โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์

ดัชนี หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์

ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ป.ม., ท..ว.,.ป.ร.1(28 ธันวาคม พ.ศ. 2457 — 17 สิงหาคม พ.ศ. 2543) หรือนามเดิม หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ เป็นสตรีไทยคนแรกที่เป็นนักประพันธ์เพลง เมื่อ พ.ศ. 2480 ท่านผู้หญิง พวงร้อยได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) เมื่อปี 2529.

25 ความสัมพันธ์: ชายชาญทหารไทยฟรานซิส ยิปพ.ศ. 2457พ.ศ. 2543กษัตริยานุสรณ์ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยารายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน)รายนามศิลปินแห่งชาติรุ่งฤดี แพ่งผ่องใสลมหวนหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์จันทร์เอ๋ยทหารพระนเรศวรทหารไทยดุจบิดามารดรตาแสนกลมปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาในฝัน (เพลง)โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเรือนแพ (ภาพยนตร์)เวส สุนทรจามรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)เงาไม้เป็ดน้อย

ชายชาญทหารไทย

ลงชายชาญทหารไทย เป็นเพลงปลุกใจ ทำนองโดยท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ขับร้องโดยสวลี ผกาพันธ์ เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และชายชาญทหารไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซิส ยิป

ฟรานซิส ยิป (จีนตัวเต็ม: 葉麗儀, จีนตัวย่อ: 叶丽仪, พินอิน: Yè Líyí, Frances Yip; 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490 -) หรือ เย่ ลี่อี๋ (อ่านตามภาษาจีนกลาง) คือนักร้องชื่อดังชาวฮ่องกง รู้จักกันอย่างที่ในฐานะผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์จีน "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" เพลง "รักคุณเข้าแล้ว" และเพลง "บัวขาว" ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล และหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ฟรานซิส ยิป เกิดเมื่อปี 1947 เป็นนักร้องฮิตของฮ่องกง เธอร้องเพลงนำในหนังซีรีส์ทางทีวีบีของฮ่องกงจำนวนมากในช่วงปี '80 และช่วงต้น '90 ชื่อเสียงของเธอโด่งดังไปหลายประเทศทั่วโลกหลังจากการร้องเพลงนำในหนัง ซีรีส์ยอดฮิตชุด "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" (The Bund) ก่อนที่เธอจะประสบความสำเร็จอย่างสูงนี้ เธอมีเพลงในหลายอัลบั้มที่นำเพลงฮิตจากนักร้องในอดีตเคยร้องไว้อาทิ อดัม เชง, โรมัน ธัม, เจนนี่ เซ็ง ฟรานซิสมีผลงานเพลงมากกว่า 80 อัลบั้มในช่วง 37 ปีของการบันทึกเสียงทั้งภาษาอังกฤษ, กวางตุ้ง, แมนดาริน นอกจากนี้เธอยังร้องภาษาไทย, ญี่ปุ่นและโพลีนีเซี่ยนที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน เธอแสดงเพลงในรายการโทรทัศน์, ภาพยนตร์, คอนเสิร์ต และคาบาเรต์มากกว่า 30 ประเทศในห้าภูมิภาคของโลก โดยที่เธอมีความสามารถพูดได้คล่องทั้งภาษากวางตุ้ง,แมนดารินและอังกฤษ ฟรานซิสเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอีกครั้งเมื่อเธอได้รับเลือกจากรัฐบาลฮ่องกง เป็นฟรีเซนเตอร์ร่วมในพิธีส่งมอบเกาะฮ่องกงจากอังกฤษให้แก่จีนเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1997 มีผู้คนชมโทรทัศน์มากกว่า 120 ล้านคนมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก เธอได้ชื่อว่าเป็นสุภาพสตรีดีเด่นคนหนึ่งของฮ่องกง มีความเป็นผู้ดี สุภาพ พูดจาไพเราะ พูดได้ชัดเจน เป็นที่นับถือของวงการเพลงและวงการสังคมในฮ่องกง เพลงต่าง ๆ ของเธอด้วยเสียงอันก้องกังวาน ขับขานอย่างไพเราะยิ่ง เธอได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ เธอไม่ได้ร้องเพลงเกี่ยวกับฮีโร่ แต่เธอเป็นฮีโร่ในตัวเธอเอง เมื่อเร็ว ๆ นี้ฟรานซิสได้ต่อสู้จากผ่านพ้นจากโรคมะเร็งทรวงอก และกลับมาแข็งแรงดีขึ้น.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และฟรานซิส ยิป · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และพ.ศ. 2457 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริยานุสรณ์

กษัตริยานุสรณ์ เป็นพระราชนิพนธ์ร้อยกรอง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ขณะทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยใช้เค้าโครงจากเรื่อง ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กษัตริยานุสรณ์ ประกอบด้วยร่าย และต่อด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๓๐ บทร้อยเรียงต่อกัน ตั้งชื่อว่า กษัตริยานุสรณ์ โดยอาจารย์กำชัย ทองหล่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำพระราชนิพนธ์กษัตริยานุสรณ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ประพันธ์ทำนองเพลงเพื่อประกอบท่อนหนึ่งของโคลง ใช้ชื่อว่า เพลงดุจบิดามารดร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงอธิบายไว้ในคำนำของหนังสือกษัตริยานุสรณ์ว.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และกษัตริยานุสรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (5 มีนาคม พ.ศ. 2436 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2529) (นามเดิม:ยี่สุ่น มังกรพันธ์) เป็นบุตรีของศาสนาจารย์กิมเฮง มังกรพันธ์ และนางทองอยู่ (จากสกุลปักษานนท์) เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2436 ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) สมรสกับหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ โอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งสำเร็จวิชาแพทย์จากยุโรปท่านแรกของเมืองไทย มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน คือ หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล) หม่อมหลวงซัง สนิทงศ์ และหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ และหม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์ หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์และคุณยี่สุ่น เมื่อ พ.ศ. 2467 ความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศของคุณยี่สุ่น นับว่าดีมากจากพื้นฐานที่ได้รับการสอนจากโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และจากการที่ต้องติดตามสามีคือหม่อมราชวงศ์สุพรรณ สนิทวงศ์ ซึ่งเป็นแพทย์ไปในหลายสถานที่ในภารกิจหลายๆ ด้าน ทั้งงานสังคมที่ต้องติดต่อกับชาวต่างประเทศ และงานในท้องถิ่นทุรกันดารซึ่งหม่อมราชวงศ์สุพรรณต้องไปตรวจรักษาผู้เจ็บป่วย ด้วยคุณยี่สุ่นท่านเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ที่มีความรู้างด้านภาษาอังกฤษอย่างดีเยี่ยม จึงสามารถอ่านสลากยาภาษาอังกฤษ และรู้จักเครื่องมือแพทย์ต่างๆ เป็นอย่างดี ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2529 ในรัชกาลที่ 9 ด้วยโรคชราในวัย 93 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 19 เมษายน..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน)

ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีอักษรย่อว่า ท..ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) และฝ่ายใน (สตรี) โดยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 13 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย สำหรับฝ่ายใน ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษมีจำนวน 100 สำรับ สตรีที่ได้รับพระราชานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นนี้ สามารถใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" สำหรับผู้ที่สมรสแล้ว หรือ "คุณ" สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส สำหรับสตรีในราชสกุล ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปให้ใช้คำนำพระนามตามเดิม.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน) · ดูเพิ่มเติม »

รายนามศิลปินแห่งชาติ

รายนามศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึงปัจจุบัน จำแนกตามปีและสาขาตามลำดั.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และรายนามศิลปินแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส

รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน) นักร้องเพลงไทยสากลรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากเพลง "บัวขาว" เมื่อปีพ.ศ. 2522 และเพลง "หลานย่าโม" ในปีพ.ศ. 2522 โดยมีเพลงสร้างชื่ออื่นๆ อาทิเช่น เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง หลานย่าโม โจโจ้ซัง เป็นต้น บทเพลงอื่น ที่ได้รับความนิยมได้แก.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส · ดูเพิ่มเติม »

ลมหวน

ลง "ลมหวน" เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "แม่สื่อสาว" ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ขับร้องโดย โสภา อุณหกะ เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และลมหวน · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์

ันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ หรือชื่อเล่นว่า ใหญ่ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406-21 มกราคม พ.ศ. 2469) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่อายุได้ 7 ปี และทรงเลือกให้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสืบทอดวิชาแพทย์ต่อจากพระบิดา หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์เดินทางไปศึกษาที่สกอตแลนด์ ตั้งแต..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์

หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ท..ว.,ม.ว.ม.,ม.ป.. (29 เมษายน พ.ศ. 2462 - มีนาคม พ.ศ. 2546) เป็นผู้ประพันธ์คำร้องเพลงพระราชนิพนธ์ไร้เดือน เตือนใจ และเกาะในฝัน ร่วมกับท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นสมาชิกวงลายคราม และวง อ.ส. วันศุกร์ วงดนตรีแจ๊สส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น ลมหวน, หากรู้สักนิด เพลงประกอบละครบ้านทรายทอง, เพลงประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น, เพลงจุฬาแซมบ้า ฯลฯ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ เป็นผู้ที่สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มเรียนเปียโนแบบครูพักลักจำที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และเริ่มเล่นเปียโนโดยเล่นเฉพาะโน้ตตัวดำก่อน (ebony key) เนื่องจากคิดว่ามีตัวโน้ตน้อยกว่าโน้ตตัวขาว หลังจากนั้นก็เริ่มเล่นเปียโนด้วยตนเองมาเรื่อยๆ และหัดอ่านและเขียนโน้ตเพลง จนเริ่มแต่งเพลงตอนอายุ 18 ปี ขณะเรียนอยู่ที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยแต่งร่วมกับหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ และใช้นามในการแต่งเพลงร่วมว่า "ร้อยพัน".

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์เอ๋ย

ลงจันทร์เอ๋ย เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ปิดทองหลังพระ" เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และจันทร์เอ๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ทหารพระนเรศวร

ป็นเพลงปลุกใจ ประพันธ์ทำนองโดย ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ออกจำหน่ายเมื่อปี..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และทหารพระนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

ทหารไทย

ทหารไทย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และทหารไทย · ดูเพิ่มเติม »

ดุจบิดามารดร

ลงพระราชนิพนธ์ ดุจบิดามารดร เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประพันธ์ทำนองโดยท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ขับร้องโดยสวลี ผกาพันธ์ และสันติ ลุนเผ่ บรรเลงโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และดุจบิดามารดร · ดูเพิ่มเติม »

ตาแสนกลม

ลงตาแสนกลม เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง "จุดไต้ตำตอ" เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และตาแสนกลม · ดูเพิ่มเติม »

ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

นาวาตรี ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร.น. (13 มิถุนายน พ.ศ. 2477 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549) นักดนตรีสากล ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ในฝัน (เพลง)

ในฝัน เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ถ่านไฟเก่า" ของบริษัทไทยฟิล์ม ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และในฝัน (เพลง) · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

รงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (Wattana Wittaya Academy) มีชื่อเดิมว่า"กุลสตรีวังหลัง" ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 67 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 เป็นโรงเรียนสตรีหญิงแห่งแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เรือนแพ (ภาพยนตร์)

รือนแพ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2504 ร่วมทุนสร้างระหว่าง บริษัทอัศวินภาพยนตร์ กับ บริษัทชอว์บราเดอร์สแห่งฮ่องกง ระบบถ่ายทำด้วย 35 มม.ซูเปอร์ซีเนสโคป สีอิสแมนต์ เสียงพากย์ในฟิล์ม กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หรือพระนาม ภาณุพันธ์ และ เวตาล ร่วมกับ ครูเนรมิต นักแสดงนำประกอบด้วยนักแสดงไทย และนักแสดงฮ่องกง เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือเพลง เรือนแพ ประพันธ์คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย สง่า อารัมภีร ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร ถือได้ว่าเป็นเพลงประจำตัวของชรินทร์ เลยทีเดียว ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ที่ศาลาเฉลิมไทย ต้อนรับปีใหม่ปี พ.ศ. 2505 และได้นำกลับมาฉายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2506 สร้างใหม่ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2532 ผลิตโดย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งรายได้และรางวัล จากพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 ประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 คือรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม และรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ต่อมา เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงประทานบทภาพยนตร์ให้นำมาเรียบเรียงดัดแปลงเป็นนวนิยายครั้งแรก ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เมื่อปี..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และเรือนแพ (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เวส สุนทรจามร

วส สุนทรจามร หรือ ครูเวส นักประพันธ์เพลงที่มีผลงานแต่งทำนองให้กับวงสุนทราภรณ์ ร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูสุรัฐ พุกกะเวส เป็นจำนวนมาก เป็นครูเพลงที่มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงในวงการหลายคน เช่น วินัย จุลละบุษปะ, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และ ธนิต ผลประเสริฐ เป็นต้น.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และเวส สุนทรจามร · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)

มหาเสวกโท เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 -27 สิงหาคม พ.ศ. 2465) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองต่อจากบิดา และเป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นตระกูล "อภัยวงศ์" ท่านเป็นพระอัยกา (ปู่) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และเป็น พระมาตามไหยกา (ทวด) ในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี.

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

เงาไม้

ลงเงาไม้ เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ลูกทุ่ง" ของบริษัทไทยฟิล์ม ประพันธ์คำร้องโดยพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) ทำนองโดยหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2483 ร้องโดยนภา หวังในธรรม ในปี..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และเงาไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดน้อย

ป็ดน้อย เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2511 แนวรักชวนหัว เสียดสีสังคมชนชั้น ประกอบเพลง ระบบ 35 มม.อัศวินซูเปอร์ซีเนสโคป สีอัศวินอีสต์แมน เสียง(พากย์)ในฟิล์ม ของ อัศวินภาพยนตร์ เรื่องและบทภาพยนตร์โดย เวตาล กำกับโดย ภาณุพันธุ์ (ทั้งสองชื่อเป็นพระนามแฝงของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล) ฉายที่ศาลาเฉลิมไท..

ใหม่!!: หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์และเป็ดน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์พวงร้อย สนิทวงศ์พวงร้อย อภัยวงศ์ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »