โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเข็ม

ดัชนี ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

15 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลาเข็มปลาช่อนเข็มปลาช่อนเข็ม (สกุล)ปลากระทุงเหวเมืองปลาการ์ปลามาคูลาตาไพค์ปลาสวยงามปลาหมอไพค์ปลาหัวงอนปลาหัวตะกั่วปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาเข็มปลาเข็มหม้อ

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาเข็มและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเข็ม

วงศ์ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak, Halfbeak) เป็นวงศ์ของปลาจำพวกหนึ่ง ที่พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiramphidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ซึ่งเป็นปลาทะเล มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวเรียวยาว ท่อนหัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบนข้าง ปากล่างยื่นยาวเป็นจะงอยแหลมคล้ายปากนก ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่ปากบนและมีฟันที่ปากล่างมีเฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ปากบน แต่ในบางชนิดมีฟันที่ปากล่างเรียงเป็นแถวตลอดทั้งปาก ส่วนโคนของปากล่างเชื่อมติดต่อกันกับกะโหลกหัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ปากบนเท่านั้น มีเกล็ดแบบสาก ครีบทั้งหมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง ตำแหน่งของครีบหางและขนาดของครีบก้นเป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกค่อนข้างใหญ่อยู่ใกล้แนวสันหลัง ครีบหางของสกุลที่อาศัยอยู่ในทะเลมักมีลักษณะเว้าลึก ปลายแยกออกจากกันเป็นแฉก แฉกบนเล็กกว่าแฉกล่าง ส่วนสกุลที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมักมีครีบหางที่มนกลม เป็นปลาที่มีทั้งออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว โดยพวกที่ออกลูกเป็นตัว มักจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และที่ออกลูกเป็นไข่มักเป็นปลาทีอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มักว่ายหากินเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แมลงและลูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เป็นปลาที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคและแทบทุกประเภทของแหล่งน้ำ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น "ตับเต่า", "ปลาเข็ม" หรือ "สบโทง" มีความสำคัญในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และในบางชนิดก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้ต่อสู้เป็นการพนันเช่นเดียวกับปลากัดด้ว.

ใหม่!!: ปลาเข็มและวงศ์ปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเข็ม

ปลาช่อนเข็ม (Giant pikehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciocephalus pilcher ในวงศ์ Osphronemidae มีรูปร่างคล้ายปลาช่อนผสมกับปลาเข็ม กล่าวคือ มีส่วนหัวและปากแหลมยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเข้มและน้ำตาลเขียว หลังสีจางกว่า กลางลำตัวมีแถบดำใหญ่ขอบสีพางพาดยาวและมีแถบสีจางพาดบริเวณด้านหลัง โคนครีบหางมีจุดสีดำขอบสีขาว ท้องสีจาง ครีบหลังสีดำ ครีบหางมีลายประสีคล้ำ ครีบล่างใสโปร่งแสง มีขนาดความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยจะหากินบริเวณผิวน้ำ โดยอาหารได้แก่ แมลงน้ำขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในป่าพรุตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ไปจนถึงแหลมมลายู เป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อยนัก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ทว่าเลี้ยงให้รอดได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมักจะปรับตัวไม่ได้ เพราะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็นความกรด (pH) ต่ำมาก.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาช่อนเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเข็ม (สกุล)

ปลาช่อนเข็ม (Pikehead fish) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อสกุลว่า Luciocephalus (/ลิว-ซิ-โอ-เซฟ-อา-ลัส/) มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้อย่างเห็นได้ชัด โดยกลับมีรูปร่างคล้ายปลาช่อน แต่หัวและปากยื่นยาวแหลมเหมือนปลาเข็ม ลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลเขียว ด้านหลังสีจางกว่า และมีแถบสีดำพาดยาวทางความยาวลำตัวอย่างเห็นได้ชัด ครีบทุกครีบบางใส และไม่มีถุงลม มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 20 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินอยู่ตามผิวน้ำของพรุตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ในอินโดนีเซีย วางไข่โดยตัวผู้จะอมไว้ในปาก และเลี้ยงจนลูกปลาได้ขนาด 1 เซนติเมตร จึงปล่อยออกมา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาช่อนเข็ม (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระทุงเหวเมือง

ปลากระทุงเหวเมือง (Freshwater garfish, Asian freshwater needlefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xenentodon canciloides อยู่ในวงศ์ปลากระทุงเหว (Belonidae) มีรูปร่างเหมือนปลาเข็ม แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ลำตัวค่อนข้างกลมส่วนท้องแบน ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบก้นและอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกใหญ่และแหลมใช้สำหรับกระโดดพ้นจากผิวน้ำเพื่อหลบหลีกศัตรูและไล่จับอาหาร ครีบหางตัดตรงหรือบาง กระดูกแก้มไม่มีเกล็ด ไม่มีสันแข็งที่คอดหาง จะงอยปากแหลมยาวทั้งปากบนและปากล่าง มีฟันซี่แหลมคมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร และนับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Xenentodon เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองทั่วไปหรือแม้กระทั่งส่วนที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง เช่น ท้องร่องสวน นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยเช่น ปากแม่น้ำที่ติดกับชายทะเลด้วย ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และใช้บริโภคเป็นอาหาร มีการเพาะเลี้ยงกันในบางพื้นที่ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเข็มแม่น้ำ" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลากระทุงเหวเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์

ปลาการ์ หรือ ปลาการ์ไพค์ (Gar, Garpike) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็งที่มีก้านครีบวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lepisosteidae (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ดี้/) และอยู่ในอันดับ Lepisosteiformes (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ฟอร์-เมส/) ปลาการ์มีรูปร่างคล้ายกับปลากระทุงเหว หรือปลาเข็ม ที่อยู่ในอันดับ Beloniformes คือ มีรูปร่างเรียวยาว มีลักษณะเด่นคือ มีจะงอยปากที่แหลมยาวยื่นออกมาคล้ายเข็มเห็นได้ชัดเจน ซึ่งภาษาอังกฤษเก่าคำว่า "Gar" หมายถึง "หอก" ขณะที่ชื่อสกุลในทางวิทยาศาสตร์คำว่า Lepisosteus มาจากภาษากรีกคำว่า lepis หมายถึง "เกล็ด" หรือหมายถึง "กระดูก" และ Atractosteus ดัดแปลงมาจากภาษากรีกคำว่า atraktos หมายถึง "ธนู" ทั้งนี้เนื่องจากปลาการ์มีเกล็ดแบบกานอยด์ซึ่งเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ียมแบบเพชร มีความหนา่และแข็งแรงห่อหุ้มลำตัวเสมือนเกราะ โดยมีลักษณะเช่นนี้มา่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยปลาการ์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคครีเตเชียส โดยพบเป็นซากฟอสซิลตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในภาคอีสานของประเทศไทยด้วย ที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ปลาการ์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สกุล เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ในขณะที่บางชนิดอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือตามชายฝั่งบ้าง พบกระจายพันธุ์ฺเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และแคริบเบียน มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนแท่งดินสอ มีจะงอยปากยื่นแหลมที่ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมอยู่เป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับล่าเหยื่อและกินอาหาร มีเส้นข้างลำตัวที่ไวต่อความรู้สึก ใช้เป็นประสาทในการสัมผัสและนำทาง ปลายกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายยกเชิดขึ้น และโค้งไปตามขอบบนของหางจนถึงปลายครีบหาง ทำให้มีครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด มีรูจมูกอยู่ที่ปลายจะงอยปาก นอกจากนี้แล้วยังมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอด จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำที่ีมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ โดยการขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำ ปลาการ์ทั้งหมดวางไข่ในน้ำจืด มีรายงานระบุว่าไข่ของปลาวงศ์นี้มีพิษ โดยพฤติกรรมจะอาศัยรวมฝูงกันอยู่ระดับในผิวน้ำในฤดูร้อน และจะดำดิ่งลงสู่เบื้องล่างในฤดูหนาว อาหารส่วนใหญ่จะมักจะเป็น นกน้ำ เช่น นกเป็ดน้ำ และ ปู ซึ่งง่ายต่อการล่า ในหลายพื้นที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและนำชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เกล็ดมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน รวมถึงเนื้อด้วยในบางชนิดรับประทานเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 10-14 ฟุต ในปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย และนับเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีการเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามหรือแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำพื้นเมืองได้.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลามาคูลาตาไพค์

ปลามาคูลาตาไพค์ (Spotted pike characin, False gar) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไพค์คาราซิน (Ctenoluciidae) ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาเข็ม ลำตัวยาวทรงกระบอก ปากแหลมยาวเหมือนปากปลาเข็ม พื้นลำตัวเป็นสีเทาขาว สีด้านใต้ลำตัวเป็นสีขาวอมเหลือง ตำแหน่งของครีบกระโดงหลังและมีครีบทวารสั้นเล็กค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัว ครีบทุกครีบของร่างกายจะมีจุดสีดำกระจายไปทั่ว ครีบหางเว้าเป็นรูปส้อมสีชมพู รูจมูกอยู่ทางด้านหน้าของดวงตา ตามีขนาดกลมโต กระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น โอรีโนโก, โทแคนตินส์ และอเมซอน เป็นต้น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ในระดับผิวน้ำเพื่อล่าปลาขนาดเล็กหรือลูกปลาชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลามาคูลาตาไพค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอไพค์

ปลาหมอไพค์ (Pike cichild) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crenicichla มีรูปร่างโดยรวม เหมือนปลาเข็มหรือปลาไพค์ ซึ่งเป็นปลาต่างอันดับกัน คือ มีรูปร่างทรงกระบอกยาว หรือทรงกระสวย ลำตัวหนา ไม่มีเหมือนกับปลาหมอสีทั่วไป และปากสามารถยืดหดได้เวลาฮุบอาหารคล้ายกับปลาช่อน กระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีขนาดความยาวตั้งแต่ 3 นิ้ว จนถึงมากกว่า 30 เซนติเมตร ทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ ไล่ล่าปลาขนาดเล็กและลูกปลาต่าง ๆ รวมถึงกุ้งบริเวณผิวน้ำเป็นอาหาร เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูง ปัจจุบัน อนุกรมวิธานไปแล้วกว่า 88 ชนิด และมีอีกกว่า 47 ชนิดที่เพิ่งค้นพบใหม่ และไม่ได้บรรยายทางวิทยาศาสตร์ โดยมีการค้นพบชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้แล้วยังพบมีการผสมข้ามพันธุ์กันด้วยในธรรมชาติ นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง และกินอาหารสำเร็จรูปได้ด้ว.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาหมอไพค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวงอน

ปลาหัวงอน หรือ ปลาหัวตะกั่ว (Panchax) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aplocheilus (/แอ็พ-โล-โคล-อัส/; มาจากภาษากรีก "Aploe" หมายถึง "เดี่ยว" และ "cheilos" หมายถึง "ริมฝีปาก") จัดอยู่ในวงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae) มีลักษณะสำคัญคือ ปากยืดหดได้ มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลาง ฐานของครีบอกอยู่ต่ำกว่าระดับกึ่งกลางลำตัว ครีบหางมนกลม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วในทุกแหล่งน้ำอย่างกว้างขวางในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซุนดา มีขนาดทั่วไปไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าและสีสันสวยงามและหลากหลายกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ไว้กับไม้น้ำ ไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12-14 วัน การที่มีถิ่นการแพร่ขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีการสันนิษฐานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า มิได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็นด้วยมนุษย์ซึ่งได้เลี้ยงปลาสกุลนี้เป็นปลาสวยงามอยู่แล้ว อีกทั้งไข่ยังมีคุณลักษณะพิเศษ คือ ทนร้อน และทนแห้งได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาคิลลี่ฟิช (สามารถส่งไปในซองจดหมายได้ด้วย) จึงประมาณกันว่าการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางนั้นเกิดจากการ่มีไข่ปลาติดไปกับการขนส่งต้นข้าว หรือพืชน้ำต่าง ๆ แต่ตัวผู้มีอุปนิสัยก้าวร้าว มักชอบกัดกันเองคล้ายกับปลากัดหรือปลาเข็ม ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน ซึ่งคนไทยในสมัยโบราณมักจะจับมากัดกันเพื่อการพนัน.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาหัวงอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวตะกั่ว

ระวังสับสนกับ ปลาซิวหัวตะกั่ว ปลาหัวตะกั่ว หรือ ปลาหัวเงิน หรือ ปลาหัวงอน (Blue panchax, Whitespot panchax) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus panchax อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน มีลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ มีจุดเด่น คือ มีจุดกลมสีเงินเหมือนสีของตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทุกภาค จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบใหญ่กว่าและสีสันต่าง ๆ ก็สดกว่า และมีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูง ผู้คนในสมัยโบราณจึงนักนิยมจับมาเลี้ยงดูเพื่อการกัดกันเป็นการพนันเหมือนปลากัดหรือปลาเข็ม หลวงมัศยจิตรการและโชติ สุวัตถิ ได้กล่าวถึงปลาหัวตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2503 ไว้ว่า ปลาหัวตะกั่วมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "หัวกั่ว" ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็มหม้อ (Wrestling halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง".

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาเข็มหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dermogenys

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »