โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษายิดดิช

ดัชนี ภาษายิดดิช

ษายิดดิช (ภาษายิดดิช: ייִדיש, Yiddish,.

33 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการชาลอมชาวยิวชาวยิวอัชเคนาซิชาวยิวอเมริกันฟรานซ์ คาฟคากูเกิล แปลภาษาภาษาลาดิโนภาษาฮีบรูภาษาฮีบรูอาซเกนาซีภาษาของชาวยิวภาษาคาไรม์ภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพรายชื่อภาษารายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1วิกิพีเดียภาษายิดดิชสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2อักษรฮีบรูอเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)ฮอโลคอสต์ธรรมศาลาขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ประเทศสวีเดนแม่น้ำดานูบแวดวงภาพยนตร์ใน พ.ศ. 2555แอล. แอล. ซาเมนฮอฟเบเกิลเอชเอ็มเอส พินนาฟอร์เขตปกครองสามัญเดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์YI

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

ชาลอม

"ชาลอม" ในภาษาฮีบรู ชาลอม (ฮีบรู: שָׁלוֹם, ฮีบรูเซฟาร์ติก/ฮีบรูอิสราเอล: Shalom; ฮีบรูอาซเกนาซี/ยิดดิช: Sholem, Shoilem, Shulem) เป็นคำภาษาฮีบรูที่หมายถึง สันติภาพ ความสมบูรณ์ และสวัสดิภาพ และสามารถใช้เป็นสำนวนในความหมายทั้งสวัสดีและลาก่อน คำนี้สามารถหมายถึงสันติภาพระหว่างสิ่งที่มีอยู่จริงสองอย่าง (โดยเฉพาะระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าหรือระหว่างสองประเทศ) หรือความเป็นอยู่ที่ดี สวัสดิภาพหรือความปลอดภัยของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มของปัจเจกบุคคล คำคำนี้ยังพบในรูปแบบอื่นๆอีก โดยมีความหมายเช่นเดียวกับ salaam ในภาษาอาหรับ sliem ในภาษามอลตา Shlama (ܫܠܡܐ) ในภาษาซีเรียค และภาษาอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย และ sälam ในภาษากลุ่มเซมิติกในเอธิโอเปีย คำเหล่านี้มีที่มาจากรากศัพท์ S-L-M ในภาษาเซมิติกดั้งเดิม.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและชาลอม · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิวอัชเคนาซิ

วยิวอัชเคนาซิ หรือ ชาวยิวแห่งอัชเคนาซ (יְהוּדֵי אַשְׁכֲּנָז หรือ אַשְׁכֲּנָזִים, Ashkenazi Jews หรือ Ashkenazic Jews หรือ Ashkenazim) คือชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำไรน์แลนด์ทางตะวันตกของเยอรมนีและตอนเหนือของฝรั่งเศสในยุคกลาง คำว่า "Ashkenaz" เป็นชื่อภาษาฮิบรูสมัยกลางของภูมิภาคที่ในปัจจุบันครอบคลุมประเทศเยอรมนี และบริเวณที่มีชายแดนติดต่อที่พูดภาษาเยอรมัน นอกจากนั้นอัชเคนาซก็ยังเป็นประมุขจาเฟติคที่สืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของโนอาห์ (Table of Nations) ฉะนั้น "อัชเคนาซิม" หรือ "อัชเคนาซิยิว" ก็คือ "ชาวยิวเยอรมัน" ต่อมาชาวยิวอัชเคนาซิก็อพยพไปทางตะวันออก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้พูดภาษาเยอรมันที่รวมทั้งฮังการี โปแลนด์ ลิทัวเนีย รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และ ภูมิภาคอื่นๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 19 ภาษาที่นำติดตัวไปก็คือภาษายิดดิชซึ่งเป็นภาษาเยอรมันภาษายิว|ยิว ที่ตั้งแต่ยุคกลางมาเป็น "ภาษากลาง" ในหมู่ชาวยิวอัชเคนาซิ นอกจากนั้นก็มีบ้างที่พูดภาษายิว-ฝรั่งเศส หรือ ภาษาซาร์ฟาติค (Zarphatic) และ ภาษากลุ่มสลาฟ-ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาคนานิค (ภาษายิว-เช็ก) ชาวยิวอัชเคนาซิวิวัฒนาการวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ผสานเอาวัฒนธรรมของชนในท้องถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้ามาด้วย แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวยิวอัชเคนาซิจะเป็นจำนวนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรชาวยิวทั้งโลก แต่เมื่อมาถึงปี..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและชาวยิวอัชเคนาซิ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิวอเมริกัน

วอเมริกันเชื้อสายยิว หรือ ชาวยิวเชื้อสายอเมริกัน (American Jews หรือ Jewish Americans คือประชาชนชาวอเมริกันที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวหรือชาวยิวที่พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาในฐานะคนต่างด้าว สหรัฐอเมริกาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวยิวที่ใหญ่เป็นที่สองของโลกรองจากอิสราเอลขึ้นอยู่กับคำจำกัดคความทางศาสนา (ชาวยิวโดยเชื้อชาติ vs ชาวยิวโดยเชื้อชาติและศาสนา) และสถิติของจำนวนประชากรต่างๆ ประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายยิวประมาณว่ามีด้วยกันทั้งหมดประมาณ 5,128,000 คน หรือ 1.7% ของประชากรอเมริกันทั้งหมด ในปี ค.ศ. 2007 (301,621,000 คน) แต่จำนวนอาจจะสูงถึง 6,444,000 คน หรือ 2.2% ในขณะที่สถิติของสำนักงานสถิติกลางของจำนวนประชากรอิสราเอลประมาณว่าเป็นจำนวน 5,435,800 คนในปี ค.ศ. 2007 (75.7% ของประชากรโดยทั่วไป) ชาวยิวในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นชาวยิวอัชเคนาซิที่อพยพมาจากยุโรปกลาง และ ยุโรปตะวันออกและผู้สืบเชื้อสาย นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนชาวยิวสาขาต่างๆ (Jewish ethnic divisions) ที่รวมทั้งมิซราฮิ และ เซฟาร์ดี ฉะนั้นชาวยิวในสหรัฐอเมริกาจึงมีด้วยกันหลายวัฒนธรรมและสาขาของศาสนาตั้งแต่ออร์ธอด็อกซ์ฮาเรดีไปจนถึงผู้ใช้ชีวิตในสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา หรือชาวยิวที่เป็นยิวโดยเชื้อชาติเท่านั้นโดยไม่นับถือศาสนาใ.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและชาวยิวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซ์ คาฟคา

ลายเซ็นของฟรานซ์ คาฟคา ฟรานซ์ คาฟคา (Franz Kafka) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1924) ฟรานซ์ คาฟคาเป็นนักเขียนชาวยิวคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คาฟคาถือกำเนิดมาในครอบครัวที่พูดภาษาเยอรมัน ผู้มีฐานะปานกลางในกรุงปรากใน ราชอาณาจักรโบฮีเมีย ที่ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันสาธารณรัฐเช็ก) ผลงานเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ของคาฟคาที่ส่วนใหญ่เป็นงานที่เขียนค้างไว้ และส่วนใหญ่ตีพิมพ์หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วถือว่าเป็นงานที่มีอิทธิต่องานวรรณกรรมตะวันตกมากที่สุดContijoch, Francesc Miralles (2000) "Franz Kafka".

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและฟรานซ์ คาฟคา · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล แปลภาษา

กูเกิลแปลภาษา (Google Translate) เป็นบริการแปลภาษาหลายภาษาด้วยเครื่องจักรโดยไม่คิดค่าบริการของบริษัทกูเกิล กูเกิลแปลภาษามีลักษณะไม่เหมือนกับบริการแปลอื่น ๆ เช่น Babel Fish, AOL, ยาฮู! ที่ใช้ SYSTRAN ขณะที่กูเกิลใช้ซอฟต์แวร์การแปลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งทางการค้าเจ้าใหญ่อย่างบริษัท ไมโครซอฟท์ ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันมากมาลงแข่งขันด้วย ซึ่งมีชื่อว่า Bing Translator.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและกูเกิล แปลภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาดิโน

ษาลาดิโน (Ladino) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ ได้รับอิทธิพลจากภาษาสเปนมาก โดยเฉพาะภาษาสเปนโบราณ (คัสติลเลียน) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาลาดิโนกับภาษาสเปน เทียบได้กับภาษายิดดิชกับภาษาเยอรมัน ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวยิวเซฟาร์ดิก ตัวอย่างเช่น ชาวยิวในเทสซาโลนิกี อิสตันบูล และอิสมีร์ โครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีบางส่วนมาจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษาสลาฟใต้ ขึ้นกับว่าผู้พูดอาศัยอยู่ที่ใด ภาษาลาดิโนมีเสียงที่มาจากภาษาสเปนโบราณที่กลายเป็นเสียงจากเพดานอ่อน /x/ ในภาษาสเปนสมัยใหม่ ภาษาลาดิโนมีหน่วยเสียง /x/ ที่ได้จากภาษาฮีบรู ในบางบริเวณมีการสร้างคำที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น muestro จาก nuestro (ของเรา) โครงสร้างทางไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีการเพิ่มส่วนจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษากลุ่มสลาฟใต้ ขึ้นกับบริเวณที่ใช้พูด ภาษาลาดิโนเป็นภาษาที่ใกล้ตายเนื่องจากผู้พูดเป็นภาษาแม่มีอายุมากและไม่ถ่ายทอดภาษาให้รุ่นต่อไป ชุมชนชาวยิวเซฟาร์ดิกในประเทศต่างๆมีความพยายามฟื้นฟูภาษานี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับดนตรี สาเหตุที่ทำให้เป็นภาษาที่ใกล้ตายอีกอย่างหนึ่งคือการกลมกลืนไปกับภาษาสเปนสมัยใหม.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและภาษาลาดิโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรูอาซเกนาซี

ษาฮีบรูอาซเกนาซี (Ashkenazi Hebrew) เป็นระบบการออกเสียงของภาษาฮีบรูไบเบิล และภาษาฮีบรูมิซนะห์ที่นิยมใช้ในหมู่ชาวยิวอาซเกนาซี ระบบการออกเสียงนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาใกล้เคียงที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น ภาษายิดดิช และภาษากลุ่มสลาฟหลายภาษา ทุกวันนี้เหลือรอดในฐานะภาษาทางศาสนาควบคู่ไปกับภาษาฮีบรูสมัยใหม่ในอิสราเอล.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและภาษาฮีบรูอาซเกนาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาของชาวยิว

งานเขียนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ของ Elia Levita แสดงจากซ้ายไปขวา ภาษายิดดิช - ภาษาฮีบรู - ภาษาละติน - ภาษาเยอรมัน ภาษาของชาวยิว (Jewish languages) เป็นกลุ่มของภาษาและสำเนียงที่พัฒนาในชุมชนชาวยิวทั่วโลกทั้งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ พัฒนาการของภาษาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มศัพท์ภาษาฮีบรูเพื่อใช้อธิบายแนวคิดเฉพาะของชาวยิวเข้าสู่ภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรฮีบรู การอยู่เป็นกลุ่มก้อนอย่างเป็นเอกเทศของชาวยิว ทำให้ภาษาเหล่านี้รักษาคำศัพท์และลักษณะดั้งเดิมของภาษาที่เป็นภาษาต้นกำเนิดได้ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษายิดดิช ซึ่งเคยมีผู้พูดมากที่สุดในอดีต ภาษาลาดิโนที่เป็นภาษาของชาวยิวเซฟาร์ดีมากว่า 5 ศตวรรษและภาษาอาหรับของชาวยิวที่ใช้พูดในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอาหรับมากว่าพันปี ภาษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนายูดาย และเคยใช้เป็นภาษาพูดมาก่อน จนราว..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและภาษาของชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาไรม์

ษาคาไรม์ (Karaim language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรูในทำนองเดียวกับภาษายิดดิชหรือภาษาลาดิโน พูดโดยชาวคาไรต์ในไครเมียซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนายูดายในไครเมีย ลิธัวเนีย โปแลนด์และยูเครนตะวันตกเหลือผู้พูดอยู่เพียง 6 คน ภาษาคาไรม์สำเนียงลิธัวเนียเคยใช้พูดในกลุ่มชุมชนขนาดเล็กบริเวณเมืองตราไก ชาวคาไรต์เหล่านี้ถูกซื้อมาโดยแกรนด์ดุ๊กเวียเตาตัสแห่งลิธัวเนียเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและภาษาคาไรม์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ

ษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ (a language is a dialect with an army and a navy) เป็นสำนวนหนึ่งVictor H. Mair, The Columbia History of Chinese Literature, p. 24: "It has often been facetiously remarked...

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษา

รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษายิดดิช

ลโก้วิกิพีเดียภาษายิดดิช วิกิพีเดียภาษายิดดิช เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษายิดดิช เริ่มสร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษายิดดิชมีบทความมากกว่า 6,700 บทความ (ตุลาคม 2552).

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและวิกิพีเดียภาษายิดดิช · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian Soviet Socialist Republic; Белару́ская Саве́цкая Сацыялісты́чная Рэспу́бліка; Белору́сская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต หลังการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กลุ่มบอลเชวิคจากสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองดินแดนเบลารุสและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซีย (Socialist Soviet Republic of Byelorussia) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1919 ต่อมาสาธารณรัฐแห่งนี้ถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โดยใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย" สาธารณรัฐสังคมนิยมเบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1922 ร่วมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐหลายแห่งในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมนีนาซียึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับชาติอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียตอีกด้วย จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียมาถึงในปี ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐแห่งนี้กลายเป็นรัฐเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐเบลารุส เบียโลรัสเซีย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป หมวดหมู่:อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

รณรัฐโปแลนด์ที่ 2 หรือเครือจักรภพโปแลนด์ที่สองหรือโปแลนด์ระหว่างสงคราม หมายความถึงประเทศโปแลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง (ค.ศ. 1918–1939) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโปแลนด์หรือเครือจักรภพโปแลนด์ (Rzeczpospolita Polska) รัฐโปแลนด์ถูกสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1918 เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังความขัดแย้งในภูมิภาคหลายครั้ง เขตแดนของรัฐถูกชี้ชัดใน ค.ศ. 1922 ประเทศโปแลนด์มีเพื่อนบ้าน ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย เยอรมนี นครเสรีดันซิก ลิทัวเนีย ลัตเวีย โรมาเนียและสหภาพโซเวียต มีทางเข้าทะเลบอลติกโดยทางชายฝั่งสั้น ๆ ที่อยู่ข้างนครกดือเนีย (Gdynia) ระหว่างเดือนมีนาคมและสงหาคม ค.ศ. 1939 โปแลนด์ยังมีเขตแดนร่วมกับรูธีเนียคาร์พาเธีย (Carpathian Ruthenia) ซึ่งขณะนั้นเป็นจังหวัดของฮังการี แม้มีแรงกดดันทั้งในและนอกประเทศ ประเทศยังคงอยู่จน ค.ศ. 1939 เมื่อโปแลนด์ถูกนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสโลวักบุกครอง เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป สาธารณรัฐที่สองมีพื้นที่ต่างจากรัฐโปแลนด์ปัจจุบันมาก โดยมีดินแดนทางทิศตะวันออกมากกว่าและทางทิศตะวันตกน้อยกว.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)

อเล็กซานเดอร์ (Alexander) เป็นชื่อต้นของผู้ชาย มีที่มาจากคำในภาษาละติน "Alexander" ซึ่งเป็นการถอดคำมาจากภาษากรีกจากคำว่า "Αλέξανδρος".

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและอเล็กซานเดอร์ (ชื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมศาลา

ลาธรรมยิวในเมืองทรานี ในศาสนายูดาห์ ธรรมศาลา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศาลาธรรม (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (synagogue; συναγωγή; หมายถึง การชุมนุมหรือรวมตัว) เป็นศาสนสถานที่ใช้รวมกลุ่มกันทำการอธิษฐาน ทว่าสำหรับชาวยิวแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องไปธรรมศาลาเพื่อประกอบพิธี หากรวมตัวได้ครบองค์ประชุม (Quorum) ที่ประกอบด้วยผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวนสิบคน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" (Minyan) ก็สามารถประกอบพิธีได้ เมื่อก่อนไม่อนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในองค์คณะสิบ แต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2001, ยิวอนุรักษ์นิกายอนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในคณะมินยันได้ ในชุมชนยิวปัจจุบัน ธรรมศาลาไม่ได้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์ (Kosher) ตามหลักมาตรฐานอาหารยิว.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและธรรมศาลา · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์

ั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ (phonetic algorithm) คือขั้นตอนวิธีสำหรับการกำหนดดัชนีของคำต่างๆ โดยใช้การออกเสียงเป็นเกณฑ์ ขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับภาษาอังกฤษ ดังนั้นการใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวกับคำในภาษาอื่นอาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย ขั้นตอนวิธีเหล่านั้นมีความซับซ้อนด้วยกฎและข้อยกเว้นหลายประการ เนื่องจากการสะกดคำ และการออกเสียงในภาษาอังกฤษถูกทำให้ยุ่งยากด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นหลายภาษ.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและแม่น้ำดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

แวดวงภาพยนตร์ใน พ.ศ. 2555

ต่อไปนี้คือตารางภาพยนตร์ที่อยู่ในการผลิตหรือได้เสร็จสิ้นการผลิตและจะออกฉายในปี..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและแวดวงภาพยนตร์ใน พ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

แอล. แอล. ซาเมนฮอฟ

แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ, 2451 แอล.แอล.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและแอล. แอล. ซาเมนฮอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เบเกิล

กิลกับครีมชีส และ ปลาแซลมอนรมควัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของครัวอเมริกัน-ยิว เบเกิล (bagel, beigel) กำเนิดในประเทศโปแลนด์ มีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ทำจากแป้งสาลี ขนาดประมาณ 1 กำมือ นำไปต้มในน้ำเดือดสักพักหนึ่ง แล้วนำไปอบต่อ จะได้เนื้อภายในที่แน่นและนิ่ม กับเนื้อภายนอกสีอมน้ำตาล มักโรยหน้าด้วยงาดำ บ้างอาจโรยเกลือบนเบเกิล ทั้งยังมีแป้งประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวไรย์ หรือแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสีEncyclopædia Britannica (2009), retrieved February 24, 2009 from Encyclopædia Britannica Online เบเกิลเป็นที่นิยมในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรชาวยิวอาศัยจำนวนมาก วิธีการทำเบเกิลนั้นมีหลากหลาย เช่น เบเกิลที่ทำในเบเกอรี หรือเบเกิลประเภทแช่แข็งที่หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น เบเกิลชนิดที่เป็นวงกลมและมีรูตรงกลางออกแบบมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากการอบ ยังสามารถหยิบจับง่ายและยังเป็นจุดเด่นทำให้น่าสนใจอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและเบเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เอชเอ็มเอส พินนาฟอร์

อชเอ็มเอส พินนาฟอร์ (H.M.S. Pinafore) หรือ The Lass that Loved a Sailor เป็นอุปรากรหรรษาความยาว 2 องก์โดยอาร์เทอร์ ซัลลิแวน เป็นผู้แต่งดนตรี และวิลเลียม กิลเบิร์ต เป็นผู้แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ เป็นผลงานชิ้นที่สี่ที่ทั้งคู่ร่วมงานกัน โดยเป็นเรื่องขบขันล้อเลียนการเมืองและการทหารของอังกฤษในทศวรรษ 1870 เอชเอ็มเอส พินนาฟอร์ ออกแสดงครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและเอชเอ็มเอส พินนาฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองสามัญ

ตปกครองสามัญ(Generalgouvernement, Generalne Gubernatorstwo, Генеральна губернія),เรียกอีกอย่างว่า เจอเนอรัลโกเวอร์โนเรนท์ เป็นเขตยึดครองของเยอรมันที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการร่วมมือบุกเข้ายึดครองโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและเขตปกครองสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" (The Star-Spangled Banner แปลว่า ธงอันแพรวพราวด้วยดารา) เป็นเพลงชาติประจำสหรัฐ โดยเนื้อเพลงมาจากกวีนิพนธ์ชื่อว่า "การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่ (Defence of Fort M'Henry)" ซึ่งประพันธ์ขึ้นในวันที่ 14 กันยายน..

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและเดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

YI

Yi หรือ yi สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษายิดดิชและYI · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

YiddishYiddish languageภาษายิวยิดดิช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »