โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มังกรจีน

ดัชนี มังกรจีน

วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.

30 ความสัมพันธ์: พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรกวนอูการเชิดมังกรกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34มกรมังกรมังกรยุโรปมังกรทิเบตม้านิลมังกรรันชูวงศ์ปลาอินซีเน็ตศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะสัตว์ประหลาดสนามกีฬาแห่งชาติเกาสฺยงหงส์หงส์แดงหงส์ไฟผานกู่ถนนเยาวราชถ้ำมังกรขาวขนมหนวดมังกรงูปลามังกรปลาอะโรวาน่าเอเชียปลาอินซีเน็ตปลาอินซีเน็ตหางแดงปลาตะพัดปีนักษัตรปี่เซียะเกาลูน

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

ัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร หรือ อุทยานมังกรสวรรค์ สร้างขึ้นตามความต้องการของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เริ่มออกแบบและจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรขึ้นภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน เพื่อเป็นอนุสรณ์สัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบ 20 ปีใน..

ใหม่!!: มังกรจีนและพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: มังกรจีนและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

การเชิดมังกร

การเชิดมังกร (หวู่หลง) เป็นรูปแบบการเต้นรำที่สืบทอดมาและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัฒนธรรมจีน เหมือนกับการเชิดสิงโต มักจะพบเห็นในการฉลองเทศกาลต่าง.

ใหม่!!: มังกรจีนและการเชิดมังกร · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34

การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 หรือ “ราชบุรีเกมส์” เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระดับประเทศของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้จัดที่จังหวัดราชบุรี ระหว่างวันที่ 18 – 28 ธันวาคม..

ใหม่!!: มังกรจีนและกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 · ดูเพิ่มเติม »

มกร

ระแม่คงคาทรงมกรเป็นพาหนะ มกร (/มะ-กอน/ หรือ /มะ-กะ-ระ/) หรือ เบญจลักษณ์ เป็นสัตว์ตามความเชื่อของพม่า ล้านนา สยาม และเขมร เรียกอีกอย่างว่า ตัวสำรอก เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใด ๆ ออกมาทุกครั้ง เช่น มกรคายนาค (พญานาค) ในเทววิทยาฮินดู มกร (मकर) จัดเป็นสัตว์ประหลาดในทะเลชนิดหนึ่ง ปกติมักแสดงอยู่ในรูปของสัตว์ผสม ครึ่งหน้าอาจเป็นสัตว์บกอย่างรูปช้าง, จระเข้ หรือกวาง ครึ่งหลังเป็นรูปสัตว์น้ำ (มักเป็นส่วนหาง) เช่น หางเป็นปลา หรือท่อนหลังเป็นแมวน้ำ บางครั้งอาจปรากฏส่วนหางเป็นรูปนกยูงก็มี มกรจัดเป็นเทพพาหนะสำหรับพระแม่คงคา เทพเจ้าแห่งแม่น้ำคงคา และพระวรุณ เทพแห่งทะเลและสายฝน ทางความเชื่อของล้านนาจะใช้มกรในพิธีขอฝน นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏในธงของพระกามเทพอันมีชื่อว่า "การกะธวัช" อีกด้วย อนึ่ง มกรถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของราศีมกร ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ราศีทางโหราศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันเรียกเป็นมังกรด้วย ตามทางเข้าเทวสถานในศาสนาฮินดูและศาสนาสถานในพุทธศาสนามักทำรูปมกรไว้เป็นอารักษ์ประจำปากทางนั้น ๆ ในภาษาไทย มีการแผลงคำ "มกร" เป็น "มังกร" เพื่อใช้เรียกสัตว์สมมติอันตรงกับคำว่า "Dragon" ในภาษาอังกฤษ หรือ "หลง" (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: และแต้จิ๋ว: เล้ง) ในภาษาจีนกลาง.

ใหม่!!: มังกรจีนและมกร · ดูเพิ่มเติม »

มังกร

มังกร มังกร (dragon; จากdraco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร (dragon) เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้ ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตร.

ใหม่!!: มังกรจีนและมังกร · ดูเพิ่มเติม »

มังกรยุโรป

วาดมังกรยุโรปสู้กับอัศวิน คิงกิโดรา มังกรยุโรป (European dragon) เป็นมังกรในความเชื่อของยุโรปสมัยกลาง แต่มีความแตกต่างจากมังกรจีนหรือมังกรทิเบตมาก ซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพเจ้ามีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลให้เกิดฝน เกิดความอุดมสมบูรณ์ได้ แต่มังกรของยุโรปเป็นสัตว์ที่เสมือนตัวแทนของความชั่วร้ายหรือปีศาจ เป็นสัตว์ที่มุ่งร้ายต่อมนุษย์ โดยมากมีลักษณะเป็นสัตว์สี่ขา มีปีกกว้างใหญ่คล้ายค้างคาว หางยาวปลายหางเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวหอก สามารถพ่นไฟได้ มังกรในตำนานพื้นบ้านของยุโรป มักเป็นสัตว์ที่เฝ้าสมบัติและหวงทรัพย์สินเหล่านั้น โดยมากมักจับเอาเจ้าหญิงแสนสวยไปขังไว้บนยอดปราสาท และเป็นอัศวินซึ่งเสมือนวีรบุรุษเข้ามาช่วยเจ้าหญิงและฆ่ามังการนั้นตาย ตำนานมังกรของยุโรป ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ซิคฟรีด (Siegfried) ในตำนานแร็กนาร็อกของยุโรปเหนือ ที่สังหารมังกรแล้วเลือดมังการอาบตัวทำให้เกิดความอมตะ ไม่มีวันตาย เป็นต้น กระนั้นมังกรของยุโรป ก็มักใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของตระกูลขุนนาง อัศวิน หรือประดับบนธงของบางประเทศ เวลส์ เป็นต้น เพราะถือเป็นการแสดงถึงพลังอำน.

ใหม่!!: มังกรจีนและมังกรยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

มังกรทิเบต

มังกรทิเบต นั้นเป็นมังกรที่อาศัยในทวีปเอเชียอยู่ในประเทศทิเบตในอารามแห่งหนึ่งบนเทือกเขาหิมาลัย มังกรทิเบตมักมีหลายๆคนคิดว่ามีแต่มังกรหลง(มังกรจีน)เฉพาะในทวีปเอเชียเท่านั้น มังกรทิเบตมีลักษณะคล้ายๆกับมังกรหลงแต่มันเป็นมังกรที่มีรูปร่างผอมกว่ามังกรหลงลำตัวมีเกร็ดสีแดงมีเขาและหนวดการโจมตีของมันคือ กัดและรัด อาหารที่มันกินคือตัวเยติหรือลิงภูเขาขนาดใหญ่และบางครั้งยังกินตัวจามารี หมวดหมู่:มังกร.

ใหม่!!: มังกรจีนและมังกรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ม้านิลมังกร

ร'' (พ.ศ. 2549) ม้านิลมังกร หรือ ม้ามังกร สัตว์ประหลาดในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ตามจินตนาการของสุนทรภู่ เป็นพาหนะของสุดสาคร โดยสุนทรภู่ได้รจนาถึงลักษณะของม้านิลมังกรไว้ว่า พระนักสิทธิ์พิศดูเป็นครู่พักหัวร่อคักรูปร่างมันช่างขัน เมื่อตัวเดียวเจียวกลายเป็นหลายพันธุ์กำลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร กินคนผู้ปูปลาหญ้าใบไม้มันทำได้หลายเล่ห์อ้ายเดรฉาน เขี้ยวเป็นเพชรเกล็ดเป็นนิลลิ้นเป็นปานถึงเอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน เจ้าได้ม้าพาหนะตัวนี้ไว้จะพ้นภัยภิญโญสโมสร ให้ชื่อว่าม้านิลมังกรจงถาวรพูนสวัสดิ์แก่นัดดา โดยที่สุนทรภู่มิได้ให้ที่มาที่ไปของม้านิลมังกร ว่าเป็นสัตว์อะไร มาจากไหน ปรากฏตัวครั้งแรกที่ชายหาด เกาะแก้วพิสดาร โดยสุดสาครไปพบเข้า เป็นสัตว์ดุร้าย มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ สุดสาครเป็นผู้ปราบได้จากไม้เท้าวิเศษของโยคี ในที่สุด ม้านิลมังกร ก็กลายเป็นพาหนะของสุดสาคร และเป็นสัตว์เลี้ยงที่ซื่อสัตย์ต่อนาย จากการมาช่วยสุดสาครที่ตกหน้าผาจากการทำร้ายของชีเปลือย ลักษณะของม้านิลมังกร ตัวเป็นม้าหัวเป็นมังกร หางเหมือนนาค ลำตัวเป็นเกล็ดสีดำแวววาว เหมือนดั่งชื่อ กินอาหารได้หลายอย่างดั่งคำกลอน จึงเชื่อว่าสุนทรภู่จินตนาการมาจากกิเลน(Kirin)ของจีน หรือวรรณคดีของจีนเรื่องต่าง ๆ เช่น ไซฮั่น เพราะไม่ปรากฏสัตว์ลักษณะเช่นนี้ในความเชื่อหรือวรรณคดีเรื่องใดของไทยมาก่อน อีกทั้งตัวละครและสถานที่ต่าง ๆ ในเรื่อง ก็มีที่มาจากหลายภาคส่วนของแต่ละประเทศอีกด้วย ปัจจุบัน ม้านิลมังกรใช้เป็นทั้งสัญลักษณ์และฉายาของสโมสรระยองเอฟซี สโมสรฟุตบอลในระดับไทยลีกดิวิชั่น 1.

ใหม่!!: มังกรจีนและม้านิลมังกร · ดูเพิ่มเติม »

รันชู

รันชู รันชู หรือ รันจู (ランチュウ; Ranchu) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม รันชู ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมา ในราวปี ค.ศ. 1700 ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากการเกิดขึ้นมาของปลาทองสายพันธุ์สิงห์จีน โดยชาวญี่ปุ่นได้นำปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมาพัฒนาจนได้เป็นปลาทองสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่มีอยู่ และเรียกชื่อปลาทองสายพันธุ์นี้ว่า "รันชู" หรือ "รันจู" ปลาทองรันชูเป็นปลาทองที่มีลักษณะคล้ายกับปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมาก โดยเป็นปลาทองที่มีลำตัวอ้วนหนา บึกบึน ไม่มีครีบหลัง ลักษณะของปลาทองรันชูที่สวย ได้มาตรฐาน คือ ต้องมีช่วงหลังโค้งลาดลงได้สัดส่วน ไม่นูนไปข้างหน้าหรือข้างหลังจนเกินไป ความโค้งของหลังไม่ตื้นหรือลึกเกินไป ไม่จำเป็นต้องมีหลังที่โค้งเรียบ ส่วนท้องด้านข้างควรโป่งพอง แนวลำตัวเริ่มจากจะงอยปากจนถึงปลายหางต้องอยู่ในแนวเส้นตรงไม่บิดเบี้ยวหรือโค้งงอ เกล็ดควรมีความสม่ำเสมอเรียงตัวกันเป็นระเบียบจากต้นคอจนถึงโคนหาง และเป็นเงางามแลดูสดใสแวววาว โคนหางใหญ่ บึกบึน แลดูมีพละกำลัง ส่วนหลังดูเมื่อมองจากด้านบนจะแลดูคล้ายเหรียญโคบัน (小判) ครีบหางต้องแผ่กว้าง สมดุลกันทั้งด้านซ้ายและขวา ไม่บิดโค้งงอ มีขนาดที่เหมาะสมกับลำตัว ลักษณะของครีบหางมีสองแบบ คือ หางสามแฉก และสี่แฉก มุมยกของหางควรทำมุมไม่เกิน 45 องศา กับแผ่นหลัง ไหล่หางงุ้มมาข้างหน้าเล็กน้อย ส่วนปลายของหางไม่ควรยกสูงกว่าแนวของสันหลัง สีของปลาทองรันชู มีสีขาว, แสด, แดง หรือแม้กระทั่งดำ เป็นสีเดียวตลอดทั้งตัว หรือจะเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นสีในโทนเข้มหรืออ่อน ควรมีความเงางามของเกล็ดและเรียงเป็นระเบียบสวยงาม มีรูปทรงลำตัวที่ดี ขณะว่ายน้ำไม่เชิดหัวขึ้นหรือก้มหัวจนต่ำเกินไป มีพละกำลังในการว่ายน้ำ พริ้วสวยไม่อืดอาด มีการสะบัดสะโพกที่สวยงาม ครีบทวารหรือครีบก้น ต้องมี จะมีเดี่ยวหรือมีคู่ก็ได้ หากมีควรมีคู่กัน ส่วนครีบอื่น ๆ ไม่มีครีบหลัง มีครีบอก และครีบท้องอย่างละหนึ่งคู่ มีขนาดเท่ากัน ส่วนหัว มีช่องของดวงตาห่างและมีระยะห่างช่วงริมฝีปากจนถึงนัยน์ตาควรจะยาว กลุ้มวุ้นบนหัวทั้งสามส่วนไม่กำหนดลักษณะที่แน่นอน เพียงแต่ให้แลดูแล้วสมดุลกลมกลืนเหมาะสมกับช่วงลำตัว ส่วนของหัววุ้นบนหัว ต้องปิดทั้งแผ่นปิดเหงือก, ข้างแก้มไปจนถึงริมฝีปาก และบนส่วนหัว แต่ต้องไม่มีขนาดเหมือน ชิชิ คาชิร.

ใหม่!!: มังกรจีนและรันชู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินซีเน็ต

วงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodus, Flannel-mouth characin) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Prochilodontidae (/โพร-ชิ-โล-ดอน-ทิ-ดี/) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้าง ผอมเพรียว เกล็ดมีสีเงินแวววาว มีลายแถบสีคล้ำ ดวงตากลมโต ปากมีขนาดเล็ก ริมฝีปากหนา โดยเฉพาะปากบน และสามารถขยับไปมาได้ตลอด ฟันมี 2 แถวและมีขนาดเล็ก ครีบหางและครีบหลังในบางสกุลมีลายแถบสีดำ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำและแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำอเมซอนและสาขา เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่ขยับไปมาได้ตลอดเวลานั้นตอดหาอาหารกินตามพื้นท้องน้ำ และวัสดุใต้น้ำต่าง ๆ ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ครั้งละ 100,000 ฟอง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 80 เซนติเมตร นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะในสกุล Semaprochilodus หรือที่รู้จักกันดีในแวดวงปลาสวยงามว่า "อินซีเน็ต" โดยนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาที่ใช้ทำความสะอาดตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่ใช้ปากตอดเศษอาหารและตะไคร่น้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ปลาชนิดนี้ควรเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกร เพราะมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) เมื่อเลี้ยงคู่กันแล้วจะเปรียบเสมือนหงส์คู่มังกร มีทั้งหมด 21 ชนิด 3 สกุล.

ใหม่!!: มังกรจีนและวงศ์ปลาอินซีเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

้านหน้าศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ (อักษรจีน: 廟尾龍; Leng Buai Ia Shrine) เป็นศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เลขที่ 125 ภายในซอยเจริญกรุง 16 หรือตรอกอิสรานุภาพ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับซอยเยาวราช 6 ในฝั่งถนนเยาวราชได้ เป็นศาลเจ้าที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีคำจารึกเป็นภาษาจีนในศาลเจ้าว่าสร้างมาตั้งแต..

ใหม่!!: มังกรจีนและศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

ใหม่!!: มังกรจีนและสัตว์ประหลาด · ดูเพิ่มเติม »

สนามกีฬาแห่งชาติเกาสฺยง

นามกีฬาแห่งชาติเกาสฺยง (พินอิน: Gāoxióng guójiā tǐyùchǎng; Kaohsiung National Stadium; ชื่ออย่างเป็นทางการ: สนามกีฬาเวิล์ดเกมส์ (World Games Stadium)) สนามกีฬาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตจวออิง เมืองเกาสฺยง ประเทศไต้หวัน จัดเป็นสนามกีฬาแห่งชาติของไต้หวัน เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไต้หวัน และถือเป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่สวยที่สุดในโลก สนามกีฬาแห่งชาติเกาสฺยง เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ ใช้สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาหลายชนิด เปิดใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: มังกรจีนและสนามกีฬาแห่งชาติเกาสฺยง · ดูเพิ่มเติม »

หงส์

หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: มังกรจีนและหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

หงส์แดง

ลักนูนต่ำรูปหงส์แดงที่หน้าประตูยุคราชวงศ์ฮั่น หงส์แดง หรือ หงส์ไฟ (Vermilion Bird) เป็นสัตว์วิเศษตามความเชื่อของจีน มีลักษณะเด่นของนก 5 ชนิดรวมกัน มีขนเป็นเปลวไฟ ชาวจีนยกย่องให้เป็นสัตว์มงคลตัวแทนของเพศหญิง (ธาตุหยิน) คู่กับมังกรตัวแทนของผู้ชาย (ธาตุหยาง) บางตำนานบอกว่าเป็นสัตว์วิเศษชนิดเดียวที่สามารถต่อกรกับมังกรได้ แม้ว่าหงส์จะเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง แต่หงส์ก็มีทั้งตัวผู้และตัวเมีย อาศัยอยู่ที่เทือกเขาแดงทางแดนใต้ที่สวยงาม ไม่เคยแตะต้องสิ่งมีชีวิตแต่ดำรงชีพด้วยการกินเมล็ดไผ่เท่านั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งนกทั้งปวง กล่าวกันว่าเมื่อหงส์ไฟบินผ่านที่ใดเหล่าวิหคทั้งหลายจะแสดงการคารวะให้ หงส์แดงเป็นตัวแทนของความโชคดีและความสง่างาม เป็นหนึ่งใน 4 เทพศักดิ์สิทธิ์ผู้พิทักษ์ ประจำทิศใต้ เป็นตัวแทนของฤดูร้อน (ธาตุไฟ) ใครก็ตามที่ได้ดื่มเลือดของหงส์แดงจะมีชีวิตเป็นอมตะ และน้ำตาของหงส์แดงมีสรรพคุณในการรักษาบาดแผลและแก้พิษทุกชนิดด้วย ซึ่งคล้ายกับนกฟีนิกซ์ตามความเชื่อของชาวตะวันตก.

ใหม่!!: มังกรจีนและหงส์แดง · ดูเพิ่มเติม »

หงส์ไฟ

ลักนูนต่ำของหงส์แดงหน้าประตูยุคราชวงศ์ฮั่น หงส์แดง หรือ หงส์ไฟ (อังกฤษ: Vermilion Bird) เป็นสัตว์วิเศษตามความเชื่อของจีน เป็นหนึ่งในอสูรปกครองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 แห่งทิศใต้ มีลักษณะเด่นของนก 5 ชนิดรวมกัน มีขนเป็นเปลวไฟ ชาวจีนยกย่องให้เป็นสัตว์มงคลตัวแทนของเพศหญิง (ธาตุหยิน) คู่กับมังกรตัวแทนของผู้ชาย (ธาตุหยาง) บางตำนานบอกว่าเป็นสัตว์วิเศษชนิดเดียวที่สามารถต่อกรกับมังกรได้ แม้ว่าหงส์จะเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง แต่หงส์ก็มีทั้งตัวผู้และตัวเมีย อาศัยอยู่ที่เทือกเขาแดงทางแดนใต้ที่สวยงาม ไม่เคยแตะต้องสิ่งมีชีวิตแต่ดำรงชีพด้วยการกินเมล็ดไผ่เท่านั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งนกทั้งปวง กล่าวกันว่าเมื่อหงส์แดงบินผ่านที่ใดเหล่าวิหคทั้งหลายจะแสดงการคารวะให้ หงส์แดงเป็นตัวแทนของความโชคดีและความสง่างาม เป็นตัวแทนของฤดูร้อน (ธาตุไฟ) ใครก็ตามที่ได้ดื่มเลือดของหงส์แดงจะมีชีวิตเป็นอมตะ และน้ำตาของหงส์แดงมีสรรพคุณในการรักษาบาดแผลและแก้พิษทุกชนิดด้วย ซึ่งคล้ายกับนกฟีนิกซ์ตามความเชื่อของชาวตะวันตก.

ใหม่!!: มังกรจีนและหงส์ไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ผานกู่

วาดผานกู่ ผานกู่ (Pangu;; หมายถึง "แผ่นโลกโบราณ") คือสิ่งมีชีวิตชนิดแรกสุดของโลก เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ตามความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน ลองพิจารณาดู ทฤษฎีสัมพันธภาพ บางส่วนช่างสอดคล้อง กำเนิดจักรวาลของจีนเมื่อหลายพันปีก่อน โลกเป็นเปลือกไข่ (โลกกลม) ในเปลือกไข่มีเทพเจ้าผานกู่ โลกกับฟ้าขยายด้วออกไปจากโลกอย่างช้าๆ (ฟ้า คือบรรยากาศโลก) ต่อมาเทพเจ้าผานกู่ ดึงฟ้าไม่ให้เคลื่อนจากโลก เป็นเวลา 1.8 หมื่นปี (แรงดึงดูดของโลก/แรงดึงดูดของเทพเจ้าผานกู่) เมื่อเทพเจ้าผานกู่ตายไป ส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำ ไขสันหลัง กลายเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ พืช ฯลฯ (ทางช้างเผือก) นั่นคือโลก และจักรวาล มีจุดกำเนิด เป็นทรงกลมคล้ายเปลือกไข่ (ตามกฎแห่งอี้จิ้ง สรรพสิ่งย่อมมีคู่ต่าง) ฟ้าเคลื่อนออก-เทพเจ้าผานกู่ดึงเข้า แข็ง(ดินสู่พื้น/น้ำลงต่ำกว่าพื้น)-อ่อน(บรรยากาศก้อนเมฆลอยสู่ฟ้า) ส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำ ไขสันหลัง กลายเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ พืช ฯลฯ (ทางช้างเผือก) โลกกับฟ้าขยายด้วออกไปจากโลกอย่างช้าๆ นั่นคือ ฟ้าและส่วนต่างๆของร่างกายของเทพเจ้าผานกู่ กำลังขยายตัว เป็นไปตามทฤษฎีสัมพันธภาพๆ อาจจะได้แรงบันดาลใจจากการมาเยือนจีน,ญี่ปุ่นของไอน์สไตน์ นี่คือข้อสันนิษฐาน ซึ่งอาจจริงหรือไม่จริงก็ได้.

ใหม่!!: มังกรจีนและผานกู่ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: มังกรจีนและถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ถ้ำมังกรขาว

้ำมังกรขาว หรือ สำนักหลวงปู่มังกรขาว (White Dragon King temple, Bailong King temple, 白龙王) เป็นศาลเจ้าจีน ตั้งอยู่ในเขตตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สร้างขึ้นตั้งแต..

ใหม่!!: มังกรจีนและถ้ำมังกรขาว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมหนวดมังกร

นมหนวดมังกร หรือ ขนมไหมฟ้า หรือ ขนมสายไหมจีน (Dragon's beard candy, Chinese cotton candy, Cocoon candy; อักษรจีนตัวเต็ม: 龍鬚糖, 龙须糖; พินอิน: Lóng xū táng; อักษรจีนตัวย่อ: 銀絲糖, 銀絲糖; พินอิน: Yín sī táng) เป็นขนมแบบดั้งเดิมของชาวจีน พบได้ตามแถบชุมชนจีน และได้แพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออก เช่น มาเก๊า, สิงคโปร์, แคนาดา, สหรัฐอเมริกา, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น ในเกาหลีถือเป็นขนมหวานที่มีค่ายิ่งในราชสำนัก ขนมหนวดมังกร มีที่มาตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว กล่าวกันว่า พ่อครัวคนหนึ่งซึ่งเพลินเพลินในการทำขนมแบบใหม่กับพระจักรพรรดิ์ ด้วยการยืดส่วนผสมแบบแป้งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ซึ่งแลดูคล้ายกับหนวดหรือเคราที่สามารถติดอยู่กับใบหน้าผู้คน การที่ได้ชื่อว่า "หนวดมังกร" อาจเป็นเพราะมังกรเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิ์ ในสมัยโบราณ ขนมหนวดมังกรถือเป็นของที่ทำเพื่อถวายแด่พระจักรพรรดิ์และชนชั้นสูงในราชสำนักเท่านั้น ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ขนมหนวดมังกรถูกห้ามจากยุวชนแดง ตามคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ห้ามประชาชนประกอบกิจกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ฮั่น การทำขนมหนวดมังกรถือเป็นศิลปะละเอียดอ่อนอย่างหนึ่ง จึงทำให้หาผู้สืบทอดได้ยาก อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เทศกาลตามถนนสายต่าง ๆ และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ไกลถึงจุดหมายปลายทางของผู้เชี่ยวชาญ เส้นขนมหนวดมังกร คล้ายกับสายไหม โดยทำจากน้ำผึ้งกวนกับแป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวโพด, แป้งข้าวเหนียว และข้าวโอ๊ต จากนั้นจึงนำมาดึงเหมือนเส้นบะหมี่ จนยืดยาวเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนหลายร้อยเส้น และนำมาคลุกกับไส้ซึ่งเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์, ถั่วลิสง และงาขาว จากนั้นจึงปั้นเป็นก้อนกลม ลักษณะคล้ายดักแด้.

ใหม่!!: มังกรจีนและขนมหนวดมังกร · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: มังกรจีนและงู · ดูเพิ่มเติม »

ปลามังกร

ปลามังกร (Dragonfish) เป็นชื่อสามัญอาจหมายถึงปลาในหลากหลายประเภท เช่น.

ใหม่!!: มังกรจีนและปลามังกร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย หรือ ปลาตะพัดเอเชีย (Asian arowana) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Scleropages (/สะ-เคอ-โอ-พา-กิส/) ในวงศ์ Osteoglossidae ถือเป็นปลาโบราณที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีลักษณะรูปร่างไม่ต่างจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการแยกออกจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนต้น.

ใหม่!!: มังกรจีนและปลาอะโรวาน่าเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินซีเน็ต

ปลาอินซีเน็ต หรือ ปลาอินซิกนิส (Flagtail characins, Flannel-mouth characins.; Jaraqui.) เป็นปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Semaprochilodus (/ซี-มา-โพร-ชิ-โล-ดัส/) ในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก ดวงตากลมโต ริมฝีปากหนาและใหญ่ และปากขยับไปมาตลอดเวลา เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีเงินแวววาว เมื่อยังเล็กจะมีลายแถบและจุดสีดำกระจายอยู่บริเวณลำตัวค่อนไปทางโคนหาง โคนหางคอดเล็ก ครีบหลังมีขนาดใหญ่และตั้งชี้ขึ้น ครีบหางเป็น 2 แฉก เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยจะนิยมเลี้ยงไว้เพื่อทำความสะอาดภายในตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารกินทำให้ตู้เลี้ยงสะอาดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า เมื่อเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกรด้วยแล้ว จะถือเป็นมงคล เหมือนหงส์คู่มังกร เพราะปลาสกุลนี้มีชื่อสามัญเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) แปลว่า "ปลาหงส์".

ใหม่!!: มังกรจีนและปลาอินซีเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินซีเน็ตหางแดง

ปลาอินซีเน็ตหางแดง หรือ ปลาหงส์หางแดง (Flagtail prochilodus, Silver prochilodus, Flagtail characin; Jaraqui (ในบราซิล)) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก ดวงตากลมโต ริมฝีปากหนาและใหญ่ และปากขยับไปมาตลอดเวลา เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีเงินแวววาว เมื่อยังเล็กจะมีลายแถบและจุดสีดำกระจายอยู่บริเวณลำตัวค่อนไปทางโคนหาง มีเกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวประมาณ 48 เกล็ด โคนหางคอดเล็ก ครีบท้องมีสีแดงสด ครีบหลังมีขนาดใหญ่และตั้งชี้ขึ้น ซึ่งครีบเหล่านี้เมื่อปลาโตขึ้นจะยิ่งชี้แหลมและสีสดยิ่งขึ้น ในบางตัวปลายครีบหลังอาจแหลมยาวคล้ายปลายผืนธง ครีบหางเป็น 2 แฉก มีขนาดใหญ่ ครีบหางและครีบก้นมีลายแถบสีดำเป็นทางตรงบนพื้นสีแดง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร อาจใหญ่ได้ถึง 35 เซนติเมตร เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้ปากที่ขยับไปมาตลอดนั้นตอดอาหารจำพวกอินทรีย์วัตถุหากินตามพื้นน้ำหรือตะไคร่น้ำที่เกาะตามแก่งหินต่าง ๆ มีพฤติกรรมผสมพันธุ์หมู่และวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 100,000 ฟอง เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยจะนิยมเลี้ยงไว้เพื่อทำความสะอาดภายในตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารกินทำให้ตู้เลี้ยงสะอาดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า เมื่อเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกรด้วยแล้ว จะถือเป็นมงคล เหมือนหงส์คู่มังกร เพราะปลาชนิดนี้มีเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) แปลว่า "ปลาหงส์" ซึ่งในราวปี พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2547 ได้มีการบอกกล่าวกันเป็นทอด ๆ ในอินเทอร์เน็ตถึงคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ ทำให้มีราคาขายพุ่งขึ้นไปเกือบตัวละ 1,000 บาท ในปลาขนาดเล็กขนาดไม่เกิน 5 นิ้ว.

ใหม่!!: มังกรจีนและปลาอินซีเน็ตหางแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพัด

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอาโรวาน่า (Malayan bonytongue fish, Arowana, Asian arowana, Arawana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: มังกรจีนและปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

ปีนักษัตร

ปีนักษัตร หรือ นักขัต เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทยและชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แบ่งเป็นรอบปี รอบละสิบสองปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้ โดยความเชื่อเรื่องปีนักษัตรนั้นมีที่มาจากจีน ตำนานเรื่องเล่าในสมัยปีใหม่แรกของจีน (วันชิวอิก หรือวันที่ 1 เดือนอ้ายของจีน) สัตว์ทั้งหลายต่างมาชุมนุมหน้าวังหลวงของฮ่องเต้สวรรค์ ฮ่องเต้ประกาศให้สัตว์ 12 ชนิด ที่มาถึงก่อนวัน (วันชิวยี่ หรือวันที่ 2 เดือนอ้าย)  ดังนั้นสัตว์ 12 ชนิด ได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์ ใน 1 วัน สัตว์ 1 ชนิดอยู่ยาม 2 ชั่วโมง สัตว์ 12 ชนิดอยู่ยาม 24 ชั่วโมง รวมเป็น 12 ยามเฝ้าวังหลวง โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าตั้งแต่ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ) ก็มีปรากฏรูปปีนักษัตรแล้ว โดยใช้สัตว์ประเภทต่าง ๆ เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ อันได้แก.

ใหม่!!: มังกรจีนและปีนักษัตร · ดูเพิ่มเติม »

ปี่เซียะ

ปี่เซียะ ปี่เซียะ (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผีซิว (สำเนียงกลาง) หรือ เผยเหย้า (สำเนียงกวางตุ้ง) (Pixiu, Pi Yao; 貔貅; พินอิน: pí xiū) เป็นสัตว์ประหลาดตามความเชื่อของจีนมาแต่โบราณ เชื่อว่า ปี่เซียะ มีรูปร่างและเขาคล้ายกวาง แต่มีหน้า, หัว, ขาคล้ายสิงโต, มีปีกคล้ายนก, หลังคล้ายปลา และมีส่วนหางคล้ายแมวปนไปด้วยท้องและบางส่วนของหัวคล้ายมังกร เป็นสัตว์สี่ขา และเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ช่วยป้องกันและปัดเป่าภยันตรายและภูตผีปีศาจ สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ได้ เชื่อว่าถูกแบ่งเป็นตัวผู้ชื่อ ปี่ (貔) และ ตัวเมียชื่อ เซียะ (貅) นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น เทียนลู่ (天祿) หรือ เทียนลก (樂祿) ตามแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งความหมายของชื่อเหล่านี้ แปลได้ว่า กวางสวรรค์ หรือ ขจัดปัดเป่า เชื่อกันว่า ปี่เซียะ เป็นลูกตัวที่ 9 ของมังกร เป็นสัตว์ที่กินเก่งและไม่มีรูทวาร จึงไม่มีการขับถ่าย ในปลายยุคราชวงศ์โจว ตรงกับยุคชุนชิว มีการนำปี่เซียะมาใช้เป็นสัญลักษณ์โดยประดับเป็นรูปบนธงสำหรับการออกรบ โดยรวมในอดีตสันนิษฐานว่า ปีเซียะให้ความหมายในทางความกล้าหาญ การปกป้องคุ้มภัย และการต่อสู้เพื่อจะให้ได้มาซึ่งชัยชนะ นอกจากนี้แล้ว ปี่เซียะยังเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์และคุ้มครองทรัพย์สมบัติอีกด้วย อันเนื่องจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีการขับถ่าย จึงมีการปั้นเป็นรูปปั้นเฝ้าหน้าท้องพระโรง ภายในพระราชวัง เช่น ฮ่องเต้ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและประเทศจีน ปัจจุบัน มีการบูชาปี่เซียะ โดยมักทำเป็นรูปเคารพของสัตว์ที่มีลักษณะดังกล่าวในลักษณะหมอบ และมักทำเป็นคู่กัน โดยจะตั้งวางให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ยด้วย อีกทั้งยังเป็นที่บูชาของนักพนัน ผู้ที่นิยมเสี่ยงโชคในลักษณะวัตถุมงคล จากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีถ่าย จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บทรัพย์ ซึ่งกาสิโนบางแห่งในประเทศจีน, มาเก๊า และฮ่องกง จะมีรูปปั้นปี่เซียะนี้อยู่ด้านหน้าด้ว.

ใหม่!!: มังกรจีนและปี่เซียะ · ดูเพิ่มเติม »

เกาลูน

ที่ตั้งของเกาลูน(สีเขียว)ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง(สีเทาอ่อน) เกาลูน (จีนตัวเต็ม: 九龍) เป็นพื้นที่ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มังกรจีนและเกาลูน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »