สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ปลาปักเป้าจุดส้มปลาปักเป้าท้องตาข่ายปลาปักเป้าขนปลาปักเป้าดำปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงปลาปักเป้าควายปลาปักเป้าปากขวด
วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่
วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Puffers, Toadfishes, Blowfishes, Globefishes, Swellfishes) เป็นวงศ์ปลาปักเป้าจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเฉพาะตัวคือ กลมป้อม ส่วนโคนหางเล็ก ครีบหลังและครีบก้นเล็กสั้นอยู่ค่อนไปทางท้าย ครีบอกใหญ่กลมมน ครีบหางใหญ่ปลายมน ว่ายน้ำโดยใช้ครีบอกโบกพร้อมกับครีบหลังและครีบก้น เวลาตกใจสามารถพองตัวได้โดยสูบน้ำหรือลมเข้าในช่องท้อง ช่องเหงือกเล็ก หัวโต จะงอยปากยื่น มีฟันลักษณะคล้ายปากนกแก้ว 4 ซี่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว รูจมูกเป็นติ่งสั้น ๆ ผิวขรุขระ มีเกล็ดเป็นหนามเล็ก ๆ อยู่บริเวณด้านท้อง ผิวลำตัวส่วนอื่นเรียบ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tetraodontidae (/เท-ทรา-โอ-ดอน-ทิ-ดี้/) พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลกและบริเวณปากแม่น้ำ ชนิดที่พบในน้ำจืดมีน้อย สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 32 ชนิดทั้งในทะเล, น้ำกร่อยและน้ำจืด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือกเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีฟันสำหรับกัดแทะเปลือกแข็งที่เป็นแคลเซี่ยมได้เป็นอย่างดี และปลาด้วย รวมทั้งสามารถกัดแทะครีบปลาชนิดอื่นได้ด้วย ในบางชนิดมีพฤติกรรมชอบซุกตัวใต้พื้นทรายเพื่อรอดักเหยื่อ นอกจากแล้วยังสามารถพ่นน้ำจากปากเพื่อเป่าพื้นทรายหาอาหารที่อยู่ซ่อนตัวอยู่ได้อีกด้วย นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกร...ปักเป้าน้ำจืด เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง เมื่อกินเข้าไปอาจถึงตายได้ โดยจากการศึกษาปลาปักเป้าในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย พบเป็นปลาปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีการสะสมพิษในตัวจะมีอยู่จำนวน 8 ชนิด มากกว่าปลาปักเป้าน้ำกร่อยมีพิษ ซึ่งมีอยู่แค่ 4 ชนิด และลักษณะพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดจะมีการสะสมพิษในอวัยวะทุกส่วน และพิษจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูวางไข่ ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพิษเกิดเนื่องจากแพลงก์ตอน หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดพิษหลังจากปลาปักเป้ากินเข้าไป เมื่อมีผู้จับไปกินก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้.
ดู ปลาเป้าและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่
ปลาปักเป้าจุดส้ม
ปลาปักเป้าจุดส้ม หรือ ปลาปักเป้าจุดแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในอันดับปลาปักเป้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pao abei ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาปักเป้าดำ (P.
ปลาปักเป้าท้องตาข่าย
ปลาปักเป้าท้องตาข่าย (Kingkong puffer, Humpback puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะเด่น คือ หนังหนา หนามค่อนข้างใหญ่ และมีตาโตมาก สีลำตัวออกไปทางสีน้ำตาลแดง ใต้ท้องสีขาวและมีลวดลายคล้ายตาข่ายและจุดดำปกคลุมไปทั่ว อีกทั้งเวลาพองลมและพองได้กลมใหญ่มากคล้ายลูกบอล จัดเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ โดยขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 19.4 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีรายงานจากทะเลสาบสงขลา เป็นปลาที่พบชุกชุมในบางฤดูกาลบริเวณลำคลองรอบ ๆ ป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาส และพบเรื่อยไปจนถึงมาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย โดยมีการตั้งชื่อสายพันธุ์ตามชื่อเมืองที่ค้นพบครั้งแรก คือ เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตราใต้ ปลาปักเป้าท้องตาข่าย เป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีนิสัยไม่ก้าวร้าวดุร้าย อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม จึงเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.
ดู ปลาเป้าและปลาปักเป้าท้องตาข่าย
ปลาปักเป้าขน
ปลาปักเป้าขน (Hairy puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae).
ปลาปักเป้าดำ
ปลาปักเป้าดำ ปลาปักเป้าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pao cochinchinensisKottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No.
ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง
ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง หรือ ปลาปักเป้าบึง (Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาปักเป้าน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodonidae) ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาปักเป้าดำ (P.
ดู ปลาเป้าและปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง
ปลาปักเป้าควาย
ปลาปักเป้าควาย หรือ ปลาปักเป้าสุวัตถิ (Arrowhead puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) โดยได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์โชติ สุวัตถิ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.สืบสิน สนธิรัตน และ ทรงพรรณ สุนทรสถิตย์ โดยเก็บตัวอย่างต้นแบบแรกได้จากลุ่มแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย มีจุดเด่นคือ มีปากที่เรียวยาวปากงอนขึ้นด้านบน และยังมีลายลักษณะคล้ายหัวลูกศรที่บริเวณด้านบนระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวมีสีส้มแดงและมีจุดดำกระจายอยู่ทั่ว จัดเป็นปลาปักเป้าที่พบในน้ำจืดชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 11 เซนติเมตร พบได้ในภาคอีสาน ในลุ่มแม่น้ำโขงและแควสาขา มีพฤติกรรมชอบฝังตัวใต้ทรายใต้พื้นน้ำเพื่อซุ่มล่าเหยื่อ ปลาปักเป้าควายจัดเป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่งที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายมากนัก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาตู้สวยงาม.
ปลาปักเป้าปากขวด
ปลาปักเป้าปากขวด หรือ ปลาปักเป้าปากยาว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกปลาปักเป้า Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ PaoPao (genus)สกุลเป้า