โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาลัตเวีย

ดัชนี ภาษาลัตเวีย

ภาษาลัตเวีย เป็นภาษาราชการของประเทศลัตเวีย อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศลัตเวีย.

27 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาบอลติกกูเกิล แปลภาษายัวมาลารัฐบอลติกรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1วิกิพีเดียภาษาลัตเวียสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจสหภาพยุโรปสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์จักรวรรดิสวีเดนจีเมลธงชาติลัตเวียข้าคือวีเซิลดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียง้องแง้งกับเงอะงะตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียตซิดิลลาประเทศลัตเวียไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยูŅĀLV

กลุ่มภาษาบอลติก

กลุ่มภาษาบอลติก เป็นสาขาหนึ่งกลุ่มภาษาบัลโต-สลาวิก กลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและกลุ่มภาษาบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล แปลภาษา

กูเกิลแปลภาษา (Google Translate) เป็นบริการแปลภาษาหลายภาษาด้วยเครื่องจักรโดยไม่คิดค่าบริการของบริษัทกูเกิล กูเกิลแปลภาษามีลักษณะไม่เหมือนกับบริการแปลอื่น ๆ เช่น Babel Fish, AOL, ยาฮู! ที่ใช้ SYSTRAN ขณะที่กูเกิลใช้ซอฟต์แวร์การแปลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งทางการค้าเจ้าใหญ่อย่างบริษัท ไมโครซอฟท์ ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันมากมาลงแข่งขันด้วย ซึ่งมีชื่อว่า Bing Translator.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและกูเกิล แปลภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ยัวมาลา

ชายหาดในเมืองยัวมาลา ยัวมาลา (ลัตเวีย: Jūrmala) เป็นเมืองในประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงรีกา เมืองหลวงของประเทศ คำว่า "ยัวมาลา" ในภาษาลัตเวียมีความหมายว่า "ชายหาด" เมืองยัวมาลามีพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 55,400 คน ความหนาแน่นของประชากร 554 คนต่อตารางกิโลเมตร หมวดหมู่:ประเทศลัตเวีย.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและยัวมาลา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบอลติก

รัฐบอลติก (Baltic states) เป็นชื่อรวมเรียกสามประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลบอลติก คือลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ในระหว่างปี 1918-1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชปกครองตนเองแบบสาธารณรัฐระหว่าง..

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและรัฐบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป

รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป (Member State of the European Union) คือประเทศใดประเทศหนึ่งใน 28 ประเทศที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) เป็นต้นมา เดิมทีประเทศก่อตั้งมีเพียง 6 ประเทศ ซึ่งได้มีการขยายสมาชิกทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยที่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ที่มีรัฐสมาชิกเข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ ปัจจุบันสหภาพยุโรปประกอบด้วยประเทศ 21 สาธารณรัฐ, 6 ราชอาณาจักร และ 1 ราชรัฐ การเพิ่มโรมาเนียและบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งโครเอเชียในปีพ.ศ. 2556 ทำให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีรัฐสมาชิกทั้งสิ้น 28 ประเทศ การต่อรองและเจรจาให้ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกยังคงดำเนินการอยู่เรื่อยๆ ขั้นตอนการขยายสหภาพยุโรปนี้บางครั้งเรียกว่าการรวมกลุ่มยุโรป ก่อนที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้นั้น ประเทศนั้นจะต้องผ่านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองที่รู้จักกันดีในชื่อ "เกณฑ์โคเปนเฮเกน" ซึ่งกำหนดไว้ว่าประเทศที่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีองค์กรที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและเคารพต่อกฎหมาย ภายใต้สนธิสัญญาสหภาพยุโรป การขยายสหภาพยุโรปต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละรัฐสมาชิกและผ่านการรับรองจากสภายุโรปอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาลัตเวีย

ลโก้วิกิพีเดียภาษาลัตเวีย วิกิพีเดียภาษาลัตเวีย เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาลัตเวีย เริ่มสร้างเมื่อ ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาลัตเวียมีบทความมากกว่า 10,000 บทความ (กันยายน 2550).

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและวิกิพีเดียภาษาลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ

ื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (Council for Mutual Economic Assistance) หรือ คอมิคอน (Comecon) เป็นองค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มตะวันออก และรัฐคอมมิวนิสต์บางแห่งทั่วโลก มอสโกกังวลเรื่องแผนมาร์แชลล์ คอมิคอนมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศในขอบเขตอิทธิพลของโซเวียตไปสู่อิทธิพลของอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คอมิคอนได้รับการตอบรับจากกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ถึงการก่อตัวในยุโรปตะวันตกขององค์การเพื่อการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของยุโรป (OEEC)"Germany (East)", Library of Congress Country Study, การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 1957 และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1961.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (Latvian Soviet Socialist Republic; Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์

ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ (Dexter's Laboratory) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของสหรัฐอเมริกา ผลิตโดย Gendy Tatakovsky โดยค่าย Hanna-Barbera Cartoons ในปี 1996-1998 และเปลี่ยนมือมาเป็น Cartoon Network Studios ในปี 2001-2003 ฉายทั่วโลกผ่านทางช่อง Cartoon Network และทางยูบีซีช่อง 29 (ปัจจุบันทรูวิชั่นส์ ช่อง 44) สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันออกอากาศที่ช่องบูมเมอแรง ช่อง 89 เรื่องราวของห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ เป็นเรื่องราวของเด็กซ์เตอร์ เด็กอัจฉริยะ ผู้ซึ่งมีสติปัญญาเหนือเด็กทั่วไป เขามีห้องทดลองลับอยู่ในห้องนอนของเขา โดยในแต่ละตอนเขามีหน้าที่ปกป้องห้องทดลองของเขาจากดีดี พี่สาวตัวร้าย และต้องไม่ให้พ่อกับแม่รู้เรื่องนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสวีเดน

ักรวรรดิสวีเดน หรือ ราชอาณาจักรสวีเดน ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1561 (หลังจากสวีเดนยึดเอสโตเนีย) และในปีค.ศ. 1721 (เมื่อสวีเดนยกพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ต่อมหาอำนาจรัสเซีย) ระหว่างนั้น สวีเดนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ในสวีเดน สมัยก่อนจะเรียกว่า stormaktstiden ซึ่งหมายถึง มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มต้นในปี 1611 (เมื่อ กุสตาวัส อาดอลฟัส ขึ้นเป็นกษัตริย์) และจบลงในปีค.ศ. 1718 (การสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน และจุดจบของมหาสงครามเหนือ) โดยการเพิ่มอำนาจทางการเมือง จุดประเด็นสำคัญคือการกลายเป็นหนึ่งในสองอำนาจเพื่อค้ำประกันสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ซึ่งถูกเข้าร่วมเพื่อเพิ่มดินแดนที่อนุญาตให้อยู่ใกล้ได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวคิดทะเลบอลติก เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ยุโรป หลังจากการตายของกุสตาวัส อดอลฟัส ในปี 1632 จักรวรรดิที่ยืนยาวนี้ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางชั้นสูง โดยส่วนมากเป็นพวกของตระกูลออกเซนสเตียร์นาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ความน่าสนใจของขุนนางชั้นสูงตรงกันข้ามกับวิถีทางแห่งเท่าเทียมกัน เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมกันแบบดั้งเดิมในที่ดินภายในสวีเดนถูกเห็นชอบโดยพระมหากษัตริย์และชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับในช่วงระหว่างสมัยกฎตระกูลเดอ แฟคโต ระบบข้าแผ่นดินไม่ถูกยกเลิก และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในสวีเดนอย่างชอบธรรม แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1680 ผลักดันให้ความพยายามของชนชั้นสูงสิ้นสุดลง และเรียกร้องพวกเขาให้คืนนิคมอุตสาหกรรมที่พวกเขาได้รับจากมกุฎกษัตริย์ ระบบข้าแผ่นดินนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกบังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และชาวสวีดิชในเอสโตเนีย ที่ที่ใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของวิถีทางแห่งความเท่าเทียมกันถูกขัดขวางโดนสนธิสัญญาจากสิ่งที่พวกเขาได้รั.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและจักรวรรดิสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

จีเมล

ีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (บีตา) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและจีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลัตเวีย

งชาติลัตเวีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นเป็นแถบสีแดงเข้มอย่างสีเลือดหมู ที่กลางธงมีแถบแนวนอนสีขาว กว้างเป็น 1 ใน 5 ส่วนของความกว้างธง เดิมธงนี้เป็นธงชาติลัตเวียสมัยได้รับเอกราชครั้งแรกในปี พ.ศ. 2461 (แต่ได้รับรองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2465) ต่อมาลัตเวียถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2483 ธงนี้จึงได้เลิกใช้นานหลายสิบปี จนกระทั่งเมื่อประเทศได้รับเอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 จึงได้มีการนำธงนี้กลับมาใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 แต่แท้จริงแล้วประวัติของธงนี้มีความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือในช่วงยุคกลางของยุโรป ส่วนที่มาสีในธงชาตินั้นมาจากตำนานที่กล่าวถึงผืนผ้าซึ่งเปื้อนเลือดของผู้นำนักรบชาวลัตเวี.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและธงชาติลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ข้าคือวีเซิล

้าคือวีเซิล (I Am Weasel) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตโดย David Feiss สังกัด Cartoon Network Studios ข้าคือวีเซิล เป็นการ์ตูนย่อยของง้องแง้งกับเงอะงะโดยจะฉาย 1 ตอนย่อยในทุกๆตอนของง้องแง้งกับเงอะงะ จากนั้นก็ได้โอกาสมาแยกเป็นการ์ตูนของตัวเอง โดยใช้เพลงเปิดที่ดัดแปลงมาจากเพลงคลาสสิก Pop on the Weasel เรื่องราวหลักๆของข้าคือวีเซิล จะเป็นเรื่องราวของ วีเซิล และ ไอ.อาร.บาบูน ซึ่งทั้งสองโดยส่วนมากจะเป็นเพื่อนกัน มักจะเผชิญหน้าเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละตอน โดยส่วนมาวีเซิลมักจะได้รับบทที่สูงกว่าไอ.อาร.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและข้าคือวีเซิล · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย

ัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย (Ducatus Curlandiæ et Semigalliæ, Księstwo Kurlandii i Semigalii, Herzogtum Kurland und Semgallen, Kurzemes un Zemgales hercogiste) เป็นดัชชีในภูมิภาคบอลติก โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1561 จนในปี 1569 ดัชชีนี้ได้กลายเป็นเครือรัฐของแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย และ เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ตั้งแต่ปี 1569 ถึงปี 1726 ดัชชีได้เข้าร่วมกับ เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย โดย Sejm ในปี 1726 จนในวันที่ 28 มีนาคม 1795 ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียได้ถูกผนวกกับจักรวรรดิรัสเซียในการแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สาม ต่อมาดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียได้จัดตั้งรัฐอายุสั้นขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ถึงวันที่ 22 กันยายน 1918 โดยใช้ชื่อเดียวกัน โดยเป็นแผนที่จะจัดตั้งสหดัชชีบอลติก (United Baltic Duchy) โดย จักรวรรดิเยอรมัน จนเยอรมนียอมจำนนในภูมิภาคบอลติกในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พื้นที่ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลัตเวีย หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลง; ดูเพิ่มที่ ดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย (ค.ศ. 1918).

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและดัชชีคูร์ลันด์และเซมีกัลเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ง้องแง้งกับเงอะงะ

ง้องแง้งกับเงอะงะ (ภาษาอังกฤษ: Cow and Chicken) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของสหรัฐอเมริกา สร้างโดย Devid Feiss ออกอากาศครั้งแรกทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและง้องแง้งกับเงอะงะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต

ตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต (Государственный герб Советского Союза, Gosudarstvenny gerb Sovetskogo Soyuza) เป็นตราแผ่นดินที่มาในปี 1923 ถึง 1991.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ซิดิลลา

ซิดิลลา (cedilla) หรือ เซดีย์ (cédille) เป็นสัญลักษณ์รูปร่างคล้ายตะขอ (¸) อยู่ใต้พยัญชนะของอักษรละตินบางตัว เพื่อแสดงเสียงที่ต่างไปจากรูปปกติ เช่น ç ในภาษาฝรั่งเศสจะออกเสียงคล้ายเสียง ซ แต่ c จะออกเสียงคล้ายเสียง ค เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและซิดิลลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและประเทศลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์

รชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์ (Reichskommissariat Ostland, RKO) เป็นหน่วยการปกครองของนาซีเยอรมนีในรัฐบอลติก บางส่วนของเบลารุสและโปแลนด์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดินแดนนี้ยังมีอีกชื่อว่า Reichskommissariat Baltenland ("ไรชส์คอมมิสซาเรียทแห่งรัฐบอลติก").

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู

ียฟส์ สเวตี ลัตวิยู! (Dievs, svētī Latviju!) มีความหมายว่า "ขอพระเจ้าอวยพรแก่ลัตเวีย" เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งประเทศลัตเวีย ประพันธ์บทร้องและทำนองโดย คาร์ลิส บาอูมานีซ (Baumaņu Kārlis, ค.ศ. 1834–1904).

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและเดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู · ดูเพิ่มเติม »

Ņ

ตัวอักษร Ņ (ตัวเล็ก: ņ) เป็นรูปแบบตัวหนึ่งของอักษรละติน N ที่มีซิดิลลา (cedilla) อยู่ด้านล่าง โดยถูกใช้ในบริบทที่หลากหลายในสัทอักษรสากลแสดงนี้เสียงโดย Ņ เป็นตัวอักษรที่ใช้ในภาษาลัตเวี.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและŅ · ดูเพิ่มเติม »

Ā

ตัวอักษร Ā (ตัวเล็ก: ā) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรละติน A ที่มีมาครอน (macron) อยู่ด้านบน โดยถูกใช้ในบริบทที่หลากหลายในสัทอักษรสากลแสดงนี้เสียงโดย Ā เป็นตัวอักษรที่ใช้ในภาษาลัตเวียของตัวที่ 2.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและĀ · ดูเพิ่มเติม »

LV

LV Lv หรือ lv สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาลัตเวียและLV · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »