โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิลเลียม ฮาร์วีย์

ดัชนี วิลเลียม ฮาร์วีย์

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ('''William Harvey'''.; 1 เมษายน ค.ศ. 1578 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษผู้ลบความเชื่อเก่าๆของแพทย์ในยุคศตวรรษที่ 17 ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับระบบโลหิตในร่างกาย เขาเป็นผู้ค้นพบการไหลเวียนโลหิตหากทว่ากว่าจะได้รับการยอมรับเขาเสียชีวิตไปเสียแล้ว.

7 ความสัมพันธ์: สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสัตววิทยาอิบน์ ซีนาความดันโลหิตสูงคัพภวิทยาแอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษโรคนิ่วไต

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตววิทยา

ัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหล.

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และสัตววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ ซีนา

อะบูอาลี อัลฮูซัยน์ บินอับดิลลาฮ์ อิบนุซีนา หรือ แอวิเซนนา (Avicenna; ค.ศ. 980-1037) เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักร เขายังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของเจ้าชายต่าง ๆ ในช่วงบั้นท้ายชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ เขายังเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, สารานุกรมศัพท์ ในหัวข้อต่างๆ เช่นการแพทย์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ดนตรี เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกวีที่มีผลงานได้รับความนิยมในโลกอาหรับ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ ชุด Canon of Medicine ที่นำรากฐานมาจากฮิปโปเครติส อริสโตเติล ไดออสคอริดีส กาเลน และบุคคลสำคัญวงการแพทย์อื่น โดยแทรกทฤษฏีและการสังเกตของเขาเองลงไปด้วย หนังสืออีกชุดของเขามีเนื้อหาทางด้านเภสัชวิทยาต้นไม้สมุนไพร ถือเป็นตำราพื้นฐานแพทย์ที่สำคัญของโลกมุสลิมและคริสเตียน แต่ทฤษฎีของเขาก็ดูด้อยความเชื่อถือลงเมื่อลีโอนาร์โด ดา วินชี ปฏิเสธตำรากายวิภาคของเขา แพราเซลซัส เผาสำเนาตำรา Canon of Medicine ที่ใช้สอนกันในสวิสเซอร์แลนด์ และวิลเลียม ฮาร์วีย์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ล้มทฤษฎีของเขาในเรื่องการค้นพบระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายคน.

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และอิบน์ ซีนา · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

คัพภวิทยา

ตัวอ่อนระยะมอรูลา (Morula), ระยะ 8 เซลล์ '''1''' - มอรูลา (morula), '''2''' - บลาสตูลา (blastula) เอ็มบริโอมนุษย์ อายุครรภ์ 6 สัปดาห์หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) คัพภวิทยาหมายถึงการเจริญของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ไซโกต) และมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ หลังจากระยะแยก (cleavage) เซลล์ที่กำลังแบ่งตัว หรือมอรูลา (morula) จะกลายมาเป็นลูกบอลกลวง หรือบลาสตูลา (blastula) ซึ่งมีการเจริญของรูหรือช่องที่ปลายด้านหนึ่ง ในสัตว์ บลาสตูลาจะมีการเจริญแบ่งได้ออกเป็น 2 ทาง ทำให้สามารถแบ่งสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือหากมีการเจริญของรูในบลาสตูลา (บลาสโตพอร์ (blastopore)) กลายเป็นปากของสัตว์ จะเรียกว่าพวกโพรโตสโตม (protostome) แต่หากรูนั้นเจริญเป็นทวารหนัก จะเรียกว่าพวกดิวเทอโรสโตม (deuterostome) สัตว์พวกโพรโตสโตมได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง หนอน และพวกหอยกับปลาหมึก ในขณะที่พวกดิวเทอโรสโตมได้แก่สัตว์ที่วิวัฒนาการสูงเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) บลาสตูลาจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า แกสตรูลา (gastrula) '''1''' - บลาสตูลา (blastula), '''2''' - แกสตรูลา (gastrula) และบลาสโตพอร์ (blastopore); '''สีส้ม'''แทนเอ็กโทเดิร์ม, '''สีแดง'''แทนเอนโดเดิร์ม แกสตรูลาและบลาสโตพอร์จะเจริญไปเป็นชั้นต่างๆ 3 ชั้น (germ layers) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายทั้งหม.

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และคัพภวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์แห่งเดนมาร์ก (Anne of Denmark; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1574 — 2 มีนาคม ค.ศ. 1619) เป็นพระธิดาองค์ที่สองของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์กและโซฟีแห่งเมคเลนบูร์ก-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ เป็นพระมเหสีในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ แอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีแห่งสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1589 และเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1589 กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1619 ที่พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตในอังกฤษ พระศพของพระองค์ตั้งอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แอนน์ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เมื่อปี ค.ศ. 1589 เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา มีพระโอรสธิดาสามพระองค์ที่รอดมาได้จนโตรวมทั้งพระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวพอที่จะทรงใช้ความแตกแยกของการเมืองในสกอตแลนด์เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องสิทธิในตัวพระโอรส เฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ จากพระเจ้าเจมส์ ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงรักพระเจ้าเจมส์ในตอนแรก แต่ต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ทรงห่างเหินจากกัน จนในที่สุดก็ทรงแยกกันอยู่ แต่ก็ยังคงทรงมีความนับถือซึ่งกันและกันอยู่บ้าง เมื่อประทับอยู่ในอังกฤษ พระองค์ทรงหันความสนใจจากทางด้านการเมืองที่เป็นฝักเป็นฝ่ายไปเป็นการอุปถัมภ์ศิลปะ และการสร้างราชสำนักที่หรูหราของพระองค์เอง ทรงจัดให้มีการพบปะในซาลอนที่ทำให้เป็นราชสำนักของพระองค์เป็นราชสำนักที่มีวัฒนธรรมสูงที่สุดสำนักหนึ่งในยุโรป หลังจากปี ค.ศ. 1612 พระสุขภาพพลานามัยของพระองค์ก็เริ่มเสื่อมลง จนในที่สุดก็ทรงถอนตัวจากราชสำนัก ตามทางการแล้วพระราชินีแอนน์สวรรคตในฐานะที่เป็นโปรเตสแตนต์ แต่หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ให้เห็นว่าอาจจะทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกขณะใดขณะหนึ่งระหว่างที่ยังมีพระชนม์อยู่ นักประวัติศาสตร์เดิมไม่ได้เห็นว่าแอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีที่มีความสำคัญมากเท่าใดนัก และออกจะเป็นผู้มีความหลงพระองค์เอง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความเห็นเกี่ยวกับพระองค์ก็เริ่มจะเปลี่ยนไปโดยเริ่มมีความเห็นกันว่าพระองค์ทรงมีความเด็ดเดี่ยวเป็นตัวของตัวเองโดยเฉพาะทรงเป็นผู้มีความสำคัญในการเป็นผู้อุปถัมภ์ทางศิลปะระหว่างสมัยจาโคเบียน.

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และแอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคนิ่วไต

รคนิ่วไต (kidney stone disease, urolithiasis) เป็นก้อนวัสดุแข็งที่เกิดในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไตปกติจะเกิดในไตแล้วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ โดยก้อนเล็ก ๆ อาจจะผ่านออกโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าใหญ่เกินกว่า 5 มิลลิเมตร ก็อาจขวางท่อไตมีผลให้เจ็บอย่างรุนแรงที่หลังหรือท้องส่วนล่าง นิ่วยังอาจทำให้เลือดออกในปัสสาวะ ทำให้อาเจียน หรือทำให้เจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ (dysuria) คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดนิ่วอีกภายใน 10 ปี นิ่วโดยมากมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งระดับแคลเซียมสูงในปัสสาวะ (hypercalciuria) โรคอ้วน อาหารบางชนิด ยาบางชนิด การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริม ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ และดื่มน้ำไม่พอ นิ่วจะเกิดในไตเมื่อแร่ในปัสสาวะเข้มข้นมาก การวินิจฉัยปกติจะอาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี โดยการตรวจเลือดอาจมีประโยชน์ นิ่วมักจะจัดกลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ คือ nephrolithiasis (ในไต) ureterolithiasis (ในท่อไต) cystolithiasis (ในกระเพาะปัสสาวะ) หรือโดยองค์ประกอบของนิ่ว เช่น แคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate), กรดยูริก, สตรูไวท์ (struvite), ซิสทีน (cystine) เป็นต้น คนไข้ที่มีนิ่วสามารถป้องกันโดยดื่มน้ำให้ผลิตปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน ถ้ายังไม่พอ อาจทานยาไทอะไซด์ (thiazide), ไซเตรต (citrate, กรดไซตริก) หรืออัลโลพิวรีนอล (allopurinol) คนไข้ควรเลี่ยงดื่มน้ำอัดลม (เช่น โคลา) ถ้านิ่วไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่เช่นนั้นแล้ว ยาแก้ปวดเป็นการรักษาเบื้องต้น โดยใช้ยาเช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์ นิ่วที่ใหญ่เพิ่มขึ้นอาจขับออกได้โดยใช้ยา tamsulosin หรืออาจต้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), หรือการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy) คนทั่วโลกประมาณ 1-15% จะมีนิ่วไตในช่วงหนึ่งของชีวิต ในปี 2558 มีคนไข้ 22.1 ล้านราย ทำให้เสียชีวิต 16,100 ราย เป็นโรคที่สามัญยิ่งขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยทั่วไป ชายจะเป็นมากกว่าหญิง นิ่วไตเป็นโรคที่ปรากฏตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมีการกล่าวถึงการผ่าตัดเพื่อเอาออกเริ่มตั้งแต่ 600 ปีก่อน..

ใหม่!!: วิลเลียม ฮาร์วีย์และโรคนิ่วไต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

William Harveyวิลเลี่ยม ฮาร์วี่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »