โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีนากษีมนเทียรและลัทธิไศวะ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มีนากษีมนเทียรและลัทธิไศวะ

มีนากษีมนเทียร vs. ลัทธิไศวะ

มีนากษีสุนทเรศวรมนเทียร (मीनाक्षी सुन्दरेश्वर मन्दिर มีนากฺษี สุนฺทเรศวร มนฺทิร) เรียกโดยย่อว่า มีนากษีมนเทียร (मीनाक्षी मन्दिर มีนากฺษี มนฺทิร) เป็นโบสถ์พราหมณ์เก่าแก่ ตั้งอยู่บนฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำไวคาย (Vaigai River) ในเมืองมทุราย รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย สร้างถวายพระแม่มีนากษี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระปารวตี และถวายพระสุนทเรศวร อวตารปางหนึ่งของพระศิวะ สวามีของพระองค์ แม้โบสถ์มีที่มาเก่าแก่ แต่สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันสร้างขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทั้งมีการบูรณะและต่อเติมอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามบัญชาของติรุมาลัย นายก (Thirumalai Nayak) เจ้าเมืองมทุราย เพราะช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 กองทัพมุสลิมจากรัฐสุลต่านเดลี (Delhi Sultanate) เข้าโจมตีโบสถ์ แล้วปล้นเอาของมีค่า ก่อนทำลายศาสนสถานแห่งนี้ลงพร้อมกับแห่งอื่น ๆ ทั่วภาคใต้ของอินเดีย, Encyclopedia Britannica, Quote: "The temple, Tirumala Nayak palace, Teppakulam tank (an earthen embankment reservoir), and a 1,000-pillared hall were rebuilt in the Vijayanagar period (16th–17th century) after the total destruction of the city in 1310." โบสถ์ที่เห็นในบัดนี้เป็นผลมาจากการสร้างขึ้นใหม่ภายใต้ดำริของกษัตริย์หลายพระองค์แห่งจักรวรรดิวิชัยนคร การต่อเติมครั้งสำคัญเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตามคำสั่งของวิศวนาถ นายก (Vishwanatha Nayak) และผู้สืบต่อตำแหน่งของเขา ปัจจุบัน ในเทวสถานประกอบด้วยโคปุระ (gopuram) หรือซุ้มประตู 14 หลัง สูงราว 45–50 เมตร โคปุระหลังใต้มีความสูงมากที่สุด คือ 51.9 เมตร นอกจากนี้ ในโบสถ์ยังมีอาคารเสาสลักหลายหลัง และมีศาลอีกมากมายซึ่งสร้างถวายเทวดากับพราหมณ์ฮินดู ในศาลเหล่านี้มีวิมาน (vimana) ตั้งอยู่เหนือครรภคฤห์ (garbhagriha) หรือหอศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปิดทอง เป็นที่ประทับของพระมีนากษีกับพระสุนทเรศวร โบสถ์แห่่งนี้เป็นจุดมุ่งหมายหลักในการแสวงบุญตามประเพณีลัทธิไศวะ ซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ แต่ก็มีสิ่งหลายสิ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิไวษณพ ซึ่งถือพระวิษณุเป็นใหญ่ ทั้งนี้ เพราะถือว่าพระวิษณุเป็นพระภราดาของพระมีนากษี ในโบสถ์ยังมีเทวรูปของเทพองค์อื่น เช่น พระลักษมี ชายาพระวิษณุ, พระกฤษณะทรงขลุ่ย, นางรุกมินี ชายาพระกฤษณะ, พระพรหม, พระสรัสวดี ชายาพระพรหม, และเทพตามคัมภีร์ปุราณะ พร้อมด้วยงานศิลปะเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมฮินดู นับเป็นที่หมาย (landmark) สำคัญที่สุดในเมืองมทุราย แต่ละวันมีผู้เข้าชมหลักหมื่น และเฉพาะช่วงสิบวันแห่งเทศกาลมีนากษีติรุกัลยาณัง (Meenakshi Tirukalyanam) ในเดือนจิตระ ซึ่งตกราวเดือนเมษายนหรือพฤษภาคมตามปฏิทินสุริยคติ จะมีผู้เข้าเยี่ยมชมเทวสถานรวมหลักล้าน. การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มีนากษีมนเทียรและลัทธิไศวะ

มีนากษีมนเทียรและลัทธิไศวะ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระศิวะ

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

พระศิวะและมีนากษีมนเทียร · พระศิวะและลัทธิไศวะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มีนากษีมนเทียรและลัทธิไศวะ

มีนากษีมนเทียร มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธิไศวะ มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.35% = 1 / (16 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มีนากษีมนเทียรและลัทธิไศวะ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »