โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมังกรจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมังกรจีน

ปลาอินซีเน็ตหางแดง vs. มังกรจีน

ปลาอินซีเน็ตหางแดง หรือ ปลาหงส์หางแดง (Flagtail prochilodus, Silver prochilodus, Flagtail characin; Jaraqui (ในบราซิล)) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก ดวงตากลมโต ริมฝีปากหนาและใหญ่ และปากขยับไปมาตลอดเวลา เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีเงินแวววาว เมื่อยังเล็กจะมีลายแถบและจุดสีดำกระจายอยู่บริเวณลำตัวค่อนไปทางโคนหาง มีเกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวประมาณ 48 เกล็ด โคนหางคอดเล็ก ครีบท้องมีสีแดงสด ครีบหลังมีขนาดใหญ่และตั้งชี้ขึ้น ซึ่งครีบเหล่านี้เมื่อปลาโตขึ้นจะยิ่งชี้แหลมและสีสดยิ่งขึ้น ในบางตัวปลายครีบหลังอาจแหลมยาวคล้ายปลายผืนธง ครีบหางเป็น 2 แฉก มีขนาดใหญ่ ครีบหางและครีบก้นมีลายแถบสีดำเป็นทางตรงบนพื้นสีแดง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร อาจใหญ่ได้ถึง 35 เซนติเมตร เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้ปากที่ขยับไปมาตลอดนั้นตอดอาหารจำพวกอินทรีย์วัตถุหากินตามพื้นน้ำหรือตะไคร่น้ำที่เกาะตามแก่งหินต่าง ๆ มีพฤติกรรมผสมพันธุ์หมู่และวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 100,000 ฟอง เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยจะนิยมเลี้ยงไว้เพื่อทำความสะอาดภายในตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารกินทำให้ตู้เลี้ยงสะอาดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า เมื่อเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกรด้วยแล้ว จะถือเป็นมงคล เหมือนหงส์คู่มังกร เพราะปลาชนิดนี้มีเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) แปลว่า "ปลาหงส์" ซึ่งในราวปี พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2547 ได้มีการบอกกล่าวกันเป็นทอด ๆ ในอินเทอร์เน็ตถึงคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ ทำให้มีราคาขายพุ่งขึ้นไปเกือบตัวละ 1,000 บาท ในปลาขนาดเล็กขนาดไม่เกิน 5 นิ้ว. วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมังกรจีน

ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมังกรจีน มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มนุษย์วงศ์ปลาตะเพียนอักษรจีนตัวเต็มปลาตะพัด

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมนุษย์ · มนุษย์และมังกรจีน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ปลาอินซีเน็ตหางแดงและวงศ์ปลาตะเพียน · มังกรจีนและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ปลาอินซีเน็ตหางแดงและอักษรจีนตัวเต็ม · มังกรจีนและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพัด

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอาโรวาน่า (Malayan bonytongue fish, Arowana, Asian arowana, Arawana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ปลาตะพัดและปลาอินซีเน็ตหางแดง · ปลาตะพัดและมังกรจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมังกรจีน

ปลาอินซีเน็ตหางแดง มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ มังกรจีน มี 130 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.50% = 4 / (30 + 130)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาอินซีเน็ตหางแดงและมังกรจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »