โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ดัชนี ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

170 ความสัมพันธ์: บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2ชะมดชะมดแผงหางปล้องชาวญวนชาวอเมริกันเชื้อสายไทยชาวไทยเชื้อสายเขมรบ่างกระรอกบินกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มภาษาไทกะพรุนน้ำจืดกันตรึมการค้าประเวณีกิ้งก่ากิ้งก่าบินกิ้งก่าบินคอแดงกุมภลักษณ์ญัฮกุรภาษาพวนภาษากูยภาษาญ้อภาษาลาวภาษาถิ่นภาษาแสกภาษาในประเทศไทยภาษาโย้ยภาษาเขมรลาวเดิมภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพภาคอีสาน (ประเทศไทย)มันต้องถอนรัสมี เวระนะรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อผลงานของณเดชน์ คูกิมิยะร็อคคงคยลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)ลูกอีสาน (ภาพยนตร์)ลูกอ๊อดวงศ์ชะมดและอีเห็นวงศ์กระจงวงศ์คางคกวงศ์ตะพาบวงศ์ปลาแป้นแก้วสกุลยาสุฮิโกทาเกียสาธิต เซกัลหมอลำหมาจิ้งจอกหมีหมาหมีขอหลอน (ภาพยนตร์)หี...หนูหิ่น เดอะมูฟวี่อะแมนดา คาร์อักษรไทยอักษรไทน้อยอำเภอป่าแดดอีเห็นองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนผลไม้ผักเขียดผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดงผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้ผีในวัฒนธรรมไทยจระเข้จังหวัดมหาสารคามจังหวัดลพบุรีจังหวัดสุรินทร์จังหวัดเลยจิ้งหรีดทองแดงลายขนมจีน (อาหารไทย)คอแลนคางคกบ้านตระกูลภาษาไท-กะไดตะพาบสวนตะพาบหัวกบตะพาบแก้มแดงตะกวดตะขาบตำบลโพนโกตำบลโนนเจริญตุ๊กแกบ้านประเทศพม่าประเทศไทยปลาชะโอนปลาบัวปลาช่อนปลาช่อนงูเห่าปลาบ้าปลากระมังครีบสูงปลากระสูบขีดปลากระสงปลากระทิงปลากระดี่ปลากระดี่หม้อปลากระแหปลากระเบนลาวปลากรายปลากริมปลากาปลากาแดงปลามูดปลาม้าปลายี่สกปลารากกล้วยปลาร้าปลาลิ้นหมาน้ำจืดปลาสร้อยลูกกล้วยปลาสร้อยขาวปลาสวายหนูปลาสะตือปลาสะนากปลาสังกะวาดปลาสังกะวาดท้องคมปลาหมอปลาหมูขาวปลาหว้าหน้านอปลาดังแดงปลาดุมชีปลาคางเบือนปลาค้าวดำปลาตะพากปลาตะพากเหลืองปลาตะกากปลาตะโกกปลาตะเพียนทรายปลาตามินปลาปล้องอ้อยปลานวลจันทร์น้ำจืดปลาน้ำฝายหลังดำปลาแกงปลาแก้มช้ำปลาแรดปลาแปบปลาแปบสยามปลาแปบควายปลาใบไม้ปลาไส้ตันตาแดงปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ปลาเสือตอลายใหญ่ปลาเสือตอลายเล็กปลาเทพาปลาเป้าปอบปัญญา เรณูปัญญา เรณู 2ปัญญา เรณู 3 รูปูรูปีนายหนหวยแฟกทอรีที่รักแมลงกระชอนแมงมุมทารันทูล่าแมงอีนูนแมงป่องแหยม ยโสธรแหยม ยโสธร 2แหยมยโสธร 3แง้วโพสพโรคใหลตายไก่ฟ้าไทบ้าน เดอะซีรีส์ไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรีไทยสยามเยอเลียงผาเสียงนาสิก เพดานแข็งเหยี่ยวเทศบาลตำบลด่านขุนทดเทศบาลเมืองแจระแมเขตตะนาวศรีเต่าHeterometrus laoticus ขยายดัชนี (120 มากกว่า) »

บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2

อดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 (The Bodyguard 2) เป็นภาพยนตร์ กำกับและแสดงนำโดย เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก) โดยเป็นภาคต่อของ บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม ออกฉายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและบอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 · ดูเพิ่มเติม »

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผงหางปล้อง

มดแผงหางปล้อง (Large indian civet;; อีสาน: เหง็นแผงหางก่าน) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีลำตัวสีเทาค่อนข้างดำ มีลายสีดำข้างลำตัว ข้างลำคอมีเส้นสีดำสามแถบพาดผ่านในแนวขวาง มีจุดเด่น คือ ส่วนหางมีลายสีดำสลับกับขาวเป็นปล้อง ๆ 5-6 ปล้อง มีขนสีดำสนิทพาดตั้งแต่กึ่งกลางหลังจนถึงโคนหาง เท้ามีสีดำ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย จัดเป็นชะมดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวลำตัวและหัว 75-85 เซนติเมตร ความยาวหาง 38-46 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, อินโดจีน, ประเทศจีน, ฮ่องกง, มาเลเซีย และสิงคโปร์ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท แม้กระทั่งใกล้ชุมชนของมนุษย์ หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย โดยจับเหยื่อจะใช้ฟันกัดและสะบัดอย่างแรงจนเหยื่อตายมากกว่าจะใช้เล็บตะปบ ตอนกลางวันจะนอนหลับตามโพรงไม้หรือโพรงหินหรือในถ้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและชะมดแผงหางปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวญวน

วญวน หรือ เวียดนาม เรียกตนเองว่า เหวียต หรือ เหยียก (người Việt) หรือ กิญ (người Kinh) ภาษาไทยถิ่นอีสานและลาวเรียกว่า แกวแกว คือคำว่า แกว ๆ มีความหมายถึงเสียงดังแซดแต่ไม่ได้ศัพท์ ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์มองว่าน่าจะเป็นการล้อเลียนเสียงพูดในภาษาเวียดนามที่มีเสียงสูงต่ำตัดกันชัดเจนกว่าภาษาไทย-ลาว นอกจากนี้ยังมีคำลาวในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งเรียกชาวเวียดนามอย่างเหยียดหยามว่า แย้, แกวแย้ และแกวม้อย (จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 242-243) เป็นประชากรหลักของประเทศเวียดนาม และกระจายตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เรียกว่า จิง จากการวิจัยของโรงพยาบาลแซ็ง-ลูยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในการเปรียบเทียบชาวเวียดนามกับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพันธุกรรมของประชากรอันใกล้ชิดด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมีตัวแสดงเอกลักษณ์เจ็ดประการที่ไม่ซ้ำกัน ผลลัพธ์บ่งชี้ว่าเวียดนามเป็นชาติพันธุ์สืบมาจากจีนและไทย ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 ได้มีการศึกษายีน Human Leukocyte Antigen ที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลมักคายในกรุงไทเป ได้จำแนกชาวเวียดนามไว้ในกลุ่มพันธุกรรมเดียวกับม้ง, ฮั่นตอนใต้, ปู้อี และไทย พร้อมกับครอบครัวที่หลากหลายอันประกอบด้วยไทยเชื้อสายจีน, สิงคโปร์เชื้อสายจีน, ชนหมิ่นหนาน (ฮกโล้) และจีนแ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและชาวญวน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย

วอเมริกันเชื้อสายไทย หมายถึง พลเมืองสหรัฐอเมริกาที่มีเชื้อสายมาจากประเทศไท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและชาวอเมริกันเชื้อสายไทย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไทยเชื้อสายเขมร

วไทยเชื้อสายเขมร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์กับชนชาติไทย และประเทศไทยมาช้านาน โดยแบ่งชาวไทยเชื้อสายเขมรออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ชาวเขมรบน หรือเขมรสูง ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรือที่เรียกว่า อีสานใต้ โดยเชื่อว่าอพยพเข้ามาในดินแดนไทยในช่วง พ.ศ. 2324-2325 และกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนจากประเทศกัมพูชาในสมัยอดีตซึ่งปัจจุบันกลุ่มหลังนี้จะกลมกลืนไปกับชาวไทยในปัจจุบันไปเสียแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาอพยพ และชาวกัมพูชาอพยพซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยในภาวะสงคราม โดยบางส่วนได้อพยพกลับภูมิลำเนาเดิม ขณะที่บางส่วนยังคงปักหลักอยู่ในดินแดนไทยต่อไป.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและชาวไทยเชื้อสายเขมร · ดูเพิ่มเติม »

บ่าง

ง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeopterus variegatus นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Galeopterus.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกบิน

กระรอกบิน เป็นกระรอกจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเผ่า Pteromyini หรือ Petauristini มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืดที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยมีหางและกระดูกอ่อนพิเศษที่ยื่นออกมาจากข้อเท้าหน้าเพื่อช่วยในการควบคุมทิศทาง กระรอกบินมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากกระรอกในกลุ่มอื่น คือ หากินในเวลากลางคืน มีดวงตากลมโตสีดำสะท้อนแสงไฟ กระรอกบินจะอาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ อาหารหลัก คือ แมลง หากินหลักอยู่บนต้นไม้ แต่ก็สามารถลงมาหากินบนพื้นดินได้ในบางครั้ง แม้จะได้ชื่อว่า กระรอกบิน แต่แท้ที่จริงแล้วกระรอกบินก็ทำได้เพื่อแค่ร่อน หรือโต้อากาศโดยใช้พังผืดนี้อยู่กลางอากาศได้เพียงสั้น ๆ เท่านั้น โดยการกระโจนจากต้นไม้อีกต้นไปยังอีกต้นหนึ่งเท่านั้น กระรอกบินมีทั้งหมด 44 ชนิด ใน 15 สกุล พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรปตอนเหนือและทวีปเอเชีย บางชนิดจัดเป็นกระรอกขนาดใหญ่เทียบเท่าพญากระรอก เช่น พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas) บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei) เป็นต้น ในประเทศไทยพบทั้งหมด 13 ชนิด จาก 6 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกระรอกบิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได หรือบางครั้งเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มชาติพันธุ์ ไท-กะได กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นการนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ และบูชาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกลุ่มภาษาไท · ดูเพิ่มเติม »

กะพรุนน้ำจืด

กะพรุนน้ำจืด หรือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Freshwater jellyfish) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในพวกแมงกะพรุนที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว ต่างจากแมงกะพรุนที่พบในทะเลที่ส่วนมากจะอยู่ในชั้นไซโฟซัว ใช้ชื่อสกุลว่า Craspedacusta (/คราส-พี-ดา-คัส-ต้า/).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกะพรุนน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

กันตรึม

กันตรึม เป็นรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านทางภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา คือ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด เป็นดนตรีประกอบการเต้นรำพื้นเมือง ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีได้แก่ ซอกันตรึม กลองกันตรึม และเสียงร้องเป็นภาษาเขมรเหนือ โดยในยุคหลังจะมีเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิก เช่น กีตาร์ และคีย์บอร์ด เป็นส่วนประกอบ และบ้างก็ใช้คำร้องเป็นภาษาอีสาน นักร้อง นักดนตรี แนวกันตรึมที่มีชื่อเสียง เช่น เฉลิมพล มาลาคำ คง มีชัย (หรือ ร็อคคงคย) ดาร์กี้ กันตรึมร็อค น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ หมวดหมู่:วัฒนธรรมภาคอีสาน หมวดหมู่:วัฒนธรรมเขมร หมวดหมู่:ดนตรีไทย.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกันตรึม · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและการค้าประเวณี · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าบิน

ำหรับ Draco ที่หมายถึงกลุ่มดาว ดูที่: กลุ่มดาวมังกร กิ้งก่าบิน (Flying dragon, Flying lizard) หรือ กะปอมปีก ในภาษาอีสานและลาว เป็นสกุลของกิ้งก่าในวงศ์ Agaminae ในวงศ์ใหญ่ Agamidae ใช้ชื่อสกุลว่า Draco กิ้งก่าบินจัดได้ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีประสิทธิภาพในการร่อนมากที่สุด ด้วยมีแผ่นหนังขนาดใหญ่อยู่ทางด้านข้างลำตัวและได้รับการค้ำจุนด้วยกระดูกซี่โครง 5-7 ซี่ โดยมีกล้ามเนื้ออิลิโอคอสทาลิสทำหน้าที่ดึงกระดูกซี่โครง 2 ซี่แรกไปทางด้านหน้า แต่กระดูกซี่โครงชิ้นอื่นได้เชื่อมต่อกับกระดูกซี่โครงสองซี่แรกด้วยเส้นเอ็น สามารถทำให้แผ่นหนังทั้งหมดกางออกได้ เมื่อเริ่มร่อน ตัวของกิ้งก่าในระยะแรกจะทำมุม 80° ช่วงนี้กิ้งก่าจะยกหางขึ้น ต่อมาจึงลดหางลงและแผ่กางแผ่นหนังด้านข้างลำตัวและทำมุมที่ลงสู่พื้นเหลือ 15° เมื่อลงสู่พื้นหรือเกาะบนต้นไม้ จะยกหางขึ้นอีกครั้งและหมุนตัว กิ้งก่าบินที่ทิ้งตัวจากต้นไม้สูง 10 เมตร สามารถร่อนได้เป็นระยะทางไกลกว่า 60 เมตร และลงเกาะบนต้นไม้หรือพื้นที่ที่อยู่ต่ำลงได้จากเดิมได้ 2 เมตร กิ้งก่าบินจัดได้ว่าเป็นกิ้งก่าขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวส่วนมากไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่หางจะมีความยาวมากกว่าลำตัว พบกระจายพันธุ์ในป่าของเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ เช่น ภาคอีสานในประเทศไทย และพบได้ชุกชุมในป่าดิบของแหลมมลายู มีทั้งหมด 31 ชนิด พบได้ในประเทศไทยหลายชนิด อาทิ กิ้งก่าบินปีกส้ม (D. maculatus), กิ้งก่าบินคอแดง (D. blanfordii), กิ้งก่าบินสีฟ้า (D. volans) โดยคำว่า Draco นั้น มาจากคำว่า "มังกร" ในภาษาละติน ผู้ที่อนุกรมวิธาน คือ คาโรลัส ลินเนี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกิ้งก่าบิน · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าบินคอแดง

กิ้งก่าบินคอแดง หรือ กะปอมปีกคอแดง ในภาษาอีสาน (Blanford's flying lizard, Orange winged flying lizard, Banded winged flying lizard; 裸耳飞蜥) จัดเป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco blanfordii อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) มีเหนียงสีเหลืองอ่อน มีประสีดำบนพื้นสีแดงสด ปีกมีลายบั้งสีเข้มสลับกับสีส้มเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ ลำตัวสีเขียวปนเทา กินปลวกต้นไม้, หนอนขนาดเล็ก และมดไม้ยักษ์ เป็นอาหาร ตัวเมียวางไข่ในพื้นทราย หรือจอมปลวกบนต้นไม้ หรือโพรงไม้ ครั้งละ 5-6 ฟอง พบมากที่สุด คือ 10 ฟอง แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างไกลตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนตอนล่าง เช่น มณฑลยูนนาน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง และมาเลเซีย จัดเป็นกิ้งก่าบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดโคนหาง 4.75 นิ้ว และหางมีความยาว 9นิ้ว มักพบในป่าดิบชื้นที่ราบ หรือ ป่าดิบเขาระดับกลาง และป่าเบญจพรรณ กิ้งก่าบินคอแดง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกิ้งก่าบินคอแดง · ดูเพิ่มเติม »

กุมภลักษณ์

มพันโบก กุมภลักษณ์ที่มีชื่อเสียงของไทย จังหวัดอุบลราชธานี ติดแม่น้ำโขง กุมภลักษณ์ กุมภลักษณ์ หรือ โบก ในภาษาอีสาน (Pothole, Giant's cauldron, Giants kettles) หมายถึงหลุมที่เกิดบริเวณพื้นท้องน้ำ บริเวณน้ำตก และบริเวณที่ทางน้ำไหลเชี่ยว เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยาที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะเป็นหลุมคล้ายหม้อ (กุมภ แปลว่าหม้อ) หลุมเหล่านี้มีหลายขนาด ทั้งขนาดใหญ่ จนถึงขนาดเป็นรูลึกเล็ก ๆ ภายในหลุมมักจะเห็นก้อนหิน กรวด ทราย กองอยู่ก้นหลุมกักขังก้อนหินกรวดหรือทรายนั้น ๆไว้ พบเห็นทั่วไปในบริเวณทางที่น้ำไหลผ่านชั้นหินในช่วงฤดูน้ำหลาก กุมภลักษณ์นี้เป็นตัวชี้ว่าบริเวณใดเคยเป็นท้องน้ำหรือเป็นน้ำตก หรือบริเวณที่ลำน้ำมาบรรจบกัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและกุมภลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ญัฮกุร

ญัฮกุร หรือเนียะกุล หรือที่คนไทยเรียกว่า "ชาวบน" ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจนักของชาวญัฮกุร ญัฮกุรคือชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า “ญัฮกุร” (Nyah-Kur) แปลว่า “คนภูเขา” คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวบน” ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่าง ๆ ฟังไม่รู้เรื่อง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและญัฮกุร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพวน

ษาพวน หรือ ภาษาลาวพวน เป็นภาษาในตระกูลไท-กะได เป็นภาษาของชาวไทพวนหรือลาวพวน คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากกว่าภาษาไทยภาคกลางและเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกันกับภาษาผู้ไทมาก มีเสียงพยัญชนะ 20 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง มีเสียงควบกล้ำเฉพาะ /คฺว/ เท่านั้น สระมี 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง ลักษณะเด่นของคำพวนเช่น ถ้าใช้ ก เป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียงตัวสะกด ดังเช่น หูก พวนออกเสียงเป็น หุ ปาก พวนออกเสียงเป็น ปะ แบก พวนออกเสียง แบะ ส่วนคำที่ใช้สระไม้ม้วน(สระ-ใ-)จะออกเสียงเป็น สระเออ เช่น บ้านใต้ พวนออกเสียงเป็น บ้านเต้อ ใกล้ พวนออกเสียงเป็น เค่อ ให้ พวนออกเสียงเป็น เห้อ ส่วนสระไม้มลาย(สระ-ไ-)จะออกเสียงตามรูป เช่น ผัดไทยใส่ไข่ พวนออกเสียงเป็น ผัดไทยเส่อไข่ จะไม่พูดว่า ผัดเทอเส่อเข่อ พวนใช้เสียง ซ แทนเสียง ช เช่น ช้าง เป็น ซ้าง ช่วย เป็น ซ่อย ไม่มีเสียง ร ซึ่งมักจะออกเป็น ฮ แทน เช่น เรือน เป็น เฮือน ร่ำเรียน เป็น ฮ่ำเฮียน ไร่นา เป็น ไฮ่นา การออกเสียง ย และ ญ ลักษณะการออกเสียงของภาษาไทยนั้น ลิ้นจะอยู่กลางปาก แต่การออกเสียงของคนพวน ลิ้นจะแตะเพดานปากด้านหน้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาพวน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากูย

ษากูย (Kuy) หรือ ภาษากวย เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร กลุ่มกะตู มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535) ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตรึงแตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้ ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษากูย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญ้อ

ษาญ้อ หรือ ภาษาไทญ้อ (Nyaw) เป็นกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ ที่พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อ ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยราว 50,000 คน (พ.ศ. 2533) ในจังหวัดสกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม ปราจีนบุรี และสระบุรี พบได้มากที่ อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอศรีสงคราม อำเภอเมืองสกลนคร อำเภออรัญประเทศ เป็นต้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากทางตอนเหนือของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาญ้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไต-แสก มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง มีพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 6 เสียง ไปกะเลอ,ไปสิเลอ,ไปเตอ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาญ้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแสก

ษาแสก เป็นภาษาตระกูลไท-กะไดที่ใช้พูดบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาวและจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ผู้พูดภาษานี้เหลือน้อยเพราะคนรุ่นใหม่หันไปพูดภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากขึ้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาแสก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาในประเทศไทย

ษาในประเทศไทย มีผู้พูดหลายภาษาด้วยกัน โดยมีภาษาหลักคือภาษาไทยมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีภาษาถิ่นย่อย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายตระกูลภาษา โดยรวม มีผู้ใช้ภาษาราว 74 ภาษาในประเทศไทย สำหรับภาษาตระกูลไทนั้น ยังมีภาษาถิ่นย่อยหลัก ได้แก่ ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยโคราช ไทยอีสาน และภาษาไทยภาคเหนือ หรือภาษาไทยล้านนา (คำเมือง) ขณะเดียวกันก็มีภาษาจีนอีกหลายถิ่นย่อย เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนกลาง จีนแคะ ภาษาจีนกวางตุ้ง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโย้ย

ษาโย้ย (Yoy language) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ผู้พูดภาษานี้ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย และในประเทศลาว มีผู้พูดในประเทศไทยประมาณ 50,000 คน (พ.ศ. 2547) พูดภาษาไทยถิ่นอีสานได้ด้วย ภาษาโย้ยมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอีสานแต่ใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมลาว และ อักษรไทน้อยซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านช้าง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาโย้ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมรลาวเดิม

ษาเขมรลาวเดิม เป็นภาษาหนึ่งที่มีใช้พูดกันอยู่ในจังหวัดราชบุรี ภาษานี้จะใกล้เคียงกับภาษาอีสานใต้ และยังมีการใช้ภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาวเขมรลาวเดิมเป็นชาวลาวที่ถูกทัพเขมรกวาดต้อนไปเมืองเขมร เมื่อได้ไปตีเขมรจึงได้กวาดต้อนชาวลาว และชาวเขมรปะปนกันมาด้วย จึงมีกลุ่มใช้ภาษาใกล้เคียงกับลาว และเขมร ชาวเขมรลาวเดิมอาศัยอยู่แถบบ้านเจ็ดเสมียน บ้านพงสวาย (แถววัดพเนินพลู แถววัดลาดเมธังกร) ในอำเภอเมืองราชบุรี กลุ่มสองอยู่แถบอำเภอวัดเพลง ไปจนถึงอำเภอปากท่อ ได้แก่ หมู่ 6-9 ตำบลเกาะศาลพระ บ้านคลองพะเนาว์ บ้านเกาะไฟไหม้ บ้านเฉลา บ้านบางนางสูญ ในอำเภอวัดเพลง บ้านบ่อกระดาน บ้านบ่อตะค้อ บ้านโคกพระ และบ้านหนองจอกในอำเภอปากท่อ ปัจจุบันภาษาเขมรลาวเดิมจัดเป็นภาษาในวงล้อม (Enclave language) เนื่องจากล้อมรอบด้วยภาษาไทยกลางและภาษาลาวเวียง ในอนาคตชุมชนภาษาเขมรลาวเดิมอาจหายไปจากจังหวัดราชบุรีและไม่มีผู้ใดใช้ภาษานี้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนภาษา (language shift) ให้กลมกลืนกับภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาลาวครั่งเพราะภาษาทั้งสองมีความใกล้เคียงกันมากทั้งด้านศัพท์และเสียง สิ่งที่ต่างกันมีเพียงเสียงสระซึ่งภาษาเขมรลาวเดิมใช้เสียง ในขณะที่ภาษาลาวครั่งใช้เสียง และพบว่าผู้พูดภาษาเขมรลาวเดิมที่มีอายุน้อยมักมีการแปรระหว่างเสียง ~ อีกทั้งประเพณีของคนกลุ่มนี้ไม่สู้จะมีเอกลักษณ์เด่นชั.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาเขมรลาวเดิม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ

ษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ (a language is a dialect with an army and a navy) เป็นสำนวนหนึ่งVictor H. Mair, The Columbia History of Chinese Literature, p. 24: "It has often been facetiously remarked...

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มันต้องถอน

"มันต้องถอน" เป็นเพลงที่ขับร้องโดยปอยฝ้าย มาลัยพร จากผลงานอัลบั้มชุด มันต้องถอน ประพันธ์เพลงโดย อ.สัญลักษณ์ ดอนศรี โดยเพลงนี้ปอยฝ้ายเข้ามาหาสัญลักษณ์ขอให้เขียนเพลงให้เขา ซึ่งสัญลักษณ์ก็ได้เขียนให้ 2 เพลงคือ "มันต้องถอน" และ "อ้ายอยากรับผิดชอบ" ซึ่งเป็น 2 เพลงสุดท้ายที่เพิ่มเข้าในอัลบั้ม เพลงสื่อความหมายมองมุมกลับ เมาแล้วต้องถอน คือต้องกินเหล้าให้ตื่น ตรงข้ามกับปลุก คือล้มตัวลงนอนหลังเมา เพลงนี้ได้รับกระแสนิยม ติดปากไปทั่ว มีการใช้คำภาษาอีสานที่แปลกหู โดยเฉพาะคำว่า ”งึกงึกงักงัก” ที่มีความหมายคือเมาประคองตัวไม่ได้ และคำว่า “โชงโล่งเซงเลง” คืออาการสะลึมสะลือ เพลง "มันต้องถอน" ยังได้รับรางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2008 ครั้งที่ 7 มิวสิกวิดีโอเพลง "มันต้องถอน" เผยแพร่ทางโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและมันต้องถอน · ดูเพิ่มเติม »

รัสมี เวระนะ

รัสมี เวระนะ (ชื่อเล่น:แป้ง เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ.2526) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวไทย มีชื่อเสียงจากการนำเพลงพื้นบ้าน, ลูกทุ่ง และหมอลำมาขับร้องในแนวดนตรีโซลและแจ๊ส นอกจากนี้บทเพลงของรัสมี เวระนะ ยังมีส่วนผสมของการใช้เครื่องดนตรีตะวันตกและดนตรีพื้นบ้าน อีกทั้งยังมีการขับร้องเป็นภาษาอีสานและภาษาเขมร โดยรัสมี เวระนะ เคยไปร้องเพลงที่ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับวง Limousine และมีโอกาสได้ร่วมบันทึกเสียงให้กับวง Poni Hoax วงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์จากฝรั่งเศส รัสมี เวระนะ มีผลงานเพลงชุดแรกชื่อ Isan Soul E.P. ซึ่งได้รับความสนใจจากการนำเพลงพื้นบ้านของภาคอีสานมาขับร้องในแนวโซล และมีการผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีตะวันตกและดนตรีพื้นบ้านทำให้ได้รับรางวัลคมชัดลึก อวอร์ดถึง 3 รางวัล ได้แก่ อัลบั้มยอดเยี่ยม ศิลปินยอดเยี่ยม และ เพลงยอดเยี่ยมจากเพลง มายา ต่อมารัสมีได้ออกอัลบั้ม อารมณ์ และได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขา ศิลปินหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี..2560 ในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและรัสมี เวระนะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผลงานของณเดชน์ คูกิมิยะ

ทความนี้รวบรวม รายชื่อผลงานของ ณเดชน์ คูกิมิยะ นักแสดงและนายแบบชาวไท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและรายชื่อผลงานของณเดชน์ คูกิมิยะ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อคคงคย

ร็อกคงคย เป็นชื่อที่ใช้ในการแสดงดนตรีพื้นบ้านกันตรึม-หมอลำ ของนายคง มีชัย ชาวอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้ก่อตั้งวงเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและร็อคคงคย · ดูเพิ่มเติม »

ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

ลาว (ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาไท-กะได เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและลาว (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

ลูกอีสาน (ภาพยนตร์)

ลูกอีสาน เป็นภาพยนตร์ไทยซึ่งผลิตและจัดจำหน่ายโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยสร้างจากนวนิยายรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2522 เรื่องลูกอีสาน ผลงานของคำพูน บุญทวี กำกับการแสดงโดย วิจิตร คุณาวุฒิ นำแสดงโดย องอาจ มณีวรรณ เจ้าของบท "ทองปาน โพนทอง" ในภาพยนตร์ต้องห้ามสะท้อนสภาพสังคมหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เรื่อง ทองปาน แล..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและลูกอีสาน (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ลูกอ๊อด

ลักษณะโดยทั่วไปของลูกอ๊อด และลักษณะของปาก ลูกอ๊อดของกบในวงศ์ Bufonidae ลูกอ๊อด (Tadpole, Pollywog, Porwigle) หรือ ลูกฮวก หรือ อีฮวก ในภาษาอีสานหรือภาษาเหนือ เป็นชื่อเรียกของตัวอ่อนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) เมื่อโตเต็มวัย ลูกอ๊อดจะมีรูปร่างเช่นเดียวกบปกติทั่วไป แต่กระนั้นก็ยังมีกบบางชนิดที่ไม่มีช่วงวัยลูกอ๊อด ลูกอ๊อด มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลา มีหาง ไม่มีขา หายใจด้วยเหงือก ส่วนหัวมีขนาดโตมาก ซึ่งลูกอ๊อดของกบแต่ละวงศ์ก็มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป โดยแบ่งตามโครงสร้างของปาก, โครงสร้างของห้องเหงือก, และจำนวนและตำแหน่งของช่องเปิดเหงือกที่เป็นทางผ่านออกของน้ำซึ่ง สามารถจำแนกเป็น 4 แบบได้ คือ 1.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและลูกอ๊อด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและวงศ์ชะมดและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กระจง

วงศ์กระจง (Chevrotain, Mouse-deer, Napu; อีสาน: ไก้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulidae กระจงถือเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับกวาง (Cervidae) มีกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีการหมักอาหารที่กระเพาะอาหาร แต่กระเพาะห้องที่สามจะลดขนาดลง เหลือไว้เพียงร่องรอยเท่านั้น มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีเขา จะงอยหน้าแหลมและแคบ จมูกไม่มีขน ไม่มีทั้งต่อมที่ใบหน้าและต่อมกับ ขายาวเรียวและเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีเขี้ยวงอกจากขากรรไกรบนยาวยื่นออกมาใช้สำหรับป้องกันตัว ส่วนตัวเมียมีเขี้ยวเหมือนกับตัวผู้ แต่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีระยะเวลาตั้งท้องนานราว 120–180 วัน ตัวเมียสามารถกลับมาเป็นสัดได้ ใน 7 วันหลังจากออกลูก ออกลูกโดยปกติครั้งละ 1 ตัว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ด้วยว่ามีขนาดพอ ๆ กับกระต่ายตัวหนึ่งเท่านั้นเอง พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในอนุทวีปอินเดีย และเอเชียอาคเนย์ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 10 ชนิด และสูญพันธุ์ไปแล้วอีก 6 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Tragulus napu) และกระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (T. kanchil) ซึ่งถือได้เป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและวงศ์กระจง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์คางคก

วงศ์คางคก (Toads, True toads; อีสาน: คันคาก) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae (/บู-โฟ-นิ-ดี/) ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด เช่น จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansonia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและวงศ์คางคก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะพาบ

วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแป้นแก้ว

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae; Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง" มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและวงศ์ปลาแป้นแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

สกุลยาสุฮิโกทาเกีย

กุลยาสุฮิโกทาเกีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Yasuhikotakia (/ยา-สุ-ฮิ-โก-ทา-เกีย/) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา ปากเล็กยื่นแหลมมีหนวด 3 คู่ รอบปาก ปลาในสกุลนี้ เดิมเคยจัดอยู่ในสกุล Botia แต่ในปี ค.ศ. 2002 ดร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและสกุลยาสุฮิโกทาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธิต เซกัล

นายสาธิต เซกัล (सतीश सहगल; Satish Sehgal; เกิด 14 เมษายน —) เป็นนักธุรกิจสิ่งพิมพ์ชาวอินเดีย ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าอินเดีย-ไทย หอการค้าไทย-อิสราเอล และประธานสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย นายเซกัลเกิดที่เมืองเดลี ประเทศอินเดีย เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 5 ปี ครอบครัวเป็นชาวไทยฮินดูเชื้อสายอินเดียจากรัฐปัญจาบและเคยใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีมาก่อน โดยสามารถพูดภาษาอีสานได้อย่างคล่องแคล่ว จบการศึกษาจากวิทยาลัย Hans Raj มหาวิทยาลัยเดลี เคยทำงานที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ก่อนจะมาเปิดธุรกิจนิตยสารภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและสาธิต เซกัล · ดูเพิ่มเติม »

หมอลำ

หมอแคนกำลังบรรเลงเพลงให้กับหมอลำ การประชันกันของหมอลำซิ่งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย หมอลำ (อีสาน: หมอลำ)(ลาว:ໝໍລຳ) เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำพื้น ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหมอลำ · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

หมีหมา

หมีหมา หรือ หมีคน (Malayan sun bear, Honey bear;; อีสาน: เหมือย).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหมีหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมีขอ

หมีขอ หรือ บินตุรง หรือ หมีกระรอก (Binturong, Bearcat;; อีสาน: เหง็นหางขอ, เหง็นหมี) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แม้จะมีหน้าตาคล้ายหมีจนได้ชื่อว่าหมี แต่เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น (Viverridae) ที่ใหญ่ที่สุด จัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในสกุล Arctictis มีหางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวสีดำและหยาบ สีขนบริเวณหัวอาจมีสีเทา หูกลม บริเวณขอบหูมีสีขาว หางที่ยาวสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้เป็นอย่างดี มีความยาวลำตัวและหัว 61-96.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 50-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 9-20 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ภาคตะวันตกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, พรมแดนระหว่างเวียดนามติดกับลาวและกัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวในอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ หมีขอเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน อาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในบางครั้งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประกอบไปด้วย แม่และลูก ในเวลากลางวันจะอาศัยโพรงไม้เป็นที่หลับนอน อาหารได้แก่ ผลไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ บนต้นไม้ทั้งแมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ปีนต้นไม้ได้เก่งมาก โดยใช้หางที่ยาวเกาะเกี่ยวกิ่งไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย มีการผสมพันธุ์กันได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 92 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว หมีขอตัวเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 2 คู่ ลูกที่เกิดใหม่ยังไม่สามารถขาและหางเกี่ยวกิ่งไม้ได้ชำนาญเหมือนตัวพ่อแม่ หมีขอเป็นสัตว์ที่เลี้ยงตั้งแต่เล็กแล้วจะเชื่อง จนสามารถนำมาฝึกให้แสดงโชว์ต่าง ๆ ได้ตามสวนสัตว์ สถานะปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหมีขอ · ดูเพิ่มเติม »

หลอน (ภาพยนตร์)

หลอน เป็นภาพยนตร์ไทยสยองขวัญเรื่องผี 4 ภาคของประเทศไทย จัดจำหน่ายโดย ซี.เอ็ม ฟิล์ม ออกฉายแล้วเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2546.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหลอน (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

หี

หี เป็นคำหยาบ ใช้หมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์หญิง ซึ่งรวมถึงปากมดลูกและช่องคลอด แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้กันโดยหมายความถึงเฉพาะช่องสังวาสหรือช่องคลอด หรือหมายความรวมทั้งช่องสังวาสและช่องคลอด แต่ไม่รวมถึงปากมดลูกและมดลูก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหี · ดูเพิ่มเติม »

หนูหิ่น เดอะมูฟวี่

หนูหิ่น เดอะมูฟวี่ เป็นภาพยนตร์ไทยแนวตลกซึ่งสร้างจากการ์ตูนเรื่องสั้นยอดนิยมชุด "หนูหิ่น อินเตอร์" ซึ่งเป็นเรื่องราวของหญิงสาวชาวอีสานที่เข้ามาทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านเศรษฐีในกรุงเทพ ผลงานโดยผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ ขายหัวเราะ) ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายครั้งแรกวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 บทภาพยนตร์โดยคงเดช จาตุรันต์รัศมี กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและหนูหิ่น เดอะมูฟวี่ · ดูเพิ่มเติม »

อะแมนดา คาร์

อะแมนดา เมียลเดรด คาร์ (Amanda Mildred Carr; ชื่อเล่น: หย็อง; 24 มิถุนายน พ.ศ. 2533 —) เป็นนักกีฬาจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ สายเลือดไทย-อเมริกัน ซึ่งปัจจุบัน เธอได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 8 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและอะแมนดา คาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทน้อย

อักษรไทน้อย หรือประเทศลาวเรียก อักษรลาวเดิม เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาลาวในสมัยโบราณ (รวมถึงภาษาไทยถิ่นอีสานด้วย) ใช้ในการจารึกเรื่องราวต่างๆในทางโลก อาทิ บันทึกต่างๆ หนังสือราชการ ตำรายา เป็นต้น ส่วนการจดบันทึกที่เป็นทางด้านศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับศาสนาจะนิยมบันทึกด้วยอักษรธรรมลาว หรืออักษรธรรมล้านช้าง อักษรไทน้อย เป็นอักษรที่ในสมัยโบราณใช้เขียนภาษาไทยถิ่นอีสาน ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ประเทศไทย มีพยัญชนะ 27 ตัว สระ 29 ตัว วรรณยุกต์ 2 ตัว (เท่าที่พบ) และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทน้อยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทน้อยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค อักษรไทน้อยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับตัวเลขลาว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและอักษรไทน้อย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอป่าแดด

ป่าแดด (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพาน ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 52 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 333.300 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและอำเภอป่าแดด · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็น

อีเห็น หรือ กระเห็น(Palm civet.; อีสาน: เหง็น; ใต้: มูสัง) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน

องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน · ดูเพิ่มเติม »

ผลไม้

แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ผักเขียด

ต้นขาเขียด ส่วนต่าง ๆ ของต้นขาเขียด ผักเขียด มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น heartleaf false pickerelweed, oval-leafed pondweed เป็นต้น เป็นพืชชนิดหนึ่งจัดเป็นวัชพืชน้ำ พบทั่วไปในบริเวณที่มีน้ำขัง หนอง คลอง บึง ชื่อเรียกอื่น ๆ ได้แก่ ขากบขาเขียด ขาเขียด ผักเป็ด ผักเผ็ด ผักริ้น ผักหิน ผักฮิ้น ผักฮิ้นน้ำ ผักขี้เขียด กันจ้อง ผักลิ่น ผักลิ้น ริ้น ผักอีฮิน ผักอีฮินใหญ่ ในภาษาอีสาน และ ขี้ใต้ ในภาษาใต้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและผักเขียด · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง

ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง เป็นภาพยนตร์ คอมเมดี้ โรแมนติก มิวสิคคัล ภาคต่อของ“ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้” ที่จะพาให้ม่วนยกกำลังสอง ไปกับบทเพลงหมอลำ และ วิถีชีวิตไทบ้านสุดน่ารัก โดยผู้กำกับฯอุเทน ศรีริวิ และทีมงานที่เคยสร้างความประทับใจมาแล้วจาก ผู้บ่าวไทบ้าน ภาคแรก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้

ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้ หรือ ผ.ทบ เป็นภาพยนตร์แนว โรแมนติก คอมเมดี้ ผลงานการกำกับโดย อุเทน ศรีริวิ ออกฉายในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 โดยมีเนื้อหาเป็นภาษาอีสานทั้งเรื่อง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้ · ดูเพิ่มเติม »

ผีในวัฒนธรรมไทย

ลเพียงตา ซึ่งเป็นสิงสถิตย์ของผีที่คุ้มครองดูแลที่ดิน ชาวไทยเชื่อว่า ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษได้ หากเซ่นสวรวงหรือบูชาไม่ถูกต้อง เช่น ผีขุนน้ำ คือ เทพอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูง ผีขุนน้ำมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านจะอัญเชิญมาสถิตที่หอผีที่ปลูกอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านี้ ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นแม่น้ำใด ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ผีปันน้ำ (เทือกเขาผีปันน้ำ ในภาคเหนือ) หรือผีมด และ ผีเมง คือ ผีบรรพบุรุษตามความเชื่อของชาวล้านนา (คำว่า "มด" หมายถึงระวังรักษา) ส่วนผีเมงนี้เข้าใจกันว่ารับมาจากชนเผ่าเม็งหรือมอญโบราณ, ผีเจ้าที่ หรือพระภูมิเจ้าที่ คือผีที่รักษาประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้ดูแลรักษาเขตนั้น ๆ ดังนั้น คนโบราณเมื่อเดินทางและหยุดพักที่ใด มักจะบอกขออนุญาตเจ้าที่ทุกครั้ง นอกเหนือไปจากผีดังกล่าวแล้ว ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผีอีกหลายประเภท เช่น ผีกละ หรือ ผีจะกละ เป็นผีที่มักเข้าสิงผู้คนเพื่อเรียกร้องจะกินอาหาร เมื่อเข้าสิงใคร ก็จะแสดงกิริยาผิดปกติไป เมื่อคนสังเกตเห็นก็มักร้องขอกินอาหารและจะกินอย่างตะกละตะกลาม จึงเรียกผีกละตามลักษณะการกิน แต่มักเขียนเป็นผีกะ หรือผีกละยักษ์ เป็นผีที่อยู่รักษาสถานที่ต่างๆ เช่น วัดร้าง, ถ้ำ หรือที่ซึ่งมีสมบัติฝังหรือซ่อนอยู่ ผีกละยักษ์จะคอยพิทักษ์สมบัติเหล่านั้น จนกว่าเจ้าของจะรับทรัพย์สินเหล่านั้นไป ในกรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว เป็นต้น ผี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยมาแต่โบราณ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย จนเกิดเป็นข้อห้าม หรือคะลำ ในภาษาอีสานต่าง ๆ ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคไป เช่น ห้ามกินเลือด, ห้ามเลี้ยงนกฮูก, นกเค้าแมว, นกแสก, และค้างคาว, ห้ามเคาะจานข้าว, ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน หรือห้ามเผาศพในวันศุกร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและผีในวัฒนธรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมหาสารคาม

มหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและจังหวัดมหาสารคาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและจังหวัดลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุรินทร์

รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและจังหวัดสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเลย

ังหวัดเลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 540 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและจังหวัดเลย · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งหรีดทองแดงลาย

้งหรีดทองแดงลาย หรือ จิ้งหรีดขาว หรือ แมงสะดิ้ง ในภาษาอีสาน (House cricket) เป็นแมลงชนิดหนึ่ง จำพวกจิ้งหรีด (Gryllidae) เป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก มีลำตัวสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายกับจิ้งหรีดทองแดง (Gryllus testaceus) แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวเมียมีปีกคู่หน้าสั้นครึ่งลำตัว ไม่ชอบบิน เคลื่อนไหวไม่รวดเร็วเท่าจิ้งหรีดชนิดอื่น ๆ โดยทั่ว ๆ ไปลำตัวกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 2.05 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 0.53 กรัม หรือประมาณ 1,890 – 2,235 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม มีการแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตะวันตกเฉียงใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก โดยดั้งเดิมเป็นสัตว์ท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไปแพร่กระจายพันธุ์ที่ยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ด้วยการติดไปกับกระถางต้นไม้ในเรือสำเภาขนส่งสินค้า จากนั้นก็ได้แพร่ขยายพันธุ์ไปยังอเมริกาเหนือ เป็นจิ้งหรีดอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และเป็นชนิดที่มีการเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากที่สุด เพราะจิ้งหรีดทองแดงลาย เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดเล็ก ให้ไข่เยอะ จึงมีความมันกว่าจิ้งหรีดชนิดอื่นเมื่อรับประทาน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและจิ้งหรีดทองแดงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ขนมจีน (อาหารไทย)

นมจีนน้ำยา ขนมจีน เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย เส้นหมี่ รับประทานกับน้ำยา น้ำพริก เป็นต้น อาหารชนิดนี้ ภาษาเหนือเรียก "ขนมเส้น" ภาษาอีสานเรียก "ข้าวปุ้น" และภาคใต้เรียก "หนมจีน".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและขนมจีน (อาหารไทย) · ดูเพิ่มเติม »

คอแลน

อแลน ชื่ออื่นๆคือ บักแงว (ภาษาอีสาน), คอลัง (ภาษาใต้) อยู่ในวงศ์ Sapindaceae (วงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย เงาะ รวมทั้งมามอนซีโย ด้วย) เป็นไม้ยืนต้นสูง มีพูพอน ใบประกอบ ดอกออกปลายกิ่หรือตามซอกใบ กลีบดอกมี 6 กลีบหรือไม่มี ผลมีปุ่มปมหนาแน่น สีแดง เปลือกภายนอกมีลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่แต่เนื้อข้างในคล้ายเงาะมีรสเปรี้ยว รับประทานได้ เมล็ดไม่สามารถรับประทานได้เนื่องจากแข็งและมีพิษ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและคอแลน · ดูเพิ่มเติม »

คางคกบ้าน

งคกบ้าน (Asian common toad, Black-spined toad) หรือ ขี้คันคาก ในภาษาอีสานและภาษาลาว หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า คางคก เป็นสัตว์ในวงศ์คางคก (Bufonidae) ชนิดหนึ่ง จัดว่าเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ มีผิวหนังที่แห้งและมีปุ่มปมทั้งตัว ที่เป็นปุ่มพิษ โดยเฉพาะหลังลูกตา มีรูปทรงกลมคล้ายเมล็ดถั่วขนาดยาวประมาณ 25 มิลลิเมตร กว้าง 10 มิลลิเมตร แผ่นหูมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน ขนาดเล็กกว่าลูกตาเล็กน้อย มีสีผิวหนังเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาตลอดทั้งลำตัว บริเวณรอบปุ่มพิษจะมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลเหลืองอ่อน ในขณะที่ยังเป็นวัยอ่อนจะเป็นสีขาวซีดกว่า มีขนาดวัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 68-105 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในวงกว้างในทวีปเอเชีย ตั้งแต่แนวเทือกเขาหิมาลัย, อินเดีย, จีนตอนใต้, พม่า, ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และพบได้ทั่วไปในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งในเมืองใหญ่และในป่าดิบ เป็นสัตว์ที่ไม่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ จะมีฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูร้อนจนถึงปลายฤดูฝน (มีนาคม-กันยายน) เป็นสัตว์ที่กินแมลงและอาหารได้หลากหลายมาก พบชุกชุมในช่วงฤดูฝน คางคก มักเป็นสัตว์ที่มีผู้นิยมรับมารับประทานทั้ง ๆ ที่มีพิษ มักมีผู้เสียชีวิตบ่อย ๆ จากการรับประทานเข้าไป โดยเชื่อว่าเป็นยาบำรุงและรักษาโรคต่าง ๆ ได้ โดยพิษของคางคกนั้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ด้วยความร้อน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและคางคกบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบสวน

ตะพาบสวน หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย (อังกฤษ: Asiatic softshell turtle, Malayan softshell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง เป็นตะพาบชนิดที่พบได้บ่อยและทั่วไปที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, พม่า, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Amyda ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน มีลักษณะสีกระดองสีเขียว ใต้ท้องสีขาว ขนาดกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม โดยมีบันทึกว่ามีน้ำหนักสูงสุดถึง 40 กิโลกรัมที่เวียดนาม เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ประปรายทั้งกระดอง บนกระดองยังมีลายคล้ายดาว 4 - 5 แห่ง ท้องมีสีขาว มีขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม พบได้ทั่วไปในทุกภาค ในแม่น้ำลำคลองและในท้องร่องสวน ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาฝา" สถานภาพปัจจุบัน หาได้น้อยมาก ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนนิยมบริโภคมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย แต่การเลี้ยงตะพาบสวนนั้นยังให้ผลผลิตไม่ดีสู้ ตะพาบไต้หวันไม่ได้ เนื่องจากโตช้ากว่า นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามเพื่อความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในตัวที่มีจุดกระเหลืองเป็นจำนวนมาก จะถูกเรียกว่า "ตะพาบข้าวตอก" หรือ "ตะพาบดาว" ซึ่งอาจจะมีจุดเหลืองเหล่านี้จวบจนโตโดยไม่หายไป ซึ่งตะพาบที่มีลักษณะเช่นนี้ จะถูกเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx nakornsrithammarajensis (วิโรจน์, 1979) ซึ่งมีรายงานว่าพบในภาคใต้ของไทย เช่นที่ จังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตะพาบสวน · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหัวกบ

ตะพาบหัวกบ (Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์ และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตะพาบหัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบแก้มแดง

ตะพาบแก้มแดง (Malayan solf-shell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตะพาบแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

ตะกวด

ตะกวด, จะกวด หรือ จังกวด (อีสาน, ลาว, ใต้, เหนือ: แลน; เขมร: ตฺรอกวต) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก โดยโพรงจมูกของตะกวดจะอยู่ไม่ใกล้กับปลายปากเหมือนกับเหี้ย รวมถึงมีปลายปากที่มนทู่กว่า อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ ในนิทานชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นตะกวดเช่นกัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตะกวด · ดูเพิ่มเติม »

ตะขาบ

ตะขาบ (อังกฤษ: Centipedes; พายัพ: จักขาบ; อีสาน: ขี้เข็บ) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Chilopoda จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3-8 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8-10 นิ้ว) ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ และเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวดและเป็นอัมพาต เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืช ต้นหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานโดยลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร ในประเทศไทย พบทั้งหมด 48 ชนิด (ค.ศ. 2017).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลโพนโก

ตำบลโพนโก เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตำบลโพนโก · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลโนนเจริญ

ตำบลโนนเจริญ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเทศบาลตำบลโนนเจริญ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตำบลโนนเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแกบ้าน

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ Gecko ตุ๊กแกบ้าน (Tokay, Gecko, Calling gecko) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ตุ๊กแก หรือ ต๊กโต ในภาษาเหนือ หรือ กั๊บแก ในภาษาอีสาน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและตุ๊กแกบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอน

ปลาชะโอน เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก ปลาชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาสยุมพร", "ปลาเนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "ปลาเซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "ปลาโอน" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาชะโอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบัว

ปลาบัว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (L. chrysophekadion) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจะงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยอ่อนมีสีเงินวาว โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ขนาดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หากินโดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่ายที่เกาะตามโขดหินหรือลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ปลาบัวมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หว้าซวง", "สร้อยบัว" หรือ "ซวง" ในเขตแม่น้ำเพชรบุรีเรียก "งาลู".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาบัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อน

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนงูเห่า

ปลาช่อนงูเห่าในสวนสัตว์พาต้า ปลาช่อนงูเห่า หรือ ปลาช่อนดอกจันทน์ (Great snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร แต่ก็มีบางรายงานพบว่ายาวได้ถึง 183 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 30 กิโลกรัม มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า" เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ปลาช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด มีการกระจายพันธุ์ในไทย, พม่า, กัมพูชา, มาเลเซีย โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก๊วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น อนึ่ง ปลาช่อนงูเห่า ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน โดยมากจะใช้ชื่อว่า Channa marulius อันเป็นชื่อเดียวกับปลาช่อนงูเห่าอินเดีย แต่ในทัศนะของนักมีนวิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องปลาช่อน เห็นว่า ควรใช้ Channa aurolineatus (Day, 1870) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาช่อนงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบ้า

ปลาบ้า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระมังครีบสูง

ปลากระมังครีบสูง (Sicklefin barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระมังชนิดอื่น ๆ เพียงแต่ปลากระมังครีบสูง มีครีบหลังที่แหลมและยกสูงกว่า มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบเฉพาะแม่น้ำโขง ที่เดียวเท่านั้น เป็นปลาที่พบน้อย ใช้บริโภคในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกเป็นภาษาอีสานว่า "สะกางเกสูง" หรือ "สะกาง".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระมังครีบสูง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระสูบขีด

ปลากระสูบขีด หรือ ปลากระสูบขาว (Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระสูบจุด (H. dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่าปลากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน คือ สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่เต็มที่ โดยชื่อวิทยาศาสตร์ macrolepidota มีความหมายว่า "เกล็ดใหญ่" โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า μακρός (makrós) หมายถึง "ยาว" หรือ "ใหญ่" และ λεπτδωτος (lepdotos) หมายถึง "เกล็ด" โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคือ เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่าปลากระสูบจุด เป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว, ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า, ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาอีสานว่า "ปลาสูบ", "ปลาสูด", "ปลาสิก" หรือ "ปลาขม" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระสูบขีด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระสง

ปลากระสง (Blotched snakehead, Forest snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (C. striata) แต่มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า สีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้ ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วยทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ซึ่งพฤติกรรมในที่เลี้ยงดุร้ายก้าวร้าว และชอบกระโดด ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากระจน" ในภาษาอีสาน หรือ "ปลาช่อนไช" ในภาษาใต้ Musikasinthorn, P.; Taki, Y. 2001: Channa siamensis (Günther, 1861), a Junior Synonym of Channa lucius (Cuvier in Cuvier and Valenciennes, 1831).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระสง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระทิง

ปลากระทิง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus armatus อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นเชื่อมต่อกัน ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นหลายอัน ตาเล็ก ครีบอกใหญ่ หัวมีลายตั้งแต่ปลายจะงอยปากคาดมาที่ตาถึงช่องปิดเหงือก ตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง มีลายสีคล้ำเป็นวงหรือเป็นลายเส้น มีลวดลายหลากหลายแบบ ด้านท้องสีจาง ครีบคล้ำมีจุดประสีเหลืองอ่อน มีขนาดประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร ปลากระทิงอาศัยอยู่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งบริเวณที่มีกิ่งไม้หรือพืชน้ำหนาแน่น พบทุกภาคของประเทศไทยตั้งแต่แม่น้ำตอนล่างถึงบริเวณต้นน้ำลำธาร บริโภคโดยปรุงสด เช่น ย่าง, ต้มโคล้งซึ่งขึ้นชื่อมาก, ทำปลาเค็ม และยังนิยมรวบรวมเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลากระทิงมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หลาด".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระทิง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่

ปลากระดี่ (Gouramis, Gouramies; Sepat; อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichopodus (เดิมใช้ Trichogaster) ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ตะเกียบ" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามากนัก เป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่หม้อ

ปลากระดี่หม้อ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus trichopterus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ จัดเป็นปลาสกุล Trichopodus ที่พบชุกชุมที่สุด นิยมบริโภคในท้องถิ่น เช่นเดียวกับปลาสลิด (T. pectoralis) และปลากระดี่นาง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "เดิด" ภาษาเหนือเรียก "สลาก" หรือ "สลาง" ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่สามจุด" (Three spot gourami) หมายถึง จุดดำสองจุดใหญ่ตามลำตัวและนับลูกตาด้วย ชื่อที่นิยมเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามคือ "กระดี่นางฟ้า".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระดี่หม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระแห · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลาว

ปลากระเบนลาว หรือ ปลากระเบนแม่น้ำโขง (Mekong stingray, Mekong freshwater stingray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ส่วนหัวจะออกเป็นรูปทรงห้าเหลี่ยม ตาโต หางมีริ้วหนังบาง ๆ โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่เมื่อหลุดหรือหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ทดแทนได้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลนวล กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ลำตัวด้านล่างสีขาว และมีปื้นสีเหลืองอ่อนหรือส้มปน ความกว้างของลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 80 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 1.2 เมตร น้ำหนักมากที่สุดมากกว่า 10 กิโลกรัม หากินตามพื้นท้องน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน, ปลาขนาดเล็ก และสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง พบเฉพาะแม่น้ำโขงตอนกลาง ในช่วงของประเทศกัมพูชา, ลาว, ไทย และอาจพบได้จนถึงจีนตอนล่าง โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากระเบนลาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากราย

ปลากราย (Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3-20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร น้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย รวมถึงในประเทศใกล้เคียง แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเนื้อเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย เป็นส่วนที่นิยมมาปรุงอาหารโดยนำมาทอดกระเทียมหรือชุบแป้งทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทองคำขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลาหางแพน" ในภาษากลาง "ปลาตอง" ในภาษาอีสาน "ปลาตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากราย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริม

ปลากริม เป็นสกุลปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Trichopsis (/ไทร-ช็อป-ซิส/) ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลาในสกุลปลากัด (Betta spp.) แต่มีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า ส่วนหัวจะแหลมกว่า จะมีแถบลายพาดขวางในแนวนอนประมาณ 2-3 แถบที่ข้างลำตัว และมีสีสันไม่สดเท่า ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางปลายแหลมคล้ายใบโพ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-6 ก้าน และก้านครีบแขนง 19-28 ก้าน พบได้ทั่วไปในทุกแหล่งน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในนาข้าว, ท้องร่องสวน จนถึงแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดเล็ก มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีกัดกันเองบ้างในฝูง แต่ไม่ถึงขั้นกัดกันถึงตายเหมือนเช่นปลาในสกุลปลากัดบางชนิด อาทิ Betta spendens แต่มีจุดเด่น คือ สามารถส่งเสียงดัง "แตร็ก ๆ ๆ" ได้ พร้อมกับกางครีบ เมื่อต้องการขู่ผู้รุกราน ซึ่งเป็นเสียงของการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างถุงลม เป็นปลาที่จำแนกเพศได้ยากกว่าปลาในสกุลปลากัด แต่ทว่าก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ตัวเมียจะมีขนาดเล็กและครีบต่าง ๆ สั้นกว่า รวมถึงสีสันก็อ่อนกว่าตัวผู้ เมื่อผสมพันธุ์จะจับคู่กันเองในฝูง โดยที่ตัวผู้เป็นฝ่ายก่อหวอดและเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นตัว และเลี้ยงดูในระยะแรก ปัจจุบัน พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากริม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากา

ปลาการาชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากาแดง

ปลากาแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos frenatum อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลากาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลามูด

ปลามูด (Spotted algae eater) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus) อันดับปลากินพืช (Cypriniformes) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาสร้อยน้ำผึ้ง (G. aymonieri) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่สำหรับปลามูดจะมีรูปร่างที่แลดูใหญ่กว่า ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า และตัวผู้เมื่อเจริญวัยขึ้นจะมีปุ่มคล้ายเม็ดสิวขึ้นตามหน้าและริมฝีปากบนมากกว่า มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ปลามูดพบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างบริเวณที่เป็นโขดหินหรือแก่งหินหรือบริเวณที่น้ำไหลเชี่ยว โดยรวมแล้วจะพบได้ยากกว่าปลาสร้อยน้ำผึ้ง มีชื่อเรียกในภาษาอีสานท้องถิ่นว่า "ปลาเกาะ" หรือ "ปลามันมูด" หรือ "ปลาข่วยข้า" และมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาน้ำผึ้งป่า" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลามูด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาม้า

ปลาม้า (Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis (/บี-ซี-มา-เนีย/ ไม-โคร-เล็พ-อิส/) ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae) มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวค่อนข้างเล็ก หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania มีความประมาณ 25–30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร อาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย ชื่อปลาม้ามาจากการที่มีครีบหลังยาวเหมือนแผงคอของม้า ขณะที่ชื่อในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลากวง" พฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่งใต้พื้นน้ำ เมื่อว่ายน้ำจะเชื่องช้า แต่จะรวดเร็วมากเวลาไล่จับเหยื่อ ในธรรมชาติชอบอาศัยในเขตน้ำลึก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ปลาม้าเป็นปลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงมีอำเภอชื่อ อำเภอบางปลาม้า เพราะความที่ในอดีตเคยชุกชุม เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมมาก มีราคาขายที่สูง และเคยพบมากในบึงบอระเพ็ด แต่สถานภาพในปัจจุบันลดลงมาก อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการจับในปริมาณที่มาก ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ด้วยการฟักไข่ที่ได้จากพ่อแม่ปลาที่เลี้ยงรวมกันในบ่อเลี้ยง และนำลูกปลาที่ได้หลังจากเลี้ยงดูจนโตได้ที่แล้วไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เขื่อนกระเสียว ปลาม้ามีฤดูผสมพันธุ์ตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวในช่วงต้นปี สามารถส่งเสียงร้องได้ดังระงมเหมือนอึ่งอ่าง เพื่อดึงดูดปลาตัวเมียให้มาผสมพันธุ์ มักจะร้องในช่วงกลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ กระเพาะของปลาม้า ขึ้นชื่อมากในการทำกระเพาะปลา เพราะมีกระเพาะขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถพองลมทำให้เกิดเสียงได้ นอกจากนี้แล้วกระเพาะปลาม้ายังใช้ทำเป็นยางในของรถจักรยานและทำกาวในอดีตอีกด้วย แต่ปลาม้าเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อจับพ้นจากน้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาม้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลายี่สก

ปลายี่สก หรือ ปลายี่สกทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลายี่สก · ดูเพิ่มเติม »

ปลารากกล้วย

ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย (horseface loach) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsis ของวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae)ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลารากกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาร้า

องปลาร้าขณะหมัก ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด (Freshwater sole, River sole) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachirus panoides มีรูปร่างเรียวเป็นรูปไข่ ตาเล็กอยู่ห่างกัน ปากเล็กมีรูจมูกเห็นเป็นท่อชัดเจน ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก มีเส้นข้างลำตัวตรงตลอดแนวลำตัว และมีแขนงสีล้ำตัดเป็นแนวดิ่ง 6-7 เส้น ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มใหญ่สีคล้ำหลายแต้มตามบริเวณใกล้กับครีบหลังและครีบก้น ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว ขนาดลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร อาศัยอยู่บริเวณพื้นน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นดินและพลิ้วตัวขึ้นมาแนวขึ้นลง สามารถมุดลงใต้ทรายได้เร็วเวลาตกใจ โดยปกติมักจะไม่เคลื่อนไหว อาหารได้แก่สัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือนน้ำ, ลูกกุ้ง เป็นต้น ปลาลิ้นหมาน้ำจืดเป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่ค่อยลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้น คนสมัยก่อนหากเห็นปลาลิ้นหมาลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ จะเก็บน้ำใส่ตุ่ม เพราะเป็นสัญญาณบ่งชี้แล้วว่าน้ำจะเสีย ปลาลิ้นหมาน้ำจืดพบในแม่น้ำตอนล่างใกล้กับปากแม่น้ำของทุกภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ไม่พบในแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาแห้ง อีกทั้งเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย แต่ปัจจุบันหาได้ยากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทได้ทำการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้อยู่ ซึ่งปลาลิ้นหมาน้ำจืดมีชื่อเรียกที่แตกต่างและซ้ำซ้อนกันไปเช่น "ใบไม้", "ลิ้นควาย" หรือ "เป" ในภาษาอีสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาลิ้นหมาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลามะลิเลื้อยสำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสร้อยลูกกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยขาว

ปลาสร้อยขาว (Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาส้อยหัวกลม" ในภาษาอีสาน, หรือ "ปลากระบอก" ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสร้อยขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวายหนู

ปลาสวายหนู เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicophagus waandersii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวหลิม ตาเล็ก ขอบตามีแผ่นหนังคลุม จะงอยปากเรียว ปากเล็กกว่าปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ริมฝีปากบางมีแผ่นหนังนิ่มหุ้ม รูจมูกอยู่ห่างกัน หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก รูปร่างเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ครีบก้นยาว ครีบไขมันยาว ลำตัวสีเทาอ่อนหรืออมฟ้า ด้านข้างลำตัวสีจางไม่มีแถบสี หัวและท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ปลาวัยอ่อนมีสีเทาอมชมพู มีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร อาหารกินแต่เฉพาะหอยขนาดเล็ก ทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ โดยมักหากินใกล้พื้นท้องน้ำ มักกินจุจนท้องป่อง แล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและเจ้าพระยา ไม่พบในภาคใต้ของไทย แต่มีในมาเลเชียจนถึงเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเชีย ในประเทศไทยบริโภคโดยการปรุงสุดและหมักสับปะรด (เค็มบักนัด) ปลาสวายหนู มีชื่อที่เรียกในภาษาถิ่นอีสานว่า "ยอนหนู" และ "หน้าหนู" ปัจจุบัน กรมประมงได้มีการศึกษาเอนไซน์ในระบบการย่อยอาหารของปลาสวายหนู เพื่อนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสวายหนู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะตือ

ำหรับ "สะตือ" ในความหมายอื่น ดูที่ สะตือ ปลาสะตือ (Giant featherback) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis (/ไค-ตา-ลา-โล-ปิส/) อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 1.5 เมตร นับเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้เป็นอันดับสองรองจากปลากรายอินเดีย (C. chitala) โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ กรุงจาการ์ตา บนเกาะชวา ในอินโดนีเซีย และชื่อวิทยาศาสตร์ lopis เป็นชื่อสามัญที่เรียกกันในท้องถิ่นของเมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย นับเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา และแม่น้ำตาปี ในต่างประเทศพบที่พม่า, มาเลเซีย และบนเกาะบอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ปลาตองแหล่" ในภาษาอีสาน "ปลาสือ" ในภาษาใต้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ปลาตือ" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสะตือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะนาก

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาซิวอ้าว หรือปลาน้ำหมึก ปลาสะนาก (Burmese trout, Giant barilius) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสะนาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวาด

ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่ และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย" ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่" ปลาสวาย (''P. hypophthalmus'') เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเพื่อการบริโภค และเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสังกะวาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวาดท้องคม

ปลาสังกะวาดท้องคม เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudolais pleurotaenia อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะ หัวสั้น ตาโต ปากแคบ หนวดสั้น ลำตัวแบนข้างกว่าชนิดอื่น ๆ ท้องเป็นสันคมตลอด ปลาตัวผู้มักมีรูปร่างเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบท้องเล็กอยู่สูงกว่าระดับสันท้อง ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าเป็นแฉก ตัวด้านบนสีคล้ำเหลือบเขียวหรือเหลือง ข้างลำตัวสีจางมีแถบสีคล้ำตามยาวตั้งแต่บริเวณโคนครีบอก ท้องสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนขอบคล้ำ มีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร จัดว่าเป็นปลาขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ กินแมลงเป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืช ผลไม้ และพืชน้ำในบางครั้ง พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง พบน้อยในแม่น้ำตาปี เป็นปลาที่พบชุกชุม จึงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอีสาน นิยมบริโภคเป็นปลาแห้งและปรุงสด มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า "ปลายอนปีก" หรือ "ปลายอนหลังเขียว".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาสังกะวาดท้องคม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami" ปลาหมอกำลังแถกเหงือกบนบก ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาหมอไทย", "ปลาเข็ง" หรือ "ปลาสะเด็ด" ในภาษาอีสาน เป็นต้น ในขณะที่ภาษายาวีเรียกว่า "อีแกปูยู".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมูขาว

ปลาหมูขาว (Yellow tailed botia, Orange-finned loach, Blue botia, Redtail botia) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Yasuhikotakia modesta อยู่ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) เป็นปลาที่นับว่ามีขนาดใหญ่ มีลำตัวป้อมสั้น หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม และมีหนวดเป็นกระจุก ตามีขนาดเล็ก มีเงี่ยงแหลมปลายแยกเป็นสองแฉกอยู่หน้าตา เมื่อกางออกจะตั้งฉากกับแก้ม ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีก้านครีบแขนงประมาณ 7-9 ก้าน ครีบก้นอยู่ใกล้กับส่วนหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายแยกเป็นสองแฉก ครีบอกและครีบก้นอยู่บริเวณแนวสันท้อง สีพื้นลำตัวเป็นสีเทาอมเหลือง หลังมีสีเทาปนเขียว ครีบหางเป็นสีแดง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองจาง ๆ โคนครีบหางมีสีดำจาง ๆ แต่ถ้าเป็นปลาวัยอ่อน บนลำตัวเหนือครีบอกและครีบท้องมีลายสีเขียวอยู่หลายสาย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพื่อใช้เก็บกินเศษอาหารที่หลงเหลือในตู้ โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หมูมัน".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาหมูขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหว้าหน้านอ

ปลาหว้าหน้านอ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bangana behri จัดเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะเด่นคือ ปลาโตเต็มวัยแล้ว โดยเฉพาะตัวผู้ ส่วนหัวจะมีโหนกและตุ่มเม็ดคล้ายสิวเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาวัยอ่อน โคนหางจะมีจุดสีดำเห็นได้ชัด เมื่อโตขึ้นจะจางหาย ริมฝีปากหนา หากินบริเวณพื้นน้ำและแก่งหินที่น้ำไหลเชี่ยว โดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย บริเวณที่ปลาหากินจะเห็นเป็นรอยทางยาว โตเต็มที่ได้กว่า 60 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง, แม่น้ำสาละวิน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลางา" และภาษาอีสานเรียกว่า "หว้าซวง" ปัจจุบัน พบหาได้ยากในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมปรุงสด และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งค่อนข้างหายาก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาหว้าหน้านอ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดังแดง

ปลาดังแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemisilurus mekongensis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากสั้นและงุ้มเล็กน้อย ปากเล็ก ขากรรไกรมีหนังนิ่ม ๆ หุ้ม มีหนวดหนึ่งคู่ ตาเล็ก ครีบหลังเล็กมากเป็นเพียงเส้นสั้น ๆ ครีบท้องเล็ก ครีบหางเว้าลึกแฉกมนป้าน ตัวผู้มีหนวดเรียวสั้น ตัวเมียมีหนวดเส้นใหญ่ปลายแบนและยาวถึงบริเวณหลัง สีลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้า หนังบางค่อนข้างใส ครีบสีจางขอบครีบหางสีคล้ำ ส่วนหัวมีสีแดงเรื่อโดยเฉพาะบริเวณจะงอยปาก จึงเป็นที่มาของชื่อ (ดัง เป็นภาษาอีสานแปลว่า จมูก) มีขนาดประมาณ 30–40 เซนติเมตร อาหารได้แก่ หอย, ไส้เดือนน้ำ, กุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมขณะว่ายน้ำจะยื่นหนวดและกระดิกถี่ ๆ เพื่อเป็นการสัมผัส พบเฉพาะแม่น้ำโขงเท่านั้น ถูกจับขึ้นมาขายครั้งละมาก ๆ ในบางฤดูกาลของจังหวัดริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี เนื้อมีรสชาติดี มักบริโภคโดยการปรุงสด ปลาดังแดง มีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "เจ๊ก".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาดังแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุมชี

ปลาดุมชี ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus oxyrhynchus อยู่ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงทั่วไป แต่มีส่วนหน้ายื่นยาวกว่า ปากกว้างสามารถยืดออกไปได้มาก ลำตัวมีลายสีด่างคล้ำ เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม มีลายพาดสีดำที่ลูกตาไปจนถึงโคนครีบหลัง กลางหัวมีแถบสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นใสและมีจุดสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1996 มักอาศัยอยู่นิ่ง ๆ ตามใบไม้ใต้น้ำหรือกองหินเพื่อดักล่าเหยื่อที่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลาขนาดเล็ก และแมลง พบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำหนาแน่นในภาคกลางและภาคอีสานของประเทศ เป็นปลาที่มักตายอยู่บ่อย ๆ เมื่อจับขึ้นมาพ้นน้ำ หรือขี้ตื่นตกใจ จึงได้ชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาเสียจิต" หรือ "ปลาบ่มีจิต" ที่นครสวรรค์นิยมเรียกว่า "ปลาเสือปรือ" หรือ "ปลาเสือดำ" นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาเสือลายเมฆ".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาดุมชี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคางเบือน

ปลาคางเบือน (Twisted-jaw catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะส่วนหัวแบนข้างมากเช่นเดียวกับลำตัว รูปร่างเพรียวยาว ด้านท้ายเล็กหัวและจะงอยปากงอนขึ้นด้านบน ปากกว้างมาก คางเชิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า "คางเบือน" มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบก้นและครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวินและภาคตะวันออก ในธรรมชาติมักอยู่ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลเวียนดี โดยหันหน้าทวนกระแสน้ำเพื่อดักจับกินลูกปลาขนาดเล็ก ๆ ที่รวมฝูงกันตามตอม่อสะพาน หรือบริเวณประตูน้ำหน้าเขื่อน เนื้อมีรสชาติดีและราคาแพง สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดกระเทียม ต้มยำ และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยปลาที่เลี้ยงกันจะเป็นปลาที่จับได้จากธรรมชาติ มักจะมีขายกันในช่วงปลายฤดูฝน ปลาคางเบือนยังมีชื่อเรียกในภาษาอีสานอีกว่า "เบี้ยว", "ขบ", "ปากวิบ" หรือ "แก็ก" เป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีชื่อถูกกล่าวถึงกาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ที่ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาคางเบือน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้าวดำ

ปลาค้าวดำ หรือ ปลาเค้าดำ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จัดเป็นปลาที่อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ปลาค้าวดำมีรูปร่างลำตัวยาวแต่ค่อนข้างป้อม ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก พื้นลำตัวสีเทาถึงดำสนิท ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ส่วนท้องป่องออก ส่วนหลังยกสูงขึ้นกว่าปลาค้าวขาว (Wallago attu) ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่จัดอยู่ในคนละสกุล มีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม โดยอาจยาวได้ถึงกว่า 2 เมตร น้ำหนัก 80 กิโลกรัม สถิติที่ใหญ่ที่สุดพบที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ พฤติกรรมตามปกติ มักจะซุกตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ เป็นปลาที่สายตาไม่ดี จึงใช้หนวดในการนำทางและหาอาหาร พบตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั้งภาคกลางและภาคอีสานรวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา, แม่น้ำโขงและสาขา, แม่น้ำตาปีรวมทั้งที่ทะเลสาบสงขลาด้วย เป็นต้น ปลาค้าวดำ มีสถานภาพในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2534 โดยได้มีการปล่อยลูกปลาที่เพาะได้กลับคืนถิ่นธรรมชาติ ปลาค้าวดำเป็นปลาไทยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว หวงถิ่นที่อยู่อาศัยมาก กินปลาขนาดเล็กตัวอื่นเป็นอาหาร จึงมักเลี้ยงตัวเดียวเดี่ยว ๆ นอกจากนี้แล้ว ปลาค้าวดำเป็นปลาที่สามารถฮุบกลืนกินเหยื่อหรืออาหารขนาดใหญ่ได้ โดยในอดีตที่บ้านปากกิเลน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เคยมีเหตุการณ์ปลาค้าวดำกินคนมาแล้ว โดยเกิดเหตุที่โป๊ะท่าน้ำ เมื่อทารกคนหนึ่งอุจจาระเลอะเปรอะเปื้อนทั้งตัว ผู้เป็นแม่จึงนำไปแกว่งล้างในแม่น้ำ ทันใดนั้นก็ได้มีปลาค้าวดำตัวใหญ่โผล่ขึ้นมาจากน้ำฮุบกินเด็กเข้าไปทั้งตัว เหตุการณ์นี้เป็นที่แตกตื่นตกใจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น นอกจากนี้แล้ว ปลาค้าวดำมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาอีทุก" หรือ "ปลาทุก" ในภาษาอีสาน โดยเรียกตามสีลำตัวที่มีสีดำสนิทเหมือนกับคนสวมชุดไว้ทุก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาค้าวดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพาก

ปลาตะพาก เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Hypsibarbus (/ฮีป-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลางในวงศ์นี้ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 11 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ "ปลากระพาก" (ประพาสไทรโยค), "ปลาปากหนวด", "ปลาปีก" (ภาษาอีสาน), "ปลาปากคำ" หรือ "ปลาสะป๊าก" (ภาษาเหนือ) เป็นต้น โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsibarbus มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "ὕψι" (ฮิปซี) และ barbus (บาร์บัส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน โดยมีความหมายถึง สันฐานที่มีความแบนข้าง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาตะพาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพากเหลือง

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (Golden-bellied barb) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาตะพากชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาตะพากชนิดที่พบได้หลากหลายและเป็นที่รู้จักกันดีที.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาตะพากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะกาก

ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุล Cyclocheilichthys หรือ ปลาตะโกก คือ ลำตัวเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นชายครุยรอบ ๆ ครีบหลังยกสูงมาก โดยจะสูงมากกว่าปลาตะโกก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม กินอาหารได้แก่ แมลง, พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก (C. enoplus) เพราะเนื้อแข็งกว่า พบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า "กระมังครีบสูง " และมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปากบาน" หรือ "โจกเขียว".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาตะกาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะโกก

ปลาตะโกก (Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาตะโกก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนทราย

ปลาตะเพียนทราย หรือ ปลาขาวนา ในภาษาอีสาน (Swamp barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวป้อมกว่า หัวมีขนาดเล็ก ปากเล็ก มีหนวด 1 คู่ ลำตัวสีเงินเทา ครีบหลังมีประสีคล้ำ ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ในฤดูผสมพันธุ์แก้มจะมีแต้มสีส้มอ่อน มีขนาดความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมฝูงกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพืชน้ำ จัดเป็นปลาที่พบชุกชุมตามหนองบึง, ทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ, ลำห้วย และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย จนถึงเกาะชวา ในอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาตะเพียนทราย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตามิน

ปลาตามิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys truncatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวแบนข้าง แต่ส่วนหัวและจะงอยบปากสั้นทู่ หน้าหนัก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด ตามีขนาดใหญ่มีเยื่อไขมันใสคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อ ครีบหลังสูง มีก้านแข็งที่ขอบหยัก ครีบหางเว้า เกล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ครีบอกสั้น ตัวมีสีเงินวาวตลอดทั้งตัว ไม่มีจุดหรือสีอื่นใด ๆ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อนใส มีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 40 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่ แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลาที่กินพืช และแมลง รวมถึงสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอย เป็นต้น โดยมีพฤติกรรมหากินตามพื้นท้องน้ำ เป็นปลาที่มักถูกจับได้ครั้งละมาก ๆ มีราคาขายปานกลาง นิยมบริโภคโดยปรุงสดและทำปลาร้า อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ปลาตามิน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาตาโป" ในภาษาอีสาน "ปลาตาเหลือก" หรือ "ปลาหนามหลัง" เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาตามิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปล้องอ้อย

ปลาในทวีปอเมริกาใต้ ดูที่: ปลาปล้องอ้อย ปลาปล้องอ้อย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pangio (/แพน-กิ-โอ/) มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ต่ำ ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ลำตัวมีสีต่าง ๆ ต่างออกไปตามแต่ละชนิด ตั้วแต่ มีลำตัวสีเหลืองทองมีแถบสีดำ ในชนิด P. anguillaris, สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว ในชนิด P. oblonga และเป็นสีดำสลับกับสีเหลืองเป็นปล้อง ๆ ในชนิด P. kuhlii และ P. myersi มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูงในลำธารน้ำตกหรือป่าพรุ หรือแม้แต่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ มีการเคลื่อนไหวที่แลดูคล้ายการเลื้อยของงู ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวก แมลงน้ำหรือแพลงก์ตอนสัตว์น้ำ จึงทำให้ได้อีกชื่อว่า "ปลางู" ซึ่งในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาอาด" พบกระจายพันธุ์อินเดียจนถึงพม่า, ภูมิภาคอินโดจีน จนถึงหมู่เกาะซุนดา มีความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในชนิด P. kuhlii และ P. myersi และใช้บริโภคในชนิด P. anguillaris ค้นพบครั้งแรกบริเวณลุ่มน้ำทางใต้ของประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ในขั้นแรกพบ 10 ชน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาปล้องอ้อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์น้ำจืด

ปลานวลจันทร์น้ำจืด หรือ ปลานวลจันทร์ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มน้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ ปัจจุบันเป็นปลาที่หายาก เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "ปลาพอน" และ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลานวลจันทร์น้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำฝายหลังดำ

ปลาน้ำฝายหลังดำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sikukia stejnegeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบได้ไม่บ่อยนัก มีลำตัวแบนข้าง ท่อนหางยาว นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันบาง ๆ เหมือนวุ้นหุ้มอยู่รอบตา ไม่มีหนวด ครีบมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีสีขาวเงิน ครีบหลังมีแถบสีดำที่โคนและปลายครีบ ขอบบนและล่างครีบหางมีลายสีดำ และที่ฐานครีบมีลายสีดำจาง ๆ ครีบอื่นสีจางใส มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ทั้ง แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่ถูกค้นพบและอนุกรมวิธานเป็นครั้งแรก โดย ดร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาน้ำฝายหลังดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแกง

ปลาแกง (Chinese mud carp fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์น้ำจืด (C. microlepis) และปลานวลจันทร์เทศ (C. cirrhosus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีส่วนท้องที่ป่องออก เกล็ดเล็กละเอียดมีสีเงินอมเทา ตาเล็ก ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ปากเล็กหนาอยู่สุดปลายสุดของส่วนหัว ครีบหางเว้าลึก มีจุดกลมสีดำที่โคนครีบหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 55 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศจีนจนถึงไต้หวัน และเวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและประเทศไทย พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และบางส่วนของภาคใต้ หากินโดยและเล็มตะไคร่น้ำและอินทรีย์สารตามพื้นท้องน้ำ โดยที่ปลาชนิดนี้นิยมรับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจด้วยการรับประทานด้วยการปรุงสด เนื่องจากเนื้อมีรสชาติดี ในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ปลาพอนดำ" และในภาษาเหนือจะเรียกว่า "ปลาลูกแกง" ส่วนในภาษาจีนเรียกว่า "ลิ่นฮื้อ" หรีอ "ตูลิ่นฮื้อ" (鲮).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาแกง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแก้มช้ำ

ปลาแก้มช้ำ (Red cheek barb, Javaen barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ แต่มีรูปร่างป้อมกลมกว่า ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้น ๆ และเล็กจำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน ฝาปิดเหงือกมีสีแดงหรือสีส้มเหมือนรอยช้ำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีสีแถบดำ ครีบทั้งหมดมีสีแดง ครีบหางจะมีสีแถบดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของไทย โดยอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และบางครั้งอาจปะปนกับปลาตะเพียนชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนเงิน (Barbonymus gonionotus), ปลาตะเพียนทอง (B. altus) หรือ ปลากระแห (B. schwanenfeldii) เป็นต้น มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ภาษาใต้เรียก "ปลาลาบก", ภาษาเหนือเรียก "ปลาปกส้ม", ภาษาอีสานเรียก "ปลาสมอมุก" หรือ "ปลาขาวสมอมุก" เป็นต้น เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาที่ถูกเลี้ยงในตู้กระจกสีสันจะสวยกว่าปลาที่อยู่ในธรรมชาต.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาแก้มช้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M. 1971: Further studies on the systematics of Cultrinae with reidentification of 44 type specimens (Pisces, Cyprinidae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบสยาม

ปลาแปบสยาม หรือ ปลาแปบบาง (Siamese glass fish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาแปบชนิดหนึ่ง มีครีบหลังอยู่หลังครีบก้นเล็กน้อย เส้นข้างลำตัวยาวถึงฐานด้านหลังของครีบก้นเท่านั้น ครีบอกยาวแต่เลยครีบท้อง สีลำตัวเป็นสีขาวเงินสะท้อนแสง ด้านหลังสีเหลืองจาง ๆ ครีบหางมีลักษณะเป็นสีเขม่าจาง ๆ ครีบอิ่นใสไม่มีสี มีความยาวเฉลี่ย 8-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพย้ายถิ่นในฤดูน้ำหลากเพิ่อเข้าสู่แหล่งน้ำท่วม กินแมลงและแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงบึงบอระเพ็ด และป่าพรุโต๊ะแดง ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสด้วย เหตุที่ได้ชื่อว่า siamensis อันหมายถึง "อาศัยอยู่ที่ประเทศสยาม" เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สยามได้ส่งตัวอย่างปลาจำนวน 3 ตัวอย่างที่จับได้จากแม่น้ำบางปะกง ไปพิพิธภัณฑ์อังกฤษ เพื่อทำการอนุกรมวิธาน ในภาคอีสานมีชื่อเรียกว่า "ปลาแตบเกล็ดบาง".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาแปบสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบควาย

ปลาแปบควาย เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกปลาแปบ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cultrinae ใช้ชื่อสกุลว่า Paralaubuca (/พา-รา-ลอ-บู-คา/) มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50–85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 หรือ 4 ชน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาแปบควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบไม้

ำหรับปลาใบไม้ชนิดอื่น ดูที่: ปลาใบไม้ ปลาใบไม้ (Harmand's sole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมาน้ำจืด (B. panoides) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เพียงแต่ปลาใบไม้มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ตาอยู่ชิดกัน ปากเล็กและเบี้ยว ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว มีแต้มจุดสีคล้ำตลอดแนวครีบ ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว เกล็ดเป็นแบบสาก ขนาดลำตัวประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมคล้ายกับปลาลิ้นหมาน้ำจืด พบในถิ่นที่อยู่เดียวกัน เพียงแต่ใบไม้จะพบในภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขงด้วย ใช้บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาตากแห้ง มีราคาค่อนข้างสูง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เป".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไส้ตันตาแดง

ปลาไส้ตันตาแดง (Beardless Barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาไส้ตันตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่

ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ (Smallscale archerfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีลักษณะลำตัวแบนลึกข้างค่อนข้างมาก ตากลมโต ขอบหลังไล่ตั้งแต่ช่วงครีบไปจนถึงหางมีลักษณะเกือบเป็นเส้นตรง ปากมีขนาดใหญ่และมีลักษณะเฉียงลงลึก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายลำตัว พื้นลำตัวทางตอนบนสีเหลือง ช่วงท้องสีขาว ข้างลำตัวจะมีจุดสีดำแต้มอยู่ประมาณ 4-5 แต้ม เกล็ดเป็นแบบสาก โดยปลาใช้กลุ่มนี้มีความสามารถพิเศษ คือ สามารถพ่นน้ำขึ้นไปในอากาศได้สูงถึง 1 เมตร เพื่อล่าเหยื่อ อันได้แก่ แมลงต่าง ๆ ที่อยู่เหนือผิวน้ำ หรือกระโดดตัวขึ้นงับเหยื่อในบางที ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่มีขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 15 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศ ไปจนถึงออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่เป็นฝูง ๆ ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ หรือ ปากแม่น้ำ ในประเทศไทยพบตั้งแต่ภาคกลางและภาคอีสาน ไม่พบในภาคใต้ วางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อนในน้ำกร่อย โดยปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่เป็นปลาที่พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ ไม่นิยมบริโภค ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่า ซึ่งปลาที่นิยมจับมาเป็นปลาสวยงามนั้นมักจับมาจากบึงบอระเพ็ดหรือสถานที่ใกล้เคียงในจังหวัดนครสวรรค์ จึงมีชื่อเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาเสือพ่นน้ำนครสวรรค์" หรือ "ปลาเสือพ่นน้ำเหลือง" ทั้งนี้ปลาเสือพ่นน้ำชนิดนี้จะมีสีเหลืองตามลำตัวสดและเห็นได้ชัดเจนกว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หม่อง".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือตอลายใหญ่

ปลาเสือตอลายใหญ่ (Siamese tigerfish, Finescale tigerfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides pulcher เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาเสือตอลายใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือตอลายเล็ก

ปลาเสือตอลายเล็ก (Northeastern siamese tigerfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides undecimradiatus อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาเสือตอลายเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทพา

ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม (Chao Phraya giant catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาชนิดนี้ตั้งโดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว.สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาเทพา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเป้า

ปลาเป้า (ປາເປົ້າ) เป็นสกุลของปลาปักเป้าสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pao (/เป้า/) ซึ่งหมายถึง "ถุง" หรือ "กระเป๋า" ในภาษาไทยหรือภาษาลาว โดยทั่วไปแล้วหมายถึง "ปลาปักเป้า" ทั้งในภาษาไทยและภาษาลาว ("เป้า" เป็นคำที่ใช้เรียก ปลาปักเป้าในภาษาอีสาน) โดยปลาปักเป้าในสกุลนี้ เป็นปลาปักเป้าขนาดเล็กอาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยในบางชนิด พบมากในแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทยและลาว ในช่วงฤดูวางไข่ ปลาจะดุร้ายก้าวร้าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหวงแหนไข่ จะกัดหรือทำร้ายผู้ที่บุกรุกถิ่นที่อยู่หรือถิ่นวางไข่ ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ โดยปลาขนาด 20 เซนติเมตร จะกัดด้วยฟันอันแหลมคมเป็นแผลกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปลาเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ปอบ

ปอบ เป็นผีจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในความเชื่อพื้นบ้านของไทย โดยเฉพาะในภาคอีสาน โดยเชื่อกันว่าเป็นผีที่กินของดิบ ๆ สด ๆ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม โดยมีความเชื่อว่า ผู้ที่จะกลายเป็นปอบนั้น มักจะเป็นผู้เล่นคาถาอาคม หรือคุณไสย พอรักษาคาถาอาคมที่มีอยู่กับตัวไม่ได้ หรือกระทำผิดข้อห้าม ซึ่งในภาษาอีสานจะเรียกว่า "คะลำ" ซึ่งผู้ที่เป็นปอบจะเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ปอบ เป็นผีที่ไม่มีตัวตนเหมือนกระสือหรือกองกอย แต่ปอบคือจิตวิญญาณมิจฉาทิฏฐิ จะเข้าแฝงร่างสิงสู่คนที่เป็นสื่อให้ และใช้ร่างหรือรูปลักษณ์ของคนๆนั้น ไปกระทำการไม่ดีต่างๆ และเชื่อด้วยว่า หากวิญญาณปอบเข้าสิงสู่ผู้ใด จะกินตับไตไส้พุงของผู้ที่โดนสิงจนกระทั่งตาย ผู้ที่โดนกินจะนอนตายเหมือนกับนอนหลับธรรมดา ๆ ไม่มีบาดแผล ซึ่งเรียกกันว่า "ใหลตาย" ในทางมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องปอบนั้นเป็นกลไกการสร้างความเชื่อของคนในชุมชน เนื่องจากไม่วางใจบุคคลแปลกหน้าหรือแม้แต่กระทั่งคนในชุมชนเดียวกันเอง ที่มีพฤติกรรมแปลกออกไป ซึ่งในสมัยโบราณ บุคคลที่โดนกล่าวหาว่าเป็นปอบ จะถึงกับถูกขับไล่ให้ออกชุมชนเลยทีเดียว ปอบ เป็นผีที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในสังคมไทย มีการนำไปอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการ อาทิ ภาพยนตร์ชุด บ้านผีปอบ เป็นต้น ตามตำนานของทางพระพุทธศาสนาเล่าว่า ผีปอบ คือ ผีสายยักษ์ อยู่ในสายการปกครอง ของท้าวเวสสุวัณ ที่เข้าสิงร่างมนุษย์ ก็เพื่ออาศัยร่างมนุษย์กินอาหาร โดยเฉพาะอาหารสดคาว หรือ สัตว์เป็นๆ เช่น ไปหักคอเป็ด ไก่ ในเล้ากิน หรืออาศัยร่าง เหมือนเป็นร่างทรง จะเข้าสิงร่างมนุษย์ที่มีวิบากกรรมทางนี้ คือ อดีตเคยนับถือผีเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกยามมีทุกข์ จนเป็นประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา มีจิตผูกพันกับผี และกรรมทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เซ่นไหว้ผี บางทีก็ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น เป็ด ไก่ บางทีก็ฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปอบ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา เรณู

ปัญญา เรณู เป็นภาพยนตร์ไทย เริ่มออกฉายวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 กำกับภาพยนตร์ เขียนบท และบริหารงานสร้างโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เป็นภาพยนตร์สะท้อนกลิ่นอายวัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอีสาน และเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ภาษาอีสานเป็นหลักด้วย ภาพยนตร์ทำรายได้ 12.82 ล้านบาท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปัญญา เรณู · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา เรณู 2

ปัญญา เรณู 2 เป็นภาพยนตร์ไทย เริ่มออกฉายวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 กำกับภาพยนตร์ เขียนบท และบริหารงานสร้างโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจากเรื่อง ปัญญา เรณู เป็นผลงานกำกับเรื่องที่ 6 ของบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ โดยผลงานก่อนหน้านี้ได้แก่ ปัญญา เรณู (2554), เดอะโกร๋น ก๊วน กวน ผี (2547), ช้างเพื่อนแก้ว (2546), ตำนานกระสือ (2545), มนต์รักเพลงลูกทุ่ง (2538) ในภาค 2 นี้ ผู้กำกับยังคงคิดเรื่อง, เขียนบท, กำกับการแสดงเองทั้งหมดเหมือนเคย โดยเรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นประสบการณ์ในวัยเด็กของตนแทบทั้งสิ้น ปัญญา เรณู ทั้งสองภาค เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีซับไตเติ้ลภาษาไทยด้วย เพราะหนังพูดภาษาอีสานเกือบทั้งเรื่อง ในภาคนี้ถ่ายทำกันที่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กันแทบทั้งเรื่อง ผู้กำกับฯ ยังคงสอดแทรกวัฒนธรรมอีสานที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายผ่านฉากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฉากเลี้ยงควาย, ฉากแข่งจับปลาไหล, ฉากลงแขกเกี่ยวข้าว, ฉากตลาดควาย, ฉากร้องเพลง-ซ้อมเต้นกลางทุ่งนา, ฉากหนังกลางแปลง ฯลฯ ภาพยนตร์ทำรายได้ 19 ล้านบาท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปัญญา เรณู 2 · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา เรณู 3 รูปูรูปี

ปัญญา เรณู 3 รูปูรูปี เป็นภาพยนตร์ไทย เริ่มออกฉายวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 กำกับภาพยนตร์ เขียนบท และบริหารงานสร้างโดย บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจากเรื่องปัญญา เรณู 2 เป็นผลงานกำกับเรื่องที่ 7 ของบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ โดยผลงานก่อนหน้านี้ได้แก่ ปัญญา เรณู 2 (2555), ปัญญา เรณู (2554), เดอะโกร๋น ก๊วน กวน ผี (2547), ช้างเพื่อนแก้ว (2546), ตำนานกระสือ (2545), มนต์รักเพลงลูกทุ่ง (2538).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและปัญญา เรณู 3 รูปูรูปี · ดูเพิ่มเติม »

นายหนหวย

นายหนหวย เป็นนามปากกาของ ศิลปชัย ชาญเฉลิม นักเขียนสารคดีแนวการเมืองและประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง นายหนหวย เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและนายหนหวย · ดูเพิ่มเติม »

แฟกทอรีที่รัก

แฟกทอรีที่รัก เป็นละครซิตคอม ซึ่งผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บั้งไฟ สตูดิโอ จำกัด ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันเสาร์ เวลา 14.00 น. - 14.30 น. เริ่มครั้งแรกวันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552 และอวสานวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งเป็น 2 ตอนควบ (ตอนละ 30 นาที) เริ่มครั้งแรกวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแฟกทอรีที่รัก · ดูเพิ่มเติม »

แมลงกระชอน

แมลงกระชอน (มักออกเสียงหรือสะกดเป็น "แมงกะชอน"; Mole crickets; ไทยถิ่นเหนือ: แมงจอน; ไทยถิ่นอีสาน: แมงจีซอน, แมงอีซอน, แมงกีซอน; เขมร: กระมล) เป็นแมลงจำพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllotalpidae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งหรีด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า พบในเขตเกษตรกรรมในประเทศไทยเพียงชนิดเดียวคือ Gryllotalpa orientalis ตัวยาวประมาณ 3 เซนติเมตร อกกว้าง 0.8 เซนติเมตร สีน้ำตาล ปีกบางใส บินได้ในระยะใกล้ ๆ เพียง 1–2 เมตร ขาคู่หน้าใช้ขุดดิน ปล้องสั้น ปล้องที่ 4 แบนคล้ายอุ้งมือ ส่วนขาคู่อื่น ๆ ใช้ในการวิ่ง กระโดดเหมือนแมลงทั่วไป ว่ายบนผิวน้ำและส่งเสียงร้องได้คล้ายจิ้งหรีด ส่วนใหญ่แมลงกระชอนอาศัยอยู่ใต้ดิน โดยขุดรูจากรังนอนไปหลายทิศทาง รังเป็นโพรงเท่าไข่ไก่ ลึกลงไป 5–10 เซนติเมตร วางไข่ในโพรงจนฟักเป็นตัว ใช้เวลาในการฟัก 10–21 วัน ตัวอ่อนเติบโตช้า บางชนิดใช้เวลาถึง 1 ปี จึงเป็นตัวเต็มวัย ชีวิตทั้งหมดอาศัยอยู่ใต้ดิน โดยจะออกมาเล่นไฟตอนกลางคืนเฉพาะเฉพาะเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น กินสัตว์ต่าง ๆ ในดินเป็นอาหารและอาจทำลายรากพืช ขาคู่หน้าของแมลงกระชอน วงชีวิตของแมลงกระชอน แมลงกระชอน เป็นแมลงที่สามารถนำมารับประทานได้เหมือนกับจิ้งหรีด, ตั๊กแตน หรือหนอนไม้ไผ่บางชนิด โดยการจับนั้นนอกจากใช้วิธีการปล่อยน้ำลงพื้นที่นาแล้วใช้เท้าย่ำหรือเครื่องตัดหญ้าหรือรถไถแล้ว ปัจจุบันยังพัฒนาเป็นการใช้เสียงหลอกล่อด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแมลงกระชอน · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมทารันทูล่า

แมงมุมทารันทูล่า (Tarantula; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: เบิ้ง) เป็นสัตว์ขาปล้องจำพวกแมงมุมกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Theraphosidae เป็นแมงมุมที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่า 350 ล้านปีมาแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกายน้อยมาก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับแมงมุมท้องปล้อง แต่ทารันทูล่าจะไม่เหลือปล้องบริเวณท้องอีกแล้ว ทารันทูล่าทั่วไปเป็นแมงมุมขนาดใหญ่ มีขายาว และมีลักษณะเด่นคือ มีเส้นขนจำนวนมากขึ้นอยู่ตามตัวและขา เห็นได้ชัดเจน ส่วนมากมีสีสันหรือลวดลายที่สดใส พบได้ทั่วไปทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่ทะเลทราย, ทุ่งหญ้า หรือในถ้ำที่มืดมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบร้อนชื้น หรืออุณหภูมิแบบป่าดิบชื้น ยกเว้นขั้วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแมงมุมทารันทูล่า · ดูเพิ่มเติม »

แมงอีนูน

แมงอีนูน หรือ แมงกีนูน (Cockchafer) หรือ แมงนูน หรือ กุดกีนูน (อีสาน) หรือ แมงนูนหลวง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melolontha melolontha อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae มีรูปร่างอ้วนป้อมเป็นรูปไข่ หัวมันเรียบ มีหนวดแบบใบไม้ 1 คู่ที่ปาก ปากเป็นแบบปากกัด ตามีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัด ที่อกปล้องแรกเห็นชัดกว่าปล้องอื่น ๆ ปีกมี 2 คู่ คู่หน้ามีลักษณะแข็งเรียบเป็นมันมีหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มตัว ส่วนปีกคู่ที่สองนั้นบางใส ใช้สำหรับบิน ส่วนท้องอยู่ด้านล่างมีปีกที่แข็งคลุม หัว อกและขามีสีน้ำตาลไปจนถึงสีดำ ปีกที่แข็งมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดลำตัวยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร แมงอีนูน จัดเป็นแมลงศัตรูพืช เพราะกัดแทะใบของพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจ อาทิ มะขามเทศ, มะขาม, อ้อย, มันสำปะหลัง, พุทรา แมงอีนูนมีวงจรชีวิตเป็นหนอนอยู่ใต้ดินนานนับปี ก่อนจะเข้าสู่ระยะดักแด้และเป็นตัวเต็มวัยในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี ซึ่งจะพบแมงอีนูนเป็นจำนวนมากในเวลานี้ แมงอีนูนจัดเป็นอาหารรับประทานในวิถีชีวิตของชาวเหนือและชาวอีสาน อีกทั้งยังเป็นการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการจับแมงอีนูนจะกระทำในช่วงหัวค่ำ ใช้แสงไฟจากนีออนเป็นตัวล่อ หรือเขย่าจากต้นไม้ที่มีแมงอีนูนจำนวนอาศัยอยู่ก็จะหล่นลงมาให้จับได้ง่าย ๆ ซึ่งการปรุงแมงอีนูนทำได้ทั้งวิธีการต้มและทอด ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดกำแพงเพชร มีการค้าขายกันเป็นล่ำเป็นสันด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแมงอีนูน · ดูเพิ่มเติม »

แมงป่อง

แมงป่อง (ภาษาไทยถิ่นอีสาน: แมงงอด; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงเวา) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง เป็นสัตว์มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี ตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

แหยม ยโสธร

แหยม ยโสธร เป็นภาพยนตร์ไทย เป็นภาพยนตร์รักย้อนยุค โดยมีฉากคือจังหวัดจังหวัดยโสธร สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล ดำเนินงานสร้างโดย บาแรมยู และ บั้งไฟฟิล์ม อำนวยการสร้างโดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ควบคุมงานสร้างโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ บทภาพยนตร์และกำกับภาพยนตร์โดย หม่ำ จ๊กมก ออกฉายเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2548 ความพิเศษของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ที่บทสนทนาเป็นภาษาไทยถิ่นอีสาน และมีซับไตเติ้ลเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง แหยมยโสธร แม้จะเป็นภาพยนตร์ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากแต่ก็ได้ขึ้นแท่นเป็นหนังตลกทำเงินเรื่องหนึ่งซึ่งมีรายได้สูงถึง 99.14 ล้านบาท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแหยม ยโสธร · ดูเพิ่มเติม »

แหยม ยโสธร 2

แหยม ยโสธร 2 เป็น ภาพยนตร์ไทยแนวตลกสนุกสนาน เป็นภาคต่อของ แหยมยโสธร เนื้อเรื่องเป็นอีก 20 ปีหลัง ต่อจากภาคที่แล้ว ออกฉายเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 กำกับและนำแสดงโดย เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา และร่วมแสดงโดย เจเน็ต เขียว,หรินทร์ สุธรรมจรัส,บุษราคัม วงษ์คำเหลา,เพทาย วงษ์คำเหลา และอนุวัฒน์ ทาระพันธ์ ภาพยนตร์เปิดตัวรายได้ในสัปดาห์แรกที่ 38.5 ล้านบาท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแหยม ยโสธร 2 · ดูเพิ่มเติม »

แหยมยโสธร 3

แหยมยโสธร 3 เป็น ภาพยนตร์ไทยแนวตลกสนุกสนาน เป็นภาคต่อของ แหยมยโสธร 2 ออกฉายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 กำกับและนำแสดงโดย เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา และร่วมแสดงโดย นงนุช สมบูรณ์, แวววาว วงษ์คำเหลา, อนุวัติ ทาระพันธุ์, เพทาย วงษ์คำเหลา, ลิขิต บุตรพรม, อิงฟ้า เกตุคำ, รัตติยาภรณ์ ภักดีล้น, จิตรลดาพร กันหาวรรค และเฉิน เชิญยิ้ม ภาพยนตร์ทำรายได้ 64 ล้านบาท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแหยมยโสธร 3 · ดูเพิ่มเติม »

แง้ว

แง้ว หรือ ลาวแง้ว เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไทย-ลาว ที่ถูกกวาดต้อนมาจากอาณาจักรลาว ชาวแง้วเดิมมีถิ่นฐานอยู่ใน เขตชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ โดยถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ช่วงสงครามระหว่างสยามกับลาว ต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วง..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและแง้ว · ดูเพิ่มเติม »

โพสพ

ระแม่โพสพ thumb โพสพ บ้างเรียก โพสี ภาษาถิ่นพายัพและอีสานว่า โคสก หรือ เสื้อนา เสื้อไร่ ภาษาไทลื้อว่า ย่าขวัญข้าว ภาษากะเหรี่ยงว่า ภี่บือโหย่ หรือ ผีบือโย ภาษามลายูปัตตานีว่า มะฮียัง (Mak Hiang) เป็นเทพเจ้าแห่งข้าวตามคติความเชื่อของไทย โพสพตามความเชื่อแต่เดิมเป็นเทวสตรี แต่ภายหลังได้มีคติปรากฏเป็นบุรุษเพศคู่กัน มีปลาเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยังปรากฎใน โคลงทวาทศมาส ออกนามว่า "พระไพศภ" "พระไพศพ" หรือ "พระไพสพ" และปรากฎอยู่ในพระอายการเบ็ดเสร็จ ในกฎหมายตราสามดวง ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ชำร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและโพสพ · ดูเพิ่มเติม »

โรคใหลตาย

รคใหลตาย (sudden unexpected death syndrome (ย่อ: SUDS) หรือ sudden unexpected nocturnal death syndrome (ย่อ: SUNDS)), มักสะกดผิดว่า โรคไหลตาย (ดู ศัพทมูล), เป็น ความตายที่เกิดแก่บุคคล ไม่ว่าวัยรุ่น (adolescent) หรือ ผู้ใหญ่ (adult) อย่างปัจจุบันทันด่วนขณะนอนหลับ และไม่อาจอธิบายสาเหตุแห่งความตายนั้นได้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและโรคใหลตาย · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้า

ก่ฟ้าสีทอง (''Chrysolophus pictus'') ตัวผู้ (♂) เป็นไก่ฟ้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ไก่ฟ้า (อีสาน: ไก่ขวา) เป็นชื่อสามัญของนกหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) โดยมากจะอยู่ในวงศ์ย่อย Phasianinae ไก่ฟ้าจะมีรูปร่างไล่เลี่ยกับไก่บ้าน มีจะงอยปากและขาแข็งแรงมาก มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีหางยาว และสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย จัดเป็นความแตกต่างระหว่างเพศเห็นได้ชัดเจน บินได้แต่ในระยะทางสั้น ๆ ทำรังบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช, ผลไม้สุก และแมลง เป็นอาหาร ไก่ฟ้า เป็นนกที่มนุษย์ใช้เนื้อเป็นอาหาร และนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง มีหลายชนิดที่มีราคาแพง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและไก่ฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไทบ้าน เดอะซีรีส์

ทบ้าน เดอะซีรีส์ เป็นภาพยนตร์ คอมเมดี้ โรแมนติก ดราม่า โดยผู้กำกับฯ สุรศักดิ์ ป้องศร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและไทบ้าน เดอะซีรีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี

แผนที่การเสียดินแดนของไทย (หมายเลขที่ 2) ไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี หรือที่ทางราชการเรียกว่า ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยสยาม ที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาอยู่ตั้งแต่หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) หลังการยึดครองของอังกฤษ ชาวไทยเหล่านี้จึงกลายเป็นสัญชาติพม่า แต่ก็ยังไปมาหาสู่กับญาติพี่น้องฝั่งไทยตลอด และมีชาวไทยในเขตตะนาวศรีที่เข้ามาทำคลอดในฝั่งไทย และต้องการให้บุตรเป็นสัญชาติไทย เพราะมีความเกี่ยวดองกับฝั่งไทย และส่วนใหญ่ทางแถบจังหวัดเกาะสอง (วิกตอเรียพอยท์) ของพม่าก็มีชาวไทยมากมาย แต่ในปัจจุบันยังถือว่าชาวไทยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนไร้สัญชาต.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

เยอ

อ หรือเผ่าเยอ อพยพย้ายถิ่นฐานมาจาก ประเทศจีนตอนบน ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าย้ายมาก่อน หรือหลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคนเผ่าเยอ ย้ายมาถึงจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงได้ได้แบ่งออกเป็นหลาย 4 กลุ่ม ย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่ กลุ่มแรก เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองปราสาทเยอ ซึ่งในปัจจุบัน คือบ้านปราสาทเยอ ตั้งอยู่ใน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 2 ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใน อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอห้วยทับทัน ส่วนกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 อาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านขมิ้น อยู่ใน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ และบ้านโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเยอ · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผา

ลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (Serows; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเลียงผา · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก เพดานแข็ง

เสียงนาสิก เพดานแข็ง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาสเปน, ภาษาโปรตุเกส, ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ J เสียงนี้เป็นเสียงเดิมของ ญ ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏในภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นใต้ แต่ยังพบได้ในสำเนียงสุโขทัย, ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นเหนือ การทับศัพท์จึงมักใช้ ญ ตามไปด้วย หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเสียงนาสิก เพดานแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลตำบลด่านขุนทด

ทศบาลตำบลด่านขุนทด เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเทศบาลตำบลด่านขุนทด · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองแจระแม

แจระแม เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลแจระแม ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหรือศาลากลางจังหวัด ประมาณ 10 กิโลเมตร มีเขตรับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 50 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นชุมชนตามชานเมืองใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าไปรับจ้างในตัวเมืองอุบลราชธานี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเทศบาลเมืองแจระแม · ดูเพิ่มเติม »

เขตตะนาวศรี

ตะนาวศรี (တနင်္သာရီတိုင်းဒေသကြီး, ตะนี้นตายี; ဏၚ်ကသဳ หรือ တနၚ်သြဳ) เป็นเขตที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศพม.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเขตตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

Heterometrus laoticus

Heterometrus laoticus (Asian giant forest scorpion) เป็นแมงป่องช้างชนิดหนึ่ง จัดเป็นแมงป่องขนาดใหญ่ และเป็นแมงป่องชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6-8 เซนติเมตร ไม่รวมหาง ลำตัวสีดำเป็นเงามันเลื่อม ภาษาอีสานจึงเรียกว่า "แมงเงา" เป็นแมงป่องขนาดใหญ่ที่พบอาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน เช่น ลาว, เวียดนาม, ไทย พบกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพบมากในภาคเหนือและอีสาน ผิวบริเวณส่วนหัวของแมงป่องช้างชนิดนี้จะเรียบและมีส่วนหัวที่กว้างกว่าชนิดอื่น นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ รวมทั้งเลี้ยงไว้เพื่อการเศรษฐกิจสำหรับบริโภค หรือแสดงโชว์ต่าง ๆ ได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นอีสานและHeterometrus laoticus · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาอีสานภาษาถิ่นอีสานภาษาไทยอีสานไทยอีสาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »