โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัตนตรัย

ดัชนี รัตนตรัย

ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.

57 ความสัมพันธ์: บทสวดมนต์ในศาสนาพุทธพระกษิติครรภโพธิสัตว์พระมังคลพุทธเจ้าพระรัตนสัมภวพุทธะพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506พระสารีบุตรพระสุมนพุทธเจ้าพระสีวลีเถระพระสงฆ์พระแก้วพระโคตมพุทธเจ้าพระเรวตพุทธเจ้ากวนอูการบวชกุลทูสกญาตัตถจริยาภยเภรวสูตรภิกษุมานพ ยาระณะรัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรารัตนสูตรรัตนะรายชื่อธงในประเทศกัมพูชาลัทธิอนุตตรธรรมวัดพระพุทธวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันอาสาฬหบูชาวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติศาสนสถานศาสนาพุทธศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นสมาคมสร้างคุณค่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสรณะสวดคฤหัสถ์สังโยชน์สุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพีสุขาวดี (นิกาย)หมู่บ้านคุ้งตะเภาหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกันอุบาสก อุบาสิกาอุปสมบทอนาคาริก ธรรมปาละธงชาติทิเบตถีนมิทธะขบวนการ 969ตราแผ่นดินของมองโกเลียติสรณคมนูปสัมปทา...ต้นพระศรีมหาโพธิ์ประวัติศาสนาพุทธปางโปรดอสุรินทราหูนิคหกรรมแก้ว (แก้ความกำกวม)แก้วสามประการ3 ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

บทสวดมนต์ในศาสนาพุทธ

ทสวดมนต์ ในศาสนาพุทธนิกายเถรวาทนิยมใช้ภาษาบาลี ซึ่งหากแปลความหมายออกมาก็จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคำสวดบูชาเพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แทบทั้งสิ้น จึงเป็นอุบายในการเจริญสติอย่างหนึ่ง ที่เรียก พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ นั่นเอง การสวดมนต์ทุกครั้ง จึงเริ่มด้วยคำบูชาพระบรมศาสดาว่า "นโม ตสฺสะ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส" แปลโดยรวมว่า "ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น".

ใหม่!!: รัตนตรัยและบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระกษิติครรภโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมังคลพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ภาละอสงไขย ล่วงมาถึงสารมัณฑกัปหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น 4 พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกในสารมัณฑกัปนี้ทรงพระนามว่า พระมังคละพุทธเจ้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระมังคลพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระรัตนสัมภวพุทธะ

ระรัตนสัมภวะพุทธะ (रत्नसंभव) เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึงพระผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งสิ่งมีค่าทั้งมวล ประทับอยู่ทางทิศใต้ของพุทธมณฑล พระกายสีเหลืองทอง เป็นต้นตระกูลพระโพธิสัตว์ตระกูลรัตนะ ซึ่งเปรียบได้กับปัญญาอันประเสริฐ เป็นสัญญลักษณ์ของพระรัตนตรัย สัญญลักษณ์ประจำพระองค์คือ จินดามณี หมายถึงการเข้าถึงความรู้แจ้ง มโนวิญญาณธาตุและจิตตรัสรู้ ทรงม้าเป็นพาหน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระรัตนสัมภวพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ปรากฏบันทึกรายละเอียดไว้ ดังนี้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506

ระวังสับสนกับ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 12 สิงหาคม 2511 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 3 รอบพระนักษัตร เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2506 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี หมายกำหนดการจัดงาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ ในระหว่าง วันที่ 29-31 ตุลาคม และ วันที่ 5 - 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2506 รวมทั้งสิ้น 8 วัน พระราชพิธีนี้ จัดขึ้นโดย สำนักพระราชวัง ตามพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506 · ดูเพิ่มเติม »

พระสารีบุตร

ระสารีบุตร (ศฺริปุตฺร; สาริปุตฺต) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" (แม่ทัพธรรม) คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา" พระสารีบุตรเกิดเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่นิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนกฤติกา (เดือนสิบสอง) ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระสารีบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมนพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระมังคละพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมนะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระสุมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสีวลีเถระ

ระสีวลีเถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระสีวลีเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระแก้ว

ระแก้ว หรือ พระรัตนะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเรวตพุทธเจ้า

ระเรวตพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง หลังจากศาสนาของพระสุมนะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเรวตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาซึ่งเป็นสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและพระเรวตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รัตนตรัยและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

การบวช

การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช (ordinand).

ใหม่!!: รัตนตรัยและการบวช · ดูเพิ่มเติม »

กุลทูสก

กุลทูสก (อ่านว่า กุ-ละ-ทู-สก, กุ-ละ-ทู-สะ-กะ) แปลว่า "ผู้ประทุษร้ายตระกูล" เป็นภาษาพระวินัย หมายถึงภิกษุผู้ประจบเอาใจคฤหัสถ์ที่ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาหรือผู้มียศศักดิ์ ด้วยอาการที่ผิดพระวินัย เพื่อให้เขาศรัทธาในตัว เพื่อหวังลาภผลจากเขา เช่นให้ของกำนัล ทำสวนดอกไม้ไว้ให้เขาชื่นชม พูดประจ๋อประแจ๋ อุ้มลูกเขา ยอมตัวให้เขาใช้สอย รับเป็นหมอรักษาไข้ รับฝากของต้องห้าม เป็นต้น กุลทูสกเป็นผู้ทำลายศรัทธา ทำให้เขาดูหมิ่นเสื่อมถอยในพระรัตนตรัย และทำให้เขาพลาดจากบุญกุศล เพราะมัวหลงชื่นชมต่อสิ่งที่ได้รับ ไม่หาโอกาสบำเพ็ญบุญอย่างอื่น จึงเรียกผุ้ประทุษร้ายตระกูล หรือผู้ทำร้ายตระกูล.

ใหม่!!: รัตนตรัยและกุลทูสก · ดูเพิ่มเติม »

ญาตัตถจริยา

ญาตัตถจริยา แปลว่า การประพฤติประโยชน์ต่อญาติ, การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ญาติ ญาตัตถจริยา เป็นคำเรียกพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติประการหนึ่งใน ๓ ประการ ญาตัตถจริยา หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สงเคราะห์ญาติในฐานะที่เป็นญาติ กล่าวคือทรงสงเคราะห์พระบิดา พระมารดา ตลอดถึงพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ให้ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงธรรม จึงถึงให้ได้บวชในพระศาสนาและบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้นว่าเสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นาน เสด็จไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จไปห้ามพระญาติสองฝ่ายมิได้รบพุ่งกันเพราะเหตุแย่งน้ำทำนา ประทานอุปสมบทให้แก่พระนันนทะ พระนางรูปนันทา ซึ่งเป็นพระอนุชา และพระภคินีต่างพระมารดา ทรงแนะนำสั่งสอนจนได้เป็นพระอรหันต์ทั้งสององ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและญาตัตถจริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภยเภรวสูตร

รวสูตร เป็นพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก หมวดมัชฌิมนิกาย หมวดมูลปัณณาสก์ อยู่ในวรรคชื่อมูลปริยายวรรค สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ แก่พระภิกษุทั้งหลาย ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีในนครสาวัตถี โดยสมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงพระสูตรแก่ ชาณุสโสณิพราหมณ์ซึ่งเข้าไปเฝ้า ทั้งนี้ ชาณุสโสณีนั้น ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย ระบุว่า ไม่ใช่ชื่อที่บิดามารดาของพราหมณ์นั้นตั้งให้ แต่ว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากการได้ตำแหน่ง ว่ากันว่าตำแหน่งชาณุสโสณีนั้นเป็นตำแหน่งปุโรหิต พระราชาได้พระราชทานตำแหน่งปุโรหิตนั้นให้แก่เขาฉะนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า ชาณุสโสณี.

ใหม่!!: รัตนตรัยและภยเภรวสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: รัตนตรัยและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มานพ ยาระณะ

อครูมานพ ยาระณะ หรือ พ่อครูพัน (5 กันยายน พ.ศ. 2478 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการฟ้อน, ศิลปะการต่อสู้, การตีกลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองปู่จา, กลองปู่เจ่, ดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย โดยได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี..

ใหม่!!: รัตนตรัยและมานพ ยาระณะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา

รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา (seventeen-article constitution) เป็นงานที่เจ้าชายโชโตะกุ (Shōtoku) นิพนธ์ขึ้นเมื่อปี 604 ตามความในพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 720 ต่อมา พระนางซุอิโกะ (Suiko) ทรงตรานิพนธ์นั้นเป็นกฎหมายซึ่งภายหลังนิยมเรียกกันว่ารัฐธรรมนูญ และถือกันว่า เป็นหนึ่งในเอกสารซึ่งบังคับบัญชาเรื่องศีลธรรมฉบับเริ่มแรกที่สุดในประวัติศาสตร์ รัฐธรรมนูญมีเนื้อความหลักดังนี้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและรัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

รัตนสูตร

รัตนสูตร เป็นพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ และยังปรากฏในหมวดสุตตนิบาต เป็นพระคาถาจำนวน 17 บท แต่ปรากฏในพากย์ภาษาสันสกฤตจำนวน 19 บท ดังที่มีอยู่ในคัมภีร์มหาวัสตุอวทานของนิกายโลโกตตรวาท และนิกายมหาสังฆิกะ พระสูตรนี้พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย และป่าวประกาศความยิ่งใหญ่ และคุณลักษณะของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นอาทิ จุดประสงค์ของการประกาศพระสูตรนี้ก็เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลีให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลวงทั้งปวงที่กำลังรุมเร้าเมืองแห่งนี้ และเพื่อยังให้ชาวเมืองทั้งหลายได้มีดวงตาเห็นธรรม รัตนสูตร หรือรัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตร หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระรัตนตรัย โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในพระคาถาหลักของคัมภีร์จตุภาณะวารปาลี หรือตำรารวบรวมพระปริตรที่เป็นที่นิยมสวดสาธยายกันในศรีลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หรือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอธิบายพระปริตรนี้ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรกถาขุททกนิกาย เสาอโศกในเมืองเวสาลี.

ใหม่!!: รัตนตรัยและรัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

รัตนะ

รัตนะ แปลว่า แก้ว หมายถึงอัญมณีหรื่อแร่ธาตุที่มีค่า, คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ประเสริฐสุด มีค่าสูงสุด หาได้ยาก เช่น เพชร พลอย มุกดามณี รัตนะ ในคำวัดหมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยเรียกเต็มว่า พระไตรรัตน์ บ้าง พระรัตนตรัย บ้าง รัตนะ นิยมนำมาใช้ประกอบกับคำอื่นเพื่อแสดงว่าคนนั้นสิ่งนั้นมีความสำคัญและมีค่ามาก เช่น รัตนโกสินทร์ รัตนบรรลังก์ รัตนกวี นารีรัตน์ บุรุษรัตน์ หัตถีรัตน์ เป็นต้น.

ใหม่!!: รัตนตรัยและรัตนะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศกัมพูชา

ตารางเบื้องล่างต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับธงต่างๆ ที่ใช้อยู่ในกัมพูชาอย่างสังเขป.

ใหม่!!: รัตนตรัยและรายชื่อธงในประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: รัตนตรัยและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระพุทธ

วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ ตั้งอยู่ที่ บ้านใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ชื่อ พ่อท่านพระพุทธ พระพุทธไสยาสน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและวัดพระพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ใหม่!!: รัตนตรัยและวันมาฆบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ใหม่!!: รัตนตรัยและวันวิสาขบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: รัตนตรัยและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ

วัดโพธิ์เก้าต้น สร้างในสมัยอยุธยามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พระอาจารย์ธรรมโชติ พระผู้เรืองวิชาอาคมและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบางระจัน จนทำให้ชาวบางระจันสามารถยืนหยัดต่อสู้กับพม่าจนได้ชัยชนะนับครั้งไม่ถ้วน พ.ศ. 2308 พระอาจารย์ธรรมโชติ แห่งวัดโพธิ์เก้าต้น เดิมชื่อ วัดสระไม้แดง หมู่ที่ 8 ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี.

ใหม่!!: รัตนตรัยและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนสถาน

นสถาน (Place of worship) คือสถานทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัด และการละหมาดในมัสยิดอิสลาม เป็นต้น.

ใหม่!!: รัตนตรัยและศาสนสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: รัตนตรัยและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมสร้างคุณค่า

ัญลักษณ์แห่งสมาคมโซคา สมาคมสร้างคุณค่า (創価学会, Sōka Gakkai โซคา กักไก) เป็นองค์การศาสนาพุทธดำเนินการโดยฆราวาสที่จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ก่อตั้งขึ้นโดยแยกตัวออกมาจากนิกายนิชิเร็นโชชู ในปัจจุบันสมาคมโซคา กักไก นั้นไม่ได้ขึ้นตรงต่อวัดไทเซะคิและสังฆปริณายกนิชิเร็นโชชู กระทั่งปัจจุบันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอันใดกัน โดยสมาคมโซคาศรัทธาในคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินที่กล่าวว่า "คฤหัสถ์ก็สามารถเข้าถึงการรู้แจ้งและเปิดสภาพชีวิตพุทธะในตนเองได้" ซึ่งในปี..

ใหม่!!: รัตนตรัยและสมาคมสร้างคุณค่า · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: รัตนตรัยและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สรณะ

รณะ (อ่านว่า สะระณะ) แปลว่า ที่พึ่ง ที่ระลึก ที่ยึดเหนี่ยว ที่เหนี่ยวรั้งใจ สรณะ หมายถึงบุคคลหรือสิ่งใดใดสิ่งหนึ่งที่สามารถเป็นหลักสำหรับเหนี่ยวรั้งไว้มิให้เคว้งคว้าง เป็นที่พึ่งพิงอาศัย เป็นที่ให้ความอุ่นใจ แม้เพียงแค่ระลึกถึงก็ทำให้สบายใจ เกิดความอบอุ่นได้ สรณะ ในคำวัดหมายถึงพระรัตนตรัยซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า พระรัตนตรัยจัดเป็นสรณะได้ทั้งยามปกติและยามคับขัน โดยเฉพาะเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นอนุสติ เป็นแนวทางสำหรับยึดถือปฏิบัติตามเป็นอย่างดี เรียกการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและสรณะ · ดูเพิ่มเติม »

สวดคฤหัสถ์

วดคฤหัสถ์ สวดคฤหัสถ์ หรือ สวดกะหัด คือการสวดชนิดหนึ่ง เป็นการเล่นที่นิยมเล่นในงานศพ เป็นการเล่นเลียนแบบการสวดพระอภิธรรมของพระสงฆ์ และเล่นในตอนดึกหลังจากพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว การแสดงจะมีบทสวด "พื้น" อยู่ 4 อย่าง คือ พื้นพระอภิธรรม (สวดบทพระอภิธรรม) พื้นโพชฌงค์มอญหรือหับเผย พื้นพระมาลัย (สวดเรื่องพระมาลัย) และพื้นมหาชัย 1 แต่ที่นิยมใช้สวดกันอย่างแพร่หลาย คือพื้นพระอภิธรรม แต่เดิมเป็นการละเล่นของพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์แล้วออกลำนำเป็นภาษาต่างๆ มีปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ห้ามไม่ให้พระสงฆ์สวดออกลำนำแบบนี้ จากนั้นจึงแพร่หลายมาในหมู่ชาวบ้าน และเริ่มมีการแต่งตัวตามภาษาที่ใช้สวดภาษิต จิตรภาษ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและสวดคฤหัสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

สังโยชน์

ังโยชน์ (samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและสังโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

สุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี

นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนานีกุฏมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี (นิกาย)

ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).

ใหม่!!: รัตนตรัยและสุขาวดี (นิกาย) · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หรือ บ้านคุ้งตะเภา เดิมชื่อว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา" เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหมู่บ้านในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนที่เคยอยู่ในการปกครองของหัวเมืองพิชัยที่เก่าแก่ที่สุดหมู่บ้านหนึ่ง รองจากเมืองฝางสว่างคบุรีที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนเช่นเดียวกัน หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน ตัวหมู่บ้านอยู่ติดริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสองระดับ โดยพื้นที่ติดริมแม่น้ำน่านจะเป็นที่ระดับต่ำมีชั้นลดจากที่ราบปกติ เดิมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชั้นลดดินตะกอนแม่น้ำพัดดังกล่าว แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 โดยพื้นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านและที่ราบลุ่มตะกอนแม่น้ำพัดริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายกับหมู่บ้านชนบททั่วไปในแถบภาคกลางตอนบน โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีนายสมชาย สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคุ้งต.

ใหม่!!: รัตนตรัยและหมู่บ้านคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน (Basic Points Unifying the Theravāda and the Mahāyāna) เป็นคำแถลงว่าด้วยหลักความเชื่อที่มีร่วมกันอันสำคัญยิ่ง ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งของพุทธเถรสมาคมโลก (World Buddhist Sangha Council, อักษรย่อ WBSC).

ใหม่!!: รัตนตรัยและหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

อุบาสก อุบาสิกา

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและอุบาสก อุบาสิกา · ดูเพิ่มเติม »

อุปสมบท

อุปสมบท (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในศาสนาพุทธ ใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรม อุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมากโดยทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนาไม่ต้องระบุนามแต่ระบุเพียงโคตร (สกุล) ได้และสวดประกาศครั้งละ 2-3 รูปได้โดยมีอุปัชฌายะ และทรงอนุญาตให้นับอายุผู้บวชว่าครบ 20 ปี โดยคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยจะถือเป็นประเพณีเลยว่า ลูกชายของครอบครัวเป็นพุทธต้องบวชสักครั้งในชีวิตเพื่อให้แม่เกาะชายผ้าเหลือง ชดใช้ค่าน้ำนม อันเป็นสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนจากผู้นับถือพระรัตนตรัยขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรั.

ใหม่!!: รัตนตรัยและอุปสมบท · ดูเพิ่มเติม »

อนาคาริก ธรรมปาละ

อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2407 มรณภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2476) เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและอนาคาริก ธรรมปาละ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติทิเบต

งชาติทิเบต สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติเขตปกครองตนเองทิเบต เริ่มปรากฏการใช้เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยทะไลลามะองค์ที่ 13 แห่งทิเบต ทรงออกแบบขึ้น โดยรวมเอาธงประจำกองทัพของชาวทิเบตในทุกเขตแขวงมาสร้างขึ้นเป็นธงเดียว ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ธงนี้ได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพชาวทิเบตทั้งหมดมาจนถึง พ.ศ. 2493 เนื่องจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้บุกเข้ายึดครองทิเบต และสถาปานาดินแดนแห่งนี้เป็นเขตปกครองตนเองพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนThe flag was not completely banned from 1951 to 1959 as exceptional case exists, see Melvyn C. Goldstein, Dawei Sherap, and William R. Siebenschuh,, University of California Press, 2004, pp174-175 ในปัจจุบัน ธงนี้ยังคงใช้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ส่วนในสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งรวมถึงเขตปกครองตนเองทิเบตในปัจจุบัน ถือว่าเป็นธงนอกกฎหมาย เพราะเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาวทิเบต อย่างไรก็ตาม การแสดงธงชาติทิเบตในฮ่องกงนั้น รัฐบาลท้องถิ่นมองว่าเป็นการแสดงออกถึงเสรีภาพของชาวทิเบต เนื่องจากว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนั้นมีกฎหมายบางส่วนที่บทบัญญัติใช้ในเขตการปกครองของตนแยกจากกฎหมายหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและธงชาติทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ถีนมิทธะ

ีนมิทธะ (อ่านว่า ถี-นะ-มิด-ทะ; ถีนมิทฺธ) แปลว่า ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม (ถีนะ ความหดหู่ มิทธะ ความเคลิบเคลิ้ม) หมายถึง อาการที่จิตเกิดความห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง และเศร้าซึม ง่วงเหงา หาวนอน เป็นเหตุให้เกิดความหมดอาลัย ความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรม จัดเป็น นิวรณ์ คือเครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงสมาธิและปิดกั้นสมาธิมิให้เข้าถึงจิต ถีนมิทธะ เกิดจาก อรติ คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความเมาอาหาร คืออิ่มเกินไป แก้ได้ด้วยอนุสติ คือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นต้น ถีนมิทธะ เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 อันเป็นสิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ซึ่งมีห้าอย่าง คือ กามฉันทะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและถีนมิทธะ · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการ 969

วนการ 969 (969 Movement; ၉၆၉ သင်္ကေတ) เป็นขวนการชาตินิยมต่อต้านในสิ่งที่เห็นว่าเป็นการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามในสังคมพม่าที่นับถือศาสนาพุทธ เลข 969 เป็นสัญลักษณ์หมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า 9 ประการ เลข 6 แสดงคุณลักษณะ 6 ประการของพระธรรม และเลข 9 ตัวสุดท้าย แสดงถึงคุณลักษณะของพระสงฆ์ 9 ประการ ในอดีต พระรัตนตรัยและธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธ และกลายเป็นตัวเลข 969 ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่ง ขบวนการนี้มีปฏิกิริยาที่รุนแรงภายในพม่า สื่อในระดับนานาชาติ เช่น สเตรทไทม์กล่าวว่าพระวีระทูมีส่วนรับผิดชอบต่อความรุนแรงต่อต้านมุสลิม แม้จะปฏิญาณว่าจะทำงานเพื่อสันติภาพ แต่ยังมีผู้ติเตียนด้วยความสงสัย ขบวนการนี้ถูกกล่าวว่าเป็นขบวนการต่อต้านอิสลามหรือหวาดกลัวอิสลาม ผู้สนับสนุนขบวนการนี้เป็นชาวพุทธซึ่งปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อต้านอิสลาม ภิกษุวีระทูกล่าวว่าเป็นขบวนการปกป้องที่มีเป้าหมายที่ชาวเบงกาลีซึ่งก่อการร้ายต่อชาวพุทธยะไข่ อเล็กซ์ บุกบินเดอร์ได้กล่าวใน The Atlantic เชื่อมโยงจุดเริ่มต้นของขบวนการนี้กับหนังสือที่เขียนในราว..

ใหม่!!: รัตนตรัยและขบวนการ 969 · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของมองโกเลีย

ตราแผ่นดินของมองโกเลีย (Mongol ulsyn töriin süld) ใช้เป็นตราประทับที่หน้าปกหนังสือเดินทาง เอกสารทางราชการ และใช้ในวัตถุประสงค์อื่นของทางราชการ.

ใหม่!!: รัตนตรัยและตราแผ่นดินของมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ติสรณคมนูปสัมปทา

ระอุปัชฌาย์ให้ '''ติสรณคมนูปสัมปทา''' แก่ผู้บวชเป็นสามเณร ติสรณคมนูปสัมปทา, ไตรสรณคมนูปสัมปทา, ติสรณคมนอุปสัมปทา หรือ ไตรสรณคมนอุปสัมปทา แปลว่า การอุปสมบทด้วยการเข้าถึงไตรสรณะ หมายถึงการบวชเป็นภิกษุโดยการรับไตรสรณคมน์ หมายถึงการอุปสมบทเป็นภิกษุแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทเอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมา ทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรให้เป็นภิกษุได้โดยวิธีให้กุลบุตรนั้นรับไตรสรณคมน์เท่านั้น ซึ่งการบวชแบบนี้สำเร็จได้โดยบุคคล คือ พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชกุลบุตรได้ ต่อมาทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์ คือ ให้ทำเป็นสังฆกรรมที่เรียกว่าแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา จึงเลิกวิธีบวชพระแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีนี้บวชสามเณร ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและติสรณคมนูปสัมปทา · ดูเพิ่มเติม »

ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เหนือพระแท่นวัชรอาสนพุทธบัลลังก์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้นโพธิ์ที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าเคยประทับและตรัสรู้ ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ุต้นโพกลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ในพระพุทธประวัติสองต้นคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอานันทโพธิ์ยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้น อาจหมายถึงต้นที่อยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่สืบมาจากหน่อโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่เป็นอุเทสิกเจดีย์อื่น ๆ ก็ได้ เช่น ต้นโพตามวัดต่าง ๆ ในปัจจุบันต้นพระศรีโพธิ์สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันมี 3 ต้นด้วยกัน คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา, ต้นพระชัยศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธปุระ, และต้นอานันทโพธิ์วัดพระเชตวันมหาวิหาร แต่ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระ ที่นำหน่อพันธ์มาจากพุทธคยา ได้รับการเคารพนับถือและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงมาตลอดตั้งแต่สองพันปีโดยไม่ขาดช่วง มีการทำกำแพงทองคำและมีชาวพุทธผู้ศรัทธามาทำการสักการะตลอดเวลา ซึ่งต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ถูกทำลายและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดช่วงการดูแลจากชาวพุทธหลังจากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย แม้ในประเทศไทย จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นต้น แม้การทำลายต้นโพธิ์ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะระบุว่าเป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย แต่ในมหาสมณวินิจฉัย ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าเฉพาะต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น ต้นโพที่งอกทั่วไปและไม่ได้เป็นอุเทสิกาเจดีย์ คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า (เช่นเดียวกับพระพุทธรูป).

ใหม่!!: รัตนตรัยและต้นพระศรีมหาโพธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาพุทธ

นาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: รัตนตรัยและประวัติศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ปางโปรดอสุรินทราหู

มเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน.

ใหม่!!: รัตนตรัยและปางโปรดอสุรินทราหู · ดูเพิ่มเติม »

นิคหกรรม

นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุผู้ทำเสียหาย เช่นก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้ฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพเป็นต้น นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะ เป็นคำคู่กับปัคหะคือการยกย่อง ทั้งสองอย่างนี้เป็นเครื่องมือในการปกครอง มีความสำคัญเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์ เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์ทำนิคหกรรมแก่ผู้นั้นตามพระธรรมวินัย นิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ และต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยเท่านั้น.

ใหม่!!: รัตนตรัยและนิคหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว (แก้ความกำกวม)

แก้ว อาจหมายถึง:; วัต.

ใหม่!!: รัตนตรัยและแก้ว (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แก้วสามประการ

แก้วสามประการ (triratna; 三寶) คือสิ่งประเสริฐสุดตามความเชื่อในศาสนาต่าง ๆ มีดังนี้.

ใหม่!!: รัตนตรัยและแก้วสามประการ · ดูเพิ่มเติม »

3

3 (สาม) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 2 (สอง) และอยู่ก่อนหน้า 4 (สี่).

ใหม่!!: รัตนตรัยและ3 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระรัตนตรัยพระศรีรัตนตรัยไตรรัตน์ไตรสรณคมน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »