลนก็ได้ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหงือกปลาหมอ

เหง้าน้ำทิพย์

หง้าน้ำทิพย์หรือยางขน เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ericaceae เป็นไม้ที่มักเกาะตามก้อนหิน แตกกิ่งจำนวนมาก มีรากสะสมอาหารเป็นก้อนใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ เนื้อใบหนา ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ โคนกลีบดอกรูประฆัง สีขาวอมชมพูอ่อน เป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ผลจนผลแก่ ออกดอกช่วงธันวาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกโดยหมอคาร์ ชาวไอริชเมื่อ 12 ธันวาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเหง้าน้ำทิพย์

เอพริคอต

อพริคอต หรือ แอพริคอต (apricot) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จากนั้นจึงแพร่หลายไปสู่อิตาลีและอังกฤษ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว ดอกสีขาว ผลเล็กกว่าลูกท้อ ผลกลม มีร่องกลางผลชัดเจน เปลือกบาง มีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เนื้อแห้ง แน่น รสเปรี้ยวหอม สีน้ำตาล แหล่งปลูกเอพริคอตหลักอยู่ที่จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แอฟริกา กินเป็นผลไม้สด ทำเอพริคอตในน้ำเชื่อม ใส่สลัดผลไม้และโยเกิร์ต แยมผลไม้ เอพริคอตตากแห้ง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเอพริคอต

เอี้ยงเซียม

อี้ยงเซียมในภาษาจีนแต้จิ๋วหรือเสวียนเซินในภาษาจีนกลาง อยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae เป็นพืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพรในแพทย์แผนจีน รากแห้งด้านนอกเป็นสีเทาเหลือง ข้างในเป็นสีน้ำตาลดำ กลิ่นคล้ายน้ำตาลไหม้ใช้ทำยาแก้อักเสบ ขับร้อนรากใช้เป็นยาระบายความร้อน ขจัดสารพิษ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเอี้ยงเซียม

เฮมล็อก

มล็อก (Hemlock; เป็นพืชในวงศ์ Apiaceae ต้นสูงได้ถึง 2.5 เมตร ส่วนโคนของกิ่งก้านมักมีจุดสีแดง ใบประกอบแบบขนนก ดอกสีขาว พบในยุโรปตอนกลางจนถึงฟินแลนด์ เทือกเขาอัลไต และแอฟริกาเหนือ น้ำยางมีกลิ่นเหม็นคล้ายปัสสาวะหนู มีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ระบบการหายใจล้มเหลว ยาพิษจากพืชชนิดนี้เป็นยาพิษที่โสกราตีสดื่ม หลังจากถูกศาลพิพากษาให้ประหารชีวิต.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเฮมล็อก

เฮียเฮียะ

ียเฮียะ (艾葉, จีนแต้จิ๋ว: hian7 hiêh8) หรือ เหี่ยเฉียะ ในภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางเรียกไอ้เยี่ยหรือไอ้เย่ (艾葉, พินอิน: ài-yè อ้ายเย่) ภาษามลายูเรียกอูลัมมักวัน เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีและเป็นพืชท้องถิ่นในจีน ญี่ปุ่น และไซบีเรีย ใบสีเทาเขียว มีขนนิ่มๆอยู่ประปราย ด้านล่างสีเทาขาว มีขนจำนวนมาก ใช้เป็นยาสมุนไพร รักษาตับ ม้าม และ ไตใบใช้เป็นยาแก้ไอขับเสมหะใช้เป็นยาห้ามเลือด บรรเทาปวด ชาวโอรังอัซลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซียใช้ใบสดเคี้ยวแก้ไอ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเฮียเฮียะ

เจี๋ยวกู่หลาน

ี๋ยวกู่หลาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynostemma pentaphyllum (Thunb.); ชื่ออื่น: ชาสตูล เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ เซียนเฉ่า) เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร ส่วนที่ใช้เป็นยา คือต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวาน เริ่มด้วยในปี 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพร ตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาจึงกลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา และศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีน thumb สรรพคุณและวิธีใช้ แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์แผนไทย ใช้ส่วนที่เป็นก้านตากแห้งบดละเอียดเช่นกัน แก้อ่อนเพลีย แก้แผลอักเสบ ช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย การขยายพันธุ์ สามารถกระทำได้โดยการเพาะเมล็ด การใช้ลำต้นใต้ดิน การใช้เถาปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพื.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเจี๋ยวกู่หลาน

เจตพังคี

ตพังคี Zipp.ex Span.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเจตพังคี

เจตมูลเพลิงขาว

ตมูลเพลิงขาว (Ceylon Leadwort, doctorbush) หรือ ปิดปิวขาว (ภาคเหนือ) เป็นพืชในวงศ์ Plumbaginaceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบรูปไข่ ยาว 3-13 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงแดง

ตมูลเพลิงแดง (Indian leadwort, scarlet leadwort) หรือ ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ), ไฟใต้ดิน (ภาคใต้) เป็นพืชในวงศ์ Plumbaginaceae มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-2 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ยาว 3-13 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเจตมูลเพลิงแดง

เทียนกิ่งขาว

ทียนกิ่งขาว หรือ เฮนนา (Henna) เป็นพืชในวงศ์ Lythraceae และเป็นพืชมีดอกชนิดเดียวในสกุล Lawsonia คำว่าเฮนนาในภาษาอังกฤษมาจาก ภาษาอาหรับ حِنَّاء (ALA-LC: ḥinnāʾ; ออกเสียง) หรือ حناหรือ เป็นไม้พุ่มเปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปรี ออกตรงข้ามกัน โคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกขาวเรียกเทียนกิ่งขาว ดอกแดงเรียกเทียนกิ่งแดง ผลกลมสีเขียวแก่แล้วสีน้ำตาล เปลือกต้น ผลและรากเมื่อรับประทานทำให้อาเจียน ท้องร่วง เป็นอัมพาตและแท้งบุตร กระจายพันธุ์ในแอฟริกาและเอเชียใต้ ใบสดของเทียนกิ่งต้มรวมกับเหง้าขมิ้นชันใช้รักษาเล็บขบ ผงใบแห้งใช้ย้อมผมให้เป็นสีแดงส้ม ใบมีสารลอว์โซน เป็นผลึกสีส้มแดงพืชชนิดนี้ใช้ทำสีย้อมที่เรียกเฮนนาเช่นกัน โดยใช้ทาผิวหนัง เส้นผม เล็บ ผ้าไหม ผ้าฝ้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนกิ่งขาว

เทียนภูหลวง

ทียนภูหลวง เป็นพืชในสกุลเทียนดอก วงศ์ Balsaminaceae เป็นไม้ล้มลุกขึ้นตามหินผา ใบหนา ขอบใบจัก ดอกเดี่ยว สีชมพู กลีบบนหยักเว้ารูปหัวใจ สองกลีบล่างแผ่กว้างมากที่สุด ผลรูปกระสวย แก่แล้วแตก ออกดอกช่วงตุลาคม – ธันวาคม เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่จังหวัดเลย พบครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย โดย T.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนภูหลวง

เทียนหยด

ทียนหยด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Duranta repens L.; Duranta erecta L.; ชื่อสามัญ: Sky flower; Golden dew drop; Pigeon berry; Duranta; ชื่อวงศ์: VERBENACEAE) มีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อ ได้แก่ เครือ (แพร่); พวงม่วง; ฟองสมุทร; เทียนไข (กรุงเทพฯ); สาวบ่อลด (เชียงใหม่)เป็นไม้พุ่มใบเป็นใบเดี่ยวรูปมนรีเรียว สอบไปทางปลาย ขอบใบเป็นหยักห่างๆออกดอกเป็นช่อห้อยตามปลายยอด ดอกมีสีม่วงมีกลีบดอก 5 กลีบ สามารถติดผลเป็นเม็ดกลมขนาดเล็กสีเหลืองคล้ายหยดเทียน ใช้ในการปลูกประดับทั่วไป เทียนหยดเป็นพืชที่มีพิษ โดย ผลสีส้มของเทียนหยด เป็นสารประกอบโปรตีนที่มีพิษ ไม่ควรรับประทาน หากรับประทานเข้าไปแล้วเคี้ยว อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ (แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วไม่เคี้ยว จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย) ภาพ:thianyot-thai.jpg|เทียนหยดไทย ภาพ:thianyot.jpg|เทียนหยดญี่ปุ่น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนหยด

เทียนผ้าห่มปก

ทียนผ้าห่มปก เป็นพืชในสกุลเทียนดอก วงศ์ Balsaminaceae เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นโค้งงอ ทุกส่วนมีขนอ่อนปกคลุม ใบเดี่ยว ขอบใบจักซี่ละเอียด ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ออกดอกช่วงตุลาคม – พฤศจิกายน พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ โดย ดร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนผ้าห่มปก

เทียนนกแก้ว

ทียนนกแก้ว (parrot flower) อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae อันดับ Ericales เป็นดอกไม้ที่แปลกตามาก เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใด ๆ ในโลก จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวงศ์เทียน มีรูปทรงของดอกที่สวยงามเหมือนนกแก้วที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า ดอกเทียนนกแก้ว จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกและเป็นพรรณไม้เมืองหนาว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนนกแก้ว

เทียนแม่ฮ่องสอน

ทียนแม่ฮ่องสอน เป็นพืชในสกุลเทียนดอก วงศ์ Balsaminaceae เป็นไม้ล้มลุก โคนต้นสีส้มอ่อน แตกกิ่งน้อย ใบเดี่ยว ขอบใบจัก ปลายใบแหลม มีขนนุ่ม ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบใกล้ยอด สีม่วงแดง กลีบบนแผ่กว้างมากที่สุด ผลรูปกระสวย ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน พบครั้งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยศาสตราจารย์ไคและอาจารย์สุกี ลาร์เสน ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนแม่ฮ่องสอน

เทียนไตรบุญ

ทียนไตรบุญ เป็นไม้ล้มลุกในสกุลเทียนดอก วงศ์ Balsaminaceae ต้นอวบน้ำ ยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายยอด ใบรูปไข่ ดอกช่อ ผลเป็นฝักยาว แก่แล้วแตก ออกดอกช่วงกรกฎาคม – สิงหาคม พบครั้งแรกในไทยเมื่อ 18 สิงหาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนไตรบุญ

เทียนเชียงดาว

ทียนเชียงดาว เป็นพืชในสกุลเทียนดอก วงศ์ Balsaminaceae เป็นไม้ล้มลุกขึ้นตามซอกหินปูน ใบรูปไข่หนา ดอกช่อ ปลายกลีบบนหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ สองกลีบล่างแผ่กว้างมากที่สุด ผลรูปกระสวย แก่แล้วแตก ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม พบครั้งแรกที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดย T.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเทียนเชียงดาว

เท้ายายม่อมหลวง

ท้ายายม่อมหลวง เป็นไม้ผลัดใบในวงศ์ Sterculiaceae หรือ Malvaceae ลำต้นเรียบ สีเขียวอมเทา ใบเดี่ยว มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อแบบแตกแขนง กลีบดอกสีชมพู เกสรตัวผู้สีเหลือง ผลเดี่ยว เป็นพูห้าพู อ่อนเป็นสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลแตกตามพู เมล็ดสีน้ำตาล ไม้ใช้ทำเครื่องมือ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเท้ายายม่อมหลวง

เท้ายายม่อมตัวเมีย

ระวังสับสนกับ เท้ายายม่อม เท้ายายม่อมตัวเมีย (S. Moore) มีชื่ออื่น ๆ ว่า เท้ายายม่อม, เท้ายายม่อมดอกขาว, พญารากเดียว, ไม้เท้าฤๅษี, ปู้เจ้าหายใจไม่รู้ขาด หรือไม้เท้ายายม่อม เป็นพืชในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) ลำต้นตรง ไม่ค่อยมีกิ่งก้าน ใบเดี่ยว ออกตามข้อ ดอกออกเป็นช่อ โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด สีขาว ผลกลม สุกเป็นสีดำ พืชชนิดนี้ เป็นพืชคนละชนิดกับเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides) ที่มีหัวซึ่งนำไปทำเป็นแป้งเท้ายายม่อม แต่รากของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้และถอนพิษ และใบสามารถนำไปสูบแทนกัญชาได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเท้ายายม่อมตัวเมีย

เขยตาย

ตายหรือกระรอกน้ำ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ Rutaceae ลำต้นเรียบ สีน้ำตาลแดง ใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวเข้มหลังใบสีอ่อนกว่า ดอกช่อ กลีบเลี้ยงสีเขียวเชื่อมติดกัน กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้เป็นแท่งอยู่กลางดอก ผลเดี่ยวกลม ปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกผิวเต่งเป็นมันกลม สีชมพูฉ่ำน้ำ รสหวาน มีเมล็ดเดียว รากใช้รักษาแผลอักเสบ ยางในทุกส่วนของลำต้นทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้ ไฟล์:Glycosmis pentaphylla by kadavoor.JPG|ผลอ่อน ไฟล์:Glycosmis pentaphylla in Kudayathoor.jpg|ผลสุกบางส่วน ไฟล์:Glycosmis pentaphylla at Kudayathoor.jpg|ผลสุก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเขยตาย

เขาควายไม่หลูบ

วายไม่หลูบ หรือ เขาควายไม่ว้องหรือโงบ เป็นพืชในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้รอเลื้อยเนื้อแข็ง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนปกคลุม ดอกช่อออกที่ปลายยอด มีริ้วประดับย่อยระหว่างดอก ดอกรูปร่างเหมือนดอกเข็ม สีเขียวหรือเหลือง ผลเป็นแคปซูลแห้ง เมล็ดมีปีก กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงอินโดจีน และเกาะสุมาตรา ในอินโดจีนใช้เปลือกกินแทนหมาก แก้ไข้ ในเวียดนามเคยใช้ชงน้ำดื่มแทนน้ำ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเขาควายไม่หลูบ

เขี้ยวฟาน

ี้ยวฟาน หรือ หำฟาน เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Oleaceae ลำต้นและกิงอ่อนมีขนสีนวลเทา ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีขาว ผลเมื่ออ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงหรือสีดำ ร่วงง่าย ใบมีรสเผ็ด ชาวไทยอีสานนำมารับประทานกับหมากแทนใบพลูได้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเขี้ยวฟาน

เข็มม่วง

็มม่วง (Violet Ixora; Lindau)เป็นไม้ป่าใน ประเทศ พบมากในป่าทางภาคใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง ประมาณเมตรเศษๆ ลำต้นเล็ก กิ่งก้านเปราะและมีสาขา ไม่มากนัก ใบยาวรี ผิวใบสาก ออกเป็นคู่ตามข้อต้น ดอกออกเป็นช่อตั้งตามยอด สีม่วง คล้ายดอกเข็ม แต่ ดอกไม่เกาะกลุ่มแน่นอย่างเข็ม ให้ดอกตลอดปี แต่โรยเร็ว ดอกมากในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนหรือตัดกิ่งปักชำ เป็นไม้ประดั.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเข็มม่วง

เข็มอินเดีย

็มอินเดีย (accessdate, Starflower) เป็นไม้พุ่ม ดอกคล้ายดอกเข็ม มี 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู เข็มอินเดียเป็นไม้พุ่มเตี้ย เนื้ออ่อน ลำต้นสูงประมาณ 18 ฟุต มีขนอยู่ทั่วลำต้นและใบด้วย ลำต้นและกิ่งก้านจะเปราะ ใบรูปมนรี ปลายอาจจะแหลม ยาวประมาณ 1.5 ถึง 2 นิ้ว ดอกเป็นช่อ อยู่ตามยอดของต้นเช่นเดียวกับดอกเข็ม ดอกมี 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู ทุกส่วนของลำต้นมีขน ทำให้คัน บวมแดง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเข็มอินเดีย

เข็มขาว

็มขาวหรือสมิงคำราม ยาญวนหิน หมีคำราม เป็นพืชในสกุลจันทนา วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ดอกช่อกลม ดอกย่อยจำนวนมาก ติดผลจำนวนมาก ผลกลม ออกดอกและติดผลตลอดปี พบในภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบครั้งแรกที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ D.J.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเข็มขาว

เข็มซ่อนก้าน

็มซ่อนก้าน เป็นพืชในสกุลเข็ม วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลกลม ออกดอกเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน พบในภาคเหนือและภาคตะวันตก พบครั้งแรกที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติให้แก่หมอคาร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเข็มซ่อนก้าน

เดื่อผา

ื่อผา อยู่ในวงศ์ Moraceae ไม้พุ่ม ผลออกตามต้น มีขนสีน้ำตาลอมดำแข็งปกคลุม มีสัน 5 สัน ทุกส่วนมียางสีขาว ผลกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเดื่อผา

เครือมวกไทย

รือมวกไทย เป็นไม้เลื้อยเถาอ่อนในวงศ์ Apocynaceae ใบออกเป็นกระจุกตามกิ่ง เนื้อใบหนา ดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ดอกช่อ ดอกย่อยมีจำนวนมาก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ดอกบานช่วงกันยายน – พฤศจิกายน เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่านั้น พบครั้งแรกเมื่อ 12 สิงหาคม..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเครือมวกไทย

เครือห้าต่อเจ็ด

รือห้าต่อเจ็ด อยู่ในวงศ์ Vitaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นกลม มีมือจับ ใบประกอบ ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีม่วงดำ มี 1-3 เมล็ด ดอกและยอดอ่อนกินเป็นผัก.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเครือห้าต่อเจ็ด

เครือออน

รือออน อยู่ในวงศ์ Lamiaceae เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยพันบนต้นไม้อื่น ลำต้นมีขนนุ่ม ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง สีชมพูอมม่วง ใบบดอังไฟให้ร้อน พอกบริเวณถูกสัตว์มีพิษ ทั้งต้นต้ำน้ำดื่มแก้ไอ ขับปัสสาว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเครือออน

เครือขยัน

รือขยัน หรือย่านางแดง เป็นไม้เลื้อยในสกุลชงโค และวงศ์ถั่ว จัดเป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกรากขรุขระมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้ภายในรากสีน้ำตาลแดง เถาแบน มีร่องตรงกลาง เปลือกสีออกเทาน้ำตาล เมื่อแก่เถากลม สีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ในทางยาสมุนไพรมีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ฝาดสมาน ใช้ ใบ เถา และราก เป็นยาเช่นเดียวกับย่านางแต่มีฤทธิ์แรงกว่า ใช้ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง แก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้ฝนกับน้ำ หรือต้มน้ำดื่ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นส่วนผสมของยาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเครือขยัน

เครือเทพรัตน์

รือเทพรัตน์ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Malvaceae ลักษณะของดอกคล้ายดอกชบาแต่กลีบดอกไม่บานออกเท่า เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย พบที่จังหวัดตากเท่านั้น พบครั้งแรกในประเทศไทยโดย ดร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเครือเทพรัตน์

เคี่ยม

ี่ยม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Dipterocarpaceae พบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ไม่มีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลเข้มอมดำ ผิวแตกเป็นร่องลึก หลุดออกได้ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ ดอกสีเหลืองอ่อน บานเต็มที่ กลีบดอกบิดห่อเข้าหากัน ผลเดี่ยว มีปีกสีเขียวทรงลูกข่าง ผลแก่สีน้ำตาล ปลิวตามลมได้ เนื้อไม้แข็งแรงทนทาน ใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกไม้ใส่ในภาชนะรองรับน้ำตาลไม่ให้บูดเน่า ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้ท้องร่วง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเคี่ยม

เงาะขนสั้น

ผล เนื้อในของเงาะขนสั้น เงาะขนสั้น หรือ Nephelium ramboutan-ake เป็นพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเงาะ ภาษาสเปนและภาษามลายูเรียกปูลาซัน ภาษาอินโดนีเซียเรียก กาปูลาซัน ในฟิลิปปินส์เรียกบูลาลา เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบ ดอกออกตามปลายกิ่งหรืออยู่ค่อนลงมาจากปลายกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ผลรูปรีจนถึงค่อนข้างกลม มีหนามยาวปกคลุมหนาแน่น ผลสีแดงอมเหลืองหรือดำ เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาว ผลนิยมรับประทานสด รสหวานกว่าเงาะและลิ้นจี.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเงาะขนสั้น

เงาะไม่มีขน

งาะไม่มีขน เป็นพืชที่มีความใกล้เคียงกับเงาะ ผลเป็นแบบผลเมล็ดเดียวเช่นเดียวกัน แต่เปลือกผลไม่มีขน นิยมรับประทานสดเป็นผลไม้ แต่ยังไม่มีการปลูกเป็นการค้า รู้จักดีและนำมารับประทานเมื่อสุกเต็มที.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเงาะไม่มีขน

เงี่ยงดุกน้อย

งี่ยงดุกน้อย เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Rubiaceae เมื่อกิ่งยาวขึ้นปลายกิ่งจะโน้มลง มีหนามแหลมทุกส่วน ใบเดี่ยว ผิวใบด้านบนเป็นมัน มีขนประปราย ผลสด สุกแล้วเป็นสีส้มหรือสีแดง มีเมล็ดเดียว ใช้เป็นไม้ประดับ ทางภาคอีสานใช้รากฝนกับน้ำดื่มแก้วัณโร.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเงี่ยงดุกน้อย

เฉาก๊วย (พืช)

เฉาก๊วยในรูปแบบอาหารว่าง เฉาก๊วย หรือ หญ้าเฉาก๊วย (xiancao (仙草, 仙人草, 仙草舅, 涼粉草) ใน ภาษาจีนกลาง, sian-chháu ในภาษาจีนไต้หวัน, leung fan cao (涼粉草) ใน ภาษาจีนกวางตุ้ง sương sáo ใน ภาษาเวียดนาม) เป็นพืชในจีนัส Mesona ในตระกูลเดียวกับมินต์ (พืชจำพวกสะระแหน่) มักพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ชอบขึ้นในหุบเขาที่ดินทรายแห้งมีหญ้าขึ้น มีความสูงราว 15–100 ซม.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเฉาก๊วย (พืช)

เฉียงพร้านางแอ

เฉียงพร้านางแอ(หรือ เขียงพร้า,กวางล่ามา(ตราด),บงมั่ง(ปราจีน),แสนฟ้านางแอ,โอ่งนั่ง,บ่งนั่ง(อุดร),วงคต,บงคต,สีฟันนางแอ,เฉียงพร้านางแอ่น,(พายัพ)คอแห้ง,เขียงฟ้า,(ภาคใต้),เขียงพร้านางแอ(ชุมพร),กูมุย(เขมรสุรินทร์)เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึง ขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น เปลือกต้นเป็นสีดำและขรุขระเล็กน้อย ใบเดี่ยว ออกใบสลับกันไปตามลำต้น มีสีเขียว มีเนื้อที่แข็ง ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบไทรย้อย ใบดกและหนาทึบ ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของลำต้น ดอกของต้นเฉียงพร้านางแอนี้มีขนาดเล็ก และมีสีเขียวเหลืองๆ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นสูง มักขึ้นตามป่าชื้นและที่ลุ่มชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการตอน และเพาะเมล็ด เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ระงับความร้อน แก้ไข้กล่อมเสมหะและโลหิต และ ยังแก้พิษร้อนภายในร่างกายแต่จะทำให้กระหายน้ำบ้าง ซึ่งจะมีรสฝาด เย็น และหวานเล็กน้อย (อ้างอิงจาก108สมุนไพรไทย เล่ม3) หมวดหมู่:สมุนไพร หมวดหมู่:วงศ์โกงกาง.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเฉียงพร้านางแอ

เปล้าแขบทอง

ปล้าแขบทอง หรือ ปอกะปลา Pierre ex Gagnep.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเปล้าแขบทอง

เปล้าใหญ่

ปล้าใหญ่ Roxb.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเปล้าใหญ่

เนโมฟีลา

นโมฟีลา (Nemophila) เป็นชื่อสกุลไม้ดอกในวงศ์ Hydrophyllaceae.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และเนโมฟีลา

Bauhinia forficata

Bauhinia forficata หรือมีชื่อสามัญว่า ปาตา เด วากา (Pata de Vaca) เป็นพืชมีดอกที่เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชท้องถิ่นของบราซิลและเปรู ในทางยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคเบาหวานและโรคทางเดินปัสสาวะในบราซิล มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลอง เพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่กล้ามเนื้อ.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และBauhinia forficata

Bauhinia tarapotensis

Bauhinia tarapotensis เป็นพืชในสกุลชงโค วงศ์ถั่ว กระจายพันธุ์ในบราซิล เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์และโบลิเวีย เป็นพืชที่เป็นสมุนไพร ใช้รักษาอาการอักเสบในเอกวาดอร์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ลดอาการบวมน้ำในหูหนูที่ถูกชักนำด้วยน้ำมันจากพืชสกุลเปล้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และBauhinia tarapotensis

Bruguiera

Bruguiera เป็นสกุลของพืชมีดอกใน วงศ์โกงกาง ประกอบด้วยไม้ป่าชายเลน 6 สปีชีส์ พบตามมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาจนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมลานีเซียและโพลีเนเซีย ชื่อสกุลนี้ตั้งตามชื่อนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Jean Guillaume Bruguière.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และBruguiera

Darlingtonia californica

Darlingtonia californica, หรือที่เรียกกันว่า California Pitcher plant, Cobra Lily, หรือ Cobra Plant, เป็นพืชกินสัตว์ เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Darlingtonia ในวงศ์ Sarraceniaceae มีถิ่นกำเนิดในทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐออริกอนเติบโตในห้วยที่มีน้ำเย็นไหลผ่าน ชื่อ Cobra Lily มาจากความคล้ายคลึงกันของใบที่เป็นหลอดที่มีใบสีเหลืองถึงเขียวออกม่วงเป็นง่ามที่ปลาย กับงูเห่าที่แผ่แม่เบี้ยและแลบลิ้นอยู่ พืชชนิดนี้ถูกค้นพบในปี..

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และDarlingtonia californica

Dracontomelon

Dracontomelon เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Anacardiaceae สปีชีส์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ Dracontomelon duperreanum ซึ่งเป็นผลไม้ในกัมพูชา เวียดนาม และ จีน.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และDracontomelon

Homonoia retusa

Homonoia retusa เป็นพืชในสกุล Homonoia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับไคร้น้ำ แต่มีการประจายพันธุ์ พบในเขตที่ลุ่มน้ำขังของประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พบใกล้บริเวณที่เป็นก้อนหินในทางน้ำไหลของแม่น้ำ เป็นพืชท้องถิ่นทางใต้ของอินเดีย มีรายงานว่าพบในรัฐทมิฬนาดู รัฐกรณาฏกะ รัฐอานธรประเทศ รัฐเกรละ และรัฐมหาราษฏระ พืชชนิดนี้เป็นพืชที่มีเนื้อไม้ ดอกช่อเชิงลดแยกดอกแยกต้น เป็นพืชสมุนไพรที่กล่าวถึงในตำราอายุรเวทของอินเดีย ซึ่งเรียกพืชขนิดนี้ว่า Pashanabheda ปศนเภทะ ซึ่งมาจากรากศัพท์ pashana แปลว่าก้อนหิน และ bheda แปลว่าทำให้แตก ซึ่งเป็นยาที่ใช้ทำลายก้อนแข็งในกระเพาะปัสสาวะและไต ในประเทศอินเดียใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการไอ เบาหวานและขับปัสสาว.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และHomonoia retusa

Lannea

Lannea เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Anacardiaceae สปีชีส์ในสกุลนี้ได้แก่.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และLannea

Mansonia gagei

ันทน์ชะมด, จันทน์หอม หรือ จันทน์พม่า เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในวงศ์ชบา (Malvaceae) ลำต้นตรง เปลือกสีเทาอมขาว ใบเดี่ยว ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ผลแห้ง แต่ละผลมีปีกรูปสามเหลี่ยมที่ปลายผล 1 อัน ไม้ที่ตายเองมีกลิ่นคล้ายชะมด ใช้ทำหีบ ตู้เสื้อผ้า เนื้อไม้ใช้ผสมในยาแก้ไข้ น้ำมันที่กลั่นจากเนื้อไม้ ใช้ทำน้ำหอม ผสมในยาบำรุงหัวใจ เครื่องยาจันทน์ชะมดที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาไทยในปัจจุบันได้มาจากแก่นพืชชนิดนี้.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และMansonia gagei

Nepenthes burbidgeae

Nepenthes burbidgeae หรือที่รู้จักกันในชื่อ painted pitcher plantKurata, S. 1976.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และNepenthes burbidgeae

Nepenthes deaniana

Nepenthes deaniana (ได้ชื่อตาม Dean C. Worcester, ผู้เก็บตัวอย่างไม้ชาวฟิลิปปิน) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของประเทศฟิลิปปินส์ พบที่ระดับความสูง 1180–1296 ม.จากระดับน้ำทะเลMcPherson, S.R.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และNepenthes deaniana

Nepenthes faizaliana

Nepenthes faizaliana เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวที่พบบนผาหินปูนของอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลูในรัฐซาราวะก์บนเกาะบอร์เนียว คาดกันว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับ N.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และNepenthes faizaliana

Parashorea

Parashorea เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Dipterocarpaceae คำว่าParashorea มาจากภาษากรีก (para.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และParashorea

Sarracenia

Sarracenia เป็นสกุลของพืชที่ประกอบไปด้วย 8 - 11 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นสกุลที่อยู่ในวงศ์ Sarraceniaceae ที่บรรจุไปด้วยสกุลญาติใกล้ชิดอย่าง Darlingtonia และ Heliamphora Sarracenia เป็นสกุลของพืชกินสัตว์มีถิ่นกำเนิดแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก, รัฐเทกซัส, บริเวณเกรตเลกส์และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา ซึ่งสปีชีส์ส่วนใหญ่จะอยู่ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา (ยกเว้น S.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และSarracenia

Tabernaemontana

Tabernaemontana orientalis Tabernaemontana เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ตีนเป็ด มี 100-110 สปีชีส์ เป็นพืชที่กระจายตัวในเขตร้อน เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ใบเรียงตรงข้าม ยาว 3–25 เซนติเมตร ยางขาวเหมือนน้ำนม จึงมักเรียกพืชในสกุลนี้ว่า "milkwood" ดอกมีกลิ่นหอม สีขาว พุดจีบ (Tabernaemontana divaricata cv.

ดู พืชใบเลี้ยงคู่แท้และTabernaemontana

หรือที่รู้จักกันในชื่อ EudicotEudicots

พฤกษ์พลองเหมือดพลับพลา (พืช)พลับจีนพลัมยุโรปพวงฟ้าพวงร้อยพวงแสดพะยอมพังกาหัวสุมดอกขาวพังกาหัวสุมดอกแดงพันงูเขียวพิษนาศน์พืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวพุทราจีนพุทราทะเลพุดชมพูพุดพิชญาพุดภูเก็ตพุดจีบพุดทุ่งพุดซ้อนพุงแกพูมารีพู่เรือหงส์กระบกกระบากกระบิดกระพังโหมกระจับนกกระทงลายกระดอมกระดิ่งช้างเผือกกระดุมทองเลื้อยกระโดนใต้กระเจาะกระเจี๊ยบกระเจี๊ยบละว้ากลีบเทียนกล้วยฤๅษีกวาวเครือขาวกวาวเครือแดงกะทกรกกะทกรกต้นกะเมียกะเม็งกัญชากัญชาเทศกัดลิ้นกันเกรากาบหอยแครงกากหมากกากหมากตาฤๅษีกาญจนิการ์กาฝากกาฝากมะม่วงกาหยีเขากานพลูกาแฟใบใหญ่กำลังเสือโคร่งกำแพงเก้าชั้นกำแพงเจ็ดชั้นกุหลาบกุหลาบพันปีกุหลาบญี่ปุ่นกุหลาบมอญกุหลาบแดงกุหลาบเชียงดาวกุ่มบกกุ่มน้ำกีนัวก่วมแดงก่อหลับก่อหัวหมูก่อผาก่อแพะก้ามกุ้งดอยฝรั่งฝาดฝางฝิ่นหนามฝ้ายคำมะพลับมะพลับเจ้าคุณมะพอกมะพูดมะกรูดมะกอกฝรั่งมะกอกออลิฟมะกอกโคกมะกอกเกลื้อนมะก่อมะม่วงมะม่วงชันมะม่วงกะเลิงมะม่วงหัวแมงวันมะม่วงจิ้งหรีดมะม่วงขี้ยามะม่วงขี้ไต้มะม่วงป่ามะยมฝรั่งมะยมทองมะยมแก้วมะริด (พืช)มะละกอภูเขามะลิมะลิลามะลิสยามมะลินกมะลิไส้ไก่มะลุลีมะสังมะส้านมะหลอดมะหวดมะอึกมะฮอกกานีใบใหญ่มะจ้ำก้องมะขวิดมะขามแขกมะขามเทศมะดะหลวงมะดันมะดูกมะคังแดงมะคำดีควายมะค่าแต้มะค่าโมงมะงั่วมะตาดมะปรางมะปริงมะปี๊ดมะนาวผีมะนาวไม่รู้โห่มะแว้งนกมะแข่นมะไฟกามะไฟควายมะเกลือมะเม่ามะเม่าดงมะเม่าควายมะเขือบ้าดอกขาวมะเขือพวงมะเขือเทศราชินีมะเขือเทศต้นมะเดื่อมะเดื่อฟาโรห์มะเดื่อปล้องมะเนียงน้ำมังกรคาบแก้วมังคะมังคุดทะเลมังตานมันขี้หนูมากี้เบอร์รี่มารังมาลัย (พืช)มาเตมิราเคิล (พืช)มิลามือสยามมธุลดามณเฑียรไทยม่อนไข่ม้ากระทืบโรงยมหินยอยอป่ายาสูบเล็กยางกราดยางนายางน่องเถายาแก้ยี่โถย่ามควายย่าหยา (พืช)ระย่อมพินเก้ระย่อมน้อยระฆังแคนเตอร์บรีระงับระงับพิษรัก (ไม้พุ่ม)รักทะเลรังราชดัดรางจืดราตรี (พรรณไม้)รำเพยรุ่งอรุณรงละมุดขาวละไมลัดวิเจียเล็กลั่นทมลาเวนเดอร์ลาเวนเดอร์สามัญลำบิดทะเลลำยาลำโพงม่วงลำโพงราชินีมืดลำโพงแดงลิ้นจี่ลิ้นงูเห่าลูกปืนใหญ่ (พืช)ลูกน้ำนมลูกเขยตายแม่ยายทำศพวอลนัตวีสเตียเรียวงศ์บอระเพ็ดวงศ์บัวหลวงวงศ์ชาวงศ์บานไม่รู้โรยวงศ์บานเย็นวงศ์พญารากดำวงศ์พระจันทร์ครึ่งซีกวงศ์พวงแก้วกุดั่นวงศ์พิกุลวงศ์พุทราวงศ์กระบกวงศ์กระทืบยอดวงศ์กระทงลายวงศ์กระท้อนวงศ์กระโถนฤๅษีวงศ์กฤษณาวงศ์กะลังตังช้างวงศ์กะทกรกวงศ์กะตังใบวงศ์กัญชาวงศ์กันเกราวงศ์กาฝากวงศ์กำลังเสือโคร่งวงศ์กุหลาบหินวงศ์กุหลาบป่าวงศ์กุ่มวงศ์ก่วมวงศ์ก่อวงศ์ฝิ่นวงศ์มะพลับวงศ์มะพอกวงศ์มะม่วงวงศ์มะรุมวงศ์มะละกอวงศ์มะลิวงศ์มะหลอดวงศ์มะขามป้อมวงศ์มะแฟนวงศ์มะเขือวงศ์มังคุดวงศ์มุ่นดอยวงศ์มณเฑียรทองวงศ์ยางพาราวงศ์ยางนาวงศ์ย่อยระย่อมวงศ์ย่อยราชพฤกษ์วงศ์ย่อยสีเสียดวงศ์ย่อยส้มลมวงศ์ย่อยถั่ววงศ์ย่านตีเมียวงศ์รักทะเลวงศ์ว่านไก่แดงวงศ์สร้อยสุวรรณาวงศ์สะเดาดินวงศ์สายน้ำผึ้งวงศ์สนุ่นวงศ์สนทะเลวงศ์ส้านวงศ์หญ้างวงช้างวงศ์ผกากรองวงศ์ผักบุ้งวงศ์ผักชีวงศ์ผักกาดวงศ์ผักหวานวงศ์ผักไผ่วงศ์ผักเบี้ยวงศ์จิกวงศ์ถอบแถบวงศ์ทานตะวันวงศ์ขนุนวงศ์ขนุนดินวงศ์ข้าวสารหลวงวงศ์ดอกหรีดเขาวงศ์ดอกดินวงศ์ดาดตะกั่ววงศ์คำแสดวงศ์ค่าหดวงศ์งาวงศ์ตะแบกวงศ์ตานเหลืองวงศ์ติ้ววงศ์ตีนเป็ดวงศ์ต่างไก่ป่าวงศ์ปลาไหลเผือกวงศ์นมตำเลียวงศ์น้ำใจใคร่วงศ์แตงวงศ์โกงกางวงศ์โคคาวงศ์โนราวงศ์เล็บครุฑวงศ์เหมือดคนวงศ์เหงือกปลาหมอวงศ์เอี้ยบ๊วยวงศ์เทียนดอกวงศ์เทียนเกล็ดหอยวงศ์เข็มวงศ์เน่าในว่านตะขาบสบู่ดำสกุลชบาสกุลบลูเบอร์รีสกุลบานไม่รู้โรยสกุลชงโคสกุลพิสตาชีโอสกุลพุดสกุลกฤษณาสกุลกะทกรกสกุลกัญชาสกุลกาแฟสกุลมะพลับสกุลมะม่วงสกุลมะม่วงหัวแมงวันสกุลมะม่วงหิมพานต์สกุลมะละกอสกุลมะขามป้อมสกุลมะขามเทศสกุลมะไฟสกุลมะเฟืองสกุลมะเม่าสกุลมะเขือสกุลมังคุดสกุลยางนาสกุลลัดวิเจียสกุลวอลนัตสกุลสะแล่งหอมไก๋สกุลสะเดาดินสกุลอังกาบสกุลผักกาดหอมสกุลจันทนาสกุลจั่นสกุลถ่อนสกุลขี้เหล็กสกุลขนุนสกุลขนุนดินสกุลดาวเงินสกุลครามสกุลงิ้วสกุลตีนเป็ดทะเลสกุลประทัดดอยสกุลป่านรามีสกุลนมตำเลียสกุลแสลงใจสกุลโพสกุลโมกมันสกุลไคร้น้ำสกุลเจินจูฉ่ายสกุลเถาคันสกุลเทียนดอกสกุลเครือเขาน้ำสกุลเงาะสมอทะเลสร้อยสยามสร้อยอินทนิลสลัดไดสวาดสะบ้า (พืช)สะพานก๊นสะเดาเทียมสัก (พรรณไม้)สักขีสังเครียดกล้องสันโสกสาบหมาสาบเสือสามเกลอข้อโปนสารพัดพิษสาละสาลี่ (ผลไม้)สาธร (พรรณไม้)สาดรากลำเทียนสำมะงาสำรองสิรินธรวัลลีสุพรรณิการ์สีฟันกระบือสีง้ำสีเสียดแก่นสนุ่นสนทรายสนทะเลส่องฟ้าส้มกบส้มมุดส้มม่วงคันส้มลมส้มสันดานส้มหูกส้มซ่าส้มแก้วส้มแขกส้มเขียวหวานส้านช้างส้านหินหญ้าช้างน้อยหญ้าละอองหญ้าหวานหญ้าขัดใบยาวหญ้างวงช้างหญ้าน้ำค้างหญ้าไฟตะกาดหญ้าเหล็กขูดหมักม่อหมันทะเลหมู่ตันผีหม่อนอ่อนหยาดน้ำค้าง (สกุล)หยีหลุมพอทะเลหล่อฮังก๊วยหว้านาหัวร้อยรูหัวฆ้อนกระแตหัสคุณหาดรุมหางหมาจอกหางไหลหิรัญญิการ์หิ่งเม่นหูปลาช่อนหีบไม้งามหงส์เหิรหนามแท่งหนามแดง (พืช)หนุมานประสานกายห้อมห้อมช้างอรพิมออริกาโนออลสไปซ์อะรางอัญชันป่าอัมพวา (ผลไม้)อัคคีทวารอังกาบอังกาบสีปูนอังกาบหนูอันดับชบาอันดับชมพู่อันดับบัวสายอันดับพวงแก้วกุดั่นอันดับกระทืบยอดอันดับกระทงลายอันดับกะเพราอันดับกุหลาบอันดับกุหลาบป่าอันดับก่ออันดับย่านตีเมียอันดับอัสดงอันดับผักชีอันดับผักกาดอันดับจำปาอันดับถั่วอันดับทานตะวันอันดับดอกหรีดเขาอันดับคาร์เนชันอันดับแตงอันดับโคกกระสุนอันดับโนราอันดับเงาะอันดับเน่าในอาร์รากาชาองุ่นบราซิลอ้อยช้างอ้อยสามสวนฮาโลไซลอนขาวผกากรองผักบุ้งผักบุ้งจีนผักบุ้งขันผักบุ้งไทยผักชีผักชีฝรั่งผักชีลาวผักกาดกบผักกาดก้านขาวผักกาดหอมผักกาดหัวผักกาดนกยูงผักลิ้นห่านผักหวานทะเลผักหวานป่าผักหวานเมาผักหนอกผักอีเปาผักจินดาผักคราดหัวแหวนผักคาผักแพวผักแขยงผักโขมหนามผักเบี้ยทะเลผักเลือดผักเสี้ยนผีผักเป็ดจมูกปลาหลดจอกบ่วายจันจันทร์กระจ่างฟ้าจั่น (พรรณไม้)จำปาดะจิกจิกสวนจิกน้ำจิกเลจิงจูฉ่ายจุกโรหิณีจ้าม่วงจ้าเครือธนนไชยถอบแถบทะเลถั่วลูกไก่ถั่วผีทะเลถั่วขาว (ไม้ยืนต้น)ถั่วดำ (ไม้ยืนต้น)ถั่วด้วงถั่วคล้าทะเลถั่วเมสคาลถุงมือจิ้งจอกถ่อนฝักตั้งทองพันชั่งทองเดือนห้าทิพเกสรทิวาราตรีทิ้งทวนทิ้งทองหูทุเรียนขมิ้นเครือขลู่ขวงขามคัวะขาวปั้นขานางขี้กาแดงขี้หนอนเถาขี้ครอกขี้เหล็กขี้เหล็กย่านขี้เห็นขนุนนกข่อยดานข่อยดำดอกดิน (พืช)ดาวเรืองเม็กซิโกดาวเงินไทยทองดาดตะกั่วดูกค่างดูกไก่ย่านดีปลากั้งด่าง (พืช)ครอบฟันสีคราม (พืช)ครามป่าครามเถาคอนสวรรค์ (พืช)คันธุลีคำฝอยคำรอกคำขาวคำแดงคุณนายตื่นสายคนทีสอทะเลค่าหดงวงช้างทะเลตองสยามตองหมองตองเต๊าะตะขบฝรั่งตะขบป่าตะขบไทยตะคร้อตะแบกเกรียบตะเคียนตะเคียนชันตาแมวตังกุยตังเซียมตาตุ่มทะเลตานหม่อนตานเหลืองตำลึงตำลึงตัวผู้ตำเสาตำเสาหนูติ้วขนติ้วเกลี้ยงตีนนกตีนเป็ดทรายตีนเป็ดน้ำตีนเป็ดแคระต่อไส้ต่างไก่ป่าต้อยติ่งต้นไม้พ่นควันฉัตรพระอินทร์ซากัวโรประยงค์ประทัดสุเทพปอบิดปอสาปอทะเลปอต่อมปอเต่าไห้ปัตตาเวีย (พืช)ปีบปีบทองป่านรามีนมพิจิตรนารา (พืช)นางแย้มป่าน้ำนมราชสีห์น้ำนมราชสีห์ทะเลน้ำนมราชสีห์เล็กน้ำเต้าน้ำเต้าต้นแพร์แพงพวยฝรั่งแกแลแก้ว (พรรณไม้)แก้งขี้พระร่วงแมกโนลิดแมคาเดเมียแมงลักคาแมแหมะแย้มปีนังแววมยุราแสมแดงแห้วประดู่แอฟริกันไวโอเล็ตแอสเทอริดแอปเปิลแครนเบอร์รีแคสันติสุขแคทะเลแคนตาลูปแตงพะเนินทุ่งแตงกวาอาร์มีเนียแตงกวาต้นแตงไทยแซะแปบแปะเจียกแป๊ะตำปึงโพศรีโพธิ์ขี้นกโพทะเลโกฐหัวบัวโกงกางบกโกงกางหูช้างโกงกางใบใหญ่โกงกางเขาโมกโมกราชินีโมกสยามโมกแดงโมกเหลืองโมกเหลืองใบบางโมกเครือโยทะกาโรสิดโลดทะนงแดงโลควอทโสมเวียดนามโอกาโอ๊กโทะ (พืช)โทงเทงโทงเทงฝรั่งโด่ไม่รู้ล้มโคกกระสุนโคคลานโต๋วต๋งโปรงขาวโปรงแดงโป๊ยเซียน (พืช)โนรีเกาะช้างไฟเดือนห้าไกรไกรทอง (พืช)ไมยราบไมยราบไร้หนามไม้ลายไลลักไส้กรอกแอฟริกาไฮเดรนเจียไทรย้อยใบทู่ไทรทองไข่ดาว (พรรณไม้)ไข่เขียวไข่เน่า (พืช)ไคร้ย้อยไคร้น้ำเบญจมาศน้ำเค็มเพชรสังฆาตเพกาเกรปฟรูตเกล็ดมังกรเกล็ดปลาหมอเกาลัดเกาลัดญี่ปุ่นเกาลัดจีนเก๋ากี่เมาเม่าไข่ปลาเล็บครุฑ (พรรณไม้)เล็บครุฑไซ่ง่อนเสมาเสม็ดขาวเสม็ดแดงเสลดพังพอนเสาวรสเสาวรสลิ้นงูเสาวรสเม็กซิโกเสี้ยวดอกขาวเสี้ยนเหมือดคนตัวผู้เหมือดโลดเหยื่อเลียงผาเหรียงเหลืองสยามเหลืองคีรีบูนเหลืองปรีดียาธรเหลี่ยงเคี้ยวเหงือกปลาหมอเหง้าน้ำทิพย์เอพริคอตเอี้ยงเซียมเฮมล็อกเฮียเฮียะเจี๋ยวกู่หลานเจตพังคีเจตมูลเพลิงขาวเจตมูลเพลิงแดงเทียนกิ่งขาวเทียนภูหลวงเทียนหยดเทียนผ้าห่มปกเทียนนกแก้วเทียนแม่ฮ่องสอนเทียนไตรบุญเทียนเชียงดาวเท้ายายม่อมหลวงเท้ายายม่อมตัวเมียเขยตายเขาควายไม่หลูบเขี้ยวฟานเข็มม่วงเข็มอินเดียเข็มขาวเข็มซ่อนก้านเดื่อผาเครือมวกไทยเครือห้าต่อเจ็ดเครือออนเครือขยันเครือเทพรัตน์เคี่ยมเงาะขนสั้นเงาะไม่มีขนเงี่ยงดุกน้อยเฉาก๊วย (พืช)เฉียงพร้านางแอเปล้าแขบทองเปล้าใหญ่เนโมฟีลาBauhinia forficataBauhinia tarapotensisBruguieraDarlingtonia californicaDracontomelonHomonoia retusaLanneaMansonia gageiNepenthes burbidgeaeNepenthes deanianaNepenthes faizalianaParashoreaSarraceniaTabernaemontana