โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระรัตนสัมภวพุทธะ

ดัชนี พระรัตนสัมภวพุทธะ

ระรัตนสัมภวะพุทธะ (रत्नसंभव) เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึงพระผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งสิ่งมีค่าทั้งมวล ประทับอยู่ทางทิศใต้ของพุทธมณฑล พระกายสีเหลืองทอง เป็นต้นตระกูลพระโพธิสัตว์ตระกูลรัตนะ ซึ่งเปรียบได้กับปัญญาอันประเสริฐ เป็นสัญญลักษณ์ของพระรัตนตรัย สัญญลักษณ์ประจำพระองค์คือ จินดามณี หมายถึงการเข้าถึงความรู้แจ้ง มโนวิญญาณธาตุและจิตตรัสรู้ ทรงม้าเป็นพาหน.

9 ความสัมพันธ์: พระรัตนปาณีโพธิสัตว์พระธยานิพุทธะพระเจ้าห้าพระองค์กุณฑลิมหากาฬวิทยาราชศาสนาพุทธแบบทิเบตธรรมกายดิอะเมซิ่งเรซ 19

พระรัตนปาณีโพธิสัตว์

ระรัตนปาณีโพธิสัตว์ (रत्नपाणि, 寶手菩薩) หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือดวงแก้ว อยู่ในรัตนโคตรของพระรัตนสัมภวะพุทธะ ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าใดนัก รูปแบบของท่านที่เห็นทั่วไปคือนั่งขัดสมาธิบนดอกบัว มือซ้ายทำสมาธิ มือขวาถือจินดามณี หรือมิฉะนั้นก็มีจินดามณีวางบนหน้าตัก ในบรรดามหาโพธิสัตว์ 7 พระองค์ที่ระบุในอมิตายุรธยานสูตรไม่ได้กล่าวถึงพระรัตนปาณีไว้ จึงทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับท่านมีจำกัดและได้รับการนับถือน้อยกว่าพระโพธิสัตว์องค์อื่น.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและพระรัตนปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและพระธยานิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าห้าพระองค์

ระเจ้าห้าพระองค์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและพระเจ้าห้าพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

กุณฑลิ

กุณฑลิวิทยาราช หรือ อมฤตกุณฑลิน ภาษาจีนเรียกว่า จวินถูลี่ หมิงหวาง (軍荼利明王) ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าว กุนดะริ เมียวโอ (軍荼利明王) เป็นหนึ่งในห้าวิทยาราช ตามคติพุทธศาสนามหายาน เป็นผู้ถือน้ำอมฤต อันเป็นน้ำทิพย์แห่งความเป็นอมตะ กุณฑลิถือเป็นนิรมาณกายของพระรัตนสัมภวพุทธะ ในมณฑลของวัชรยาน กุณฑลิจะประทับอยู่ทางทิศใต้ รูปลักษณ์มีหลากหลาย ทั้งแบบ 2 พักตร์และ 4 กร แบบ 4 พักตร์ และ 8 กร เป็นต้น เรือนกายเป็นสีน้ำเงิน เนตรเป็นสีแดง มือทั้ง 2 ข้างถืออสรพิษ มือข้างหนึ่งถือหอก ข้างหนึ่งถือไม้เท้า และจักร เป็นต้น พักตรทั้ง 4 เป็นอุปมาหมายถึงการทำลายกิเลสทั้ง 4 ประการ คือ อาตมมานะ (เย่อหยิ่ง) อาตมทฤษฏิ (ความเห็นผิด) อาตมโมหะ (ความหลงผิด) และอาตมสเนหะ (การหลงรักตัวเอง) มนต์ประจำองค์ของกุณฑลิคือ "โอม อมฤเต หูมฺ ผฏฺ".

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและกุณฑลิ · ดูเพิ่มเติม »

มหากาฬ

มหากาฬ มหากาฬ เป็นยิดัมและธรรมบาลตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต สังกัดรัตนโคตรของพระรัตนสัมภวะพุทธะ มีลักษณะคล้ายเหรุกะ ภาคดุร้ายมี 16 แขน มือถือหัวกะโหลกและกริช มีเปลวไฟพวยพุ่งรอบกาย สวมมงกุฏกระโหลก มีมาลัยร้อยด้วยศีรษะมนุษย์ มีงูพันรอบกาย บางท้องที่เชื่อว่าท่านเป็นเจ้าแห่งนาค ปกครองนาคที่ดูแลทรัพย์สมบัติเบื้องล่าง จึงถือเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งองค์หนึ่ง ในจีนและญี่ปุ่นถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชค บางแห่งถือว่าท่านเป็นเทพแห่งการพักแรม ในอินเดียถือว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวกับท้าวกุเวร.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและมหากาฬ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาราช

วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล วิทยาราช (विद्याराज; หมิงหวัง) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ" สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (หมิงเฟย์) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและวิทยาราช · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมกาย

รรมกาย (धर्म काय ธรฺมกาย, จีน: 法身, พินอิน: fǎshēn) คือพระนามหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความหมายของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และคือพระกายหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏอยู่ในทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและธรรมกาย · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 19

อะเมซิ่ง เรซ 19 (The Amazing Race 19) เป็นฤดูกาลที่ 19 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอ.

ใหม่!!: พระรัตนสัมภวพุทธะและดิอะเมซิ่งเรซ 19 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระรัตนสัมภวะพุทธะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »