โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามออตโตมันในยุโรป

ดัชนี สงครามออตโตมันในยุโรป

งครามออตโตมันในยุโรป (Ottoman wars in Europe) เป็นสงครามของจักรวรรดิออตโตมันที่ต่อสู้ในยุโรปที่บางครั้งก็เรียกว่า “สงครามออตโตมัน” หรือ “สงครามตุรกี” โดยเฉพาะในตำราที่เขียนในยุโรปในสมัยโบราณ “สงครามออตโตมันในยุโรป” แบ่งออกเป็นห้าสมัยที่รวมทั้ง.

8 ความสัมพันธ์: การพบปะที่ทุ่งภูษาทองการล้อมกรุงเวียนนาการล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565)การล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522)การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลยุทธการที่โมเฮ็คส์สงครามออตโตมัน-ฮังการีประเทศสโลวาเกีย

การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง

“การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง” การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง (Field of the Cloth of Gold, Le Camp du Drap d'Or) “ทุ่งภูษาทอง” เป็นชื่อของสถานที่ในเบลิงเฮมระหว่าง Guînes และ Ardres ในฝรั่งเศสไม่ไกลจากคาเลส์ซึ่งเป็นที่พบปะระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1520 วัตถุประสงค์ของการพบปะระหว่างพระมหากษัตริย์สองพระองค์ก็เพื่อเป็นการเพิ่มสัมพันธไมตรีระหว่างสองราชอาณาจักร หลังจากที่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1518 การใช้วลี “ทุ่งภูษาทอง” เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและการพบปะที่ทุ่งภูษาทอง · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกรุงเวียนนา

การปิดล้อมกรุงเวียนนา (Siege of Vienna) (27 กันยายน-14 ตุลาคม ค.ศ. 1529) การปิดล้อมกรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1529 เป็นความพยายามครั้งแรกโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานเพื่อที่จะยึดกรุงเวียนนาในออสเตรีย การปิดล้อมเมืองครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันซึ่งกำลังขยายถึงจุดสูงสุด ซึ่งมีอาณาเขตขยายมาจนถึงบริเวณยุโรปกลาง หลังจากนั้นความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันก็ยืดเยื้อยาวนานออกไปกว่า150ปี และในที่สุดจึงกลายเป็นยุทธการเวียนนาในปีค.ศ. 1683 ซึ่งเป็นการเริ่มมหาสงครามตุรกี (Great Turkish War) โดยมหาอำนาจยุโรปในการพยายามกำจัดออตโตมันออกจากยุโรปกลาง การล้อมครั้งนี้จบลงด้วยความล้มเหลวของฝ่ายออตโตมันในการพยายามยึดที่มั่นสำคัญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในขณะนั้น และเป็นจุดเปลี่ยนทิศทางของชัยชนะในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางของจักรวรรดิออตโตมันที่ได้รับชัยชนะมาตลอดก่อนหน้านั้น ซึ่งรวมถึงการได้ฮังการีตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นอาณาจักรในบริวารในยุทธการโมเฮ็คส์ (Battle of Mohács) เหตุการณ์ครั้งนี้มักกล่าวกันว่าเป็นจุดที่เริ่มนำความตกต่ำมาสู่จักรวรรดิออตโตมันที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมหาอำนาจทางการทหารทั้งในยุโรปและเอเชีย และเป็นการพ่ายแพ้ทำความอัปยศให้แก่ออตโตมันในการมาพ่ายแพ้ต่อกองกำลังที่เล็กกว่าและมีประสิทธิภาพด้อยกว่า นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าจุดประสงค์หลักของสุลต่านสุลัยมานในการล้อมกรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1529 เป็นการแสดงอำนาจเหนือฮังการี เพราะด้านตะวันตกของฮังการีที่เรียกว่ารอยัลฮังการีที่ยังดำรงความเป็นอิสระจากออตโตมันอยู่ นอกจากนั้นการตัดสินใจเข้าโจมตีเวียนนาหลังจากการยุติการรณรงค์ในยุโรปของออตโตมันไปเป็นเวลานานทำให้คาดกันว่าเป็นการโจมตีแบบฉวยโอกาสหลังจากที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในฮังการี ส่วนนักวิชาการผู้อื่นก็ตั้งทฤษฎีว่าการปราบปรามฮังการีเป็นเพียงบทนำของการเริ่มการเข้ามารุกรานยุโรปตามที่ได้วางแผนไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและการล้อมกรุงเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565)

การล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565) (Siege of Malta หรือ Great Siege of Malta) เป็นการล้อมที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามออตโตมันในยุโรปและสงครามออตโตมัน-ฮับสบวร์กเมื่อจักรวรรดิออตโตมันรุกรานเข้าล้อมมอลตาที่เป็นที่ตั้งมั่นของอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1565 ฝ่ายอัศวินฮอสพิทาลเลอร์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้อันดุเดือดและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ และเป็นยุทธการที่ยุโรปถือว่าเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งของยุโรปที่วอลแตร์ถึงกับกล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นที่รู้จักกันมากเท่ากับการล้อมมอลตา” และเป็นยุทธการครั้งแรกที่ทำให้ยุโรปยุติความเชื่อในความคงกระพันของจักรวรรดิออตโตมัน และเป็นการเริ่มต้นของความมีอิทธิพลของสเปนในเมดิเตอเรเนียน สงครามครั้งนี้เป็นจุดสูงสุดของการแข่งขันทางอำนาจระหว่างพันธมิตรคริสเตียนและจักรวรรดิออตโตมันในการมีอำนาจในเมดิเตอเรเนียน การแข่งขันที่รวมทั้งการโจมตีมอลตาในปี ค.ศ. 1551 ก่อนหน้านั้นที่ฝ่ายออตโตมันทำลายกองเรือของฝ่ายพันธมิตรคริสเตียนอย่างย่อยยับในยุทธการดเจอร์บา (Battle of Djerba) ในปี ค.ศ. 1560.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและการล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565) · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522)

การล้อมเมืองโรดส์ (Siege of Rhodes) (ค.ศ. 1522) การล้อมเมืองโรดส์ในปี ค.ศ. 1522 เป็นความพยายามครั้งที่สองโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานในการยึดโรดส์เพื่อกำจัดอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ออกจากเกาะซึ่งก็เป็นที่สำเร็จ ซึ่งเป็นเพิ่มความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ให้แก่จักรวรรดิทางด้านตะวันออกของเมดิเตอเรเนียน หลังจากที่การล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1480 ประสบความล้มเหลว.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและการล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522) · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Fall of Constantinople) เกิดขึ้นหลังจากที่คอนสแตนติโนเปิลถูกล้อมและยึดเมืองได้โดยสุลต่านเมห์เมดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่นำโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 การล้อมเริ่มตั้งแต่พฤหัสบดีที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1453 และสิ้นสุดลงเมื่อวันอังคารที่ 29 พฤษภาคมของปีเดียวกัน (ตามปฏิทินจูเลียน) การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลเท่ากับเป็นการสิ้นสุดอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่รุ่งเรืองมากว่าพันหนึ่งร้อยปี ที่ขณะนั้นก็เริ่มแตกแยกกันปกครองโดยราชวงศ์กรีกหลายราชวงศ์ หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านเมห์เมดแล้ว พระองค์ก็ทรงเพิ่มความกดดันต่อคอนสแตนติโนเปิลโดยการทรงสร้างเสริมป้อมปราการตามชายฝั่งช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พระองค์ก็ทรงเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมด้วยกองทัพราวระหว่าง 80,000 ถึง 200,000 คน ตัวเมืองมีทหารรักษาราว 7,000 คนในจำนวนนั้น 2,000 เป็นชาวต่างประเทศ การล้อมเริ่มต้นด้วยการโจมตีด้วยการยิงกำแพงเมืองอย่างรุนแรงจากฝ่ายออตโตมันขณะที่กองทหารอีกจำนวนหนึ่งไปยึดที่ตั้งมั่นของฝ่ายไบแซนไทน์ในบริเวณนั้น แต่ความพยายามที่ปิดเมืองในระยะแรกโดยฝ่ายออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรือกองหนุนของฝ่ายคริสเตียนสี่ลำเดินทางเข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิลได้ สุลต่านเมห์เมดจึงมีพระราชโองการให้นำเรือของพระองค์เข้าไปยังแหลมทอง (Golden Horn) โดยการลากขึ้นไปบนขอนไม้ที่ทำให้ลื่น ความพยายามของฝ่ายไบแซนไทน์ที่จะเผาเรือจึงไม่สำเร็จและสามารถทำให้ฝ่ายออตโตมันในที่สุดก็ปิดเมืองได้ การโจมตีกำแพงเมืองของฝ่ายตุรกีได้รับการโต้ตอบอย่างเหนียวแน่นจากฝ่ายไบแซนไทน์ที่ทำให้ต้องเสียกองกำลังไปเป็นจำนวนมาก และความพยายามที่จะระเบิดกำแพงเมืองลงก็ได้รับการตอบโต้เช่นกันจนในที่สุดก็ต้องเลิก สุลต่านเมห์เมดทรงเสนอว่าจะยุติการล้อมเมืองถ้าคอนสแตนติโนเปิลยอมให้พระองค์เข้าเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ก็เกิดจันทรุปราคาที่เป็นลางถึงการเสียเมือง สองสามวันต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทรงได้รับข่าวว่าจะไม่มีกองหนุนจากสาธารณรัฐเวนิสมาช่วย หลังเที่ยงคืนของวันที่ 29 พฤษภาคมกองทัพออตโตมันก็เข้าโจมตีกำแพงเมือง ระลอกแรกไม่ประสบความสำเร็จ ระลอกสองสามารถเจาะกำแพงทางตอนเหนือได้ แต่ฝ่ายไบแซนไทน์ก็สามารถตีฝ่ายออตโตมันกลับไปได้และสามารถยืนหยัดต่อต้านกองทหารชั้นเอก Janissaries ของตุรกีได้ ระหว่างการต่อสู้จิโอวานนิ จุสติเนียนินายทัพจากเจนัวก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องถอยกลับไปยังเรือกับกองทหารและเสียชีวิตในที่สุด ทางด้านจักรพรรดิคอนสแตนตินพระองค์และกองทหารก็ดำเนินการต่อต้านต่อไปจนกระทั่งฝ่ายตุรกีเปิดประตูเมืองและบุกเข้าไปในเมืองพร้อมกับกองทหารเป็นจำนวนมากได้ กล่าวกันว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกสังหารระหว่างการต่อสู้แต่ก็มิได้พบพระวรกายของพระองค์ จากนั้นฝ่ายตุรกีก็ปล้นเมือง การเสียเมืองครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสิ้นเชิงหลังจากที่รุ่งเรืองมากว่า 1,100 ปี และเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมีโองการให้โจมตีโต้ตอบทันทีแต่พระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากที่ทรงวางแผน สุลต่านเมห์เมดทรงประกาศให้คอนสแตนตินโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงดำเนินการโจมตีและพิชิตอาณาจักรของไบแซนไทน์อีกสองอาณาจักรได้--อาณาจักรเดสโพเททแห่งโมเรียและจักรวรรดิเทรบิซอนด์ ชาวกรีกที่ยังเหลืออยู่ในคอนสแตนตินโนเปิลก็หนีไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี การเคลื่อนย้ายของประชากรครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าการเสียเมืองคอนสแตนตินโนเปิลเป็นเหตุการณ์หลักที่นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคกลาง และบางท่านก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายของการสิ้น.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่โมเฮ็คส์

ทธการที่โมเฮ็คส์ (mohácsi csata or mohácsi vész, Mohaç savaşı or Mohaç meydan savaşı, Battle of Mohács) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นที่โมเฮ็คส์ทางใต้ของบูดาเปสต์ในฮังการีปัจจุบันเมื่อวันที่29 สิงหาคม ค.ศ. 1526 ระหว่างจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานฝ่ายหนึ่ง และราชอาณาจักรฮังการีที่นำโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการี, โครเอเชีย, ราชอาณาจักรโบฮีเมีย, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, อาณาจักรพระสันตะปาปา และ ราชอาณาจักรโปแลนด์อีกฝ่ายหนึ่ง ผลของสงครามฝ่ายออตโตมันได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดและเป็นการนำมาซึ่งความสิ้นสุดของสงครามออตโตมัน-ฮังการี แต่เป็นการเริ่มสงครามออตโตมัน-ฮับส์บูร์ก ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ฮังการีถูกแบ่งแยกระหว่างจักรวรรดิออตโตมัน, ราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งออสเตรีย และราชรัฐทรานสซิลเวเนีย อยู่หลายสิบปี การเสด็จสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีขณะที่กำลังพยายามหลบหนีจากสนามรบเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์ Jagiellon dynasty ที่สิทธิในราชบัลลังก์ถูกผนวกเข้ากับราชวงศ์ฮับส์บวร์กโดยการเสกสมรสของพระขนิษฐาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 2.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและยุทธการที่โมเฮ็คส์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออตโตมัน-ฮังการี

งครามออตโตมัน-ฮังการี (Ottoman–Hungarian Wars) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิฮังการี และ ราชอาณาจักรฮังการี หลังจากสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในรัชสมัยการปกครองของจักรพรรดิโรมันราชวงศ์พาลาโอโลกอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ออตโตมันก็ยึดกาลลิโปลิ (Fall of Gallipoli) และได้รับชัยชนะในยุทธการคอซอวอซึ่งดูจะทำให้ออตโตมันอยู่ในฐานะที่สามารถยึดคาบสมุทรบอลข่านได้ทั้งหมด แต่การรุกรานของออตโตมันในเซอร์เบียทำให้ราชอาณาจักรฮังการีเข้าสู่สงครามในการต่อต้านออตโตมันเพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็เห็นประโยชน์ร่วมกันในการยึดดินแดนต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านที่รวมทั้ง อาณาจักรเดสโพเททเซอร์เบีย บัลแกเรีย ราชรัฐวาลเลเคีย และ ราชรัฐโมลดาเวี.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและสงครามออตโตมัน-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: สงครามออตโตมันในยุโรปและประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ottoman warsOttoman wars in EuropeTurkish warsสงครามออตโตมันสงครามตุรกี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »