โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิลเฮล์ม ไคเทิล

ดัชนี วิลเฮล์ม ไคเทิล

วิลเฮล์ม โยดีวิน โยฮันท์ กุสตาฟ ไคเทิล (Wilhelm Bodewin Johann Gustav Keitel) เป็นจอมพลเยอรมันซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตำแหน่งของเขาเทียบได้กับรัฐมนตรีกลาโหม หลังสิ้นสุดสงคราม เขาถูกนำตัวเข้ารับการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กของสัมพันธมิตร เขาได้พยายามต่อสู้คดีแต่กลับถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาถือเป็นหนึ่งในสามผู้บัญชาการทหารระดับสูงสุดของเยอรมันที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี.

22 ความสัมพันธ์: บีตวาซามอสค์วูกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมันกองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คการสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940ยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 1ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็กวันชัยในทวีปยุโรปสงครามโลกครั้งที่สองสตาลินกราด (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2533)สตาลินกราดสกายาบีตวาออสโวบอจเดนีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์ซอลดาตืยสโวโบดืยแวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์กแผนลับ 20 กรกฎาคมแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โคโลเนลบูกีมาร์ชเบลืยติกร์ สงครามรถถังประจัญบานเวร์มัคท์เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย

บีตวาซามอสค์วู

ีตวาซามอสค์วู (Битва за Москву) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของสหภาพโซเวียต มีเนื้อเรืองเกี่ยวกับยุทธการที่มอสโก กำกับโดยยูรี โอเซรอฟ ภาพยนตร์มีทั้งหมด 2 ภาค คือ Aggression และ Typhoon ภาคละ 2 ตอน รวมเป็น 4 ตอน เป็นภาพยนตร์ร่วมมือกันระหว่าง สหภาพโซเวียต, เยอรมนีตะวันออก, เชโกสโลวาเกีย และ เวียดนาม บทภาพยนตร์ดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ที่สหภาพโซเวียตได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง และฉลองครบรอบ 20 ปี ที่กรุงมอสโกได้รับเลือกให้เป็นนครวีรชน.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและบีตวาซามอสค์วู · ดูเพิ่มเติม »

กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน

กองบัญชาการใหญ่กองทัพบก (Oberkommando des Heeres) ของประเทศเยอรมนีในสมัยนาซี กองบัญชาการนี้ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

กองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์

กองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ (Oberkommando der Wehrmacht) หรือ OKW เป็นหน่วยบัญชาการระดับสูงสุดของเวร์มัคท์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพัน..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและกองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940

การสงบศึก 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและการสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 1

ทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 1,ถูกตั้งชื่อโดย วิลเฮล์ม ไคเทิล, เป็นการรบทางยุทธศาตร์จากเมืองคาร์คอฟ(ปัจจุบันคือคาร์คิฟ)(สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน)ในปี..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก

ทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก (Valkyrie) เป็นภาพยนตร์อเมริกันในปี ค.ศ. 2008 นำแสดงโดย ทอม ครูซ, เคนเนธ บรานาห์, บิล ไนอี, เอ็ดดี อิซซาร์ด, เทเรนซ์ สแตมพ์, ทอม วิลคินสัน กำกับการแสดงโดย ไบรอัน ซิงเกอร.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วันชัยในทวีปยุโรป

วันชัยในทวีปยุโรป (Victory in Europe Day หรือ VE Day) หมายถึง วันที่ 7 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 คือ วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของนาซีเยอรมนี ในวันที่ 30 เมษายน หลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายที่หลุมหลบภัยในกรุงเบอร์ลิน ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีตกเป็นของ คาร์ล เดอนิทซ์ เขาได้ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนในวันที่ 7 พฤษภาคม ในเมืองแรมส์ ฝรั่งเศส นอกจากนั้นวิลเฮล์ม ไคเทล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเวร์มัคได้ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนต่อสหภาพโซเวียตในวันที่ 8 พฤษภาคม ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและวันชัยในทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สตาลินกราด (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2533)

ตาลินกราด (Сталинград) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียต 2 ภาค มีเนื้อเรืองเกี่ยวกับยุทธการที่สตาลินกราด เป็นภาพยนตร์ร่วมมือกันระหว่าง สหภาพโซเวียต-เยอรมันตะวันออก-เชโกสโลวาเกีย-สหรัฐ กำกับโดย ยูรี โอเซรอฟ ภาพยนตร์ออกฉายในเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและสตาลินกราด (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2533) · ดูเพิ่มเติม »

สตาลินกราดสกายาบีตวา

ตาลินกราดสกายาบีตวา (Сталингра́дская би́тва) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียต 2 ภาค มีเนื้อเรืองเกี่ยวกับยุทธการที่สตาลินกราด ภาคที่หนึ่งออกฉายในวันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและสตาลินกราดสกายาบีตวา · ดูเพิ่มเติม »

ออสโวบอจเดนี

ออสโวบอจเดนี (Liberation, Освобождение, Befreiung, Wyzwolenie) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของสหภาพโซเวียต กำกับโดยยูรี โอเซรอฟ ออสโวบอจเดนี เป็นภาพยนตร์ร่วมมือกันระหว่าง สหภาพโซเวียต, เยอรมนีตะวันออก, โปแลนด์, อิตาลี และ ยูโกสวาเวีย โดยภาพยนตร์นี้จะเล่าเรืองเกียวกับสงครามโลกครั้งที่สอง โดยจะเล่าเรื่องราวเกียวกับยุทธการที่คูสค์, ปฏิบัติการบากราติออน, การรุกวิสตูลา-โอเดอร์ และ ยุทธการที่เบอร์ลิน.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและออสโวบอจเดนี · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์

ณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์ โดยพฤตินัยได้ก่อตั้งรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนีระหว่างวันที่ 30 มกราคม และ 30 เมษายน ปี..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและคณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอลดาตืยสโวโบดืย

ซอลดาตืยสโวโบดืย (Солдаты свободы) เป็นภาพยนตร์แนวสงครามและอิงประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 4 ภาคของสหภาพโซเวียตกำกับโดย ยูรี โอเซรอฟ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจากภาพยนตร์ ออสโวบอจเดนี.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและซอลดาตืยสโวโบดืย · ดูเพิ่มเติม »

แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก

แวร์เนอร์ เอดวร์ด ฟริทซ์ ฟอน บลอมแบร์ก (Werner Eduard Fritz von Blomberg) เป็นจอมพลเยอรมัน รัฐมนตรีว่าการสงครามแห่งไรช์และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพเยอรมันจนถึง..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและแวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แผนลับ 20 กรกฎาคม

แผนลับ 20 กรกฎาคม (20 July plot) เป็นความพยายามลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอร์แห่งไรช์ที่สาม ภายในกองบัญชาการสนาม "รังหมาป่า" ใกล้เมืองรัสเทนบูร์ก แคว้นปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและแผนลับ 20 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โคโลเนลบูกีมาร์ช

ลเนลบูกีมาร์ช (Colonel Bogey March) เป็นเพลงมาร์ชที่แต่งโดย เรือเอกเฟรเดริก โจเซฟ ริกเกตส์ ทหารเรือชาวอังกฤษในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการวงดุริยางค์กองทัพเรืออังกฤษ ที่เมืองพลิมัท ริกเกตส์เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ชไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยนามแฝงว่า "เคนเนต.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและโคโลเนลบูกีมาร์ช · ดูเพิ่มเติม »

เบลืยติกร์ สงครามรถถังประจัญบาน

ลืยติกร์ (Белый тигр) หรือชื่อในภาษาไทยคือ สงครามรถถังประจัญบาน เป็นภาพยนตร์แนวแอคชัน และ สงครามของรัสเซียกำกับโดย Karen Shakhnazarov นอกจากนี้ เบลืยติกร์ ยังได้รับการคัดเลือกในฐานะภาพยนตร์ของประเทศรัสเซียให้เข้าชิงรางวัลสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film) ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85 (85th Academy Awards) แต่ไม่ผ่านการคัดเลือกจากสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้โครงเรื่องจากนวนิยายของ Ilya Boyashov เรื่อง Tankist, ili "Belyy tigr" (พลขับรถถังของ "รถถังไทเกอร์").

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและเบลืยติกร์ สงครามรถถังประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย

ซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย (Semnadtsat' mgnoveniy vesny) เป็นมินิซีรีสของสหภาพโซเวียตมีทั้งหมด 12 ตอน ออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในปี 1973 กำกับการแสดงโดย Tatyana Lioznova โดยมีเค้าโครงของนวนิยายเรื่องเดียวกันของ Yulian Semyonov เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Maxim Isaev สายลับโซเวียตที่ทำงานจารกรรมในนาซีเยอรมนีโดยใช้ชื่อ Max Otto von Stierlitz ซึ่งรับบทโดย Vyacheslav Tikhonov เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืยกลายเป็นซีรีสที่เป็นที่นิยมในสหภาพโซเวียตนอกจากนี้เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืยยังเป็นหนึ่งในซีรีสที่ยังเป็นที่นิยมในประวัติศาสตร์ละครซีรีสของรัสเซี.

ใหม่!!: วิลเฮล์ม ไคเทิลและเซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิลเฮล์ม ไคเทล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »