โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาอารากอน

ดัชนี ภาษาอารากอน

ษาอารากอน (aragonés; Aragonese language) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ พูดในแคว้นอารากอน ประเทศสเปน มีผู้พูดประมาณ 10,000 - 30,000 คน.

8 ความสัมพันธ์: ชาวกาตาลาราชอาณาจักรอารากอนรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1วิกิพีเดียภาษาอารากอนอัลคามีอาประเทศสเปนแคว้นอารากอนÑ

ชาวกาตาลา

วกาตาลา (català) หรือ ชาวกาตาลัน (catalán) คือกลุ่มชาติพันธุ์โรมานซ์ (Romance) ซึ่งพูดภาษากาตาลา หรือมีเชื้อชาติกาตาลาผสมผสานอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกาตาลุญญา สเปน, กาตาลุญญาดัลนอร์ต (กาตาลุญญาเหนือ) ในฝรั่งเศส และประเทศอันดอร์รา โดยคนกาตาลาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและชาวกาตาลา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอารากอน

ราชอาณาจักรอารากอน (Reino de Aragón; Kingdom of Aragon) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปนระหว่างปี ค.ศ. 1035 ถึงปี ค.ศ. 1707 โดยมีพระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอนแห่งราชวงศ์อารากอนเป็นกษัตริย์องค์แรก อาณาจักรอารากอนเป็นอาณาจักรแบบราชาธิปไตย อาณาบริเวณเป็นบริเวณเดียวกับแคว้นอารากอนในประเทศสเปนปัจจุบัน ราชอาณาจักรอารากอนเดิมเป็นส่วนหนึ่งของ “ราชบัลลังก์อารากอน” (Crown of Aragon) ซึ่งรวมทั้งราชอาณาจักรบาเลนเซียและราชรัฐคาเทโลเนีย ซึ่งมีประมุขร่วมกัน อารากอนกอร์เตส (รัฐสภา) ราชอาณาจักรเดิมเป็นแคว้นฟิวดัลของชาวแฟรงก์รอบเมืองคากาซึ่งรวมตัวกับราชอาณาจักรปัมโปลนาที่ต่อมาเป็นราชอาณาจักรนาวาร์ในปี ค.ศ. 925 แคว้นอารากองแยกตัวจากราชอาณาจักรนาวาร์ในปี ค.ศ. 1035 และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาณาจักรเต็มตัวโดยพระเจ้ารามีโรที่ 1 อาณาจักรอารากอนขยายตัวไปทางใต้ทางอวยสกา ในปี ค.ศ. 1096 และต่อมาซาราโกซา ในปี ค.ศ. 1118 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1285 พรมแดนทางใต้ที่สุดของอารากอนเป็นดินแดนจากมัวร์ อาณาจักรอารากอนรวมกับราชบัลลังก์อารากอนหลังจากการเสกสมรสระหว่างสองราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1150 ระหว่างรามอน เบเรงเกร์ที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา และเปโตรนีลาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอารากอน พระโอรสของทั้งสองพระองค์ได้รับดินแดนของทั้งสองอาณาจักร นอกจากนั้นพระเจ้าแผ่นดินแห่งอารากอนยังได้รับตำแหน่งเพิ่มเป็นเคานต์แห่งบาร์เซโลนา ปกครองดินแดนเดิมและราชรัฐคาเทโลเนีย และต่อมาหมู่เกาะแบลีแอริก ราชอาณาจักรบาเลนเซีย ราชอาณาจักรซิซิลี ราชอาณาจักรเนเปิลส์ และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย พระเจ้าแผ่นดินแห่งอารากอนเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่ทรงปกครองบริเวณอารากอนโดยตรงและทรงดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินแห่งบาเลนเซีย พระเจ้าแผ่นดินแห่งมายอร์กา (ชั่วระยะหนึ่ง) เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ลอร์ดแห่งมงเปลีเย และดุ๊กแห่งเอเธนส์ (ชั่วระยะหนึ่ง) แต่ละตำแหน่งที่ได้มาหรือเสียไปก็เป็นการเพื่มหรือลดดินแดนภายใต้การปกครองในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งอารากอนก็จำกัดลงเพียงบริเวณอารากอนเองตามข้อตกลง “สหภาพอารากอน” (Union of Aragon) ราชบัลลังก์อารากอนถูกยุบเลิกโดยปริยายหลังจากการรวมกับราชบัลลังก์คาสตีล แต่หลังจากการรวมตัวอารากอนก็ยังรักษาอำนาจบางอย่างอยู่บ้างจนกระทั่งมาสิ้นสุดลงทั้งหมดตามพระราชกฤษฎีกานวยบาปลันตา (Nueva Planta decrees) ที่ออกในปี ค.ศ. 1707.

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและราชอาณาจักรอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาอารากอน

วิกิพีเดียภาษาอารากอน เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาอารากอน เริ่มสร้างเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาอารากอนมีบทความมากกว่า 10,000 บทความ (กันยายน 2551).

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและวิกิพีเดียภาษาอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

อัลคามีอา

อัลคามีอา เขียนโดยมันเซโบ เด อาเรบาโล ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21)The passage is an invitation directed to the Spanish Moriscos or Crypto-Muslims so that they continue fulfilling the Islamic prescriptions in spite of the legal prohibitions and so that they disguise and they are protected showing public adhesion the Christian faith. เอกสารตัวเขียนของ ''Poema de Yuçuf'' ซึ่งเป็นบทกวีภาษาอารากอนที่เขียนด้วยอักษรอาหรับ อัลคามีอา (aljamía) หรือ อะญะมียะฮ์ (عَجَمِيَة, ʿajamiyah) เป็นเอกสารตัวเขียนที่ใช้อักษรอาหรับในการเขียนภาษากลุ่มโรมานซ์ เช่น ภาษาโมแซรับ ภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน ภาษาอารากอน หรือภาษาลาดิโน คำว่าอัลคามีอาเพี้ยนมาจากคำในภาษาอาหรับว่า ʿajamiyah ซึ่งในที่นี้หมายถึงภาษาต่างชาติ และโดยทั่วไปใช้เรียกกลุ่มชนที่ไม่มีบรรพบุรุษเป็นชาวอาหรับ ส่วนในทางภาษาศาสตร์ อัลคามีอาคือการนำอักษรอาหรับไปเขียนภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันในบางพื้นที่ของอัลอันดะลุส ส่วนภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมชั้นสูง และศาสนา ระบบการเขียนกลุ่มภาษาโรมานซ์ด้วยอักษรอาหรับพัฒนาขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) และพบมากในศตวรรษต่อมา ต่อมา ชาวโมริสโกได้เลิกใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางศาสนา และใช้ภาษาสเปนแทน.

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและอัลคามีอา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอารากอน

แผนที่การกระจายภาษาในแคว้นอารากอน ภาษาสเปนใช้พูดทั่วไปในแคว้น และเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว อารากอน (สเปนและAragón) หรือ อะราโก (Aragó) เป็นแคว้นปกครองตนเองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นกาตาลุญญา ทางทิศใต้ติดต่อกับแคว้นบาเลนเซีย และทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นกัสติยา-ลามันชา แคว้นกัสติยาและเลออน แคว้นลารีโอคา และแคว้นนาวาร์ ประกอบด้วยจังหวัดซาราโกซา จังหวัดอูเอสกา และจังหวัดเตรูเอล มีแม่น้ำเอโบรไหลผ่านในพื้นที่ ตอนเหนือเป็นภูเขาสูง มีหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ส่วนตอนใต้ค่อนข้างแห้งแล้ง นอกจากจังหวัดทั้งสามแล้ว แคว้นอารากอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 33 เทศมณฑล (comarcas) อีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและแคว้นอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

Ñ

ตัวอักษรเอเลบนแป้นพิมพ์ภาษาสเปน Ñ (ตัวใหญ่: Ñ, ตัวเล็ก: ñ) เป็นตัวอักษรละตินยุคใหม่ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องหมายทิลเดบนตัวอักษร N ตัว Ñ ได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรภาษาสเปนอย่างเป็นทางการในพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ก็มีการใช้ในภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส, ภาษาบาสก์, ภาษาอารากอน, ภาษาชาบากาโน, ภาษาฟิลิปีโน, ภาษาเกชัว และภาษาเตตุม รวมไปถึงในการถอดอักษรกลุ่มภาษาโตคาเรียนและภาษาสันสกฤตเป็นอักษรละติน โดยแทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง  แต่ในภาษาตาตาร์ไครเมียใช้แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน ส่วนในภาษาเบรอตงและภาษาโรฮีนจา ตัวอักษรนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าสระที่อยู่ข้างหน้าออกเสียงเป็นสระนาสิก Ñ แตกต่างกับตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับ (เช่น Ü ในภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส และภาษาเลออน) ตรงที่มันมีฐานะเป็นตัวอักษรต่างหากตัวหนึ่งในภาษาเหล่านั้น (ยกเว้นภาษาเบรอตง) โดยมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (ภาษาสเปนเรียก "เอเญ", eñe) และมีตำแหน่งเป็นของตัวเองในชุดตัวอักษร (ต่อจาก N) จากมุมมองนี้ ความเป็นเอกเทศของตัว Ñ จึงคล้ายคลึงกับตัว W ในภาษาอังกฤษ (ซึ่งมาจากการเขียนตัว V ติดกันในอดีต เหมือนกับตัว Ñ ซึ่งมาจากการเขียนตัว N ติดกัน).

ใหม่!!: ภาษาอารากอนและÑ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »