โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี

ดัชนี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี (14 มกราคม พ.ศ. 2320 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2366) พระราชบุตรพระองค์ที่ 10 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี ประสูติในรัชสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกา นพศก จุลศักราช 1139 ตรงกับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2320 มีนามเดิมว่า "เอี้ยง" ในรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า "เจ้าฟ้าประไพวดี" แต่รัชกาลที่ 4 ทรงออกพระนามว่า "ประภาวดี" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า และทรงกรมเป็น กรมหลวงเทพยวดี เมื่อปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1170 ตรงกับ พ.ศ. 2351 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 เมื่อเมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1185 ตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2366 พระชันษา 46 ปี.

17 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยศเจ้านายไทยพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรีพระโกศทองใหญ่พระเวชยันตราชรถรายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)ประเทศไทยใน พ.ศ. 2366เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยศเจ้านายไทย

ในประเทศไทย พระยศเจ้านาย คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวง.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระยศเจ้านายไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๒๗๙ - พ.ศ. ๒๓๕๒ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒) รัชกาลที่ ๑ แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 10 แรม ๕ ค่ำ 2000000000000000 ปีมะโรงอัฐศก เวลา ๓ ยาม ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา ปลาทอง ดร.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก · ดูเพิ่มเติม »

พระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี

ระปฐมวงศ์ใน พระบรมราชวงศ์จักรี.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

พระโกศทองใหญ่

ระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 ในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขณะประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถในพระราชพิธีเชิญพระโกศทรงพระศพออกพระเมรุ พระโกศทองใหญ่ หรือ พระลองทองใหญ่ เป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระศพของพระบรมวงศ์ชั้นสูง สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นับเป็นพระโกศที่มีลำดับยศสูงที่สุด โดยได้ใช้ทรงพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นพระองค์แรก (แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน ระบุว่าพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพนั้น ใช้พระโกศไม้สิบสอง และเมื่อเสร็จการพระศพจึงลอกทองที่หุ้มพระโกศไม้สิบสองมาหุ้มทำพระโกศทองใหญ่และทรงพระบรมศพของรัชกาลที่ 1 เป็นพระองค์แรก) พระโกศทองใหญ่ใช้ทรงพระศพของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเป็นพระองค์ล่าสุด นอกจากนี้ พระโกศทองใหญ่ยังใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระศพสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่บรรจุพระบรมศพและพระศพลงในหีบพระศพแทนการลงพระโกศ เช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระโกศทองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเวชยันตราชรถ

ระเวชยันตราชรถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ราวปี พ.ศ. 2338 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถทรงบุษบก มีความกว้าง 4.85 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.20 เมตร หนัก 12.25 ตัน สำหรับใช้เป็นราชรถสำรองในงานพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และเป็นราชรถทรงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งทรงศักดิ์สูง เมื่อแรกเริ่มพระเวชยันตราชรถได้ใช้เป็นรถพระที่นั่งรองในงานถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในปี พ.ศ. 2339 มีศักดิ์เป็นชั้นที่ 2 รองจากพระมหาพิชัยราชรถ ต่อมาได้ใช้ทรงพระโกศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ คู่พระโกศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งทรงพระมหาพิชัยราชรถ ออกพระเมรุท้องสนามหลวงคราวเดียวกัน พ.ศ. 2342 หลังจากนั้นจึงได้ใช้ราชรถองค์นี้เป็นราชรถรองในงานออกพระเมรุของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มา จนถึงงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อมาพระมหาพิชัยราชรถชำรุดจนไม่สามารถฉุดชักออกมาจากที่ตั้งได้ จึงได้มีการใช้พระเวชยันตราชรถเป็นราชรถทรงพระบรมศพ โดยออกนามในหมายเรียกว่า "พระมหาพิชัยราชรถ" เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระบรมศพตามราชประเพณี ทั้งนี้ พระเวชยันตราชรถได้อัญเชิญออกใช้ในราชการครั้งล่าสุดเมื่อคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2528 ปัจจุบันพระเวชยันตราชรถได้เก็บรักษาไว้ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร สำหรับงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปี พ.ศ. 2555 นั้น เดิมจะได้เชิญพระศพขึ้นทรงพระเวชยันตราชรถตามพระอิสริยยศ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพด้วยพระมหาพิชัยราชรถ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามโบราณราชประเพณี พระเวชยันตราชรถจึงไม่ได้อัญเชิญออกมาใช้งาน.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและพระเวชยันตราชรถ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1

นี่คือรายพระนามรายนามพระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและรายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

มื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเจ้านายในพระราชวงศ์ ก็ทรงตั้งเป็นต่างกรมตามชั้นยศซึ่งบัญญัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีผิดกันบ้างเล็กน้อย มีการสถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์เรื่อยมาในทุกรัชกาล โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี จำนวน 3 พระองค์ คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและรายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นหนึ่งในสิบพระเถระผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุต ประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2434 ขณะพระชันษาได้ 82 ปี ดำรงตำแหน่งได้ 10 เดือนก็สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2435 ขณะมีพระชันษา 83 ปี.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

มเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (9 มีนาคม พ.ศ. 2280 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) หรือ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระนามเดิม นาค เป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม พระชนกชื่อ "ทอง" (พระชนกทอง ณ บางช้าง) พระชนนีชื่อ "สั้น" (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ที่พระคลังสินค้าในรัชกาลที่ 4.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค).

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2366

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2366 ในประเทศไท.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและประเทศไทยใน พ.ศ. 2366 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)

้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) (พ.ศ. 2281 - พ.ศ. 2348) ที่สมุหพระกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) เป็นต้นสกุลบุนนาค เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา มีนามเดิมว่า นายบุนนาค เกิดเมื่อ พ.ศ. 2281 เป็นบุตรของเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) (บุตรชายของเจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) กับท่านแฉ่ง) กับท่านบุญศรี รับราชการในตำแหน่งทนายหน้าหอ รับใช้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ต่อมา จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอุทัยธรรม พระยายมราช เจ้าพระยายมราช และเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม ตามลำดับ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา มีภรรยาคนแรกชื่อ คุณลิ้ม ซึ่งได้เสียชีวิตลงในขณะที่ทั้งสองกลับจากการเดินทางไปขนทรัพย์สมบัติที่ซ่อนไว้ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตก แต่ถูกคนร้ายดักปล้นที่ปากคลองบางหลวง และคุณลิ้มถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต หลังจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาตกเป็นพ่อหม้าย ท่านผู้หญิงนาก (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ได้ยก คือ คุณนวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล) ให้เป็นภรรยา นอกจากนี้ ท่านยังมีอนุภรรยาอีก 7 ท่าน เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ 1 เมื่อปีฉลู..

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล

้าคุณพระราชพันธุ์นวล เป็นภรรยาในเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ท่านเกิดในตระกูลคหบดีชาวบ้านอัมพวา ตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นธิดาของพระชนกทอง ณ บางช้างกับสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ท่านเป็นพระน้องนางในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม 10 พระองค์ ซึ่งนับเป็นสายสกุลราชินิกุล ได้แก.

ใหม่!!: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีและเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กรมหลวงเทพยวดีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงเอี้ยงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี กรมหลวงเทพยวดีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »