โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิไศวะ

ดัชนี ลัทธิไศวะ

การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

14 ความสัมพันธ์: ชาวเขมรพระวิษณุพระผู้สร้างพระโคตมพุทธเจ้าพระเป็นเจ้าภความีนากษีมนเทียรมนตร์ศาสนาฮินดูศาสนาแบบอินเดียอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งถิลไลนฏราชมนเทียรนิกายนครวัด

ชาวเขมร

วเขมร (Khmer people) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมากที่สุดในประเทศกัมพูชา คิดเป็น 90% ของทั้งประเทศ Accessed July 14, 2008.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและชาวเขมร · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ภควา

วา (भगवा) หรือ ภควานฺ (भगवान्) เป็นสมัญญาของพระเจ้าในศาสนาแบบอินเดีย โดยพุทธศาสนิกชนใช้คำนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า ชาวฮินดูลัทธิไวษณพใช้หมายถึงองค์อวตารของพระวิษณุ (เช่น พระกฤษณะ) ลัทธิไศวะใช้หมายถึงพระศิวะJames Lochtefeld (2000), "Bhagavan", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและภควา · ดูเพิ่มเติม »

มีนากษีมนเทียร

มีนากษีสุนทเรศวรมนเทียร (मीनाक्षी सुन्दरेश्वर मन्दिर มีนากฺษี สุนฺทเรศวร มนฺทิร) เรียกโดยย่อว่า มีนากษีมนเทียร (मीनाक्षी मन्दिर มีนากฺษี มนฺทิร) เป็นโบสถ์พราหมณ์เก่าแก่ ตั้งอยู่บนฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำไวคาย (Vaigai River) ในเมืองมทุราย รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย สร้างถวายพระแม่มีนากษี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระปารวตี และถวายพระสุนทเรศวร อวตารปางหนึ่งของพระศิวะ สวามีของพระองค์ แม้โบสถ์มีที่มาเก่าแก่ แต่สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันสร้างขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทั้งมีการบูรณะและต่อเติมอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามบัญชาของติรุมาลัย นายก (Thirumalai Nayak) เจ้าเมืองมทุราย เพราะช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 กองทัพมุสลิมจากรัฐสุลต่านเดลี (Delhi Sultanate) เข้าโจมตีโบสถ์ แล้วปล้นเอาของมีค่า ก่อนทำลายศาสนสถานแห่งนี้ลงพร้อมกับแห่งอื่น ๆ ทั่วภาคใต้ของอินเดีย, Encyclopedia Britannica, Quote: "The temple, Tirumala Nayak palace, Teppakulam tank (an earthen embankment reservoir), and a 1,000-pillared hall were rebuilt in the Vijayanagar period (16th–17th century) after the total destruction of the city in 1310." โบสถ์ที่เห็นในบัดนี้เป็นผลมาจากการสร้างขึ้นใหม่ภายใต้ดำริของกษัตริย์หลายพระองค์แห่งจักรวรรดิวิชัยนคร การต่อเติมครั้งสำคัญเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตามคำสั่งของวิศวนาถ นายก (Vishwanatha Nayak) และผู้สืบต่อตำแหน่งของเขา ปัจจุบัน ในเทวสถานประกอบด้วยโคปุระ (gopuram) หรือซุ้มประตู 14 หลัง สูงราว 45–50 เมตร โคปุระหลังใต้มีความสูงมากที่สุด คือ 51.9 เมตร นอกจากนี้ ในโบสถ์ยังมีอาคารเสาสลักหลายหลัง และมีศาลอีกมากมายซึ่งสร้างถวายเทวดากับพราหมณ์ฮินดู ในศาลเหล่านี้มีวิมาน (vimana) ตั้งอยู่เหนือครรภคฤห์ (garbhagriha) หรือหอศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปิดทอง เป็นที่ประทับของพระมีนากษีกับพระสุนทเรศวร โบสถ์แห่่งนี้เป็นจุดมุ่งหมายหลักในการแสวงบุญตามประเพณีลัทธิไศวะ ซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ แต่ก็มีสิ่งหลายสิ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิไวษณพ ซึ่งถือพระวิษณุเป็นใหญ่ ทั้งนี้ เพราะถือว่าพระวิษณุเป็นพระภราดาของพระมีนากษี ในโบสถ์ยังมีเทวรูปของเทพองค์อื่น เช่น พระลักษมี ชายาพระวิษณุ, พระกฤษณะทรงขลุ่ย, นางรุกมินี ชายาพระกฤษณะ, พระพรหม, พระสรัสวดี ชายาพระพรหม, และเทพตามคัมภีร์ปุราณะ พร้อมด้วยงานศิลปะเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมฮินดู นับเป็นที่หมาย (landmark) สำคัญที่สุดในเมืองมทุราย แต่ละวันมีผู้เข้าชมหลักหมื่น และเฉพาะช่วงสิบวันแห่งเทศกาลมีนากษีติรุกัลยาณัง (Meenakshi Tirukalyanam) ในเดือนจิตระ ซึ่งตกราวเดือนเมษายนหรือพฤษภาคมตามปฏิทินสุริยคติ จะมีผู้เข้าเยี่ยมชมเทวสถานรวมหลักล้าน.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและมีนากษีมนเทียร · ดูเพิ่มเติม »

มนตร์

มนตร์ (मन्त्र) หรือ มนต์ (manta) คำศักดิ์สิทธิ์หรือคำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล พบในศาสนาแบบอินเดีย ทั้งศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ โดยทั่วไปมักเป็นคำสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิท.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและมนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาแบบอินเดีย

นาแบบอินเดีย (Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์Adams, C. J.,, Encyclopædia Britannica, 2007.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและศาสนาแบบอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อมองจากทางขึ้นด้านหน้า ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่ ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง ความสวยงามของปราสาท.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ถิลไลนฏราชมนเทียร

ระน้ำในถิลไลนฏราชมนเทียร ถิลไลนฏราชมนเทียร (தில்லை நடராசர் கோயில்; थिल्लई नटराज मंदिर; Thillai Nataraja Temple) หรือ จิทัมพรัมมนเทียร (चिदंबरम मंदिर) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างถวายแด่พระศิวะ ถือเป็นเทวาลัยที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในลัทธิไศวะ ตั้งอยู่ในเมืองจิทัมพรัม รัฐทมิฬนาดู สร้างในสมัยราชวงศ์ปัลลวะในศตวรรษที่ 7 และต่อมาสร้างเพิ่มเติมในสมัยราชวงศ์โจฬะในศตวรรษที่ 11 หมวดหมู่:โบสถ์พราหมณ์ในประเทศอินเดีย หมวดหมู่:โบสถ์พระศิวะ ภาพสลักบุคลฟ้อนรำท่ากริหัสตะกะ (ท่างวงช้าง) หนึ่งในท่ารำ 108 กรณะ ที่ซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออกของถิลไลนฏราชมนเทียร.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและถิลไลนฏราชมนเทียร · ดูเพิ่มเติม »

นิกาย

นิกายในศาสนา (Religious denomination) หมายถึง หมู่ หรือพวกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »