โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาเข็ม

ดัชนี วงศ์ปลาเข็ม

วงศ์ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak, Halfbeak) เป็นวงศ์ของปลาจำพวกหนึ่ง ที่พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiramphidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ซึ่งเป็นปลาทะเล มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวเรียวยาว ท่อนหัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบนข้าง ปากล่างยื่นยาวเป็นจะงอยแหลมคล้ายปากนก ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่ปากบนและมีฟันที่ปากล่างมีเฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ปากบน แต่ในบางชนิดมีฟันที่ปากล่างเรียงเป็นแถวตลอดทั้งปาก ส่วนโคนของปากล่างเชื่อมติดต่อกันกับกะโหลกหัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ปากบนเท่านั้น มีเกล็ดแบบสาก ครีบทั้งหมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง ตำแหน่งของครีบหางและขนาดของครีบก้นเป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกค่อนข้างใหญ่อยู่ใกล้แนวสันหลัง ครีบหางของสกุลที่อาศัยอยู่ในทะเลมักมีลักษณะเว้าลึก ปลายแยกออกจากกันเป็นแฉก แฉกบนเล็กกว่าแฉกล่าง ส่วนสกุลที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมักมีครีบหางที่มนกลม เป็นปลาที่มีทั้งออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว โดยพวกที่ออกลูกเป็นตัว มักจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และที่ออกลูกเป็นไข่มักเป็นปลาทีอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มักว่ายหากินเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แมลงและลูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เป็นปลาที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคและแทบทุกประเภทของแหล่งน้ำ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น "ตับเต่า", "ปลาเข็ม" หรือ "สบโทง" มีความสำคัญในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และในบางชนิดก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้ต่อสู้เป็นการพนันเช่นเดียวกับปลากัดด้ว.

11 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลากระทุงเหววงศ์ปลาเข็มอันดับปลาเข็มปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาซิวข้าวสารเดซี่ปลาเข็มปลาเข็มหม้อปลาเข็มงวงปลาเข็มป่า

วงศ์ปลากระทุงเหว

วงศ์ปลากระทุงเหว หรือ วงศ์ปลาเข็มแม่น้ำ (Needlefish) เป็นวงศ์ปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belonidae (/เบ-ลอน-นิ-ดี/) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่ามาก ปากแหลมยาวทั้งบนและล่าง และภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคม เกล็ดมีขนาดเล็ก เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 130-350 แถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนงประมาณ 14-23 ก้าน ครีบอกใหญ่แข็งแรง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยไล่ล่าปลาขนาดเล็กกว่ารวมทั้งแมลงและสัตว์น้ำต่าง ๆ กิน นิยมอยู่รวมเป็นฝูง หากินตามผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ส่วนมากจะพบตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับปากแม่น้ำ จึงจัดเป็นปลาน้ำกร่อยอีกจำพวกหนึ่ง แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ไข่มักจะมีเส้นใยพันอยู่รอบ ๆ และใช้เวลาประมาณ 6-9 วันถึงจะฟักเป็นตัว นับว่านานกว่าปลาในวงศ์อื่นมาก ลูกปลาในวัยอ่อนส่วนปากจะยังไม่แหลมคมเหมือนปลาวัยโต เป็นปลาที่สามารถกระโดดจากผิวน้ำได้สูงมาก ขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 120 เซนติเมตร นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการตกปลาว่า "ปลาเต็กเล้ง" บางชนิดมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น ปลากระทุงเหวเมือง (Xenentodon canciloides).

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและวงศ์ปลากระทุงเหว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเข็ม

วงศ์ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak, Halfbeak) เป็นวงศ์ของปลาจำพวกหนึ่ง ที่พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiramphidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ซึ่งเป็นปลาทะเล มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวเรียวยาว ท่อนหัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบนข้าง ปากล่างยื่นยาวเป็นจะงอยแหลมคล้ายปากนก ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่ปากบนและมีฟันที่ปากล่างมีเฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ปากบน แต่ในบางชนิดมีฟันที่ปากล่างเรียงเป็นแถวตลอดทั้งปาก ส่วนโคนของปากล่างเชื่อมติดต่อกันกับกะโหลกหัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ปากบนเท่านั้น มีเกล็ดแบบสาก ครีบทั้งหมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง ตำแหน่งของครีบหางและขนาดของครีบก้นเป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกค่อนข้างใหญ่อยู่ใกล้แนวสันหลัง ครีบหางของสกุลที่อาศัยอยู่ในทะเลมักมีลักษณะเว้าลึก ปลายแยกออกจากกันเป็นแฉก แฉกบนเล็กกว่าแฉกล่าง ส่วนสกุลที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมักมีครีบหางที่มนกลม เป็นปลาที่มีทั้งออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว โดยพวกที่ออกลูกเป็นตัว มักจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และที่ออกลูกเป็นไข่มักเป็นปลาทีอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มักว่ายหากินเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แมลงและลูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เป็นปลาที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคและแทบทุกประเภทของแหล่งน้ำ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น "ตับเต่า", "ปลาเข็ม" หรือ "สบโทง" มีความสำคัญในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และในบางชนิดก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้ต่อสู้เป็นการพนันเช่นเดียวกับปลากัดด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและวงศ์ปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาเข็ม

อันดับปลาเข็ม เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beloniformes มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดเล็ก มักว่ายรวมฝูงหรือหากินกันบริเวณผิวน้ำ เมื่อตกใจสามารถกระโดดหรือเหินขึ้นเหนือผิวน้ำได้สูงและไกลเหมือนการบินของนกหรือแมลงได้ในบางวงศ์ มีลำตัวยาวมาก ยกเว้นในบางวงศ์ ลำตัวค่อนข้างยาว ลำตัวรูปเหลี่ยม ครีบท้องอยู่ตรงข้ามครีบก้นค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหูอยู่ระดับสูงของลำตัว ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งท้องริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างอาจยื่นยาว ถ้าไม่ยื่นยาวครีบหูหลังท้อง และครีบหางอาจขยายออกไป มีเกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ แบ่งออกเป็น 5 วงศ์ พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและอันดับปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวข้าวสารเดซี่

ปลาซิวข้าวสารเดซี่ หรือ ปลาซิวข้าวสารโวโวแรย์ (Daisy's ricefish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryzias woworae ในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) จัดเป็นปลาซิวข้าวสารในสกุล Oryzias ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2010 จัดเป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมากชนิดหนึ่ง แตกต่างไปจากปลาในสกุลเดียวกันชนิดอื่น โดยมีสีที่พบได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีสีแดงบริเวณใต้ส่วนหัวไล่ไปตามลำตัวส่วนล่างจนถึงด้านหน้าของครีบท้อง ครีบหลัง รวมถึงคอดหางและครีบหางบางส่วนด้วย และมีสีฟ้าเป็นประกายตั้งแต่ขอบหลังบนของลูกตาลากสีไปตามแนวเกล็ดกลางลำตัวจนถึงฐานของครีบหาง นอกจากนี้สีฟ้ายังกินพื้นที่เกล็ดในตำแหน่งใต้เส้นสีกลางลำตัวไปจนถึงบริเวณหน้าครีบก้น พื้นที่บริเวณแผ่นกระดูกเปิดปิดเหงือก ไปจนถึงฐานของครีบอกเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางมีลักษณะตัดตรงมากกว่าขอบหางที่เว้าเข้า มีขนาดประมาณ 6-7 เซนติเมตร ปลาซิวข้าวสารเดซี่ พบกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมูนา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย ในลำธารที่สงบเงียบ โดยอยู่รวมฝูงกับปลาในวงศ์ปลาเข็ม ในระดับความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร พื้นน้ำเป็นโคลนเลนและเศษใบไม้ร่วง ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำประมาณ 6-7 (pH 6-7) โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.เดซี่ โวไว นักสัตววิทยาชาวอินโดนีเซียผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำจืด จำพวกปูและกุ้ง ปลาซิวข้าวสารเดซี่ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เดิมเคยใช้ชื่อวงการปลาสวยงามว่า "ปลาข้าวสารนีออน" ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานแยกออกไปเป็นชนิดต่างหาก คือ O. walasi ซึ่งมีลักษณะบางประการที่แตกต่างออกไป แต่ทั้งสองชนิดนี้ก็พบในถิ่นที่อยู่เดียวกัน หน้า 26-27, สกุล Oryzias ปลาข้าวสาร โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาซิวข้าวสารเดซี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็มหม้อ (Wrestling halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง".

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาเข็มหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มงวง

ปลาเข็มงวง หรือ ปลาเข็มช้าง (Forest halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemirhamphodon pogonognathus อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาทั่วไปในวงศ์เดียวกัน แต่มีปากล่างงอม้วนลงคล้ายงวงช้าง จึงเป็นที่มาชื่อเรียก ครีบหลังมีฐานยาวเป็นสองเท่าของฐานครีบก้น มีฟันที่ปากล่างตลอดทั้งปาก ลำตัวสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาลอมชมพู ครีบหางสีแดงมีขอบสีขาว ครีบหลังสีแดงมีขอบสีดำ ครีบท้องกับครีบก้นสีแดง ครีบอกมีสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวลำตัวที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยเฉพาะที่ป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น และพบได้ในป่าพรุจนถึงแหลมมลายู มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินแมลงที่ตกลงในน้ำเป็นอาหารหลัก นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ที่ไม่ค่อยจะได้พบบ่อยนักในตลาดปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาเข็มงวง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มป่า

ปลาเข็มป่า หรือ ปลาเข็มช้าง (Forest halfbeak) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Hemirhamphodon (/เฮม-อิ-แรม-โฟ-ดอน/) อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวยาวปานกลาง ครีบหลังอยู่ด้านหน้าครีบก้น ฐานของครีบหลังยาวเป็นสองเท่าของครีบก้น ครีบหางมนกลม ฟันเป็นทรงกรวยปลายแหลม มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยในป่าพรุ ไปตลอดจนถึงแหลมมลายู มีทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเข็มและปลาเข็มป่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hemiramphidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »